ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Cherub Rock ที่ 01-06-2007, 12:53



หัวข้อ: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 01-06-2007, 12:53
อ้างถึง
"มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย"

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยคำร้องที่อัยการสูงสุดขอให้คณะตุลาการมีคำ สั่งยุบพรรคไทยรักไทย ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 พรรคพัฒนาชาติไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 และพรรคแผ่นดินไทย ผู้ถูกร้องที่ 3

เนื่องจากผู้ ถูกร้องที่ 1 ว่าจ้างผู้ถูกร้องที่ 2 และ 3 ในฐานะพรรคเล็กลงสมัครเพื่อให้แข่งขันกับพรรคไทยรักไทย หลีกเลี่ยงเกณฑ์คะแนน 20 เปอร์เซ็นต์ หากมีผู้สมัครลงเพียงคนเดียว รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในฐานข้อมูลของ กกต. เพื่อให้มีสมาชิกพรรคที่มีคุณสมบัติสังกัดพรรคการเมือง 90 วันตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ

การกระทำดังกล่าวของผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นภัยต่อความมั่นคงต่อประเทศ ขัดต่อหลักกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 66 (1) และ (3) ขณะที่ผู้ถูกร้องที่ 2 และ 3 มีความผิดในมาตราเดียวกัน แต่ใน (2) และ (3)

- ชี้ทรท."ยุบสภา"แก้ปัญหาส่วนตัว

คณะตุลาการฯได้วินิจฉัยกรณีมีเหตุสมควร "ยุบพรรค" ผู้ถูกร้องทั้งสามหรือไม่...?

ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 63 วรรคสาม และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 บัญญัติเพียงว่า พรรคการเมืองที่กระทำการตามบทบัญญัติดังกล่าว อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้ และกรณีมีเหตุที่ไม่สมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ 1 สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจซึ่งเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2540 เป็นผลสำเร็จ และกระทำการตามนโยบายที่เป็นผลดีต่อประเทศชาติมากมาย จนเป็นที่นิยม

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ทั้งสิ้น 248 คน เป็นอันดับหนึ่ง และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ผู้ถูกร้องที่ 1 มีสมาชิกพรรคได้รับเลือกทั้งสิ้น 377 คน จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรก มีสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวนถึง 14,394,404 คน การสั่งยุบพรรคจะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อสมาชิกพรรคเหล่านั้น ทั้งที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง ทั้งหากมีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 บ้านเมืองจะเกิดความสับสนวุ่นวาย ต่างชาติจะขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการเมืองไทย ส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ

พิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดตั้งพรรคการเมืองจะต้องมีบุคคลตั้งแต่ 15 คนขึ้นไปรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนิน กิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น ตามวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามบทบัญญัติมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ซึ่งหมายความว่า พรรคการเมืองจะต้องเป็นที่รวมของบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเช่นเดียว กัน และมีเจตนารมณ์ที่จะร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อประโยชน์แก่ ประชาชนโดยรวม แต่เมื่อพิจารณาถึงที่มาของการยุบสภา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ว่า เป็นเพราะมีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนและขยายตัวไปในทางที่กว้างขวาง และรุนแรงขึ้น

ซึ่งการชุมนุมดังกล่าวปรากฏในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อ เท็จจริงหรือความเห็นของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ฉบับลงวันที่ 8 มกราคม 2550 ว่า มีสาเหตุมาจากการที่ประชาชนไม่พอใจที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ขายกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐให้แก่บริษัทที่เป็นของรัฐบาลต่างชาติเป็น เงินหลายหมื่นล้านบาท โดยไม่เสียภาษีแก่รัฐ และปรากฏว่าก่อนการขายกิจการดังกล่าวเพียง 3 วัน ก็มีการตรา พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ที่มีเนื้อหาสาระเป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลที่ผู้สัญชาติไทยใน กิจการโทรคมนาคมแบบที่ 2 และแบบที่ 3 ออกมาใช้บังคับ อันเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า เป็นกฎหมายที่ตราออกมาเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายกิจการดังกล่าว การยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 จึงมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัวของหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 มิได้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างองค์กรฝ่ายบริหารและฝ่าย นิติบัญญัติ หรือระหว่างพรรคการเมืองในฝ่ายบริหารด้วยกันเอง หรือมีปัญหาอันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะที่สมควรคืนอำนาจการตัดสินใจทาง การเมืองแก่ประชาชนด้วยการยุบสภา ทั้งการผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อธุรกิจของครอบครัวดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 มีอำนาจเหนืออุดมการณ์ของพรรคอย่างเด็ดขาดในการกำหนดความเป็นไปของพรรคผู้ ถูกร้องที่ 1 ทั้งการกำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549

- แฉ"ทักษิณ"ทำพิธีกรรมผูกขาดการเมือง

ภายหลังยุบสภา 37 วัน ก็เป็นช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมือง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ทำให้เกิดผลของการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 และการกำหนดวันเลือกตั้งภายหลังการยุบสภาเพียง 37 วันดังกล่าว ก็ได้ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านสามพรรคนำมาเป็นข้ออ้างในการไม่ส่งผู้สมัคร รับเลือกตั้ง และนำไปสู่การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. พ.ศ.2541 มาตรา 74 วรรคสอง ของผู้ถูกร้องที่ 1 โดยการสนับสนุนให้มีการแก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 และให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ลงแข่งขันกับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงการไม่ประกาศผลการเลือกตั้งกรณีมีผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียว และผู้สมัครนั้นได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือก ตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น

แต่ในที่สุดก็ไม่ได้เกิดผลสำเร็จตามประสงค์ เนื่องจากปรากฏว่ามีเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียวจากพรรคผู้ถูก ร้องที่ 1 จำนวนถึง 281 เขต จากจำนวนเขตเลือกตั้งทั้งหมด 400 เขต และผลลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ปรากฏว่ามีเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครจากพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียว และผู้สมัครนั้นไม่ได้รับคะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น จำนวน 38 เขตเลือกตั้งใน 15 จังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. พ.ศ.2541 มาตรา 74 วรรคสอง โดยกำหนดให้มีการลงคะแนนในวันที่ 23 เมษายน 2549 แต่เมื่อลงคะแนนแล้ว ยังมีเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครจากพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพียงคนเดียว และผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นไม่ได้รับคะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของ จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีกจำนวน 14 เขตเลือกตั้ง ใน 9 จังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกเป็นครั้งที่ 3 โดยกำหนดให้มีการลงคะแนนในวันที่ 29 เมษายน 2549 ดังที่ปรากฏในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 เอกสารหมาย ถ.91 แต่การเลือกตั้งในวันดังกล่าวไม่ได้มีขึ้น เนื่องจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการเลือกตั้งในวัน ดังกล่าวไว้ก่อน

ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 9/2549 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ให้เพิกถอนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 และครั้งถัดมา หลังจากนั้นได้มีพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2549 กำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549 แต่เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเริ่มจากปัญหาส่วนตัวของหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1

การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่เพียงเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนดังได้วินิจฉัยมา แล้วเท่านั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นพรรคการเมืองอันเป็นสถาบันหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ย่อมมีภาระหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ การที่ประชาชนจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศที่แสดงออกในการ เลือกตั้ง แต่ผู้ถูกร้องที่ 1 กลับทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นเพียงแบบพิธีที่จะนำไปสู่การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของผู้ถูกร้องที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

- หวังแค่อำนาจ"เชือด"2พรรคเล็ก

นอกจากนี้ ยังแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่ผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุดในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง ควรต้องสร้างความยั่งยืนให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมั่นคงกับหลักการที่ว่า กฎหมายต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ด้วยว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความ สุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการ ปกครองประเทศ นอกเหนือไปจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จนยากที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตน เองและพวกพ้อง พฤติการณ์ของผู้ถูกร้องที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ไม่อาจดำรงความเป็นพรรคการเมืองที่จะสร้างสรรค์และจรรโลงความชอบธรรมทาง การเมืองแก่ระบอบการปกครองของประเทศโดยรวมได้อีกต่อไป กรณีจึงมีเหตุอันสมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1

ที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า มีสมาชิกพรรคจำนวนมากถึง 14,394,404 คน การสั่งยุบพรรคจะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อสมาชิกพรรค ทั้งที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องนั้น เป็นเรื่องที่หัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ขณะที่เกิดเหตุจะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสมาชิกพรรคดังกล่าวเอง ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ส่วนผู้ถูกร้องที่ 2 และการที่ 3 นั้น การที่ผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกร้องที่ 3 รับเงินจากผู้ถูกร้องที่ 1 และออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จ เพื่อให้นำไปเป็นหลักฐานลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งการที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง แก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 อันเป็นการให้ความร่วมมือแก่ผู้ถูกร้องที่ 1 จนก่อให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 และที่ 3 เป็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของผู้ก่อตั้งหรือคณะ กรรมการบริหารพรรค มิได้เกิดจากการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองของบุคคลที่มีอุดมการณ์ทาง การเมืองเช่นเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการทางการเมืองให้เป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น เพราะบุคคลในพรรคเพียงไม่กี่คนก็สามารถนำพรรคไปรับจ้างพรรคการเมืองอื่น เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองอื่นได้

พฤติการณ์ดัง กล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 และที่ 3 มิได้มีสภาพความเป็นพรรคการเมืองอยู่เลย กรณีจึงมีเหตุอันสมควรยุบผู้ถูกร้องที่ 2 และที่ 3 เช่นกัน

- ล้มล้าง-ปฏิปักษ์ต่อปชต.

ประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ใช้บังคับกับเหตุยุบพรรคตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (1) (2) และ (3) ได้หรือไม่

ผู้ถูกร้องที่ 1 ต่อสู้ว่า เหตุยุบพรรคการเมืองทั้งมาตรา 66 (1) และ (3) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 คือ พรรคการเมือง "กระทำการ" อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนด แต่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 อ้างคำสั่งยุบพรรคการเมืองเฉพาะ "กระทำการต้องห้าม" จึงใช้บังคับกับเหตุยุบพรรคที่ระบุในมาตรา 66 (4) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 เท่านั้น

พิจารณาแล้วเห็นว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (1) (2) และ (3) ที่ผู้ร้องอ้างมาเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นบทบัญญัติให้ "การกระทำการ" และการห้ามกระทำการมีเพียงที่บัญญัติไว้ในมาตรา 66 (4) จึงไม่อาจนำการกระทำของพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 มาเป็นเหตุให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นั้น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 บัญญัติว่า เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง

(1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (2) การกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ (3) กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ (4) การทำการการฝ่าฝืน มาตรา 23 วรรคหนึ่ง มาตรา 52 หรือมาตรา 53 เห็นว่า ตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ความของมาตรา 66 (1) (2) และ (3) จะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดเรื่องของการกระทำการที่อาจถูกยุบพรรคการเมืองได้ แต่ขณะเดียวกันก็มีความหมายชัดเจนว่าเป็นบทบัญญัติที่ห้ามกระทำการอยู่ในตัว เพราะเมื่อพรรคการเมืองใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวก็อาจถูกยุบ พรรคการเมืองได้ จึงมีผลเท่ากับเป็นข้อต้องห้ามมิให้พรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังกล่าวนั่นเอง คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องที่ 1 จึงฟังไม่ขึ้น

- แย้งเพิกถอนสิทธิย้อนหลัง...ฟังไม่ขึ้น

ประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 มีผลใช้บังคับย้อนหลังกับการกระทำอันเป็นเหตุยุบพรรคในคดีนี้หรือไม่

ข้อนี้ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวอ้างว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลัง เนื่องจากประกาศฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลใช้บังคับย้อนหลัง ทั้งการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการใช้ สิทธิทางการเมืองซึ่งเป็นโทษทางการเมืองและมีความร้ายแรงกว่าโทษอาญาบาง ประเภท จึงต้องกำหนดไว้แน่นอนล่วงหน้า หากตีความว่าให้มีผลย้อนหลัง จะขัดกับหลักนิติรัฐและหลักการออกกฎหมายที่อารยประเทศทั่วโลกยึดถือ

พิจารณาแล้วเห็นว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรค"

ประกาศฉบับดังกล่าวมี ผลใช้บังคับเมื่อ 30 กันยายน 2549 แต่การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสามอันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพรรคการเมือง พ.ศ.2549 เกิดขึ้นในช่วงเวลาภายหลังพระราชกฤษฎีกายุบสภา พ.ศ.2549 มีผลใช้บังคับคือเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 จนถึงวันที่ 2 เมษายน 2549 อันเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงมีปัญหาว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พุทธศักราช 2549 ฉบับที่ 27 ข้อ 3 เป็นกฎหมายที่มีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคล ต้องห้ามมิให้ใช้บังคับหรือไม่

หลังการห้ามออกกฎหมายมีผลย้อนหลัง เป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้น มีที่มาจากหลักการที่ว่า ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ แต่หลักการดังกล่าวใช้บังคับกับการกระทำอันเป็นความผิดอาญาเท่านั้น ดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติว่า "บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและ กำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้น จะต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย" ซึ่งหลักการนี้ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีต หลายฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นต้นมา

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปีนับ แต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรค เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 นั้น แม้เป็นบทบัญญัติที่มีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่กระทำการต้อง ห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับต้องรับผลร้ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากเดิมเพียงแต่ได้รับผลตามมาตรา 69 กล่าวคือ จะขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ตามมาตรา 8 อีกไม่ได้เท่านั้น แต่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมิใช่โทษทางอาญา เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่เกิดจากผลของกฎหมายที่ให้อำนาจในการยุบพรรค การเมืองที่กระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมือง พ.ศ.2541 เพื่อมิให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีโอกาสที่จะกระทำการอันเป็นการก่อให้เกิด ความเสียหายซ้ำอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และแม้สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในสังคมที่มีการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย แต่การมีกฎหมายกำหนดว่าบุคคลใดสมควรมีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาพแห่งสังคม หรือเพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยในสังคมนั้นดำรงอยู่ย่อมมีได้ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังแก่การกระทำอันเป็นเหตุยุบพรรคในคดีนี้ได้ ข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้องที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
(http://www.matichon.co.th/newsphoto/matichon/pol06010650p1.jpg)

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pol06010650&day=2007/06/01&sectionid=0133

สรุปมาจาก 5 ชั่วโมงประวัติศาสตร์  :slime_evil:


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: justy ที่ 01-06-2007, 15:59
ใครอยากได้เป็น MP3 บอกมาน่ะ เดี๋ยวส่งให้ ทั้ง 2 พรรคเลย


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: วิหค อัสนี ที่ 01-06-2007, 16:03
งั้นขอนะครับ




หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: qazwsx ที่ 01-06-2007, 16:06
ใครอยากได้เป็น MP3 บอกมาน่ะ เดี๋ยวส่งให้ ทั้ง 2 พรรคเลย

อัพโหลดขี้น Web Hosting เลย


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: THE THIRD WAY ที่ 01-06-2007, 16:22
ใครอยากได้เป็น MP3 บอกมาน่ะ เดี๋ยวส่งให้ ทั้ง 2 พรรคเลย
อยากได้ครับ
จริงๆ :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: อังศนา ที่ 01-06-2007, 16:54
                  (http://www.matichon.co.th/newsphoto/matichon/pol06010650p1.jpg)
เอ่อ.. คุณจาตุรนต์รูปนี้ดูเหมือนคนเข่าอ่อนต้องถูกหิ้วปีกเลยเนอะ  :slime_hitted:
ตอนให้สัมพลาดทีแรกก็คงไม่เป็นตัวของตัวเองเท่าไหร่ มิน่าถึงได้บอก
น้อมรับคำสั่งศาล แถมยังเตือนพลพรรคให้ตั้งอยู่ในความสงบและมีสติ
..สงสัยว่าพอกลับไปถึงพรรค คงเหมือนวิญญาณชั่วร้ายกลับคืนร่าง  :slime_hmm:
เหมือนได้เสพดีหมีหัวใจตะกวดเข้าไป เลยปราศรัยปลุกระดมเป็นการใหญ่

(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/pink_flowers.gif)


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 01-06-2007, 17:00
ฝากไปทิ้งไว้ที่ WOM ด้วยครับ มันเป็นประวัติศาสตร์จริง ๆ


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 01-06-2007, 17:13
ผมว่า ทักษิณมองการเมืองเป็นแค่เครื่องมือทางการตลาดของแก

รูปการณ์เลยเป็นไปแบบนี้  


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 01-06-2007, 17:14
ผมว่า ทักษิณมองการเมืองเป็นแค่เครื่องมือทางการตลาดของแก

รูปการณ์เลยเป็นไปแบบนี้  

คนบ้าอำนาจอ่ะค่ะ พอใช้จนลืมตัวก็แบบนี้อ่ะ  


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 01-06-2007, 17:20
                  (http://www.matichon.co.th/newsphoto/matichon/pol06010650p1.jpg)
เอ่อ.. คุณจาตุรนต์รูปนี้ดูเหมือนคนเข่าอ่อนต้องถูกหิ้วปีกเลยเนอะ  :slime_hitted:
ตอนให้สัมพลาดทีแรกก็คงไม่เป็นตัวของตัวเองเท่าไหร่ มิน่าถึงได้บอก
น้อมรับคำสั่งศาล แถมยังเตือนพลพรรคให้ตั้งอยู่ในความสงบและมีสติ
..สงสัยว่าพอกลับไปถึงพรรค คงเหมือนวิญญาณชั่วร้ายกลับคืนร่าง  :slime_hmm:
เหมือนได้เสพดีหมีหัวใจตะกวดเข้าไป เลยปราศรัยปลุกระดมเป็นการใหญ่

(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/pink_flowers.gif)


ภาวนา ขอให้เห็นภาพนี้ตอนหิ้วปีกขึ้นศาลอาญา   :slime_worship:

เมื่อไหร่หนอ ที่อัยการจะสั่งฟ้องมติ ครม.หวยบนดิน ...  :slime_doubt:

...


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 01-06-2007, 17:23
หนูว่าแกหิวข้าวไม่มีแรงมากกว่ามั่งค่ะ ........  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 01-06-2007, 17:23
วรเจตน์ย้ำตรา กม.ย้อนหลังตัดสิทธิเลือกตั้ง ทำไม่ได้    
 


ประชาไท – 1 มิ.ย. 50 รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับรายการข่าวภาคเที่ยงของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กรณีตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษายุบพรรคและตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี ของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพลังแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย ว่า เขาได้เคยเขียนบทความแสดงความเห็นไว้เมื่อเดือนตุลาคม 49 หลังจากประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 27 แล้วว่า การตรากฎหมายย้อนหลังซึ่งส่งผลร้ายต่อบุคคลไม่สามารถกระทำได้

รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวต่อว่า แม้วันนี้เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ความเห็นของเขายังคงเป็นอย่างเดิม เนื่องจากกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะที่ระบุว่ามีการกระทำผิดนั้น กำหนดผลร้ายที่สุดเพียงแค่ว่า ห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบพรรคตั้งพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมตั้งพรรคขึ้นใหม่ นอกจากนี้ คดีนี้ยังเป็นคดีที่ค้างอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญก่อนการยึดอำนาจของ คปค. และประกาศของ คปค. ที่ให้เพิ่มโทษตัดสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี

ต่อข้อถกเถียงว่าระบบกฎหมายตราย้อนหลังได้หรือไม่นั้น รศ.ดร.วรเจตน์ มีความเห็นว่า โทษทั้งหลายที่เป็นผลร้ายต่อบุคคล ไม่สามารถตราเพื่อบังคับย้อนหลังได้ การตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีเป็นโทษรุนแรงที่พรากความเป็นพลเมืองไปจากบุคคลที่ถูกลงโทษ หากต้องการกำหนดโทษควรตรากฎหมายขึ้นก่อน ไม่ใช่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้และจบไปแล้ว

“หากการตรากฎหมายย้อนหลังทำได้แม้ไม่ใช่โทษทางอาญา เมื่อมีบุคคลทำผิด อาจมีโทษได้หลายประการ อาทิ ลดบำเหน็จบำนาญ กักบริเวณ หรือปรับเป็นแสน ความยุติธรรมของกฎหมายจะไม่มี จะไม่ใช่เรื่องของเหตุผล แต่เป็นเรื่องอำนาจ ถ้าเช่นนั้นก็ไม่ควรศึกษานิติศาสตร์กัน เพราะเขียนกฎหมายอย่างไรก็ได้” รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวและว่า เขามีความเห็นทางวิชาการว่า คำวินิจฉัยส่วนนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง ตัดสินไม่ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าเรื่องนี้จะเป็นบรรทัดฐานหรือไม่ รศ.ดร.วรเจตน์ ตอบว่า ไม่ โดยเห็นว่ากฎหมายมีผลไปข้างหน้า นอกจากนี้ ในประกาศ คปค. ก็ไม่ได้ประกาศเอาไว้ว่าจะมีผลย้อนหลัง จึงต้องใช้ตั้งแต่ 30 ก.ย. ที่ออกประกาศ

รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวว่า ไม่คิดว่า (การตัดสินครั้งนี้) เป็นบรรทัดฐาน เป็นการตัดสินเฉพาะในคดีนี้ เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งรับโอนคดีมาจากศาลรัฐธรรมนูญซึ่งสิ้นสภาพไปหลังรัฐธรรมนูญ 40 ถูกฉีก ซึ่งไม่ถูกหลักแต่แรกอยู่แล้ว

ทั้งนี้ เห็นว่า การตัดสินครั้งนี้น่าจะส่งผลต่อการเรียนการสอน เพราะต่อไปจะมีนักกฎหมายจำนวนหนึ่ง เชื่อ และสอนว่า การตรากฎหมายย้อนหลังทำได้หากไม่ใช่โทษอาญา

“ด้วยความเคารพ มันอธิบายไม่ได้ มันมีโทษที่แรงกว่าโทษอาญาเสียอีก แม้แต่การปรับเป็นเงิน 500 บาท เรายังรับกันว่าตรากฎหมายย้อนหลังไม่ได้ แล้วทำไมโทษนี้ถึงยอมรับได้ ถ้าเกิดรับว่า ตรากฎหมายย้อนหลังได้ ก็ต้องบอกว่า โทษอาญาก็ทำได้ด้วย และถ้าโทษอาญารับว่าทำไม่ได้ โทษที่มันหนักกว่านั้นตามสามัญสำนึกธรรมดายิ่งต้องทำไม่ได้” รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิเลือกตั้งจะสามารถยื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่ รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวว่า จากตัวกฎหมาย ถ้าเรายอมรับว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวเป็นกฎหมายสูงสุดและมีสภาพบังคับ ถ้ายอมรับว่าตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาคดี สภาพทางกฎหมายก็จะเด็ดขาดไป ไม่สามารถอุทธรณ์ได้  

“(คดี) เป็นอันปิดตายแล้ว แม้เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมก็ตาม จึงเรียนว่ากระทบกับทางหลักนิติศาสตร์เป็นสำคัญ ส่วนตัวเคารพตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่ยอมรับคำวินิจฉัยเรื่องนี้ไม่ได้ โดยเฉพาะประเด็นตัดสิทธิเลือกตั้งย้อนหลังของทุกพรรค” รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าว


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 01-06-2007, 17:29
วรเจตน์ น่าจะไปหาอ่าน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้ กฎหมาย ปปง.มีผลย้อนหลัง

จะว่าไปเรื่อง"ย้อนหลัง" มีในคำวินิจฉัยแล้วไม่ใช่รึ

สมแล้วที่มีคนปล่อยข่าวว่า หน้าเหลี่ยมจะยกลูกสาวให้


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: Kittinunn ที่ 01-06-2007, 17:48
วรเจตน์ย้ำตรา กม.ย้อนหลังตัดสิทธิเลือกตั้ง ทำไม่ได้    
 
ประชาไท  – 1 มิ.ย. 50 รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับรายการข่าวภาคเที่ยงของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี  บลาๆๆๆๆๆ..... 

อมขี้ฟันนักวิชาการเค้ามาบอกต่อ

ไม่มีราคา...


หัวข้อ: Re: "มูลเหตุ"อวสาน"ไทยรักไทย" / มติชน
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 01-06-2007, 17:59

วรเจตน์หมดสภาพแล้ว เพราะพูดเรื่องนี้มานานแล้ว

สังคมต้องเลิกฟังเขาได้แล้ว

พงเทพถูกลงโทษ ฟังไม่ขึ้นอยู่แล้ว

รวมทั้งทนายอื่นๆ ที่พยายามจะเอาประเด็นเรื่องที่ศาลตัดสินมาพูดแล้วพูดอีก


อากการไม่ยอมรับคำตัดสิน เก็บหลักฐานไว้ได้ครับ ศาลไม่สามารถใช้การตะแบงเป็นบรรทัดฐานในการรับฟังได้หรอกครับ..