ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: snowflake ที่ 09-04-2007, 01:53



หัวข้อ: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-04-2007, 01:53
ต่อท่อ

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

ณ บัดนี้ เห็นได้ค่อนข้างชัดเสียแล้วว่า ไม่มีบุคคลใดที่มีอำนาจทางการเมืองในเวลา
นี้ จะสามารถ "ต่อท่อ" อำนาจของตนให้ยั่งยืนสืบไปได้ อย่างน้อยก็ด้วยวิถีทางของ
กฎหมาย

อย่าคิดถึงหลังเลือกตั้งเลย แม้แต่จะให้ท่อยาวไปถึงวันเลือกตั้งตามความตั้งใจเดิม
ก็ยังน่าสงสัยว่าจะทำได้หรือไม่

หากอยาก "ต่อท่อ" หรือจำเป็นที่จะต้อง "ต่อท่อ" เพื่อความปลอดภัยของตนเอง ก็
เหลืออยู่วิถีทางเดียวคือวิถีทางนอก "กฎหมาย" และหากผู้มีอำนาจกลุ่มใดเลือกใช้
วิธีนี้ เช่น ชิงยึดอำนาจด้วยกำลังทหารเสียก่อน ท่อก็จะแตกเป็นเสี่ยงๆ แถมแผ่นดิน
ก็จะพังพินาศเป็นจุณไปด้วย

ฉะนั้น หากสำนวน "ต่อท่อ" หมายถึงการต่ออำนาจของบุคคล ผมคิดว่าความเป็นไปได้
ในแง่นี้ได้หมดไปแล้ว

แต่ "ต่อท่อ" ในความหมายถึงการทำให้ระบบการเมืองที่กองทัพเป็นปัจจัยตัดสินทาง
การเมืองที่สำคัญสุด ได้ดำรงอยู่สืบไปในการเมืองไทย นี่ต่างหาก ที่มีความพยายาม
กระทำกันอยู่ อีกทั้งมีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะจะทำให้ทุกฝ่ายได้รับความปลอดภัย
หลังเลือกตั้ง

วีรบุรุษไม่ต้องกลายเป็นโมฆบุรุษในฉับพลัน

แต่ทางลงที่ดีที่สุดแก่ฝ่ายอำนาจเช่นนี้ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ทุกคนเลือกเหมือนกัน
อคติทั้งสี่ เพราะรัก เพราะชัง เพราะโลภ เพราะหลง อาจบดบังปัญญา จนบางคน
บุ่มบ่ามและทุกอย่างพังลงได้ในพริบตา

ระบบการเมืองที่กองทัพเป็นผู้ชี้ขาดทางการเมือง แม้มีการเลือกตั้งและมีพรรคการเมือง
คือ ระบบการเมืองที่ครอบงำสังคมไทยระหว่าง พ.ศ.2521-2531 โดยมีนายกรัฐมนตรี
ซึ่งกองทัพเลือกหนุนหลังสองคน คือพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และพลเอกเปรม
ติณสูลานนท์

ในระหว่างนั้น แม้มีการเลือกตั้งและมีพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองเป็นปกติ
แต่เงื่อนไขสำคัญที่พรรคการเมืองจะสามารถตั้งรัฐบาลผสมได้ ก็คือต้องยอมรับเอา
บุคคลที่กองทัพหนุนหลังเป็นนายกรัฐมนตรี อำนาจต่อรองของบุคคลที่เป็นนายกฯ สูง
มาก แม้ไม่มีพรรคการเมืองของตนเอง เขาคือคนที่ตัดสินใจเลือกบุคคลที่เขาไว้วางใจ
ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญๆ ของรัฐบาล เช่น รัฐมนตรีคลัง, ต่างประเทศ, และ
มหาดไทย เป็นต้น

ตำแหน่งที่เหลือ นักการเมืองที่รวมตัวกันสนับสนุนแบ่งสรรโควต้ากัน จะโกงกินกัน
อย่างไรก็ตามสะดวก แต่อย่าให้จับได้คาหนังคาเขาเกินไป เพราะเปิดช่องให้ฝ่ายค้าน
และสื่อโจมตีรัฐบาลซึ่งเป็นการบั่นรอนเสถียรภาพของรัฐบาล ฝ่ายค้านเองก็โจมตีนัก
การเมืองด้วยกันที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริต ไม่ใช่ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะล้มรัฐบาล ต้องการ
เพียงเปลี่ยน "หุ้นส่วน" ในรัฐบาลผสมเท่านั้น

โฟกัสของการเมืองที่แท้จริงเลื่อนมาอยู่ที่กองทัพและระบบราชการ การเมืองในสภา
เป็นแค่ปาหี่ต้มคนดู และเพราะเป็นแค่ปาหี่ จึงดูเหมือนเป็นการเมืองระบบ "เปิด" เช่น
มีการถ่ายทอดสดการอภิปรายในสภา และปล่อยให้นักแสดงปาหี่ดำเนินกิจกรรมทาง
การเมืองกันอย่างเต็มที่

ดูเผินๆ เหมือนเป็นระบบการเมืองที่ลงตัวดี เพราะทุกฝ่ายได้รับส่วนแบ่งของอำนาจ
ไปตามสัดส่วนความสำคัญของตัว ใครคุมกองทัพซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง
ได้มาก ได้น้อย ก็มีสิทธิมีส่วนตัดสินทางการเมืองตามสัดส่วนแห่งอำนาจในการคุม
กองทัพของตัว ในขณะที่ผู้ดำรงตำแหน่งบังคับบัญชาในกองทัพ ก็จัดสรรแบ่งส่วน
ตำแหน่งให้พรรคพวกหรือคนที่เข้ามาขอพึ่งใบบุญ เสริมกำลังทางการเมืองให้แก่ตัว
หรือแก่เจ้าพระเดชนายพระคุณของตัว

ในขณะที่ภาคธุรกิจเข้าถึงทั้งนายกฯ และนักการเมือง ฉะนั้นจึงคุมนโยบายให้เอื้อต่อ
ผลประโยชน์ของตนได้อย่างสม่ำเสมอ

ประชาชนในชนบทได้รับการอุปถัมภ์จากนักการเมือง หรือเครือข่ายของนักการเมือง
ตอบแทนการที่พวกเขาไม่ได้เรียกร้องอะไรเชิงนโยบาย

กลุ่มคนที่ได้ส่วนแบ่งของอำนาจมาไม่สมกับความคาดหวังคือคนชั้นกลางที่มีการศึกษา
ซึ่งขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง เขาคือกลุ่มคนที่ต้องเสพย์สื่อซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ
รัฐ หรือมิฉะนั้นก็ "แหย" เขาคือกลุ่มที่อยากได้ระบบการเมืองซึ่งเปิดพื้นที่ให้เขาเข้าไป
มีส่วนร่วมมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม ผลประโยชน์ของพวกเขาผูกพันกับการจ้างงาน
ของภาคธุรกิจซึ่งแนบแน่นกับระบบการเมืองที่เป็นอยู่ ฉะนั้น แม้ว่าคนชั้นกลางเหล่านี้
ต้องการระบบการเมืองใหม่ที่เปิดกว้างขึ้น แต่ก็ยังต้องการทหารและระบบราชการไว้
ถ่วงดุลกลุ่มอื่นด้วย เพราะสังคมที่ "สงบเรียบร้อย" ประกันรายได้ของตนได้ดีกว่าความ
วุ่นวายทางการเมือง

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนชั้นกลางไทยไม่ได้มีอุดมคติเป็นประชาธิปไตย  เพียงแต่เห็น
ว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพในการต่อรองเชิงอำนาจ
เท่านั้น  หากการเมืองในระบอบเลือกตั้งลิดรอนอำนาจของตนไป  ก็อาจหันไปหา
เผด็จการทหารได้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบการเมืองเช่นนี้มีความตึงเครียดภายในสูง การต่อสู้
ช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์เป็นไปอย่างเข้มข้น ทั้งด้วยเล่ห์กลทางการเมืองใน
สภาและการใช้กำลังทหาร รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพแต่อย่างใด สิ่งที่พอจะเรียกได้ว่า
เสถียรภาพคือ อำนาจนำของกองทัพในการเมืองเท่านั้น ดังนั้น นายกรัฐมนตรีอาจ
เป็นคนเดิม แต่รัฐบาลผสมต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง และสภาถูกยุบอยู่เป็นประจำ

ระบบการเมืองที่จะเกิดสภาพที่กองทัพกำกับการเมืองอยู่เบื้องหลังเช่นนี้ได้ มาจาก
ปัจจัยสำคัญสองสามอย่าง ประการแรกคือนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง,
พรรคการเมืองต้องไม่ได้คะแนนเสียงเด็ดขาดจากการเลือกตั้ง และจะทำให้เป็นอย่าง
นั้นได้ ก็ต้องตัดหนทางที่พรรคการเมืองจะ "ระดม" กำลังทรัพย์, กำลังหัวคะแนน, และ
กำลัง "ประชานิยม" ฉะนั้นจึงไม่ควรมี ส.ส. ระบบบัญซีรายชื่อ ซึ่งเป็นช่องทางให้พรรค
การเมือง "ระดม" กำลังทรัพย์ได้ง่าย ต้องไม่มีการเลือกตั้งระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ซึ่ง
ทำให้พรรคการเมืองกว้านหัวคะแนนได้สะดวก และต้องไม่ปล่อยให้เกิดสื่อเสรีขึ้นมากนัก
ไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน, ทีวีเสรี, หรือสื่ออินเตอร์เน็ตที่ไม่ถูกรัฐแทรกแซง ทั้งนี้ เพื่อจะ
สามารถคุมการเคลื่อนไหวของคนชั้นกลางได้สะดวก

ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเห็นได้ในความพยายาม "ต่อท่อ" ของกลุ่มอำนาจในขณะนี้ทั้งสิ้น
แต่ไม่ใช่ "ต่อท่อ" ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เท่ากับ "ต่อท่อ" ให้แก่ระบบการเมือง
ของเมื่อสองทศวรรษที่แล้ว ประหนึ่งว่าเวลาร่วมสองทศวรรษที่ผ่านมาเป็นเหตุการณ์
ที่ไม่มีเหตุการณ์ เป็นความว่างเปล่าของเวลา

แต่สองทศวรรษที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่ลบออกไปไม่ได้ เป็นเวลาที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์
ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของสังคมไทย เช่น พฤษภามหาโหดในพ.ศ.2535 ทำให้คน
ชั้นกลางซึ่งแม้ไม่ได้ศรัทธาต่อประชาธิปไตยแน่นแฟ้นนัก แต่ก็ได้สำนึกในอำนาจของตน
เป็นครั้งแรก และอำนาจนั้นเป็นของประหลาด ใครได้ลิ้มรสของมันแล้ว ก็ไม่สามารถถอย
กลับไปจ๋องอย่างเก่าได้อีก

สองทศวรรษที่ผ่านมาเต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนระดับ
รากหญ้า ประสบความสำเร็จบ้างล้มเหลวบ้าง แต่ทุกความเคลื่อนไหวล้วนแผ่รสแห่ง
อำนาจไปถึงประชาชนผู้ไร้อำนาจกว้างขวางขึ้นเรื่อยๆ คนเหล่านี้ถอยกลับไปรับบริจาค
จากนักการเมืองแล้วจำนนอย่างราบคาบไม่ได้อีกแล้วเช่นกัน

เป็นความเพ้อฝันของกลุ่มอำนาจในปัจจุบัน (ซึ่งประกอบด้วยหลายฝ่าย) ที่ฝันว่าจะนำ
ประเทศไทยกลับไปสู่ระบบการเมืองของเมื่อ 20 ปีก่อนได้  และพยายาม "ต่อท่อ" ระบบ
การเมืองเช่นนั้นให้พลิกฟื้นคืนชีพในสังคมไทย

ผมเชื่อว่าจะล้มเหลวในที่สุด แม้สมมุติว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการลงประชามติ และ
เกิดการเลือกตั้งขึ้น ระบบการเมืองที่ได้รับการ "ต่อท่อ" มานี้ก็จะไม่ทำงาน กองทัพ
ในปัจจุบันไม่มีตัวแทนของตัวเองที่จะส่งมาดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้อีกแล้ว เพราะ
ไม่มีใครมีบารมีในกองทัพพอจะคุมความเคารพจากทุกฝ่ายในกองทัพได้อีกแล้ว หาก
เชิดนักการเมืองขึ้นเป็นนายกฯ ในกำกับของกองทัพ นักการเมืองก็จะหักหลังกองทัพ
ในเวลาไม่นาน ทั้งด้วยเหตุจำเป็นทางการเมืองที่จะต้องหักหลัง และเหตุของความ
ละโมบของตนเอง

ผมไม่ห่วงว่าระบบการเมืองที่ถูก "ต่อท่อ" มานี้จะล้มเหลว แต่ผมห่วงว่าความล้มเหลว
ในครั้งนี้ อาจนำไปสู่การนองเลือดที่สูญเปล่า นั่นก็คือสูญเสียเลือดเนื้อกันไปโดยไม่มี
เป้าหมายว่า จะเดินต่อไปทางไหน

มติชน วันที่ 09 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10621

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03090450&day=2007/04/09&sectionid=0130

เราต้องหาทางได้ในที่สุดค่ะเมื่อถึงเวลา
หวังว่าเมื่อถึงวันนั้น สังคมไทยจะได้เรียนรู้ว่า
รัฐประหารไม่ใช่ทางออก
แต่เป็นทางตัน ...
และจะได้ช่วยกันป้องกันมิให้เกิดขึ้นอีก

แต่ว่าอย่าต้องให้เกิดการนองเลือดอีกเลย
That’s too high a price to pay.


 :slime_worship:


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 09-04-2007, 09:56
ช่างไร้เดียงสาเสียจริงนะคุณ snowflake อ.นิธิ เค้าพูดเรื่องต่อท่อ
คุณ snowflake ก็ลากไปยำกับรัฐประหาร เรื่องต่อท่อเนี่ย ยุคใหนสมัยใหน
รัฐบาลเลือกตั้ง รัฐบาลแต่งตั้ง มันก็ต่อกันทั้งนั้นแหละน่า อ.นิธิ ต้องปั่นต้นฉบับ
ไม่รู้จะเขียนอะไร ก็หยิบเรื่องนี้มาหากิน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร
คุณ snowflake ทำเป็นตื่นเต้นไปได้ 555

มาว่าเรื่องรัฐประหารที่คุณ snowflake อยากเล่นกัน

อย่างที่ผมเคยพูดเอาไว้หลายต่อหลายครั้ง ไม่มีรัฐธรรมนูนฉบับใดในโลก
ที่สามารถหยุดรัฐประหารได้ ผมท้าให้ อ.นิธิ เขียนรัฐธรรมนูน คนเดียวเลย
หรือให้คุณ snowflake กับ อ.นิธิ ช่วยกันเขียนสองคน เขียนได้ตามใจชอบ
รัฐธรรมนูน ฉบับนั้น ก็ต้านรัฐประหารไม่ได้

เพราะ เมื่อผู้มีอำนาจทางทหาร ตัดสินใจทำรัฐประหาร รัฐธรรมนูนฉบับใหน
ก็ไม่มีความหมาย ต่อให้เป็นอเมริกาด้วย ถ้ากองทัพตัดสินใจรัฐประหาร
รัฐธรรมนูนของอเมริกาก็หมดความหมาย เพราะความหมายของรัฐประหาร
มันก็ชัดเจนในตัวมันอยู่แล้ว คือ ล้มล้างรัฐธรรมนูนฉบับเดิม

ความพยายามของ รัฐสภาที่จะร่างรัฐธรรมนูน เพื่อป้องกันรัฐประหาร ที่เห็น
ในข่าว เป็นเรื่องตลก และไร้เดียงสา แทนที่จะเอาเวลาไปเขียนรัฐธรรมนูน
ในส่วนที่เสริมความเข้มแข็งให้กับการตรวจสอบการทุจริต ป้องกันการฉ้อราษฎร์
บังหลวง ซึ่งนั่นจะป้องกันการรัฐประหารได้ดีที่สุด กลับเสียเวลาทำเรื่องไร้สาระ
กันอยู่ได้

"อำนาจรัฐจักได้มาด้วยกระบอกปืน" เป็นคำพูดของพวกคอมมิวนิสต์ แต่ก็คือ
ความเป็นจริงของ อำนาจรัฐ รัฐที่มาจากการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตย
ก็ใช้กระบอกปืนในการสถาปนาความมั่นคงของอำนาจ หากบริหารปกครอง
บ้านเมืองได้ดี ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันมากนัก ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม
กระบอกปืนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ก็จะปกป้อง ค้ำจุน เหมือนกับ
ที่เราเห็นในอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ แต่ถ้าฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอย่างเอิกเริก
กระบอกปืน ก็จะหันมาเป็นภัยต่อผู้บริหารประเทศเมื่อนั้น

ผมย้ำอีกครั้ง ว่า การป้องกันรัฐประหาร ทำได้โดยการให้การศึกษากับประชาชน
ให้พวกเค้าเรียนรู้ถึง สิทธิที่ตนเองมี และความรับผิดชอบจากการใช้สิทธินั้น
เมื่อถึงตอนที่ประชาชนเรียนรู้ในสิทธิและความรับผิดชอบ นักการเมืองก็จะ
โกงจะฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ยากขึ้น และนั่นก็จะกำจัดเงื่อนไขในการรัฐประหาร
ได้อย่างสมบูรณ์

อ้อ ผมใช้คำว่า "ประชาชน" ไม่ใช้คำว่า "สังคมไทย" แบบคุณ snowflake
เพราะคำว่า "สังคมไทย" มันช่างเลื่อนลอยเสียจริง

สุดท้ายประโยค "That’s too high a price to pay." ของคุณ snowflake
ผิดหลักไวยกรณ์นะครับ


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 09-04-2007, 10:08
ช่างไร้เดียงสาเสียจริงนะคุณ snowflake อ.นิธิ เค้าพูดเรื่องต่อท่อ
คุณ snowflake ก็ลากไปยำกับรัฐประหาร เรื่องต่อท่อเนี่ย ยุคใหนสมัยใหน
รัฐบาลเลือกตั้ง รัฐบาลแต่งตั้ง มันก็ต่อกันทั้งนั้นแหละน่า อ.นิธิ ต้องปั่นต้นฉบับ
ไม่รู้จะเขียนอะไร ก็หยิบเรื่องนี้มาหากิน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร
คุณ snowflake ทำเป็นตื่นเต้นไปได้ 555

มาว่าเรื่องรัฐประหารที่คุณ snowflake อยากเล่นกัน

อย่างที่ผมเคยพูดเอาไว้หลายต่อหลายครั้ง ไม่มีรัฐธรรมนูนฉบับใดในโลก
ที่สามารถหยุดรัฐประหารได้ ผมท้าให้ อ.นิธิ เขียนรัฐธรรมนูน คนเดียวเลย
หรือให้คุณ snowflake กับ อ.นิธิ ช่วยกันเขียนสองคน เขียนได้ตามใจชอบ
รัฐธรรมนูน ฉบับนั้น ก็ต้านรัฐประหารไม่ได้

เพราะ เมื่อผู้มีอำนาจทางทหาร ตัดสินใจทำรัฐประหาร รัฐธรรมนูนฉบับใหน
ก็ไม่มีความหมาย ต่อให้เป็นอเมริกาด้วย ถ้ากองทัพตัดสินใจรัฐประหาร
รัฐธรรมนูนของอเมริกาก็หมดความหมาย เพราะความหมายของรัฐประหาร
มันก็ชัดเจนในตัวมันอยู่แล้ว คือ ล้มล้างรัฐธรรมนูนฉบับเดิม

ความพยายามของ รัฐสภาที่จะร่างรัฐธรรมนูน เพื่อป้องกันรัฐประหาร ที่เห็น
ในข่าว เป็นเรื่องตลก และไร้เดียงสา แทนที่จะเอาเวลาไปเขียนรัฐธรรมนูน
ในส่วนที่เสริมความเข้มแข็งให้กับการตรวจสอบการทุจริต ป้องกันการฉ้อราษฎร์
บังหลวง ซึ่งนั่นจะป้องกันการรัฐประหารได้ดีที่สุด กลับเสียเวลาทำเรื่องไร้สาระ
กันอยู่ได้

"อำนาจรัฐจักได้มาด้วยกระบอกปืน" เป็นคำพูดของพวกคอมมิวนิสต์ แต่ก็คือ
ความเป็นจริงของ อำนาจรัฐ รัฐที่มาจากการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตย
ก็ใช้กระบอกปืนในการสถาปนาความมั่นคงของอำนาจ หากบริหารปกครอง
บ้านเมืองได้ดี ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันมากนัก ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม
กระบอกปืนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ก็จะปกป้อง ค้ำจุน เหมือนกับ
ที่เราเห็นในอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ แต่ถ้าฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอย่างเอิกเริก
กระบอกปืน ก็จะหันมาเป็นภัยต่อผู้บริหารประเทศเมื่อนั้น

ผมย้ำอีกครั้ง ว่า การป้องกันรัฐประหาร ทำได้โดยการให้การศึกษากับประชาชน
ให้พวกเค้าเรียนรู้ถึง สิทธิที่ตนเองมี และความรับผิดชอบจากการใช้สิทธินั้น
เมื่อถึงตอนที่ประชาชนเรียนรู้ในสิทธิและความรับผิดชอบ นักการเมืองก็จะ
โกงจะฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ยากขึ้น และนั่นก็จะกำจัดเงื่อนไขในการรัฐประหาร
ได้อย่างสมบูรณ์

อ้อ ผมใช้คำว่า "ประชาชน" ไม่ใช้คำว่า "สังคมไทย" แบบคุณ snowflake
เพราะคำว่า "สังคมไทย" มันช่างเลื่อนลอยเสียจริง

สุดท้ายประโยค "That’s too high a price to pay." ของคุณ snowflake
ผิดหลักไวยกรณ์นะครับ

เอาน่า ถ้า จขกท.คิดเองเป็น ก็คงไม่เที่ยวเกาะบทความ หรือความคิดเห็นของคนอื่น ๆ อยู่แบบนี้หรอก เข้าใจกันหน่อยเถอะครับ


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 09-04-2007, 10:34
เอ่อ ท่านแม่ทัพในวงการครับ 'Too high a price' เป็นสำนวนน่ะครับ ไม่รู้ว่าถูำกไวยากรณ์หรือไม่ แต่มีครับ  :mrgreen:

ส่วนเรื่องการเมืองไทยขี้เกียจเม้นท์แล้วครับ สังเกตว่า แป๊ะลิ้ม พี่ใหญ่อ.ย. จานเจิม เริ่มหมดมุขจะเม้นท์ เม้นท์ไปก็ประเด็นเดิมๆคือ นักบุญสมานฉันท์กับโจร  ส่วนพวกคลั่งประชาธิปไตยก็บ้าจะเอาเลือกตั้งของมันต่อไป รู้ว่าเลือกแล้วโจรกลับมาปล้นต่อ ตัวมันยังไม่เข้าใจเลยประชาธิปไตยคืออะไร  มันก็บ้าต่อไปอยู่นั่นอะ ส่วนไอ้ที่ร่างรัฐธรรมนูญ ก็มัวแต่ 7-8 อรหันต์ นายกมาจากส.ส.ไม่มาจากส.ส. ฯลฯ  โคตรบ้าเลย

ซวยนะครับ ประเทศแบบนี้ ประเด็นคือประเทศนี้มันมีแต่ "ศรีธนญชัย" จะออกมากี่รัฐธรรมนูญ คนแ_่งจะหาช่องโกง  (คุณอานันท์ ให้สัมภาษณ์ FEER ใช้คำว่า evasive attitude) ยังไงก็อีหรอบเดิม

แป๊ะลิ้มแกถึงเปรยๆไงไปบวชดีกว่า ส่วนพี่ใหญ่อ.ย.บอกกลับไปอยู่เมืองนอกเหมือนเดิมดีกว่า


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 09-04-2007, 11:20
เคยเห็นมีคนแจ้งว่้า

ค่าจ้างตัดแปะข่าวหรือข้อเขียน จะได้ค่าจ้างน้อยกว่าการเขียนกระทู้เอง

ถ้าเป็นเรื่องจริง  คนที่ตั้งกระทู้นี้ น่าจะลองพยายามฝึกเขียนเรียงความด้วยตัวเอง นะจ๊ะ

...




หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: อยากประหยัดให้ติดแก๊ส ที่ 09-04-2007, 11:43
สุดท้ายประโยค "That’s too high a price to pay." ของคุณ snowflake
ผิดหลักไวยกรณ์นะครับ

ผิดอะไรตรงไหนเหรอ ทั่นผู้เชี่ยวชาญภาษาต่างด้าววานบอก อยากรู้จริงจริ๊ง

อ้าวเปิดก้นหนีไปซะแระเลยอดรู้เลย :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-04-2007, 12:02
สุดท้ายประโยค "That’s too high a price to pay." ของคุณ snowflake
ผิดหลักไวยกรณ์นะครับ

ผิดไวยากรณ์ตรงไหนหรือคะ
เชิญท่านผู้รู้ให้อรรถาธิบาย


 :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 09-04-2007, 12:11
ผิดไวยากรณ์ตรงไหนหรือคะ
เชิญท่านผู้รู้ให้อรรถาธิบาย

 :slime_doubt:

ผิดอะไรตรงไหนเหรอ ทั่นผู้เชี่ยวชาญภาษาต่างด้าววานบอก อยากรู้จริงจริ๊ง
อ้าวเปิดก้นหนีไปซะแระเลยอดรู้เลย :slime_bigsmile:

เขาไม่ได้เปิดก้นหนี ใครจะมีเวลามานั่งสอดส่องได้ทั้งวันล่ะเพ่  ก็แค่ไม่คุ้นเคยกับสำนวนบางอย่างก็แค่เนียะ

ตอบประเด็นหลักที่เขาย้อนถามให้ได้ก่อนเหอะ


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-04-2007, 12:14
ช่างไร้เดียงสาเสียจริงนะคุณ snowflake อ.นิธิ เค้าพูดเรื่องต่อท่อ
คุณ snowflake ก็ลากไปยำกับรัฐประหาร เรื่องต่อท่อเนี่ย ยุคใหนสมัยใหน
รัฐบาลเลือกตั้ง รัฐบาลแต่งตั้ง มันก็ต่อกันทั้งนั้นแหละน่า อ.นิธิ ต้องปั่นต้นฉบับ
ไม่รู้จะเขียนอะไร ก็หยิบเรื่องนี้มาหากิน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร
คุณ snowflake ทำเป็นตื่นเต้นไปได้ 555

มาว่าเรื่องรัฐประหารที่คุณ snowflake อยากเล่นกัน

อย่างที่ผมเคยพูดเอาไว้หลายต่อหลายครั้ง ไม่มีรัฐธรรมนูนฉบับใดในโลก
ที่สามารถหยุดรัฐประหารได้ ผมท้าให้ อ.นิธิ เขียนรัฐธรรมนูน คนเดียวเลย
หรือให้คุณ snowflake กับ อ.นิธิ ช่วยกันเขียนสองคน เขียนได้ตามใจชอบ
รัฐธรรมนูน ฉบับนั้น ก็ต้านรัฐประหารไม่ได้

เพราะ เมื่อผู้มีอำนาจทางทหาร ตัดสินใจทำรัฐประหาร รัฐธรรมนูนฉบับใหน
ก็ไม่มีความหมาย ต่อให้เป็นอเมริกาด้วย ถ้ากองทัพตัดสินใจรัฐประหาร
รัฐธรรมนูนของอเมริกาก็หมดความหมาย เพราะความหมายของรัฐประหาร
มันก็ชัดเจนในตัวมันอยู่แล้ว คือ ล้มล้างรัฐธรรมนูนฉบับเดิม

ความพยายามของ รัฐสภาที่จะร่างรัฐธรรมนูน เพื่อป้องกันรัฐประหาร ที่เห็น
ในข่าว เป็นเรื่องตลก และไร้เดียงสา แทนที่จะเอาเวลาไปเขียนรัฐธรรมนูน
ในส่วนที่เสริมความเข้มแข็งให้กับการตรวจสอบการทุจริต ป้องกันการฉ้อราษฎร์
บังหลวง ซึ่งนั่นจะป้องกันการรัฐประหารได้ดีที่สุด กลับเสียเวลาทำเรื่องไร้สาระ
กันอยู่ได้

"อำนาจรัฐจักได้มาด้วยกระบอกปืน" เป็นคำพูดของพวกคอมมิวนิสต์ แต่ก็คือ
ความเป็นจริงของ อำนาจรัฐ รัฐที่มาจากการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตย
ก็ใช้กระบอกปืนในการสถาปนาความมั่นคงของอำนาจ หากบริหารปกครอง
บ้านเมืองได้ดี ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันมากนัก ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม
กระบอกปืนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ก็จะปกป้อง ค้ำจุน เหมือนกับ
ที่เราเห็นในอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ แต่ถ้าฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอย่างเอิกเริก
กระบอกปืน ก็จะหันมาเป็นภัยต่อผู้บริหารประเทศเมื่อนั้น

ผมย้ำอีกครั้ง ว่า การป้องกันรัฐประหาร ทำได้โดยการให้การศึกษากับประชาชน
ให้พวกเค้าเรียนรู้ถึง สิทธิที่ตนเองมี และความรับผิดชอบจากการใช้สิทธินั้น
เมื่อถึงตอนที่ประชาชนเรียนรู้ในสิทธิและความรับผิดชอบ นักการเมืองก็จะ
โกงจะฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ยากขึ้น และนั่นก็จะกำจัดเงื่อนไขในการรัฐประหาร
ได้อย่างสมบูรณ์

อ้อ ผมใช้คำว่า "ประชาชน" ไม่ใช้คำว่า "สังคมไทย" แบบคุณ snowflake
เพราะคำว่า "สังคมไทย" มันช่างเลื่อนลอยเสียจริง

สุดท้ายประโยค "That’s too high a price to pay." ของคุณ snowflake
ผิดหลักไวยกรณ์นะครับ

เอาน่า ถ้า จขกท.คิดเองเป็น ก็คงไม่เที่ยวเกาะบทความ หรือความคิดเห็นของคนอื่น ๆ อยู่แบบนี้หรอก เข้าใจกันหน่อยเถอะครับ

แล้วพวกที่เกาะ คคห. คนอื่น มาด่าชาวบ้านอีกที
อย่างที่สาธิตให้ดูนี่ คิดเองเป็นหรือเปล่า?

ไหนๆ ก็บอกว่าอยู่อเมริกา ลองช่วยแสดงความฉลาดอธิบายเรื่องภาษาให้ด้วยแล้วกัน
เผื่อจะได้ไปบอกพวกอเมริกันว่าใช้ผิดไวยากรณ์


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 09-04-2007, 12:20
เคยเห็นมีคนแจ้งว่้า

ค่าจ้างตัดแปะข่าวหรือข้อเขียน จะได้ค่าจ้างน้อยกว่าการเขียนกระทู้เอง

ถ้าเป็นเรื่องจริง  คนที่ตั้งกระทู้นี้ น่าจะลองพยายามฝึกเขียนเรียงความด้วยตัวเอง นะจ๊ะ

...

มุกเดิมๆ เชยแล้ว
เปลี่ยนใหม่บ้างสิคุณ


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 09-04-2007, 12:27
555

แวะมาดู ขอบคุณครับคุณไทยทรูที่ทั้งช่วยมาท้วงติง และช่วยอธิบายว่าผมหายไปใหน 555


คุณ snowflake

"too high a price to pay" ตัวเต็มมันคือ "too high a price to pay for" แล้วตามด้วย for อะไรครับ ถ้าไม่มี for จะกลายเป็นภาษาพูด ไม่ถูกหลักภาษาครับ แต่ก็พออนุโลมให้ใช้ได้ สำนวนนี้อยู่ในหมวดสำนวนการเงิน อันนี้ผมพูดตามที่ได้ร่ำเรียนมาจากโรงเรียนเดียวกับอดีตนายกทักษิณครับ คงจะไม่เก่งเหมือนคุณ snowflake ถ้าผิดเพี้ยนก็ขออภัย เห็นชอบแก้ไขศัพท์ให้ผม ก็เลยหวังดีแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ อย่าคิดเล็กคิดน้อยไปเลยครับ มาถกกันเรื่องรัฐประหารจะดีกว่านะ

คุณชอบแถ

กระทู้นี้คุณไม่ได้เครดิตหรอกครับ เพราะความรู้คุณไม่ถึง (ฮา)


ปล.เลิกเกาะชายกระโปรงคุณ snowflake ได้แล้วคุณชอบแถ ไม่อายเค้าบ้างเหรอ ทำให้ผู้หญิงคนนึงต้องถูกเข้าใจผิดหนะ


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 09-04-2007, 12:51
ช่างไร้เดียงสาเสียจริงนะคุณ snowflake อ.นิธิ เค้าพูดเรื่องต่อท่อ
คุณ snowflake ก็ลากไปยำกับรัฐประหาร เรื่องต่อท่อเนี่ย ยุคใหนสมัยใหน
รัฐบาลเลือกตั้ง รัฐบาลแต่งตั้ง มันก็ต่อกันทั้งนั้นแหละน่า อ.นิธิ ต้องปั่นต้นฉบับ
ไม่รู้จะเขียนอะไร ก็หยิบเรื่องนี้มาหากิน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร
คุณ snowflake ทำเป็นตื่นเต้นไปได้ 555

มาว่าเรื่องรัฐประหารที่คุณ snowflake อยากเล่นกัน

อย่างที่ผมเคยพูดเอาไว้หลายต่อหลายครั้ง ไม่มีรัฐธรรมนูนฉบับใดในโลก
ที่สามารถหยุดรัฐประหารได้ ผมท้าให้ อ.นิธิ เขียนรัฐธรรมนูน คนเดียวเลย
หรือให้คุณ snowflake กับ อ.นิธิ ช่วยกันเขียนสองคน เขียนได้ตามใจชอบ
รัฐธรรมนูน ฉบับนั้น ก็ต้านรัฐประหารไม่ได้

เพราะ เมื่อผู้มีอำนาจทางทหาร ตัดสินใจทำรัฐประหาร รัฐธรรมนูนฉบับใหน
ก็ไม่มีความหมาย ต่อให้เป็นอเมริกาด้วย ถ้ากองทัพตัดสินใจรัฐประหาร
รัฐธรรมนูนของอเมริกาก็หมดความหมาย เพราะความหมายของรัฐประหาร
มันก็ชัดเจนในตัวมันอยู่แล้ว คือ ล้มล้างรัฐธรรมนูนฉบับเดิม

ความพยายามของ รัฐสภาที่จะร่างรัฐธรรมนูน เพื่อป้องกันรัฐประหาร ที่เห็น
ในข่าว เป็นเรื่องตลก และไร้เดียงสา แทนที่จะเอาเวลาไปเขียนรัฐธรรมนูน
ในส่วนที่เสริมความเข้มแข็งให้กับการตรวจสอบการทุจริต ป้องกันการฉ้อราษฎร์
บังหลวง ซึ่งนั่นจะป้องกันการรัฐประหารได้ดีที่สุด กลับเสียเวลาทำเรื่องไร้สาระ
กันอยู่ได้

"อำนาจรัฐจักได้มาด้วยกระบอกปืน" เป็นคำพูดของพวกคอมมิวนิสต์ แต่ก็คือ
ความเป็นจริงของ อำนาจรัฐ รัฐที่มาจากการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตย
ก็ใช้กระบอกปืนในการสถาปนาความมั่นคงของอำนาจ หากบริหารปกครอง
บ้านเมืองได้ดี ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันมากนัก ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม
กระบอกปืนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ก็จะปกป้อง ค้ำจุน เหมือนกับ
ที่เราเห็นในอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ แต่ถ้าฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอย่างเอิกเริก
กระบอกปืน ก็จะหันมาเป็นภัยต่อผู้บริหารประเทศเมื่อนั้น

ผมย้ำอีกครั้ง ว่า การป้องกันรัฐประหาร ทำได้โดยการให้การศึกษากับประชาชน
ให้พวกเค้าเรียนรู้ถึง สิทธิที่ตนเองมี และความรับผิดชอบจากการใช้สิทธินั้น
เมื่อถึงตอนที่ประชาชนเรียนรู้ในสิทธิและความรับผิดชอบ นักการเมืองก็จะ
โกงจะฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ยากขึ้น และนั่นก็จะกำจัดเงื่อนไขในการรัฐประหาร
ได้อย่างสมบูรณ์

อ้อ ผมใช้คำว่า "ประชาชน" ไม่ใช้คำว่า "สังคมไทย" แบบคุณ snowflake
เพราะคำว่า "สังคมไทย" มันช่างเลื่อนลอยเสียจริง

สุดท้ายประโยค "That’s too high a price to pay." ของคุณ snowflake
ผิดหลักไวยกรณ์นะครับ

เอาน่า ถ้า จขกท.คิดเองเป็น ก็คงไม่เที่ยวเกาะบทความ หรือความคิดเห็นของคนอื่น ๆ อยู่แบบนี้หรอก เข้าใจกันหน่อยเถอะครับ

แล้วพวกที่เกาะ คคห. คนอื่น มาด่าชาวบ้านอีกที
อย่างที่สาธิตให้ดูนี่ คิดเองเป็นหรือเปล่า?

ไหนๆ ก็บอกว่าอยู่อเมริกา ลองช่วยแสดงความฉลาดอธิบายเรื่องภาษาให้ด้วยแล้วกัน
เผื่อจะได้ไปบอกพวกอเมริกันว่าใช้ผิดไวยากรณ์


ถ้าอ่านดูดี ๆ ก็จะเห็นว่าที่คุณเรียกว่า "ด่า" น่ะ มันครอบคลุมที่การก๊อปมาเพสท์ของคุณคราวอื่น ๆ ด้วย ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่ว่ากัน จะเข้าใจว่าเกาะความเห็นคนอื่น ก็ไม่ว่ากัน เพราะถ้าไปดูการตอบกระทู้ของผม แล้วเทียบกับของคุณ ก็คงจะเห็นว่า ใครก๊อปมาเพสท์มากน้อยแค่ไหน

ส่วนการอ้างถึงในบอร์ดเนี่ย ถ้าอ้างถึงแล้วนำมาเป็นมาตรวัดได้ ใครคิดเองเป็นหรือไม่เป็น มันก็จะเป็นมาตรวัดใหม่ล่าสุดเลยหล่ะครับ ผมว่าตั้งแต่กระทู้ที่  1 จนถึงปัจจุบันของผม ผมอ้างถึงไม่เยอะ ก๊อปมาเพสท์ยิ่งน้อยกว่า

คือก็พยายามใช้ความคิดน่ะครับ

ส่วนเรื่องไวยากรณ์ มีคนตอบไปแล้วข้างบน

เอ่อ ตกลงออกทะเลอีกแล้วใช่ไหมครับ


http://www.google.com/search?hl=th&q=too+high+a+price+to+pay


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: aoporadio ที่ 09-04-2007, 17:44
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า อาจารย์ นิธิ เอียว เอี่ยว เอี้ยว เอี๊ยว เอี๋ยว  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

น่าจะออกมาจาก กะลาแห่ง อุดมคติในระบอบประชาธิปไตยแบบมองจากยอดด้วยปัญญาแงความเป็นนักวิชาการได้แล้ว(เขียนไป งงตัวเองไป :slime_hmm: นี่แหละ คนฉลาดๆ จนงงตัวเองแบบนี้มีเยอะ :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:) แล้วนั่งเทียนแพล่มไปต่างๆนาๆ ได้แล้ว :slime_v: :slime_v:

แค่นี้นะ จานนิติ๊ด :slime_hmm: :slime_hmm:

อะไรๆ ที่อาจารย์คิดในวงเล็บน่ะ
มันไม่มารถเกิดขึ้นกับประเทศไทย ขณะนี้ หรืออนาคตอันไกล้ แน่นอน  :slime_evil:

คอม......ปวยไปก่อนนะ :slime_v:


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: แอบอ่าน ซุ่มเงียบ ที่ 09-04-2007, 19:46
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนชั้นกลางไทยไม่ได้มีอุดมคติเป็นประชาธิปไตย เพียงแต่เห็น
ว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพในการต่อรองเชิงอำนาจ
เท่านั้น  หากการเมืองในระบอบเลือกตั้งลิดรอนอำนาจของตนไป  ก็อาจหันไปหา
เผด็จการทหารได้


เข้ามาบอกว่า ประโยคนี้ของ อาจารย์นิธิ ช่างตรงกับ ลักษณะคนกรุงเทพ ซะจริงๆ

ทุกวันนี้เห็นมีแต่พวก รักประชาธิปไตย  แบบตัวเองได้ส่วนแบ่ง

ในเว็บนี้ ก็เห็นมี พวกเผด็จการชนชั้นกลาง ที่ต่อยอดมาจากการไล่ทักษิณ เท่านั้น
 


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 09-04-2007, 19:50
จารย์นิธิ ของตู ซวยอีกแระ

ชอบมีคน เอาบทความของแกมา แปะหน้าผาก แล้วเขียนต่อท้ายว่า เชิญเตะ   เรื่อยเลย

ตูละเซร็งงงงงงงงงงง :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 09-04-2007, 20:43
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนชั้นกลางไทยไม่ได้มีอุดมคติเป็นประชาธิปไตย เพียงแต่เห็น
ว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพในการต่อรองเชิงอำนาจ

เท่านั้น  หากการเมืองในระบอบเลือกตั้งลิดรอนอำนาจของตนไป  ก็อาจหันไปหา
เผด็จการทหารได้


เข้ามาบอกว่า ประโยคนี้ของ อาจารย์นิธิ ช่างตรงกับ ลักษณะคนกรุงเทพ ซะจริงๆ

ทุกวันนี้เห็นมีแต่พวก รักประชาธิปไตย  แบบตัวเองได้ส่วนแบ่ง

ในเว็บนี้ ก็เห็นมี พวกเผด็จการชนชั้นกลาง ที่ต่อยอดมาจากการไล่ทักษิณ เท่านั้น
 

เห็นความคิดเห็นนี้ต้องตอบซะหน่อย

การเมืองเรื่อง "ผลประโยชน์" ครับเพ่  เศรษฐศาสตร์ก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ จะทำยังไงที่จะจัดสรรทรัพยากรหรือผลประโยชน์ไปได้ทั่วถึง การเมืองก็เช่นกันอำนาจมันนำมาซึ่งผลประโยชน์  หากประชาชนทุกหมู่เหล่าได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและพอเพียง กฎหมายถูกบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน สังคมก็สงบครับเพ่ จะระบอบอะไรก็เหมือนกัน จะคอมมิวนิสต์ เผด็จการ หรือประชาธิปไตย ถ้าการจัดสรรผลประโยชน์ไม่ทั่วถึง (เช่น ยังเกิดความอยุติธรรม ความยากจน การคอรับชั่น) ยังไงก็เจ๊งครับเพ่ มากๆเข้าก็วุ่นวาย ไร้เสถียรภาพ นองเลือด ฯลฯ แล้วแต่ระดับความรุนแรงของปัญหา

จะมีประชาธิปไตยไปทำอะไร ถ้ามีแล้วประเทศแตกสลายเป็นเสี่ยงๆ ประชาธิปไตยคือเครื่องมือเพ่ ถ้าเครื่องมือมันชำรุดหรือมันใช้ไม่ได้ เป็นประชาธิปไตยจอมปลอม เงินซื้อได้ แล้วจะใช้ต่อไปทำไม  เพ่ต้องย้อนกลับไปดูต้นกำเนิดประชาธิปไตยหรือลัทธิการเมืองต่างๆครับเพ่ ว่าเขาคิดขึ้นมาเพื่ออะไร ... ที่แน่ๆไม่ได้คิดมาเพื่อทำเท่ เพียงเพื่อจะไปบอกพวกฝรั่งว่า "กูเป็นประชาธิปไตย" และ "เจตจำนงค์" ของประชาชนก็ไม่ได้ซื้อขายกันได้แบบบางประเทศ แค่ 200-500 บาท (เพราะประชาชนยังไม่เข้าใจเจตจำนงค์ตัวเองเลย) นะเพ่นา

แมวสีอะไรไม่สำคัญ จับหนูได้คือแมวที่ดี 不管白猫黑猫,抓住老鼠是好猫!


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: แอบอ่าน ซุ่มเงียบ ที่ 09-04-2007, 21:14
ถามน้อง exthai นะครับว่า คุณแน่ใจหรือว่า ระบอบคอมมูน ที่จีนแผ่นดินใหญ่ใช้อยู่น่ะ  จัดสรรผลประโยชน์อย่างทั่วถึงจริงๆ

แน่ใจหรือครับว่าคนจีน ไม่เจอกับ ความอยุติธรรม ความยากจนและคอร์รัปชั่น ในขณะที่คนในพรรคกลับเป็นพวกมีอภิสิทธิ์

สังคมจีนคงจะสงบน่าดูเลยนะครับ ผมเพิ่งจะได้ฟังข่าวว่า การมีลูกเกิน 1 คน นี่โทษร้ายแรงขนาดติดคุกทีเดียว

ประชาธิปไตย เป็นเครื่องมือ ถูกต้องแล้วครับ เป็นเครื่องมือที่เราตกลงกันว่าจะใช้เพื่อสร้างสังคมไทย จะไม่เอาเครื่องมืออื่น

ประชาธิปไตย ไม่ได้ทำให้ประเทศแตกเป็นเสี่ยงๆหรอกครับ  คนที่ทำแค่ใช้คำว่า ประชาธิปไตย เป็นเครื่องบังหน้าเท่านั้นเอง


คราวนี้ ผมอยากจะบอกว่า ประชาธิปไตยของแต่ละคนก็มีความหมายแตกต่างกันไป ไม่จำเป็นต้องไปตามฝรั่งเอาเท่หรอกครับ

แต่ประชาธิปไตย ของผม คือการที่รู้จักจะอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง เป็นสังคมที่ เรียนรู้และยอมรับความแตกต่างเพื่อที่จะอยู่ร่วมกันให้ได้

ถ้าคุณคิดจะใช้อำนาจนิยมเพื่อกำจัดฝั่งตรงข้าม ไม่ว่าจะทำเพื่ออะไร   คุณคือ เผด็จการ


ผมขออนุญาตยืมคำพูดของ อดีตนายกอานันท์ ปันยารชุน ที่เคยพูดเอาไว้ (ไม่รู้แกคิดเองหรือไปเอามาจากไหนหรือเปล่า)

"ประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่มีข้อบกพร่องมากที่สุด แต่ก็เป็นระบอบที่ดีที่สุดเท่าที่เรามีในปัจจุบัน"

 





หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 09-04-2007, 21:33
ถามน้อง exthai นะครับว่า คุณแน่ใจหรือว่า ระบอบคอมมูน ที่จีนแผ่นดินใหญ่ใช้อยู่น่ะ  จัดสรรผลประโยชน์อย่างทั่วถึงจริงๆ
แน่ใจหรือครับว่าคนจีน ไม่เจอกับ ความอยุติธรรม ความยากจนและคอร์รัปชั่น ในขณะที่คนในพรรคกลับเป็นพวกมีอภิสิทธิ์
สังคมจีนคงจะสงบน่าดูเลยนะครับ ผมเพิ่งจะได้ฟังข่าวว่า การมีลูกเกิน 1 คน นี่โทษร้ายแรงขนาดติดคุกทีเดียว

ประเทศจีนยังไม่บรรลุถึงการจัดสรรผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ยังไม่สงบสุข  แต่จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อจำกัดเสรีภาพบ้าง  ไม่งั้นวุ่นวาย อย่างน้อยผู้นำเขาระบุปัญหาถูกต้องแล้ว โดยเฉพาะในการประชุมสภาสูงสุดและ State Council   ปัญหาของจีนไม่ใช่การไม่มีประชาธิปไตย แต่คือการที่ความอยุติธรรมยังคงอยู่

ประชาธิปไตย เป็นเครื่องมือ ถูกต้องแล้วครับ เป็นเครื่องมือที่เราตกลงกันว่าจะใช้เพื่อสร้างสังคมไทย จะไม่เอาเครื่องมืออื่น
ประชาธิปไตย ไม่ได้ทำให้ประเทศแตกเป็นเสี่ยงๆหรอกครับ  คนที่ทำแค่ใช้คำว่า ประชาธิปไตย เป็นเครื่องบังหน้าเท่านั้นเอง
เราเคยตกลงกันอย่างไรก็เรื่องหนึ่ง แต่ผลลัพธ์เป็นอย่างไรล่ะครับ ??? ผมเชื่อว่าปัญหาไม่ได้อยู่แค่คนบางกลุ่มใช้ประชาธิปไตยบังหน้าหรอก ประชาชนบางส่วนก็ไม่พร้อมและคงไม่มีวันพร้อมด้วยภายใต้เงื่อนไขเป็นประชาธิปไตยแต่ชื่ออย่างที่เป็นอยู่ ตบมือข้างเดียวไม่ดังแน่นอนครับ

คราวนี้ ผมอยากจะบอกว่า ประชาธิปไตยของแต่ละคนก็มีความหมายแตกต่างกันไป ไม่จำเป็นต้องไปตามฝรั่งเอาเท่หรอกครับ
แต่ประชาธิปไตย ของผม คือการที่รู้จักจะอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง เป็นสังคมที่ เรียนรู้และยอมรับความแตกต่างเพื่อที่จะอยู่ร่วมกันให้ได้

ถ้าคุณคิดจะใช้อำนาจนิยมเพื่อกำจัดฝั่งตรงข้าม ไม่ว่าจะทำเพื่ออะไร   คุณคือ เผด็จการ
ตามความคิดเห็นของผม หากต้องฆ่าโจรชั่วศรีธนญชัยกินชาติสัก 100 คนเพื่อสร้างเสถียรภาพและรับประกันอนาคตของประเทศ .... ทำเลยครับ กลัวอะไรกับคำว่า "เผด็จการ" ? หากคุณทำเพื่อเหตุผลที่ถูกต้อง ก็ในเมื่อมันเล่นตุกติกนัก มัวแต่ "ฉันเป็นประชาธิปไตยนะจ๊ะ" ไอ้พวกนั้นมันไปถึงไหนแล้วครับ ??  โจรมันมันถือปืนจะจ่อยิงคุณ คุณจะทำไง ถ้าไม่ยิงมันก่อนครับ


ผมขออนุญาตยืมคำพูดของ อดีตนายกอานันท์ ปันยารชุน ที่เคยพูดเอาไว้ (ไม่รู้แกคิดเองหรือไปเอามาจากไหนหรือเปล่า)
"ประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่มีข้อบกพร่องมากที่สุด แต่ก็เป็นระบอบที่ดีที่สุดเท่าที่เรามีในปัจจุบัน"
แต่ถ้าคนยังหิวโหยอยู่ ก็คงจะเกิดประชาธิปไตยแท้จริงยากครับ ปฏิเสธไม่ได้หรอก เมื่อจะพูดถึงประชาธิปไตยในฐานะระบอบที่เลวน้อยที่สุด เราต้องระบุสมมติฐานหรือสถานการณ์ไปด้วยครับ ว่าจริงๆแล้วเวลานี้สภาวะเงื่อนไขต่างๆมันเป็นแบบไหน
[/color]


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 09-04-2007, 21:55
ผมขออนุญาตยืมคำพูดของ อดีตนายกอานันท์ ปันยารชุน ที่เคยพูดเอาไว้ (ไม่รู้แกคิดเองหรือไปเอามาจากไหนหรือเปล่า)

"ประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่มีข้อบกพร่องมากที่สุด แต่ก็เป็นระบอบที่ดีที่สุดเท่าที่เรามีในปัจจุบัน"

คุณอานันท์พูด มี "เท่าที่เรามีในปัจจุบัน" ต่อท้ายด้วย
มีเงื่อนไขของยุคสมัย สถานการณ์อยู่ด้วย
ไม่ใช่สัจจธรรมตลอดกาล :slime_whistle:


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: opensky ที่ 10-04-2007, 01:22
ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้มากครับที่เอาข้อความมาลงให้อ่าน

เรื่องภาษาอังกฤษนั้นผมสงสัยว่า  pay จำเป็นต้องตามด้วย for หรือไม่
ค้นหา Google แล้วมีตัวอย่างประโยคดังนี้ครับ

In it, the figure of a 1% royalty is suggested, but the EU Commission still believes this to be too high a price to pay.

 A price that was too high to ask anyone to pay.


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 10-04-2007, 02:38
ตอบ คุณ opensky

ยินดีเสมอค่ะ   :slime_smile:

ส่วนเรื่องของสำนวนภาษา เท่าที่ทราบ
Too high a price to pay ไม่จำเป็นต้องมี for
แต่หากคุณ คนในวงการ จะยืนยันเช่นนั้น
ก็คงต้องบอกว่าเรียนมาคนละสำนัก
กับอาจารย์คนละท่าน และคนละช่วงเวลา


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 10-04-2007, 02:47
ตอบ คุณ คนในวงการ

เข้าใจว่าอ.นิธิ ท่านพูดถึงการ “ต่อท่อ” ของการยึดอำนาจในครั้งนี้
ซึ่งก็คือ การรัฐประหาร และไม่คิดว่าเข้าใจผิดค่ะ

อดีตที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันว่า
รัฐธรรมนูญมิอาจป้องกันตัวเองได้
ประชาชนเท่านั้นที่สามารถ
และเริ่มต้นด้วยการ
ไม่ไปเรียกร้องให้ทหารออกมา
ไม่ว่าจะด้วยเหตุอันใด

ป.ล. รัฐธรรมนูญ สะกด ญ นะคะ


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: อยากประหยัดให้ติดแก๊ส ที่ 10-04-2007, 07:55
"too high a price to pay" ตัวเต็มมันคือ "too high a price to pay for" แล้วตามด้วย for อะไรครับ ถ้าไม่มี for จะกลายเป็นภาษาพูด ไม่ถูกหลักภาษาครับ

ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้มากครับที่เอาข้อความมาลงให้อ่าน

เรื่องภาษาอังกฤษนั้นผมสงสัยว่า  pay จำเป็นต้องตามด้วย for หรือไม่
ค้นหา Google แล้วมีตัวอย่างประโยคดังนี้ครับ

In it, the figure of a 1% royalty is suggested, but the EU Commission still believes this to be too high a price to pay.

A price that was too high to ask anyone to pay.


อ้าวเฮ้ยตอบอีกก็ผิดอีกซะแล้วคุณคนในวงการของเรา แหมแบบนี้ไม่รู้ดีกว่ารู้ผิดๆ แล้วเอามาเผยแพร่นะเนี่ยนะว่ามั้ย :slime_bigsmile:
ละเอียดหน่อยซี่ เดี๋ยวเสียชื่อที่ไม่ค่อยมีให้เสียนา


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: อังศนา ที่ 10-04-2007, 08:40
ไหนๆ ก็มีการค้นคำด้วย google ข้าพเจ้าก็ค้นมั่ง จึงได้มาเป็นตัวอย่างดังนี้...  :slime_v:

A Bush Victory Would Be Too High A Price To Pay For Nader Vote
http://www.commondreams.org/views/110300-104.htm
..ดูๆ แล้วก็ไม่น่าจะผิด ไม่ว่าจะใช้โดยมี for หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของประโยคที่ใช้มากกว่า

ว่าแล้วก็แถมให้อีก ๑ ตัวอย่างของ reference  :slime_smile:
(http://www4.pantown.com/data/4691/board2/18-20070410083347.jpg)

(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/pink_flowers.gif)


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 10-04-2007, 10:39
555

ก็ยืนยันกันไปตามภูมิความรู้แต่ละคนนะครับ ผมไม่เถียงต่อละ ขอบคุณ คุณอังศนาครับ ที่ช่วยหามาให้เพื่อน ๆ ดู ว่ามันมี for แต่ก็อย่างว่านะครับ

ผมเพิ่งเคยเห็นการใช้ google ตรวจดูไวยากรณ์ ว่าถูกหรือผิด ทั้งที่ google เป็นแค่ search engine หาเอาข้อเขียนจากเว็บทั่วโลก มายืนยันหลักไวยากรณ์ ทั้งที่เว็บมาสเตอร์ที่เขียนเว็บอาจใช้ถูกหรือใช้ผิดก็ได้ ถ้ายกเอา reference อื่นมาจะน่าเชื่อถือกว่านะครับ

สุดท้าย ขอบคุณ คุณ snowflake ที่ช่วยแก้คำว่ารัฐธรรมนูญ ให้ ที่จริงคราวก่อนก็แก้ให้แล้ว แต่ผมพิมพ์ติดมือครับ มันรัวแล้วติด


ปล. คุณชอบแถก็ยังคงไม่ได้เครดิตเช่นเคยครับ เพราะความรู้คุณไม่ถึง (ฮา)


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: СεгЪεгυŞ ที่ 10-04-2007, 10:45
Go go come come, the interesting about article incident city good good like this "extend straw" of teacher niti change to teaching language English.


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 10-04-2007, 10:47
ก้ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: СεгЪεгυŞ ที่ 10-04-2007, 10:49
 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 10-04-2007, 11:00

 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 10-04-2007, 11:48
Go go come come, the interesting about article incident city good good like this "extend straw" of teacher niti change to teaching language English.


ตูว่าแล้ว  :slime_bigsmile:

ประชาธิปไตย ของใคร ผิด ของใครถูกที่สุดครับ

แล้วของใครเหมาะสมกับประเทศไทยที่สุดครับ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ประเทศไทย มีจุดแข็งที่พระพุทธศาสนา แต่กลับไม่ยอมเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ กับประเทศ

ดูจาก คนเหยียบกันตายเพราะไปจอง จตุคามแล้ว ผมดูแล้ว ศาสนายิ่งห่างไกลกับประชาชนมากขึ้นจริงๆ

ถ้ามีรัฐบาลใหนสามารถประยุกต์หลักธรรมเข้าไปใช้ได้ ผมว่านั้นแหล่ะครับ คือประชาธิปไตยที่เหมาะกับประเทศไทยที่สุด


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: opensky ที่ 11-04-2007, 17:54

ขอนอกกระทู้ซักหน่อยนะครับ
อ่านดูกันเล่นๆ ครับ
ตามประสาคนชอบภาษาอังกฤษ

ในหนังสือ Practical English Usage ของ Michael Swan
เขียนไว้อย่างนี้ครับ
You pay a person, you pay a bill, and you pay sums of money, but you pay for something you buy.
ตัวอย่างประโยค
You can have the room free, but you’ll have to pay me $10 a week for your meals.


หนังสือบอกต่อว่า
When we want to talk about paying for a drink or a meal for a person, we usually use the verb buy (or get).
ตัวอย่างประโยค
Come on, I’ll buy you a drink.
Let  me get you a drink.
Can I buy you lunch?


หนังสือบอกต่อว่า
Pay for can also express the idea of paying money that somebody else owes.
ตัวอย่างประโยค
Don’t worry about money; I’ll pay for you.


ตัวอย่างประโยคที่มักใช้ผิด
Come on, I’ll pay you a drink.
ที่ผิดเพราะว่าประโยคนี้ไม่ได้มีความหมายว่าซื้อเครื่องดื่มเลี้ยง 
แต่หมายถึงว่าเอาเครื่องดื่มที่อยู่กับตัวไปให้


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: room5 ที่ 11-04-2007, 18:36
FAKE นี่พักหลังโดนตอกกลับซะ แล้วเธอก็เงียบเธอไม่เถียงหรอก
เพราะจุดประสงค์เธอมันมั่วซั่ว ไม่มีความคิดของตัวเองเล๊ย
นิธิเขียนมากี่ที่ก็เออ ออ ห่อมกไปซะทุกเรื่อง

รัฐประหารมันไม่แย่เสมอไปหรอกในบางกรณี


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 11-04-2007, 22:38
มาตามกระทู้ครับ สรุปว่า Google   นี่เอาไว้ตรวจความถูก้องได้จริงหรือเปล่าครับ
คือว่า แบบ่ว่า ผมชอบพิมพ์ผิดพิมพ์ถูก แล้ว Google มันหาแล้วมันจะไม่เจอใช่ไหมครับ

อย่างผมพิมพ์ว่า
I understand English Snake Snake Fish Fish.
อย่างนี้ ใครหาคำว่า Fish ก็จะไม่เห็นประโยคนี้ที่ผมเขียนใข่ไหมครับ


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 11-04-2007, 22:56

ผมก็ใช้ google เอาไว้ตรวจความถูกต้องด้วยเหมือนกันครับ

ผมว่าหลายคนเอา google มาช่วยในกรณีนี้ด้วย


* อาจมีผิดบ้างครับ แต่ส่วนใหญ่จะถูก หรือใช้วิธี ทางสถิติดูเอาว่าอันไหนเยอะก็มีแนวโน้มว่าจะถูก  


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 11-04-2007, 23:09
ผมใช้ MS word ตรวจ ใช้ dictionary.com เช็ค ถ้าไม่ได้จริง ๆ ถึงจะใช้ google.com เดา


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: opensky ที่ 12-04-2007, 03:11
Let Google Check Your Grammar

Search Engines, The web


It’s been awfully quiet here, eh? A quick tip for all writers a bit unsure with grammar: Google provides an exceptional database of English language. Just type in a suspicious phrase in doublequotes and see if it exists and in what kind of context. To make sure that the title of this post is correct, I just searched for “check your grammar”. Fair enough, this exact phrase seems to be published on quite a few articles and web sites that seem trustworthy. That’s a green light!


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: opensky ที่ 12-04-2007, 03:38
Essentially I’m against comics in chain bookstores because they are a business, not an outlet for creativity. A chain bookstore is not a tool for advocating comics. While it widens availability and makes us visible to more people, it sacrifices diversity for the sake of marketability. If you ask me, that’s too high a price to pay.


Barnes and Noble Meet the Graphic Novel
Column by Steve Higgins, posted June 13, 2003


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: opensky ที่ 12-04-2007, 03:40
My colleague and I see a crisis in the care of children who are wards of the Yukon government. We believe that a public inquiry is needed to prevent the kind of tragedy that happened recently in BC. Does the Yukon need the death of a child to thaw consciences and prompt action? I hope not because that’s too high a price to pay.


Moral intelligence and children in care
by
Janet B. Webster, Ed.D.


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 12-04-2007, 06:59
ช่างไร้เดียงสาเสียจริงนะคุณ snowflake อ.นิธิ เค้าพูดเรื่องต่อท่อ
คุณ snowflake ก็ลากไปยำกับรัฐประหาร เรื่องต่อท่อเนี่ย ยุคใหนสมัยใหน
รัฐบาลเลือกตั้ง รัฐบาลแต่งตั้ง มันก็ต่อกันทั้งนั้นแหละน่า อ.นิธิ ต้องปั่นต้นฉบับ
ไม่รู้จะเขียนอะไร ก็หยิบเรื่องนี้มาหากิน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร
คุณ snowflake ทำเป็นตื่นเต้นไปได้ 555

มาว่าเรื่องรัฐประหารที่คุณ snowflake อยากเล่นกัน

อย่างที่ผมเคยพูดเอาไว้หลายต่อหลายครั้ง ไม่มีรัฐธรรมนูนฉบับใดในโลก
ที่สามารถหยุดรัฐประหารได้ ผมท้าให้ อ.นิธิ เขียนรัฐธรรมนูน คนเดียวเลย
หรือให้คุณ snowflake กับ อ.นิธิ ช่วยกันเขียนสองคน เขียนได้ตามใจชอบ
รัฐธรรมนูน ฉบับนั้น ก็ต้านรัฐประหารไม่ได้

เพราะ เมื่อผู้มีอำนาจทางทหาร ตัดสินใจทำรัฐประหาร รัฐธรรมนูนฉบับใหน
ก็ไม่มีความหมาย ต่อให้เป็นอเมริกาด้วย ถ้ากองทัพตัดสินใจรัฐประหาร
รัฐธรรมนูนของอเมริกาก็หมดความหมาย เพราะความหมายของรัฐประหาร
มันก็ชัดเจนในตัวมันอยู่แล้ว คือ ล้มล้างรัฐธรรมนูนฉบับเดิม

ความพยายามของ รัฐสภาที่จะร่างรัฐธรรมนูน เพื่อป้องกันรัฐประหาร ที่เห็น
ในข่าว เป็นเรื่องตลก และไร้เดียงสา แทนที่จะเอาเวลาไปเขียนรัฐธรรมนูน
ในส่วนที่เสริมความเข้มแข็งให้กับการตรวจสอบการทุจริต ป้องกันการฉ้อราษฎร์
บังหลวง ซึ่งนั่นจะป้องกันการรัฐประหารได้ดีที่สุด กลับเสียเวลาทำเรื่องไร้สาระ
กันอยู่ได้

"อำนาจรัฐจักได้มาด้วยกระบอกปืน" เป็นคำพูดของพวกคอมมิวนิสต์ แต่ก็คือ
ความเป็นจริงของ อำนาจรัฐ รัฐที่มาจากการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตย
ก็ใช้กระบอกปืนในการสถาปนาความมั่นคงของอำนาจ หากบริหารปกครอง
บ้านเมืองได้ดี ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันมากนัก ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม
กระบอกปืนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ก็จะปกป้อง ค้ำจุน เหมือนกับ
ที่เราเห็นในอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ แต่ถ้าฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอย่างเอิกเริก
กระบอกปืน ก็จะหันมาเป็นภัยต่อผู้บริหารประเทศเมื่อนั้น

ผมย้ำอีกครั้ง ว่า การป้องกันรัฐประหาร ทำได้โดยการให้การศึกษากับประชาชน
ให้พวกเค้าเรียนรู้ถึง สิทธิที่ตนเองมี และความรับผิดชอบจากการใช้สิทธินั้น
เมื่อถึงตอนที่ประชาชนเรียนรู้ในสิทธิและความรับผิดชอบ นักการเมืองก็จะ
โกงจะฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ยากขึ้น และนั่นก็จะกำจัดเงื่อนไขในการรัฐประหาร
ได้อย่างสมบูรณ์

อ้อ ผมใช้คำว่า "ประชาชน" ไม่ใช้คำว่า "สังคมไทย" แบบคุณ snowflake
เพราะคำว่า "สังคมไทย" มันช่างเลื่อนลอยเสียจริง

สุดท้ายประโยค "That’s too high a price to pay." ของคุณ snowflake
ผิดหลักไวยกรณ์นะครับ

เอาน่า ถ้า จขกท.คิดเองเป็น ก็คงไม่เที่ยวเกาะบทความ หรือความคิดเห็นของคนอื่น ๆ อยู่แบบนี้หรอก เข้าใจกันหน่อยเถอะครับ

แล้วพวกที่เกาะ คคห. คนอื่น มาด่าชาวบ้านอีกที
อย่างที่สาธิตให้ดูนี่ คิดเองเป็นหรือเปล่า?

ไหนๆ ก็บอกว่าอยู่อเมริกา ลองช่วยแสดงความฉลาดอธิบายเรื่องภาษาให้ด้วยแล้วกัน
เผื่อจะได้ไปบอกพวกอเมริกันว่าใช้ผิดไวยากรณ์


ขออธิบายอย่างนี้ก็แล้วกัน ที่อเมริกาเนี่ย ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เก่งภาษาอังกฤษ พูด ฟัง อ่าน เขียน ได้ แต่ก็มีบางส่วนพูดได้แต่อ่านไม่ออก อันนี้ไม่มากนัก
ส่วนชาวต่างชาติที่อพยพมาอยู่ที่อเมริกา หรือที่มาทำงานที่อเมริกา หรือที่มาเรียนที่อเมริกา ก็เก่งภาษาเหมือนกันครับ
ไปซื้อของ เจอคนเม็กซิกัน โอว์ มันพูดภาษาสเปนกันเก่งมาก ๆ เลยครับ ยัง ๆ ครับยัง เจอคนลาวนี่สุดยอด พูดลาวก็ได้พูดไทยก็ได้
แล้วคนไทยยิ่งเจ๋งเข้าไปอีก พูดไทยไหลเป็นน้ำเลย

เพราะฉะนั้น ที่อเมริกาเนี่ย ผมก็พูดไทยเก่งมาก ๆ คนหนึ่ง แต่ภาษาผมก็ใช้ได้นะ

วันก่อนไปแวะไปธุระ ก็คุยกับฝรั่งเป็นภาษอังกฤษปนภาษามือ พอดีทำธุระไม่เสร็จ ตอนกลับ ผมบอกลาไปว่า Tomorrow Come New!!!!


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 12-04-2007, 07:28
คือว่าปกติ ผมจะใช้ wikipedia นะครับ ไม่ใช้ Google
เพราะรู้สึกว่า Google มันไม่ค่อยได้ผลลัพธ์แบบที่ต้อง
การเท่าไหร่ เวลาหา web ต่างๆ

wikipedia เสียอย่างเดียวว่า มันมีไม่เยอะเท่าไหร่


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: opensky ที่ 12-04-2007, 23:03
จาก Dictionary.com Unabridged ครับ
pay1
-verb (used with object)

1. to settle (a debt, obligation, etc.), as by transferring money or goods, or by doing something:

ตัวอย่างประโยค  Please pay your bill.



2. to give over (a certain amount of money) in exchange for something:

ตัวอย่างประโยค  He paid twenty dollars for the shirt.



3. to transfer money as compensation or recompense for work done or services rendered; to satisfy the claims of (a person, organization, etc.), as by giving money due:

ตัวอย่างประโยค  He paid me for my work.



4. to defray (cost or expense).



5.to give compensation for.



6. to yield a recompense or return to; be profitable to:

ตัวอย่างประโยค  Your training will pay you well in the future.



7. to yield as a return:

ตัวอย่างประโยค  The stock paid six percent last year.



8. to requite, as for good, harm, or an offense:

ตัวอย่างประโยค  How can I pay her for her kindness and generosity?



9. to give or render (attention, respects, compliments, etc.), as if due or fitting.



10. to make (a call, visit, etc.).



11. to suffer in retribution; undergo:

ตัวอย่างประโยค  You'll pay the penalty for your stubbornness!



12. Nautical. to let (a ship) fall off to leeward.





-verb (used without object)

13. to transfer money, goods, etc., as in making a purchase or settling a debt.



14. to discharge a debt or obligation.



15. to yield a return, profit, or advantage; be worthwhile:

ตัวอย่างประโยค  It pays to be courteous.



16. to give compensation, as for damage or loss sustained.



17. to suffer or be punished for something:

ตัวอย่างประโยค  The murderer paid with his life.




-Verb phrases

pay for, to suffer or be punished for:

ตัวอย่าง  to pay for one's sins


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 14-04-2007, 13:30
เข้ามาดู เล็คเชอร์ EN101


หัวข้อ: Re: ต่อท่อ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 14-04-2007, 17:45
เห็นด้วยกับ อ.นิธิ ครับ...

ตกลง ภาษาอังกฤษนี่ใช้ไวยกรณ์สื่อสารกันเหรอครับ..(หรือแค่เอาไว้เกทับกันเล่น ๆ)