ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Can ไทเมือง ที่ 14-03-2007, 18:44



หัวข้อ: การครอบงำผู้อื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ..จริงมั๊ย..อาจไม่จริง..เอ๊ะหรือจริง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 14-03-2007, 18:44
 Permalink :   http://www.oknation.net/blog/canthai
วันพุธ ที่ 14 มีนาคม 2550

การครอบงำผู้อื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ..จริงมั๊ย..อาจไม่จริง..เอ๊ะหรือจริง์

Posted by Canไทเมือง : 07:46:57 น.

"การครอบงำผู้อื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์"

ข้อความนี้จะถูกหรือผิด ไม่แน่ใจนักเพราะไม่ใช่นักจิตวิทยา หรือนักสังคมวิทยา

แต่เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้คนในสังคมเราในห้วงที่ผ่านมา

ครอบงำผู้อื่น เพื่อที่จะยืนอยู่ข้างหน้า

ครอบงำผู้อื่น เพื่อผลประโยชน์ของตน

ครอบงำผู้อื่น เพื่อแสดงตนเป็น "ผู้นำทางความคิด"

ครอบงำผู้อื่น เพื่อทำลายผู้อื่น

การที่จะขึ้นไปสู่จุดที่เหนือกว่าผู้อื่น เดินนำหน้าผู้อื่น กระทำได้ไม่กี่เส้นทาง และ "การใช้สื่อ" เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ผล

แต่ต้องใช้ วาทะกรรมที่สมเหตุสมผล โต้แย้งยากเว้นแต่ใช้ "อารมณ์ร่วม" เข้าต่อต้านเท่านั้น

ในภาวะการณ์ที่แปลก ๆ เช่นทุกวันนี้ เรามักจะได้ยินเรื่อง เสรีภาพ สื่อเสรี สื่อสาธารณะ ฯลฯ

การสิ้นสุดสัญญาสัมปทานไอทีวี ได้ก่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดของสังคมได้ดีอย่างหนึ่ง

นั่นคือทำอย่างไร "สื่อทีวี" จึงจะปลอดจากการครอบงำจากรัฐและนายทุน

ทำอย่างไรสังคมไทยจึงจะก้าวพ้น "การครอบงำ" จากสิ่งอันไม่พึงประสงค์

"เสรีภาพ" ทางการพูด อ่านเขียน การแสดงความคิดเห็นยังมีอยู่จริงหรือ

เพราะ ในมาตรา 39 ของรัฐธรรมนูญเก่า 2540 ก็ยังมี "ข้อยกเว้น"

เสรีภาพยังมีขอบเขต สื่อเสรีก็ย่อมมีคนครอบงำ "ไม่รัฐก็นายทุน"

หนีกันไม่พ้น....เว้นแต่จะมี "ที่มาของทุน" ที่มิใช่ "จากรัฐหรือจากนายทุน"

แม้แต่ปลอดจากรัฐหรือนายทุนแล้ว "ตัวสื่อเอง" ก็จะทำหน้าที่ "ชี้นำ" เพื่อ "ครอบงำ" อยู่ดี

การใช้วาทะกรรมนั้น บางทีก็เป็นการนำไปสู่การครอบงำ หรือ ต่อต้านการครอบงำ

ในห้วงที่เกิด "วาทะกรรมทางการเมือง" เพื่อนำเสนอ "แนวคิด" ชี้นำต่อเพื่อนร่วมสังคมให้คล้อยตาม จะด้วยจุดมุ่งหมายให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ก็ตาม

วาทะกรรมเหล่านั้นก็ถูกสร้างขึ้น เพื่อนำไปสู่ "การครอบงำผู้อื่น" เพื่อให้คล้อยตามและเชื่อถือเชื่อมั่น

และมุ่งหวังให้มีพฤติกรรมไปในทางที่ผู้สร้างวาทะกรรมต้องการอยู่นั่นเอง

การครอบงำทางความคิด เป็นวิธีการที่ใช้ได้ดี ในกลุ่มคนที่ "คิดน้อย-ใคร่ครวญน้อย" ขาดสติและขาดพื้นฐาน "ความรู้" ที่แท้จริง

หากไม่อยากถูกครอบงำ ก็จงใช้วิธี "ศึกษา" ให้รู้แจ้งในเรื่องนั้นนั้น

รู้ให้ถึงแก่นของทุกเรื่องราว ใช้หลักกาลามสูตรให้มาก ใคร่ครวญให้มาก

ใช้หลัก "ผลประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์" และศึกษาให้รู้แน่ว่า อะไรคือ ความดี ความงาม ความสะอาดและความสงบ

ในสงครามข่าวสารที่สับสนเช่นทุกวันนี้ ควรเปิดตา เปิดใจ เปิดสมองให้มากที่สุด

อย่าพยายาม "ปิดกั้นตัวเอง" ให้อยู่แต่ในโลกด้านใดด้านหนึ่ง

หมั่นสังเกตพฤติกรรมแล้วตั้งตำถามว่า "ทำไม"

และจงพยายามท่องเที่ยวไปในโลกของข่าวสารที่หลากหลาย แล้วสกัดเอาแก่นของ "ความจริง" ด้วย "ความมีสติ"

ลองถอนตัวออกมาเป็น "ผู้สังเกตการณ์" ซักพัก บางทีจะทำให้เรามองเห็นสภาพโดยรวมของสังคมได้ไม่อยาก

ใครต้องการครอบงำใคร ใครต่อต้านการครอบงำของใคร

ภาษากฎหมายใช้หลักพิจารณาว่า "พฤติกรรมกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา"
เมื่อศึกษาพฤติกรรมของเป้าหมายอย่างละเอียดย่อมรู้ไปถึงเจตนา...ว่ามั๊ย..

...แน่นอน...ข้อเขียนนี้มิได้มุ่งหวัง..."ครอบงำ" ใคร

ก็แค่กล่าวขึ้นมาลอย ๆ เพราะอยากจะถอยออกมาเป็น "ผู้สังเกตการณ์" มากกว่าจะลงไปเล่นเป็นผู้ร่วมในเหตุการณ์เท่านั้นเอง

แน่นอน "วาทะกรรม" ที่ว่า "การครอบงำผู้อื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์" ก็แค่สร้างขึ้นเพื่อ "ให้สติ" แก่เพื่อน ๆ เท่านั้นเอง

จงอย่าเชื่อแม้ว่าผมจะเป็นคนพูด ว่างั้นเถอะ ฮ่า ฮ่า

เพราะนี่ย่อมมิใช่ "การครอบงำ" อิ อิ