ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: skidato ที่ 06-03-2007, 21:03



หัวข้อ: ITV เว้ย สื่อมวลชนที่แท้จริงอยู่นี่อย่างมึงเป็นได้แค่อาชีพสื่อไม่มีก็ไม่เสียหาย
เริ่มหัวข้อโดย: skidato ที่ 06-03-2007, 21:03
มติชน วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1282

ในประเทศ

พลิกแฟ้มคดี"กบฏไอทีวี" 4 ปีก่อนถึงวันพิพากษา ชัยชนะของคนทำงานสื่อ

"เป็นชัยชนะของคนทำงานสื่อเสรี เรายินดีที่จะกลับไปทำงานในไอทีวี เราอยากที่จะฟื้นฟูสหภาพ อยากทำให้ไอทีวีเป็นของประชาชนจริงๆ ไม่ใช่เป็นของนายทุน"

"ในเมื่อวันนี้ท่านทักษิณชนะการเลือกตั้งแล้ว คงไม่ต้องการใช้ไอทีวีเป็นฐานอีกแล้ว"

นายสกลเดช ศิลาพงษ์ อดีตผู้สื่อข่าวอาวุโสโต๊ะข่าวต่างประเทศ กล่าวภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมีคำพิพากษายืนตามศาลแรงงานกลาง ให้บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) รับพนักงานทั้ง 21 คน ที่ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม

และให้จ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับกลับเข้าทำงาน

พนักงานหรือ "กบฏไอทีวี" ทั้ง 21 คน ประกอบด้วย

1.วิศาล ดิลกวานิช 2.ปฏิวัติ วสิกชาติ 3.ยุวดี เตชะไพทูรย์สุข 4.อังสนา เทศขยัน 5.กรุณา บัวคำศรี 6.ภัทราพร สังข์พวงทอง 7.นาตยา แวววีรคุปต์ 8.อรพิน ลิลิตวิศิษฏ์วงศ์ 9.สกลเดช ศิลาพงษ์ 10.ม.ล.สุกุณฏีร์ จรูญโรจน์ 11.แก้วตา ปริศวงศ์

12.เชิดชาย มาศบำรุง 13.ชมพูนุช คงมล 14.ภุชงค์ แดงประเสริฐ 15.สุดารัตน์ สุขแสงรัตน์ 16.นงลักษณ์ สุขใจเจริญกิจ 17.สินินาฎ ดิลกวานิช 18.สุภาลักษณ์ ตั้งจิตศีล 19.จีรชาฎา ทองนาค 20.สมมาตร วัฒนคุโณปการ 21.สุวรรณา อุยานันท์

ค่าเสียหายที่ทางไอทีวีต้องจ่ายให้กับพนักงาน 21 คน คิดเป็นตัวเลขกลมๆ ตกอยู่ราวประมาณ 20 ล้านบาท



ชนวนเหตุการณ์กบฏไอทีวี เกิดขึ้นเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2543

หลังจากมีข่าว "ชินคอร์ป" จะเข้ามาถือหุ้นในไอทีวีที่กำลังประสบปัญหาทางการเงิน แต่ถูกกลุ่มผู้สื่อข่าว นำโดย นายจิระ ห้องสำเริง บรรณาธิการบริหารขณะนั้น เป็นหัวหอกคัดค้าน

กระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2543 กลุ่มชินคอร์ปได้เข้ามาถือหุ้นไอทีวี ท่ามกลางการต่อต้านอย่างหนักจากพนักงานฝ่ายข่าว เพราะไม่พอใจที่ถูกผู้บริหารตัวแทนจากชินคอร์ปแทรกแซง ห้ามไม่ให้ทำข่าวที่มีผลด้านลบต่อตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ตัวเก็งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

โดยเฉพาะเรื่อง "ซุกหุ้น" และปัญหาที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์

เนื่องจากเกรงจะมีผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 มกราคม 2544

การเข้าแทรกแซงของฝ่ายผู้บริหารมีทั้งการสั่งเปลี่ยนตัวนักข่าวที่ไปยิงคำ ถามแทงใจ พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่องการโอนหุ้น มีการสั่งไม่ให้ออกอากาศข่าวเรื่องสนามกอล์ฟ มีความพยายามเข้ามากำหนดและชี้นำประเด็นในฝ่ายข่าวมากขึ้น สั่งห้ามผู้ประกาศข่าวในรายการสายตรงไอทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ลงข่าวเรื่องการโอนหุ้น และที่ดินสนามกอล์ฟ

ยังมีเหตุการณ์ที่ผู้บริหารชินคอร์ป สั่งเรียกรถโอวีกลับสถานีขณะกำลังจะไปทำข่าวปราศรัยหาเสียงของพรรค ประชาธิปัตย์ ขณะที่พรรคไทยรักไทยได้รับอภิสิทธิ์เช่ารถโอวีของบริษัทไอทีวี เพื่อถ่ายทอดการปราศรัยของพรรคไทยรักไทยหลายครั้ง โดยไม่มีหนังสือหรือบันทึกถึงฝ่ายข่าวแม้แต่ครั้งเดียว

การแทรกแซงยังลามไปถึงโต๊ะข่าวบันเทิง ที่ไม่ได้ไปทำข่าวเปิดตัวนักร้องใหม่ในเครือของค่ายชินคอร์ป ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายบริหาร และมีคำสั่งให้ไปทำข่าวชิ้นนั้นออกอากาศในทันที

มีการล้วงลูกสั่งให้กองบรรณาธิการยกเลิกการวิเคราะห์ข่าวของ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่วิเคราะห์พาดพิงถึงหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ติดต่อกัน 3 วัน เกี่ยวกับปัญหาการถือหุ้น

มีการสั่งถอดรายการวิเคราะห์ข่าวการเมือง เปรียบเทียบฟอร์มระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ และ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทำให้พนักงานฝ่ายข่าวไม่พอใจอย่างมาก

ทั้งหมดนำมาสู่การออกแถลงการณ์ข้อเรียกร้องจำนวน 7 ข้อ ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ, นายบุญคลี ปลั่งศิริ ผู้บริหารชินคอร์ป และ นายสรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล กรรมการผู้จัดการไอทีวี มีเนื้อหาโดยรวมคือให้ยุติการครอบงำ กดดัน กลั่นแกล้ง และแทรกแซงสื่อ ซึ่งถือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 41

นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว ตัวจักรสำคัญในการสร้างทีมข่าวไอทีวีจนโด่งดัง ถูกบีบจนต้องลาออก ขณะที่ นายปีย์ มาลากุล ซึ่งเข้ามาแทนก็ถูกสั่งปลดเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2543

หลังมีการเขียนจดหมายเปิดผนึกถึง นายบุญคลี ปลั่งศิริ ขอให้ยุติการแทรกแซงข่าวไอทีวี



วันที่ 4 มกราคม 2544 กลุ่มผู้สื่อข่าวไอทีวี ออกแถลงการณ์ถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขอให้ยุติการแทรกแซงการทำข่าว แต่ถัดมาเพียงไม่กี่วัน นายจิระ ห้องสำเริง บรรณาธิการบริหารได้ลาออก ท่ามกลางเสียงร่ำลือหนาหูว่าถูกบีบออก ฐานเป็นแกนนำในการออกแถลงการณ์ดังกล่าว

ปัญหาความขัดแย้งไม่ลงรอยระหว่างพนักงานฝ่ายข่าวกับผู้บริหาร ทำให้บรรยากาศในไอทีวีช่วงนั้นเป็นไปอย่างอึมครึมยากจะเยียวยา แม้ผลเลือกตั้งขณะนั้นจะชัดเจนว่าพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับชัยชนะถล่มทลายแล้วก็ตาม

แล้วปฏิบัติการ "เช็คบิล" ก็มาถึง วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ผู้บริหารไอทีวี มีคำสั่งปลดพนักงานทั้ง 21 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการครอบงำของชินคอร์ป

กลุ่ม 21 กบฏไอทีวีพยายามต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเอง และเรียกร้องขอคืนสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนไปพร้อมๆ กัน โดยยื่นคำร้องไปยังคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ว่าบริษัทกระทำการอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 121 ของพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์

วันที่ 1 มิถุนายน 2544 ครส. วินิจฉัยว่าการกระทำของไอทีวีไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกเลิกจ้าง และสั่งให้รับพนักงานทั้ง 21 คนกลับเข้าทำงานเช่นเดิม ทางไอทีวีไม่ยอมและได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง ขอให้เพิกถอนคำสั่ง ครส.

วันที่ 26 กันยายน 2545 ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าคำสั่งของ ครส. ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงพิพากษายกฟ้อง แต่ไอทีวียังไม่หมดความพยายาม ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลางอีกครั้ง

วันที่ 8 มีนาคม 2548 หลังจากใช้เวลาพิจารณาคดีนานกว่า 2 ปี ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมีคำพิพากษายืนตามศาลแรงงานกลาง

ถือเป็นการปิดฉากคดีประวัติศาสตร์การต่อสู้ของสื่อมวลชนโทรทัศน์ ที่ยืดเยื้อยาวนานถึง 4 ปีเต็ม

นายวรินทร์ เทียมจรัส ทนายความฝ่าย 21 กบฏ กล่าวสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดว่า การที่ศาลมีคำพิพากษาเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าการทำงานของสื่อย่อมได้รับการ คุ้มครอง

นายจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะให้ผู้สื่อข่าวไปทำข่าวเพื่อเชียร์ใครคนใดคนหนึ่งได้อีกแล้ว

ที่มา http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A5198562/A5198562.html

21 กบฏไอทีวีพวกนี้ต่างหากคือสื่อมืออาชีพที่แท้จริงส่วนพวกมึงเป็นได้แค่อาชีพสื่อเท่านั้น  

หยุดแหกปากบีบน้ำตาซะยิ่งดิ้นมากเท่าไหร่ยิ่งสมเพชว่ะ อย่างน้อยๆก็รักษาศักดิ์ศรีของตัวเองหน่อย