ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ********Q******** ที่ 07-06-2007, 12:58



หัวข้อ: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 07-06-2007, 12:58

วันที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3902 (3102)

ทุกอย่างที่ผมทำ ผมมั่นใจ 100% หากผิดก็บอกว่าผมผิด

สัมภาษณ์

กว่า 7 เดือนที่ต้องนั่งกุมบังเหียนเศรษฐกิจของประเทศ ท่ามกลางกระแสความคิดต่างขั้วที่ยากจะมาเจอกัน นับเป็นแรงกดดันยิ่งต่อ "ครม.ขิงแก่" พร้อมข้อครหาทำงานช้าและฉุดเศรษฐกิจให้เป็นขาลงมากขึ้น "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ดูแลเศรษฐกิจภาพรวม กล่าวถึงความในใจให้ฟังว่า

"ทุกอย่างที่ผมทำ ผมมั่นใจ 100% ผมมีโอกาสผิด หากผิดผมก็บอกว่าผมผิด ผมไม่ได้วิเศษอะไรเลย แต่วันนี้ผมยังเชื่อว่าผมทำในสิ่งที่ถูกต้อง ใครจะว่าอะไรผมก็รับฟัง ใครอยากจะว่าอะไรก็ว่าไป ผมไม่ได้หวั่นไหวและไม่เก็บมาคิดเป็นอารมณ์ เพราะผมทบทวนตัวเองมาตลอด ผมคิดว่า 2-3 เรื่องที่ทำไปเป็นแนวทางหลักของชาติ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ก็สบายใจ ถามว่าผมหนักใจไหม ผมสบายใจมาก เพราะผมทำงาน หากใครก็ตามเห็นด้วยกันก็มาช่วยกันทำ"

- กลับมาครั้งนี้เหนื่อยกว่าทุกครั้งหรือไม่

สิ่งแวดล้อมคนละอย่างกัน ขณะนี้เป็นเรื่องความแตกแยก เป็นเรื่องของความคาดหวัง ทั้ง 2 เรื่อง คนคิดไม่เหมือนกัน คนคาดหวังว่าจะมียาวิเศษ คิดว่าปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไขโดยคนอื่น นี่เป็นปัญหาใหญ่มาก และความเชื่อนี้มีคนคล้อยตามเพิ่มขึ้น ซึ่งผมเห็นว่าไม่จริง

เมื่อ "คนอื่น" เห็นไม่ตรงกัน "คนอื่น" ทั้งหลายไม่มีเอกภาพ และ "คนอื่น" นั้นไม่รู้คือใคร กำลังสับสนกันอยู่ เป็นสภาพที่ไม่เคยเจอ เหมือนเรือที่มีคลื่นลม คนที่อยู่ในเรือจะต้องฝ่าฟันไปให้ได้ ทุกคนมีภาระหน้าที่ไม่ใช่โยนให้กัปตันเรือ อย่าเอาภาระหน้าที่ไปยกให้คนอื่น ทุกคนต้องฝ่าคลื่นลมให้ได้ ภาระของแต่ละคนต้องแก้ไขเอง แต่ถ้าหวังว่าจะมีคนมาช่วย ก็ดูเสมือนจะอ่อนแอ

- คนไทยอยากเห็นอะไรเร็วๆ แต่การไตร่ตรองมากขึ้นกลับมองว่าช้า

คนที่เชื่อว่าความเร็ว ความเก่ง อุ้มคนอื่นได้เยอะ ก็จะเชื่อว่าบทบาทรัฐ ผู้นำ นักการเมืองจะช่วยเขาได้ กับคนอีกประเภทที่เชื่อว่าในที่สุดทุกคนต้องช่วยเองมากขึ้น เป็นความเห็น 2 ฝ่ายที่ไม่ตรงกัน แต่ไม่ควรแตกแยกขนาดนี้ ดังนั้นในยุคที่มีภาวะคลื่นลมแรง จะเฉลี่ยภาระอย่างไร

- สิ่งที่ทำไปคืออดทนและพึ่งตนเอง

เรามีมิติความเชื่อในการสร้างความยั่งยืน นั่นคือเป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียง พอยึดความยั่งยืนก็ต้องมาจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลัง ถ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การขับเคลื่อนด้วยการลงทุน เป็นสิ่ง สำคัญที่สุด ยิ่งเป็นการลงทุนที่เป็นคนไทย ลงทุนระยะยาว ยิ่งสำคัญมาก ฉะนั้นระดับความสำคัญที่ 1 คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการลงทุน แต่จะไปขัดแย้งกับคนที่เชียร์การขับเคลื่อนด้วยการบริโภค เรามีเวลาแค่นี้จะไปขับเคลื่อนอะไร

คนที่อยากขับเคลื่อนด้วยการบริโภค ก็บอกว่าไม่สะใจ ไม่ตรงโผ แต่เราเชื่อว่าเมื่อขับเคลื่อนการลงทุนได้แล้ว ภาวะเศรษฐกิจสมดุล แข็งแรงขึ้น เพราะการลงทุนไปขับเคลื่อนรายได้ มีรายได้ก็ไปบริโภค หากไม่ใช่เส้นทางนี้ แต่ไปขับเคลื่อนการบริโภค ถ้าไม่มีรายได้ก็ต้องเพิ่มหนี้หรือใช้วิธีการแจก อันนี้เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะไม่ใช่การพึ่งพาตนเอง ตอนนั้นทุกคนพูดเหมือนกันว่าเราโตขึ้นจากหนี้ จากการบริโภค บางคนบอกว่าดี

นอกจากนั้นก็มีมาตรการมหภาคที่ทำแล้วได้ผลกว้างขวาง เช่น นโยบายการเงิน นโยบายงบประมาณขาดดุลที่ผ่อนปรนเพื่อเอื้อในการเจริญเติบโต วันนี้ภาคเศรษฐกิจรวมยังดี แต่ในไส้ในเราเห็นความแตกต่าง แต่จะไม่ใช้มาตรการให้ทุกพื้นที่ได้เหมือนกันหมด ให้เฉพาะจุด อย่างพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้มีปัญหา ส่วนฝั่งอันดามันโตเร็ว เราต้องเลือกพื้นที่ 3 จังหวัดใต้ว่าจะช่วยอะไรบ้าง

- การลงทุนเริ่มดีขึ้นหรือยัง

เริ่มดีขึ้น ช่วงที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามา การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนไม่พร้อมทั้ง 2 ด้าน พบว่าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ระบบขนส่งมวลชนไม่มีสภาพที่จะประมูลได้สักอัน เพราะของเก่าเขาไม่คิดจะประมูล เขาคิดว่าเขามีรายชื่อและจัดงานแฟร์เรียกนักลงทุนต่างประเทศมา ซึ่งเป็นลักษณะเป็นเทิร์นคีย์ ดังนั้นหากเราจะประมูลเอง แต่เราไม่มีแบบเลย นี่ความไม่พร้อม นี่คือคอขวด

"เราเข้ามา ต่างชาติไม่มีใครเสนออะไรมาเลย มีแต่ชื่อโครงการ เราจึงมาดูว่าโครงการใดที่มีการออกแบบบ้าง อะไรที่เขาเริ่มออกแบบแล้วก็เร็ว"ส่วนเอกชน การลงทุนใหญ่สุดที่ทุกคนมีแผนแล้วคือในอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่มีปัญหาให้ประกาศเขตมลพิษ เราเข้ามาความขัดแย้งนี้เกิดแล้ว มีการเรียกร้องการประกาศเขตมลพิษคาราคาซังอยู่ เป็นความไม่พร้อมที่จะรองรับการลงทุน

"เราคิดว่าเราทำอย่างไรให้นุ่มนวลที่สุด ตามกฎหมายถ้าประกาศเขตก็ต้องไปทำแผนลดมลพิษ เมื่อเราไม่ประกาศเขตเราก็สามารถทำตามขั้นตอนในกฎหมายได้ โดยการทำแผนลดมลพิษ เพราะมองว่าการประกาศเขตจะทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่การทำแผนลดมลพิษจะร่วมมือกัน เราเลือกวิธีการที่ร่วมมือกัน แต่ผลสุดท้ายก็คืออันเดียวกัน ขณะนี้มันข้ามขั้นตอนการประกาศเขตไปแล้วแต่ยังมีคนร้องให้ประกาศอยู่ การประกาศเขต นำไปสู่การวางแผน แต่การวางแผนตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องประกาศเขต มันดีขึ้นเพราะเป็นการทำแผนโดยสมัครใจ ทุกภาคส่วนมาวางแผนร่วมกัน เราตั้งใจว่าสิ่งที่ทำนี้จะวินวิน เพราะในที่สุดพื้นที่นี้มลพิษจะลดลง การใช้เงินรัฐลดลง ต่างกับกรณีประกาศเขตปั๊บ รัฐบาลจะต้องเป็นผู้ลงทุนลดมลพิษ วันนี้เราไม่ต้องลงทุน เอกชนช่วย และชุมชนจะดีขึ้น ถ้าเราประกาศเขต มลพิษไม่ลดลง มีการทรีตดีขึ้น เช่น น้ำเสียและขยะ แต่ที่เราทำ มาจากสารระเหยเพราะมันเป็นปิโตรเคมี วิธีการของเราทำให้มลพิษลดลง เราให้บริษัทเขาลงทุน วินวินอีกอัน เมื่อให้เขาลงทุนแก้มลพิษแล้วก็ให้เขาขยายงานได้ด้วย แต่เขาจะต้องคืนมลพิษให้แก่พื้นที่นั้น เช่น เขาลดมลพิษได้ 100 เขาต้องคืนให้พื้นที่ 20 เขาใช้ได้ 80 คือเขาลงทุนต่อไปแต่มลพิษต้องไม่เกิน 80 ต่อไปมลพิษก็ลดลงไปเรื่อยๆ ด้วยเงินลงทุนของเขาเอง"

เป็นเรื่องที่เราทำด้วยความมั่นใจ แต่เสียเวลามาก ต้องไปอธิบาย ไปขอแรงขอร้อง เราไม่ใช้วิธีเผชิญหน้า ตอนนี้ก็ยังมีการเรียกร้องอยู่ ในกรรมการทุกชุดเราก็เชิญเขามาร่วมแต่เขาไม่มา ซึ่งหากประกาศเขตก็มาเริ่มต้นใหม่ แต่วันนี้เราวินวิน เอกชนลงทุนเพิ่มได้ มลพิษลดลง รัฐใช้เงินในการแก้ปัญหาน้อยลง ชุมชนมีส่วนร่วม

- การลงทุนภาครัฐแรงพอกระตุ้นเศรษฐกิจ

จริงๆ มันต้องลงทุนทั้งคู่ อย่างในส่วนของกระทรวงคมนาคมที่เพิ่งมาดูแลนั้น ผมไปแก้คอขวด ถ้าบอกว่าเจบิกไม่พร้อมสนับสนุนเงินทุน ผมก็ไปคุยกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องใช้เงินในประเทศแทน เดือนสิงหาคมนี้การลงทุนทั้งรัฐและเอกชนจะเดินได้ทั้งคู่แล้ว อย่างน้อยๆ โครงการระบบขนส่งมวลชน 4 สาย ส่วนเอกชน เช่น ปูนซิเมนต์ฯ ปตท. ก็เดินหน้าได้

"ผมไม่กังวลปัญหา ครม.ชุดนี้เข้ามาโดยที่ไม่พร้อมอะไรสักอย่าง ไม่ว่าการลงทุนภาครัฐหรือเอกชน แต่ว่ารัฐบาลชุดหน้า การลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ก็เริ่มเดินหน้า เอกชนที่มาบตาพุด 3-4 แสนล้านบาทก็ลงทุนได้เรื่อยๆ อย่างน้อยๆ รัฐบาลหน้าเข้ามาจะมีสิ่งที่พร้อมจะเดินไปข้างหน้า"

- ไม่ใช่เงินเจบิกแล้ว

ยังไม่ได้คุยกับคุณฉลองภพ (สุสังกร์กาญจน์) รมต.คลัง ผมบอก รมต.คมนาคมว่า เราจะทำแบบนี้ไม่ว่าจะมีเงินจากเจบิกหรือไม่ ผมเข้าใจวิธีการทำงานของเจบิก อาจจะไม่ทัน แต่เขาคงเข้ามาทีหลัง เราไม่ได้รังเกียจเขา รู้ว่าขั้นตอนเขาเยอะ

- ภาครัฐที่ท่อตันทำอย่างไร

ผมว่าน้อยลงไปเยอะ มันเป็นระบบกลไกการกระจายอำนาจที่เราต้องส่งเงินไปให้เขาเป็นก้อน ก็ไปกองที่ธนาคารกรุงไทยอยู่ แต่เงินที่ไปตามกรมสำคัญๆ ผมไปไล่บี้ให้เขารีบประมูลก็ดีขึ้น ต้นพฤษภาคมการใช้งบประมาณยังต่ำกว่าปีที่แล้ว 4%

ไม่มีใครบอกว่าข้าราชการเกียร์ว่างเพราะอะไร ถ้าคุณกลัวไม่ใช้เงิน ก็เอาเงินไปใช้ที่อื่นได้ เขาก็เริ่มขมีขมันทำเพิ่มขึ้น มติเราเป็นอย่างนั้นในตอนนี้ ที่เราเรียกว่าปรับแผนการใช้เงิน

ดังนั้นการกระตุ้นเศรษฐกิจเราก็เดินไปในทิศทางที่เราเชื่อ ตามลำดับความสำคัญที่วางไว้ และคิดว่าจะทยอยให้ผลตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป มีทั้งงบประมาณจะเดินหน้าไปได้ การลงทุนภาคเอกชนจะดีขึ้น จะมีเงินเข้าไปในระบบ แต่ไม่ใช่เงินที่เราเอาไปแจก พวกที่เขาลงทุนเอกชนเขามีแหล่งเงินลงทุนอยู่แล้ว อย่าง ปตท.มี 60,000 ล้านบาท ที่จะลงทุนในปิโตรเคมีในพื้นที่มาบตาพุด แต่ 6 เดือนนี้ ใช้ได้ 20,000 ล้านบาท แต่ต่อไปจะเร่งขึ้น หรืออย่างโครงการเหล็กของปูนซิเมนต์ไทย ถ้าล่าช้าพันธมิตรของเขาจะเลือกประเทศอื่นแทน หากเราไม่มีแผนลดมลพิษที่ชัดเจน

"ตอนนี้ก็ยังมีการเรียกร้องให้ประกาศอยู่ คนที่ร้องมีทั้งพวก มีทั้งเวลา แต่ผมไม่มีคนช่วย ไม่มีทั้งพวกและคน ผมสู้ไม่ได้หรอก ผมมาก็มาชั่วคราว พันธกิจ 1 ปี แต่ผมมีเจตนาตั้งใจจะทำให้เกิดผลที่ดีและเป็นธรรม ส่วนเขาต้อง การเห็นสิ่งที่เขาเรียกร้อง และเรารู้ว่าทำอย่างนั้นผลลัพธ์จะเกิดความขัดแย้ง ผมรู้ว่าสู้ไม่ได้ แต่ถามว่าทำให้เราหยุดไหม เกียร์ว่างหรือไม่ ...ไม่ แต่ผมก็ทำเต็มที่

- ปัจจุบันความเชื่อมั่นไม่มี

ผมเรียนแล้วว่าเวลาที่เราฝ่าพายุ เราต้องเข้มแข็ง ถ้าหากว่าเราไม่เข้มแข็ง เราไม่มีความเชื่อมั่น หรือหากมีคนเชื่อว่าปัญหาของเขา คนอื่นต้องแก้ให้ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เราไม่มีทางไปเปลี่ยนความเชื่อนี้ หากจะทำอย่างนั้นได้ต้องมีขบวนการ มีเครือข่าย มีพันธมิตร มีการเตรียมงานมาอย่างดี พวกผมแต่ละคนมากันคนเดียว แล้วจะทำให้ใครเชื่อได้ เราพยายามจะพูดว่าขอให้เข้าใจว่าสถานการณ์ เพราะตอนนี้ไม่ปกติ เราทำงานเต็มที่ และการพึ่งตนเองสำคัญ

"เขาก็บอกว่านามธรรมๆๆ แต่ถามว่าเรามีความตั้งใจไหมที่จะฝ่าคลื่นลม แต่เราสร้างความเชื่อมั่นได้ไหม ไม่ได้ เพราะเราต้องเชื่อฝีมือตัวเองก่อนว่าเราจะแก้ปัญหาได้บ้าง หากบอกว่าจะต้องมีคนอื่นมาแก้ให้ก็ไม่มีความเชื่อมั่นแน่ๆ ในแง่ความแตกแยกไม่ใช่เรื่องแปลกเราต้องเรียนรู้ ต้องเข้าใจสิ่งเหล่านี้ หากจะพัฒนาไปข้างหน้าเราต้องเข้าใจปัญหาเหล่านี้และฝ่าฟันไปให้ได้"

- งบฯปีหน้าต้องขาดดุลเยอะแค่ไหน

ผมกับคลังก็เห็นว่าให้อยู่ในกรอบที่เหมาะสม มติ ครม.ให้ปรับขาดดุลเพิ่ม เราคงผ่อนปรน

ความเห็นที่ต่างมากคือนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการลงทุนกับการบริโภค และธุรกิจบางธุรกิจที่ขอให้รัฐช่วย ทั้งๆ ที่เป็นปัญหาโครง สร้าง เพราะถ้าเป็นเรื่องโครงสร้างเราเห็นว่าต้องมาทำงานร่วมกัน จึงเห็นไม่ตรงกัน เพราะบางธุรกิจเป็นวัฏจักร เขาก็บอกว่าต้องทำวัฏจักรให้มันหายไป เราก็บอกว่าไม่ใช่ เรามาผ่อนคลายในกรอบที่เราทำได้ ไม่ใช่ซูเปอร์แมน

"ไม่มีทางที่จะให้รัฐบาลไปคิดแทนเอกชน เพราะรัฐบาลไม่สามารถพาบ้านเมืองขึ้นไปสู่ระดับการพัฒนาได้ ต้องประชาชน คนมักจะบอกว่าหารัฐบาลเก่งๆ คิดเก่งๆ แล้วประชาชนรอด ผมไม่เห็นด้วย ประชาชนจะรอดเพราะประชาชนคิดเก่ง ไม่ใช่รัฐบาลคิดเก่ง แต่พวกนี้เขาต้องการรัฐบาลเก่งๆ ถ้าเป็นเช่นนั้นประเทศจะไม่มีทางพัฒนาถ้าหากประชาชนไม่เก่งขึ้น"

ส่วนที่มีเสียงอยู่ตลอดเวลาว่าเดี๋ยวการส่งออกจะตก เราจึงอยากเห็นรัฐบาลใหม่และการลงทุนเข้ามาเร็วสุด เผื่อเอาไว้ ต้องเรียนว่า 4 เดือนที่ผ่านมา คนที่วิตกว่าส่งออกจะลดลง ยังไม่เห็นถูก การส่งออกยังขยายตัวดี แต่เราไม่ได้ประมาท ขอให้ทุกคนสบายใจได้ เรารอบคอบเราไม่ประมาท

- คนบางส่วนไม่พอใจจีดีพี 4%

ถ้าจะให้ยุติธรรม ผมรับมาแค่ไหนผมจะส่งไปในระดับนั้น เราเริ่มทำงานพฤศจิกายนไตรมาสที่ 4/49 จีดีพีโต 4.2% เราจะคืนไป 4% แต่เป็น 4% ที่เข้มแข็งขึ้น มีงบประมาณให้ท่านใช้ มีการลงทุนเอกชนที่จะขับเคลื่อนไปเรื่อยๆ สถาบันการเงินที่เข้มแข็งไปเรื่อยๆ

"เป็น 4% ที่มีความเข้มแข็ง ก็ไม่ได้เอาเปรียบใคร ผมไม่รับเศรษฐกิจที่มันเป็นขาลงด้วยซ้ำ แต่ท่านทั้งหลายจะให้ทำจาก 4% เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ไม่รู้ ตอนที่รับมา ไม่มีอะไรขับเคลื่อนได้เลย ภายใต้ 4% ผมก็มีโรดแมปจะต้องเดินอย่างไร ภาคธุรกิจจะทำงานอย่างไร อีก 6 เดือนภาคธุรกิจเราทำงานด้วยกัน อย่าตกใจเลย ผมไม่ใช่คนขี้เกียจและนักธุรกิจทั้งหลายไม่ได้ขี้เกียจ น่าจะดีขึ้น"

โรดแมปที่ว่ามีกลไกที่ประสาน คือ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คราวหน้าจะมีการตั้งคณะกรรมการที่จะประเมินธุรกิจรายสาขา ว่าสาขาไหนมีคอขวด โดยที่เราไม่มีธุรกิจเป้าหมาย เราเชิญหน่วยราชการ สมาคมต่างๆ มาคุยกัน เพื่อจะดูว่ามีคอขวดที่ไหนบ้าง บางอันก็แก้ไขได้ บางอันก็ไม่ทัน แต่ด้วยเจตนาร่วมกันมาดูคอขวดกัน

ส่วนเรื่องปัญหาเรื่องโครงสร้างจะต้องมาร่วมคิดร่วมทำแผน 3 ปี 5 ปี กับสภาอุตสาหกรรม เราพูดกันถึงเรื่อง productivity เป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งว่าประเทศแข่งขันได้หรือไม่ได้ อยู่ที่ตรงนี้ ผมทำแทนไม่ได้ เพราะเป็นโรงงานของคุณ คุณต้องทำเอง แต่เราช่วยกันได้ ไม่ใช่ยกมือว่าคุณมีปัญหา แต่คุณต้องแก้ พอพูดกันตรงๆ ก็มีคนฟังน้อยลง หากข้างในบริษัทคุณแย่และให้รัฐบาลอุ้ม ผมไม่เชื่อในความสามารถที่ใครจะไปอุ้มใคร ผมจึงเริ่มคุยแนวความคิดไม่เชื่อว่ารัฐบาลเข้มแข็งแล้วประชาชนจะเข้มแข็ง ผมไม่เชื่ออย่างนั้นเลย

"ผมว่าไม่มีทางที่เราจะมีการวิ่งฝ่าคลื่นลมโดยที่ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งไม่โดนน้ำเลย และผมไม่มีความสะทกสะท้านใจว่าจะต้องโดน ต้องยอมรับและเข้าใจความจริงว่าการฝ่าความแตกแยกที่แรงมาก หากเข้าใจ เราสบายใจด้วยซ้ำไปว่ามันเป็นอย่างที่เราเข้าใจ ที่เขาพูดอย่างนี้ใช่แล้ว เพราะเขาต้องการกดดัน เราอย่าไปรู้สึกดดัน เราต้องถามตัวเองว่าทางออกนี้ หากเราตอบได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าส่วนรวมดี หากตอบได้ด้วยความมั่นใจและผมก็มั่นใจว่าทางเลือกนี้ดีที่สุดกับประเทศไทย หากใครจะมาว่าผมก็ว่าไป แล้วแต่ใจคนจะคิดอย่างไร

"ผมทำได้ถึงวันไหนก็วันนั้น ผมไม่ได้เอาของมาที่นี่เลย บังเอิญไปซื้อหนังสือมา 4-5 เล่ม เพราะว่าจะไปที่ไหน ผมจะถือหนังสือไปด้วย ผมจะทำจนถึงวันที่ผมจะได้รับการบอกว่า "อย่าทำเลย"..."

"เราสบายใจและเรามั่นใจว่าเราทำถูก อาจจะว่าเราคุย แต่เรามั่นใจ ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีสุดของชาติบ้านเมือง คนอื่นอาจจะทำได้ดีกว่าเรา แต่ขอให้ส่วนรวมดี"


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 07-06-2007, 12:59


วันที่ 07 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3903 (3103)

กฟผ.สร้างเอง4โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000เมกะวัตต์ส่งทีมดูงานฝรั่งเศส

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผ่านฉลุย กพช.มีมติบรรจุในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2007 เรียบร้อย 4 โรง 4,000 เมกะวัตต์ เกิดแน่ปี 2563-64 ด้าน กฟผ.เด้งรับ พร้อมสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อ้างความเป็นรัฐวิสาหกิจ ประชาชนให้การยอมรับ เตรียมส่งทีมนิวเคลียร์เดินทางไปดูโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฝรั่งเศสเดือนหน้า

การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2550 ได้ "อนุมัติ" แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2007 หรือ PDP 2550-2564 โดยประเทศไทยจะต้องมี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นในช่วงปี 2563-2564 จำนวนถึง 4 โรง กำลังผลิตติดตั้งรวมกัน 4,000 เมกะวัตต์

การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิงถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย หากพิจารณาในเรื่องของต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากราคาฐานปัจจุบันจะพบว่า "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" จะมีต้นทุนต่ำที่สุด ทั้งที่ก่อนหน้านี้โรงไฟฟ้าถ่านหินถือเป็นโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ทางกระทรวงพลังงานเองก็ดูเหมือนว่าจะสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคตให้ได้ โดยอ้างว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับโรงไฟฟ้าอย่างก๊าซธธรมชาติ, ก๊าซธรรมชาติเหลว LNG และน้ำมัน มีแนวโน้มที่จะมีปริมาณลดลงและมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นหากผู้ใช้ไฟฟ้าต้องการใช้ไฟฟ้าราคาถูก ทางเลือกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

นายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการการไฟฟ้า

ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กฟผ.จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากหากให้ภาคเอกชนหรือผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) เป็นผู้ดำเนินการเกรงว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน รวมถึงการดำเนินการผ่านรัฐวิสาหกิจอย่าง กฟผ.จะมีความเป็นไปได้มากกว่า

ทั้งนี้ในขั้นการเตรียมการ กฟผ.เตรียมประสานงานกับสถาบันการศึกษาที่เปิดหลักสูตรด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้น เพื่อมารองรับให้ทันกับธุรกิจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคต นอกจากนี้ กฟผ.จะเร่งในเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชนที่คาดว่าจะอยู่ในพื้นที่เป้าหมายที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวมถึงการทำความเข้าใจกับประชาชนทั่วไปด้วย

อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนกรกฎาคม 2550 นี้ ทีมงานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของ กฟผ.เตรียมที่จะเดินทางศึกษาเทคโนโลยีต้นแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศฝรั่งเศส จากข้อมูลเบื้องต้นล่าสุดพบว่าต้นทุนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในส่วนค่าลงทุนเฉพาะเทคโนโลยีและการก่อสร้างนั้นค่อนข้างสูงอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ/1 เมกะวัตต์ ในขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินจะอยู่ที่ 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ/1 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติอยู่ระหว่าง 1-1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ/1 เมกะวัตต์

สาเหตุที่ต้นทุนในการลงทุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มต้นค่อนข้างสูงนั้น เนื่องจากการต้อง "บวกรวม" ในเรื่องเทคโนโลยีของระบบรักษาความปลอดภัยภายในกระบวนการผลิตที่ค่อนข้างสูง เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่ให้น้อยที่สุดหรือไม่ได้รับผลกระทบเลย

"ที่ฝรั่งเศสสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์สูงถึง 80% แล้ว เขาทำมานานและยังไม่มีปัญหาอะไรด้วย ในอีก 10 ปีข้างหน้าเรามีทางเลือกน้อยลงมาก วันนี้เราผูกติดกับการผลิตไฟฟ้าจาก ก๊าซธรรมชาติมากเกินไปแล้ว ขณะที่การสำรวจและผลิตก๊าซจากอ่าวไทยเริ่มมีสัญญาณว่าซัพพลายได้น้อยลงเรื่อยๆ คาดว่า จะมีก๊าซธรรมชาติพอใช้อยู่ได้อีกเพียง 30-35 ปีเท่านั้น แน่นอนว่าปริมาณก๊าซที่ลดน้อยลง ราคาก๊าซในอนาคตก็ย่อมถีบตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันไปเรื่อยๆ ทางเลือกอย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์น่าจะทบทวนดู" นายไกรสีห์กล่าว

นายไกรสีห์กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการส่งบุคลากรของ กฟผ.เข้าไปศึกษางานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว ในอนาคตหากมีโอกาสที่ กฟผ. จะเข้าไปร่วมลงทุนในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ในต่างประเทศแล้ว กฟผ.อาจจะเข้าไปร่วมลงทุนผ่านบริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (EGAT INTER) ที่ขณะนี้เตรียมจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนประมาณ 100 ล้านบาท ถือหุ้นโดย กฟผ.ทั้งหมด ให้เข้าไปร่วมลงทุนในอนาคตด้วย นอกเหนือจากการได้เข้าไปขยายการลงทุนในต่างประเทศแล้ว บุคลากรของ กฟผ.จะได้ความรู้ ความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ตรงจากการร่วมลงทุนด้วย

ด้านแหล่งข่าวจากสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย หากเริ่มวันนี้ยังถือว่า "ทันเวลา" เมื่อพิจารณาจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับล่าสุดที่กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าในปี

2563-2564 รวมกำลังผลิต 4,000 เมกะวัตต์ หรือจะเท่ากับปริมาณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรงนั้น ระยะเวลาการก่อสร้างต่อโรงอยู่ที่ประมาณ 6-7 ปี

ฉะนั้นกระบวนการทั้งหมดจะเหลือเพียงประมาณ 5 ปีเท่านั้น ก่อนที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงแรกในปี 2556 นี้

ดังนั้นหากประเทศไทยอยากให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผน PDP 2007 แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือ กฟผ.จะต้องเร่งดำเนินการใน 4 เรื่องคือ 1) กฎหมายว่าด้วยความรับผิดด้านนิวเคลียร์ (Nuclear liability Law) ซึ่งไม่แน่ใจว่าวันนี้ประเทศไทยมีกฎหมายนี้ไว้คุ้มครองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ เพราะไม่ว่าการก่อสร้างจะใช้บริษัทใดก็ตามที่ระบุว่าดีที่สุดในโลก แต่เมื่อ มีปัญหาเกิดขึ้นจะไม่มีการรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น

2) ความพร้อมด้านบุคลากร เช่น นักนิวเคลียร์เทคโนโลยี หรือ นักฟิสิกส์นิวเคลียร์ ซึ่งในวันนี้เท่าที่ทราบประเทศไทยมีเพียง 2 คนเท่านั้น ที่จบในระดับปริญญาเอกด้านนี้ ยังไม่นับรวมกับบุคลากรของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติที่มีอยู่

หากเร่งเพิ่มบุคลากรตั้งแต่ระดับปริญญาตรีคือรับนักศึกษาเฉพาะด้านในช่วงปี 2551 และให้ศึกษาต่อเนื่องจนถึงระดับปริญญาโทและเอก จะสอดรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงแรกพอดีในปี 2563

3) การบริหารจัดการทางการเงินที่ดี เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีต้นทุนสูงมาก ฉะนั้นไม่ว่าใครจะเข้ามาดำเนินการต้องคำนึงในเรื่องนี้ด้วย และ 4) การทำความเข้าใจกับประชาชนให้รับรู้ว่าวันนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย

ที่สำคัญก็คือวันนี้ต้องเริ่มทำความเข้าใจกับประชาชนแล้วว่า มีความจำเป็นอย่างไรที่ประเทศไทยจะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่วนการที่จะให้ กฟผ.ทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เองทั้ง 4 โรงนั้น ควรจะกระจายไปยังเอกชนรายอื่นๆ บ้าง ความจริง กฟผ.เองยังไม่มีความรู้มากนัก เดิม กฟผ.เคยมีฝ่ายนิวเคลียร์โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2518 "แต่ยุบเลิกไปแล้ว" ที่สำคัญรัฐต้องชัดเจนไปเลยว่า จะทำโรงไฟฟ้าแน่นอน


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 07-06-2007, 14:39
 :shock: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

น่ากัวอ่ะ  :shock:




งานนี้ต้องจัดการเรื่องมีนอกมีในให้หมด ก่อนที่จะสร้าง ไม่งั้นมีหวัง ได้ Chip-หายกันยกใหญ่แน่ๆ

แล้วอย่าลืมทำประชาพิจารณ์ก่อนล่ะ ว่าชุมชนที่จะไปตั้งน่ะเค้าจะเอาหรือเปล่า :slime_shy:


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 07-06-2007, 18:25
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=11089

ชำแหละแผนพีดีพี 2007รัฐบาลอ้าแขนประชาพิจารณ์ชิมลางถ่านหินกับนิวเคลียร์
มติชน 4 เม.ย. 50

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่สโมสรทหารบก มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วม และประชาชนทั่วไป ในการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2550-2564 (พีดีพี 2007) โดยมีสาระสำคัญดังนี้

@ การจัดทําแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้า

การจัดทําแผนพีดีพีเป็นการนํานโยบายรัฐด้านพลังงานไฟฟ้าและข้อมูลต่างๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ช่วงเวลาที่จัดทําแผนมาปรับปรุงแผน ซึ่งจะทำเมื่อสถานการณ์ด้านพลังงานไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ เช่น ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าเปลี่ยนไปมาก จนอาจจะมีผลต่อกําลังผลิตไฟฟ้าสํารองมากหรือน้อยเกินไป หรือปัญหาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าล่าช้า การเจรจารับซื้อไฟฟ้าไม่เป็นไปตามกําหนด รัฐบาลก็ดําเนินการปรับแผนฯ เป็นคราวๆ ไป จึงไม่ใช่แผนที่เปลี่ยนไม่ได้ดังที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ ซึ่งฉบับสุดท้ายที่ได้รับอนุมัติคือพีดีพี 2004 (2547-2558)

สาเหตุที่ต้องมีการปรับแผนใหม่ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2547-2548 ขยายตัวลดลงมากจากภาวะราคาน้ำมันแพง ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าจริงต่ำกว่าที่ประเมิน คณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า จึงทําการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าใหม่เมื่อเดือนเมษายน 2549 แต่ปรากฏว่าความต้องการไฟฟ้าปี 2549 ที่เกิดขึ้นจริงลดลงจากที่ได้พยากรณ์ไว้อีก

อนุกรรมการฯ จึงได้จัดทําค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าใหม่อีกครั้งในเดือนมีนาคม 2550

ทําให้ต้องมีการปรับปรุงแผนพีดีพีใหม่ด้วย โดยได้มีการนำนโยบายของรัฐ เรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) รายเล็กมาก (VSPP) และการกระจายการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามาประกอบการพิจารณาด้วย

@ แนวทางในการปรับแผน

การปรับแผนจะพิจารณาจาก (1) ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าใหม่เดือนมีนาคม 2550 ซึ่งแยกเป็นกรณีฐาน กรณีต่ำ และกรณีสูง (2) ราคาเชื้อเพลิง ในส่วนของก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และถ่านหิน

(3) โรงไฟฟ้าที่ปลดออกจากระบบในช่วง 2550-2564 (4) โรงไฟฟ้าที่นํามาคัดเลือกเข้าแผนฯ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (ถ่านหิน) 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (LNG) 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส (ดีเซล) 230 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (นิวเคลียร์) 1,000 เมกะวัตต์ (5) โรงไฟฟ้าถ่านหินที่นํามาคัดเลือกเข้าแผน เข้าระบบเร็วที่สุดปี 2557

(6) พิจารณาความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (7) ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป ไม่ต้องนํานโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน (RPS) มาใช้ (8) รับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายเล็ก (SPP) ประเภท Firm เพิ่มเป็น 4,000 เมกะวัตต์ จากที่รับซื้ออยู่ 2,300 เมกะวัตต์ (9) กําหนดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าด้วยตัวชี้วัดโอกาสไฟฟ้าดับ (Loss of LoadProbability : LOLP) ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ต่อปี และกําลังผลิตไฟฟ้าสํารองประมาณร้อยละ 15 (10) พิจารณาการจัดการด้านแหล่งผลิต โดยดําเนินการเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า

@ กรณีศึกษา

ในช่วงปี 2554-2564 ได้จัดทําเป็น 3 กรณี รวม 9 แผน โดยกําหนดระยะเวลารับซื้อ SPP ปี

2555-2563 (1,700 เมกะวัตต์) โรงไฟฟ้าถ่านหินโรงแรกเข้าปี 2557 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้าระบบเร็วที่สุดปี 2563 ซึ่งมีโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเข้าระบบในแต่ละปีดังนี้

แผนความต้องการไฟฟ้าฐาน (B)

แผนนี้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งหมด รวม 31,790 เมกะวัตต์ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2563 มี SPP 1,700 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2555 ซึ่งมี 3 แผนย่อยคือ

1.แผน B1 ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด: จะมีโรงไฟฟ้าก๊าซประมาณ 2,800 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2555 โรงไฟฟ้าถ่านหิน 18,200 เมกะวัตต์ เริ่มทยอยเข้าระบบตั้งแต่ปี 2557 มีการซื้อไฟจากต่างประเทศ 5,090 เมกะวัตต์

2.แผน B2 คือ ช่วงปี 2554-2564 พิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามความเป็นไปได้ : แผนนี้จะมีโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 18,200 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2555 มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2,800 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2557 ก่อน 700 เมกะวัตต์ มีการซื้อไฟจากต่างประเทศ 5,090 เมกะวัตต์

3.แผน B3 คือช่วงปี 2554-2564 พิจารณาปริมาณ LNG 10 ล้านตันต่อปี และซื้อไฟฟ้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น: มีโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 9,800 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2555 มีโรงไฟฟ้าถ่านกิน 2,100 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2557 ก่อน 700 เมกะวัตต์ แต่มีการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 14,190 เมกะวัตต์

แผนความต้องการไฟฟ้าต่ำ (L)

แผนนี้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งหมด 27,430 เมกะวัตต์ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2563 มี SPP 1,700 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2555 ซึ่งมี 3 แผนย่อยคือ

1.แผน L1 ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด มีโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 1,400 เมกะวัตต์ มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 16,100 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2557 ซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 4,230 เมกะวัตต์

2.แผน L2 คือ ช่วงปี 2554-2564 พิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามความเป็นไปได้ : แผนนี้มีโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 14,700 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2555 โรงไฟฟ้าถ่านหิน 2,800 เมกะวัตต์เข้าระบบปี 2557 ซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 4,230 เมกะวัตต์

3.แผน L3 คือ ช่วงปี 2554-2564 พิจารณาปริมาณ LNG 10 ล้านตันต่อปี และซื้อไฟฟ้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น: มีโรงไฟฟ้าก๊าซ 9,800 เมกะวัตต์ มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2,100 เมกะวัตต์ มีการซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 9,830 เมกะวัตต์

แผนความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง (H)

แผนนี้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นรวม 36,790 เมกะวัตต์ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2563 มี SPP 1,700 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบปี 2555 ซึ่งมี 3 แผนย่อยคือ

1.แผน H1 ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด มีโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 4,200 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2555 มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 21,000 เมกะวัตต์ มีการรับซื้อไฟต่างประเทศ 5,890 เมกะวัตต์

2.แผน H2 คือ ช่วงปี 2554-2564 พิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามความเป็นไปได้ มีโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 22,400 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2555 มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2,800 เมกะวัตต์ มีการซื้อไฟจากต่างประเทศ 5,890 เมกะวัตต์

3.แผน H3 คือ ช่วงปี 2554-2564 พิจารณาปริมาณ LNG 10 ล้านตันต่อปี และซื้อไฟฟ้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น มีโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 9,800 เมกะวัตต์ มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2,100 เมกะวัตต์ และมีการซื้อไฟจากต่างประเทศ 19,190 เมกะวัตต์

@ ประมาณการรายจ่ายลงทุน

เป็นการประมาณการความต้องการเงินลงทุนของ กฟผ. เพื่อดําเนินการตามแผน PDP 2007

โดยสัดส่วนการกู้เงินเมื่อเทียบกับ ส่วนทุนประมาณ 75 : 25 ซึ่งประมาณการรายจ่ายลงทุนในกิจการไฟฟ้าทั้งแหล่งผลิตและระบบส่ง ในช่วงปี 2550-2559 โดยแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 (2550-2554) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 289,733 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นแหล่งผลิต 200,360 ล้านบาท และระบบส่งไฟฟ้า 89,373 ล้านบาท และในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (ปี 2555-2559) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 697,063 ล้านบาท แบ่งเป็นแหล่งผลิต 491,595 ล้านบาท และระบบส่งไฟฟ้า 205,468 ล้านบาท รวมเงินลงทุน 10 ปี (2550-2559) เป็นเงินทั้งสิ้น 986,796 ล้านบาท แบ่งเป็นแหล่งผลิต 691,955 ล้านบาท และระบบส่งไฟฟ้า 294,841 ล้านบาท

------------------------

การประมาณการทั้งหมด โครงการทั้งหมด ตั้งอยู่บนรากฐานของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของชาติ ในระบบทุนนิยมสุดขั้ว อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คิดในสภาพของเด็กที่โตได้ไม่รูจักหยุดโต โกรธฮอร์โมนทำงานตลอดชีวิต

แต่จากปี 2548 เป็นต้นมา ประมาณการนั้นผิดพลาดมาตลอด

การใช้ไฟฟ้า ไม่ได้โตตามประมาณการ แต่กลับมีการชะงักงัน ซึ่งสรุปเอาว่ามาจากภาวะเศรษฐกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน แต่ก็มีการมองโลกในแง่ดีว่า ในที่สุดความต้องการพลังงานไฟฟ้า จะทะยานขึ้นเหมือนเดิม และจำเป็นต้องหามาตรการรองรับ

คาดว่าโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คงจะได้รับการผลักดันไปตามระบบ โดยไม่ฟังเสียงทัดทานใดๆจากประชาชน และหากมีการตรียมการก่อสร้างจริง ไม่ว่าจะเกิดในรัฐบาลไหน รับรองได้ว่ารัฐบาลนั้นพินาศ การต่อต้านจะหนักหน่วงยิ่งกว่าการต่อต้านแนวท่อก๊าซ เลือดคงได้ละเลงแผ่นดิน

คงต้องอาศัพสภาพรัฐบาลเผด็จการอีกหน จากการคาดการว่าจะมีการนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้าระบบประมาณปี 2563 ก็ในราวๆอีก 13 ปีข้างหน้า เมื่อดูจากสภาพการเมืองในอนาคต รัฐบาลใหม่จะเริ่มทำหน้าที่ราวๆปี 2551 ในระยะประมาณ 6 ปี กระบวนการแดกชาติก็จะพร้อมอีกครั้ง นักการเมืองสัตว์นรกจากอีสาน เหนือ กลาง ใต้ จะเริ่มรวมกระบวนพลได้ คาดการจากหนูเองประมาณการว่า ในราวๆปี พ.ศ. 2556 - 2558 เราจะได้รัฐบาลมาหาเฮียมาอีกหนึ่งชุด จากนักเลือกตั้งที่ตั้งตัวติดแล้ว และรัฐฐาลนี้จะมีระยะเวลาแดกประเทศชาติประมาณ 4 ปี ซึ่งน่าจะกำลังต่ออายุเป็นสมัยที่สองก็ในราวปี พ.ศ. 2560 - 2562 ซึ่งใกล้ระยะลงรากฐานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พอดี

สองเหตุการณ์ ค่อการโกงชาติจนป่นปี้ และการคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลี้ยร์ และการโกงกินในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านี้  จะทำให้มีการเปิดเพลงมาร์ชอีกครั้ง และในช่วยรัฐบาลรักษษการเพื่อเปลี่ยนถ่ายอำนาจให้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง ก็เป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะสร้างโรงไฟฟ้านี้ จังหวะที่จะกด NGO เอาไว้ไห้อาละวาดได้ค่ะ  :slime_v:


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 07-06-2007, 18:42
ผมเห็นด้วย กับการใช้นิวเคลียร์ เป็นพลังงานทดแทน  เราตกเป็นทาสตะวันออกกลางกันมาเป็นร้อยปี แล้ว.......เรื่องที่ต้องกังวล ก็คือ การแดรก ไม่รู้จักอิ่ม ของบรรดา ผู้บริหารโครงการ......

แต่ก็อย่างว่า เด๋ว เอ็นจีโอ ก็ออกมาคัดค้านอีก คงไม่น่าไปรอด........เผลอ ไอ้กัน จะร่วมขบวนคัดค้าน ด้วย


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-06-2007, 17:33
ผมเห็นด้วย กับการใช้นิวเคลียร์ เป็นพลังงานทดแทน  เราตกเป็นทาสตะวันออกกลางกันมาเป็นร้อยปี แล้ว.......เรื่องที่ต้องกังวล ก็คือ การแดรก ไม่รู้จักอิ่ม ของบรรดา ผู้บริหารโครงการ......

แต่ก็อย่างว่า เด๋ว เอ็นจีโอ ก็ออกมาคัดค้านอีก คงไม่น่าไปรอด........เผลอ ไอ้กัน จะร่วมขบวนคัดค้าน ด้วย


ส่วนตัวผมเชียร์โรงไฟฟ้าถ่านหิน (หมายถึงถ่านหินนำเข้าที่ก่อมลพิษน้อยนะครับ)
เพราะปริมาณสำรองมโหฬารใช้ไปได้อีก 4-5 ร้อยปี ราคาคงที่ตลอดไม่วูบวาบ
เหมือนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่จะหมดในอีกไม่นาน

เรื่องมลพิษเทียบกับนิวเคลียร์แล้วก็จัดการง่ายกว่ามากๆ แค่ติดระบบกรองดีๆ
แม้ว่าอาจทำให้ราคาโรงไฟฟ้าแพงไปอีก 15-25% แต่ติดตั้งแล้วมันจบเรื่อง
ส่วนเรื่องนิวเคลียร์รอไปอีกไม่นานครับผมว่าในระยะ 20 ปี เราน่าจะสามารถ
ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชั่นที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นตัวตั้งต้นได้

สำหรับใครที่สงสัยว่าจะเอาไฮโดรเจนมาจากไหน หรือต้องใช้ไฟฟ้าแยกจากน้ำ
ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีอีกหลายรูปแบบที่ดีกว่าใช้ไฟฟ้าแยกจากน้ำครับ
กว่าจะถึงตอนนั้นเรื่องผลิตไฮโดรเจนไม่ใช่ปัญหา

แต่ถ้าเราเอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้ามานอกจากจะโดนต่อต้านแบบสุดๆ แล้ว
ยังจะกลายเป็นเทคโนโลยีเก่าๆ ไปอย่างรวดเร็วผมว่าเป็นการลงทุนไม่คุ้มค่า

ส่วนเรื่องที่ปัจจุบันเราใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงมากๆ นั้น
ความจริงไม่ใช่เรื่องสมควรเลย วิเคราะห์ได้ว่าเพราะ ปตท. เป็นคนขายก๊าซ
และระหว่างตัดสินใจใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้า ก็มีแผนแปรรูป ปตท. กันอยู่

--------------------------------------------------------------------------------------------

สุดท้ายนี้อยากให้พวกเราตามอ่านคำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีคณะขิงแก่นี้ดู
แล้วจะพบว่าความจริงแล้วแต่ละคนก็เข้าใจปัญหาและทำงานหนักกันทั้งนั้น
เพียงแต่มันมีข้อจำกัดอะไรหลายๆ อย่าง และพวกเราไม่รู้

ความจริงแล้วเศรษฐกิจไทยขยายตัวนะครับ และเศรษฐกิจโลกก็ขยายตัว
เพียงแต่เรามีปัญหาเรื่องค่าเงินบาทแข็งซึ่งไม่ใช่เรื่องที่แก้ง่ายประกอบกับ
ราคาน้ำมันที่ทำให้ต้นทุนการผลิตทุกอย่างแพง บวกกับภาวะความไม่มั่นใจ
เกี่ยวกับการเมืองในประเทศที่ทำให้การตัดสินใจซื้อและลงทุนชะงักงัน

รอดูครึ่งปีหลังครับ ผมค่อนข้างมั่นใจ 70-80% ว่าแนวโน้มทั้งหมดจะดีขึ้น
แม้แต่เรื่องค่าเงินด้วย ส่วนเรื่องราคาน้ำมันถือว่าเราพลาดท่าในการเตรียม
รับมือทำให้การใช้พลังงานทดแทนยังไปไม่ถึงไหน และระบบขนส่งก็ยัง
ต้องใช้รถยนต์เป็นหลักกันอยู่  รถไฟรางคู่สายแรกของเราจะได้ใช้กันทาง
ภาคตะวันออกไปทางชลบุรี-ระยองครับ



หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-06-2007, 17:42


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เป็นสัดส่วนน้อยอยู่แล้วครับ แต่ต้องเริ่มเพราะผู้เชี่ยวชาญของเรามีน้อยเกินไป

ฟิวชั่นได้ข่าวโครงการดวงอาทิตย์ของเทียมของจีน อีก50ปีครับ

ส่วนถ่านหิน ยิ่งขุดขึ้นมามากต้นทุนยิ่งสูงครับ เพราะต้องขุดลึกลงไป


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-06-2007, 18:29

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เป็นสัดส่วนน้อยอยู่แล้วครับ แต่ต้องเริ่มเพราะผู้เชี่ยวชาญของเรามีน้อยเกินไป

ฟิวชั่นได้ข่าวโครงการดวงอาทิตย์ของเทียมของจีน อีก50ปีครับ

ส่วนถ่านหิน ยิ่งขุดขึ้นมามากต้นทุนยิ่งสูงครับ เพราะต้องขุดลึกลงไป

ครับคุณ Q

และเมื่อเทียบระดับความเชี่ยวชาญของเราระหว่างเชื้อเพลิงนิวเคลียร์กับถ่านหินแล้ว
เรื่องถ่านหินเรามีความพร้อมกว่าทุกด้าน ยกตัวอย่างเรื่องการผลิตถ่านหินเรามี บ.บ้านปู
ที่เป็นผู้ผลิตถ่านหินใหญ่ที่สุดติด 1 ใน 5 ของอินโดนีเซีย (ไทยนำเข้าถ่านหินจากอินโด
คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของปริมาณนำเข้า) และปัจจุบันมีกิจการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่
โดยใช้ถ่านหินอยู่แล้วในประเทศไทย ปริมาณสำรองถ่านหินของบ้านปูทั้งในและนอก
ประเทศ (รวมเหมืองที่จีน) น่าจะประมาณ 20% ของปริมาณสำรองถ่านหินในไทยครับ
ยังไม่นับผู้ประกอบการถ่านหินรายใหญ่อื่นๆ อีก

นิวเคลียร์ฟิวชั่นที่ก้าวหน้ามากที่สุดน่าจะเป็นสหรัฐอเมริกานะครับ และน่าจะทำสำเร็จ
ได้ผลสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้แล้ว เพราะเขาเปลี่ยนแนวจากเดิมที่หลงทางไปวิจัย
ฟิวชั่นแบบเย็นเสียหลายปี แต่ตอนนี้กลับลำมาวิจัยฟิวชั่นแบบร้อนที่มีทางทำได้มากกว่า

ส่วนเรื่องราคาถ่านหินไม่ว่าอย่างไรก็มีเสถียรมากกว่าน้ำมันครับ นอกจากมีปริมาณสำรอง
มหาศาล (ประมาณ 1 ล้านล้านตัน ณ การสำรวจปัจจุบัน) ยังมีผู้ผลิตกว่า 100 ประเทศ
ผลิตกันในทุกรูปแบบทั้งเหมืองเปิด และเหมืองใต้ดิน  แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ไทยเรานำเข้า
จากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลักครับและอาจไม่ต้องไปซื้อไกลจากเอเชียในอีกร้อยปี


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-06-2007, 18:38

ผมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับถ่านหินอีกหน่อยนะครับ

คือ ประเทศอุตสาหกรรมหลักเดิมนี่ เขามีราคาถ่านหินแพงมาก

ถ่านหินคุณภาพดีอยู่ลึกลงไปนั่นเอง ปํญหาสุขภาพคนงานเหมืองถ่านหิน

แล้วก็ปริมาณสำรองผมไม่แน่ใจว่ารวมถ่านหินคุณภาพต่ำด้วยหรือไม่?

แล้วมีปริมาณมากเพียงไร?

หากเป็นเช่นนั้นก็จะมีปัญหามลภาวะตามมา เรื่องขาดแคลนหรือไม่มันมีปัจจัยเสี่ยงมากพอสมคววรครับ..


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 08-06-2007, 18:53
การใช้พลังงานถ่านหิน เพื่อผลิตไฟฟ้าตอบสนองความต้องการในขีดความต้องการของปัจจุบัญ ทำได้ค่ะ ขุดๆมันลงไป เอามาเผาเพื่อปั่นไฟฟ้า จะลดมลพิษให้เหลือน้อยที่สุดก็ทำได้ ขอเพียงจริงใจต่อการแก้ปัญหานี้ ไม่ใช้แอบปล่อยมลพิษออกมา

แต่....

ภาวะโลกร้อนที่กำลังจะทำลายโลก จะบอกกับเราอย่างสุภาพว่า หยุดก่อมลภาวะ หยุดสร้างก๊าซคาบอนไดออกไซด์ได้แล้ว ปริมาณที่เรากำลังทำอยู่ในวันนี้ เกินกว่าโลกจะรับได้แล้ว

ไม่ฟัง... ทุนนิยมต้องเดินต่อไป.... กำไรเท่านั้นที่เราต้องการ...

พูดกันไม่รู้เรื่อง ธรรมชาตินั้นไร้เดียงสา อ่อนโยน ช่วยเหลือตนเองได้ไม่มาก เมื่อถูกรังแก พร่าผลาญชีวิต เค้าก็ต้องตายในที่สุด

น้ำแข็งละลาย อากาศวิปริต พืชพรรณธัญญาหารวิบัติ

ก็พอดีกับเราสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบวกนิวเคลียร์ได้ ดีใจกันทั้งประเทศไทย

มีไฟฟ้าไว้สูบน้ำที่ท่วมถึงคอหอย มีไฟฟ้าไว้เปิดไฟล่อให้ปลาหมึกมาเล่นไฟ มีไฟฟ้าไว้พัฒนาเมรุแบบใหม่ที่ใช้ไฟฟ้า เผาได้แบบลอยน้ำ เพราะไม่มีแผ่นดินเหลือจะอยู่เท่าไหร่

----------------
นิวเคลียร์ฟิวชั่น หรือปฎิกริยารวมตัวนิวเคลียร์ ที่มุ่งจะเลียนแบบปฎิกริยาที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ เอาไฮโดรเจนสองอะตอม มารวมกันเป็นฮีเลียมหนึ่งอะตอม แล้วปลดปล่อยพลังงานออกมา ตามทฤษฎีแล้วเป็นไปได้ แต่ในทางปฎิบัติ เราทำได้แต่ควบคุมไม่ได้

ระเบิดไฮโดรเจนก็อาศัยหลักการนี้ โดยใช้ความร้อนจากนิวเคลียร์ฟิชชั่นหรือการแตกตัวของสารกัมมันตภาพรังสี เพื่อทำให้ไฮโดรเจนร้อนจนถึงขีดที่จะรวมตัวกันแล้วปลดปล่อยพลังงานออกมา

แต่การควบคุมเพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานน่าจะอยู่อีกห่างไกลมาก และที่สำคัญ หากทำได้โดยง่าย นั่นเท่ากับมีวิธีการสร้างระเบิดฟิวชั่นได้โดยง่ายด้วย ถ้าอเมริกาค้นพบ ก็จะต้องปกปิดไว้เป็นความลับสุดยอด เพราะหากประเทศอื่นรู้ นำเอาไปสร้างระเบิดปรมาณูแบบไฮโดรเจน ก็เละเทะกันเท่านั้นเองค่ะ

ถึงอเมริกาค้นพบ เขาก็ไม่บอกใครหรอกค่ะ  :slime_v: :slime_v:


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-06-2007, 19:03


ปัญหาไฟฟ้าเวลาขาดแคลนจะเป็นพร้อมกันทั้งโลกครับ

ถึงตอนนั้นเราจะมีสภาพถูกบังคับ หากเราไม่มีความยืดหยุ่น

และทรัพยากรธรรมชาติของตนเองเหลือเพียงพอ..


การปิดกั้นเทคโนโลยีทำไม่ได้ด้วยเหตุผลโลกาภิวัฒน์

ดังนั้นมีทางเดียวคือเราต้องมีทุกอย่างพอเพียงและสำรองไว้

ไม่ก็ต้องเลิกใช้พลังงานส่วนเกินจากทรัพยากรที่เรามีไปเลย..


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-06-2007, 20:04
ผมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับถ่านหินอีกหน่อยนะครับ

คือ ประเทศอุตสาหกรรมหลักเดิมนี่ เขามีราคาถ่านหินแพงมาก

ถ่านหินคุณภาพดีอยู่ลึกลงไปนั่นเอง ปํญหาสุขภาพคนงานเหมืองถ่านหิน

แล้วก็ปริมาณสำรองผมไม่แน่ใจว่ารวมถ่านหินคุณภาพต่ำด้วยหรือไม่?

แล้วมีปริมาณมากเพียงไร?

หากเป็นเช่นนั้นก็จะมีปัญหามลภาวะตามมา เรื่องขาดแคลนหรือไม่มันมีปัจจัยเสี่ยงมากพอสมคววรครับ..

ที่ว่าถ่านหินคุณภาพดีมีราคาแพงก็เพราะให้ค่าความร้อนสูงกว่ามาก
และมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมาะสม จัดการง่าย ก่อมลพิษน้อยครับ

ส่วนประมาณสำรองที่ว่าประมาณ 1 ล้านล้านตันนั้นคือปริมาณรวมครับ
แบ่งเป็นถ่านหินคุณภาพสูง (แอนทราไซท์ และบิทูมินัส) กับคุณภาพต่ำ
(ซับบิทูมินัส และลิกไนต์) ประมาณครึ่งต่อครึ่ง แต่ปริมาณสำรองอาจ
สูงกว่านี้มากเพราะมีการประเมินตัวเลขจริงในปัจจุบันเฉพาะในประเทศจีน
ก็อาจถึง 1 ล้านล้านตันแล้ว

ถ่านหินในประเทศไทยเท่าที่ผมทราบไม่มีบิทูมินัส มีแอนทราไซท์คุณภาพต่ำ
อยู่แถวๆ จ.เลย ไม่มากนักเมื่อประมาณสิบปีก่อนผมเคยแวะไปดู เขาต้องสั่ง
ถ่านแอนทราไซท์จากต่างประเทศมาผสมเพื่อ upgrade ให้สามารถขายได้
ส่วนใหญ่ของเราเป็นลิกไนต์ถึงเกือบ 100% ครับ

สำหรับอินโดนีเซียเป็นแหล่งบิทูมินัสรายใหญ่ของอาเซียนที่ผมบอกว่า
เครือบ้านปูมีบริษัทผลิตอยู่ที่นั่น และถ่านหินตัวนี้ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม
และสมควรนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า ปัจจุบันไทยเรานำเข้าถ่านหินจากอินโด
เกินกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณนำเข้าทั้งหมด

เรื่องมลพิษนั้นเราไปได้ไกลมากแล้ว เพราะปัจจุบันมีตั้งแต่กระบวนการ
ปรับปรุงคุณภาพก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงกระบวนการเผาไหม้ให้ดีขึ้น
ตลอดจนการกรองอากาศและจัดการเถ้าถ่านหิน โดยรวมแล้วจัดการได้
สมบูรณ์กว่าการจัดการกากนิวเคลียร์ที่ทำได้แค่การฝังแบบถาวร

ส่วนเรื่องขาดแคลนนั้นเทียบกับน้ำมัน Time Line ของถ่านหินยาวกว่ามาก
เป็นหลักร้อยปีครับ กว่าจะถึงตอนนั้นเราก็มีเทคโนโลยีอื่นมาทดแทนแล้ว


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-06-2007, 20:26
ที่ว่าถ่านหินคุณภาพดีมีราคาแพงก็เพราะให้ค่าความร้อนสูงกว่ามาก
และมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมาะสม จัดการง่าย ก่อมลพิษน้อยครับ

ส่วนประมาณสำรองที่ว่าประมาณ 1 ล้านล้านตันนั้นคือปริมาณรวมครับ
แบ่งเป็นถ่านหินคุณภาพสูง (แอนทราไซท์ และบิทูมินัส) กับคุณภาพต่ำ
(ซับบิทูมินัส และลิกไนต์) ประมาณครึ่งต่อครึ่ง แต่ปริมาณสำรองอาจ
สูงกว่านี้มากเพราะมีการประเมินตัวเลขจริงในปัจจุบันเฉพาะในประเทศจีน
ก็อาจถึง 1 ล้านล้านตันแล้ว

ถ่านหินในประเทศไทยเท่าที่ผมทราบไม่มีบิทูมินัส มีแอนทราไซท์คุณภาพต่ำ
อยู่แถวๆ จ.เลย ไม่มากนักเมื่อประมาณสิบปีก่อนผมเคยแวะไปดู เขาต้องสั่ง
ถ่านแอนทราไซท์จากต่างประเทศมาผสมเพื่อ upgrade ให้สามารถขายได้
ส่วนใหญ่ของเราเป็นลิกไนต์ถึงเกือบ 100% ครับ

สำหรับอินโดนีเซียเป็นแหล่งบิทูมินัสรายใหญ่ของอาเซียนที่ผมบอกว่า
เครือบ้านปูมีบริษัทผลิตอยู่ที่นั่น และถ่านหินตัวนี้ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม
และสมควรนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า ปัจจุบันไทยเรานำเข้าถ่านหินจากอินโด
เกินกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณนำเข้าทั้งหมด

เรื่องมลพิษนั้นเราไปได้ไกลมากแล้ว เพราะปัจจุบันมีตั้งแต่กระบวนการ
ปรับปรุงคุณภาพก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงกระบวนการเผาไหม้ให้ดีขึ้น
ตลอดจนการกรองอากาศและจัดการเถ้าถ่านหิน โดยรวมแล้วจัดการได้
สมบูรณ์กว่าการจัดการกากนิวเคลียร์ที่ทำได้แค่การฝังแบบถาวร

ส่วนเรื่องขาดแคลนนั้นเทียบกับน้ำมัน Time Line ของถ่านหินยาวกว่ามาก
เป็นหลักร้อยปีครับ กว่าจะถึงตอนนั้นเราก็มีเทคโนโลยีอื่นมาทดแทนแล้ว

ปัญหาสุขภาพของแรงงานก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนครับ

การกำจัดกากนิวเคลียร์ปัจจุบันจากเว็บไซท์ที่เกี่ยวข้อง ก็เห็นมีพัฒนาการอยู่ตลอด

ผมไม่แน่ใจนะครับ ว่าคำว่านิวเคลียร์เป็นอุปทานหรือเปล่าสำหรับประเทศไทยเรา

อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศส ญีปุ่น อเมริกา และอีกหลายประเทศมีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวนมาก

โรงงานที่ถูกปิดตามอายุก็มีทุกปีเหมือนกัน ส่วนที่มีอุบัติเหตุอย่างเชอร์โนบิล และที่อื่นๆมีอัตราส่วนต่ำมาก

ของไทยเราเองตอนนี้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่2โรงครับ..


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-06-2007, 20:32
การใช้พลังงานถ่านหิน เพื่อผลิตไฟฟ้าตอบสนองความต้องการในขีดความต้องการของปัจจุบัญ ทำได้ค่ะ ขุดๆมันลงไป เอามาเผาเพื่อปั่นไฟฟ้า จะลดมลพิษให้เหลือน้อยที่สุดก็ทำได้ ขอเพียงจริงใจต่อการแก้ปัญหานี้ ไม่ใช้แอบปล่อยมลพิษออกมา

แต่....

ภาวะโลกร้อนที่กำลังจะทำลายโลก จะบอกกับเราอย่างสุภาพว่า หยุดก่อมลภาวะ หยุดสร้างก๊าซคาบอนไดออกไซด์ได้แล้ว ปริมาณที่เรากำลังทำอยู่ในวันนี้ เกินกว่าโลกจะรับได้แล้ว

ไม่ฟัง... ทุนนิยมต้องเดินต่อไป.... กำไรเท่านั้นที่เราต้องการ...

พูดกันไม่รู้เรื่อง ธรรมชาตินั้นไร้เดียงสา อ่อนโยน ช่วยเหลือตนเองได้ไม่มาก เมื่อถูกรังแก พร่าผลาญชีวิต เค้าก็ต้องตายในที่สุด

น้ำแข็งละลาย อากาศวิปริต พืชพรรณธัญญาหารวิบัติ

ก็พอดีกับเราสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบวกนิวเคลียร์ได้ ดีใจกันทั้งประเทศไทย

มีไฟฟ้าไว้สูบน้ำที่ท่วมถึงคอหอย มีไฟฟ้าไว้เปิดไฟล่อให้ปลาหมึกมาเล่นไฟ มีไฟฟ้าไว้พัฒนาเมรุแบบใหม่ที่ใช้ไฟฟ้า เผาได้แบบลอยน้ำ เพราะไม่มีแผ่นดินเหลือจะอยู่เท่าไหร่

----------------
นิวเคลียร์ฟิวชั่น หรือปฎิกริยารวมตัวนิวเคลียร์ ที่มุ่งจะเลียนแบบปฎิกริยาที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ เอาไฮโดรเจนสองอะตอม มารวมกันเป็นฮีเลียมหนึ่งอะตอม แล้วปลดปล่อยพลังงานออกมา ตามทฤษฎีแล้วเป็นไปได้ แต่ในทางปฎิบัติ เราทำได้แต่ควบคุมไม่ได้

ระเบิดไฮโดรเจนก็อาศัยหลักการนี้ โดยใช้ความร้อนจากนิวเคลียร์ฟิชชั่นหรือการแตกตัวของสารกัมมันตภาพรังสี เพื่อทำให้ไฮโดรเจนร้อนจนถึงขีดที่จะรวมตัวกันแล้วปลดปล่อยพลังงานออกมา

แต่การควบคุมเพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานน่าจะอยู่อีกห่างไกลมาก และที่สำคัญ หากทำได้โดยง่าย นั่นเท่ากับมีวิธีการสร้างระเบิดฟิวชั่นได้โดยง่ายด้วย ถ้าอเมริกาค้นพบ ก็จะต้องปกปิดไว้เป็นความลับสุดยอด เพราะหากประเทศอื่นรู้ นำเอาไปสร้างระเบิดปรมาณูแบบไฮโดรเจน ก็เละเทะกันเท่านั้นเองค่ะ

ถึงอเมริกาค้นพบ เขาก็ไม่บอกใครหรอกค่ะ  :slime_v: :slime_v:

เรื่องภาวะโลกร้อนเนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผมต้องบอกก่อนว่าโดยส่วนตัวแล้ว
ผมไม่คิดว่าสาเหตุหลักมันจะมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และผมคิดว่าการที่เราไป
โฟกัสกันที่การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีโอกาสสูงที่จะเป็นการโฟกัสผิดจุด

แต่เรื่องนี้ต้องอธิบายกันยืดยาวมากๆ เพราะมันเป็นการทวนกระแสโลกแบบสุดๆ เรื่องหนึ่ง
คงพอจะบอกได้แค่ว่าผมเป็นพวกยึดทฤษฎีโลกร้อนอีกแนวทางหนึ่งที่แตกต่างกันครับ
สรุปสั้นๆ ก็คือสาเหตุหลักของโลกร้อนเกิดจากวงจรสภาพอากาศโลกที่วนมาพอดี บวกกับ
การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิวโลกของมนุษย์กลายเป็นเมือง และพื้นที่เกษตรกรรม โดยที่
ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มีส่วนไม่มาก ซึ่งดูได้จากปริมาณในสมัยไดโนเสาร์ที่โลกเรา
เคยมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปัจจุบันเกือบ 10 เท่าแต่อุณหภูมิก็ไม่ได้สูงมากมาย
ตามปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แต่อย่างใด ฯลฯ

---

เรื่องนิวเคลียร์ฟิวชั่นนั้นปัจจุบันเราก้าวหน้าไปมากแล้วล่ะครับ การควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์
จะทำโดยใช้สนามแม่เหล็กควบคุมให้พลาสมา(สสารที่ร้อนจัดจนไม่มีสถานะเป็นของแข็ง
ของเหลวหรือก๊าซ) ถูกห่ออยู่ภายในเหมือนรูปโดนัท อุปกรณ์ที่ว่านี้มีชื่อว่า tokamak ครับ
เป็นเทคโนโลยีที่อเมริกาสร้างขึ้น ปัญหาปัจจุบันอยู่ที่การทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และสม่ำเสมอเพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงาน

โครงการ ITER (International Thermonuclear Experimental Reactor) ซึ่งเป็นโครงการ
ความร่วมมือระหว่าง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย
จะแสดงถึงการผลิตพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้หลักการของเครื่อง
tokamak  โครงการตั้งอยู่ที่เมือง Cadarache ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส คาดว่าการทดลองผลิต
พลังงานจะสามารถเริ่มต้นได้ในปี 2016 หรืออีกประมาณ 10 ปีข้างหน้าครับ

สามารถแวะไปดูข้อมูลโครงการ ITER ได้ที่นี่ครับ http://www.iter.org/index.htm


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-06-2007, 20:50
ปัญหาสุขภาพของแรงงานก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนครับ

การกำจัดกากนิวเคลียร์ปัจจุบันจากเว็บไซท์ที่เกี่ยวข้อง ก็เห็นมีพัฒนาการอยู่ตลอด

ผมไม่แน่ใจนะครับ ว่าคำว่านิวเคลียร์เป็นอุปทานหรือเปล่าสำหรับประเทศไทยเรา

อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศส ญีปุ่น อเมริกา และอีกหลายประเทศมีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวนมาก

โรงงานที่ถูกปิดตามอายุก็มีทุกปีเหมือนกัน ส่วนที่มีอุบัติเหตุอย่างเชอร์โนบิล และที่อื่นๆมีอัตราส่วนต่ำมาก

ของไทยเราเองตอนนี้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่2โรงครับ..

เรื่องปัญหาสุขภาพของแรงงานผมไม่มีข้อมูลเลยครับ แต่เคยเห็นที่เหมืองถ่านหิน
คนงานเล่นไม่ใส่หน้ากากเองทั้งที่เหมืองมีให้เพราะบอกว่าอึดอัดและร้อน คงต้อง
ให้ออกกฎหมายบังคับเหมือนหมวกกันน็อคถึงจะยอมใส่  ปัญหาเรื่องการเจ็บป่วย
ผมยังไม่มีข้อมูลในมือเลยครับว่าคิดเป็นต้นทุนเท่าไหร่

---

เรื่องเทคโนโลยีนิวเคลียร์แบบ Fission นั้นน่าจะพัฒนาจนถึงจุดสูงสุดแล้วล่ะครับ
การกำจัดกากนิวเคลียร์หลักๆ ก็ยังเอาไปฝัง ในขณะที่เทคโนโลยีแบบ Fusion
ที่ไม่มีกากนิวเคลียร์กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วและจะเห็นผลในอีกแค่สิบกว่าปี
ผมจึงคิดว่าไม่น่าเอานิวเคลียร์ Fission แบบเดิมๆ ที่มีปัญหากากนิวเคลียร์มาใช้

ผมไม่ค่อยกลัวเรื่องโรงไฟฟ้าระเบิดหรอกครับโอกาสเกิดยาก เรื่องเชอร์โนบิลนั้น
ผมเห็นเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เถื่อนเพราะไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานมาก่อนนั้นแล้ว
เอาไปเทียบกับโรงงานนิวเคลียร์ทั่วไปไม่ได้หรอกครับ  ผมทราบดีว่าเทคโนโลยี
มีความปลอดภัยสูง ขนาดใกล้ๆ เกาะแมนฮัตตันยังมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลย


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-06-2007, 21:46

เหมืองถ่านหินยิ่งขุดลึกยิ่งเสี่ยงครับ มีอุบัติเหตุบ่อย ตอนที่จะขนขึ้นมา ของจีนก็เร็วๆนี้ก็ได้ข่าวอุบัติเหตุครับ

ส่วนข้อมูลต้นทุนเปรียบเทียบ ผมไม่มีอยู่ในมือ คงต้องหาจากโรงที่เรามีอยู่แล้ว ไว้มีจะเอามาโพสต์

แต่ผมมีสมมุติฐานว่าต้นทุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อหน่วยหน่วยไฟฟ้าต่ำมากในระยะยาว  ต้นทุนค่าการกำจัดกากก็ต่ำลงเรื่อยๆ

เทคโลยีก็ต้องมีคนมากพอ และต้องขยับขึ้นไปเป็นขั้นครับ ผมจึงสนับสนุนให้เปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มขึ้นได้อีกเป็นระยะเหมือนเรา

ซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เป็นระยะๆนั่นแหละครับ..การจัดการสถานที่ เงินทุน และสิ่งอื่นๆก็ต้องมีการเคลื่อนไหวนำร่องบ้างเหมือนกัน

ส่วนฟิวชั่นเชื่อว่ายังไม่แน่นอนครับ ข้อจำกัดหลายข้อเหมือนกัน บางข้ออาจจะผ่านยากครับ ความร้อนในเตาปฏิกรณ์ต้องสูงมากตรงนี้เป็นปัญหาก้าวข้ามยากครับ


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 08-06-2007, 23:33
เหมืองถ่านหินยิ่งขุดลึกยิ่งเสี่ยงครับ มีอุบัติเหตุบ่อย ตอนที่จะขนขึ้นมา ของจีนก็เร็วๆนี้ก็ได้ข่าวอุบัติเหตุครับ

ส่วนข้อมูลต้นทุนเปรียบเทียบ ผมไม่มีอยู่ในมือ คงต้องหาจากโรงที่เรามีอยู่แล้ว ไว้มีจะเอามาโพสต์

แต่ผมมีสมมุติฐานว่าต้นทุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อหน่วยหน่วยไฟฟ้าต่ำมากในระยะยาว  ต้นทุนค่าการกำจัดกากก็ต่ำลงเรื่อยๆ

เทคโลยีก็ต้องมีคนมากพอ และต้องขยับขึ้นไปเป็นขั้นครับ ผมจึงสนับสนุนให้เปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มขึ้นได้อีกเป็นระยะเหมือนเรา

ซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เป็นระยะๆนั่นแหละครับ..การจัดการสถานที่ เงินทุน และสิ่งอื่นๆก็ต้องมีการเคลื่อนไหวนำร่องบ้างเหมือนกัน

ส่วนฟิวชั่นเชื่อว่ายังไม่แน่นอนครับ ข้อจำกัดหลายข้อเหมือนกัน บางข้ออาจจะผ่านยากครับ ความร้อนในเตาปฏิกรณ์ต้องสูงมากตรงนี้เป็นปัญหาก้าวข้ามยากครับ

เข้าใจว่าคุณ Q คงจะหมายถึงเหมืองใต้ดิน และบังเอิญจริงๆ ว่าประเทศจีนเขาใช้จุดเด่นเรื่องแรงงานน่ะครับ
อย่างเวลาเกิดน้ำท่วมถนนพัง ถ้าเป็นที่อื่นก็จะมีพวกเครื่องจักรต่างๆ เข้าไปซ่อม แต่ของจีนใช้รถขนคนไปลง
แต่ละคนมีอุปกรณ์ประจำตัว ลงไปเป็นพันๆ คนซ่อมถนน เหมืองใต้ดินของเขาเน้นการใช้กำลังคนงานเป็นหลัก
ก็เลยเกิดอุบัติเหตุกับคนงานได้ง่าย

แต่อย่างของออสเตรเลียเขาใช้เครื่องจักรเข้าไป "กัด" ชั้นถ่านหินเป็นแนวยาว(น่าจะจากซ้ายไปขวา)
แล้วให้ตกลงรางเลื่อนด้านล่าง ที่จะเลื่อนส่งถ่านหินที่กัดได้มาด้านข้างแล้วลำเลียงขึ้นมาที่ผิวดินครับ
ทั้งหมดนี้แทบไม่ต้องใช้คนงานเลย ส่วนกรณีเหมืองแม่เมาะของเราเป็นเหมืองเปิดก็คือทำทางให้รถวิ่ง
ลงไปรับถ่านหินจากรถตักที่ก้นเหมืองแล้ววิ่งขึ้นมาส่งเข้าสายพานลำเลียง ตอนที่ผมไปเยี่ยมชมเขาใช้
รถขนถ่านหินขนาด 35 ตันและ 70 ตัน ปัจจุบันผมไม่แน่ใจเพราะรถขนรุ่นใหม่ๆ ขนได้เกิน 100 ตันแล้ว
อุบัติเหตุที่เคยได้ยินคือรถขนถ่านหินถอยทับรถแคริเบี้ยนที่มาจอดอยู่ข้างหลังโดยคนขับรถถ่านหินไม่รู้
โชคดีไม่มีใครตาย และกรณีเหมืองของบ้านปูที่อินโดนีเซียก็เป็นเหมืองเปิดนะครับ

---

ต้นทุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถูกกว่าแน่นอนครับ แต่ผมว่ามันจะเกิดจลาจลเอาสิครับแค่โรงไฟฟ้าถ่านหิน
ยังโดนต่อต้านขนาดหนักจนหาที่ตั้งแห่งใหม่ๆ ไม่ได้  ถ้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาผมนึกภาพไม่ออกจริงๆ
และก็อย่างที่ว่าตอนนี้โลกกำลังรอการเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีใหม่

ส่วนเรื่องเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่นยืนยันว่าเขาไปได้ไกลแล้วจริงๆ ครับเช่นความร้อนในเตาปฏิกรณ์
เทคโนโลยีปัจจุบันเราสามารถใช้เลเซอร์จุดได้ถึง 100 ล้านองศาเซลเซียสแล้วครับ ถ้าสนใจลองไป
อ่านดูตามลิงค์โครงการ ITER ก็ได้ครับ  http://www.iter.org/index.htm

---

อีกเรื่องหนึ่งที่ไทยเราน่าจะส่งเสริมก็คือการให้กิจการต่างๆ ผลิตไฟฟ้าใช้เองเพื่อลดการตั้งโรงงานไฟฟ้า
ขนาดใหญ่เพื่อป้อนอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคที่บริโภคพลังงานสูงมาก  ตัวอย่างเช่นโรงสีข้าวที่ปัจจุบัน
ใช้เชื้อเพลิงจากแกลบในการสีข้าวถือว่าลดภาระการผลิตไฟฟ้าโดยรวมของประเทศได้มหาศาล


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 09-06-2007, 01:29

ขอบคุณ คุณjerasak และทุกท่านที่ร่วมสนทนาให้ข้อมูลครับ


นิวเคลียร์ฟิวชั่นเป็นก้าวสำคัญมาก ต้องช่วยกันติดตามครับ เท่าที่ติดตามดูข้อมูลจากแหล่งหลักๆ

ยังเชื่อว่าอีกนานครับ กว่าจะเป็นโรงงานเชิงพาณิชย์ได้  ส่วนตัวผมยังเชื่อว่าผ่านยากครับ.. :slime_doubt:


ลองดูข้อมูลจากเพจนี้ก็ได้ครับ

http://www.iter.org/a/index_nav_2.htm

(http://www.iter.org/gifs2/King2.gif)


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ริวเซย์ ที่ 09-06-2007, 01:39
ถ้ามีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริง จะไปตั้งที่ไหน ผมว่าชาวบ้านต่อต้านแน่นอน

ดูแค่ตัวอย่างโรงไฟฟ้าบ่อนอก สิ ต่อต้านแทบตาย

ถึงจะรู้ว่าพลังงานนิวเคลียร์หากดูแลดีแล้วก็สะอาดปลอดภัยกว่าโรงไฟฟ้พลังน้ำมันหรือถ่านหิน

แต่ถามใจผมหรือใจคุณ(จขกท.)ก็คงไม่อยากให้มันปลูกอยู่ใกล้ๆบ้านเราอยู่ดี

แน่นอนว่าจะหาที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า เห็นทีจะยาก

คงต้องไปสร้างบนเกาะล่ะนะผมว่า เลือกเอาเกาะที่ไม่มีผู้คน หรือป่าที่ห่างไกลชุมชนมากๆ

กากนิวเคลียร์ก็กำจัดยาก อันตรายมากอีกด้วย

ได้อย่างเสียอย่างจริงๆครับ


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 09-06-2007, 01:42
ถ้ามีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริง จะไปตั้งที่ไหน ผมว่าชาวบ้านต่อต้านแน่นอน

ดูแค่ตัวอย่างโรงไฟฟ้าบ่อนอก สิ ต่อต้านแทบตาย

ถึงจะรู้ว่าพลังงานนิวเคลียร์หากดูแลดีแล้วก็สะอาดปลอดภัยกว่าโรงไฟฟ้พลังน้ำมันหรือถ่านหิน

แต่ถามใจผมหรือใจคุณ(จขกท.)ก็คงไม่อยากให้มันปลูกอยู่ใกล้ๆบ้านเราอยู่ดี

แน่นอนว่าจะหาที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า เห็นทีจะยาก

คงต้องไปสร้างบนเกาะล่ะนะผมว่า เลือกเอาเกาะที่ไม่มีผู้คน หรือป่าที่ห่างไกลชุมชนมากๆ

กากนิวเคลียร์ก็กำจัดยาก อันตรายมากอีกด้วย

ได้อย่างเสียอย่างจริงๆครับ

ครับ ยังดีที่ตอนนี้เรามีอยู่แล้ว2โรงหลายปีเหมือนกันแล้ว คงไม่มีใครยุให้มาเผานะครับ อิอิ  :slime_smile:


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 21-06-2007, 15:03


สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครับ..

เป็นแนวทางที่สร้างภูมิคุ้มกันและเหมาะสมต่อสังคมไทยในภาพรวมและ

ไม่ขัดแย้งกับแนวทางการปกครองและระบบเศรษฐกิจใดๆในระบบสากล

คนไทยเราสามารถช่วยกันเจียรนัยต่อไปจนเปล่งประกายเพชรน้ำเอกทางความคิดแก่โลกเสรีสากลได้ครับ..


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 25-06-2007, 12:21

ล่าสุดพวกนักคัดค้านอิงกลุ่มผลประโยชน์ มักจับข้อมูลบางส่วนและข้อมูลเก่า

มาเป็นประเด็นในการปลุกระดมสังคมและชาวบ้านให้คัดค้านโครงการต่างๆอย่างไม่ลืมหูลืมตา

สิ่งเหล่านี้ขัดขวางเทคโนโลยีในเมืองไทยไม่ให้เติบโตต่อไปได้..เพราะไม่ได้อยู่บนพื้นฐานหลักวิชา

แต่ก็สามารถหลอกคนให้เชื่อถือได้โดยไม่เข้าใจ ตรงนี้หน่วยงานต่างๆของรัฐ ต้องทำประชาสัมพันธ์เชิงรุก

จัดข้อมูลที่สามารถอธิบายข้อโต้แย้งต่างๆให้เข้าใจง่าย จัดส่งให้คอลัมนิสต์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้เขียนบทความได้อย่างมีข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้องครับ..

ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดโปงลดความน่าเชื่อถือของผู้คัดค้านโครงการต่างๆของรัฐ ที่มีผลประโยชน์แอบแฝงเหล่านั้นให้หมดทางหากิน

ด้วยวิธีการเดิมๆ คือ วิธีการจับเอาความไม่รู้ของชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นตัวประกัน

สิ่งที่ภาครัฐต้องทำคือ หันมาเอาใจใส่ การคุ้มครองผู้บริโภค ทุกด้านรวมทั้งด้านข้อมูลข่าวสารด้วย สื่อกระแสหลักที่ให้ข้อมูลผิดๆอาจต้องถูกกวาดตกชั้นความน่าเชื่อถือครับ




หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 25-06-2007, 12:47
แสงอาทิตย์ครับ


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 25-06-2007, 22:03


WEFเร่งชาติ'เอเชีย'สร้างนวัตกรรมแข่งกับตะวันตก  http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9500000074012
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2550 20:55 น.
 
 
       การประชุมเวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรัม (ดับเบิลยูอีเอฟ) ว่าด้วยเรื่องเอเชียตะวันออก ที่สิงคโปร์ เปิดฉากขึ้นเมื่อวันอาทิตย์(24) และยังคงหารือกันต่อวันนี้(25) โดยมีตัวแทนจาก 26 ประเทศเข้าร่วม
       
       ที่ประชุมดับเบิลยูอีเอฟเห็นพ้องว่า หลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ปัจจุบันชาติต่างๆทั่วโลกต่างก็แข่งขันเพื่อแสวงหาความรู้ ขณะที่ประเทศที่มีเทคโนโลยีก็จะมีความแตกต่างซึ่งทำให้ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่สุดได้
       
       จิม กูดไนท์ ประธานเจ้าหน้าบริหารบริษัทเอสเอเอส ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ข้อมูลข่าวกรองด้านธุรกิจซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ กล่าวต่อผู้เข้าร่วมการประชุมดับเบิลยูอีเอฟในวันสุดท้ายว่า "นวัตกรรมมาจากประเทศที่มีแรงงานได้รับการศึกษามากที่สุด"
       
       กูดไนท์กล่าวว่า ปัจจุบันโลกไม่ได้อยู่ในยุคสงครามเย็นที่ชาติต่างๆแข่งกันสะสมอาวุธ แต่ทุกวันนี้มีแต่การแข่งขันแสวงหาสติปัญญา ประเทศหรือภูมิภาคใดที่สามารถสร้างสติปัญญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็จะเป็นผู้ที่สามารถครองโลกได้ในที่สุด
       
       เจ้าหน้าที่ดับเบิลยูอีเอฟกล่าวว่า ในขณะที่ชาติเอเชียบางประเทศกำลังก้าวขึ้นสู่เวทีโลก แต่กลับมีเพียงสองประเทศจากเอเชีย นั่นคือสิงคโปร์และญี่ปุ่น อยู่ใน10อันดับแรกของประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันสูงสุดของโลกตามผลสำรวจชิ้นล่าสุดของดับเบิลยูอีเอฟ

 
 


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 27-06-2007, 08:54

“ฉลองภพ” ชี้จุดเสี่ยงฐานะการคลัง-สับแบงก์ชาติต้นตอวิกฤติ ศก.ไทย   
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2550 19:49 น.
 
 
       “ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์” ชี้ฐานะการคลัง เป็นชนวนจุดเสี่ยงเศรษฐกิจไทย สับแบงก์ชาติดำเนินนโยบายโดยไม่ฟังเสียงใคร จนพ่ายแพ้สงครามการเงิน ถือเป็นต้นตอวิกฤติเศรษฐกิจในอดีต ยันรัฐบาลยังให้อิสระ แต่หากมีปัญหาพร้อมเข้าแทรกแซง เชื่อปัญหาในปีนี้ ไม่รุนแรงเหมือนปี 40 เตือนไม่ควรประมาท เพราะมีบทเรียนราคาแพงมาแล้ว

 
 
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ 
 
 
       นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้เกือบครบรอบ 10 ปี วิกฤตเศรษฐกิจที่มีการลอยตัวค่าเงินบาท ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 นับเป็นบทเรียนสำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีการพัฒนาและปรับปรุงจนพื้นฐานเศรษฐกิจมีความมั่นคง จึงเห็นว่า มีโอกาสน้อยที่เศรษฐกิจปัจจุบันจะมีวิกฤตเหมือนปี 2540 โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2540 เพราะความเสี่ยงจากเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก ถือเป็นความเสี่ยงใหม่ที่ผู้บริหารประเทศไม่ได้มองเห็นแนวทางป้องกันที่สำคัญ และมองพื้นฐานเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งมากเกินไป เมื่อเกิดวิกฤติจึงไม่สามารถรองรับปัญหาได้ทัน รวมถึงการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยระยะสั้นของไทยมีส่วนต่างจากสหรัฐฯถึงร้อยละ 4 การแข่งขันการบริโภคที่มีสูงมากเกินไป ขาดระบบเตือนภัย จึงมองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า รวมถึงการขาดข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจในระยะสั้น ตัวเลขเงินกู้ระยะสั้นมีมาก เพราะเดิมมักอ้างอิงตัวเลขจีดีพี ซึ่งออกมาล่าช้า 1-1 ปีครึ่ง ทำให้ไทยต้องปรับปรุงมาตรการ รองรับปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในหลายด้าน
       
       อย่างไรก็ตาม นายฉลองภพ ยอมรับว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันยังมีความเสี่ยงที่ท้าทายกับประเทศต่างๆ ที่ต้องเผชิญ คือ ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว เพราะสหรัฐมีผลขาดดุลทางการค้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบการเงินโลกมีความผันผวน และอาจจะรุนแรงมากขึ้นจนกระทบต่อการค้า การลงทุน รวมถึงระบบการเงินโลกในปัจจุบันที่ยังไม่สมดุล ดังนั้น จึงมีการพูดกันมากในทุกวงการว่า วันหนึ่งระบบการเงินโลกอาจจะต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ เพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯขณะนี้ยังปรับตัวได้ไม่มาก จึงมองว่าอาจจะต้องมีการปรับตัวอย่างรุนแรง จนกระทบการเงินโลก ปัญหารูปแบบใหม่ทางเศรษฐกิจในเวทีโลก ทำให้ประเทศในแถบภูมิภาคนี้ต้องหารือกันมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสมดุล โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การหาทางร่วมกันในการปรับความสมดุลของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเกือบทุกประเทศจะเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ
       
       ทั้งนี้ ทุกประเทศจะต้องพยายามทำให้เงินสกุลต่างๆ มีระยะห่างระหว่างกันน้อยลง เพราะประเทศในแถบภูมิภาคนี้ยังมีการแข่งขันทางการค้า บางประเทศค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว บางประเทศปรับตัวได้น้อย ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออก เช่น เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าประเทศอื่น จะส่งผลทำให้การส่งออกน้อยลง จึงต้องพยายามทำให้ค่าเงินใกล้เคียงกันมากขึ้น แม้จะไม่ใช่เป็นการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเดียวกันเหมือนยุโรป เนื่องจากเห็นว่าประเทศในภูมิภาคนี้มีทุนสำรองระหว่างประเทศค่อนข้างสูง มูลค่ารวมกันถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหากสามารถรวมกันได้อย่างเหนียวแน่น จะสามารถลดความผันผวนจากผลกระทบของตลาดเงิน
       
       “การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ มักจะมองไม่เห็นว่ามีสัญญาณก่อให้เกิดปัญหาอย่างไรข้างหน้า จึงต้องร่วมกันพิจารณาหาแหล่งวิกฤตใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเหมือนกับวิกฤติปี 2540 เพื่อหาแนวทางในการป้องกัน โดยเฉพาะการสร้างระบบข้อมูลที่สมบูรณ์ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการ และคืบหน้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน อีกทั้งประเทศต่างๆ และประเทศไทยจะต้องมีการหารือกันระหว่างนักธุรกิจ นักวิชาการ และนักลงทุนในต่างประเทศ ว่า วิกฤตในอนาคตที่จะเกิดขึ้นมาจากแหล่งใด แต่ต้องไม่มั่นใจเกินเหตุว่าวิกฤติจะไม่กลับมา จะต้องเปิดรับหาแนวทางป้องกันความเสี่ยงอื่นที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบใหม่” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าว
       
       สำหรับการดูแลนโยบายด้านการเงินของ ธปท. นายฉลองภพ กล่าวว่า มีอิสระสูงในการดูแลปัญหาเศรษฐกิจ โดยยึดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็นพื้นฐานหลัก แต่เมื่อเกิดปัญหาหรือความเสี่ยงที่รายล้อมเข้ามา ก็ต้องมีการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง กับ ธปท. แต่อำนาจตัดสินใจจะเป็นของ ธปท.โดยยอมรับว่า ความผันผวนของเงินทุนไหลเข้าในช่วงต้นปี จนต้องนำมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 มาใช้ แต่ได้สร้างผลกระทบต่อตลาดหุ้น ซึ่งช่วงหลังถือว่ามีการผ่อนปรนไปมาก และสามารถดูแลเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้ค่อนข้างดี อีกทั้ง ธปท.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง แต่การจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาถกเถียงระหว่างกระทรวงการคลัง และ ธปท.เพราะนักลงทุนเข้าใจในมาตรการดังกล่าวดีแล้ว และเห็นว่ามาตรการดังกล่าวได้ทำให้หลายประเทศในแถบภูมิภาคสนใจอาจจะนำไปปรับใช้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินทุนไหลเข้า
       
       นายฉลองภพ กล่าวด้วยว่า เพื่อเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงิน รัฐบาลปัจจุบันได้พยายามเร่งรัดเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้พิจารณากฎหมายการเงิน เพื่อเป็นการดูแลโครงสร้างพื้นฐานหลัก ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.กำกับดูแลสถาบันการเงิน พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลธุรกิจประกันภัย รวมถึงการแก้ไขกฎหมาย ก.ล.ต. และการเสนอร่างกฎหมายสถาบันประกันเงินฝาก ซึ่งจะพยายามเสนอให้ทัน สนช.ชุดปัจจุบัน
 
 



หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 29-06-2007, 06:01




ต้องหันมาให้ความสนใจ เรื่องแผนแม่บทยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยครับ..การเงินและเงินตราก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีบทบาทมาก


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 05-08-2007, 19:17
(http://ict.mcot.net/newsimages/p4157.jpg)

รมว.พลังงานชี้พลังงานทางเลือกช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน  http://ict.mcot.net/query.php?nid=4157
รมว.พลังงานเร่งส่งเสริมพลังงานทางเลือกช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน ทั้งพลังงานชีวมวล โดยล่าสุดมีเอกชนเสนอผลิตไฟฟ้าถึง 458 เมกะวัตต์

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่ากระทรวงพลังงานส่งเสริมพลังงานทดแทนต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาโลกร้อนแล้ว ยังช่วยในเรื่องการลดการพึ่งพาการนำเข้าปิโตรเลียมซึ่งนับวันจะมีราคาสูงขึ้น และจากการเปิดให้ภาคเอกชนเสนอซื้อซองประกวดราคาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ที่กำหนดปิดขายซองไปเมื่อวานนี้ (1 ส.ค.) ปรากฏว่ามีเอกชนเสนอมา 9 โครงการรวม 458 เมกะวัตต์ ขณะที่ประกาศรับซื้อเพียง 300 เมกะวัตต์ ซึ่งคงจะต้องมาพิจารณาว่าจะขยายการรับซื้อหรือไม่ โดยต้องพิจารณาว่าโครงการเหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริงมากน้อยแค่ไหนด้วย

วันนี้ (2 ส.ค.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้ร่วมกับสถาบันทางการเงินทั้ง 11 แห่ง ลงนามในสัญญาโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 1 และโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 3 ซึ่งกระทรวงพลังงานคาดว่าผลของการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว จะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานประมาณ 1,500 ล้านบาท/ปี ซึ่งนายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่าโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน นับเป็นทางออกที่สำคัญในการเข้าไปช่วยเหลือภาคเอกชน ผู้ประกอบการ/อาคาร/โรงงาน ในด้านการให้เงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำไปลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งผลสำเร็จจากโครงการฯ ที่ได้ดำเนินการมาใน 2 ระยะ (พ.ศ. 2546 - 2549) โดยร่วมกับสถาบันการเงินทั้งสิ้น 11 แห่ง พบว่าให้การสนับสนุนผู้ประกอบการจำนวน 176 ข้อเสนอ ทำให้เกิดการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงาน 7,220 ล้านบาท เกิดผลต่อการประหยัดพลังงาน โดยรวม 2,951 ล้านบาท/ปี รวมทั้งยังช่วยลดมลพิษที่เกิดต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 39,000 ตัน ก๊าซไนโตรเจน 26,000 ตัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 45 ล้านตัน นอกจากนี้ ยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเตา 179 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นเงิน 2,506 ล้านบาทต่อปี และชะลอการลงทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าจากภาครัฐ ขนาด 70 MW คิดเป็นเงิน 2,500 ล้านบาท

สำหรับ 11 สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ธ.ทหารไทย ธ.ไทยธนาคาร ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.นครหลวงไทย ธ.เพื่อการนำเข้าและส่งออกฯ ธ.กสิกรไทย ธ.กรุงไทย ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ และ ธ.ยูโอบี ให้กู้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี โครงการละไม่เกิน 50 ล้านบาท

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าวงาน “กระทรวงพลังงาน มติชน ชวนเที่ยวงานแฟร์ดูแลสังคม” ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 - 19 สิงหาคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า ปัญหาโลกร้อนไม่ใช่ปัญหาของประเทศไทยเพียงประเทศเดียว แต่เป็นปัญหาของทั้งโลกที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข โดย 4 มาตรการที่จะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน คือ 1. การประหยัดพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2. การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน 3. การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า และ 4. การกำจัดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ เช่น การปั๊มก๊าซไปเก็บไว้ในหลุมใต้ดิน แต่มีข้อจำกัดในเรื่องเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ และต้นทุนในการดำเนินการสูง

“ทั้ง 4 มาตรการจะต้องทำไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะปฎิเสธไม่ได้ เพราะนอกจากแก้ปัญหาโลกร้อนแล้ว ยังจะช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าที่มีอย่างจำกัดได้ และต้นทุนค่าไฟฟ้าก็ต่ำ โดยรัฐบาลชุดนี้ก็จะมีการวางกรอบในการศึกษาไว้ การดำเนินการจะสร้างหรือไม่ก็อยู่ที่รัฐบาลชุดต่อ ๆไป โดยต้องใช้เวลาในการศึกษาถึง 7 ปี และหากจะก่อสร้างก็ต้องประมาณ 13 ปีข้างหน้า” นายปิยสวัสดิ์

สำหรับนโยบายด้านการประหยัดพลังงาน และส่งเสริมพลังงานทดแทนนั้น กระทรวงพลังงานก็ดำเนินการเต็มที่อยู่แล้ว โดยจะเน้นการปรับเปลี่ยนหลอดไส้ เป็นหลอดตะเกียบ และเปลี่ยนหลอดผอม เป็นหลอดผอมมาก ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าเพียง 28 วัตต์เท่านั้น จากหลอดผอมธรรมดาที่ใช้อยู่ 36 วัตต์ รวมถึงการส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้มาผลิตไฟฟ้า ทั้งน้ำเสีย ขยะ แกลบมาผลิตเป็นไฟฟ้าให้มากขึ้นด้วย. - สำนักข่าวไทย

 
 


ส่งเมื่อ : 02 ส.ค. 50 / 18:12:45 น.
โดย : MCOT News Editor 


หัวข้อ: Re: แนวคิดเศรษฐกิจ ยุคสุรยุทธ ในช่วงเวลาจำกัดของการบริหาร
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 05-08-2007, 22:21
ตัวชี้วัดที่สำคัญ  http://service.nso.go.th/nso/g_indicator/indicator.html

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2550 (20-06-50)
      ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และประชาติ พ.ศ. 2540 - 2549
      ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงิน และเงินสำรองระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 - 2549
      หนี้ต่างประเทศ ภาระการชำระหนี้ต่างประเทศ และร้อยละของภาระการชำระหนี้ต่อรายได้ฯ พ.ศ. 2540 - 2549
      รายได้ และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน และหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน พ.ศ. 2541 - 2549
      ส่วนแบ่งรายได้ประจำของครัวเรือน โดยการจำแนกครัวเรือนเป็น 5 กลุ่ม และสัมประสิทธิ์ของความไม่เสมอภาค 
          ของครัวเรือน และบุคคล 
 เครื่องชี้ภาวะสังคมไทย พ.ศ. 2549
      คำนำ
      บทนำ
      ประชากรและเคหะ
      แรงงาน
      การศึกษา
      สาธารณสุข
      สวัสดิการสังคม
      สถิติสังคมอื่น ๆ 
 เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2549   
 เครื่องชี้วัดสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2549   
 ตัวชี้วัดการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย   
 เศรษฐกิจ และครัวเรือน พ.ศ. 2548   
 ตัวชี้วัดที่สำคัญด้านประชากร สังคม พ.ศ. 2548 
 ตัวชี้วัด ICT 
 ตัวชี้วัดการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ 2546 


สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2547 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ถนนหลานหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์ 0 2281-0333 ต่อ 1411-1412 โทรสาร 0 2281-6438
บริการข้อมูล : services@nso.go.th ข้อเสนอแนะ : webmaster@nso.go.th