ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 13:13



หัวข้อ: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 13:13
....จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา  ก็พอจะทราบแล้วใช่มั๊ยคะว่า
  เพราะสังคมเสื่อมโทรม  การตระหนักและเห็นคุณค่าของ...ศีลธรรม.
แทบไม่มี  ไม่ว่าจะเป็นรากหญ้า รากแก้วมีไม่น้อยทีเดียว  ที่ถูก
ซึมซับ  ถูกแทรกซึมให้เห็นคุณค่าของ  เงิน....วัตถุ  ...เศรษฐกิจ
ให้เห็นเป็นเรื่องหัวใจของประเทศ  จนชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนมาก


....และหายใจเข้าออกมีแต่เรื่องต้องทำมาหากินเพื่อเงิน  เพื่อความมั่งคั่ง
ร่ำรวย...บูชาคนมีเงินมากว่า..เป็นพระเจ้า  บันดาลอะไรได้ทุกสิ่ง
จนลืมเหลียวมอง  วัฒนธรรมไทย  จริยธรรม คุณค่าแห่งการกระทำดี
ซึ่งเป็นพื้นฐานของคนไทยแท้แต่โบราณ 
ที่ใช้ชีวิตอย่างผาสุข
เน้นความสุข  สงบ  นี่คือพื้นฐานจิตใตของคนไทยจริงๆ .......


  แล้วมาวันนี้  ณวินาที  เป็นอย่างไรล่ะคะ ...แม้เงินร้อยล้าน  พันล้าน  หมื่นล้าน
.....เห็นแล้วหรือยังว่า  ชีวิตวันนี้ของคนมีเงินเป็นหมื่นล้าน  แสนล้านเป็นอย่างไร
เงินมิสามารถบันดาลให้เขามีชีวิตที่พอเพียงหรือสงบสุขใช่หรือไม่.....
เราคนไทยจะยอมรับกันได้แล้วหรือยังว่า...  จริงๆแล้ว  เงินมิใช่พระเจ้า
แม้สักนิดเดียวเลย....  ศีลธรรมต่างหาก  ที่จะทำให้ประเทศสงบสุข....

มั่นใจ  และฟันธงว่า ....ศีลธรรมเหนือสิ่งอื่นใด


..เรื่องความคิดที่แตกต่างคงเป็นเรื่องยากมากค่ะที่จะปรับเปลี่ยนกันได้
 เพราะอดีตท่านนายกทักษิณคิดว่าท่านพูดถูก.. คิดถูก...  ทำถูก และมั่นคง
ตรงจุดยืนเช่นนั้น  เรื่องราวเลยเป็นอย่างนี้ เชื่อว่าแม้  ณ  วินาทีนี้ ท่านก็คิดว่า
ท่านถูก  เชื่อมั๊ย ...?? ....ไม่อยากเอามาพูดมาก......


        โบราณว่า....ไม้ล้มอย่าข้าม




....  ศีลธรรมจริยธรรมเหนือสิ่งอื่นใด
...ถ้าจำไม่ผิดใบไม้เคยตั้งกระทู้เน้นย้ำว่า

               .. ศีลธรรมเหนือสิ่งอื่นใด
...เกินสิบครั้ง.ในราชดำเนิน  ทุกครั้งก็จะถูกหลายอมยิ้มต่อต้าน
และแม้อมยิ้มที่แสดงด้วยเหตุผลหลายอมยิ้มก็ไม่ยอมรับว่า.....



....ศีลธรรมเหนือสิ่งอื่นใดจริงๆ......


ณ  วินาทีนี้เหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็พิสูจน์แล้วว่า...ใช่
.....เอกลักษณ์ของคนไทยวัฒนธรรมไทยยึดคุณค่าของความดีเป็น
จุดยืนของบ้านเมือง
.... คุณค่าแห่งการทำดี
ย่อมชนะอธรรมเสมอ.....


....ขอความกรุณา ตระหนักถึงคุณค่าของการกระทำความดีมากกว่า
 ทำเพื่อผลประโยชน์แบบไม่ถูกต้องกันเหอะค่ะ......


ถ้าเป็นไปได้อยากร้องขอให้ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคำนึงถึง...การปฏิรูป
สังคมควบคู่ไปกับการปฏิรูปการศึกษา
....สักนิดได้มั๊ยคะ  ดังคำที่ท่านพุทธทาสเคย
กล่าวไว้ว่า......


 ......  ศีลธรรมของเยาวชนคือสันติภาพของโลก[/





....  เรียนท่านนายกคะ....ทุกวันนี้สังคมแทบต้องเรียกว่าเป็น
มะเร็งร้ายเลยทีเดียว....ถ้าจะให้สังคมฟื้นตัวเองมาเป็นสังคมพอเพียง  สังคมที่เน้นจริยธรรมให้ได้
ด้วยตนเองคงยากมากนะ   คงต้องขอแรงจากภาครัฐต้องยื่นมือเข้ามาช่วย  มิว่าจะเป็น  กระทรวง
มหาดไทย  กระทรวงศึกษา  กระทรวงวัฒนธรรมยื่นมือเข้ามาช่วย   เข้ามาจัดระเบียบให้  เข้ามาออกนโนบายเข้าช่วย...
  คนไทยมิได้
เป็นมนุษย์ผู้วิเศษอะไรมากมายก่ายกองหรอกค่ะ  บางครั้งการที่จะให้เรื่องที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต
  คนมี  คุณภาพของชีวิต ....อย่างแท้จริง

..  อนาธิปไตย  และประชาธิปไตย  ต้องใช้ควบคู่กันค่ะ ....ขอเสนอนะคะว่า..
อยากจะให้มี.... การจัดระเบียบสังคมสมัยคุณปุระชัย ( ยังมีคุณค่ามากต่อเยาวชน  )
มาร่วมใช้กับ...การปฏิรูปการศึกษาที่เน้นถูกทาง  คือเน้นผู้เรียน  ให้เป็น....

                      .... คนเก่ง  คนดี  คนมีความสุข


  ...มากกว่าเข้ามาปฏิรูปโครงสร้างปฏิรูปกรมต่างๆ...อย่างมั่วๆ...ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน
ว่าการปฏิรูประบบราชการของกระทรวงศึกษาที่ล้มเหลวคือ ...การจับประถม  มัธยมมารวมกัน
 และจับสายอุดมศึกษามารวมกันหมดในกระทรวงศึกษา ...อันนี้ชี้ชัดว่าเดินผิดทางแน่นอน ..
 จุดเน้น  นโยบายการทำงาน  วัฒนธรรมการทำงานของแต่ละองค์กรต่างก็ทำงานแตกต่างกัน
....ไม่สามารถมาร่วมทำงานกันได้หรอก  อย่าคิดแค่ว่าได้ปฏิรูประบบราชการแล้วเก่งแล้วดี
 ของบางอย่างเขาอยู่ตามของเดิม  เขาอยู่กันดีอยู่แล้ว .....ช่วงหลังตั้งแต่รัฐบาลทักษิณมาปรับเปลี่ยน
โครงสร้าง  ระบบการทำงานก็รวนไปหมดข้าราชการแทบทำงานไม่ได้เลย  ดูมันสับสนไปหมด .....


....ลองปรับใหม่อีกครั้งได้มั๊ยคะ  จับหัวใจของการปฏิรูปการศึกษามาเล่นจริงๆ  เน้นผู้เรียนจริงๆ
และทำไปควบคู่กับจัดระเบียบสังคม
.....น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมนะคะ



(http://img455.imageshack.us/img455/2182/548000017773301nw0.jpg)




หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 13:18
 ....เมื่อการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเป็นแค่ ปฏิรูปเปลือก
ไม่ได้   ปฏิรูปแกน ...หลักสูตรเน้นเทคโนโลยีมากเกินไป  เน้นคุณค่า
วัตถุ  เน้นความเก่งระดับโลก  เน้นอินเตอร์  เด็กจะต้องเล่นคอมพิวเตอร์ได้
เด็กจะต้องพูดภาษาอังกฤษเป็นทุกคน....สิ่งเหล่านี้ที่อดีตท่านนายก
ไฝ่ฝัน  ก็มิใช่ว่าจะไม่ดี ....แต่เป็นสิ่งดีที่ต้องมาทีหลัง  


การอ่านออกภาษาไทย  การเขียนภาษาไทยที่ถูกต้อง   การจดจำ
อะไรอย่างเข้าใจการแยกแยะวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง  ต้องมาก่อน



....เรื่องนี้เป็นเรื่องอึดอัดใจมาก  ไม่รู้จะบอกใครดี  ว่าระยะหลัง  เมื่อปฏิรูปการศึกษา
หลงทาง ...หลักสูตรก็หลากหหลาย  เด็กแต่ละคนต้องเรียนถึง  9  กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ ฯ...  แถม ต้องเรียนทั้งสาระพื้นฐาน  และสาระเพิ่มเติม  กระเป๋าหนักเดิน
ไหล่เอียงไปโรงเรียนทุกวัน  เรียนอะไรก็ไม่  รู้ลึก     และไม่รู้จริง  ไม่รอบรู้
  เพราะสิ่งที่บังคับให้เด็กรู้มันมากเกินความจำเป็น....



...การศึกษาไทยจึงถอยหลังเข้าคลองโดยอัตโนมัติ  ดังที่เขาออก
 โรงเรียนในฝันมา ( ที่หลายคนแอบเรียกโรงเรียนนายฝัน)...ฝัน
ก็ล่มสลายลงในพริบตา....เมื่อครูเบื่อปฏิรูป  เบื่อการทำงาน
จับต้นชนปลายไม่ถูก  ก็กลายเป็นว่า  หันมาเหลียวมองตนเอง
ทำเพื่อตนเองดีกว่า     ...ทีนี้เป็นไงคะ


เมื่อ -------


----ครูก็มัวบ้าทำแต่ผลงาน  เอกสารสร้างภาพ

---ผู้บริหารก็บ้าทำผลงาน  เอกสารสร้างภาพ




  แล้ว  ผู้เรียนล่ะ  ใครจะบอกเขาให้เป็นคนดี  ให้เรียนหนังสือเพื่อ
ทำประโยชน์แก่ตนเอง  และประเทศชาติ  พร้อมทั้งเมื่อไปเป็น
นักการเมือง 


  ใครล่ะจะไปบอกเขาว่า  อย่าโกงนะ ----


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 03-11-2006, 13:21
โถ เพ้อเกินพอเพียงซะแล้ว ขอบเขตของจริยธรรม คุณธรรม จนถึง ศีลธรรม ของแต่ละสังคมมันแตกต่าง
ถ้าไม่มีเอกสารยืนยัน ก็คงเป็นความรู้สึกถูกผิดส่วนตัวปนจินตนาการซะครึ่ง โดยเฉพาะเรื่องไทยแท้แต่
โบราณยิ่งมั่วกันไปใหญ่ ชัดเจนคำว่าสังคมแห่งความรู้สึกหรือยังครับ

แถมเรื่องภาษาไทยปัจจุบันนะครับ ไม่ใช่ไทยแท้แต่โบราณ

ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง เท่านั้นถึงใช้วรรณยุกต์ตรีได้
เคยได้ยินนะครับ คุณครู อย่าใช้ผิด โดยเฉพาะคำว่า มั๊ย   ใช้ไม่ได้ครับ

รู้หรือยังว่าจินตนาการความถูกต้องส่วนตัวเป็นยังไง


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 13:22
-  การทำผลงานของครูมิใช่สิ่งแปลก  ถ้ายืนอยู่บน
พื้นฐานของความพอดีโดยยึดการเรียนการสอนกับผู้เรียนเป็นตัวหลัก  ตั้งใจและใจจริง
ในการถ่ายทอดความรู้ผู้เรียน  หวังให้ผู้เรียนเป็น คนดี  คนเก่ง
อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  ครูก็จะกลายเป็นครูที่แท้จริงคือ ...

                ผู้ยกระดับวิญญาณของมนุษย์  ..


ส่วนการจะรวบรวมข้อมูลด้านเอกสารเพื่อทำผลงานก็ทำแต่เพียงพอดี  ก็คงไม่กระทบ
กระเทือนผู้เรียนขนาดนี้




----แต่ตอนนี้  มิว่าครูทางทิศ  ตก  ออก  เหนือ  ใต้  มองซ้าย มองขวา  มิว่า
  ครู ผู้บริหารหายใจเข้า  หายใจออก  ทำแต่เอกสาร  ข้อมูลสวยหรู  สร้างภาพ
  ผักชีโรยหน้าเพื่อให้ผลงานผ่าน  คำว่า  อาจารย์ สามเชิงประจักษ์  ผอ คุณภาพ
  ล้วนแต่เป็นคำ...


......สวยหรู  สร้างภาพให้ดูดี  แต่ในข้อเท็จจริง  คือ  สร้างเอกสาร  สร้างข้อมูลให้สวย
ให้เข้าเกณฑ์  ว่าไปแล้ว  ถ้านำมากอง  ก็เกือบถึงหลังคาห้องล่ะ  เพราะในความ
เป็นจริง  กรรมการที่ตัดสินก็รู้จักตัวตนครูหรือผู้บริหารคนนั้นไม่แท้จริงหรอก
จึงยึดเอกสารเป็นหลัก  ตรวจเอกสารให้เนี๊ยบไว้ก่อน


---เมื่อ  ตัณหาของคนมันกำเริบ  เหล่าคนที่ไขว่าคว้าซึ่งอำนาจและเงินตรา
ทำไงล่ะ  ก็ทุ่มเท  แรงกาย แรงใจ  ทุกวิถีทาง เพื่อให้เอกสารออกมาสวยหรู



แล้ว  ------ผู้เรียนตาดำ ๆๆๆละคะ   จะเหลืออะไร  --------ครูลาออกจำนวน
มากเพราะอะไร  ท่านผู้รับชอบเรื่องนี้  เคยเก็บมาทบทวนมั๊ยคะ

เมื่อ....

.......       การศึกษาเป็นแบบ  หมาหางด้วน

  แน่นอน  อย่าหวังเลยว่าการเมืองจะเดินมาถูกทาง


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 13:50
โถ เพ้อเกินพอเพียงซะแล้ว ขอบเขตของจริยธรรม คุณธรรม จนถึง ศีลธรรม ของแต่ละสังคมมันแตกต่าง
ถ้าไม่มีเอกสารยืนยัน ก็คงเป็นความรู้สึกถูกผิดส่วนตัวปนจินตนาการซะครึ่ง โดยเฉพาะเรื่องไทยแท้แต่
โบราณยิ่งมั่วกันไปใหญ่ ชัดเจนคำว่าสังคมแห่งความรู้สึกหรือยังครับ

แถมเรื่องภาษาไทยปัจจุบันนะครับ ไม่ใช่ไทยแท้แต่โบราณ

ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง เท่านั้นถึงใช้วรรณยุกต์ตรีได้
เคยได้ยินนะครับ คุณครู อย่าใช้ผิด โดยเฉพาะคำว่า มั๊ย   ใช้ไม่ได้ครับ

รู้หรือยังว่าจินตนาการความถูกต้องส่วนตัวเป็นยังไง


 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_o: :slime_o:


  แหมคุณน้องแถคะ-----  จะเรียนเขียนภาษาไทย อักษรสูง
อักษรต่ำ  ในบอร์ดนี้หรือจ๊ะ   ไปเรียนกันเป็นการส่วนตัว
กะ จขกท  ดีมั๊ย-----

   อ้าว  ตอบในประเด็นซะหน่อย ----  ถ้าคุณน้องแถ
จะเอาเอกสารด้านคุณธรรมอยู่ร่ำไป  ก่อนนอนต้องเอา
เอกสารท่องก่อนนอนทุกคืนมั๊ยคะว่า-----


-----วันรุ่งขึ้น  จะพูดดี  ทำดี  คิดดี  มีสติสัมปชัญญะ
ทุกย่างก้าวที่ก้าวเดิน  ทำงานแบบเห็นแก่ประโยชน์
ส่วนตน และส่วนรวม โดยไม่เบียดเบียนใคร  ไม่ทำให้
ใครเดือดร้อน -----  สิ่งเหล่านี้ต้องท่องก่อนนอนมั๊ยคะ

ถ้าท่องจะได้หาเอกสารมาให้จ๊ะ    :slime_o: :slime_o:


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 13:57
พอดีวันนี้  คณะรัฐบาลกำลังแถลงนโยบายขอ
ยกเอาที่เค้าแถลงมาคุยเกี่ยวกับกระทู้นี้หน่อยนะคะ

-----------------------------------------------------------------------------------




รายละเอียดนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

วันที่ 03 พ.ย. 2549


รายละเอียดนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เช้าวันนี้(3 พ.ย.) มีดังต่อไปนี้



ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 นั้น ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเรียนท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ทรงเกียรติได้รับทราบ
ถึงเจตนารมณ์และนโยบายของรัฐบาล ในประการสำคัญในอันที่จะธำรงพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้ และมุ่งประสงค์จะแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และความมั่นคงของชาติ เพื่อนำไปสู่เสถียรภาพและประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทั้งมวล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ได้ระบุถึงสาเหตุของการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 โดยปรารถนาที่จะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ อันเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครอง และปัญหาความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนเสื่อมสลายความ “รู้ รัก สามัคคี” ของชนในชาติ อันเป็นวิกฤติการณ์รุนแรงทางสังคม วิกฤติการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งนับเป็นภยันตรายใหญ่หลวงต่อระบอบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของประเทศ จึงมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องฟื้นฟูความ “รู้ รัก สามัคคี” ระบบเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การเสริมสร้างระบบการตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง และระบบคุณธรรมที่ดีงาม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติพันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชน

ฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและสถานการณ์บ้านเมือง ตลอดจนวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 คณะรัฐมนตรีขอนำนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียนให้ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติได้ทราบว่ารัฐบาลจะดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1. นโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร

การเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยราบรื่น สะท้อนความต้องการของประชาชน แต่สถานการณ์ทางการเมือง และการบริหารในช่วงเวลาที่ผ่านมา เกิดวิกฤติในศรัทธาของประชาชน ดังนั้น เพื่อแก้ไขวิกฤติทางการเมืองและการบริหาร รัฐบาลจึงกำหนดนโยบาย ดังนี้

1.1 สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร เพื่อการปฏิรูปการเมืองโดยเน้นความสำคัญที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญในทุกระดับ

1.2 เสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ ทั้งในภาคการเมืองและภาคราชการ ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ส่งเสริมองค์กรอิสระและประชาชนในการตรวจสอบการทุจริต ประพฤติมิชอบ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนโดยการจัดทำพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่าง
ประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

1.3 จัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ที่เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง วัฒนธรรมและการเรียนรู้ใหม่ทางการเมือง โดยการจัดตั้ง “สภาพัฒนาการเมือง” ให้เป็น องค์กรหลักในการจัดทำและดำเนินการให้แผนแม่บทพัฒนาการเมืองประสบความสำเร็จ รวมทั้งทำหน้าที่ประสาน ติดตาม กำกับการดำเนินการตามแผนแม่บทพัฒนาการเมืองให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสนองตอบเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

1.4 จัดทำแผนแม่บทการใช้ทรัพยากรสื่อสารของชาติ การใช้เครื่องมือสื่อสารของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ต่อการศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน รวมทั้งการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งการเน้นการทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระของการปฏิรูปการเมือง

1.5 ส่งเสริมเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อสารมวลชน ควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม และผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อจัดระบบสื่อภาครัฐ สื่อภาคเอกชนและสื่อชุมชนให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง

1.6 ส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน ให้มีบทบาทควบคู่กับองค์กรภาคราชการในการพัฒนาศักยภาพของประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการรวมกลุ่มที่มีความเข้มแข็งสามารถพิทักษ์ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนและสังคมไทย

1.7 มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐ ให้สอดคล้องกับทิศทางการนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมมีความเข้มแข็ง และประชาชนมีความสุขด้วยการดำรงชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้การรับราชการมีความเป็นมืออาชีพ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดำรงชีพอย่างพอเพียง มีมโนสุจริต ตลอดจนมีสมรรถนะขีดความสามารถในการให้บริการประชาชน ตามแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”

1.8 สนับสนุนการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่อง ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองและปกครองตนเองได้ ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น


2. นโยบายเศรษฐกิจ

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วของประเทศ เศรษฐกิจระบบตลาด และเศรษฐกิจส่วนรวมให้มีส่วนร่วมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบความยั่งยืนและความพอดี โดยเน้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำและผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจทั้งสามภาคดังกล่าว โดยมีนโยบายหลักดังนี้

2.1 ภาคเศรษฐกิจฐานราก เป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะต้องเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งตามแนวทางดังนี้

2.1.1 การเกษตรกรรม สนับสนุนให้การพัฒนาการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่เป็นทางเลือกสำคัญสำหรับเกษตรกรรายย่อย ในขณะที่ขยายโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพของผลผลิตโดยอาศัยเทคโนโลยี การจัดการ และการเชื่อมโยงกับระบบตลาด

2.1.2 ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น จะได้รับการสนับสนุนให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ตามศักยภาพทางการตลาดในระดับต่าง ๆ คือ ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับการส่งออก โดยจัดระบบการบริหารจัดการโครงการแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยีและการจัดการ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนด้านการตลาด

2.1.3 แรงงาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญอีกส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจฐานราก จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชน และภาครัฐ ให้ครอบคลุมถึงการพัฒนา คุณภาพและฝีมือของแรงงานในระดับต่าง ๆ เพื่อให้สามารถมีผลผลิตและรายได้สูงขึ้นตามมาตรฐาน ฝีมือแรงงาน ตลอดจนส่งเสริมให้แรงงานทุกกลุ่มมีงานทำ มีอาชีพเสริม ได้รับการคุ้มครองและดูแลด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนมีหลักประกันความมั่นคง รวมทั้งสวัสดิการแรงงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

2.1.4 การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางข้างต้น จะดำเนินการควบคู่ไปกับการดูแลผู้ที่ไม่พร้อมหรือยังไม่สามารถจะปรับตัวได้ โดยการจัดสวัสดิการสงเคราะห์และบริการทางสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึง และโดยการดูแลโอกาสในการเรียนรู้ การศึกษา ตลอดจนการฝึกอาชีพสำหรับคนเหล่านี้และลูกหลาน นอกจากนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องได้รับการดูแลมิให้เกิดผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

เพื่อการนี้ จะปรับปรุงบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานภูมิภาค โดยปรับปรุงระบบความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อร่วมกันรับผิดชอบดูแลผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

2.2 ภาคเศรษฐกิจระบบตลาด รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่จะให้กลไกการตลาดสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ภายใต้หลักคุณธรรมและการสร้างความเป็นธรรมในภาคเศรษฐกิจ การขจัดการดำเนินการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และการแสวงหาผลประโยชน
์ส่วนบุคคล และจะอาศัยกลไกการตลาดเสรีเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันด้วยความเป็นธรรม ดังนี้

2.2.1 การพัฒนาอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีและการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศเป็นส่วนรวม

2.2.2 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะอาศัยความเป็นพันธมิตรระหว่างเอกชนและรัฐผนึกกำลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการบริหารจัดการในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภท นอกจากนั้น จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา

2.2.3 การส่งออก ส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการ โดยมีภาคเอกชนเป็นกลไกขับเคลื่อน ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจการค้าภายในประเทศ รวมทั้งสร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าที่มีความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

2.2.4 การท่องเที่ยว พัฒนาประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัยและบริการระดับสากล เน้นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพ

2.2.5 พลังงาน ส่งเสริมประสิทธิภาพและประหยัดการใช้พลังงาน การพัฒนาและใช้ประโยชน์พลังงานทดแทน การสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ รวมถึงเขตพัฒนาร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด การกำหนดโครงสร้างราคาพลังงานที่เหมาะสม และการปรับโครงสร้างการบริหารกิจการพลังงานให้เหมาะสม โดยแยกงานนโยบายและการกำกับดูแลให้มีความชัดเจน รวมทั้งส่งเสริมการแข่งขันในธุรกิจพลังงานในระยะยาว และการศึกษาวิจัยพลังงานทางเลือก

2.2.6 โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และวางรากฐานการทำงานอย่างเป็นระบบที่ดี สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ยึดมั่นความซื่อสัตย์ สุจริต คุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการโครงการที่ดี และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่การวางแผนจนถึงการดำเนินโครงการ โดยขับเคลื่อนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผนแม่บทและมีความพร้อมทุกด้าน เน้นการลงทุนประเภทที่จะเพิ่มประสิทธิภาพระบบเครือข่ายการจัดส่งสินค้าและพัสดุ การประหยัดพลังงาน และลดต้นทุนการขนส่งและปัญหามลพิษ รวมทั้งโครงการลงทุนตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดจากอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ทั้งนี้ จะจัดให้มีการจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่ชัดเจนขึ้นโดยเร็ว

2.2.7 โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา โดยที่ประเทศไทยได้มีการลงทุนจำนวนมากพอสมควรในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แต่โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญายังอยู่ในฐานะด้อยกว่าประเทศคู่แข่งหลายประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจะจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาขึ้น เพื่อเร่งรัดให้มีการสร้างปัญญาในสังคม เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อสร้างความสามารถของประเทศอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันสร้างนวัตกรรม

2.2.8 การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้มาตรการทางเศรษฐกิจที่ผสมผสานกับหลักการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

2.2.9 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะดำเนินนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคีท
ี่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนโดยอาศัยการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมของภาคประชาสังคมและให้เป็นไปตามขั้นตอน
และกระบวนการที่ถูกต้อง

2.2.10 การปรับปรุงกฎระเบียบด้านธุรกิจการค้า ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบการค้าให้มีความทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกทางด้านการค้า สร้างความเป็นธรรมและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน


2.3 ภาคเศรษฐกิจส่วนรวม

2.3.1 การสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน ดังนั้น รัฐบาลจึงให้ความสำคัญแก่เป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการวัดความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เพื่อการนี้ จะจัดทำแผนแม่บทการสร้างเสริมประสิทธิภาพแห่งชาติโดยเป็นแผนร่วมกับเอกชนสำหรับภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน

2.3.2 การออม มุ่งสนับสนุนการออมในทุกระดับโดยใช้นโยบายการออมที่เหมาะสม และส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดเพื่อลดหนี้สินในระดับครัวเรือนและเพื่อการดำรงชีพที่ดีในวัยสูงอายุ

2.3.3 การเงินและการคลัง ดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ และมีการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ในขณะที่จะเสริมสร้างวินัยทางการเงินการคลังภาครัฐ โดยการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและประหยัด


3. นโยบายสังคม

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมเข้มแข็งที่คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บน พื้นฐานของคุณธรรม โดยมีนโยบาย ดังนี้

3.1 ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิดความร่วมมือกันในการกอบกู้และฟื้นฟูประเทศชาติในทุกด้าน โดยการสรุปบทเรียนจากปัญหาความแตกแยกร้าวฉานและความล้มเหลวในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวในอดีต แล้วนำมาปรับความเข้าใจของประชาชน สร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เน้นความสมานฉันท์ของคนในชาติ พร้อมทั้ง ส่งเสริมการเผยแพร่ตัวอย่างของความร่วมมือที่ดีและมีความสุขของทุกชุมชนอย่างต่อเนื่อง

3.2 จัดทำแผนปฏิรูปสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐาน คุณธรรมร่วมกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน และสถาบันศาสนา เพื่อสร้างสังคมไทยที่ไม่ทอดทิ้งกัน สังคมที่ชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมเข้มแข็ง สังคมคุณธรรม และสังคมประชาธิปไตย

3.3 เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีชีวิตประชาธิปไตย พัฒนาคน โดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา การจัดการศึกษา จะเน้นการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่ สถานศึกษาและท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชนเพื่อให้การศึกษาสร้างคนและสร้างความรู้สู่สังคมคุณธรรม คุณภาพ สมรรถภาพ และประสิทธิภาพ

3.4 พัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ครอบคลุมทั้งมิติทางกาย จิต สังคม และปัญญา โดยการปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เน้นการมีส่วนร่วม และพัฒนาระบบบริการสุขภาพทั้งยามปกติและฉุกเฉินที่สมดุลทั้งการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การบริการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม และจะเสนอให้มีการออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ

3.5 ส่งเสริมกีฬาพื้นฐานและกีฬามวลชน เพื่อให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสได้เล่นกีฬา และออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี มุ่งเน้นการปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬาให้เป็นค่านิยม เกิดความสมานฉันท์ของคนในชาติ สนับสนุนกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและอาชีพไปสู่มาตรฐานในระดับสากล

3.6 สร้างความเข้มแข็งของทุกชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม ให้สามารถจัดการ ตนเองเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การปกครอง และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนสิทธิชุมชน โดยส่งเสริมบทบาทของครอบครัว ชุมชน องค์กรอาสาสมัคร ภาคธุรกิจ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การดูแลเด็กและเยาวชน คนพิการ คนสูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส การสนับสนุนสิทธิสตรี ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3.7 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีสันติสุขอย่างยั่งยืน บนฐานของวัฒนธรรมไทย และใช้สื่อทุกรูปแบบในการสร้างสรรค์สังคม รักษาสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชาติ และความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเชิดชูคุณค่าและจิตวิญญาณของความเป็นไทย ตลอดจนสร้างความสามัคคี เอื้ออาทรสมานฉันท์ของสังคมและประเทศชาติ

3.8 ปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ปรับปรุงระบบการสืบสวนสอบสวน การกลั่นกรองคดีและการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดี การควบคุมและฟื้นฟูผู้กระทำผิด คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีการสร้างทางเลือกในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ รวมทั้งให้ชุมชนมีบทบาทในการประนีประนอมข้อพิพาท และป้องกัน เฝ้าระวังอาชญากรรมเพื่อลดปริมาณคดี ความสูญเสียจากอาชญากรรม และความขัดแย้งของสังคม

3.9 ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานและบุคลากรในกระบวนการ ยุติธรรม โดยนำระบบงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและบุคลากรใน
กระบวนการยุติธรรม


4. นโยบายการต่างประเทศ

รัฐบาลมุ่งมั่นในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติเสริมสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศ โดยการดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรกับนานาประเทศ และสานต่อความร่วมมือระหว่างประเทศบนพื้นฐานของคุณธรรม ความโปร่งใส ค่านิยมประชาธิปไตย และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รัฐบาลจึงกำหนดนโยบาย ดังนี้

4.1 ดำเนินบทบาทเชิงรุกในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อสนับสนุนความปรองดองและความมั่นคงในชาติ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสถานการณ์
ในภาคใต้

4.2 ส่งเสริมให้เกิดมิตรภาพและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ความมั่นคงและความเจริญ รุ่งเรืองร่วมกัน

4.3 เสริมสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งจัดตั้งประชาคม อาเซียน

4.4 ดำเนินบทบาทสร้างสรรค์ในกรอบสหประชาชาติและกรอบพหุภาคีอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืน การแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการสาธารณสุข

4.5 คุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ และเสริมสร้างบทบาทของชุมชนไทยในต่างประเทศ


5. นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ

สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้การรักษาความมั่นคงของรัฐเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัญหาวิกฤติการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น สามารถแพร่กระจายความรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว จนอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบสุขของประชาชนโดยรวม รัฐบาลจึงมีนโยบาย ดังนี้

5.1 ส่งเสริมการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ เพื่อการป้องกันประเทศอย่างต่อเนื่องในยามปกติ และนำไปสู่การระดมสรรพกำลังเพื่อยกระดับขีดความสามารถของกองทัพให้เพียงพอและทันเวลาในยามไม่ปกติ ทั้งนี้ ในยามปกติรัฐบาลจะเสริมสร้างและใช้ศักยภาพของกองทัพสนับสนุนการพัฒนาพลังอำนาจของชาติทุกด้าน เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงและมั่งคั่งภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสมานฉันท์ สามารถป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาที่
สำคัญของชาติ ได้แก่ ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ผู้ประสบภัยพิบัติ การก่อการร้าย รวมทั้งอาชญากรรมภายในประเทศและที่มีลักษณะข้ามชาติประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงยาเสพติด ผู้หลบหนีเข้าเมือง แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย การค้าสิ่งของผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ และการกระทำอันเป็นโจรสลัด

5.2 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง มีขีดความสามารถในการป้องกัน ป้องปราม และรักษาผลประโยชน์ของชาติ สามารถยุติความขัดแย้งได้รวดเร็ว มีระบบการข่าวที่มีประสิทธิภาพ มีขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทหาร รวมทั้งอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อการพึ่งตนเองทางทหาร และนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อความต่อเนื่องในการรบ มีระบบกำลังสำรอง ระบบการระดมสรรพกำลัง และระบบส่งกำลังบำรุงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ภัยคุกคาม นอกจากนี้ จะสนับสนุนการสร้างความร่วมมือด้านต่างประเทศและด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มอาเซียน และมิตรประเทศ เพื่อลดความหวาดระแวง สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ สร้างสันติภาพและความสงบสุข รวมทั้งสนับสนุนภารกิจเพื่อสันติภาพและปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมภายใต้กรอบของสหประชาชาติและผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก

การกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีตามที่ได้กล่าวมานี้ กระผมขอให้ความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินอย่างเต็มกำลังความสามารถ ให้ลุล่วงภายในเวลาอันจำกัด โดยยึดมั่นและรักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่เข้ารับหน้าที่ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่แท้จริง




ถ่ายทอดสด ช่อง 9 และ ช่อง 11 สามารถดูผ่านเน็ตได้
 
 
 


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 03-11-2006, 13:57
ไม่ได้เรียนหรอกพักหลังๆ เป็นอะไรไม่รู้ชอบสอนครู ตามหลักการทำงาน ไม่จำเป็นต้องท่องเอกสาร
ครับ เอาไว้อ้างอิงเวลาถูกผิด จะได้ไม่ต้องใช้จินตนาการของแต่ละคน มันจะเถียงกันไม่จบ เพราะเกิด
มาในสังคมที่ไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าจะให้ยกตัวอย่างของคนในนี้ก็มี save ไว้หลายอัน ไว้เข้าตาจน
ค่อยขุดขึ้นมายัน


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 13:59
ไม่ได้เรียนหรอกพักหลังๆ เป็นอะไรไม่รู้ชอบสอนครู ตามหลักการทำงาน ไม่จำเป็นต้องท่องเอกสาร
ครับ เอาไว้อ้างอิงเวลาถูกผิด จะได้ไม่ต้องใช้จินตนาการของแต่ละคน มันจะเถียงกันไม่จบ เพราะเกิด
มาในสังคมที่ไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าจะให้ยกตัวอย่างของคนในนี้ก็มี save ไว้หลายอัน ไว้เข้าตาจน
ค่อยขุดขึ้นมายัน


---- :) :) :)  ขอบคุณนะคะ  ที่เข้ามาแลกมาคุย  มาตอบ
ถึงเจตนาที่แท้จริง   เข้าใจแล้วจ๊ะ-----น้องเดี๋ยวนะจะหาให้


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 14:07
3. นโยบายสังคม


รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมเข้มแข็งที่คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บน พื้นฐานของคุณธรรม โดยมีนโยบาย ดังนี้

3.1 ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิดความร่วมมือกันในการกอบกู้และฟื้นฟูประเทศชาติในทุกด้าน โดยการสรุปบทเรียนจากปัญหาความแตกแยกร้าวฉานและความล้มเหลวในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวในอดีต แล้วนำมาปรับความเข้าใจของประชาชน สร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เน้นความสมานฉันท์ของคนในชาติ พร้อมทั้ง ส่งเสริมการเผยแพร่ตัวอย่างของความร่วมมือที่ดีและมีความสุขของทุกชุมชนอย่างต่อเนื่อง


3.2 จัดทำแผนปฏิรูปสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐาน คุณธรรมร่วมกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน และสถาบันศาสนา เพื่อสร้างสังคมไทยที่ไม่ทอดทิ้งกัน สังคมที่ชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมเข้มแข็ง สังคมคุณธรรม และสังคมประชาธิปไตย


3.3 เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีชีวิตประชาธิปไตย พัฒนาคน โดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา การจัดการศึกษา จะเน้นการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่ สถานศึกษาและท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชนเพื่อให้การศึกษาสร้างคนและสร้างความรู้สู่สังคมคุณธรรม คุณภาพ สมรรถภาพ และประสิทธิภาพ



3.4 พัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ครอบคลุมทั้งมิติทางกาย จิต สังคม และปัญญา โดยการปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เน้นการมีส่วนร่วม และพัฒนาระบบบริการสุขภาพทั้งยามปกติและฉุกเฉินที่สมดุลทั้งการเสริมสร้างสุขภาพ
การป้องกันโรค การบริการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม และจะเสนอให้มีการออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ




--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


   ตอนนี้หลายท่าน  กำลังอภิปรายประเด็นเหล่านี้อย่างชัดเจน  ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ
ให้บริหารงานได้สำเร็จดังที่ตั้งเป้าไว้


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 14:12
3.3 เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีชีวิตประชาธิปไตย พัฒนาคน โดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา การจัดการศึกษา จะเน้นการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่ สถานศึกษาและท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชนเพื่อให้การศึกษาสร้างคนและสร้างความรู้สู่สังคมคุณธรรม คุณภาพ สมรรถภาพ และประสิทธิภาพ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


  นโยบายข้อนี้  ชัดเจนมาก  ตรงประเด็นกับที่ จขกท ได้ตั้งไว้อย่างสมบูรณ์


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 03-11-2006, 14:13
อักษรกลาง ๙ ตัว “ไก่จิกเด็กตาย เด็กตายบนปากโอ่ง”

อธิบายว่า ไก่ก็คือ ก จิก คือ จ เด็ก คือ ด ตายคือ ต (ที่ต้องซ้ำ ๒ เที่ยวเพื่อให้รู้ว่า ยังมี ฎ ฏ) บน คือ บ ปาก คือ ป โอ่ง คือ อ อย่างนี้ก็จะได้อักษรกลางครบทั้ง ๙ ตัว



ท่องให้ถูก ท่องให้ถูก


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 03-11-2006, 14:14
อักษรกลางเป็นกลุ่มเดียวที่ใช้วรรณยุกต์ได้ครบห้าเสียงครับ อักษรสูง อักษรต่ำทำไม่ได้

คำว่า ค๊า มั๊ย ฮ๊า นู๋ ถึงเป็นคำที่ผิดไงครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 03-11-2006, 15:11
อย่าไปโทษการศึกษาให้มากนักเลยครับ คนที่เลยวัยศึกษาภาคบังคับมีมากกว่า ถ้ากลุ่มนี้กำหนดบทบาทของ
กลุ่มที่ต้องศึกษาแล้วจะเป็นยังไงครับ คนกลุ่มนี้ควรต้องมาดูตัวเองและปรับปรุงตัวเองให้ดีก่อน แล้วเจ๊เป็นคน
กลุ่มนี้ด้วยหรือเปล่า

เรื่องจิตใจที่พอเพียงมันก็มาจาก อายตนภายนอก มากระทบภายในแล้วไหลไปสมองให้รู้สึกมากไป น้อยไป หรือ
พอเพียง ถ้าร่างกายไม่เป็นทุกข์ สุขหรือทุกข์มันก็มาจากกระบวนการในสมองทั้งนั้น เหมือนเรื่องจิตใจที่พอเพียง
ที่สมองแต่ละคนเป็นสิ่งที่ให้ความรู้สึกกันเองไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์หรือสิ่งที่เข้ามากระทบอายตนภาย
ในนั่นเอง กำหนดเป็นมาตรฐานรวมไม่ได้ มันละเอียดเกินไป ต้องมาดูกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมในสังคมอย่างกว้างๆ ก่อน
เบื้องต้นก็คือกฎหมายครับ ถึงบอกว่าอย่าจินตนาการความถูกผิดของคนอื่นด้วยประสบการณ์ตัวเอง


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 15:18
ชา สพ.700 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา :::
วิชา สพ.700 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา

 วิชา สพ.700 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเป็นวิชาเลือกที่นักศึกษาทุกหลักสูตรทั้ง นักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนได้เป็นวิชาเลือก นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่มีความสนใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชานี้ได้เช่นเดียวกับนักศึกษาของสถาบัน
 โดยวิชานี้สามารถจะช่วยเป็นแนวทางให้นักศึกษาที่สนใจพัฒนากรณีศึกษาหรือการศึกษาอิสระในลักษณะภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ในเรื่องของหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนักศึกษาจะได้สร้างความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมาด้วยตนเอง ทำให้ได้รับความรู้และการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อีกด้วย  นอกจากนี้จะทำให้นักศึกษาได้เรียนการศึกษาด้านการพัฒนาของสาขาวิชาอื่นเป็นพื้นฐานการสร้างวิสัยทัศน์การพัฒนาที่เป็นบูรณาการได้

http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=404


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 15:20
เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

http://www.sufficiencyeconomy.org/detail.swf


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 15:23
หลายๆคำถาม  ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
ใครที่ยังไม่เข้าใจชัดเจน  อ่านได้จากเวบนี้นะคะ

http://www.sufficiencyeconomy.org/show.php?Id=7


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 03-11-2006, 15:25
รัฐบาลยังไม่เข้าใจครับ พอเพียงทำจากด้านบนไม่ได้ มันไม่ถึงด้านล่าง


หัวข้อ: Re: ทำไมแค่เรื่องง่ายๆ---- " จิตใจที่พอเพียง "-------ถึงทำไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 03-11-2006, 15:29
รัฐบาลยังไม่เข้าใจครับ พอเพียงทำจากด้านบนไม่ได้ มันไม่ถึงด้านล่าง


---- :slime_v: :slime_v:

แหมตั้งแต่ได้คุยกับคุณน้องแถ -----ประโยคนี้โดนใจนะ
ใช่เลย---