ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: พระพาย ที่ 26-02-2007, 18:29



หัวข้อ: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 26-02-2007, 18:29
ข้อความเหล่านี้ ผมรวบรวมมาจากการแสดงความคิดเห็นในกระทู้ต่างๆ ซึ่งผมจะได้รวบรวมเพื่อส่งไปยังเวบคณะยกร่างฯ โดยตรงที่
http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/committee_con/index.php
หรือที่ผมใช้บริการ redirect ของ bravenet ย่อเป็น
http://trax.to/thai

ทั้งนี้ผมนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ตรวจสอบกันก่อนครับว่าผมทำพลาดหรือไม่ครบอย่างใดหรือไม่?

ข้อมูลที่ผมสรุป ผมรวบรวมจากกระทู้จำนวนหนึ่งเท่าที่ผมอ่านพบ ซึ่งผมได้คัดกรองไปตาม 28 ประเด็นยกร่างฯ แบบคร่าวๆ ... หากมีเวลาจะคัดกรองให้เข้ากรอบ 3 กรอบในภายหลังคือ
เรื่อง สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ
เรื่อง สถาบันการเมือง
เรื่อง องค์กรตรวจสอบอิสระและศาล

กระทู้ที่รวบรวมไว้มีดังนี้ครับ


สรุปความจาก bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=8939.0
ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยมีพื้นฐานมาจากพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่เปิดรับรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยจากโลกทุนนิยม ซึ่งมีพื้นฐานเติบโตจากลัทธิจักรวรรดินิยมหรือตลาดเสรีนิยม ดังนั้นเอกลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตยของเราคือเรื่องของพระราชอำนาจ ในขณะที่คุณภาพของระบอบประชาธิปไตยเราขึ้นอยู่กับศักยภาพที่แท้จริงของประชาชนในระบบเสรีนิยม ซึ่งส่งผลให้ผู้นำไม่สามารถมีผูกขาดอำนาจที่ไม่เป็นธรรมได้ มีประชาชน สื่อ และระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งไม่สามารถถูกแทรกแซงได้ง่ายนัก

ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยจึงควรมีหลักใหญ่ๆ ประกอบด้วย การคงอยู่และดำรงสภาพอันเป็นที่เคารพสักการะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ภูมิพลอดุลยเดช) และประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงควรมีกรอบส่งเสริมให้เกิดเนื้อหาเหล่านี้คือ 1. พัฒนาการทางสังคม..ได้ แก่ทำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในระดับพอเดียงเท่าเทียมกัน และใช้สิทธิ เสรีภาพนั้นเพื่อประโยชน์สุขของตัวเองและสังคมส่วนรวม  อีกทั้งสามารถใช้สิทธิในการพัฒนาการปกครอง และพัฒนาการเมือง ได้ด้วยโดยผ่านองค์กรกลางภาคประชาชนที่ถูกจัดตั้งขึ้น 2. พัฒนาการปกครอง.. ข้า ราชการทุกคนมีจิตสำนึกในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมือง  จัดให้มีองค์กรอิสระที่เป็นศูนย์กลางของข้าราชการพลเรือน ตำรวจและทหาร สามารถยับยั้งการใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมืองที่ไม่ชอบธรรมได้ 3. พัฒนาการเมือง.. ระบบ การเมืองต้องแข่งขันกันระดมคนดี มีความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาทำงานทางการเมือง โดยแรงจูงใจของความสำเร็จอยู่ที่ชื่อเสียง เกียรติยศที่ประชาชนทั้งประเทศมอบให้ผ่านองค์กรกลางภาคประชาชน  ไม่ใช่แรงจูงใจด้านอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ และความมั่งคั่ง

ดังนั้นรูปธรรมของรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่พัฒนาการของประชาชนที่มีคุณภาพ ที่ส่งผลให้ได้ดุลทางการเมืองที่มีคุณภาพควรมีลักษณะดังนี้
1../ สมาชิกวุฒิสภามาจากการคัดเลือกกันเองของประชาชนทุกสาขาอาชีพ
2../ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด และยกเลิกการเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลีสต์
3../  นายกสามารถเลือกรัฐมนตรีร่วมคณะ แต่ต้องผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา
4../  จำนวนสมาชิกสภาที่สามรถยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลยังคงเป็น 2 ใน 5 เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ  แต่..ให้ฝ่ายค้านสามารถขอให้วุฒิสภาช่วยได้
5../  ให้ข้าราชการประจำที่ถูกโยกย้ายโดยมิชอบจากการใช้อำนาจของนักการเมืองสามารถขอความเป็นธรรมได้จากวุฒิสภา
6../ นายก โดยความเห็นชอบของครม.สามารถออกพรก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยต้องมีประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานศาลฎีการ่วมเห็นชอบด้วย
7../  ให้การยื่นถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นไปตามบทบัญญัติเดิม ยกเลิกการยื่นรายชื่อของประชาชน 50000 รายชื่อ
8../  การลงประชามติ ที่สามารถเริ่มต้นจากประชาชนได้ผ่านองค์กรประชาชนและสาขาอาชีพ
9../  ให้มีการจัดระเบียบผู้ชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ

ส่วนกฎหมายลูกที่ควรมีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้สมบูรณ์ประกอบด้วย
กฎหมายสวัสดิการผู้เสียภาษี
กฎหมายตอบแทนประชาชนช่วยต่อต้านคอรัปชั่น
กฏหมายคุ้มครองพยาน
กฎหมายลดอำนาจราชการสู่ประชาชน


พระพาย http://forum.serithai.net/index.php?topic=8939.msg125398#msg125398
การเลือกตั้งเป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาบริหารจัดการในระบอบประชาธิปไตย ในแต่ละช่วงเวลาหนึ่งๆ จึงมีแนวนโยบายบริหารตามแต่ละรัฐบาล ซึ่งไม่สามารถสนับสนุนทุกความต้องการในสังคมได้ จะต้องมีการเลือกสนับสนุนและไม่สนับสนุนประชาชนบางกลุ่มอยู่เสมอ ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยของเราควรมีกลไกเปิดกว้างให้กลุ่มประชาชนเหล่านี้สามารถมีสิทธิ เสรีภาพ และดุลอำนาจของ "การเมืองภาคประชาชน" ในระบอบฯ ด้วยอยู่พอสมควร
7../  ให้การยื่นถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นไปตามบทบัญญัติเดิม คงการยื่นรายชื่อของประชาชน 50000 รายชื่อ
เพราะเดิมทีการมีมาตราดังกล่าวในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ไม่ได้คาดหวังผลการถอดถอนมากนัก... แต่เน้นให้มีช่องทางในการแสดงพลังของภาคประชาชนที่ "ชอบธรรม" ตามรัฐธรรมนูญ การคงไว้มีประโยชน์มากกว่าตัดช่องทางแสดงพลังตรงนี้ครับ... เหมือนกับกรณีที่นักศึกษาระดม 50,000 ชื่อเพื่อถอดถอนรัฐมนตรี ย่อมมีพลังกระทบในสังคมมากกว่าองค์กรนักศึกษาเพียง 1 องค์กรหรือ 10 องค์กรยื่นถอดถอนรัฐมนตรีครับ
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.0
การไม่สามารถแบ่งแยกเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ออกไปจากเรื่องผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ชุมชน ผลประโยชน์สาธารณะ และผลประโยชน์ส่วนบุคคล รวมไปถึงการจัดการโดยรัฐและประชาชนได้ การให้ความสำคัญในสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างมากในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แต่มีความไม่ชัดเจนในประเด็นที่ซับซ้อนเหล่านี้ย่อมส่งผลสะเทือนต่อการ จัดการคุ้มครองทรัพยากรแห่งชาติหรือ "ระบบภูมิคุ้มกันทรัพยากรแห่งชาติ" ดังที่เป็นปัญหารูปธรรมที่ชัดเจนปรากฎในกรณีของดาวเทียมไทยคม หุ้นปตท. หรือการมีรายได้โดยไม่เสียภาษี ฯลฯ
จึงเห็นควรนำเสนอประเด็นหลักการเกี่ยวกับ "ทรัพยากรแห่งชาติ ทรัพยากรสาธารณะ และทรัพยากรส่วนบุคคล" เพื่อให้ปรากฎเป็น "ระบบภูมิคุ้มกัน" ระดับสูงสุดคือในรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างขึ้นใหม่ดังนี้
1. ทรัพยากรแห่งชาติ หมายถึงทรัพยากรอันเกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของชาติ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน โครงสร้างการสื่อสาร กองกำลังทหาร ระบอบประชาธิปไตยฯ ฯลฯ
2.ทรัพยากรสาธารณะ หมายถึงทรัพยากรที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าถึงอย่างเท่าเทียมมากที่สุดเท่า ที่เป็นไปได้ เช่น สิ่งแวดล้อมที่ดี การศึกษาที่ดี ความจริง ข่าวสาร ความรู้ ฯลฯ
3.ชาติ ทรัพยากรแห่งชาติ และความยั่งยืนของทรัพยากรแห่งชาติมีความสำคัญสูงสุดเหนือสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะ
4.บุคคล มีสิทธิเสรีภาพเต็มที่ในทรัพยากรส่วนบุคคล รวมไปถึงการแข่งขันเสรีสามารถทำได้เท่าที่ไม่ละเมิดทรัพยากรแห่งชาติและ ทรัพยากรสาธารณะ
5.ความยั่งยืนทรัพยากรสาธารณะมีความสำคัญกว่าสิทธิ ส่วนบุคคล การเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะของบุคคลสามารถทำได้มากเท่าที่ไม่กระทบต่อความ ยั่งยืนของทรัพยากรสาธารณะ
6.รัฐมีหน้าที่ในการจัดการดูแลทรัพยากร แห่งชาติและทรัพยากรสาธารณะ ตามหลักการที่ปรากฎในหลายมาตราของรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แต่รัฐต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรแห่งชาติหรือทรัพยากรสาธารณะ ทั้งนี้สิทธิและหน้าที่แห่งรัฐมิสามารถละเมิดผลประโยชน์แห่งชาติและ ประโยชน์สาธารณะ หรือการจัดการใดใดที่นำผลประโยชน์แห่งชาติและผลประโยชน์สาธารณะเพื่อเอื้อ ประโยชน์ต่อบุคคลหรือกลุ่มเอกชนบางกลุ่มได้ ยกเว้นเป็นไปตามแนวนโยบายแห่งรัฐเช่น การกระจายรายได้ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น
7.บุคคลสามารถใช้ช่องทางทาง กฎหมายและโครงสร้างทางปกครองที่รัฐจัดสรรให้ ในการปกป้องและสนับสนุนความยั่งยืนแห่งทรัพยากรแห่งชาติและทรัพยากรสาธารณะ โดยปราศจากความรุนแรง หรือกล่าวโดยย่อคือ ในกรณีที่ชาติและ "ทรัพยากรแห่งชาติ" เสียหาย บุคคลทุกคนคือผู้เสียหายหรือเจ้าทุกข์ผู้สามารถฟ้องร้องตามกฎหมายได้
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.msg158296#msg158296
เรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชนผมคิดว่าควรเป็นแนวทางเดียวกับที่ท่านประพันธ์ นัยโกวิทที่นำเสนอเกี่ยวกับ "ประชาธิปไตยทางตรง" 3 แนวทางด้วยกัน(มติชน 1 กุมภาพันธ์ 2550) คือ
1.ประชาชน สามารถออกเสียงถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับชาติได้โดยตรง กรณีกลไกอื่นใช้ไม่ได้ตามปกติ เปรียบเทียบกับนายกฯองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แห่งหนึ่งที่ จ.น่าน ก็ถูกประชาชนออกเสียงถอดถอนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
2.การมีส่วน ร่วมของประชาชนในการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีกลไกอื่นใช้ไม่ได้ตามปกติ เช่น กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดที่ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินกรณีขึ้น ค่าตอบแทนตนเอง ต่อไปอาจให้ประชาชน 25,000 คนเข้าชื่อเสนอที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยตรงเพื่อตั้งกรรมการไต่สวน ถ้ามีมูลบุคลนั้นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และส่งอัยการสูงสุดฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3.ให้ ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงในการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยการทำประชามติ อาจให้ 50,000 คนเข้าชื่อ มี ส.ส.รับรอง 1 ใน 5 เพื่อเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำประชามติ
นั่น คือสิทธิเสรีภาพของประชาชนควรมีเพิ่มขึ้นในเรื่องของชาติและสาธารณะ ส่วนสิทธิส่วนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเกี่ยวข้องกับการจัดการ ดำเนินการผลประโยชน์ของชาติจะต้องลดลงให้ตรวจสอบได้มากขึ้น
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.msg158300#msg158300
ตราบใดที่รัฐธรรมนูญมีกรอบเพียงแค่การเลือกตั้งเพื่อเข้าไปควบคุมอำนาจ รัฐ... ย่อมไม่มีภูมิต้านทานเมื่อมีการล้มรัฐบาลด้วยวิธีอื่น เช่น กำลังทหาร ครับ
ในความคิดตรงๆ ของผมนั้นสิ่งเดียวที่ทำให้รัฐธรรมนูญไม่ถูกฉีกหรือล้มไป... ต้องทำให้รัฐธรรมนูญมีสถานภาพเหนือเนื้อหาสาระการเลือกตั้งและการเข้าควบ คุมอำนาจรัฐด้วยช่องทางเลือกตั้ง... เมื่ออำนาจรัฐบาลมีอันต้องเป็นไป ต้องมีอำนาจอื่นที่ค้ำยันรัฐธรรมนูญให้สามารถดำเนินเจตนารมณ์ของรัฐธรรม นูญได้ต่อไปโดยไม่ต้องฉีกครับ... กล่าวคือรัฐธรรมนูญจะต้องมีคุณสมบัติดิ้นได้... ยืดหยุ่น... ปรับตัวเองได้... สวิทซ์บางมาตราเพื่อปรับใช้ได้ทันควัน...
การปรับ ตัวของรัฐธรรมนูญนั้น ก็เพื่อรักษา "เจตนารมณ์" ของรัฐธรรมนูญให้คงอยู่แม้รัฐบาลจากการเลือกตั้งจะประสบอุบัติเหตุ(ด้วย เหตุใดก็ตาม)... นั่นคือ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ในการแก้ปัญหาบ้านเมือง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน (ทั้งในยามมีรัฐบาลและไม่มีรัฐบาล) ซึ่งผู้ดูแลในยามไม่ปรกติตรงนี้ชั่วคราวอาจเป็น "อำนาจที่ 4" แต่นั่นย่อมหมายถึงจะต้องมีการเปิดช่องให้กับอำนาจที่ 4 ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ครับ

นทร์ http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.msg156933#msg156933
เห็นด้วยกับแนวทางยกร่างฯ ด้านสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ
1.ควรขยายสิทธิและเสรีภาพให้มากกว่าเดิม
2.ให้ประชาชนใช้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.ควรบัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่างๆไว้ในรัฐธรรมนูญ
4.ส่งเสริมการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ลุงแคน http://forum.serithai.net/index.php?topic=8134.msg113966#msg113966
ควรมีการระบุ "ความรับผิดชอบของนักบริหาร"
กำหนดลงไปว่า กฎหมายสำคัญตกไปหรือขัดแย้งรัฐธรรมนูญ นายกต้องแสดงความรับผิดชอบ
http://forum.serithai.net/index.php?topic=8006.msg111546#msg111546
แต่เสรีภาพของประชาชนให้น้อยกว่านั้นไม่ได้...พอมองออกใช่มั๊ย...
รัฐธรรมนูญมิได้มีเฉพาะด้านสิทธิ์พลเมือง แต่มีกลไกในการบริหารประเทศ การตรวจสอบ การกำหนดจริยธรรมนักการเมือง ฯลฯ
ลอง ๆ ไปพลิกดูรัฐธรรมนูญสิ มีหลายหมวดนะ...แต่หมวด 3 หใวดสิทธิ์ของพลเมืองจะเหมือนเดิม น้อยกว่านั้นไม่ได้ เข้าใจหรือยัง

solidus http://forum.serithai.net/index.php?topic=7702.msg107328#msg107328
1.ห้ามเป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน 2 สมัย
2.การเลือกผู้แทนให้ทำการเขียนชื่อผู้แทนที่ต้องการเลือกลงในบัตรเลือกตั้ง

อำพรางฯ http://forum.serithai.net/index.php?topic=7702.msg107345#msg107345
ระบุเจตนารมณ์ของ รธน. กำกับเป็นรายมาตราก็ดี จะได้ไม่ต้องมานั่งตีความกันอีก
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11795.msg163835#msg163835
อยากเสนออีกข้อครับ ให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภา สามารถเรียกข้อมูลจากทางราชการได้หมดทุกอย่างพอๆ กับนายกฯ หน่วยราชการไหนไม่ให้ความร่วมมือติดคุกสถานเดียว
แล้ว ก็กรรมการชุดไหนที่มีนายกฯ เป็นประธานโดยตำแหน่ง  ก็ควรมีผู้นำฝ่ายค้านเป็นรองประธานคนที่ 1 โดยตำแหน่งด้วย จะได้เกิดการคานอำนาจกัน

RiDKuN http://forum.serithai.net/index.php?topic=7702.msg107416#msg107416
1. ให้ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ แม้จะมีฝ่ายค้านแค่คนเดียว
2. ให้ประชาชนธรรมดาสามารถเป็นโจทก์ฟ้องนักการเมืองข้อหาทุจริตได้โดยตรง
3. เพิ่มมาตราที่บอกว่าการทำสนธิสัญญาที่มีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติจะต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร (ซึ่งจะทำให้ FTA ต้องผ่านสภา)
4. บทเฉพาะกาล: เมื่อการเลือกตั้งแล้วเสร็จ ให้รัฐสภาทำการออกมาตรฐานทางด้านคุณธรรมทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองตั้งแต่ระดับ รมช. ขึ้นไป ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
5. ต้องมี พรบ. ออกมาเพื่อจัดตั้งหน่วยงานอิสระ ที่สนับสนุนการรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยใช้ระบบอิเลกทรอนิกส์ในการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้การรวบรวมและตรวจสอบรายชื่อเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันการณ์ และไม่จำเป็นต้องผ่านวุฒิสภา สามารถยื่นให้ ปปช. ได้โดยตรง
6. ต้องจัดทำ พรบ. ว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ เพื่อรับรองสิทธิในการชุมนุมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และระบุรูปแบบวิธีการขอใช้สถานที่อย่างชัดเจน

ปุถุชน http://forum.serithai.net/index.php?topic=7702.msg107476#msg107476
ผมอยากให้ สสในสภาได้เอกสิทธิ์และคุ้มครองเฉพาะกรณีการเมืองเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งทางการเมือง
แต่ไม่คุ้มครองกรณีอาญาหรือความผิดส่วนตัว เช่นคดีเชค คดีฆ่าคนตาย เป็นต้น....
http://forum.serithai.net/index.php?topic=10467.0
ขอให้รัฐธรรมนูญใหม่ ระบุชัดว่า ....
1. นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว...
2. สัดส่วน เกณฑ์"สส.บัญชีรายชื่อ" ขอให้ลดจาก 5 %....
3. วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว...
4. ลดจำนวนวันที่ผู้สมัคร สส. สังกัดพรรคการเมืองจาก 90 วัน...
5. ลดจำนวน สส. ใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางนายกรัฐมนตรีจาก 200 คน...
6. ไม่ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะกลัว"งูชั่ว"เข้ามาสู่การเมืองไทยอีกตัว...
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11141.0
1. 'วุฒิสมาชิก'ไม่สามารถไปสมัครเป็น'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ได้อีก'....
2. 'วุฒิสมาชิก'ไม่สามารถเป็นต่อเนื่อง 2 สมัย...
3. อดีต'สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์' สามารถสมัครเป็น 'วุฒิสมาชิก'ได้
    แต่ได้เป็นแล้ว จะกลับไปสมัครเป็น 'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์'อีกไม่ได้..
'วุฒิสมาชิก' จะต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น....
ถ้ามาจากการแต่งตั้ง ไม่มีเลย ดีกว่า..........

พระเอกละครหลังข่าว http://forum.serithai.net/index.php?topic=7702.msg107497#msg107497
จำกัดวาระในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี ของบุคคลหนึ่ง เมื่อนับรวบกันแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี

Pakxe http://forum.serithai.net/index.php?topic=7702.msg107498#msg107498
ประเด็นคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. ควรยกเลิกประเด็นที่ว่า ต้องจบป.ตรี ออกไป
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11563.msg160702#msg160702
ส่วนการยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะก่อน-หลังนั่งเก้าอี้ แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีใครไปทำอะไร โชว์ไปก็เท่านั้น
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11141.msg157934#msg157934
วุฒิสภาน่า จะหา "วิธีสรรหา" อะไรก็ตามที่ไม่ใช่การเลือกตั้งและการแต่งตั้งโดยคนๆเดียว จะดีกว่า แล้วเปิดเผยรายชื่อให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์กันก่อน
ทำไมไม่ไปให้ความสำคัญกันที่ "การตรวจประวัติการเสียภาษีย้อนหลัง" กับพวกสมัครรับเลือกตั้งบ้าง?
- ถามว่าเอ็งรายงานว่ามีทรัพย์สินเยอะแยะ แล้วเอ็งเคยเสียภาษีเท่าไรที่มีจำนวนสมเหตุสมผลกับมูลค่าทรัพย์สิน?
- เอ็งประกอบอาชีพอะไรมา พ่อแม่เอ็งแต่ก่อนฐานะก็ไม่มีอะไร แล้วเอ็งรวยมาได้ไง อธิบายได้ไหม?
- แล้วทรัพย์สินพวกนั้นไปเอามาจากไหน พิสูจน์ไม่ได้ก็หมดสิทธิมาสมัครรับเลือกตั้ง แล้วก็ยึดเงินมันแล้วแบนไปเลย
- หรือไอ้ที่เอาไปซ่อนกับคนใช้ คนขับรถ โอเค เป็นคนใช้ คนขับรถแล้วรวยใช่ไหม? ไหนล่ะประวัติการเสียภาษีของพวกนี้?? พิสูจน์ที่มาไม่ได้ก็ยึดมา แล้วแบนไปเลย

พรรณชมพู http://forum.serithai.net/index.php?topic=7702.msg107516#msg107516
เอกสิทธิ์นั้น ขอให้คุ้มครองเฉพาะการพาดพิงถึง สส. สว. คณะรัฐมนตรี นักการเมืองทั้งหลายเท่านั้น  ส่วนการหมิ่นประมาทบุคคลที่สาม ซึ่งไม่ได้เป็นนักการเมือง ไม่ควรให้สิทธิ์คุ้มครอง   และในกรณีนักการเมืองมีคดีความ ให้ดำเนินคดีได้ในสมัยประชุมทุกสมัย  แต่ห้ามนัดศาลในวันประชุมสภาเท่านั้น วันไหนไม่ประชุมสภา จะมาอ้างว่าประชุมกรรมาธิการ ประชุมบ้าบออะไรไม่ได้ทั้งนั้น  ให้เฉพาะวันประชุมสภา เวลาประชุมสภาเท่านั้นที่ห้ามศาลนัด  หรือนัดแล้วผลัดได้  และการควบคุมขังตัว สส. สว. ในระหว่างประชุมสภา ต้องเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น ตำรวจหรือใครก็นำไปขังไม่ได้  แต่ถ้าศาลสั่งขัง ให้พ้นสภาพไปเลย และสั่งได้ทั้งในสมัยประชุมค่ะ
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11795.msg163743#msg163743
-ได้ยินว่าถ้าไม่มีปาร์ตี้ลิสต์ จะลดเหลือ 400 คน ก็น่าจะเป็นจำนวนเหมาะสมนะคะ
- การแสดงบัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง ควรให้แสดงบัญชีการเสียภาษีอากรด้วย อย่างน้อยควรย้อนหลังไปสักห้าปี เพราะภาษีนั้นคนหนึ่งยื่นหนึ่งชุดเท่านั้น เอามาแสดงได้ง่ายกว่าบัญชีทรัพย์สินมาก จึงควรแสดงให้รู้ด้วยว่า เสียภาษีเท่าไหร่
- สิทธิประโยชน์ของ สส. สว. แต่เดิมมีมากมายเกินไป จะบินไปไหนๆทั่วประเทศก็ฟรี  สส.เหนือบินไปเที่ยวใต้ซะอย่างนั้น สว.บินฟรีแล้วยังได้ไมล์สะสม พาเมียไปเที่ยวจะนั่งเฟิร์สตคลาส ทะเลาะกับกัปตันการบินไทยมาแล้วก็มี มันฟุ่มเฟือยมากค่ะ หากจะยังคงให้สิทธิ์กันมากมายขนาดนี้ น่าจะมีการแสดงบัญชีค่าใช้จ่ายส่วนตัวของ สส. สว. ที่สภาต้องจ่ายให้ในแต่ละปีด้วย ประชาชนจะได้รู้ว่า นักการเมืองผลาญเงินทองไปเท่าไหร่ เป็นค่าอะไรบ้าง
- หนู เห็นว่าควรกำหนดให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นวาระหนึ่งของการประชุมสภาในทุกสมัย ปีหนึ่งต้องอภิปรายกันหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย ไม่ต้องมาหาเสียงสนับสนุนอะไรกันเลย เป้นหน้าที่ที่ฝ่ายค้านจะอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะไม่ไว้วางใจใครก็ว่ากันไป ถ้าไม่มีอะไรจะอภิปรายก็ถึงจะปล่อยให้ผ่านไปได้ ถึงจะมีฝ่ายค้านคนเดียวก็ให้อภิปรายไปได้ค่ะ
- การสังกัดพรรคน่า จะมีทั้งสองแบบ สส.อิสระก็ให้มีได้ แต่ต้องจำกัดสิทธิ์ไว้ด้วยว่า สส.ไม่สังกัดพรรค ห้ามเข้าขบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี อภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนกฎหมายอื่นๆให้เข้าร่วมด้วยตามปกติ และห้าม สส.อิสระรับตำแหน่งทางการบริหารเด็ดขาด ไม่ว่าจะตำแหน่งเล็กน้อยประการใด ทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างเดียวค่ะ
- ควรกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นค่ะ ควรเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้แล้ว

THE THIRD WAY http://forum.serithai.net/index.php?topic=7702.msg107554#msg107554
คดีโกงไม่มีอายุความ

TingTing http://forum.serithai.net/index.php?topic=7681.msg107208#msg107208
กติกาเขียนให้ดียังไงก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าคนใช้กติกามีปัญหาครับ
ณ ตอนนี้ผมเชื่อว่าเขียนรัฐธรรมนูญยังไงก็ไม่มีวันได้รัฐธรรมนูญที่ดีพอหรอกครับ
- รัฐธรรมนูญกำหนดให้ สว.เป็นกลาง  แต่สุดท้ายก็โดนอำนาจเงิน อำนาจรัฐดึงไปได้
- รัฐธรรมนูญกำหนดคุณสมบัติ สส / รมต. ไว้ดิบดี สุดท้ายก็ได้คนเลวเข้าสภา เพราะคนเลือกมีปัญหา
- รัฐธรรมนูญให้ สส.ไม่สังกัดพรรค สส.มันก็ขายตัว
- รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรอิสระ แต่สุดท้ายมันก็ทำให้ไม่อิสระได้
- รัฐธรรมนูญบอกให้การโยกย้ายต้องผ่าน กกต.  มันก็บอกไม่สน ใครจะทำไม
ฯลฯ
แต่อย่างที่พอใช้ได้ อย่างมัวแต่ฝากความหวังเรื่องความเป็นกลาง ผมอยากเห็นการคานอำนาจมากกว่าครับ
อย่างเช่น ปปช. ไว้ตรวจทุจริตนักการเมือง คนที่เลือก ปปช. น่าจะให้ฝ่ายค้านเป็นคนแต่งตั้ง มันจะได้มาคานอำนาจกันได้
แล้วก็ป้องกันการกลั่นแกล้ง ใส่ร้าย ด้วยการกำหนดโทษไว้สูงๆ หน่อย ถ้าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

นอกจากนี้ที่สำคัญก็คือ จะทำอย่างไรให้ตำรวจ และอัยการ เป็นองค์กรที่ไม่อยู่ใต้อำนาจนักการเมืองได้เหมือนอย่างศาล
และมีกลไกตรวจสอบ ลงโทษ ตำรวจกับอัยการเลวๆ
ถ้าทำได้เท่านี้ก็พอแล้วครับ อนาคตดีขึ้นแน่

1ktip http://forum.serithai.net/index.php?topic=11141.msg157926#msg157926
ที่มาวุฒิสภา มาจากสรรหารายชื่อ ตรวจสอบคุณสมบัติ แล้วค่อยส่งให้ประชาชนเลือกตั้งดีไหมครับ? จะได้ฝ่าหลายๆ ด่านหน่อย

login not found http://forum.serithai.net/index.php?topic=11141.msg157956#msg157956
ผมเห็นว่าวุฒิสมาชิกควรมาจากการแต่งตั้ง
เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ
เข้าไปเป็นผู้กลั่นกรองและตรวจสอบ
ไม่เช่นนั้นก็จะเห็นกฎหมายโดนตีกลับมาอีกหลายฉบับ
ส่วนวิธีการสรรหา และวิธีการป้องกันให้วุฒิสมาชิก
เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร นักการเมืองในระดับต่างๆ
เป็นเรื่องที่ต้องคิดกันอีกที

O_envi http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.msg157357#msg157357
ผมสนใจประเด็นนึงที่บอกว่าองค์กรอิสระให้เป็นอำนาจที่ 4 ครับ
เอาไปคานอำนาจกับ 3 อำนาจหลัก ศาล นิติบัญญัติ สภา
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.msg157790#msg157790
เรื่องคดีความต่างๆที่ต้องเริ่มจาก ตำรวจและอัยการ ผมว่าก็ต้องแก้ไข
แต่ไม่รู้ว่าควรระบุใน รธน. รึเปล่า

อะไรจ๊ะ http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.msg157382#msg157382
รธน.ฉบับนี้มิสามารถล้มเลิกหรือเพิกถอนได้ (ไม่ว่าจะโดยอำนาจใดๆก็ตาม) นอกจากผ่านการลงประชามติของประชาชนเท่านั้น โดยต้องมีการลงชื่อไม่น้อยกว่า 1 ล้านชื่อเพื่อขอให้มีการลงประชามติเพิกถอน

enjoylife
พื้นที่ไหนเสียภาษีมาก มี ส.ว.ได้มาก

sleepless http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.msg161044#msg161044
ไม่ต้องมี สส. สว. มีแต่ประชามติ

55555 http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.msg161904#msg161904
ผมเคยได้ยิน อ.เจิมศักดิ์ พูดถึง หอสมุดรัฐธรรมนูญ หรือ กฏหมาย อะไรทำนองนั้น........โดย ใช้เป็นที่เก็บกฏหมายต่าง ๆ รวมทั้งกฏหมายรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ จะยังใช้เป็นที่เก็บบันทึก เจตนารมย์ ของกฏหมาย .....
ที่ผ่านในระบอบทักษิณ  หรือแม้แต่ในรัฐบาลก่อน ๆ  เรามักเจอปัญหา ศรีธนนชัยอยู่บ่อย มีการตีความตามตัวอักษรแบบเข้าข้างตนเอง หากมีการเก็บบันทึกเจตนารมย์ แล้วใช้เป็นข้ออ้างอิงตามกฏหมายได้ด้วย ผมว่า บรรดานักการเมืองจอมลีลา ทั้งหลาย คงได้จนมุมกันบ้าง
http://forum.serithai.net/index.php?topic=11795.msg163892#msg163892
ผมมานั่งคิดแล้ว ชักชอบ ระบบการเลือกตั้งแบบทีใช้ในการเลือกวุฒิสภาครับ โดยให้คนทั้งจังหวัด โหวต 1 เบอร์ต่อ 1 คน แต่ให้มีการหาเสียงได้....ด้วยเหตุผลดังนี้........
1. เนื่องจาก ตอนนี้ระบบการบริหารประเทศ เป็นลักษณะการกระจายอำนาจ เรามี อบต. อบจ. เป็นผู้ใช้งบประมาณในการพัฒนาอยู่แล้ว  สส.  ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญิติก็เพียงพอ แต่ก็ยังให้มีหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบงบประมาณ ที่นำไปกระจายในแต่ละจังหวัด และมีการออกแบบให้มีการถ่วงดุลย์กันด้วย ระหว่าง สส. และ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
2. ด้วยวิธีการเลือกตั้งข้างต้น น่าจะทำให้การซื้อเสียงลดลง เนื่องจาก มีความยากลำบากในการควบคุมคะแนนจัดตั้ง....ด้วยวิธีการแบบนี้ ในระยะยาว อาจได้ สส.หน้าใหม่ ที่ดี ๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจาก เงินไม่ใช่ปัจจัยในการชนะการเลือกตั้งเสมอไป
3. เป็นการลดทัศนคติ ในเรื่องของภาคนิยม.........ผมสังเกตุเห็นการเลือกตั้ง หลายครั้งที่ผ่านมา .......ในภาคใต้ คะแนนอันดับสอง มักจะเป็น ทรท. หรือ พรรค เฉพาะกิจ .......ในขณะที่ ทางอีสาน พรรคประชาธิปัตย์ หรือ พรรคอื่น ๆ ก็มาเป็นอันดับสอง รองจาก ทรท. หรือ ความหวังใหม่ในอตีต..........วิธีการเลือกตั้ง แบบจัดอันดับคะแนนทั้งจังหวัด จะทำให้มี สส.หลากหลาย กระจายไปทั่วประเทศ .....น่าจะลดหรือ กำจัด ทัศนคติ แบบภาคนิยม ได้พอควร ....เพราะต่อไป ภาคใต้ จะไม่ใช่ของ ปชป.แต่ผู้เดียว ในขณะที่ภาคเหนือ หรือ อีสาน ก็ไม่ใช่ของไทยรักไทย แต่ผู้เดียวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผมไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ ว่าบรรดานักการเมือง จะยอมให้มีการเลือกตั้งในแบบที่ว่า

~ S o m e o n e ~ http://forum.serithai.net/index.php?topic=11223.msg162589#msg162589
การตั้งประเด็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองเท่าที่เห็นคนตั้งๆกันมาผมคิดว่ามีแต่คนตั้งเพื่อแก้ปัญหาทางการเมือง
แต่มีใครพอตระหนักได้บ้างว่าเจตนารมย์ที่พึงระลึกถึงที่สุดของการร่างรัฐธรรมนูญคือการทำให้รัฐธรรมนูญนั้น
ดำรงอยู่ได้อย่างยาวนาน
ร่างรัฐธรรมนูญเพื่ออนาคตกันบ้างเถอะครับ
อย่าให้ลูกๆหลานๆต้องมานั่งรับกรรมอย่างพกวเราเลย


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 26-02-2007, 18:30
สำหรับการคัดกรองเข้าสู่ 28 ประเด็น มีดังนี้ครับ

1.ควรลดจำนวน ส.ส.ให้เหลือน้อยกว่า 500 คน หรือไม่

2.ควรมี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือไม่
bonny -ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด และยกเลิกการเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลีสต์
ปุถุชน -มีโดยปรับลดเกณฑ์ 5%
sleepless -ไม่ต้องมี สส. สว. มีแต่ประชามติ

3.นายกรัฐมนตรีควรมาจาก ส.ส.หรือไม่
ปุถุชน -นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว...
(น่าจะรวม snowflake ด้วย แต่หาข้อความเขียนเองไม่เจอ เจอแต่ตัดแปะ)

4.ควรกำหนดให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในวาระได้ไม่เกิน 2 วาระ หรือ 8 ปี เท่านั้นหรือไม่
solidus -ห้ามเป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน 2 สมัย
พระเอกละครหลังข่าว -จำกัดวาระในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี ของบุคคลหนึ่ง เมื่อนับรวบกันแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี

5.ควรห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งในระหว่างการดำรงตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง

6.ส.ส.ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรีก็ได้
Pakxe -ประเด็นคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. ควรยกเลิกประเด็นที่ว่า ต้องจบป.ตรี ออกไป

7. ส.ว.ควรให้มาจากการสรรหาของทุกกลุ่มอาชีพในสังคม
bonny -สมาชิกวุฒิสภามาจากการคัดเลือกกันเองของประชาชนทุกสาขาอาชีพ
ปุถุชน -'วุฒิสมาชิก' จะต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น....ถ้ามาจากการแต่งตั้ง ไม่มีเลย ดีกว่า..........
Pakxe -วุฒิสภาน่า จะหา "วิธีสรรหา" อะไรก็ตามที่ไม่ใช่การเลือกตั้งและการแต่งตั้งโดยคนๆเดียว จะดีกว่า แล้วเปิดเผยรายชื่อให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์กันก่อน
1ktip -ที่มาวุฒิสภา มาจากสรรหารายชื่อ ตรวจสอบคุณสมบัติ แล้วค่อยส่งให้ประชาชนเลือกตั้งดีไหมครับ? จะได้ฝ่าหลายๆ ด่านหน่อย
login not found -ผมเห็นว่าวุฒิสมาชิกควรมาจากการแต่งตั้ง เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ เข้าไปเป็นผู้กลั่นกรองและตรวจสอบ ไม่เช่นนั้นก็จะเห็นกฎหมายโดนตีกลับมาอีกหลายฉบับ ส่วนวิธีการสรรหา และวิธีการป้องกันให้วุฒิสมาชิก เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร นักการเมืองในระดับต่างๆ เป็นเรื่องที่ต้องคิดกันอีกที
enjoylife -พื้นที่ไหนเสียภาษีมาก มี ส.ว.ได้มาก

8.ควรมีการกำหนดจริยธรรมและคุณธรรมของนักการเมือง และมีบทลงโทษด้วย
RiDKuN -บทเฉพาะกาล: เมื่อการเลือกตั้งแล้วเสร็จ ให้รัฐสภาทำการออกมาตรฐานทางด้านคุณธรรมทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองตั้งแต่ระดับ รมช. ขึ้นไป ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี

9.นายกรัฐมนตรีควรถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจและถูกตรวจสอบได้ง่าย
bonny -จำนวนสมาชิกสภาที่สามรถยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลยังคงเป็น 2 ใน 5 เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ  แต่..ให้ฝ่ายค้านสามารถขอให้วุฒิสภาช่วยได้
ลุงแคน -ควรมีการระบุ "ความรับผิดชอบของนักบริหาร" กำหนดลงไปว่า กฎหมายสำคัญตกไปหรือขัดแย้งรัฐธรรมนูญ นายกต้องแสดงความรับผิดชอบ
RiDKuN -ให้ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ แม้จะมีฝ่ายค้านแค่คนเดียว
  -ให้ประชาชนธรรมดาสามารถเป็นโจทก์ฟ้องนักการเมืองข้อหาทุจริตได้โดยตรง
  -ต้องมี พรบ. ออกมาเพื่อจัดตั้งหน่วยงานอิสระ ที่สนับสนุนการรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยใช้ระบบอิเลกทรอนิกส์ในการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้การรวบรวมและตรวจสอบรายชื่อเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันการณ์ และไม่จำเป็นต้องผ่านวุฒิสภา สามารถยื่นให้ ปปช. ได้โดยตรง
ปุถุชน -ลดจำนวน สส. ใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางนายกรัฐมนตรีจาก 200 คน...

10.ส.ส.ควรสังกัดพรรคหรือไม่
ปุถุชน -ลดจำนวนวันที่ผู้สมัคร สส. สังกัดพรรคการเมืองจาก 90 วัน...

11.ส.ส.ควรมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นการเสนอร่างกฎหมาย และการลงมติในเรื่องต่าง ๆ

12.ควรมีศาลคอยตรวจสอบการให้ใบเหลือง ใบแดง ของกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

13. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญควรเป็นอิสระจากนักการเมืองอย่างแท้จริง
bonny -จัดให้มีองค์กรอิสระที่เป็นศูนย์กลางของข้าราชการพลเรือน ตำรวจและทหาร สามารถยับยั้งการใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมืองที่ไม่ชอบธรรมได้
RiDKuN -ต้องมี พรบ. ออกมาเพื่อจัดตั้งหน่วยงานอิสระ ที่สนับสนุนการรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยใช้ระบบอิเลกทรอนิกส์ในการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้การรวบรวมและตรวจสอบรายชื่อเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันการณ์ และไม่จำเป็นต้องผ่านวุฒิสภา สามารถยื่นให้ ปปช. ได้โดยตรง
O_envi -ผมสนใจประเด็นนึงที่บอกว่าองค์กรอิสระให้เป็นอำนาจที่ 4 ครับ เอาไปคานอำนาจกับ 3 อำนาจหลัก ศาล นิติบัญญัติ สภา

14.ควรมีการตรากฎหมายลูกที่ออกตามความในรัฐธรรมนูญโดยเร็ว
bonny -ส่วนกฎหมายลูกที่ควรมีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้สมบูรณ์ประกอบด้วย
  กฎหมายสวัสดิการผู้เสียภาษี
  กฎหมายตอบแทนประชาชนช่วยต่อต้านคอรัปชั่น
  กฏหมายคุ้มครองพยาน
  กฎหมายลดอำนาจราชการสู่ประชาชน

15. ควรกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่ม
นทร์ -ส่งเสริมการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

16.ส.ส.เขตควรเป็นระบบเขตละคนหรือเขตละ 3 คน

17. ส.ว.ควรมีอำนาจถอดถอนนักการเมืองหรือไม่
bonny -ให้การยื่นถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นไปตามบทบัญญัติเดิม ยกเลิกการยื่นรายชื่อของประชาชน 50000 รายชื่อ

18.ควรกระจายอำนาจให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น เพื่อปกป้องคุ้มครองจัดการฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมหรือไม่
พระพาย -การไม่สามารถแบ่งแยกเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ออกไปจากเรื่องผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ชุมชน ผลประโยชน์สาธารณะ และผลประโยชน์ส่วนบุคคล รวมไปถึงการจัดการโดยรัฐและประชาชนได้ (สรุปแล้วเห็นด้วย)

19.ควรขยายสิทธิและเสรีภาพให้มากยิ่งขึ้น และสนับสนุนส่งเสริมให้มีการใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่
นทร์ -1.ควรขยายสิทธิและเสรีภาพให้มากกว่าเดิม 2.ให้ประชาชนใช้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3.ควรบัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่างๆไว้ในรัฐธรรมนูญ

20.ควรบัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านต่าง ๆ ไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงหรือไม่
พระพาย -ควรมีการระบุ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ในการแก้ปัญหาบ้านเมือง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน (ทั้งในยามมีรัฐบาลและไม่มีรัฐบาล) ซึ่งผู้ดูแลในยามไม่ปรกติตรงนี้ชั่วคราวอาจเป็น "อำนาจที่ 4"
นทร์ -2.ให้ประชาชนใช้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3.ควรบัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่างๆไว้ในรัฐธรรมนูญ
ลุงแคน -หมวด 3 หใวดสิทธิ์ของพลเมืองจะเหมือนเดิม น้อยกว่านั้นไม่ได้

21.ควรมีกรอบระยะเวลาในการตรากฎหมาย เพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามหลักการที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญโดยชัดเจนหรือไม่

22.ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การถอดถอนและการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยตรงหรือไม่
bonny -การลงประชามติ ที่สามารถเริ่มต้นจากประชาชนได้ผ่านองค์กรประชาชนและสาขาอาชีพ
  -ให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในระดับพอเดียงเท่าเทียมกัน และใช้สิทธิ เสรีภาพนั้นเพื่อประโยชน์สุขของตัวเองและสังคมส่วนรวม  อีกทั้งสามารถใช้สิทธิในการพัฒนาการปกครอง และพัฒนาการเมือง ได้ด้วยโดยผ่านองค์กรกลางภาคประชาชนที่ถูกจัดตั้งขึ้น
  -สนับสนุนให้มีกฎหมายลดอำนาจราชการสู่ประชาชน
พระพาย -(เห็นด้วยกับคุณประพันธ์ นัยโกวิท) การมีส่วน ร่วมของประชาชนในการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีกลไกอื่นใช้ไม่ได้ตามปกติ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงในการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยการทำประชามติ
  -การเลือกตั้งเป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาบริหารจัดการในระบอบประชาธิปไตย ในแต่ละช่วงเวลาหนึ่งๆ จึงมีแนวนโยบายบริหารตามแต่ละรัฐบาล ซึ่งไม่สามารถสนับสนุนทุกความต้องการในสังคมได้ จะต้องมีการเลือกสนับสนุนและไม่สนับสนุนประชาชนบางกลุ่มอยู่เสมอ ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยของเราควรมีกลไกเปิดกว้างให้กลุ่มประชาชนเหล่านี้สามารถมีสิทธิ เสรีภาพ และดุลอำนาจของ "การเมืองภาคประชาชน" ในระบอบฯ ด้วยอยู่พอสมควร
RiDKuN -ให้ประชาชนธรรมดาสามารถเป็นโจทก์ฟ้องนักการเมืองข้อหาทุจริตได้โดยตรง
  -ต้องมี พรบ. ออกมาเพื่อจัดตั้งหน่วยงานอิสระ ที่สนับสนุนการรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยใช้ระบบอิเลกทรอนิกส์ในการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้การรวบรวมและตรวจสอบรายชื่อเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันการณ์ และไม่จำเป็นต้องผ่านวุฒิสภา สามารถยื่นให้ ปปช. ได้โดยตรง
อะไรจ๊ะ -รธน.ฉบับนี้มิสามารถล้มเลิกหรือเพิกถอนได้ (ไม่ว่าจะโดยอำนาจใดๆก็ตาม) นอกจากผ่านการลงประชามติของประชาชนเท่านั้น โดยต้องมีการลงชื่อไม่น้อยกว่า 1 ล้านชื่อเพื่อขอให้มีการลงประชามติเพิกถอน
sleepless -ไม่ต้องมี สส. สว. มีแต่ประชามติ

23.นายกรัฐมนตรีต้องมาตอบกระทู้ถามในสภาหรือไม่

24.นัก การเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่กระทำความผิด ทุจริต หรือมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ไม่ควรมีอายุความในการฟ้องคดีใช่หรือไม่
THE THIRD WAY -คดีโกงไม่มีอายุความ

25.ควรมีการกำหนดกลไกหรือ มาตรการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายการเมืองที่กระทำต่อข้าราชการประจำและการ ควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณใช่หรือไม่
bonny -ข้า ราชการทุกคนมีจิตสำนึกในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมือง  จัดให้มีองค์กรอิสระที่เป็นศูนย์กลางของข้าราชการพลเรือน ตำรวจและทหาร สามารถยับยั้งการใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมืองที่ไม่ชอบธรรมได้
  -ให้ข้าราชการประจำที่ถูกโยกย้ายโดยมิชอบจากการใช้อำนาจของนักการเมืองสามารถขอความเป็นธรรมได้จากวุฒิสภา

26.ควรลดจำนวนประชากรในการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนนักการเมืองและการตรากฎหมายทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่นหรือไม่

27.ควรมีการกำหนดงบประมาณให้แก่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในจำนวนที่ชัดเจนตามสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือไม่

28.ควรให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนลำดับถัดไปเป็น ส.ส.แทนผู้สมัครที่ได้ใบเหลืองใบแดงโดยไม่ต้องเลือกตั้งหรือไม่



หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 26-02-2007, 18:38
เห็นทางเวบไซต์ระบุว่าจะมีการถกประเด็นที่รวบรวมจากประชาชนรอบแรกในช่วงวันที่ 5 มีนาคม หรือจันทร์หน้า... ผมจะรีบส่งข้อสรุปในวันสองวันนี้นะครับ


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 26-02-2007, 19:22
ฝากความเห็นต่อนะคะ

1.ควรลดจำนวน ส.ส.ให้เหลือน้อยกว่า 500 คน หรือไม่

ได้ยินว่าถ้าไม่มีปาร์ตี้ลิสต์ จะลดเหลือ 400 คน ก็น่าจะเป็นจำนวนเหมาะสมนะคะ

- การแสดงบัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง ควรให้แสดงบัญชีการเสียภาษีอากรด้วย อย่างน้อยควรย้อนหลังไปสักห้าปี เพราะภาษีนั้นคนหนึ่งยื่นหนึ่งชุดเท่านั้น เอามาแสดงได้ง่ายกว่าบัญชีทรัพย์สินมาก จึงควรแสดงให้รู้ด้วยว่า เสียภาษีเท่าไหร่

- สิทธิประโยชน์ของ สส. สว. แต่เดิมมีมากมายเกินไป จะบินไปไหนๆทั่วประเทศก็ฟรี  สส.เหนือบินไปเที่ยวใต้ซะอย่างนั้น สว.บินฟรีแล้วยังได้ไมล์สะสม พาเมียไปเที่ยวจะนั่งเฟิร์สตคลาส ทะเลาะกับกัปตันการบินไทยมาแล้วก็มี มันฟุ่มเฟือยมากค่ะ หากจะยังคงให้สิทธิ์กันมากมายขนาดนี้ น่าจะมีการแสดงบัญชีค่าใช้จ่ายส่วนตัวของ สส. สว. ที่สภาต้องจ่ายให้ในแต่ละปีด้วย ประชาชนจะได้รู้ว่า นักการเมืองผลาญเงินทองไปเท่าไหร่ เป็นค่าอะไรบ้าง

9.นายกรัฐมนตรีควรถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจและถูกตรวจสอบได้ง่าย

หนูเห็นว่าควรกำหนดให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นวาระหนึ่งของการประชุมสภาในทุกสมัย ปีหนึ่งต้องอภิปรายกันหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย ไม่ต้องมาหาเสียงสนับสนุนอะไรกันเลย เป้นหน้าที่ที่ฝ่ายค้านจะอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะไม่ไว้วางใจใครก็ว่ากันไป ถ้าไม่มีอะไรจะอภิปรายก็ถึงจะปล่อยให้ผ่านไปได้ ถึงจะมีฝ่ายค้านคนเดียวก็ให้อภิปรายไปได้ค่ะ

10.ส.ส.ควรสังกัดพรรคหรือไม่

น่าจะมีทั้งสองแบบ สส.อิสระก็ให้มีได้ แต่ต้องจำกัดสิทธิ์ไว้ด้วยว่า สส.ไม่สังกัดพรรค ห้ามเข้าขบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี อภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนกฎหมายอื่นๆให้เข้าร่วมด้วยตามปกติ และห้าม สส.อิสระรับตำแหน่งทางการบริหารเด็ดขาด ไม่ว่าจะตำแหน่งเล็กน้อยประการใด ทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างเดียวค่ะ


15. ควรกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่ม

ควรค่ะ ควรเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้แล้ว




หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Dont cry for me:Thailand ที่ 26-02-2007, 23:53
รัฐธรรมนูญ ฉบับปาหี่ ใครยอมรับมันก็เท่ากับสติแตกไปแล้ว


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ลับ ลวง พราง ที่ 27-02-2007, 00:10
อยากเสนออีกข้อครับ ให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภา สามารถเรียกข้อมูลจากทางราชการได้หมดทุกอย่างพอๆ กับนายกฯ หน่วยราชการไหนไม่ให้ความร่วมมือติดคุกสถานเดียว

แล้วก็กรรมการชุดไหนที่มีนายกฯ เป็นประธานโดยตำแหน่ง  ก็ควรมีผู้นำฝ่ายค้านเป็นรองประธานคนที่ 1 โดยตำแหน่งด้วย จะได้เกิดการคานอำนาจกัน


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ลับ ลวง พราง ที่ 27-02-2007, 00:17
รัฐธรรมนูญ ฉบับปาหี่ ใครยอมรับมันก็เท่ากับสติแตกไปแล้ว


คนอื่นเค้าช่วยกันดันประเทศไปข้างหน้า ไอ้นี่จะฉุดให้เลี้ยวซ้ายลงคู


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: abhichartt ที่ 27-02-2007, 01:04
ลองดูกระทู้นี้ครับ อยู่ในหอสมุดของเราเอง


http://forum.serithai.net/index.php?topic=11651.0 (http://forum.serithai.net/index.php?topic=11651.0)

เรื่องความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: CEOมืออาชีพ ที่ 27-02-2007, 01:12
รัฐธรรมนูญ ฉบับปาหี่ ใครยอมรับมันก็เท่ากับสติแตกไปแล้ว

 :slime_cool: ช่วยบอกพ่อคุณ ว่าอย่าใช้ด้วยนะครับ จะได้ไม่เปลืองงบ.


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 27-02-2007, 09:28
ผมมานั่งคิดแล้ว ชักชอบ ระบบการเลือกตั้งแบบทีใช้ในการเลือกวุฒิสภาครับ โดยให้คนทั้งจังหวัด โหวต 1 เบอร์ต่อ 1 คน แต่ให้มีการหาเสียงได้....ด้วยเหตุผลดังนี้........

1. เนื่องจาก ตอนนี้ระบบการบริหารประเทศ เป็นลักษณะการกระจายอำนาจ เรามี อบต. อบจ. เป็นผู้ใช้งบประมาณในการพัฒนาอยู่แล้ว  สส.  ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญิติก็เพียงพอ แต่ก็ยังให้มีหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบงบประมาณ ที่นำไปกระจายในแต่ละจังหวัด และมีการออกแบบให้มีการถ่วงดุลย์กันด้วย ระหว่าง สส. และ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

2. ด้วยวิธีการเลือกตั้งข้างต้น น่าจะทำให้การซื้อเสียงลดลง เนื่องจาก มีความยากลำบากในการควบคุมคะแนนจัดตั้ง....ด้วยวิธีการแบบนี้ ในระยะยาว อาจได้ สส.หน้าใหม่ ที่ดี ๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจาก เงินไม่ใช่ปัจจัยในการชนะการเลือกตั้งเสมอไป


3. เป็นการลดทัศนคติ ในเรื่องของภาคนิยม.........ผมสังเกตุเห็นการเลือกตั้ง หลายครั้งที่ผ่านมา .......ในภาคใต้ คะแนนอันดับสอง มักจะเป็น ทรท. หรือ พรรค เฉพาะกิจ .......ในขณะที่ ทางอีสาน พรรคประชาธิปัตย์ หรือ พรรคอื่น ๆ ก็มาเป็นอันดับสอง รองจาก ทรท. หรือ ความหวังใหม่ในอตีต..........วิธีการเลือกตั้ง แบบจัดอันดับคะแนนทั้งจังหวัด จะทำให้มี สส.หลากหลาย กระจายไปทั่วประเทศ .....น่าจะลดหรือ กำจัด ทัศนคติ แบบภาคนิยม ได้พอควร ....เพราะต่อไป ภาคใต้ จะไม่ใช่ของ ปชป.แต่ผู้เดียว ในขณะที่ภาคเหนือ หรือ อีสาน ก็ไม่ใช่ของไทยรักไทย แต่ผู้เดียวเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ผมไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ ว่าบรรดานักการเมือง จะยอมให้มีการเลือกตั้งในแบบที่ว่า


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 01-03-2007, 01:52
ขอบคุณเพื่อนๆ อย่างมากครับที่ช่วยกันนำเสนอระดมความคิดกันต่อ... ส่วนที่เพิ่มเติมมานี้ ผมได้อัพเดทในส่วนตั้งกระทู้แล้วนะครับ

นอกจากนี้ผมได้ทดลองแบ่งใส่กล่อง 3 กรอบที่ทางคณะยกร่างฯ ได้ตั้งตุ๊กตาไว้คือ
เรื่อง สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ
เรื่อง สถาบันการเมือง
เรื่อง องค์กรตรวจสอบอิสระและศาล

ดังนี้ครับ


เรื่อง สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ

bonny -ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในระดับพอเดียงเท่าเทียมกัน และใช้สิทธิ เสรีภาพนั้นเพื่อประโยชน์สุขของตัวเองและสังคมส่วนรวม  อีกทั้งสามารถใช้สิทธิในการพัฒนาการปกครอง และพัฒนาการเมือง ได้ด้วยโดยผ่านองค์กรกลางภาคประชาชนที่ถูกจัดตั้งขึ้น
  -การลงประชามติ ที่สามารถเริ่มต้นจากประชาชนได้ผ่านองค์กรประชาชนและสาขาอาชีพ
  -ให้มีการจัดระเบียบผู้ชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ

พระพาย -การเลือกตั้งเป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาบริหารจัดการในระบอบ ประชาธิปไตย ในแต่ละช่วงเวลาหนึ่งๆ จึงมีแนวนโยบายบริหารตามแต่ละรัฐบาล ซึ่งไม่สามารถสนับสนุนทุกความต้องการในสังคมได้ จะต้องมีการเลือกสนับสนุนและไม่สนับสนุนประชาชนบางกลุ่มอยู่เสมอ ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยของเราควรมีกลไกเปิดกว้างให้กลุ่มประชาชนเหล่านี้ สามารถมีสิทธิ เสรีภาพ และดุลอำนาจของ "การเมืองภาคประชาชน" ในระบอบฯ ด้วยอยู่พอสมควร

  -การไม่สามารถแบ่งแยกเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ออกไปจากเรื่องผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ชุมชน ผลประโยชน์สาธารณะ และผลประโยชน์ส่วนบุคคล รวมไปถึงการจัดการโดยรัฐและประชาชนได้ การให้ความสำคัญในสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างมากในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แต่มีความไม่ชัดเจนในประเด็นที่ซับซ้อนเหล่านี้ย่อมส่งผลสะเทือนต่อการ จัดการคุ้มครองทรัพยากรแห่งชาติหรือ "ระบบภูมิคุ้มกันทรัพยากรแห่งชาติ" ดังที่เป็นปัญหารูปธรรมที่ชัดเจนปรากฎในกรณีของดาวเทียมไทยคม หุ้นปตท. หรือการมีรายได้โดยไม่เสียภาษี ฯลฯ
จึงเห็นควรนำเสนอประเด็นหลักการ เกี่ยวกับ "ทรัพยากรแห่งชาติ ทรัพยากรสาธารณะ และทรัพยากรส่วนบุคคล" เพื่อให้ปรากฎเป็น "ระบบภูมิคุ้มกัน" ระดับสูงสุดคือในรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างขึ้นใหม่ดังนี้
1. ทรัพยากรแห่งชาติ หมายถึงทรัพยากรอันเกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของชาติ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน โครงสร้างการสื่อสาร กองกำลังทหาร ระบอบประชาธิปไตยฯ ฯลฯ
2.ทรัพยากรสาธารณะ หมายถึงทรัพยากรที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าถึงอย่างเท่าเทียมมากที่สุดเท่า ที่เป็นไปได้ เช่น สิ่งแวดล้อมที่ดี การศึกษาที่ดี ความจริง ข่าวสาร ความรู้ ฯลฯ
3.ชาติ ทรัพยากรแห่งชาติ และความยั่งยืนของทรัพยากรแห่งชาติมีความสำคัญสูงสุดเหนือสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะ
4.บุคคล มีสิทธิเสรีภาพเต็มที่ในทรัพยากรส่วนบุคคล รวมไปถึงการแข่งขันเสรีสามารถทำได้เท่าที่ไม่ละเมิดทรัพยากรแห่งชาติและ ทรัพยากรสาธารณะ
5.ความยั่งยืนทรัพยากรสาธารณะมีความสำคัญกว่าสิทธิ ส่วนบุคคล การเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะของบุคคลสามารถทำได้มากเท่าที่ไม่กระทบต่อความ ยั่งยืนของทรัพยากรสาธารณะ
6.รัฐมีหน้าที่ในการจัดการดูแลทรัพยากร แห่งชาติและทรัพยากรสาธารณะ ตามหลักการที่ปรากฎในหลายมาตราของรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แต่รัฐต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรแห่งชาติหรือทรัพยากรสาธารณะ ทั้งนี้สิทธิและหน้าที่แห่งรัฐมิสามารถละเมิดผลประโยชน์แห่งชาติและ ประโยชน์สาธารณะ หรือการจัดการใดใดที่นำผลประโยชน์แห่งชาติและผลประโยชน์สาธารณะเพื่อเอื้อ ประโยชน์ต่อบุคคลหรือกลุ่มเอกชนบางกลุ่มได้ ยกเว้นเป็นไปตามแนวนโยบายแห่งรัฐเช่น การกระจายรายได้ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น
7.บุคคลสามารถใช้ช่องทางทาง กฎหมายและโครงสร้างทางปกครองที่รัฐจัดสรรให้ ในการปกป้องและสนับสนุนความยั่งยืนแห่งทรัพยากรแห่งชาติและทรัพยากรสาธารณะ โดยปราศจากความรุนแรง หรือกล่าวโดยย่อคือ ในกรณีที่ชาติและ "ทรัพยากรแห่งชาติ" เสียหาย บุคคลทุกคนคือผู้เสียหายหรือเจ้าทุกข์ผู้สามารถฟ้องร้องตามกฎหมายได้

  -เรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชนผมคิดว่าควรเป็นแนวทางเดียวกับที่ท่านประพันธ์ นัยโกวิทที่นำเสนอเกี่ยวกับ "ประชาธิปไตยทางตรง" 3 แนวทางด้วยกัน(มติชน 1 กุมภาพันธ์ 2550) คือ
1.ประชาชน สามารถออกเสียงถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับชาติได้โดยตรง กรณีกลไกอื่นใช้ไม่ได้ตามปกติ เปรียบเทียบกับนายกฯองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แห่งหนึ่งที่ จ.น่าน ก็ถูกประชาชนออกเสียงถอดถอนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
2.การมีส่วน ร่วมของประชาชนในการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีกลไกอื่นใช้ไม่ได้ตามปกติ เช่น กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดที่ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินกรณีขึ้น ค่าตอบแทนตนเอง ต่อไปอาจให้ประชาชน 25,000 คนเข้าชื่อเสนอที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยตรงเพื่อตั้งกรรมการไต่สวน ถ้ามีมูลบุคลนั้นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และส่งอัยการสูงสุดฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3.ให้ ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงในการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยการทำประชามติ อาจให้ 50,000 คนเข้าชื่อ มี ส.ส.รับรอง 1 ใน 5 เพื่อเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำประชามติ
นั่น คือสิทธิเสรีภาพของประชาชนควรมีเพิ่มขึ้นในเรื่องของชาติและสาธารณะ ส่วนสิทธิส่วนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเกี่ยวข้องกับการจัดการ ดำเนินการผลประโยชน์ของชาติจะต้องลดลงให้ตรวจสอบได้มากขึ้น

นทร์ -เห็นด้วยกับแนวทางยกร่างฯ ด้านสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ
1.ควรขยายสิทธิและเสรีภาพให้มากกว่าเดิม
2.ให้ประชาชนใช้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.ควรบัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่างๆไว้ในรัฐธรรมนูญ
4.ส่งเสริมการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ลุงแคน -เสรีภาพของประชาชนให้น้อยกว่าเดิมไม่ได้

RiDKuN -ให้ประชาชนธรรมดาสามารถเป็นโจทก์ฟ้องนักการเมืองข้อหาทุจริตได้โดยตรง
  -ต้องมี พรบ. ออกมาเพื่อจัดตั้งหน่วยงานอิสระ ที่สนับสนุนการรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยใช้ระบบอิเลกทรอนิกส์ในการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้การรวบรวมและตรวจสอบรายชื่อเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันการณ์ และไม่จำเป็นต้องผ่านวุฒิสภา สามารถยื่นให้ ปปช. ได้โดยตรง
  -ต้องจัดทำ พรบ. ว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ เพื่อรับรองสิทธิในการชุมนุมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และระบุรูปแบบวิธีการขอใช้สถานที่อย่างชัดเจน

พรรณชมพู
- ควรกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นค่ะ ควรเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้แล้ว

คุณอะไรจ๊ะ
รธน. ฉบับนี้มิสามารถล้มเลิกหรือเพิกถอนได้ (ไม่ว่าจะโดยอำนาจใดๆก็ตาม) นอกจากผ่านการลงประชามติของประชาชนเท่านั้น โดยต้องมีการลงชื่อไม่น้อยกว่า 1 ล้านชื่อเพื่อขอให้มีการลงประชามติเพิกถอน


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 01-03-2007, 01:53
เรื่อง สถาบันการเมือง

สรุปความจาก bonny
ระบอบ ประชาธิปไตยแบบไทยมีพื้นฐานมาจากพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่เปิดรับ รูปแบบการปกครองประชาธิปไตยจากโลกทุนนิยม ซึ่งมีพื้นฐานเติบโตจากลัทธิจักรวรรดินิยมหรือตลาดเสรีนิยม ดังนั้นเอกลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตยของเราคือเรื่องของพระราชอำนาจ ในขณะที่คุณภาพของระบอบประชาธิปไตยเราขึ้นอยู่กับศักยภาพที่แท้จริงของ ประชาชนในระบบเสรีนิยม ซึ่งส่งผลให้ผู้นำไม่สามารถมีผูกขาดอำนาจที่ไม่เป็นธรรมได้ มีประชาชน สื่อ และระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งไม่สามารถถูกแทรกแซงได้ง่ายนัก

ดังนั้น ระบอบประชาธิปไตยจึงควรมีหลักใหญ่ๆ ประกอบด้วย การคงอยู่และดำรงสภาพอันเป็นที่เคารพสักการะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ภูมิพลอดุลยเดช) และประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงควรมีกรอบส่งเสริมให้เกิดเนื้อหาเหล่านี้คือ 1. พัฒนาการทางสังคม..ได้ แก่ทำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในระดับพอเดียงเท่าเทียมกัน และใช้สิทธิ เสรีภาพนั้นเพื่อประโยชน์สุขของตัวเองและสังคมส่วนรวม  อีกทั้งสามารถใช้สิทธิในการพัฒนาการปกครอง และพัฒนาการเมือง ได้ด้วยโดยผ่านองค์กรกลางภาคประชาชนที่ถูกจัดตั้งขึ้น 2. พัฒนาการปกครอง.. ข้า ราชการทุกคนมีจิตสำนึกในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมือง  จัดให้มีองค์กรอิสระที่เป็นศูนย์กลางของข้าราชการพลเรือน ตำรวจและทหาร สามารถยับยั้งการใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมืองที่ไม่ชอบธรรมได้ 3. พัฒนาการเมือง.. ระบบ การเมืองต้องแข่งขันกันระดมคนดี มีความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาทำงานทางการเมือง โดยแรงจูงใจของความสำเร็จอยู่ที่ชื่อเสียง เกียรติยศที่ประชาชนทั้งประเทศมอบให้ผ่านองค์กรกลางภาคประชาชน  ไม่ใช่แรงจูงใจด้านอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ และความมั่งคั่ง

ดังนั้นรูปธรรมของรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่พัฒนาการของประชาชนที่มีคุณภาพ ที่ส่งผลให้ได้ดุลทางการเมืองที่มีคุณภาพควรมีลักษณะดังนี้
1../ สมาชิกวุฒิสภามาจากการคัดเลือกกันเองของประชาชนทุกสาขาอาชีพ
2../ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด และยกเลิกการเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลีสต์
3../  นายกสามารถเลือกรัฐมนตรีร่วมคณะ แต่ต้องผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา
4../  จำนวนสมาชิกสภาที่สามรถยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลยังคงเป็น 2 ใน 5 เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ  แต่..ให้ฝ่ายค้านสามารถขอให้วุฒิสภาช่วยได้
5../  ให้ข้าราชการประจำที่ถูกโยกย้ายโดยมิชอบจากการใช้อำนาจของนักการเมืองสามารถขอความเป็นธรรมได้จากวุฒิสภา
6../ นายก โดยความเห็นชอบของครม.สามารถออกพรก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยต้องมีประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานศาลฎีการ่วมเห็นชอบด้วย
7../  ให้การยื่นถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นไปตามบทบัญญัติเดิม ยกเลิกการยื่นรายชื่อของประชาชน 50000 รายชื่อ
8../  การลงประชามติ ที่สามารถเริ่มต้นจากประชาชนได้ผ่านองค์กรประชาชนและสาขาอาชีพ
9../  ให้มีการจัดระเบียบผู้ชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ

ส่วนกฎหมายลูกที่ควรมีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้สมบูรณ์ประกอบด้วย
กฎหมายสวัสดิการผู้เสียภาษี
กฎหมายตอบแทนประชาชนช่วยต่อต้านคอรัปชั่น
กฏหมายคุ้มครองพยาน
กฎหมายลดอำนาจราชการสู่ประชาชน

พระพาย -การเลือกตั้งเป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาบริหารจัดการในระบอบ ประชาธิปไตย ในแต่ละช่วงเวลาหนึ่งๆ จึงมีแนวนโยบายบริหารตามแต่ละรัฐบาล ซึ่งไม่สามารถสนับสนุนทุกความต้องการในสังคมได้ จะต้องมีการเลือกสนับสนุนและไม่สนับสนุนประชาชนบางกลุ่มอยู่เสมอ ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยของเราควรมีกลไกเปิดกว้างให้กลุ่มประชาชนเหล่านี้ สามารถมีสิทธิ เสรีภาพ และดุลอำนาจของ "การเมืองภาคประชาชน" ในระบอบฯ ด้วยอยู่พอสมควร
- ตราบใดที่รัฐธรรมนูญมีกรอบเพียงแค่การเลือกตั้งเพื่อเข้าไปควบคุมอำนาจ รัฐ... ย่อมไม่มีภูมิต้านทานเมื่อมีการล้มรัฐบาลด้วยวิธีอื่น เช่น กำลังทหาร ครับ
ในความคิดตรงๆ ของผมนั้นสิ่งเดียวที่ทำให้รัฐธรรมนูญไม่ถูกฉีกหรือล้มไป... ต้องทำให้รัฐธรรมนูญมีสถานภาพเหนือเนื้อหาสาระการเลือกตั้งและการเข้าควบ คุมอำนาจรัฐด้วยช่องทางเลือกตั้ง... เมื่ออำนาจรัฐบาลมีอันต้องเป็นไป ต้องมีอำนาจอื่นที่ค้ำยันรัฐธรรมนูญให้สามารถดำเนินเจตนารมณ์ของรัฐธรรม นูญได้ต่อไปโดยไม่ต้องฉีกครับ... กล่าวคือรัฐธรรมนูญจะต้องมีคุณสมบัติดิ้นได้... ยืดหยุ่น... ปรับตัวเองได้... สวิทซ์บางมาตราเพื่อปรับใช้ได้ทันควัน...
การปรับ ตัวของรัฐธรรมนูญนั้น ก็เพื่อรักษา "เจตนารมณ์" ของรัฐธรรมนูญให้คงอยู่แม้รัฐบาลจากการเลือกตั้งจะประสบอุบัติเหตุ(ด้วย เหตุใดก็ตาม)... นั่นคือ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ในการแก้ปัญหาบ้านเมือง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน (ทั้งในยามมีรัฐบาลและไม่มีรัฐบาล) ซึ่งผู้ดูแลในยามไม่ปรกติตรงนี้ชั่วคราวอาจเป็น "อำนาจที่ 4" แต่นั่นย่อมหมายถึงจะต้องมีการเปิดช่องให้กับอำนาจที่ 4 ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ครับ

ลุงแคน
ควรมีการระบุ "ความรับผิดชอบของนักบริหาร"
กำหนดลงไปว่า กฎหมายสำคัญตกไปหรือขัดแย้งรัฐธรรมนูญ นายกต้องแสดงความรับผิดชอบ

พระเอกละครหลังข่าว
จำกัดวาระในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี ของบุคคลหนึ่ง เมื่อนับรวบกันแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี
solidus
1.ห้ามเป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน 2 สมัย
2.การเลือกผู้แทนให้ทำการเขียนชื่อผู้แทนที่ต้องการเลือกลงในบัตรเลือกตั้ง

อำพรางฯ
-ระบุเจตนารมณ์ของ รธน. กำกับเป็นรายมาตราก็ดี จะได้ไม่ต้องมานั่งตีความกันอีก
-อยากเสนออีกข้อครับ ให้ผู้นำฝ่ายค้านในสภา สามารถเรียกข้อมูลจากทางราชการได้หมดทุกอย่างพอๆ กับนายกฯ หน่วยราชการไหนไม่ให้ความร่วมมือติดคุกสถานเดียว
-แล้ว ก็กรรมการชุดไหนที่มีนายกฯ เป็นประธานโดยตำแหน่ง  ก็ควรมีผู้นำฝ่ายค้านเป็นรองประธานคนที่ 1 โดยตำแหน่งด้วย จะได้เกิดการคานอำนาจกัน

55555
ผม เคยได้ยิน อ.เจิมศักดิ์ พูดถึง หอสมุดรัฐธรรมนูญ หรือ กฏหมาย อะไรทำนองนั้น........โดย ใช้เป็นที่เก็บกฏหมายต่าง ๆ รวมทั้งกฏหมายรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ จะยังใช้เป็นที่เก็บบันทึก เจตนารมย์ ของกฏหมาย .....
ที่ผ่านในระบอบทักษิณ  หรือแม้แต่ในรัฐบาลก่อน ๆ  เรามักเจอปัญหา ศรีธนนชัยอยู่บ่อย มีการตีความตามตัวอักษรแบบเข้าข้างตนเอง หากมีการเก็บบันทึกเจตนารมย์ แล้วใช้เป็นข้ออ้างอิงตามกฏหมายได้ด้วย ผมว่า บรรดานักการเมืองจอมลีลา ทั้งหลาย คงได้จนมุมกันบ้าง

ผมมานั่งคิดแล้ว ชักชอบ ระบบการเลือกตั้งแบบทีใช้ในการเลือกวุฒิสภาครับ โดยให้คนทั้งจังหวัด โหวต 1 เบอร์ต่อ 1 คน แต่ให้มีการหาเสียงได้....ด้วยเหตุผลดังนี้........
1. เนื่องจาก ตอนนี้ระบบการบริหารประเทศ เป็นลักษณะการกระจายอำนาจ เรามี อบต. อบจ. เป็นผู้ใช้งบประมาณในการพัฒนาอยู่แล้ว  สส.  ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญิติก็เพียงพอ แต่ก็ยังให้มีหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบงบประมาณ ที่นำไปกระจายในแต่ละจังหวัด และมีการออกแบบให้มีการถ่วงดุลย์กันด้วย ระหว่าง สส. และ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
2. ด้วยวิธีการเลือกตั้งข้างต้น น่าจะทำให้การซื้อเสียงลดลง เนื่องจาก มีความยากลำบากในการควบคุมคะแนนจัดตั้ง....ด้วยวิธีการแบบนี้ ในระยะยาว อาจได้ สส.หน้าใหม่ ที่ดี ๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจาก เงินไม่ใช่ปัจจัยในการชนะการเลือกตั้งเสมอไป
3. เป็นการลดทัศนคติ ในเรื่องของภาคนิยม.........ผมสังเกตุเห็นการเลือกตั้ง หลายครั้งที่ผ่านมา .......ในภาคใต้ คะแนนอันดับสอง มักจะเป็น ทรท. หรือ พรรค เฉพาะกิจ .......ในขณะที่ ทางอีสาน พรรคประชาธิปัตย์ หรือ พรรคอื่น ๆ ก็มาเป็นอันดับสอง รองจาก ทรท. หรือ ความหวังใหม่ในอตีต..........วิธีการเลือกตั้ง แบบจัดอันดับคะแนนทั้งจังหวัด จะทำให้มี สส.หลากหลาย กระจายไปทั่วประเทศ .....น่าจะลดหรือ กำจัด ทัศนคติ แบบภาคนิยม ได้พอควร ....เพราะต่อไป ภาคใต้ จะไม่ใช่ของ ปชป.แต่ผู้เดียว ในขณะที่ภาคเหนือ หรือ อีสาน ก็ไม่ใช่ของไทยรักไทย แต่ผู้เดียวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผมไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ ว่าบรรดานักการเมือง จะยอมให้มีการเลือกตั้งในแบบที่ว่า

RiDKuN
1. ให้ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ แม้จะมีฝ่ายค้านแค่คนเดียว
3. เพิ่มมาตราที่บอกว่าการทำสนธิสัญญาที่มีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติจะต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร (ซึ่งจะทำให้ FTA ต้องผ่านสภา)
4. บทเฉพาะกาล: เมื่อการเลือกตั้งแล้วเสร็จ ให้รัฐสภาทำการออกมาตรฐานทางด้านคุณธรรมทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองตั้งแต่ระดับ รมช. ขึ้นไป ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ป

ปุถุชน
ผมอยากให้ สสในสภาได้เอกสิทธิ์และคุ้มครองเฉพาะกรณีการเมืองเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งทางการเมือง
แต่ไม่คุ้มครองกรณีอาญาหรือความผิดส่วนตัว เช่นคดีเชค คดีฆ่าคนตาย เป็นต้น....
ขอให้รัฐธรรมนูญใหม่ ระบุชัดว่า ....
1. นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว...
2. สัดส่วน เกณฑ์"สส.บัญชีรายชื่อ" ขอให้ลดจาก 5 %....
3. วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว...
4. ลดจำนวนวันที่ผู้สมัคร สส. สังกัดพรรคการเมืองจาก 90 วัน...
5. ลดจำนวน สส. ใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางนายกรัฐมนตรีจาก 200 คน...
6. ไม่ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะกลัว"งูชั่ว"เข้ามาสู่การเมืองไทยอีกตัว...
และ
1. 'วุฒิสมาชิก'ไม่สามารถไปสมัครเป็น'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ได้อีก'....
2. 'วุฒิสมาชิก'ไม่สามารถเป็นต่อเนื่อง 2 สมัย...
3. อดีต'สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์' สามารถสมัครเป็น 'วุฒิสมาชิก'ได้
    แต่ได้เป็นแล้ว จะกลับไปสมัครเป็น 'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์'อีกไม่ได้..
'วุฒิสมาชิก' จะต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น....
ถ้ามาจากการแต่งตั้ง ไม่มีเลย ดีกว่า..........

พรรณชมพู
-ได้ยินว่าถ้าไม่มีปาร์ตี้ลิสต์ จะลดเหลือ 400 คน ก็น่าจะเป็นจำนวนเหมาะสมนะคะ
- หนู เห็นว่าควรกำหนดให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นวาระหนึ่งของการประชุมสภาในทุกสมัย ปีหนึ่งต้องอภิปรายกันหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย ไม่ต้องมาหาเสียงสนับสนุนอะไรกันเลย เป้นหน้าที่ที่ฝ่ายค้านจะอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะไม่ไว้วางใจใครก็ว่ากันไป ถ้าไม่มีอะไรจะอภิปรายก็ถึงจะปล่อยให้ผ่านไปได้ ถึงจะมีฝ่ายค้านคนเดียวก็ให้อภิปรายไปได้ค่ะ
- การสังกัดพรรคน่า จะมีทั้งสองแบบ สส.อิสระก็ให้มีได้ แต่ต้องจำกัดสิทธิ์ไว้ด้วยว่า สส.ไม่สังกัดพรรค ห้ามเข้าขบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี อภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนกฎหมายอื่นๆให้เข้าร่วมด้วยตามปกติ และห้าม สส.อิสระรับตำแหน่งทางการบริหารเด็ดขาด ไม่ว่าจะตำแหน่งเล็กน้อยประการใด ทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างเดียวค่ะ
- ควรกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นค่ะ ควรเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้แล้ว

Pakxe
ประเด็นคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. ควรยกเลิกประเด็นที่ว่า ต้องจบป.ตรี ออกไป

ส่วนวุฒิ สภาน่า จะหา "วิธีสรรหา" อะไรก็ตามที่ไม่ใช่การเลือกตั้งและการแต่งตั้งโดยคนๆเดียว จะดีกว่า แล้วเปิดเผยรายชื่อให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์กันก่อน

1ktip
ที่มาวุฒิสภา มาจากสรรหารายชื่อ ตรวจสอบคุณสมบัติ แล้วค่อยส่งให้ประชาชนเลือกตั้งดีไหมครับ? จะได้ฝ่าหลายๆ ด่านหน่อย

login not found
ผมเห็นว่าวุฒิสมาชิกควรมาจากการแต่งตั้ง
เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ
เข้าไปเป็นผู้กลั่นกรองและตรวจสอบ
ไม่เช่นนั้นก็จะเห็นกฎหมายโดนตีกลับมาอีกหลายฉบับ
ส่วนวิธีการสรรหา และวิธีการป้องกันให้วุฒิสมาชิก
เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร นักการเมืองในระดับต่างๆ
เป็นเรื่องที่ต้องคิดกันอีกที

อะไรจ๊ะ
รธน. ฉบับนี้มิสามารถล้มเลิกหรือเพิกถอนได้ (ไม่ว่าจะโดยอำนาจใดๆก็ตาม) นอกจากผ่านการลงประชามติของประชาชนเท่านั้น โดยต้องมีการลงชื่อไม่น้อยกว่า 1 ล้านชื่อเพื่อขอให้มีการลงประชามติเพิกถอน

enjoylife
พื้นที่ไหนเสียภาษีมาก มี ส.ว.ได้มาก

sleepless
ไม่ต้องมี สส. สว. มีแต่ประชามติ


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 01-03-2007, 01:53
เรื่อง องค์กรตรวจสอบอิสระและศาล

สรุปความจาก bonny
ข้า ราชการทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมือง  จัดให้มีองค์กรอิสระที่เป็นศูนย์กลางของข้าราชการพลเรือน ตำรวจและทหาร สามารถยับยั้งการใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมืองที่ไม่ชอบธรรมได้
ระบบ การเมืองต้องแข่งขันกันระดมคนดี มีความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาทำงานทางการเมือง โดยแรงจูงใจของความสำเร็จอยู่ที่ชื่อเสียง เกียรติยศที่ประชาชนทั้งประเทศมอบให้ผ่านองค์กรกลางภาคประชาชน  ไม่ใช่แรงจูงใจด้านอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ และความมั่งคั่ง

ดังนั้นรูปธรรมของรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่พัฒนาการของประชาชนที่มีคุณภาพ ที่ส่งผลให้ได้ดุลทางการเมืองที่มีคุณภาพควรมีลักษณะดังนี้
5../  ให้ข้าราชการประจำที่ถูกโยกย้ายโดยมิชอบจากการใช้อำนาจของนักการเมืองสามารถขอความเป็นธรรมได้จากวุฒิสภา
7../  ให้การยื่นถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นไปตามบทบัญญัติเดิม ยกเลิกการยื่นรายชื่อของประชาชน 50000 รายชื่อ
8../  การลงประชามติ ที่สามารถเริ่มต้นจากประชาชนได้ผ่านองค์กรประชาชนและสาขาอาชีพ

ส่วนกฎหมายลูกที่ควรมีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้สมบูรณ์ประกอบด้วย
กฎหมายสวัสดิการผู้เสียภาษี
กฎหมายตอบแทนประชาชนช่วยต่อต้านคอรัปชั่น
กฏหมายคุ้มครองพยาน
กฎหมายลดอำนาจราชการสู่ประชาชน

พรรณชมพู
เอก สิทธิ์นั้น ขอให้คุ้มครองเฉพาะการพาดพิงถึง สส. สว. คณะรัฐมนตรี นักการเมืองทั้งหลายเท่านั้น  ส่วนการหมิ่นประมาทบุคคลที่สาม ซึ่งไม่ได้เป็นนักการเมือง ไม่ควรให้สิทธิ์คุ้มครอง   และในกรณีนักการเมืองมีคดีความ ให้ดำเนินคดีได้ในสมัยประชุมทุกสมัย  แต่ห้ามนัดศาลในวันประชุมสภาเท่านั้น วันไหนไม่ประชุมสภา จะมาอ้างว่าประชุมกรรมาธิการ ประชุมบ้าบออะไรไม่ได้ทั้งนั้น  ให้เฉพาะวันประชุมสภา เวลาประชุมสภาเท่านั้นที่ห้ามศาลนัด  หรือนัดแล้วผลัดได้  และการควบคุมขังตัว สส. สว. ในระหว่างประชุมสภา ต้องเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น ตำรวจหรือใครก็นำไปขังไม่ได้  แต่ถ้าศาลสั่งขัง ให้พ้นสภาพไปเลย และสั่งได้ทั้งในสมัยประชุมค่ะ
- การแสดงบัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง ควรให้แสดงบัญชีการเสียภาษีอากรด้วย อย่างน้อยควรย้อนหลังไปสักห้าปี เพราะภาษีนั้นคนหนึ่งยื่นหนึ่งชุดเท่านั้น เอามาแสดงได้ง่ายกว่าบัญชีทรัพย์สินมาก จึงควรแสดงให้รู้ด้วยว่า เสียภาษีเท่าไหร่
- สิทธิประโยชน์ของ สส. สว. แต่เดิมมีมากมายเกินไป จะบินไปไหนๆทั่วประเทศก็ฟรี  สส.เหนือบินไปเที่ยวใต้ซะอย่างนั้น สว.บินฟรีแล้วยังได้ไมล์สะสม พาเมียไปเที่ยวจะนั่งเฟิร์สตคลาส ทะเลาะกับกัปตันการบินไทยมาแล้วก็มี มันฟุ่มเฟือยมากค่ะ หากจะยังคงให้สิทธิ์กันมากมายขนาดนี้ น่าจะมีการแสดงบัญชีค่าใช้จ่ายส่วนตัวของ สส. สว. ที่สภาต้องจ่ายให้ในแต่ละปีด้วย ประชาชนจะได้รู้ว่า นักการเมืองผลาญเงินทองไปเท่าไหร่ เป็นค่าอะไรบ้าง

Pakxe
ทำไมไม่ไปให้ความสำคัญกันที่ "การตรวจประวัติการเสียภาษีย้อนหลัง" กับพวกสมัครรับเลือกตั้งบ้าง?
- ถามว่าเอ็งรายงานว่ามีทรัพย์สินเยอะแยะ แล้วเอ็งเคยเสียภาษีเท่าไรที่มีจำนวนสมเหตุสมผลกับมูลค่าทรัพย์สิน?
- เอ็งประกอบอาชีพอะไรมา พ่อแม่เอ็งแต่ก่อนฐานะก็ไม่มีอะไร แล้วเอ็งรวยมาได้ไง อธิบายได้ไหม?
- แล้วทรัพย์สินพวกนั้นไปเอามาจากไหน พิสูจน์ไม่ได้ก็หมดสิทธิมาสมัครรับเลือกตั้ง แล้วก็ยึดเงินมันแล้วแบนไปเลย
- หรือไอ้ที่เอาไปซ่อนกับคนใช้ คนขับรถ โอเค เป็นคนใช้ คนขับรถแล้วรวยใช่ไหม? ไหนล่ะประวัติการเสียภาษีของพวกนี้?? พิสูจน์ที่มาไม่ได้ก็ยึดมา แล้วแบนไปเลย

O_envi
ผมสนใจประเด็นนึงที่บอกว่าองค์กรอิสระให้เป็นอำนาจที่ 4 ครับ
เอาไปคานอำนาจกับ 3 อำนาจหลัก ศาล นิติบัญญัติ สภา

เรื่องคดีความต่างๆที่ต้องเริ่มจาก ตำรวจและอัยการ ผมว่าก็ต้องแก้ไข
แต่ไม่รู้ว่าควรระบุใน รธน. รึเปล่า

TingTing
กติกาเขียนให้ดียังไงก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าคนใช้กติกามีปัญหาครับ
ณ ตอนนี้ผมเชื่อว่าเขียนรัฐธรรมนูญยังไงก็ไม่มีวันได้รัฐธรรมนูญที่ดีพอหรอกครับ
- รัฐธรรมนูญกำหนดให้ สว.เป็นกลาง  แต่สุดท้ายก็โดนอำนาจเงิน อำนาจรัฐดึงไปได้
- รัฐธรรมนูญกำหนดคุณสมบัติ สส / รมต. ไว้ดิบดี สุดท้ายก็ได้คนเลวเข้าสภา เพราะคนเลือกมีปัญหา
- รัฐธรรมนูญให้ สส.ไม่สังกัดพรรค สส.มันก็ขายตัว
- รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรอิสระ แต่สุดท้ายมันก็ทำให้ไม่อิสระได้
- รัฐธรรมนูญบอกให้การโยกย้ายต้องผ่าน กกต.  มันก็บอกไม่สน ใครจะทำไม
ฯลฯ
แต่อย่างที่พอใช้ได้ อย่ามัวแต่ฝากความหวังเรื่องความเป็นกลาง ผมอยากเห็นการคานอำนาจมากกว่าครับ
อย่างเช่น ปปช. ไว้ตรวจทุจริตนักการเมือง คนที่เลือก ปปช. น่าจะให้ฝ่ายค้านเป็นคนแต่งตั้ง มันจะได้มาคานอำนาจกันได้
แล้วก็ป้องกันการกลั่นแกล้ง ใส่ร้าย ด้วยการกำหนดโทษไว้สูงๆ หน่อย ถ้าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

นอกจากนี้ที่สำคัญก็คือ จะทำอย่างไรให้ตำรวจ และอัยการ เป็นองค์กรที่ไม่อยู่ใต้อำนาจนักการเมืองได้เหมือนอย่างศาล
และมีกลไกตรวจสอบ ลงโทษ ตำรวจกับอัยการเลวๆ
ถ้าทำได้เท่านี้ก็พอแล้วครับ อนาคตดีขึ้นแน่

พระพาย
เดิมทีการมีมาตราการถอดถอนฯ โดยประชาชน 50,000 ชื่อดังกล่าวในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ไม่ได้คาดหวังผลการถอดถอนมากนัก... แต่เน้นให้มีช่องทางในการแสดงพลังของภาคประชาชนที่ "ชอบธรรม" ตามรัฐธรรมนูญ การคงไว้มีประโยชน์มากกว่าตัดช่องทางแสดงพลังตรงนี้ครับ... เหมือนกับกรณีที่นักศึกษาระดม 50,000 ชื่อเพื่อถอดถอนรัฐมนตรี ย่อมมีพลังกระทบในสังคมมากกว่าองค์กรนักศึกษาเพียง 1 องค์กรหรือ 10 องค์กรยื่นถอดถอนรัฐมนตรีครับ

RiDKuN
ต้องมี พรบ. ออกมาเพื่อจัดตั้งหน่วยงานอิสระ ที่สนับสนุนการรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยใช้ระบบอิเลกทรอนิกส์ในการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้การรวบรวมและตรวจสอบรายชื่อเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันการณ์ และไม่จำเป็นต้องผ่านวุฒิสภา สามารถยื่นให้ ปปช. ได้โดยตรง

THE THIRD WAY
คดีโกงไม่มีอายุความ


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 01-03-2007, 01:58
ข้อความทั้ง 4 ชุดคือ
1.ตามกรอบ 28 ประเด็นที่ตั้งโดยทีมยกร่างฯ
2.ตามกรอบ สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ
3.ตามกรอบ สถาบันการเมือง
4.ตามกรอบ องค์กรตรวจสอบอิสระและศาล

ผมจะส่งไปที่เวบไซต์คณะยกร่างฯ โดยตรงที่ http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/committee_con/index.php ในนามของกลุ่มระดมความคิดในการยกร่างรัฐธรรมนูญในเวบบอร์ดเสรีไทย

ผิดพลาดประการใด ขออภัยครับ... เงื่อนเวลาค่อนข้างกระชั้น หวังว่าการส่งครั้งนี้จะทันการพิจารณาของคณะยกร่างฯ ในวันที่ 5 มีนาคม นี้ครับ


หัวข้อ: Re: สรุปการระดมความคิด ร่างรัฐธรรมนูญ2550 ฉบับเสรีไทย
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 22-03-2007, 09:17
ผมเฝ้าติดตามกระทู้นี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ไม่ได้แจมเพราะต้องการเสียงบริสุทธิ์จากชาวเสรีไทยที่ไม่ต้องให้ใครชักนำความคิด

น่าเสียดายที่กาลเวลาผ่านไป ไม่ค่อยได้เห็นผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันมากนัก  ทั้งๆ ที่เป็นกระทู้ที่ดีมากกระทู้หนี่งที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาของชาวเสรีไทย

ต้องขอบพระคุณคุณพระพายเจ้าของกระทู้มา ณ ที่นี้  และอยากให้มีกระทู้เช่นนี้ปรากฏอยู่ในบอร์ดของเสรีไทยเรื่อยๆ ไป เพราะนี่คือ ความแตกต่างที่บอร์ดการเมืองอื่นๆ ไม่มี

แม้จะได้รับความสนใจน้อยเพราะเนื้อหาค่อนข้างหนัก  แต่เป็นเรื่องปกตินะครับ  รถเบนซ์ก็ไม่ได้แข่งจำนวนขายกับรถโตโยต้านี่นา