ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 21-06-2007, 14:51



หัวข้อ: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 21-06-2007, 14:51
ผมได้รับ Mail ฉบับนี้มาจากเพื่อน แล้วรู้สึกว่า การเสียดินแดนของไทยนั้น เกิดขึ้นบ่อยมาก จนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังมีการเสียดินแดนอยู่ (เสียเขาพระวิหารให้เขมร)

ที่ Post เรื่องนี้ อยากให้ทุกๆคนรู้ไว้ว่า ขนาดตอนที่คนในประเทศมันสามัคคีกัน เรายังต้องสูญเสียดินแดนไปมากมายถึงขนาดนั้น (ส่วนที่เสียไป น่าจะมากกว่าส่วนที่มีอยู่เสียด้วยซ้ำ) หากว่าเราคนไทย ยังคงแตกแยกกันอยู่ อย่างตอนนี้ ผมว่า อีกไม่นาน เราคงจะต้องเสีย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปแน่ๆ (ที่พูดแบบนี้เพราะได้อ่านข่าวจากมติชน เห็นว่า กลุ่มก่อการร้ายจะขอเจรจายื่นเงื่อนไข ให้ 3 จว. ปกครองตนเอง โดยมีรัฐบาลเป็นของคนเอง แต่จะขึ้นอยู่กับส่วนกลาง สำหรับงานนี้ มี มาเลเซีย เป็นคนกลาง)

(http://img516.imageshack.us/img516/3427/65323sx0.jpg)
ประเทศไทย ในปัจจุบันนี้

(http://img340.imageshack.us/img340/6138/6536xz8.jpg)
ประเทศไทย ในอดีต

(http://img507.imageshack.us/img507/5276/6539gc7.jpg)

(http://img252.imageshack.us/img252/5787/65310ht5.jpg)

(http://img526.imageshack.us/img526/9076/65311wb4.jpg)

(http://img413.imageshack.us/img413/2387/65312ux4.jpg)

(http://img520.imageshack.us/img520/3315/65313nf3.jpg)

(http://img146.imageshack.us/img146/3188/65314fr0.jpg)

(http://img472.imageshack.us/img472/4126/65315yl8.jpg)

(http://img252.imageshack.us/img252/3239/65316ls2.jpg)

(http://img510.imageshack.us/img510/6784/65317aa5.jpg)

(http://img505.imageshack.us/img505/8227/65318sd9.jpg)

(http://img261.imageshack.us/img261/1/65319bk2.jpg)

(http://img502.imageshack.us/img502/8725/65320ft1.jpg)

(http://img413.imageshack.us/img413/738/65321ks4.jpg)

(http://img225.imageshack.us/img225/2275/65322mn0.jpg)



หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 21-06-2007, 14:56
 :slime_smile:

3 จังหวัดนั้นเสียไม่ได้ครับ

ข้อคิดง่ายๆ เลยว่า หาก 3 จังหวัดนั้น แยกไป

แล้วเกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น ที่อื่นหละ  อย่างภาคเหนือหรืออีกสาน ฝั่งแม่่น้ำโขง

หรือตะวันตกฝั่งพม่า หรือ ตะวันออก


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 21-06-2007, 15:02
ก็มันเป็นห่วงนี่นา ทำไงได้

แล้วที่สำคัญนะ เรื่องเสียเขาพระวิหารเนี่ย อยากรู้จัง ใครจำได้มั่งครับ ว่าเสียในสมัย รัฐบาลไหน แล้วตอนนั้นที่พิพาทกับเขมร ใครนะ มันทะลึ่งส่งให้ศาลโลกตัดสิน

แล้วเนี่ย ได้ข่าวว่าเขมร มันจะเอาเขาพระวิหารไปขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก โดยไม่ปรึกษาเรา ทั้งๆที่เราก็เป็นเจ้าของเขาพระวิหารครึ่งนึงไม่ใช่เหรอ :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 21-06-2007, 15:11
เมื่อไรที่มีการเจรจา เมื่อนั้นคือการเปิดเผยตัวของแกนนำที่แท้จริง

หากแกนนำนั้นพำนักอาศัยอยู่ในมาเลเซีย ก็เป็นหลักฐานแน่ชัดว่า มาเลเซียสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย และจะทำตนเป็นคนกลางไม่ได้ค่ะ หากจะเจรจาจริง ต้องหาคนกลางอื่นๆแทน  :slime_v:

คดีเขาพระวิหาร เกิดในสมัยจอมพลสฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลกัมพูชาเป็นคนฟ้องกับศาลโลก ฝ่ายไทยมี มรว.เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าทีมทนายความค่ะ  :slime_v:


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 21-06-2007, 15:13
ถูกต้องแล้วครับที่เป็นห่วง

สามจังหวัดนั้นมันกล้าขอไปตั้งแน่

เราจะตัดน้ำตัดไฟ  ผมว่ามันต่อกับมาเลเชีย แทนทันที

คราวนี้อาจขอซื้อ เครื่องบินจากมาเลย์ หรือสิงคโปร สัก 20 ลำ ลำละ 1 บาท

เรือรบอีก

ซวยแน่ครับ


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 21-06-2007, 15:22
เมื่อไรที่มีการเจรจา เมื่อนั้นคือการเปิดเผยตัวของแกนนำที่แท้จริง

หากแกนนำนั้นพำนักอาศัยอยู่ในมาเลเซีย ก็เป็นหลักฐานแน่ชัดว่า มาเลเซียสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย และจะทำตนเป็นคนกลางไม่ได้ค่ะ หากจะเจรจาจริง ต้องหาคนกลางอื่นๆแทน  :slime_v:

คดีเขาพระวิหาร เกิดในสมัยจอมพลสฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลกัมพูชาเป็นคนฟ้องกับศาลโลก ฝ่ายไทยมี มรว.เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าทีมทนายความค่ะ  :slime_v:


อ้าว ผมเข้าใจผิดเหรอครับเนี่ย ว่าแต่ว่าตอนนั้นไหงได้แพ้ล่ะครับ ไม่ทราบว่าคุณพรรณชมพูมีข้อมูลหรือไม่ครับ


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 21-06-2007, 15:28
คดีเขาพระวิหาร

ที่ตั้งและสภาพทั่วไปของปราสาทเขาพระวิหาร

      ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงเล็กหรือดงรัก (ดองแร็กภาษาเขมรแปลว่าภูเขาไม้คา)  กั้นพรมแดนไทย-กัมพูชา ตั้งอยู่บนงอยของเอื้อมผาที่สูงตระหง่าน      ไม่อาจหาโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมรแห่งอื่นใดจักมีความทัดเทียมได้ เดิมตั้งอยู่ที่บ้านภูมิชร็อล  ระหว่างช่องโพย (ตะวันตก)  กับช่องทะลาย ต.บึงมะลู อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ          ในราชอาณาจักรไทย

ลำดับเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร

แผนที่อินโดจีนของชาแบร็ต แอล กัลลัง  ซึ่งพิมพ์ก่อนการดำเนินงานของ    คณะกรรมการผสมอ้างที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 แสดงว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตสยาม
แต่แผนที่ทางโบราณคดีของลูเนต์  เดอ ลาจองกิแยร์ ในปี พ.ศ. 2444  ตีพิมพ์เรื่องบัญชีทะเบียนโบราณสถาน  ในปี พ.ศ. 2447 ได้ยืนยันว่า การปักปันเขตแดนครั้งสุดท้าย     ทำให้เปรียะวิเชียรหรือเขาพระวิหารตกมาเป็นของฝรั่งเศส
แต่ในช่วงเวลานี้ราชอาณาจักรสยามยังใช้อำนาจปกครองเขาพระวิหารต่อไป
11 ต.ค. 2483 กรมศิลปากรของราชอาณาจักรไทย (เปลี่ยนจากสยามในช่วงนี้)  ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ต่อมา 4 ธ.ค. 2502 ไทยประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานแห่งชาติอีกครั้งพร้อมทั้งมีแผนที่แสดงปราสาทเขาพระวิหารแนบท้าย
ปี พ.ศ 2492 ฝรั่งเศส ริเริ่มและด้วยความเห็นชอบของกัมพูชาได้มีการคัดค้านอำนาจอธิปไตยของไทย เหนือเขาพระวิหารอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก  ฝรั่งเศสประท้วงว่าไทยไม่ควรส่งคนไปรักษาปราสาทเขาพระวิหาร
กัมพูชาเริ่มเรียกร้องให้เขาพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชา เริ่มเป็นทางการ พ.ศ. 2501
1 ธ.ค. 2501 กัมพูชาตัดความสัมพันธ์ทางการฑูตกับไทย
   **  - 6 ต.ค. 2502 รัฐบาลกัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกขอให้ศาลวินิจฉัยให้ราชอาณาจักรไทยถอนกำลังหรืออาวุธออกจากบริเวณเขาพระวิหาร และขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา


ปัญหาที่เกี่ยวกับการปักปันเส้นเขตแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      ปัญหาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศอาจถูกระงับไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะ

รัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีเทคนิคของการสำรวจพื้นที่ที่ดีพอหรือไม่สามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อตรวจว่าเส้นเขตแดนปัจจุบันถูกต้องตรงตามที่ตนได้ทำความตกลงไว้หรือไม่
รัฐที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นว่าผลประโยชน์ของงานในด้านอื่นมีความสำคัญกว่า
รัฐที่มีดินแดนติดต่อกันยังไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองออกได้อย่างชัดเจน
      - คดีปราสาทเขาพระวิหาร  มาจากผลสืบเนื่องของอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907  (พ.ศ. 2450)

ตามข้อกำหนดในอนุสัญญา ค.ศ. 1904 ( พ.ศ. 2447) ข้อ 1 และข้อ 3 กำหนดไว้ดังนี้ 
         "ข้อ 1 เขตแดนระหว่างประเทศสยามกับกประเทศกัมพูชาเริ่มต้นบนฝั่งซ้ายของทะเลสาปจากปากแม่น้ำสะตุง โรลูโอส….ฯลฯ ……จนถึงทิวเขาดงรัก จากที่นั้นเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำของแม่น้ำเสนและแม่น้ำโขงด้านหนึ่งกับแม่น้ำมูลอีกด้านหนึ่ง…………."

         "ข้อ 3 ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส การปักปันนี้ให้กระทำโดยคณะกรรมการผสมประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้งสองแต่งตั้ง งานของคณะกรรมการจะเกี่ยวกับเขตแดนส่วนที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ………."

         คณะกรรมการผสมได้ดำเนินการปักปันเส้นเขตแดนจนเกือบจะแล้วเสร็จ แต่สยามกับฝรั่งเศสได้ชิงลงนามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1907 ไปก่อน จึงยังไม่ได้มีการทำแผนที่สมบูรณ์ให้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายลงนามรับรองแต่อย่างใด ต่อมาฝรั่งเศสได้ดำเนินการตีพิมพ์แผนที่ซึ่งรัฐบาลสยามยังไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการนั้น โดยได้จัดพิมพ์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่กรุงปารีส แล้วจึงส่งแผนที่จำนวน 11 ท่อน มาให้รัฐบาลสยามในจำนวนนี้มีแผนที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับดินแดนบริเวณเขาพระวิหารด้วยฉบับหนึ่ง รัฐบาลสยามมิได้รับรองแผนที่ดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร   แผนที่ดังกล่าวกำหนดเส้นเขตแดนบนภูเขาดงรักเรียกว่า "แผ่นดงรัก"      (ไทยประท้วงว่าไม่ได้ผ่านความเห็นชอบและการพิจารณาของคณะกรรมการผสม)  ดังนั้น หากยึดตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) ก็จะต้องกำหนดตามเขตแดนธรรมชาติคือ    สันปันน้ำ ซึ่งไทยยืนยันว่าสันปันน้ำปันเขาพระวิหารมาไว้ในอาณาเขตไทย แต่แผนที่ทำขึ้นกำหนดปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในกัมพูชา

กัมพูชาอ้างว่าต้นฉบับแผนที่นี้พิมพ์โดยอาศัยอำนาจมอบหมายจากคณะกรรมการผสมมีไทยฝรั่งเศส ได้มีการส่งแผนที่ไปให้รัฐบาลสยามจำนวน 50 ฉบับ เสนาบดีมหาดไทยทรงตอบรับใน พ.ศ. 2451 กับขอเพิ่มเติมอีก 15 ชุด เพื่อไปแจกจ่ายแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหาร

      กัมพูชาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องไทยต่อศาลโลกหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นเรื่องการอ้างอธิปไตยของคู่กรณีเหนือดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของซากปราสาทพระวิหาร ตั้งอยู่บนเทือกเขา ซึ่งเป็นผืนดินที่ต่อเนื่องออกไปจากแผ่นดินของประเทศไทยในบริเวณเทือกเขา    ดงรักและหักลงสู่พื้นที่ราบลุ่มในกัมพูชา ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับเขาพระวิหารมาก

      ก่อนหน้าที่กัมพูชาจะเสนอข้อพิพาทนี้ สนธิสัญญา พ.ศ. 2410 ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ได้แบ่งเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนให้อยู่ต่ำกว่าบริเวณซากปราสาทพระวิหาร   ต่อมาฝรั่งเศสเห็นว่าการปักปันเส้นเขตแดนยังไม่ดีพอ

ประเด็นสำคัญ

      ศาลโลกจะต้องพิจารณาคือการจัดพิมพ์แผนที่ดังกล่าวโดยการกระทำฝ่ายเดียวของฝรั่งเศสมีผลผูกพันทางกฎหมายต่อรัฐภาคีหรือไม่ เพียงใดและกัมพูชาจะมีอธิปไตยเหนือดินแดนที่เป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหารหรือไม่ ศาลได้ลงนามเห็นว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือดินแดน ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระวิหาร โดยอาศัยเหตุผล 2 ประการ ดังต่อไปนี้

ผลผูกมัดของแผนที่ภาคผนวกที่ 1 ได้แก่ คุณค่าในตัวเองของแผนที่ ความผิดพลาด  ที่เกิดขึ้นในแผนที่และคุณค่าของแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐภาคี
คุณค่าของแผนที่ในตัวเอง มีการตั้งคณะกรรมการปักปันเส้นเขตแดนผสม  ชุดที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปักปันเส้นเขตแดนในเทือกเขาดงรักด้านตะวันออกรวมทั้งเขา  พระวิหารด้วย แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการชุดที่ 2 นี้ไม่เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเป็น   เส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารอีก การกระทำนี้อาจจะตีความในทางกลับได้ว่า       คณะกรรมการผสมชุที่ 2 เห็นว่าเส้นเขตแดนที่ถูกปักปันขึ้นตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904  นั้นมีความชัดเจนอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องปักปันซ้ำอีก ศาลเห็นว่าแผนที่ของภาคผนวกที่ 1 เป็นเพียงคณะกรรมการชุดที่ 1 มีการปักปันเช่นกันแต่ยังไม่เสร็จซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการชุดที่ 1 และไม่มีเอกสารทางราชการอื่นใดที่อาจพิสูจน์ได้ ว่าแผนที่ภาคผนวกที่ 1 นั้น เป็นผลงานโดยชอบของคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 ศาลจึงสรุปว่าในระยะเริ่มแรกในขณะที่แผนที่ได้ทำขึ้น (ค.ศ. 1907)  แผนที่นั้นไม่มีลักษณะที่จะผูกมัดรัฐภาคี
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแผนที่  ศาลโลกยอมรับว่า แผนที่ภาคผนวกที่ 1 คลาดเคลื่อนไปจากแนวเส้นสันปันน้ำที่อนุสัญญา ค.ศ. 1904 กำหนดเอาไว้ อย่างหรก็ดี      ถึงแม้ว่าการปักปันเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวกที่ 1 จะมิได้เป็นผลงานของคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือ "รัฐบาล มีอำนาจที่จะรับรองผลของการปักปันเส้นเขตแดนที่คลาดเคลื่อนจากแนวสันปันน้ำ (ซึ่งอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 บัญญัติไว้) กล่าวอีกนัยหนึ่ง      ก็คือการรับรองแผนที่ภาคผนวก 1 โดยรัฐบาลคู่พิพาทเป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่  ซึ่งมีผลลบล้างข้อความที่ภาคีคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้แต่เดิมในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 นั่นเอง
            รัฐบาลสยามมิได้ทักท้วงข้อผิดพลาดดังกล่าว ขณะที่และภายหลังที่ฝรั่งเศสได้ส่งแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มาให้สยามพิจารณา จึงไม่อาจอ้างเรื่องการทำแผนที่ผิดพลาด โดยนิ่งเฉย และไม่แสดงท่าทีคัดค้านเส้นเขตแดนทั้งที่ไทยสามารถหลีกเลี่ยงได้ การนิ่งเฉยของไทยนั้นเป็นการกระทำที่มีส่วนก่อให้เกิดความผิดพลาดนี้ขึ้นมา

คุณค่าของแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐภาคี  ไทยอ้างว่าไทยไม่เคยให้การรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร แก่แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นข้ออ้างที่รับฟังไม่ได้ เพราะไทย     รับแผนที่มา 50 ชุด และยังขอเพิ่มเติมอีก 15 ชุดจากฝรั่งเศส เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ข้าหลวงประจำจังหวัด ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1909 คณะกรรมการจัดทำแผนที่ประเทศสยามก็ยังได้ประชุมกันที่กรุงเทพฯ เพื่อจัดทำแผนที่ประเทศสยามฉบับย่อขึ้น โดยใช้แผนที่ภาคผนวกที่ 1 เป็นแม่แบบ ดังนั้น แม้ว่าฝ่ายจะไม่ได้ให้คำรับรองที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม แต่การประพฤติปฏิบัติของฝ่ายไทยก็ส่อเจตนาที่จะยอมรับโดยพฤตินัยต่อเส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารที่ตีพิมพ์ลงในแผนที่ฉบับนี้มาโดยตลอด ฝ่ายไทยไม่เคยมีปฏิกริยา      โต้ตอบเรื่องนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรด้วยเหตุนี้ศาลจึงเล็งเห็นว่าฝ่ายไทย "ได้ให้ความยินยอมโดยการนิ่งเฉยแล้ว" ดังภาษิตลาตินที่ว่า "ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ย่อมถือเสมือนได้ว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถที่จะพูดได้" 
เหตุผลอันดับรอง  ท่าทีที่ขัดแย้งกันเองในข้อต่อสู้ของฝ่ายไทย เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของไทยได้ค้นพบว่ามีความผิดพลาดในการเขียนตำแหน่งของลำน้ำเสนลงในแผนที่ แต่มิได้ทำการประท้วงในระดับระหว่างประเทศ ต่อมามีความตกลงระหว่างสยามกับฝรั่งเศส จัดตั้งคณะกรรมการประนอม ทบทวนเส้นเขตแดนหลายจุด ยกเว้นในส่วนที่เป็นข้อพิพาทนี้  อีกประการหนึ่งเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของฝ่ายไทยคือกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จไปสำรวจทางโบราณคดีในเขตของเขาพระวิหาร ฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารรับเสด็จแต่ฝ่ายไทย   ก็มิได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบเพื่อคัดค้านอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือเขาพระวิหาร แม้ไทยจะอ้างว่ารัฐบาลของตนมิได้ทักท้วงแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ครอบครองดินแดนส่วนนี้อย่างบริสุทธิ์ใจ   คือครอบครองด้วยความเชื่อมั่นว่าดินแดนนี้อยู่ภายใต้อธิปไตยของตนมาโดยตลอดแต่    ศาลโลกเห็นว่า "เป็นการยากที่ศาลจะยอมรับว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะสามารถ ลบล้างท่าทีของรัฐบาลไทยที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง"
         ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคำพิพากษาของศาลโลกได้นำเอาหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความของกลุ่มประเทศแองโกล-แซกซอน มาปรับใช้กับคดีนี้หลักดังกล่าวได้แก่                   "หลักทฤษฎีปิดปาก หรือเอสตอปเปิล (Estoppel)" ซึ่งเป็นวิธีพิจารณาความที่ตั้งอยู่บน    พื้นฐานของหลักแห่งความบริสุทธิ์ใจ เปิดโอกาสให้คู่ความใช้วิธีนี้ปิดปากฝ่ายตรงข้าม    เมื่อฝ่ายหลังให้ข้อขัดแย้งกันเอง ศาลโลกไม่ได้ใช้สำนวนเอสตอบเปิลนี้โดยตรง แต่กลับหลีกเลี่ยงไปใช้คำ "Preclusion" แทน

----------


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 21-06-2007, 15:35
ลำดับเหตุการณ์กรณีพิพาทไทย-กัมพูชา เรื่องเขาพระวิหาร

 

วันที่ ๑๓ ก.พ.๒๔๔๗

กรณี ร.ศ. ๑๑๒ ฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากับสยามโดยสยามยอมยกเมืองหลวงประบางบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงกับดินแดนทางใต้ภูเขาดงเร็กให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรีที่ฝรั่งเศสยึดไว้

 

วันที่ ๒๓ มีค.๒๔๕๐

มีการทำสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส โดยสยามยอมยกดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสยอมให้เมืองด่านซ้าย เมืองตราดและเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปถึงเกาะกูดให้แก่สยาม ในช่วงเวลานี้มีบรรดานักวิชาการและข้าราชการฝรั่งเศสได้เดินทางไปยังเขาพระวิหารอย่างต่อเนื่อง เอเตียน เอโมนิเยร์ (Etienne Aymonier) ลูเนต์ เดอ ลาจองกิแยร์ (Lunet de Lajonquiere) และยอร์ช โกรลิแยร์ (George Groslier) เป็นต้น อย่างไรก็ดีในช่วงเวลานี้สยามยังคงใช้อำนาจปกครองเขาพระวิหารต่อไปตามเดิม นอกเหนือจากการให้ทำป่าไม้และจับช้างอาณาบริเวณดังกล่าว ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๐–๒๔๗๐

 

พ.ศ.๒๔๗๗–๒๔๗๙

เจ้าพนักงานแผนที่ของสยามได้ทำการสำรวจเส้นแดนและมีการตีพิมพ์แผนที่ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑

 

พ.ศ. ๒๔๗๒

ฝรั่งเศสยกสมเด็จพระศรีสวัสดิ์มณีวงศ์เป็นกษัตริย์ครองกัมพูชา

 

วันที่ ๑๑ ต.ค.๒๔๘๓

กรมศิลปากรของไทย(ช่วงนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามแล้ว) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็น โบราณสถานแห่งชาติ ตามราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๕๓ หน้า ๒๕๒๗-๘ ซึ่งแสดงว่า ไทยได้ประกาศและเข้าครอบครองเขาพระวิหารอย่างเปิดเผย ในปีนั้นเองและรัฐบาลไทยได้เข้าไปจัดการรักษาดูแล โดยจัดให้มีคนเฝ้า คือ หลวงศรี (ซึ่งนุ่งขาว ห่มขาว โกนผม จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำใกล้ตัวปราสาท) รับเงินเดือนประจำจากงบประมาณแผ่นดิน

 

พ.ศ.๒๔๘๕

เมื่อญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียอาคเนย์ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นซึ่งเป็น มหามิตร ของไทย จึงได้ยกเขาพระวิหารรวมทั้งดินแดนบางส่วนที่ไทยจำต้องยกให้แก่ฝรั่งเศสในรัชกาลที่ ๕ คืนให้แห่ไทยตามสนธิสัญญาโตเกียว ต่อมาฝรั่งเศสแต่งตั้งเจ้าสีหนุโอรสของพระเจ้าสุรามฤต ซึ่งเป็นนัดดาของสมเด็จพระนโรดมนักองราชาวดี ขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร และเริ่มมีบทบาททางการเมืองในกัมพูชาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนถึงปัจจุบัน

พ.ศ.๒๔๙๒
โดยความริเริ่มของฝรั่งเศสและด้วยความเห็นชอบของกัมพูชา ได้มีการคัดค้านอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือเขาพระวิหารอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก ฝรั่งเศสประท้วงว่า ไทยไม่ควรส่งคนไปรักษาเขาพระวิหาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้สืบเนื่องจากการที่ไทยไม่ยอมรับข้อแนะนำของคณะกรรมการประนีประนอม ณ กรุงวอชิงตันในปี พ.ศ.๒๔๙๐

 
วันที่ ๕ ส.ค.๒๕๐๑
รัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทางชายแดนไทยด้านกัมพูชารวม ๖ จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ปราจีนบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษและอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

 

๑ ธ.ค.๒๕๐๑

รัฐบาลกัมพูชาประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตภายหลังทั้งสองฝ่ายได้พยายามยุติข้อขัดแย้งด้วยการเจรจา แต่ไม่เป็นผล

 

๖ ต.ค.๒๕๐๒

รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศขอให้ศาลวินิจฉัยให้ไทยถอนกำลังติอาวุธออกจากบริเวณเขาพระวิหารและขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา

ผลสืบเนื่องของสนธิสัญญาที่ทำขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๗ และ พ.ศ. ๒๔๕๐ นี้มีความสำคัญต่อคดีเขาพระวิหาร กล่าวคือ

ตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาปี ๒๔๔๗ ที่สำคัญข้อ ๑ ว่า เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับกัมพูชา เริ่มบนฝั่งชายทะเลสาปที่ปากแม่น้ำสตุงรอลูโอส แล้วเดินตามเส้นขนานไปทางตะวันออกจนบรรจบแม่น้ำเปร็คกำปงเทียม ตามเส้นเมริเดียนไปทางเหนือจนถึงเทือกภูเขาดงเร็กแล้วไปตามสันปันน้ำ ซึ่งแบ่งน้ำฝนไปลงที่ลุ่มแม่น้ำอีกทางหนึ่ง จนไปบรรจบเทือกภูเขาพนมผาด่างและเดินตามสันเขาเทือกนี้ไปบรรจบแม่น้ำโขงทางตะวันออกทางเหนือขึ้นไป

ฉะนั้นเรื่องเขาพระวิหารบนเทือกเขาดงเร็กนั้น หากยึดตามสนธิสัญญาฉบับ พ.ศ.๒๔๔๗ ก็จะต้องกำหนดตามเขตแดนธรรมชาติคือ สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันว่า สันปันน้ำปันเขาพระวิหารไว้ในอาณาเขตประเทศไทยแต่แผนที่ทำขึ้นนั้น กำหนดเขาพระวิหารอยู่ในเขตแดนกัมพูชา แต่ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าต้นฉบับแผนที่นี้พิมพ์โดยอาศัยอำนาจมอบหมายจากคณะกรรมการผสมตามสนธิสัญญาดังกล่าวรัฐบาลไทยแต่งตั้งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นทนายแก้ต่างให้รัฐบาลไทยในคดีพิพาทเขาพระวิหารนั้น

 

๑๕ มิ.ย.๒๕๐๕

ยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกที่กรุงเฮกประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้พิจารณาลงความเห็นด้วยคะแนนเก้าต่อสามว่า ซากปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งนี้เป็นไปตามแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสทำขึ้นตามสนธิสัญญาปี พ.ศ.๒๔๔๗ และ พ.ศ.๒๔๕๐ โดยอาศัยเหตุผลว่า ไทยเพิกเฉยมิไประท้วงแผนที่ดังกล่าวนั้น ขณะที่ฝ่ายไทยได้ยืนยันต่อศาลมาตลอดว่า รัฐบาลไทยถือสันปันน้ำเป็นเขตแดนตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาทุกฉบับที่พาดพิงถึง

ในหนึ่งเดือนต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทยได้กล่าวคำปาศรัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อยกเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชาว่า

“วันนี้จะเป็นวันหนึ่งซึ่งประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ว่า ไทยจำเป็นต้องสละอธิปไตเหนือปราสาทเขาพระวิหาร” ในวันเดียวกันนี้ ไทยได้ถอนทุกสิ่งทุกอย่างออกนอกบริเวณเขาพระวิหาร บริเวณที่ซึ่งอยู่ในเขตไทยคือ สถูปสี่เหลี่ยมสองหลังซึ่งตั้งอยู่บนเนินดินลึกเข้ามาจากเขตแดนใหม่ของไทยประมาณ ๕๐๐ เมตร บนหน้าผาชันซึ่งเป็นที่ประดิษฐานธงชาติไทย ซึ่งได้ย้ายลงมาจากที่เดิมซึ่งเคยประดิษฐานเบ้ยตาดีด้านหลังเขาพระวิหาร เนื้อที่ซึ่งกัมพูชาได้จากกรณีพิพาทนี้เป็นพื้นที่พร้อมเขาพระวิหารมีอาณาเขตไม่เกิน ๑๕๐ ไร่ ความสัมพันธ์ของสองประเทศถูกขวางกั้นด้วยลวดหนามตลอดระยะเวลาร่วมหนึ่งทศวรรษ

 

ระหว่างปี ๒๕๑๓–๒๕๑๘

ช่วงรัฐบาลลอนนอลปกครองประเทศกัมพูชา มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งมีการเปิดเขาพระวิหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สนใจทั่วไป

ช่วง พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๔๐ ภายหลังการล่มสลายของรัฐบาลลอนนอล ได้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างเขมรฝ่ายต่าง ๆ มีการตั้งหน่วยทหารบนเขาและวางกับระเบิดโดยรอบเขาพระวิหาร ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางขึ้นไปเที่ยวชมโบราณสถานแห่งนี้โดยตรง เขาพระวิหารเสมือนถูกปิดไปโดยปริยาย

 

วันที่ ๑ ส.ค. ๒๕๔๑

รัฐบาลกัมพูชากับทางรัฐบาลไทยได้ตัดสินใจเปิดเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวสากลหลังจากได้หิดมาเกือบตลอดสามทศวรรษเพื่อให้ผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสขึ้นไปชมความงามของเขาพระวิหารตราบจนกระทั่งปัจจุบัน



หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: Phantom69 ที่ 21-06-2007, 15:42
If only our soldiers especially all the key commanders have done their jobs and duties, Thailand would still have all 76 provinces nowaday. Unfortunately, these key military men didn't do things which professional military personnel are supposed to.


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 21-06-2007, 15:48
 :slime_cool:


ปัญหาแบบนี้ ไทยเรามีประสบการณ์ดีพอครับ..

ดูแลและตัดสินใจด้วยความรอบคอบอย่างดีที่สุดต่อไปครับ


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 21-06-2007, 15:51
ขอบคุณครับ คุณพรรณชมพู สำหรับบทความดีๆ ยาวจริงๆ  :slime_hmm:

If only our soldiers especially all the key commanders have done their jobs and duties, Thailand would still have all 76 provinces nowaday. Unfortunately, these key military men didn't do things which professional military personnel are supposed to.


ไม่ได้อยากให้ขี้ข้าแสดงความเห็น


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: -3- ที่ 21-06-2007, 15:54
มาเลเซียก็เป็น 1 ในเครือจักรภพของอังกฤษ

คิดว่าเบื้องหลังสุดๆ แล้วเป็นใครล่ะ


หัวข้อ: Re: แผ่นดินไทย รักษาไว้ ให้ลูกหลาน
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 21-06-2007, 16:05
เหตุผลของการเสียดินแดนในอดีตเป็นเพราะแต่ก่อนการครอบครองดินแดน
มีลักษณะของเมืองขึ้น ไม่ได้กำหนดเป็นเขตแดนของประเทศอย่างชัดเจน
หากเมืองขึ้นกระด้างกระเดื่องเอาใจออกห่าง หรือมีใครตีได้ไป
(การไปดูแลเมืองขึ้นที่อยู่ไกลเป็นเรื่องที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมา จนบางครั้งก็ไม่คุ้มที่จะไปตีคืน)
ก็ถือว่าดินแดนนั้นหลุดจากการเป็นของไทยทันที

แต่ในปัจจุบันหากจะเสียดินแดนอีก ก็เป็นเพราะพวกคนไทย หัวใจฝรั่ง(สิงคโปโตก)
ภาษาไทยก็มี login ไทยก็มี ดันกระแดะสมัคร login ใหม่ใช้แต่ภาษาฝรั่ง
อย่างขี้ข้าบางตัวนั่นแหละ