หัวข้อ: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 15:59 ไหนๆ ช่วงนี้ก็มีกระบวนการตรวจสอบทุจริต การดำเนินงานของรัฐบาลชุดที่แล้ว
กันอย่างคึกคัก แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่คาใจของผมเองมาเป็นแรมปี และเท่าที่ทราบ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการกล่าวถึงจากฝ่ายตรวจสอบใดๆ ทั้งสิ้น ก็เลยอยากชวนพวกเราที่นี่ พูดคุยพิจารณากันอีกสักหัวข้อหนึ่งครับ.. ... ตามที่รัฐบาลทักษิณก่อนการเลือกตั้ง เม.ย.49 ได้ตัดสินใจใช้เงินกองทุนน้ำมันตรึง- ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีผลต่อคะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยโดยตรง โดยอ้างขณะนั้นว่าราคาน้ำมันจะสูงอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง และหากไม่ตรึงราคา จะเกิดผลกระทบกับค่าครองชีพของประชาชน และต้นทุนของภาคธุรกิจ แต่หลังจาก เวลาผ่านไปเกือบ 1 ปี ราคาน้ำมันก็พุ่งสูงอย่างต่อเนื่องไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง เป็นที่ยอมรับกันว่าการตรึงราคาครั้งนั้นเป็นการตัดสินใจผิดพลาดของรัฐบาล ที่เกิด ผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เพราะทำให้ภาคประชาชนและ ภาคธุรกิจต่างๆ ไม่เกิดความตระหนักรับรู้ในราคาทุนน้ำมันที่แท้จริง มีการระดมซื้อ รถกระบะใหม่ที่ใช้น้ำมันดีเซลกันเป็นจำนวนมากหลายแสนคัน ทำให้เร่งการใช้น้ำมัน ดีเซลหนักขึ้นไปอีก ทำให้กองทุนฯ เกิดความเสียหายอย่างหนักกว่า 8 หมื่นล้านบาท และรัฐบาลจำเป็นต้องประกาศยกเลิกการตรึงราคาในที่สุด และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในการยกเลิกการตรึงราคารัฐบาลให้เหตุผลว่าราคาน้ำมันที่จะปรับตัวสูงขึ้นมีผลกระทบ กับค่าครองชีพของประชาชน และต้นทุนของภาคธุรกิจเพียงเล็กน้อย ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วที่ผ่านมาตรึงราคาจนเสียหายหลายหมื่นล้านทำไม.. :slime_doubt: ความเสียหายครั้งนั้นยังส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน ที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่สามารถ สะท้อนราคาแท้จริงตามตลาดโลกได้ เนื่องจากติดภาระใช้หนี้คืนให้กองทุนน้ำมันฯ ในที่สุดกลายเป็นทำให้ภาคธุรกิจเสียโอกาสในการแข่งขันกับต่างประเทศ ... การดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดครั้งนี้ น่าจะสามารถเปรียบเทียบได้กับการตัดสินใจ ตรึงค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ซึ่งต่อมา ยอมรับกันว่าเป็นการตัดสินใจทางนโยบายที่ผิดพลาด จนเกิดความเสียหายนับหมื่น- นับแสนล้าน และความเสียหายครั้งนั้นยังต้องใช้ดอกผลจากเงินสะสมของประเทศ ตัดชำระไปอีกยาวนานนับสิบปี เรื่องนี้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีจนศาลแพ่งตัดสินให้ อดีตผู้ว่าการ ธปท. ต้องชดใช้ความเสียหายเป็นเงินกว่า 1.8 แสนล้านบาท พร้อมทั้ง ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี คาดว่าคดียังมีการต่อสู้กันต่อในชั้นอุทธรณ์ แม้จะมีการกล่าวกันว่านายเริงชัยเป็นแพะรับบาป แต่อย่างน้อยก็มีการดำเนินคดี หาตัวผู้รับผิดชอบ ในขณะที่ความเสียหายที่เกิดกับกองทุนน้ำมันถึง 8 หมื่นล้าน ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาล (ลองคิดดูว่าถ้าไม่เสียหายไป เงิน 8 หมื่นล้านจะเอาไป ทำอะไรได้บ้าง) กลับไม่มีการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ มีใครตอบได้บ้างครับว่าทำไมกรณีตรึงค่าเงินบาทมีการดำเนินคดี แต่การตรึงราคา น้ำมันซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกลับไม่มีการดำเนินการใดๆ เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบ? หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายนับหมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 16:08 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กองทุนน้ำมัน จากเว็บกระทรวงพลังงาน
http://www.eppo.go.th/petro/oilfund.html -------------------------------------- 1. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ให้อำนาจ นายกรัฐมนตรี ในการออก คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อจัดตั้งกองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง ปัจจุบันคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ใช้ในจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2546 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2546 1.1 พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 (1) ในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันของโลก ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2516-2517) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้น อย่างรวดเร็ว และหาซื้อได้ยากก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลจึงได้พยายามแทรกแซง กลไกตลาดน้ำมัน โดยได้ออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อใช้เป็นกลไกในการกำหนดมาตรการในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวัตถุ- ประสงค์ของพระราชกำหนดประกาศไว้ว่า โดยที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ทวีสูงขึ้นเป็นลำดับ และน้ำมันดิบที่จะซื้อได้มีปริมาณลดน้อยลง ซึ่งจะก่อ ให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในประเทศไทย ฉะนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศ และความผาสุกของประชาชน จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันภาวะการณ์ดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ ในการนี้ นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมีอำนาจในการกำหนดมาตรการต่างๆ ได้ โดยฉับพลัน ไม่จำเป็นต้องให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ แยกปฏิบัติการตามกฎหมายที่มีอยู่ (2) พระราชกำหนดนี้ มีอายุ 1 ปี แต่ต่อมาก็ได้มีการออกพระราชกำหนดต่ออายุ จนกระทั่งปี 2520 จึงได้ตรา เป็นพระราชกำหนดให้มีผลบังคับใช้ต่อไปไม่มีกำหนด (3) พระราชกำหนดนี้ กำหนดอำนาจแก่ นายกรัฐมนตรี ในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะ การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.2 คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 นายกรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 โดยได้กำหนดกลไกที่สำคัญ ในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน และจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายนับหมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 16:15 ข้อมูลเพิ่มเติม (ต่อ)
---------------------------------------------- การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 4.1 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทำหน้าที่ในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีหน้าที่ ดังนี้ 1. กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการคำนวณราคา และกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร 2. กำหนดค่าการตลาดสำหรับการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง 3. กำหนดค่าขนส่งไปยังคลังก๊าซและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก๊าซ ณ คลังก๊าซ ตลอดจนกำหนด ราคาขายก๊าซ ณ คลังก๊าซเป็นราคาเดียวกันทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร 4. กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทาน ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผู้ผลิตได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออก น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายให้แก่เรือเพื่อใช้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และก๊าซหุงต้มที่จำหน่ายให้แก่ประชาชน 5. กำหนดชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน หรือไม่ให้ได้รับเงินชดเชย 6. กำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและคำนวณราคาขายปลีก 7. พิจารณากำหนดอัตราภาษีให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าอัตราภาษีต่ำสุดและไม่สูงกว่าอัตราภาษีสูงสุด 8. กำหนดให้โรงกลั่นแจ้งราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นต่อคณะกรรมการ 9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งนี้ 10. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ นายกรัฐมนตรี มอบหมาย 4.2 ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้จัดการกองทุนฯ มีอำนาจหน้าที่จ่ายเงินกองทุนตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2546 โดยได้มีการออกระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุน- น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546 หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายนับหมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 16:22 ข้อมูลเพิ่มเติม (ต่อ)
---------------------------------------------- รายรับ/รายจ่ายของกองทุนน้ำมันฯ 7.1 รายรับ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีรายรับจากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ตามประกาศคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ดังนี้ ... (เป็นตารางอัตราเงินส่งเข้ากองทุน) 7.2 รายจ่าย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อาจมีรายจ่ายตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ดังต่อไปนี้ 1. เป็นเงินจ่ายชดเชยตามอัตราที่คณะกรรมการฯ กำหนด 2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามหมวดรายจ่ายภายในวงเงินงบประมาณการจ่าย- ประจำปีที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้ 3. ค่าจ้างชั่วคราว 4. ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ 5. ค่าครุภัณฑ์ 6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ 7. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง 8. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใดๆ เพื่อให้การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือการจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ 9. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายนับหมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: banana_dot ที่ 18-11-2006, 16:26 ไม่ทราบว่าโครงการ ที่จะตั้งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางส่งออกรถยนต์ ที่ดร.สมคิด รมค.คลัง
สมัยนั้นพยายามผลักดัน จะมีผลไหมถ้าปล่อยให้ค่าน้ำมันดีเซลสูงขึ้นซึ่งต้องมีผลแน่ต่อ ตลาดซื้อขาย รถดีเซลในประเทศไทย รวมถึงราคาหุ้นของบริษัทย์ ปตท.ที่มีบันดาบิ๊กๆ เข้าไปถือหุ้นจำนวนมาก และที่สำคัญเรื่องนี้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังใช้น้ำมันที่มีค่าเกินจริงตามตลาดโลก รู้แค่ว่ารัฐบาลก่อนได้พยายามช่วย ไม่ให้ประชาชนได้รับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเพราะน้ำมันพุ่งตัว สูงขึ้นต่อเนื่อง..........ผิดถูกประการใดขออภัยด้วย ข้อมูลผมไม่แน่น หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 16:31 ข้อสังเกตส่งท้าย..
น่าสังเกตว่า ปตท. ที่แปรรูปไปเป็นของใครก็ไม่รู้ที่สงสัยกันนั้น เป็นผู้จำหน่ายน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของประเทศ การตรึงราคาน้ำมัน ทำให้ ปตท. และบริษัทน้ำมันอื่นๆ ไม่ต้องรับผลกระทบจากความ ผันผวนของราคาน้ำมัน เช่น ราคาดีเซล จากราคาตลาดโลกอาจ อยู่ที่ 18.49 บาท การตรึงราคาไว้ที่ 15.49 บาท รัฐบาลจะเป็นผู้จ่าย ส่วนต่าง 3 บาทให้บริษัทน้ำมัน เมื่อราคาขยับเป็น 21.49 บาท รัฐบาลก็จะจ่ายส่วนต่าง 6 บาทให้บริษัทน้ำมัน โดยที่บริษัทน้ำมัน ไม่ต้องบริหารความเสี่ยงจากราคาน้ำมันผันผวนเลยเป็นแรมปี โดยที่ต้นทุนน้ำมันเป็นปัจจัยหลักที่กระทบกับผลกำไรของบริษัท น้ำมันมากที่สุด เพราะการซื้อน้ำมันเป็นการสั่งซื้อล่วงหน้าแล้ว ค่อยขนส่งโดยใช้เรือบรรทุกน้ำมัน และสังเกตได้อย่างชัดเจน ว่าผลประกอบการของบริษัทน้ำมันทุกแห่งในช่วงที่มีการตรึงราคา น้ำมันนั้น ต่างพากันมีกำไรมหาศาลโดยถ้วนหน้า.. หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายนับหมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 16:37 ไม่ทราบว่าโครงการ ที่จะตั้งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางส่งออกรถยนต์ ที่ดร.สมคิด รมค.คลัง สมัยนั้นพยายามผลักดัน จะมีผลไหมถ้าปล่อยให้ค่าน้ำมันดีเซลสูงขึ้นซึ่งต้องมีผลแน่ต่อ ตลาดซื้อขาย รถดีเซลในประเทศไทย รวมถึงราคาหุ้นของบริษัทย์ ปตท.ที่มีบันดาบิ๊กๆ เข้าไปถือหุ้นจำนวนมาก และที่สำคัญเรื่องนี้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังใช้น้ำมันที่มีค่าเกินจริงตามตลาดโลก รู้แค่ว่ารัฐบาลก่อนได้พยายามช่วย ไม่ให้ประชาชนได้รับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเพราะน้ำมันพุ่งตัว สูงขึ้นต่อเนื่อง..........ผิดถูกประการใดขออภัยด้วย ข้อมูลผมไม่แน่น เรื่องการขายรถดีเซล โดยเฉพาะรถกระบะก็น่าสงสัยเช่นเดียวกันครับ เพราะได้รับประโยชน์จาก การตรึงราคาน้ำมันอย่างชัดเจน และการที่ราคาหุ้น ปตท. พุ่งสูงขึ้นก็เกี่ยวข้องกับผลประกอบการ แม้จะอ้างว่ากำไรจากการขายก๊าซ แต่มีกี่คนที่ทราบว่าหน้าที่หนึ่งของกองทุนน้ำมันก็คือการตรึง ราคาก๊าซ การที่กองทุนน้ำมันขาดทุนมหาศาลเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถตรึงราคาก๊าซได้ ซึ่งจะเริ่มมีผลประมาณต้นปีหน้าครับ ยังไม่นับเรื่องที่แกนนำคนสำคัญ ของพรรคไทยรักไทยมีกิจการผลิตอะไหล่รถยนต์อีกด้วย มีลูกค้าหลักคือโตโยต้าที่ขายรถกระบะได้ยอดมากมาย เรื่องนี้มันโยงใยพัวพันกันไปหมด จนแยกไม่ออกเชียวครับ และแน่นอน จะมากจะน้อยการตรึงราคาน้ำมันก็มีผลดีกับคะแนนเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย เพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่ใช้รถกระบะก็คือชาวไร่ชาวนาต่างจังหวัดที่เป็นฐานคะแนนเสียงหลัก ของพรรคไทยรักไทย เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทุจริตเชิงนโยบายที่เห็นภาพได้ง่ายๆ ชัดเจน ..แต่ก็ไม่ทราบว่าเหตุใดจึงไม่มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา ดำเนินการตรวจสอบทุจริตด้วย.. หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้ เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 18-11-2006, 17:24 ทุจริตทางนโยบาย มันจับยากครับ
หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 18-11-2006, 17:41 เจอกระทู้แบบนี้แถถึงกับใบ้ครับ คิดได้ไงเนี่ย
หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: แอบอ่าน ซุ่มเงียบ ที่ 18-11-2006, 18:26 ผมคิดเอาเองนะว่า เป็นการ "หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ"
เรื่องความผิดพลาดทางนโยบายการบริหาร น่าจะเอาความผิดได้ยากครับ เพราะทุกรัฐบาลที่ผ่านมาล้วนแต่มีการบริหารที่ผิดพลาดกันมาแล้วทั้งสิ้น ถ้าจะเอาผิด เฉพาะกับกรณีนี้ มันก็จะดู 2 มาตรฐานจนเกินไปหน่อย ไม่งั้นก็ต้องสาวยาวไปเลยถึงความผิดพลาดของทุกรัฐบาล เรื่องนี้ยากเกินไปครับ น่าจะยากเกินความสามารถของรัฐบาล "คนดี"นี้ เอาเรื่องง่ายๆกับนวตกรรมการโกงแบบใหม่ๆที่เห็นกันจะๆคาตากันอยู่ ยังไม่เห็นจะกล้ากระดิกทำอะไรสักอย่าง หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้ เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 18-11-2006, 18:33 แบบนี้เราเรียกว่า ความผิดทางการเมืองนั่นแหละครับ
คล้าย ๆ กรณี CTX อภิปรายจนชัดเจน ประชาชนเชื่อว่าผิด แต่เปิดดกฎหมายแล้วหาทางเอาผิดยาก จะว่าไปเค้าก็ใช้อำนาจ ที่ประชาชนให้ไป แต่เราเรียกมันว่า...ฉ้อฉลอำนาจ...ไงครับ หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้ เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 18:43 ทุจริตทางนโยบาย มันจับยากครับ จริงครับ.. ผมยังคิดว่าน่าจะมีการออกกฏหมายกำกับเอาไว้ ว่าการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้านักการเมืองบริหารงานผิดพลาดเกิดความเสียหาย ต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เหมือนกับการคอร์รับชั่น หรือการร่ำรวยผิดปกติ เพราะไม่อย่างนั้นพวกนักการเมืองก็บริหารงานกันแบบส่งเดช ไม่มีหลักวิชา ไม่มีความรอบคอบ เพราะเมื่อเกิดความเสียหายก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ตอนจะตรึงราคาบอกว่าถ้าไม่ตรึงจะเกิดผลกระทบกับค่าครองชีพและต้นทุนธุรกิจ พอตอนจะเลิกตรึงบอกราคาที่ลอยตัวจะเกิดผลกระทบเพียงเล็กน้อย??? ลองเปรียบเทียบดูถ้าเป็นผู้บริหารบริษัทเอกชน ไม่ถูกผู้ถือหุ้นฟ้องตายไปแล้วหรือครับ บริหารบริษัทแล้วเกิดข้อผิดพลาด เงินหายไปเฉยๆ เกือบแสนล้านบาทแบบนี้... หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 18:53 ผมคิดเอาเองนะว่า เป็นการ "หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ" เรื่องความผิดพลาดทางนโยบายการบริหาร น่าจะเอาความผิดได้ยากครับ เพราะทุกรัฐบาลที่ผ่านมาล้วนแต่มีการบริหารที่ผิดพลาดกันมาแล้วทั้งสิ้น ถ้าจะเอาผิด เฉพาะกับกรณีนี้ มันก็จะดู 2 มาตรฐานจนเกินไปหน่อย ไม่งั้นก็ต้องสาวยาวไปเลยถึงความผิดพลาดของทุกรัฐบาล เรื่องนี้ยากเกินไปครับ น่าจะยากเกินความสามารถของรัฐบาล "คนดี"นี้ เอาเรื่องง่ายๆกับนวตกรรมการโกงแบบใหม่ๆที่เห็นกันจะๆคาตากันอยู่ ยังไม่เห็นจะกล้ากระดิกทำอะไรสักอย่าง ถ้าจะว่า 2 มาตรฐาน ตอนนี้ต่างหากครับที่เรียกว่า 2 มาตรฐาน เพราะกรณีตรึงค่าเงินบาทมีการฟ้องร้อง แต่พอตรึงราคาน้ำมัน กลับไม่ดำเนินการอะไรทั้งสิ้น ผมไม่สนใจเรื่องว่าจะได้แพะมาแค่ไม่กี่คน (เหมือนคดีตรึงค่าเงิน) เพราะอย่างน้อยก็ทำให้พวกข้าราชการประจำตระหนักระวังตัว ไม่หลับหูหลับตา สนองนโยบายฝ่ายการเมืองอีกต่อไป การบริหารบ้านเมืองต้องมีมาตรฐานครับ และต้องพิสูจน์ตัวเอง กับกระบวนการยุติธรรมได้ว่า ดำเนินการไปตามหลักวิชา และ ละเอียดรอบคอบในการตัดสินใจแล้ว.. หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 19:05 เรื่องตรึงราคาน้ำมันนี้ การฟ้องศาลก็ฟ้องแค่ว่าคนตัดสินใจคือจำเลย
จำเลยจึงต้องรับผิดชอบ และจำเลยตัดสินใจผิดพลาดจริงๆ ใช่ไหม ถ้าผิดจริงก็ชดใช้มา จำเลยก็ต้องมาแก้ต่างว่าตัวเองเป็นคนตัดสินใจจริงหรือเปล่า หรือ ผู้รับผิดชอบควรเป็นใคร และการตัดสินใจทำอย่างถูกต้องแล้ว ตามหลักวิชา ตามข้อมูล อะไรอย่างไรบ้าง ถ้าแก้ตัวหลุดก็แล้วไป แต่ถ้าแพ้คดีก็ต้องจ่ายชดใช้ จะไปยืมเงิน ลูก 7-8 หมื่นล้านมาชดใช้ก็แล้วแต่ จะได้เป็นบรรทัดฐานต่อไป ... ก่อนจะดำเนินการฟ้องก็ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาก่อน ว่าการตัดสินใจตรึงราคาน้ำมันที่ผ่านมาทำถูกต้องหรือเปล่า หากว่าความผิดมีมูลก็ดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายได้เลยครับ หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้ เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 18-11-2006, 19:14 เรื่องของ "อำนาจตามกฎหมาย" ลำบากครับ
ลดค่าเงินบาท หรือ สู้ค่าเงินบาท ยังหาคนผิดไม่ได้ไม่ใช่เหรอ หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้ เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 19:31 เรื่องของ "อำนาจตามกฎหมาย" ลำบากครับ ลดค่าเงินบาท หรือ สู้ค่าเงินบาท ยังหาคนผิดไม่ได้ไม่ใช่เหรอ ก็ เริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าการแบงค์ชาติ ในขณะนั้นไงครับ โดนฟ้องโดยโจทก์ก็คือธนาคารแห่งประเทศไทย และทุนรักษาระดับฯ ศาลแพ่งตัดสิน ให้ต้องชดใช้เงิน 1.8 แสนล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย งานนี้เริงชัยฟ้องมีการกลับด้วยแต่ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้อง ส่วนคดีที่แพ้ในศาลแพ่ง กำลังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ครับ.. ... อีกตัวอย่างที่กำลังโดนตามล้างตามเช็ดก็คือคดีขายสินทรัพย์ ปรส. ผมถึงคิดว่าน่าจะเอาคดีตรึงราคาน้ำมันมาเล่นด้วย.. หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้ เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 18-11-2006, 19:53 เริงชัยช่วงนั้นอยู่ในฐานะเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงาน
ทำไมนักการเมืองไม่โดนละครับ... หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้ เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 20:07 เริงชัยช่วงนั้นอยู่ในฐานะเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงาน ทำไมนักการเมืองไม่โดนละครับ... นักการเมืองไม่โดนก็ไม่เป็นไรครับ แต่ต้องมีคนรับผิดชอบจะได้เป็นบรรทัดฐานต่อไป ไม่ใช่เกิดความเสียหายแล้วทุกคนลอยลำ สุดท้ายประเทศชาติเป็นคนจ่ายค่าเสียหาย การฟ้องนายเริงชัยดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ความจริงแล้วเราควรมีกฏหมายแบบเดียวกันสำหรับฝ่ายการเมืองด้วยจะได้เท่าเทียมกัน แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีกฏหมายแบบที่ว่านี้ขึ้นมาเมื่อไหร่ ผมเชื่อว่าในอนาคตสักวันจะต้องมี เพราะฝ่ายการเมืองนี่แหละที่สร้างความเสียหายกับประเทศได้มากที่สุด.. แต่ในชั้นต้นนี้ ณ ปัจจุบันน่าจะมีใครรับผิดชอบความเสียหายครับ ไม่ใช่เสียหายเฉยๆ แบบนี้ หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้ เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 18-11-2006, 20:14 นั่นคือสิ่งที่เราไม่มี เหมือนประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาไปจนใช้งานได้ ดูแลผลประโยชน์ของรัฐได้
ยิ่งถ้าเจอรัฐบาลด้าน ๆ ทน ๆ ประชาชนบ่นยังไงก็ไม่รับรู้รับทราบ เบี่ยงประเด็นเป็นการเมือง เป็นเรื่องการต่อสู้ทางการเมือง ทั้งนี้ก็เพื่อตะโกนหาความชอบธรรมให้ตนเอง...อีกนานครับ...การเมืองไทย กว่าจะไปถึงฝั่งฝัน หัวข้อ: Re: ==ทำไมยังไม่มีใครถูกเอาผิด กรณีตรึงราคาน้ำมันจนกองทุนฯ เสียหายกว่า 8 หมื่นล้าน== เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 18-11-2006, 21:02 มีความลักลั่นกันมากครับระหว่างระดับความรับผิดชอบของข้าราชการการเมือง
กับข้าราชการประจำ ยกตัวอย่างข้าราชการประจำเบิกงบซื้อปากกา ซื้อกระดาษ ยังต้องมีการคำนวณอ้างอิงว่าจำนวนที่ซื้อเหมาะสมหรือไม่อย่างไร สเป็กปากกา หรือกระดาษก็ต้องนำมาพิจารณา ถ้าไม่มีเหตุผลแค่นี้ก็อาจโดนเล่นงานได้ แต่พอรัฐบาลออกนโยบายกองทุนหมู่บ้าน กำหนดจำนวนเงินหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท ถามว่าเอาตัวเลขจำนวนเงิน 1 ล้านบาทมาจากไหน หมู่บ้านทุกหมู่บ้านในประเทศ มีจำนวนประชากรเท่ากัน มีระดับความเจริญความพร้อมทางเศรษฐกิจเท่ากันหรือ เป็นไปไม่ได้ที่ทุกแห่งมีความจำเป็นเท่ากันหมด ดังนั้นวิธีนี้ไม่ใช่การใช้เงินอย่าง มีประสิทธิภาพโดยมีฐานข้อมูลการศึกษารองรับอย่างแน่นอน เรื่องทำนองเดียวกันมีกับโครงการอื่นๆ เช่น แจกคอมพิวเตอร์เด็ก 1 ล้านเครื่อง แจกโค 1 ล้านตัว แจกบ่อน้ำ 3 แสนบ่อ แจกกล้ายาง 1 พันล้านต้น ฯลฯ ที่ไม่มี ฐานข้อมูลการวิจัยรองรับว่าทำไมต้องตั้งเป้าเป็นตัวเลขเหล่านี้ ตลอดถึงโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ไม่มีเหตุผลว่าทำไมต้องเป็น 30 บาท ทำไมไม่ 20 บาท ทำไมไม่ 50 บาท ความเข้าใจง่ายๆ ก็คือเป็นตัวเลขที่นึกเอาส่งเดชทั้งสิ้น โดยที่ หวังผลด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์หาคะแนนเสียงเป็นสำคัญ และตามปกติ การตั้งตัวเลขแบบนี้มีใช้กันเฉพาะเกมส์โชว์ หรือโปรโมชั่นชิงโชค การใช้เงินงบประมาณแบบนี้ถ้าเป็นบริษัท (เหมือนอย่างที่ทักษิณเคยพูดว่าประเทศ ก็คือบริษัท) มีหวังผู้รับผิดชอบโดนไล่ออกตั้งแต่เสนอเป้าตัวเลข เพราะจะต้องถูก ซักถามที่มาของตัวเลขจนตายคาห้องประชุมผู้ถือหุ้นอย่างแน่นอน หากเป็นองค์กรธุรกิจทั่วไป การตั้งโครงการมาใช้งบประมาณกันส่งเดชแบบนี้ มีหวังถูกให้ออกจากตำแหน่ง และตั้งกรรมการสอบสวน หรือส่งฟ้องศาลไปแล้ว ... บางโครงการถึงขนาดตั้งตัวเลขจนทำไม่ได้ เช่นกรณีบ้านเอื้ออาทร 4 แสนหลัง ที่ไม่ทราบไปเอาตัวเลข 4 แสนหลังมาจากไหน ทั้งที่การเคหะแห่งชาติอยู่มา ตั้งหลายสิบปียังทำได้ไม่ถึง 1 แสนหลัง แต่นี่กำหนดให้ทำ 4 แสนหลังภายใน ระยะเวลาแค่ 4-5 ปี จนเกิดปัญหาวุ่นวายมาถึงปัจจุบัน โครงการโคล้านตัว ก็ทำนองเดียวกันทำมาเป็นปีเพิ่งแจกได้ไม่ถึง 4 หมื่นตัวกระมัง.. การบริหารงานส่งเดชทั้งหมดนี้ ฝ่ายการเมืองก็ยังไม่โดนจัดการให้ต้องรับผิดชอบ หากปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะดีกว่าถ้าฝ่ายการเมืองอยู่เฉยๆ ทำงานพื้นฐาน เพราะถ้าบริหารประเทศแล้วไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่มีรัฐบาลอาจดีกว่ามีรัฐบาล นี่ยังไม่นับเรื่องทุจริต คอร์รับชั่น เลยนะครับแค่บริหารโดยไม่รับผิดชอบเท่านั้น |