ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: เอกราช ที่ 13-07-2007, 16:56



หัวข้อ: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: เอกราช ที่ 13-07-2007, 16:56
เอเจนซี--ในวันพฤหัสฯ(12 ก.ค.) สหรัฐฯยื่นคำร้องต่อองค์การการค้าโลกหรือดับเบิลยูทีโออย่างเป็นทางการ ขอให้จัดตั้งคณะผู้พิจารณาแก้ไขข้อพิพาท กรณีจีนให้การอุดหนุนอุตสาหกรรม
       
       Sean Spicer โฆษกผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) แถลงเกี่ยวกับการยื่นฟ้องนี้ว่า แม้การประชุมหารือระหว่างจีนกับดับเบิลยูทีโอ 2 รอบ จะเป็นไปด้วยดี แต่ก็ยังไม่ได้ขจัดความวิตกกังวล เกี่ยวกับการอุดหนุนการค้าอย่างซิกแซ็ก ซึ่งจีนได้สัญญาจะเลิกพฤติกรรมดังกล่าวในตอนเข้าร่วมกับดับเบิลยูทีโอ ทั้งนี้ จีนได้ยกเลิกหนึ่งในโครงการอุดหนุนภาคอุตสาหกรรมของตน แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำ
       
       วอชิงตันได้เริ่มเปิดศึกพิพาทการอุดหนุนการค้ากับจีนเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 โดยเรียกร้องให้ดับเบิลยูทีโอเปิดการประชุมหารือข้อพิพาท ซึ่งทางวอชิงตันชี้ว่าการที่รัฐบาลจีนให้การอุดหนุนอุตสาหกรรมต่างๆได้แก่ เหล็ก กระดาษ ไอที อื่นๆ ทำให้จีนสามารถส่งออกสินค้าในราคาถูก แต่การกระทำดังกล่าว ทำให้กลุ่มบริษัทอเมริกันเสียเปรียบในการแข่งขันทั้งในตลาดในประเทศ และตลาดที่สาม
       
       ด้านกระทรวงพาณิชย์จีนได้แถลงเมื่อวันที่ 3 ก.พ. แสดงความเสียใจต่อการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ครวญว่าจริงๆแล้ว สหรัฐฯและจีนควรแก้ไขปัญหานี้ในระดับทวิภาคี
       
       ทั้งนี้ ตามกฎระเบียบของดับเบิลยูทีโอการเจรจาหารือข้อพิพาทการค้า จะเสร็จสิ้นในสองเดือนนับจากวันที่เริ่มการเจรจา หากล้มเหลว จึงจะมีการจัดตั้งคณะผู้พิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของดับเบิลยูทีโอขึ้นมาหาข้อยุติ
       
       โฆษกผู้แทนการค้าสหรัฐฯกล่าวว่า วอชิงตันยังต้องการที่จะคลี่คลายปัญหาผ่านการหารือมากกว่า ขณะเดียวกัน ก็จะดำเนินเรื่องผ่านกระบวนการดับเบิลยูทีโอด้วย
       
       คณะกรรมการแก้ไขข้อพิพาท หรือ Dispute Settlement Body (DSB) จะพิจารณาคำร้องจัดตั้งคณะผู้พิจารณาแก้ไขข้อพิพาทการค้ากับจีนของสหรัฐฯ ในการประชุมครั้งหน้าวันที่ 24 กรกฎาคม 2007
       
       การประกาศศึกพิพาทอย่างหนักข้อขึ้นนี้ เกิดขึ้นขณะที่กลุ่มผู้นำในวอชิงตันทวีแรงกดดันการโต้ตอบกรณีเสียดุลการค้ากับจีน และความหวาดระแวงว่าปักกิ่งกำลังย่ำยีกฎระเบียบที่คู่ค้าของสหรัฐฯถือปฏิบัติกัน

 
 
กรมศุลกากรจีนเผยตัวเลขยอดเกินดุลการค้าประจำเดือนมิถุนายน ทำสถิติใหม่อีกในระดับ 26,910 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราส่วนเพิ่มร้อยละ 83.5 ทำลายสถิติของยอดเกินดุลการค้าประจำเดือนทั้งหมด
 
 
       ในวันพฤหัสฯ มีรายงานมูลค่าการค้าของเดือนพฤษภาคม ช่องว่างการค้าระหว่างสองชาติยักษ์ใหญ่นี้ ถ่างกว้างมาก โดยสหรัฐฯเสียดุลการค้ากับจีน ถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 1 ใน 3 ของยอดเสียเปรียบดุลการค้าสหรัฐฯ
       
       นายเชอร์รอด บราวน์วุฒิสมาชิกจากโอไฮโอกล่าวหลังการแถลงตัวเลขการค้าดังกล่าว ว่า เป็นอีกเดือนของนโยบายการค้าที่เสียดุลอย่างบ้าเลือดกับจีน ชาติที่ไม่เล่นตามกฎฯ “จีนปั่นค่าเงิน ขูดรีดแรงงาน ละเมิดมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ส่งออกสินค้าอาหารและยาปนเปื้อน....พอก็คือพอ”
       
       เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นางคอนโดลีซซ่า ไรซ์รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ก็ได้ออกโรงแถลงกล่าวหา “จีนเล่นอย่างไม่ยุติธรรม” บนเวทีการค้า และวอชิงตันก็จะไม่รีรอที่จะเคลื่อนไหวตอบโต้การละเมิดกฎฯดับเบิลยูทีโอของจีน.

รัฐบาลไทยกล้า กล้าหน่อย!
 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


นายกฯ ย้ำไม่มีวิกฤตซ้ำรอยปี 40 สั่งอุ้มธุรกิจสิ่งทอด่วน
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 13 กรกฎาคม 2550 12:54 น.
 
 
   
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
 
 
       นายกฯ ยืนยันความผันผวนทางเศรษฐกิจในเวลานี้ไม่ก่อวิกฤตซ้ำรอย ปี 40 มั่นใจจีดีพีปีนี้ยังโตร้อยละ 4 ระบุรัฐบาลเตรียมรับมือได้ดีกว่า พร้อมเข้าไปอุ้มธุรกิจสิ่งทอเป็นการชั่วคราวเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้
       
       วันนี้ (13 ก.ค.) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลาานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนการเข้าพบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าพบว่า คงไม่มีอะไรแนะนำ แต่ตนได้คุยล่วงหน้าแล้ว คงเรียนได้ว่าเราพยายามที่จะดูแลในเรื่องของการที่จะรักษาเสถียรภาพของค่าเงินไม่ให้มีความผันผวนรวดเร็วจนเกินไปจนรับไม่ได้ อีกประการคือเรื่องของบางภาคบางส่วน ปัญหาการปิดกิจการ โดยเฉพาะในส่วนของกทางด้านสิ่งทอ ควรจะต้องช่วยกันดูแลสักระยะหนึ่งเพื่อให้ปรับตัวได้
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่าจะดูแลเรื่องการปิดกิจการอย่างไร เพราะเวลานี้สำนักงานประกันสังคมออกมาเปิดเผยมีเจ้าของกิจการหลายแห่งจะปิดกิจการ ส่งผลให้คนตกงานกันมาก พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในส่วนนั้นจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งทอเป็นหลักที่เราจะต้องเข้าไปช่วยดูแลนิดหนึ่งเพื่อให้เขาสามารถที่จะผ่อนคลายสภาวะทางด้านการเงินที่อยู่ในปัจจุบันได้ ส่วนกิจการด้านอื่นนั้นเวลานี้พอที่จะปรับตัวได้เพราะการแข่งขันยังไม่สูงมากนัก ปัญหาด้านสิ่งทอคือการแข่งขัน ซึ่งเราสู้ฐานการผลิตของประเทศจีน และประเทศเวียดนามไม่ได้ จำเป็นต้องมีการปรับตัว ในส่วนของอัญมณีเรายังมีโอกาสที่สูงกว่า เพราะในด้านของอัญมณีขึ้นอยู่กับฝีมือ เทคโนโลยี ซึ่งในประเทศไทยมีเทคโนโลยี มีองค์ความรู้ด้านนี้ค่อนข้างดี
       
       เมื่อถามว่า ภาวะความรุนแรงด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ำตอนนี้ แตกต่างอย่างไรกับภาวะเศรษฐกิจที่ปี 2540 อย่างไร พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในเรื่องของการเตรียมการ ตนคิดว่าเรามีการเตรียมการที่ดีกว่า และตนเองมีความมั่นใจว่าเราจะไม่มีผลกระทบในลักษณะที่เป็นเช่นปี 2540 ขณะนี้มีปัญหาในเชิงกลับกันคือในเรื่องของค่าเงินบาทแข็งตัว แต่ในปี 2540 ค่าเงินบาทอ่อนตัว แต่ทั้งสองอย่างก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีทั้งคู่ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงที่มากเกินไปในระยะเวลาสั้นๆ สิ่งใดที่เปลี่ยนมากเกินไปในระยะเวลาสั้นๆ นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่สังคมจะปรับตัวทัน นั่นเป็นลักษณะที่เราจะต้องหาทางแก้ไขในส่วนนี้ เมื่อถามว่า หากค่าเงินบาทแข็งต่อเนื่องจะกระทบกับจีดีพีต่ำกว่า 4 หรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ เดินพร้อมกับกว่าวว่า ไม่มีผล
       
 
 



ท่านนายกครับ
ผู้ส่งออกสิ่งทอเวลานี้
ขอให้ทางธนาคารให้สินเชื่อเป็นปกติ
เขาก็ขอสู้ต่อครับ
ไม่ใช่ตัดเครดิตธุรกิจส่งออกสิ่งทอเป็นศูนย์ เช่นทุกวันนี้

ส่งออกสิ่งทอไทยเรายังสู้เขาได้ครับ
ช่วยต่อสายป่าน ช่วยต่อท่อน้ำเลี้ยงให้เขาโดยด่วนด้วยครับ
ก่อนที่โรงงานจะค่อยๆทยอยปิดไปทีละแห่ง ทีละแห่ง

 :slime_worship: :slime_worship: :slime_worship: :slime_worship: :slime_worship:


หัวข้อ: Re: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 13-07-2007, 18:26
สงสัยนะคะ สงสัยเฉยๆ

ทำไมธนาคารถึงได้ ตัดเครดิตธุรกิจส่งออกสิ่งทอเป็นศูนย์ ในเมื่อถ้าให้เครคิตแล้ว กิจการสิ่งทอก็ดำเนินไปได้ ใช้หนี้ได้

อ้างถึง
“จีนปั่นค่าเงิน ขูดรีดแรงงาน ละเมิดมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ส่งออกสินค้าอาหารและยาปนเปื้อน....พอก็คือพอ”

เมื่ออ่านถึงตรงนี้แล้ว อยากให้ไปดูธุรกิจสิ่งทอตามแนวตะเข็บชายแดนของไทยด้วยค่ะ  นักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะจีน เข้ามาเปิดโรงงานโดยใช้แรงงานต่างด้าว กดขี่ค่าแรงงาน อาศัยทรัพยากรของไทย และไม่รู้ว่าอาศัยชื่อไทยในการส่งออกด้วยหรือไม่


หัวข้อ: Re: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: เอกราช ที่ 13-07-2007, 19:05
สงสัยนะคะ สงสัยเฉยๆ

ทำไมธนาคารถึงได้ ตัดเครดิตธุรกิจส่งออกสิ่งทอเป็นศูนย์ ในเมื่อถ้าให้เครคิตแล้ว กิจการสิ่งทอก็ดำเนินไปได้ ใช้หนี้ได้


ธนาคารเขาก็มองออกว่าสิ่งทอไทยเราคงจะสู้จีนไม่ได้แน่ เขาไม่เสี่ยงครับ
เวลาออกข่าวทีวีก็ว่าไปทาง
พอเข้าไปคุยจริงมันคนละเรื่อง
คำตอบที่ได้คือ
เฮีย  ตอนนี้ผู้ใหญ่กำชับมา  สิ่งทอเก็บไว้ก่อน ขึ้นอันดับหนึ่งเลย
หรือไม่ก็ เจ้ผมอยากช่วยจริงๆ แต่ผู้ใหญ่ยังไงก็ไม่ยอม สิ่งทอตอนนี้ยากครับ
แต่มันยังมีอีกหลายโรงงานที่ยังมีออร์เดอร์อยู่แม้จะลดลงบ้าง
และยังสามารถดำเนินกิจการไปได้ แต่ธนาคารเหมารวมครับ


เมื่ออ่านถึงตรงนี้แล้ว อยากให้ไปดูธุรกิจสิ่งทอตามแนวตะเข็บชายแดนของไทยด้วยค่ะ  นักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะจีน เข้ามาเปิดโรงงานโดยใช้แรงงานต่างด้าว กดขี่ค่าแรงงาน อาศัยทรัพยากรของไทย และไม่รู้ว่าอาศัยชื่อไทยในการส่งออกด้วยหรือไม่

คุณคงหมายถึงที่แม่สอดใช่หรือไม่
ถ้าใช่
โรงงานที่คุณกล่าวถึงทุกโรงงานที่แม่สอด
มีโรงงานแม่อยู่ที่กทม. ทุกโรงงานครับ
สาเหตุที่ไปทำที่แม่สอดเพราะแรงงานมีจำนวนมาก
แม่สอดเคยมีแรงงานพม่าทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายรวมกว่า200000คน
แต่ปัจจุบันไม่ทราบครับ
ส่วนเรื่องค่าแรงก็เป็นแรงจูงใจที่สำคัญ
อันที่จริงก็จ้างไม่ได้ถูกกว่าแรงงานขั้นต่ำมากนัก
ปัจจุบันก็จ้างตามค่าจ้างขั้นต่ำเหมือนคนไทย
แต่มีอีกเหตุผลหนึ่ง ซึ่งมีส่วนอย่างมาก
ในการที่ผู้ประกอบการไปเปิดโรงงานที่แม่สอดแล้วใช้แรงงานพม่า นั่นคือ
ทางโรงงานสามารถควบคุมให้งานเสร็จตามเวลากำหนดนัดส่งมอบให้ลูกค้า
เพราะแรงงานพม่า พักอาศัยอยู่ในโรงงาน
ไม่มีการลากลับบ้านเวลามีงานบุญ
ไม่มีการลากลับบ้านเพื่อไปดำนา
ไม่มีการลากลับบ้านเพื่อไปเกี่ยวข้าว
ไม่มีเหตุการ วันนี้เงินเดือนออก พรุ่งนี้พนักงานขาดงานเป็นจำนวนมาก เพราะเมาค้าง ทำงานไม่ไหว
หรือวันนี้ไม่ทำโอ เพราะต้องการไปดูนกน้อย

ก็แลกเปลี่ยนความรู้กันพอเข้าใจนะครับ


หัวข้อ: Re: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 13-07-2007, 19:19
รับทราบค่ะ

สำหรับเรื่องธนาคารไม่ติดใจสงสัยแล้ว เพราะคำตอบที่ว่า ธนาคารเขาก็มองออกว่าสิ่งทอไทยเราคงจะสู้จีนไม่ได้แน่ เขาไม่เสี่ยงครับ อันนี้มันเป็นการทำธุรกิจของธนาคาร แต่หากว่ารัฐบาลไปบังคับให้ธนาคารปล่อยกู้ให้ แล้วมันเจ๊ง ไม่ใช้เงินธนาคาร ธนาคารเจ๊งขึ้นมาอีก หรือมีหนี้สูญ ใครจะรับผิดชอบค่ะ ประชาชนอีกหรือเปล่า  :slime_doubt:

ส่วนเหตุผลการที่ต้องจ้างแรงงานต่างด้าวนั้น สรุปได้ว่า ไม่เกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง แต่ต้องการแรงงานที่สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่มีภาระทางสังคมที่จะทำให้ต้องหยุดงาน ซึ่งแรงงานต่างด้าวตอบสนองได้ดีกว่า และทางการไทยก็ยอมให้จ้างแรงงานเหล่านั้น เพราะคนไทยมีปัญหาในการทำงานเอง ก็สมน้ำหน้าแรงงานไทยค่ะ ทำตัวไม่ดีเอง นายจ้างเขาก็ไม่อยากจ้าง

นี่ก็จวนจะออกพรรษาแล้ว แรงงานไทยคงจะกลับบ้านกันอีก นึกแล้วก็ดีใจที่ไม่ได้บรรจุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่อย่างน้นเดี๋ยวพระท่านจะเรียกร้องให้หยุดในวันสำคัญทางศาสนากันอีกหลายวัน และถ้าเป็นคอมมิวนิสต์แบบจีนไปเลย ประกาศว่าศาสนาคือยาพิษ ก็จะดีที่ไม่ต้องหยุดไปงานบุญกันอีก แรงงานของไทยคงจะมีประสิทธิ์ภาพกันอีกเยอะ

เราต้อง กำจัดจุดอ่อนของแรงงานไทย ธนาคารไทย ที่ทำให้อุตสาหกรรมไทย ไปไม่รอดค่ะ  :slime_worship:

ไม่ได้ชวนตีนะคะ ความเห็นของหนูมันค่อนข้างจะแย่ๆแบบนี้แหละค่ะ  :slime_worship:


หัวข้อ: Re: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: aoporadio ที่ 13-07-2007, 19:20
เมื่อกี้แวะเข้าเบิ่ง ห้องสีลม พันติ๊บ :slime_shy:

มี คห1 บอกว่า ประมาณปลายเดือนนี้ บาท29/1ดอลล่าห์แน่..........

แน่นิ่ง........... ฟังแล้วหนาววดึ๋ง :slime_hmm: :slime_hmm:

http://www.pantip.com/cafe/silom/topic/B5601279/B5601279.html


หัวข้อ: Re: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: qazwsx ที่ 13-07-2007, 19:30
สงสัยนะคะ สงสัยเฉยๆ

ทำไมธนาคารถึงได้ ตัดเครดิตธุรกิจส่งออกสิ่งทอเป็นศูนย์ ในเมื่อถ้าให้เครคิตแล้ว กิจการสิ่งทอก็ดำเนินไปได้ ใช้หนี้ได้


ธนาคารเขาก็มองออกว่าสิ่งทอไทยเราคงจะสู้จีนไม่ได้แน่ เขาไม่เสี่ยงครับ
เวลาออกข่าวทีวีก็ว่าไปทาง
พอเข้าไปคุยจริงมันคนละเรื่อง
คำตอบที่ได้คือ
เฮีย  ตอนนี้ผู้ใหญ่กำชับมา  สิ่งทอเก็บไว้ก่อน ขึ้นอันดับหนึ่งเลย
หรือไม่ก็ เจ้ผมอยากช่วยจริงๆ แต่ผู้ใหญ่ยังไงก็ไม่ยอม สิ่งทอตอนนี้ยากครับ
แต่มันยังมีอีกหลายโรงงานที่ยังมีออร์เดอร์อยู่แม้จะลดลงบ้าง
และยังสามารถดำเนินกิจการไปได้ แต่ธนาคารเหมารวมครับ


เมื่ออ่านถึงตรงนี้แล้ว อยากให้ไปดูธุรกิจสิ่งทอตามแนวตะเข็บชายแดนของไทยด้วยค่ะ  นักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะจีน เข้ามาเปิดโรงงานโดยใช้แรงงานต่างด้าว กดขี่ค่าแรงงาน อาศัยทรัพยากรของไทย และไม่รู้ว่าอาศัยชื่อไทยในการส่งออกด้วยหรือไม่

คุณคงหมายถึงที่แม่สอดใช่หรือไม่
ถ้าใช่
โรงงานที่คุณกล่าวถึงทุกโรงงานที่แม่สอด
มีโรงงานแม่อยู่ที่กทม. ทุกโรงงานครับ
สาเหตุที่ไปทำที่แม่สอดเพราะแรงงานมีจำนวนมาก
แม่สอดเคยมีแรงงานพม่าทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายรวมกว่า200000คน
แต่ปัจจุบันไม่ทราบครับ
ส่วนเรื่องค่าแรงก็เป็นแรงจูงใจที่สำคัญ
อันที่จริงก็จ้างไม่ได้ถูกกว่าแรงงานขั้นต่ำมากนัก
ปัจจุบันก็จ้างตามค่าจ้างขั้นต่ำเหมือนคนไทย
แต่มีอีกเหตุผลหนึ่ง ซึ่งมีส่วนอย่างมาก
ในการที่ผู้ประกอบการไปเปิดโรงงานที่แม่สอดแล้วใช้แรงงานพม่า นั่นคือ
ทางโรงงานสามารถควบคุมให้งานเสร็จตามเวลากำหนดนัดส่งมอบให้ลูกค้า
เพราะแรงงานพม่า พักอาศัยอยู่ในโรงงาน
ไม่มีการลากลับบ้านเวลามีงานบุญ
ไม่มีการลากลับบ้านเพื่อไปดำนา
ไม่มีการลากลับบ้านเพื่อไปเกี่ยวข้าว
ไม่มีเหตุการ วันนี้เงินเดือนออก พรุ่งนี้พนักงานขาดงานเป็นจำนวนมาก เพราะเมาค้าง ทำงานไม่ไหว
หรือวันนี้ไม่ทำโอ เพราะต้องการไปดูนกน้อย

ก็แลกเปลี่ยนความรู้กันพอเข้าใจนะครับ


เห็นด้วยยิ่ง ๆ และมีข้อมูลอันสอดคล้อง
ขอพูดในฐานะที่ปรึกษา ( สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรรมการ สมอ. มอก.9000 + 18000, ISMED, ฯลฯ )

แรงงานไทย "ประสิทธิภาพต่ำ" ครับ
เทียบในเรื่อง "ผลผลิตต่อคาบเวลา ( Standard Time )" แล้ว  แทบไม่มีอะไรวิเศษ
ยิ่งถ้าเป็นงานประเภท 4D ( Dirty - Dangerous - Difficult / ในความหมายคืือต้องใช้ความพิถีพิถัน - Drudgery )   ด้วย
เทียบกับแรงงานพม่า ( น่าจะเรียกว่าชนกลุ่มน้อยที่อาศัยในประเทศพม่ามากกว่า ), ลาว, ขะแมร์
...เข้าขั้น "เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน่" ทีเดียว

่ถ้ารวมเอาเรื่องอื่น ๆ  เขาไปด้วย  เช่น
- สวัสดิการตาม กม. และตามการเรียกร้องของสหภาพ
- สิทธิประโยชน์ ( ป่วย  สาย  ลา  ลากลับบ้าน  ทิ้งงานไปเฉย ๆ เพราะหนีเจ้าหนี้  หนีเมีย  เมา ฯลฯ )
- ความจดจ่อเอาใจใส่ + ความภักดีต่อองต์กร ( แรงงานไทย "รู้มาก"  มักจะใช้เด็กใหม่ หรือแรงงานต่างชาติในองค์กรเดียวกัน  ส่วนตัวเองอู้, ไม่พัฒนางาน - มุ่งพัฒนาแต่ตัวเอง "เำำื่พื่อออกไปอยู่ที่อื่น" )
- ฯลฯ
ก็ต้องบอกเลยว่า จ้างคนไทยแล้ว "ไม่คุ้ม" ครับ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นผู้ประกอบการประเภท "ตีหัวเข้าบ้าน" เจ๊งแล้วหนี - รวยแล้วขายทิ้ง อะไรพวกนั้น ( ซึ่งในประเทศไทยของเรา "มีมากจริง ๆ" มากซะจนเข้าใจว่านั่นคือเรื่องธรรมดา ๆ )
...ยิ่งไม่คุ้ม 



หัวข้อ: Re: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 13-07-2007, 19:31
บาทเข็ง มีทั้งข้อดีข้อเสียครับ

ขอแต่ให้การเก็งกำไรค่าเงินบาทน้อยๆ ผมก็พอใจแล้ว..ที่เหลือก็เป็นไปตามนโยบายการเงินของภูมิภาค

ส่วนรัฐบาลต้องส่งเสริมเอกชนให้ยกระดับการทำธุรกิจในทุกด้านครับ และตองส่งเสริมธุรกิจรายย่อยให้เกิดได้ด้วย..

แรงงานก็ต้องปรับตัว หากเรายังปล่อยให้แรงงานเถื่อนเข้ามา มาตรฐานเราจะตกครับ..หากไม่ปล่อยแรงงานเถื่อนมาตรฐานเราก็ตกได้เหมือนกัน

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของตัวเราเองด้วย


หัวข้อ: Re: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 13-07-2007, 19:34
คือ ไม่อยากพูดแบบ แล้งน้ำใจ ไม่รักชาติ หรอกนะครับ

แต่ ก็ต้องพูดแบบ - เอาความจริงมาว่ากัน

คือ ธุรกิจส่งออกไทย ส่วนหนึ่ง (ส่วนใหญ่) เป็นธุรกิจ "รับจ้างผลิต" รับออร์เดอร์มาจากบริษัทใหญ่ข้ามชาติ
โดยใช้ ต้นทุนการผลิต ต้นทุนค่าจ้างแรงาน ที่ต่ำกว่าประเทศอื่น เป็นข้อได้เปรียบ มาโดยตลอด

ซึ่งจะต้อง "ตีโจทย์" ให้แตกว่า ธุรกิจส่งออกของประเทศไทย เจริญเติบโต เพราะปัจจัย ดังกล่าว
อันมาจากการ "ทุบ" ประเทศอื่น ให้ง่อยเปลี่ยเสียขา มาก่อน เช่นกัน
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ เมื่อก่อนนี้ ฐานการผลิตของธุรกิจแบบนี้
ถูกครอบครองโดยประเทศในเอเชียใต้ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ
เมื่อไทยเห็นช่องทาง "ทุบ-ยึด" ฐานการผลิตมาได้ ก็หมายความว่า
ประเทศอื่น ก็พยายามจะ "หาช่องทาง" แบบที่ไทยทำเช่นกัน

จึงต้องยอมรับว่า ธุรกิจแบบนี้ เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง และ(น่าจะ)พร้อมยอมรับความเสี่ยง ที่ต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ
เมื่อคุณดัมพ์ต้นทุนการผลิตได้ ประเทศอื่นเขาก็ต้องทำได้

มันเหมือนธุรกิจเล่นหุ้น หรือ เล่นพนัน น่ะ ผมว่า
ไม่ใช่ธุรกิจที่ยั่งยืนอะไรเลย

มันก็เหมือน กงกรรมกงเกวียน แหละครับ
เมื่อเราโดน จีน และ เวียดนาม "ทุบ" เอาบ้าง
จะมาร้องพิโอดพิโอย หาทางให้รัฐช่วย ได้อย่างไร
มันช่วยไม่ได้อยู่แล้ว
ถ้าช่วยได้ รัฐบาลอินเดีย บังคลาเทศ เขาก็ช่วยโรงงานรับจ้างผลิตในประเทศเขา ให้ย้อนกลับมา "ชนะ" ไทย ไปแล้วสิ

หาวิธีการใหม่เถอะครับ
ยอมรับกันเถอะ ว่า ธุรกิจส่งออกจากการรับจ้างผลิตของไทย
ตายสนิทแล้ว


หัวข้อ: Re: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: เอกราช ที่ 13-07-2007, 19:39
สำหรับเรื่องธนาคารไม่ติดใจสงสัยแล้ว เพราะคำตอบที่ว่า ธนาคารเขาก็มองออกว่าสิ่งทอไทยเราคงจะสู้จีนไม่ได้แน่ เขาไม่เสี่ยงครับ อันนี้มันเป็นการทำธุรกิจของธนาคาร แต่หากว่ารัฐบาลไปบังคับให้ธนาคารปล่อยกู้ให้ แล้วมันเจ๊ง ไม่ใช้เงินธนาคาร ธนาคารเจ๊งขึ้นมาอีก หรือมีหนี้สูญ ใครจะรับผิดชอบค่ะ ประชาชนอีกหรือเปล่า  


ธนาคารควรปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการที่ยังมีออร์เดอร์เข้ามาและยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ครับ
ผู้ประกอบการหลายแห่งยังไปได้ครับ ทางธนาคารก็น่าจะรู้ว่าลูกค้ารายใดยังพอไปได้ไม่เจ็งแน่ๆหรือรายใดไปไม่ไหวแล้ว
แต่นี่พี่ท่านเล่นเหมารวมครับ

สำหรับข้อความคุณSex_Machine
พรุ่งนี้ค่อยมาว่ากันครับ
ตอนนี้ติดธุระขอตัวก่อนครับ


หัวข้อ: Re: รัฐบาลไทยควรเอาอย่างจีนดีไหม?????
เริ่มหัวข้อโดย: เอกราช ที่ 14-07-2007, 16:13

เห็นด้วยยิ่ง ๆ และมีข้อมูลอันสอดคล้อง
ขอพูดในฐานะที่ปรึกษา ( สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรรมการ สมอ. มอก.9000 + 18000, ISMED, ฯลฯ )

แรงงานไทย "ประสิทธิภาพต่ำ" ครับ
เทียบในเรื่อง "ผลผลิตต่อคาบเวลา ( Standard Time )" แล้ว  แทบไม่มีอะไรวิเศษ
ยิ่งถ้าเป็นงานประเภท 4D ( Dirty - Dangerous - Difficult / ในความหมายคืือต้องใช้ความพิถีพิถัน - Drudgery )   ด้วย
เทียบกับแรงงานพม่า ( น่าจะเรียกว่าชนกลุ่มน้อยที่อาศัยในประเทศพม่ามากกว่า ), ลาว, ขะแมร์
...เข้าขั้น "เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน่" ทีเดียว

่ถ้ารวมเอาเรื่องอื่น ๆ  เขาไปด้วย  เช่น
- สวัสดิการตาม กม. และตามการเรียกร้องของสหภาพ
- สิทธิประโยชน์ ( ป่วย  สาย  ลา  ลากลับบ้าน  ทิ้งงานไปเฉย ๆ เพราะหนีเจ้าหนี้  หนีเมีย  เมา ฯลฯ )
- ความจดจ่อเอาใจใส่ + ความภักดีต่อองต์กร ( แรงงานไทย "รู้มาก"  มักจะใช้เด็กใหม่ หรือแรงงานต่างชาติในองค์กรเดียวกัน  ส่วนตัวเองอู้, ไม่พัฒนางาน - มุ่งพัฒนาแต่ตัวเอง "เำำื่พื่อออกไปอยู่ที่อื่น" )
- ฯลฯ
ก็ต้องบอกเลยว่า จ้างคนไทยแล้ว "ไม่คุ้ม" ครับ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นผู้ประกอบการประเภท "ตีหัวเข้าบ้าน" เจ๊งแล้วหนี - รวยแล้วขายทิ้ง อะไรพวกนั้น ( ซึ่งในประเทศไทยของเรา "มีมากจริง ๆ" มากซะจนเข้าใจว่านั่นคือเรื่องธรรมดา ๆ )
...ยิ่งไม่คุ้ม 


ขอบคุณมากครับท่านqazwsx ในข้อมูลที่ให้มา
สังเกตุไหมครับว่า ไม่เคยได้ยินใครพูดเกี่ยวกับปัญหาแรงงานในมุมนี้เลย



บาทเข็ง มีทั้งข้อดีข้อเสียครับ

ขอแต่ให้การเก็งกำไรค่าเงินบาทน้อยๆ ผมก็พอใจแล้ว..ที่เหลือก็เป็นไปตามนโยบายการเงินของภูมิภาค

ส่วนรัฐบาลต้องส่งเสริมเอกชนให้ยกระดับการทำธุรกิจในทุกด้านครับ และตองส่งเสริมธุรกิจรายย่อยให้เกิดได้ด้วย..

แรงงานก็ต้องปรับตัว หากเรายังปล่อยให้แรงงานเถื่อนเข้ามา มาตรฐานเราจะตกครับ..หากไม่ปล่อยแรงงานเถื่อนมาตรฐานเราก็ตกได้เหมือนกัน

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของตัวเราเองด้วย


คุณ********Q********
โรงงานผลิตเสื้อเพื่อการส่งออกไปยุโรปและอเมริกา
ทุกโรงงานที่จะรับงานได้ ต้องผ่านการตรวจมาตราฐานของโรงงานผู้ผลิตหรือที่เรียกกันว่าออร์ดิตจากทางผู้สั่งซื้อก่อนครับ
สินค้าทุกชิ้นก่อนส่งมอบ ต้องผ่านการตรวจคุณภาพสินค้าที่เรียกกันว่าคิวซีจากทางผู้สั่งซื้อก่อนทุกตั๋วครับ
หากสินค้าไม่ได้คุณภาพตามแบบใบสั่งซื้อเขาก็จะให้แก้ไขจนคุณภาพของสินค้าตรงตามใบสั่งซื้อของถึงส่งได้ครับ
ส่วนรายละเอียดของการออร์ดิตหรือการคิวซีมันมากครับ
ใช้กฎที่เป็นสากลทั่วโลกแต่ต้องอยู่ภายใต้และไม่ขัดแย้งกับกฎหมายไทย
แต่คุณเชื่อได้เลยครับสินค้าที่ผ่านคิวซีแล้วคุณภาพต้องดีได้มาตราฐาน
ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทย แรงงานลาว แรงงานพม่า
ก็ผลิตสินค้าได้มาตราฐานแน่นอน



คือ ไม่อยากพูดแบบ แล้งน้ำใจ ไม่รักชาติ หรอกนะครับ

แต่ ก็ต้องพูดแบบ - เอาความจริงมาว่ากัน

คือ ธุรกิจส่งออกไทย ส่วนหนึ่ง (ส่วนใหญ่) เป็นธุรกิจ "รับจ้างผลิต" รับออร์เดอร์มาจากบริษัทใหญ่ข้ามชาติ
โดยใช้ ต้นทุนการผลิต ต้นทุนค่าจ้างแรงาน ที่ต่ำกว่าประเทศอื่น เป็นข้อได้เปรียบ มาโดยตลอด

ซึ่งจะต้อง "ตีโจทย์" ให้แตกว่า ธุรกิจส่งออกของประเทศไทย เจริญเติบโต เพราะปัจจัย ดังกล่าว
อันมาจากการ "ทุบ" ประเทศอื่น ให้ง่อยเปลี่ยเสียขา มาก่อน เช่นกัน
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ เมื่อก่อนนี้ ฐานการผลิตของธุรกิจแบบนี้
ถูกครอบครองโดยประเทศในเอเชียใต้ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ
เมื่อไทยเห็นช่องทาง "ทุบ-ยึด" ฐานการผลิตมาได้ ก็หมายความว่า
ประเทศอื่น ก็พยายามจะ "หาช่องทาง" แบบที่ไทยทำเช่นกัน

จึงต้องยอมรับว่า ธุรกิจแบบนี้ เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง และ(น่าจะ)พร้อมยอมรับความเสี่ยง ที่ต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ
เมื่อคุณดัมพ์ต้นทุนการผลิตได้ ประเทศอื่นเขาก็ต้องทำได้

มันเหมือนธุรกิจเล่นหุ้น หรือ เล่นพนัน น่ะ ผมว่า
ไม่ใช่ธุรกิจที่ยั่งยืนอะไรเลย

มันก็เหมือน กงกรรมกงเกวียน แหละครับ
เมื่อเราโดน จีน และ เวียดนาม "ทุบ" เอาบ้าง
จะมาร้องพิโอดพิโอย หาทางให้รัฐช่วย ได้อย่างไร
มันช่วยไม่ได้อยู่แล้ว
ถ้าช่วยได้ รัฐบาลอินเดีย บังคลาเทศ เขาก็ช่วยโรงงานรับจ้างผลิตในประเทศเขา ให้ย้อนกลับมา "ชนะ" ไทย ไปแล้วสิ

หาวิธีการใหม่เถอะครับ
ยอมรับกันเถอะ ว่า ธุรกิจส่งออกจากการรับจ้างผลิตของไทย
ตายสนิทแล้ว


คุณตั้งโจทย์ผิดครับ