ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: snowflake ที่ 22-10-2006, 21:41



หัวข้อ: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 22-10-2006, 21:41
คุยกับนักปรัชญา: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย พิณผกา งามสม

“ทำอย่างงี๊ เลวไม่เลว พ่อแม่พี่น้อง”…..ประโยคคุ้นๆ ที่คุณอาจจะคุ้นเคยมาจากช่วง
ต้นปี เมื่อกระบวนการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร เริ่มก่อตัวขึ้น วาทกรรมความเป็นคนเลว
ของทักษิณนั้นถูกขยายและตอกย้ำจนกระทั่งกระตุกต่อมศีลธรรมของผู้ติดตามการเมือง
อย่างใกล้ชิดให้ปริออกเป็นการแสดงพลังบนท้องถนนอย่างยืดเยื้อยาวนาน

ภายหลังข้อมูลที่ถูกตีแผ่บนเวทีที่เรียกตนเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ประโยคคำถามที่ทรงพลังในการสะกิดศีลธรรมประจำตัวของผู้เข้าร่วมการชุมนุมอย่าง
รุนแรงคงหนีไม่พ้น เลวไม่เลว? และแน่นอน คำตอบที่ได้จากคนหมู่มากที่ชุมนุมอยู่ ณ
สถานที่แห่งเดียวกัน คำตอบนั้น คือ....เลววว

ในห้วงเวลานั้น ‘ประชาไท’ เคยสัมภาษณ์นักเขียนรุ่นใหญ่ผู้หนึ่งเกี่ยวกับรูปแบบและ
วิธีการที่ตั้งคำถามเชิงศีลธรรมเช่นนั้นของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ
ได้คำถามมุมกลับอันสำคัญประการหนึ่งคือ “ไม่เอาทักษิณ เอาพระเจ้าไหมล่ะ” แต่
เพื่อปกป้องความสงบแก่จิตวิญาณของผู้ให้สัมภาษณ์ ประชาไทจำต้องตัดคำถาม
ดังกล่าวทิ้งไป เนื่องด้วยคาดหมายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นภายใต้กระแสแห่งการขับไล่
ทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้น

ทว่า ภายหลังการรัฐประหารที่เฉดหัวผู้นำที่มีมาตรฐานทางศีลธรรมต่ำคนหนึ่งของ
เมืองไทยออกไปได้สำเร็จ แม้ประเทศไทยจะได้นายกรัฐมนตรีทีได้รับการการันตี
ว่าดีจริงจากผู้ที่สังคมไทยยกย่องว่าเป็นคนดี แต่การณ์ปรากฏว่า นักวิชาการและ
นักศึกษาจำนวนมาก (ที่ยังคงเป็นเสียงส่วนน้อยอยู่) กลับดาหน้าออกมาตั้งคำถาม
กับกระบวนการที่ประเทศไทยถีบนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งออกไป และ
ได้นายกรัฐมนตรีทีมาจากการการรัฐประหารแทน

มาตรฐานทางศีลธรรมของนักวิชาการและนักศึกษาพวกนี้ต่ำต้อยเกินไปหรือไร จึงไม่
อาจยอมรับผู้นำที่เป็นคนดี หรือว่าคนเหล่านี้ขาดความเชื่อมั่นในศีลธรรมของผู้ปกครอง
หรือระดับทางศีลธรรมของสังคมไทยยังไม่สูงส่งพอที่จะสนับสนุนให้คนดีได้ปกครอง
บ้านเมืองอย่างปราศจากข้อกังขา

‘ประชาไท’ ไปนั่งคุยกับ ดร. เกษม เพ็ญภินันท์  นักวิชาการด้านปรัชญา แห่งคณะ
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งพยายามจะบอกว่า การกล่าวหาผู้นำใน
ระบอบประชาธิปไตยด้วยข้อหาเรื่องระดับความดี-เลวนั้น คือการเล่นหมากคนละ
กระดาน เพราะที่สุดแล้ว ความดีกับระบอบประชาธิปไตยมันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน และ
ขอโทษ....การประณามคนอื่นว่าเลวนั้น ไม่ได้แสดงถึงระดับศีลธรรมที่สูงจัดของ
ผู้กล่าวประณามแต่อย่างใด

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5467&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 22-10-2006, 21:44
อ้างถึง
การประณามคนอื่นว่าเลวนั้น ไม่ได้แสดงถึงระดับศีลธรรมที่สูงจัดของ ผู้กล่าวประณามแต่อย่างใด

ตายจริง นี่ด่าทั้งไอ้เหลี่ยม และลิ่วล้อในบอร์ดการเมืองเลยนะคะเนี่ย ร้ายจริงๆ  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 22-10-2006, 21:55
ไอ้คนพวกนั้นมันสมองหมาปัญญาควาย  โดนสะกดจิตเหมือนดูหนังขายยานั่นแหละ

มันไม่รู้หรอกว่าเขาเล่นเกมส์อะไรกันอยู่ ทั้งหมดมันก็เป็นเพียงไพร่เบี้ยฝุ่นเมือง



กาลเวลาผ่านไปยันแก่ อ้ายและอี บางตัวมันยังไม่รู้เรื่องอีกนะนั่น

ว่าได้หลงเข้าไปในวังวนแห่งกลียุค สะเออะคิดไปว่าได้มีส่วนกู้ชาติ

 :slime_sentimental: :slime_sentimental: :slime_sentimental: :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: willing ที่ 22-10-2006, 22:01
ผมก็ ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน คับ Killer

ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ป่าว นะๆๆ  :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 22-10-2006, 22:03
การประณามคนอื่นว่าเลวนั้น ไม่ได้แสดงถึงระดับศีลธรรมที่สูงจัดของ
ผู้กล่าวประณามแต่อย่างใด



ดูเอาคนที่เห็นด้วยกับวลีนี้ เคยเที่ยวสั่งสอนศีลธรรมคนอื่นน่ะครับ หน้าไม่อายเลย เพิ่งเคยเห็นพุทธศาสนิกชนคนแรกที่ถามหาเครื่องวัดคุณธรรม

จุดอ่อนจุดแข็ง อะไรไม่สนใจค่ะ
ตราบเท่าที่มีแล้ว ไม่ไปทำร้ายใคร ก็พอใจ
และไม่เคยคิดว่าจะต้องสะสมจุดแข็งเอาไว้ในตัว
ให้มากๆ แต่ประการใด

ดิฉันเพียงเป็นพุทธศาสนิกชนที่พยายามถือศีลห้า

ที่ข้อหนึ่งมีว่า การฆ่าที่ดีนั้นไม่มี
ฆ่าคนเลวก็ไม่ถือเป็นการทำความดี
และเพียงแค่ “คิด” จิตก็เสื่อม
กลายเป็นเศร้าหมองแล้ว
ช่วยประดิษฐ์เครื่องวัดคุณธรรมที่แม่นยำให้ด้วยสิคะ
จะได้เอามาใช้วัดกับทุกคน
ใครไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งดีไหม?
แล้วอาจพบว่า คนจนและด้อยการศึกษามีคุณธรรม
ผ่านเกณฑ์ สมควรมีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า
คนที่มีเงินและความรู้มากกว่า ก็เป็นได้

 :slime_fighto:


คุณ snowflake จงประกาศมาตรงๆเถิด คุณคิด "อะไร" ในใจ จึงได้ไปสนับสนุนเว็บประชาไท


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 22-10-2006, 22:08
หลักการแบบธรรมราชา ที่สังคมไทยเชื่อมั่นยึดถืออยู่ไปกันได้กับการเมือง
ในยุคโลกาภิวัตน์หรือไม่


ผมคิดว่ามีการประดิษฐ์สร้างขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของความดี คนดี คนมี
ศีลธรรม เพื่อเป็นวาทกรรมที่โต้ตอบกับความรู้ความสามารถหรือความเข้าใจของ
ตัวผู้นำ หรือบทบาทของผู้นำในเวทีการเมืองระบอบประชาธิปไตย

แล้วความสำเร็จของการใช้คอนเซ็ปท์เรื่องคุณธรรมความดีต่างๆ เหล่านี้มันสัมฤทธิ์ผล
เมื่อการเมืองไทยยังตกอยู่ในโลกทัศน์ของการแบ่งแยก ดี-ชั่ว, ขาว-ดำ, เทพ-มาร
และนี่คือปัญหาใหญ่ของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน  ซึ่งด้านหนึ่งการกระทำเช่นนั้น
เป็นรูปแบบประชาธิปไตยในเชิง Substantive Democracy คือเชื่อว่ามีแก่นแท้บาง
อย่างที่รองรับกับเนื้อหาประชาธิปไตยโดยเฉพาะประเด็นเรื่องจริยศาสตร์ ที่มาตอบรับ
กับบทบาทของผู้นำทางการเมืองและรูปแบบของสังคมการเมืองที่เราเห็น

ปัญหาทั้งหมดสำหรับผม ก็คือการเมืองแบบนี้มันไม่เวิร์ก และขณะเดียวกันเราตกอยู่
ในกับดักของการฉ้อฉลต่อความเข้าใจต่อเนื้อหาความดี ศีลธรรม และจริยศาสตร์

ประเด็นที่คุณตั้งโจทย์ให้ผมก็คือว่า เวลาที่เราพูดถึงเนื้อหาทางการเมือง ผมคิดว่า
ปัญหาสำคัญที่สุดทางการเมืองมันไมได้อยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมความดีเพียงอย่าง
เดียว ปัญหาทางการเมืองคือการพูดถึงเรื่องความยุติธรรมทางสังคม รูปแบบการ
ปกครอง บทบาทของผู้นำและผู้ถูกปกครองและกลุ่มก้อนต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนทาง
การเมืองนั้นๆ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ การกำหนดทิศทางของสังคม

แต่ที่ผ่านมา การเมืองไทยมันไม่ได้เป็นการเมืองในเชิงที่เราสามารถกำหนดทิศทาง
ของสังคมได้ การเมืองไทยเป็นการเมืองของชนชั้นนำ และโครงสร้างอำนาจนิยมใน
สังคมไทยมันผลักดันในคนทุกส่วนวิ่งเข้าไปหาศูนย์กลางของอำนาจทางการเมือง

ปัญหาที่เกิดขึ้นมันไม่ได้มีการจัดการในเชิงผลประโยชน์ของสังคมและกำหนดทิศทาง
ให้สังคม คนในสังคมไม่ได้มีสิทธิ์เลือกทิศทางที่ตัวเองต้องการ แต่ถูกกำหนดมาบน
Power Play ของการเมืองของผู้นำ ถ้าคุณเข้าไปอยู่ในวงจรของการเป็นชนชั้นนำ
คุณก็มีบทบาทต่างๆ มากมาย แต่ขณะเดียวกัน คุณก็ไม่ได้นำเสนอทิศทาง รูปแบบ
การเมือง โดยเฉพาะทิศทางของนโยบายที่มีประโยชน์ต่อสังคม

ผมคิดว่าการเมืองไทยในช่วงสมัยอดีตนายกฯ ทักษิณ ได้สร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่
หรือเปลี่ยนทัศนคติคนไทยต่อการเมืองจำนวนหนึ่ง คือการพูดถึงนโยบายเป็นที่ตั้ง  

โอเค นโยบายดีหรือไม่ดี มีผลประโยชน์ทับซ้อนมีปัญหาอะไรต่างๆ เรารู้กันและเป็น
ปัญหาที่ต้องการแก้ไข แต่อย่างน้อยที่สุดสาระสำคัญพื้นฐาน คือการพูดถึงนโยบาย
ทางสังคม นั่นคือเนื้อหาที่ผมมองว่ามีความสำคัญและความสำคัญตรงนี้อาจจะช่วยให้
หลุดจากบ่วงกรรมของโลกทัศน์ขาวดำ โลกทัศน์ความดีความชั่วของการเมืองไทย

คือพูดอีกอย่างหนึ่ง การเมืองไทยควรจะพัฒนาไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Deliberative
Democracy หมายถึงมีกระบวนการต่างๆ ภายในระบบการเมืองซึ่งเอื้อให้เกิดประโยชน์
โดยรวมแก่สังคม และขณะเดียวกันก็มีกระบวนการต่างๆ สามารถที่จะได้รับการตรวจสอบ
ซักถามและมีบทบาทกับชีวิตจริงของคนในสังคมมากขึ้น เช่นเวลาที่เราพูดถึงตัวเรา
เราก็อาจจะพูดถึงปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพในฐานะที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่คุณสามารถแสดง
ออก เราอาจจะพูดถึงกระบวนการจัดการ การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ความโปร่งใส
ของขั้นตอนต่างๆ ของผู้บริหารประเทศ บทบาทสื่อที่จะนำความจริงมาเผยแพร่ หรือเรา
อาจจะพูดถึงทัศนคติที่จะแลกเปลี่ยน นี่คือสังคมของการตรวจสอบผ่านกระบวนการต่างๆ
ที่ได้รับการพิจารณาเป็นอย่างดี โดยที่ทุกคนมีสิทธิที่จะมีบทบาทเข้าไปแสดงความคิดเห็น
ใช้สิทธิเสรีภาพพื้นฐานและรวมทั้งการกำหนดเป็นนโยบาย และพร้อมๆ กันนั้นได้รับการ
ตรวจสอบด้วย

ผมเชื่อในสิ่งที่ จอร์จ ออเวล พูดว่า
Power Corrupt, Absolute Power Corrupt Absolutely.
หมายถึงว่าอำนาจนั้นนำไปสู่ความฉ้อฉล อำนาจสูงสุดย่อมนำไปสู่การฉ้อฉลที่ยิ่งใหญ่

ปัญหาของการเมืองมันไม่ใช่ปัญหาของการมีผู้นำที่ดี หรือผู้มีคุณธรรมหรือการที่มีใคร
บางคนที่มีอิทธิพลทางการเมืองขณะนี้บอกว่านายกฯ คนนี้เป็นคนดีและทุกคนเชื่อว่า
เป็นคนดี...นี่ไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตย นี่ไม่ใช่โลกการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย
การที่คุณบอกว่าคนๆ หนึ่งเป็นคนดีแล้วจบ คือเป็นคนดีแล้วคุณต้องดีตาม...มันไม่ใช่

สาระของกิจกรรมการเมืองมันไม่ใช่เรื่องเอาคนดีมาปกครองประเทศ แต่คือการตรวจสอบ
ดุลอำนาจ การ Check and Balance อำนาจทางการเมืองต่างหาก และนั่นคือเงื่อนไข
สำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยทำงานได้


ปัญหาเรื่องคุณธรรมความดี มันเป็นปัญหาทางจริยศาสตร์ ซึ่งเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่า
Conduct of Life ที่แต่ละคน Conduct ชีวิตตัวเองอย่างไรบนพื้นฐานของคุณธรรม
ความดี รู้เป้าหมายของการมีชีวิตอยู่

ในขณะที่ศีลธรรมนั้น ก็คือกฎเกณฑ์ข้อบังคับหรือแนวทางในการปฏิบัติ คือสิ่งที่เรา
เรียกว่า Moral Law

ส่วนจริยศาสตร์เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานส่วนตัวบุคคลมากกว่าที่จะเป็นปัญหาของ
สังคม เพราะเนื้อหาของสังคมนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาที่คนอยู่ร่วมกันก็คือเรื่องความ
ยุติธรรม แน่นอนว่าความยุติธรรมไม่ได้แยกขาดจากเรื่องของคุณธรรมความดี แต่ว่า
สาระของความยุติธรรมมันขยายขอบเขตมากกว่าปัญหาของบุคคล ความยุติธรรมเป็น
ปัญหาของสังคมทั้งสังคมร่วมกันซึ่งคนจะแสดงสิทธิเสรีภาพอย่างไรในการที่จะอยู่
ร่วมกัน นี่คือปัญหาพื้นฐาน เป็นปัญหารากฐานของปรัชญาการเมือง

ปรัชญาการเมืองเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างคนกับชุมชนทางการเมือง ซึ่งจะวาง
คำตอบให้กับความยุติธรรมอย่างไร งานในเพลโต The Republic ตอบได้ชัด เพลโต
เริ่มตั้งคำถามว่า ความยุติธรรมคืออะไร และเราจะมีรูปแบบทางการเมืองอย่างไรที่จะ
รักษาความยุติธรรมนั้นให้ดำรงอยู่ในสังคม หมายความว่าคนทั้งสังคมอยู่ร่วมกันอย่าง
สงบสุข


แต่ทำไมประเด็นคุณธรรมความดีจึงไปกันได้กับสังคมการเมืองไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประธานองคมนตรีออกมารับรองว่า พล.อ.สุรยุทธ์
จุลานนท์ เป็นคนดี แล้วทุกอย่างจบ


อย่างที่ผมบอกตั้งแต่ต้นว่า สังคมไทยนั้นอยู่บนโลกทัศน์ของการเมืองขาวดำ การเมือง
แห่งความดีความเลว ผมไม่อยากใช้คำว่าความดีกับความชั่วในฐานะ Good กับ Bad
คือในโลกความเป็นจริง เทววิทยาของความคิดนั้นคนเราหลุดไม่พ้นจากโลกทัศน์เรื่อง
ความดีความชั่ว

แต่ผมใช้คำว่าความดีกับความเลว ในความหมายของ Good กับ Evil เวลาเราพูดถึง
ความดีความเลวนั้นเราพูดในแง่ของการตัดสินคุณค่าทางคุณธรรม

ในการเมืองนั้นโลกทัศน์ที่อยู่พื้นฐานของความดีความเลวมีนัยยะของ Moral Judgment
คือการตัดสินคุณค่าในเชิงศีลธรรม


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 22-10-2006, 22:12
ผมขอถามย้ำอีกที

คุณ snowflake  คุณคิด "อะไร" ในใจ จึงได้ไปสนับสนุนเว็บประชาไท


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: No_Tuky ที่ 22-10-2006, 22:25
"สาระของกิจกรรมการเมืองมันไม่ใช่เรื่องเอาคนดีมาปกครองประเทศ แต่คือการตรวจสอบ
ดุลอำนาจ การ Check and Balance อำนาจทางการเมืองต่างหาก และนั่นคือเงื่อนไข
สำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยทำงานได้"

หมอนี้ตกขอบไปแล้ว เอาโจรมาครองเมือง ยังบอกว่าไม่ใช่สาระ  :slime_cool: :slime_cool: :slime_cool:

เราไม่สามารถทำให้ทุกคนเป็นคนดี แต่หากอยู่ที่ เราต้องส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้านเมือง ไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจและก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

ดีไม่ดี ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับแต่ละคนบุคคลทั้งหมด คนเราเกิดมาได้เพราะมีจริยธรรม คือ ศีล 5 ครอบพร้อม มะต้องถามใครหรอกว่าอะไรดีไม่ดี ถามจิตใต้สนึกของตัวเองนั่นล่ัะ

ถ้าไม่รู้ว่าอะไรดีไม่ดี ก็สมควรเงียบเฉย ๆ ดีกว่า  :slime_cool: :slime_cool: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 22-10-2006, 22:28
ออกตัวก่อนว่าผมไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร... :mrgreen:

แต่สำหรับประชาธิปไตยที่ขับเคลื่อนด้วย "ความเลว" และ "คนเลว"...มีใครต้องการอย่างนั้นอยู่ใช่ไหม?


ผมไม่เคยต้องการรัฐบาลที่มาจากการล้มรัฐธรรมนูญ..แต่ผมไม่เคยลืมวันที่ประเทศชาติเดินเข้าไปสู่ทางตัน หาทางออกไม่ได้เลย ไม่มีใครยอมเสียสละสักคน


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 22-10-2006, 22:36
แนะนำให้อ่าน  

รัฏฐาธิปัตย์ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์  (http://forum.serithai.net/index.php?topic=9155.msg127129#msg127129)
(หลายๆรอบครับจะได้รู้ว่า รัฐต่างจากโจร อย่างไร) หรือจะอ่าน

สิทธิในการทำรัฐประหาร โดย เขียน ธีระวิทย์
 
 (http://forum.serithai.net/index.php?topic=8999.0) 
ประเทศใดก็เป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ถ้าขาด "หลักนิติธรรม" โดย อ.อัมมาร์ สยามวาลา  (http://forum.serithai.net/index.php?topic=8855.0)

ก็ได้ :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 22-10-2006, 22:39
นี่ก็แสดงว่ายังคิดไม่ตก ตีประเด็นไม่แตกน่ะสิ

คุณเคยไปรับรู้ตื้นลึกหนาบาง อะไรวงในมางั้นหรือ

ถึงได้ไปตัดสินว่าใครดี ใครเลว.???

ไม่ใช่หรือเปล่า ...คุณเพียงได้รับข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมาจากสื่อใช่หรือไม่ ??

หรืออย่างมากก็จากคำบอกเล่าจากผู้อื่น (ถ้าคุณประสบพบเห็นมาด้วยตัวเอง ก็เชิญไปเป็นพยาน

เอาผิด หรือไม่ก็ฟ้องร้องดำเนินคดีกับดร.ทักษิณได้เลย)



ถ้าไม่ใช่เสียแล้ว...นี่แสดงว่าคุณใช้ข้อมูลจากสื่อฯ มาเป็นตัวตัดสิน


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 22-10-2006, 22:40
ความต้องการของประชาชนเป็นกฏหมายที่ดีที่สุด.

The need of people that's the best law. :slime_v:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 22-10-2006, 22:44
ดร.เกษม และเจ้าของกระทู้ กำลังใช้มุข "แกล้งเซ่อ" ถามหา check & balance (หรือการตรวจสอบ) ซึ่งระบบตรวจสอบมันได้ถูก "คนชั่ว" ครอบงำ หยุดทำงานไปเรียบร้อยแล้วในสมัยที่คุณมีผู้นำที่ดร.เกษม และ เจ้าของกระทู้ เชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็น สภาผู้แทนราษฎร 377, สตง., ปปช., ปปง., วุฒิสภา ฯลฯ

เป็นที่น่าสังเกตว่า คุณ snowflake ลึกๆแล้วต้องการ "อะไร" ของง่ายๆแค่นี้เหตุใดจึงไม่กล้าตอบตรงๆ ทำไม?


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 22-10-2006, 22:54
มันมาจากไหน ทำไมสังคมไทยจึงอยู่กับความดี-เลว ขาว-ดำ

มันมาจากพื้นที่ฐานที่คุณเลือกยืนอยู่บนความดี คือการที่คุณอ้างตัวเองว่าเป็นคนดี
คุณสามารถบอกว่าคนเลวเป็นอย่างไร ชัยชนะอันหนึ่งของการเมืองในเชิงของ
จารีตประเพณีคือชัยชนะที่คุณวางสถานะของตัวเองบนจุดยืนของความดี
ดังนั้น
เมื่อคุณใช้จุดยืนของความดี คุณบ่งบอกว่าอะไรที่ไม่ดีก็คือสิ่งที่เลวอย่างชัดเจน แล้ว
มันมีรูปธรรมที่ชัดเจนมาตลอดในสังคมไทยก็คือ ปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่น ปัญหาเรื่อง
ผลประโยชน์ทับซ้อน ปัญหาเรื่องของการแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลหรือ
การไม่กระทำตามกติกาของสังคม

แล้วคนที่ออกมาต่อต้านทักษิณก็ออกมาเรียกร้อง แล้วเป็นข้อเรียกร้องที่ง่ายต่อการ
ยอมรับจากสังคม แต่ไม่ได้มองทะลุผ่านไปถึงว่าไอ้ขั้นตอนเหล่านี้ เราจะไปตรวจสอบ
อย่างไร  คือไม่ได้ให้กระบวนการประชาธิปไตยทำงาน

ตอนนี้เรากำลังพูดถึงระบอบหรือระบบทั้งระบบ เวลาเราพูดถึงปัญหานี้ มันไม่ใช่ปัญหา
เฉพาะตัวบุคคล แต่มันคือปัญหาของระบอบที่จะต้องสร้างรากฐานให้การตรวจสอบนั้น
ทำงานได้

ผมไม่เชื่อว่าคนดีและคนเลวจะมีความแตกต่างกันเมื่อคุณเข้าไปอยู่ในวังวนแห่งอำนาจ
เพราะอย่างที่ผมบอกแล้วอำนาจมันฉ้อฉล การฉ้อฉลของอำนาจก็คือการที่คุณไม่รู้ว่าใน
การตัดสินใจกระทำการอันใดอันหนึ่ง ผลมันคืออะไร เพราะคุณควบคุมผลที่ออกมาไม่ได้

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องของเจตนาหรือความเป็นคนดีของคุณเพราะคุณธรรมของ
ผู้ปกครองหรือคุณธรรมของผู้นำมันไม่ได้อยู่บนพื้นฐานว่าคุณเป็นคนดีหรือเป็น
คนเลวแต่อยู่บนพื้นฐานที่คุณจะจัดการเหตุผลในการดำรงอยู่ของรัฐ หรือจัดการ
อย่างไรให้รักษาอำนาจและก่อประโยชน์สุขให้สังคมการเมืองได้ดีที่สุด


เมคคีเวลลีสอนไว้อย่างนั้นว่า เป้าหมายของผู้นำคือการรักษาอำนาจของตนเองและทำ
ให้สังคมสงบสุข เพราะสังคมสงบสุขนั้นก็คือทุกอย่างอยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ชีวิตทุกคนมีความสุขนั่นคือคุณธรรมของผู้ปกครองซึ่งแตกต่างจากคุณธรรมส่วนบุคคล

เวลานี้ การเมืองมันพัฒนาไปสู่การวางพื้นฐานหลักการทางสังคม ครรลองหรือกติกาจะ
เป็นตัวที่เข้ามากำกับหรือมาตรวจสอบกระบวนการต่างๆ ในทางการเมืองเอง

ผมคิดว่าพัฒนาการที่เกิดขึ้นก่อนรัฐประหารนั้น ระบบหรือครรลองประชาธิปไตยกำลัง
ทำงานอยู่ สิ่งที่มันทำได้ดีที่สุดก็คือความเห็นที่แตกต่าง  เพราะว่าบนพื้นฐานของระบอบ
ประชาธิปไตย การที่คุณมีสิทธิเสรีภาพเฉพาะส่วนบุคคล มันหมายถึงว่าคุณสามารถที่จะ
แสดงความคิดเห็นของตัวเองและความเห็นของคุณกับผมก็ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน
ไม่ต้องเห็นตรงกัน ความแตกต่างคือสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

แต่ปัญหาที่สำคัญของความแตกต่างก็คือการยอมรับความแตกต่าง สังคมไทยไม่
ยอมรับความแตกต่าง ผมคิดว่านี่คือปัญหาใหญ่ที่สุด และการไม่ยอมรับความแตกต่าง
ทำให้กติกาหรือครรลองหรือหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยไม่ทำงานอย่างที่ควร
จะเป็น และขณะเดียวกันคุณ Abuse ความแตกต่างด้วยเรื่องของความสมานฉันท์
ความสมานฉันท์ของสังคมไทยคือการสมานฉันท์บนพื้นฐานของความมั่นคงของรัฐ
ซึ่งคุณไม่มีสิทธิที่จะเห็นต่าง


แต่ในทุกๆ รัฐก็ต้องพยายามหาจุดร่วมกันเพื่อให้ประชาชนมีความสำนึก
เรื่องความเป็นชาติร่วมกันไม่ใช่หรือ


ก็ใช่ แต่ที่ผมพูดถึงเรื่องความแตกต่างนั้น ผมพูดบนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพที่จะเห็นต่าง
ตามสิทธิของสังคมประชาธิปไตย คือทุกคนต้องมีสิทธิที่จะเห็นต่าง แต่ในท้ายที่สุดแล้ว
คุณต้องยอมรับความแตกต่างเช่น ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่ผมต้องเคารพทัศนะของคุณ

ทีนี้ ความแตกต่างทางทัศนะทางการเมืองก็ถูกจัดการด้วยกระบวนการบางอย่าง เช่น
การเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง คือไม่ว่าคุณจะชอบ
คนนี้หรือไม่ชอบ แต่ถ้าคุณแพ้การเลือกตั้งคุณก็ต้องยอมรับโดยกติกาว่า คนที่คุณ
สนับสนุนไม่ได้รับเลือก คนที่คุณไม่เห็นด้วย คุณไม่ชอบนโยบายของเขาได้รับเลือก
เข้าไป คุณก็ต้องยอมรับ

ในท้ายที่สุดกติกาเป็นตัวกำหนด ถ้าพูดตรงๆ พรรคฝ่ายค้านหรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ
นโยบายของรัฐบาลทักษิณนั้น ประการหนึ่ง เขารู้ว่าเขาแพ้ในการเลือกตั้ง เพราะอะไร
เพราะประชาธิปไตยมัน Count (นับ) เสียงของคุณ เสียงของคนเดินถนน ฯลฯ
ไม่ว่าคุณจะมีฐานะสูงศักดิ์อย่างไรก็ตาม แต่ก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน
นั่นคือกติการ่วมกันในสังคมประชาธิปไตย แต่สังคมการเมืองไทย
กลับมีการ discredit การนับเสียงแบบนี้


ในภาษาอังกฤษนั้น คำว่า Count (การนับ) กับ account (การให้ค่า) ถ้าคุณตัด ac
ออก มัน interplay ระหว่างกันอยู่ ในการอภิปรายประเด็นประชาธิปไตยนั้น แน่นอนว่า
count เสียง แต่อะไรบ้างที่คุณจะ take into account

แต่ประเด็นที่ผมจะชี้ก็คือ กติกาประชาธิปไตยมันมีอยู่ มันเซ็ตการยอมรับความแตกต่าง
ให้เกิดขึ้นถ้ากติกาบอกว่าการเลือกตั้งคือตัวชี้วัดว่าคุณต้องยอมรับ คุณก็ต้องลงมาที่
การเลือกตั้ง แล้วถ้าฝ่ายที่คุณสนับสนุนแพ้ คุณจะทำอะไร คุณก็ต้องตรวจสอบไป
ก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ไป  

ปัญหาคือคุณต้องเคารพบุคคลที่ได้รับเลือกเข้ามาเพราะว่ามีคนเห็นต่างจากคุณเป็น
จำนวนมาก และคนจำนวนมากเขาเลือกเพราะว่าเขาเห็นเขารู้ว่ามันมีผลดีอย่างไร
ถ้าเขาเลือกคนๆ นี้

ตัวอย่างอันหนึ่งผมคิดว่ามันมีกรณีการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริการะหว่างหว่างกอร์
กับบุช ผมคิดว่าผมคิดว่าในช่วงก่อนการเลือกตั้งนั้นสังคมอเมริกาแยกเป็น 2 ฝ่าย
อย่างชัดเจน เพราะว่าบุชชนะใน Electoral Vote ในขณะที่ กอร์ ชนะใน Popular
Vote แล้วปัญหาเกิดที่ฟลอริดา ตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดี ในท้าย
ที่สุด ตุลาการชี้ว่าบุชชนะ ซึ่งเราก็ทราบปัญหาเรื่องนี้กันอยู่บ้างแล้ว ประเด็นก็คือว่า
เมื่อบุชชนะ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า Final Decision มันเกิด ท้ายที่สุดสังคมก็ต้อง
ยอมรับว่าบุชชนะ เป็นประธานาธิบดี

โอเค คุณไม่ชอบคุณก็มาถกเถียงเชิงนโยบาย ในการบริหารงานของบุช ก็ตรวจสอบ
ไปสิ แน่นอนคนไม่เห็นด้วยกับสงครามอิรัก หรือ War against terrorism จำนวนมาก
คนเหล่านี้ก็เป็นเสียงที่ดังในสังคม


แต่อาจารย์บอกว่าถ้าแพ้ก็ตรวจสอบไป ที่ผ่านมาฝ่ายพันธมิตรฯ ก็ตรวจสอบ
เหมือนกัน


สำหรับผม ผมคิดว่าที่ผ่านมาพันธมิตรฯ ไม่ได้ตรวจสอบ  การตรวจสอบที่ดีคือการที่คุณ
ตรวจสอบบนข้อมูลข่าวสารและพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้อง สิ่งที่พันธมิตรฯ ทำ ผมคิดว่า
เป็นการใส่ความมากกว่า  คือผมฟังในสิ่งที่พันธมิตรปราศรัย ผมไม่สามารถหาแก่นสาร
ข้อเท็จจริงและความรู้ทางการเมือง

สิ่งที่พันธมิตรทำคือการสร้าง Political Sentiment (อารมณ์ทางการเมือง) เป็น
การเมืองของความดีความชั่ว คือพยายามจะบอกว่าทักษิณเลวอย่างไร แล้วก็โดยที่
ทุกคนเข้าใจว่าสิ่งที่พันธมิตรทำ คือความถูกต้องและความดี โดยที่คุณให้ร้ายเหยื่อ
ของคุณเอง เหยื่อของคุณก็คือรัฐบาลทักษิณ โดยที่คุณไม่ได้ให้ข้อมูลหรือความรู้แก่
สังคมในเรื่องนั้นๆ คุณมีประเด็นมากมายที่คุณพูดถึง แต่ปัญหาคือเราไม่เคยเห็น Fact
หรือข้อเท็จจริงในสิ่งเหล่านั้นว่ามันคืออะไร และสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือคุณทำหน้าที่เป็น
ผู้ตัดสิน คุณเป็นผู้พิพากษาของสังคมต่อรัฐบาลทักษิณ ผ่าน Sentiment คุณบอกว่า
ระบอบทักษิณมันเลว เป็นทรราช เป็นอะไรต่างๆ ผมคิดว่าทั้งหมดนี้เป็น Judgment
ที่คุณให้

แล้วประเด็นหนึ่งที่พันธมิตรทำและเลวร้ายที่สุดก็คือ ทำให้คนไม่สามารถแยกแยะได้
ระหว่างปัญหา
ที่รัฐบาลทักษิณสร้างขึ้น และไม่สามารถตอบปัญหาเรื่องความโปร่งใส
กับปัญหาของระบอบประชาธิปไตยเอง

ปัญหาของระบอบทักษิณคือปัญหาภายในระบอบประชาธิปไตยซึ่งทางแก้ก็คือทำให้
กลไกเหล่านั้นทำงาน และผมคิดว่าในช่วงเวลาทีผ่านมาตลอดปีนี้ มีความพยายามปรับ
แก้เงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้กลไกเหล่านั้นได้ทำงาน ผมคิดว่ามันมีความพยายามจำนวน
มาก ดีหรือไม่ดีก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างน้อยที่สุดมันเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้
ต้องทำงาน แล้วกติกาของสังคม และความสงบเรียบร้อยของสังคมจะเกิดขึ้นได้ เมื่อ
กลไกประชาธิปไตยทำงานจริงๆ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ว่าในท้ายที่สุดมันไม่ได้เกิด ไม่ใช่แค่เพราะการรัฐประหารเท่านั้น แต่ผมคิดว่าสิ่งที่
เลวร้ายพอๆ กับการรัฐประหารก็คือ Sentiment (การใช้อารมณ์) ของสังคมที่
ทำให้การเมืองเป็นการเมืองขาวดำหรือการเมืองของดีเลว มันกำหนดการตัดสิน
ทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัดโดย
ปราศจากความเข้าใจ ครรลองหรือกติกาพื้นฐาน
ของระบอบประชาธิปไตย และขณะเดียวกันเนื้อหาของประชาธิปไตยถูก Abuse โดย
สิ่งที่เรียกว่า Political Sentiment อย่างมาก


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 22-10-2006, 22:58
 :slime_bigsmile:  :slime_smile2:   :slime_bigsmile:

เว็บบอร์ดที่เชลียร์ทักษิณ ก็ย่อมจะต้องเลือกสัมภาษณ์คนที่เชลียร์ทักษิณ


คงจะต้องรอชาติหน้าตอนบ่ายๆนะ ที่เว็บบอร์ดที่เชลียร์ทักษิณ จะไปขอสัมภาษณ์

ด๊อกเตอร์คนที่คิดวลีว่า คนดี ไม่มีเสื่อม   :slime_v:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 22-10-2006, 23:04
คุณ snowflake คุณมี "ความกล้าหาญ" หรือไม่ ที่จะตอบมาตรงๆว่า คุณต้องการ "อะไร" .... มากไปกว่าการตัดแปะ แล้วแอบอยู่หลังความเห็นของผู้อื่น ??

ผมคิดว่า "สนธิ ลิ้ม" เป็นเพียง "เป้าลวง" ของคุณ snowflake


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 22-10-2006, 23:07
ดูเหมือนจะมี อยู่ 2 หลักการที่พูดถึงในบทสัมภาษณ์

1.หลักการแบบธรรมราชา
2.หลักการแบบประชาธิปไตย

ผมไม่คิดว่าจะมีอันใดอันหนึ่งดีกว่าอีกอันหนึ่ง

เรื่องแบบนี้ถ้ามีสูตรสำเร็จโลกเราคงไม่วุ่นวายเหมือนทุกวันนี้


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: No_Tuky ที่ 22-10-2006, 23:16
ดูเหมือนจะมี อยู่ 2 หลักการที่พูดถึงในบทสัมภาษณ์

1.หลักการแบบธรรมราชา
2.หลักการแบบประชาธิปไตย

ผมไม่คิดว่าจะมีอันใดอันหนึ่งดีกว่าอีกอันหนึ่ง

เรื่องแบบนี้ถ้ามีสูตรสำเร็จโลกเราคงไม่วุ่นวายเหมือนทุกวันนี้

ด. เด็กกวางเหมง ถูกเผง พวกตกขอบนี่ขอบเขียนอะไรขอบ ๆ อ่านแล้วน่าเบื่อหน่ายจริง ๆ พับเผื่อย  :slime_sleeping: :slime_sleeping: :slime_sleeping:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 22-10-2006, 23:32
ที่บอกว่าพันธมิตรสร้างอารมณ์ทางการเมืองมันก็ใช่
คุณสนธิอาจจะใช้วิธีแบบพาดหัว นสพ. ที่มันต้องเร้าใจถึงจะขายออก

แต่คนที่ต่อต้านทักษิณไม่ได้มีแต่พันธมิตร
นักวิชาการหลายคนพยายามจะชี้ให้เห็นปัญหาที่แท้จริง(ระบอบทักสิน)
แต่มันฟังดูน่าเบื่อ ไม่เร้าใจเท่าสนธิ


ผมว่าอาจารย์ท่านนี้พยายามตัดต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นให้ตรงกับทฤษฎีที่แกท่องมามากไปหรือเปล่า  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 22-10-2006, 23:45
เลิกยึดคนเป็นศาสดา ให้ดูที่การกระทำ
จะเห็นด้วยไม่เห็นด้วย ก็พิจารณาเอาด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง
ไม่ใช่เชื่อที่ตัวบุคคล
ว่าถ้าคนนี้บอก ต้องเชื่อทุกอย่าง
บอกดีเป็นดี บอกเลวเป็นเลว

หัดคิดพิจารณาด้วยตัวเองบ้าง
ยังไงคนเราก็ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ถึงจะบอกหรืออ้างว่าทำตามท่านผู้รู้ดี

ประชาชนคนธรรมดาไม่ได้เป็นทหาร
ที่ฟังแต่คำสั่งผู้บังคับบัญชา
โดยไม่คิดหรือใช้สำนึกของตัวเอง
(แนะนำให้ไปดู A Few Good Men)

ไม่มีใครทำถูกทุกอย่างในทุกกรณี
มนุษย์ปุถุชน ไม่ใช่เทวดาหรือพระเจ้า
อย่าหลงเชื่อนับถือใครโดยงมงาย

คนเราเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีอำนาจ
ไม่มีมาตรวัดศีลธรรมที่ชัดเจน
จึงต้องสร้างระบบที่สามารถตรวจสอบได้เป็นรูปธรรม
จะดูบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังเข้าสู่อำนาจ
หรือเชื่อคำรับพูดรองว่า คนดี ไม่มีโกง?


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 23-10-2006, 00:01
ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม

ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 23-10-2006, 00:03
เลิกยึดคนเป็นศาสดา ให้ดูที่การกระทำ
จะเห็นด้วยไม่เห็นด้วย ก็พิจารณาเอาด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง
ไม่ใช่เชื่อที่ตัวบุคคล
ว่าถ้าคนนี้บอก ต้องเชื่อทุกอย่าง
บอกดีเป็นดี บอกเลวเป็นเลว

หัดคิดพิจารณาด้วยตัวเองบ้าง
ยังไงคนเราก็ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ถึงจะบอกหรืออ้างว่าทำตามท่านผู้รู้ดี

ประชาชนคนธรรมดาไม่ได้เป็นทหาร
ที่ฟังแต่คำสั่งผู้บังคับบัญชา
โดยไม่คิดหรือใช้สำนึกของตัวเอง
(แนะนำให้ไปดู A Few Good Men)

ไม่มีใครทำถูกทุกอย่างในทุกกรณี
มนุษย์ปุถุชน ไม่ใช่เทวดาหรือพระเจ้า
อย่าหลงเชื่อนับถือใครโดยงมงาย

คนเราเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีอำนาจ
ไม่มีมาตรวัดศีลธรรมที่ชัดเจน
จึงต้องสร้างระบบที่สามารถตรวจสอบได้เป็นรูปธรรม
จะดูบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังเข้าสู่อำนาจ
หรือเชื่อคำรับพูดรองว่า คนดี ไม่มีโกง?

เห็นด้วย..
โดยเฉพาะที่บอกว่า ไม่มีใครทำถูกทุกอย่างในทุกกรณี

แต่ผมยังคิดว่าทำนองเดียวกันก็ไม่มีสูตรสำเร็จของวิธีการในการปกครองประเทศที่ดีที่สุดสำหรับทุกรัฐ ทุกวัฒนธรรม

ยิ่งเป็นแบบที่มีหลักการดีๆ อย่างประชาธิปไตยก็ยิ่งอันตราย อาจจะหลงไปกับอะไรแปลกๆ
ที่ใส่ซองสำเร็จรูปหน้าซองแปะตราประชาธิปไตย ฉีกซองเติมน้ำรัปประทานได้ทันที

อิรักมีการเลือกตั้งแล้ว เรายังไม่มี

เราอยากมีการเลือกตั้ง แต่เราไม่อยากเป็นแบบอิรัก



หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 23-10-2006, 00:06
ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม

ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ


เห็นด้วยครับ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 23-10-2006, 00:08
ตามที่ผมเข้าใจหยาบๆ ก็คือให้เลิกหวังพึ่งตัวบุคคล
แล้วหันมาใช้ระบบที่ดี ควบคุมให้คนทำสิ่งที่ดี เพื่อส่วนรวม

ประมาณนี้..


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 23-10-2006, 00:14
ตามที่ผมเข้าใจหยาบๆ ก็คือให้เลิกหวังพึ่งตัวบุคคล
แล้วหันมาใช้ระบบที่ดี ควบคุมให้คนทำสิ่งที่ดี เพื่อส่วนรวม

ประมาณนี้..

นั่นแค่ผิวหน้า "เจตนา" ของคนเขียนบทความและเจ้าของกระทู้ ผมมั่นใจว่าไม่ใช่แค่นั้นครับ ลองต่อภาพดูดีๆ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: อังศนา ที่ 23-10-2006, 08:49
(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/red-lil-flower.gif)

ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม

ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ



คำถามที่ตรงความรู้สึกที่สุดค่ะ.. ขอ copy!   :slime_fighto:

(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/pink_flowers.gif)


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 23-10-2006, 10:51
ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม
ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ

เห็นด้วยครับ

ยอดเยี่ยมมากครับ
ใครจะแย้งเชิญครับ

 :slime_agreed: :slime_agreed: :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 23-10-2006, 11:06
เห็นด้วยกับคุณ login not found
พวกที่ยึดมั่นประชาธิปไตยจนจะกอดคอกันไปตาย คงลืมไปแล้วว่าที่เรานิยมประชาธิปไตย
เพราะว่ามันได้พิสูจน์ตัวเองในประวัติศาสตร์โลกแล้วว่าเป็นระบอบการปกครองที่ "เลวน้อยที่สุด" เท่าที่เคยมีมา

ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ใช่แค่การปกครองที่เป็นแค่ "อำนาจเป็นของปวงชน" แบบด้วนๆ ทู่ๆ
หากแต่ต้องประกอบจากสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ประชาธิปไตย เป็น "ประชาธิปไตยที่ดี"
ไม่ว่าจะระบบตรวจสอบถ่วงดุล(ที่ทำงานได้)ก็ดี ความเป็นนิติรัฐก็ดี
และโดยเฉพาะในเมืองไทยเมืองพุทธ คุณธรรมและศีลธรรมก็เป็นส่วนประกอบหลักใน "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ"
อย่าอ้่างโดยจินตนาการว่าประเทศอื่นเขาไม่มีคุณธรรมศีลธรรมกำกับ บอกได้เลยว่านักการเมืองเขามีความละอายมากกว่าเมืองไทยเยอะ
โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป แค่ความผิดลหุโทษ รัฐมนตรีเขาก็ลาออกกันง่ายๆ แบบไม่ต้องขับไล่อะไรด้วยซ้ำ

และเรื่องการเคารพที่เขียนมานั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างมาก มันกลายเป็นว่าเราต้องเคารพ "ลูกจ้าง" ที่พวกเราเลือกมาบริหารประเทศ
ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องเคารพ โดยเฉพาะหากทัศนะของเรายังมองนักการเมืองคนนั้นเป็นคนเลวที่ไม่น่าเคารพอยู่
แม้แต่ประเทศอเมริกาประชาธิปไตยสุดๆ ก็ยังขายเสื้อ T-shirt "ฟักบุช" กันบนเนทแบบสบายๆ
แล้วเราไปเอาแนวความคิดบ้าๆ ที่ว่า "เราต้องเคารพนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมา" มาจากไหนกันหรือ?


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 23-10-2006, 11:09
ศิโรราบกูเดี๋ยวนี้ไอ้ขี้ข้า
กูเรียนมากูเรียนสูงกูเรียนเก่ง
ประชาธิปไตยต้องของกูกูว่าเอง
มีเป็นเข่งรัฐธรรมนูญฉบับกู

ประชาธิปไตยต้องของฝรั่งเศษ
ครองประเทศต้องอังกฤษกูเรียนรู้
อเมริกาประชาธิปไตยเทียบชั้นครู
มึงอย่าตู่ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ (ไม่มีโว้ย)

ศิโรราบกูเดี๋ยวนี้ไอ้พวกโง่
อย่าได้โงหัวขึ้นมาอย่าสงสัย
รอให้ฟ้าสีทองส่องอำไพ
ประชาชน (ที่ตามกู) จะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

ประชาธิปไตยไทยแท้ไม่เคยมี
ฝรั่งชี้ดีอย่างไรกูเชื่อสิ้น
กูด็อกเตอร์กูอาจารย์กูศิลปิน (เดี่ยว)
กูหากินกับซากศพคำว่าประชาธิปไตย





หมายเหตุ ขออนุญาตใช้ศัพท์บางคำที่อาจไม่เหมาะสม เพื่อให้รับกับอารมณ์กลอน


ขอก็อปแปะข้ามห้องหน่อยน่า admin รูปหล่อ อิอิ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 11:39
คาถาป้องกันการรับฟัง/หลงเชื่อ ความเห็นของนักวิชาการ
นอกจาก บ้าตำราทฤษฏี บ้าฝรั่ง
หรือหนักกว่านั้นก็ ยัดเยียดให้เลยว่าต้องเป็นพวกไม่หวังดี
มีวัตถุประสงค์แอบแฝง หรือเป็นพวกทักษิณ
ทำนองเดียวกับสมัยก่อนที่อยากกำจัดใครก็ว่าเขา
เป็นพวกคอมมิวนิสต์ ...

ทั้งหมดนี้ไม่ได้แสดงอะไร นอกจากความขลาดกลัว
ในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ไม่เข้าใจ

สังคมอุดมปัญญาหรือว่าความเชื่อที่ไม่ต้องการการพิสูจน์
ที่เราต้องการให้เป็น?

 :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 11:42
ขอความกรุณาเพื่อนๆ อ่านบทความให้จบ ก่อนที่จะเขียนแสดง คคห. ได้ไหมคะ?
แต่ถ้าไม่อยากอ่านก็คงไปห้ามหรือบังคับอะไรไม่ได้ เพราะเป็นเสรีภาพของท่าน
และเข้าใจได้ว่าความยึดมั่นถือมั่นในความคิดของคนเราว่าถูกต้อง
ไม่ต้องการแปรเปลี่ยนนั้นมันมากมาย คงได้แต่บอกว่าเสียดายและหวังว่า
จะมีท่านที่ไม่กลัวกับการ “ทดสอบ” หรือความท้าทายในการรับฟังความคิดเห็นอื่น
ที่คิดว่าแตกต่างหรือตรงข้ามกับสิ่งที่เชื่อและยึดถืออยู่อย่างสิ้นเชิง

ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทั้งหมดหรือตรงข้ามทั้งหมด
แต่เปิดใจรับฟังมุมมองอื่นบ้าง ใช้เหตุผลอย่างที่ควรจะมี
น่าจะดีกว่าใช้ความรู้สึกตัดสินว่าคนนั้นคนนี้เลว พูดอะไรคงต้องผิดไปหมด


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 11:47
และเรื่องการเคารพที่เขียนมานั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างมาก มันกลายเป็นว่าเราต้องเคารพ "ลูกจ้าง" ที่พวกเราเลือกมาบริหารประเทศ
ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องเคารพ โดยเฉพาะหากทัศนะของเรายังมองนักการเมืองคนนั้นเป็นคนเลวที่ไม่น่าเคารพอยู่
แม้แต่ประเทศอเมริกาประชาธิปไตยสุดๆ ก็ยังขายเสื้อ T-shirt "ฟักบุช" กันบนเนทแบบสบายๆ
แล้วเราไปเอาแนวความคิดบ้าๆ ที่ว่า "เราต้องเคารพนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมา" มาจากไหนกันหรือ?

มิใช่เคารพ คนที่ได้รับเลือก หรือนักการเมือง
แต่เคารพ “เสียงส่วนใหญ่” ว่าเลือกคนๆ นี้มา
ซึ่งเป็นหลักการประชาธิปไตยที่โดนปฏิเสธ/ทำลายมากที่สุด
ด้วยเหตุผล คนส่วนใหญ่ที่เลือกนั้น เพราะโง่หรือเลว


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 23-10-2006, 11:48
*  ตรรกะของความดี และ ความเป็นคนดี .. ในใจแต่ละคนไม่เท่ากัน

    หลายคนมาแหกปากว่า..... สิ่งที่เราคิดสิ่งเราทำ นั่นคือ .. ความเป็นคนดีของเรา

    ใจคนมันก็เอียงเข้าข้างตัวเองทั้งนั้น....

    คนบางคนคิดว่า..   ตรู   ใจกว้างมากที่สุดแล้ว .. ยุติธรรม มั๊กๆ

    ใครไม่คิดแบบเรา ...  ใครไม่ไปตามกระแสของกลุ่มคนหมู่มาก..  คนๆ นั้นเป็นคนไม่ดี

    ใครที่คิดต่าง ..  ใครที่ไปมีไมตรีให้คนที่คิดไม่เหมือนคนกลุ่มเราคิด

    เขาผู้นั้น ..  เป็นผู้ต้องสงสัยในเจตนาทันที

    จะตามไล่บี้ .. ตาม  กดดัน ...   ให้เขายอมรับให้ได้ว่า  คุณ  ต้องเป็นในสิ่งที่เขาคิดแน่ๆ

    ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่เคยส่องกระจกมองถึงความ ..  คับแคบ  ..  ในจิตใจของตัวเองเลย

    แล้วจะมาถามหาคำว่า ...  ประชาธิปไตย  ...    ไปทำสากกระเบือ  ทำไม  ????

    ก่อนเรียกร้องหามาตราฐานความดีจากใคร... ดู มาตราฐาน .. ผิดถูกในใจตัวเองบ้างก็ดีค่ะ





ปล .  มาตอบแค่ตามหัวข้อ กระทู้ .. เรื่อง  ความดี - คนดี

       ไม่เอาเนื้อหาข้างในที่หลายๆ คนมาตอบ  .. ยาวจัดไม่มีอารมณ์อ่าน

       ขออำภัย .. หิมะ .. จขกท . ด้วยที่เขามาบ่นอะไรให้ฟังนะจ๊ะ  :slime_v:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 11:56
คนดีไม่มาลงสมัครให้เลือก เป็นผู้แทน
เพราะได้ระบายสีไว้แล้วว่า นักการเมืองเลว
คนดีมาจากการแต่งตั้ง หลังเอารถถังมาปราบคนเลวเท่านั้น
ระบอบแบบนี้หรือที่ต้องการ
ถ้าใช่ ก็อย่าบิดเบือนเรียกมัน “ประชาธิปไตย” แล้วเติม “แบบไทยๆ” ลงไปเลย
หลอกคนอื่นไมได้ ได้แต่หลอกตัวเอง และคนที่หลงเชื่อเท่านั้น


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 12:10
ขออนุญาตแปะต่อ
เพื่อความสะดวกในการอ่านและโต้แย้งแบบมีเนื้อหาครบถ้วน

-----------------------------------------------------------------------

แล้วภูมิปัญญาไทยล่ะ เมื่อพูดเรื่องโครงสร้างที่มากำกับตรวจสอบ
ผู้มีอำนาจในโครงสร้างแบบประชาธิปไตย แล้วทศพิธราชธรรมล่ะ ใช้ไม่ได้หรือ


ผมคิดว่ามันคนละเรื่องกัน ผมคิดว่าข้อถกเถียงของสังคมคือการซ้อนทับในสิ่งที่เป็น
คนละเรื่องกันให้เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น เวลาเราพูดถึงทศพิธราชธรรม เรานึกถึงผู้นำ
ในระบอบเทวราชา เรากำลังพูดถึงอำนาจในสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ทศพิธราชธรรมเป็นเหมือนกับหลักการบางอย่างเพื่อควบคุมสติของผู้นำ
แต่ประชาธิปไตยไม่ใช่

ระบบการควบคุมในระบอบประชาธิปไตย คือการควบคุมผ่านกระบวนการ check
and balance การตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ การ check and balance
มันทำให้ขั้นตอนต่างๆ โปร่งใส คุณต้องตอบคำถามได้ เมื่อคุณทำอะไรลงไป
คุณต้องตอบได้ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหรือทางออกทางแก้เป็นอย่างไร
ก่อให้เกิดผลดีแก่ทุกคนอย่างไร


ผมคิดว่าเรากำลังพูดถึงเกณฑ์คนละมาตรฐาน และเป็นเกณฑ์ที่ไปด้วยกันไม่ได้ ปัญหา
คือสังคมไทยพยายามจะสร้างในสิ่งที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งผมบอก
ได้ว่า ไม่มี ผมเห็นด้วยกับศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ก็คือเรามีอำนาจนิยมแบบไทยๆ คือ
อำนาจในรูปแบบของเจ้าขุนมูลนาย รูปแบบเจ้าขุนอุปถัมภ์ แต่เราไม่เคยมีประชาธิปไตย
แบบไทยๆ อย่างแท้จริง สังคมไทยเป็นสังคมอำนาจนิยม  


แต่ทศพิธราชธรรมเป็นสิ่งที่รองรับให้ประชาชนไทยยอมรับผู้นำ
ในระดับหนึ่งก่อนด้วยความเชื่อมั่นว่าผู้นำจะมีคุณธรรมประจำตัว


ผมไม่เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ผมเชื่อว่าทศพิธราชธรรมหรือกรณีพระราชอำนาจที่เกิดขึ้น
ในงานของคุณประมวล รุจนเสรี ก็คือการ Reinvent Tradition ที่มันตายไปแล้ว และ
คืนชีวิตมันบนความอิหลักอิเหลื่อที่อยู่ในกติกาของประชาธิปไตย และเคลือบมันด้วย
วาทศิลป์จำนวนมาก เช่นคุณอ้างประเพณี โบราณราชประเพณี ซึ่งโบราณราชประเพณี
นั้น เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในสังคมสมบูรณาญาสิทธิ์ ไม่ใช่ในระบอบประชาธิปไตย
ผมคิดว่าเรา- สังคมไทย สับสนมากระหว่างสิ่งที่เรียกว่าครรลองประชาธิปไตยกับจารีต
ในสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และคิดว่าทั้งสองนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน

สิ่งทีเกิดขึ้นก็คือ การเอาครรลองคนละชุดมาตรวจสอบอีกชุดหนึ่ง ผมคิดว่าเราเล่นกัน
คนละเกม เล่นคนละเกณฑ์ แล้วทำให้สังคมดูราวกับว่ามันเป็นเกมเดียวกัน

สิ่งที่เลวร้ายก็คือเกณฑ์หรือกติกาหรือครรลองประชาธิปไตยถูกทำให้เป็นสิ่งที่แย่
เป็นสิ่งที่ไม่ดี ในขณะที่อีกด้านเป็นสิ่งที่ดี และตรงนี้เป็นการง่ายที่จะพูดถึงเรื่อง
คุณธรรมความดีของผู้ปกครอง


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 23-10-2006, 12:18
ขอความกรุณาเพื่อนๆ อ่านบทความให้จบ ก่อนที่จะเขียนแสดง คคห. ได้ไหมคะ?
แต่ถ้าไม่อยากอ่านก็คงไปห้ามหรือบังคับอะไรไม่ได้ เพราะเป็นเสรีภาพของท่าน
และเข้าใจได้ว่าความยึดมั่นถือมั่นในความคิดของคนเราว่าถูกต้อง
ไม่ต้องการแปรเปลี่ยนนั้นมันมากมาย คงได้แต่บอกว่าเสียดายและหวังว่า
จะมีท่านที่ไม่กลัวกับการ “ทดสอบ” หรือความท้าทายในการรับฟังความคิดเห็นอื่น
ที่คิดว่าแตกต่างหรือตรงข้ามกับสิ่งที่เชื่อและยึดถืออยู่อย่างสิ้นเชิง

ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทั้งหมดหรือตรงข้ามทั้งหมด
แต่เปิดใจรับฟังมุมมองอื่นบ้าง ใช้เหตุผลอย่างที่ควรจะมี
น่าจะดีกว่าใช้ความรู้สึกตัดสินว่าคนนั้นคนนี้เลว พูดอะไรคงต้องผิดไปหมด

บางบทความผมอ่านทีละตัว วรรคเดียวอาจจะนั่งอ่านซ้ำไปมาอยู่เป็นนาที
แต่บางบทความต้องอ่านแบบรวบๆ หรืออ่านแบบพรืดๆ ทีเดียวทั้งย่อหน้า
เพราะดูแล้วไมน่าเสียเวลา บางข่าวบางบทความในเว็บ ผจก อ่านแค่ย่อหน้าแรกก็พอ
เสร็จแล้วยังต้องไปหาอ่านจากฉบับอื่นอีกที เพราะความน่าเชื่อถือในบางประเด็นมันน่าสงสัย

วิจารณญาณส่วนบุคคลครับ บางทีข้อมูลมันแหม่งๆ น้ำหนักมันก็เบาลง
สะท้อนความน่าเชื่อถือของบทความนั้น

ปล."ผมเชื่อในสิ่งที่ จอร์จ ออเวล พูดว่า Power Corrupt, Absolute Power Corrupt Absolutely." <<< แหม่งๆๆ :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Neoconservative ที่ 23-10-2006, 12:22
สำหรับผมแล้ว วัดกัน ที่ ผล ของการกระทำ ว่า ทำให้ ประชาชนและ ประเทศชาติ เดือดร้อน หรือไม่

หากเดือดร้อน ก็ มาดู ที่เจตนา แต่ อย่างว่า เรื่องของ การเมือง มันมีหลักฐาน ด้าน เจตนา น้อย แยกออกมายาก ว่า เจตนาดี แต่ ผลลัพท์ไม่ดี หรือ เจตจาไม่ดี คนก็เลยเดือดร้อน

ยังไงก็ ขอ สนับสนุน คุณ Snowflake ต่อไป

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ล้างโคตรทักษิณ ที่ 23-10-2006, 12:24
ไม่มีระบบไหนมันดีร้อยเปอเซนต์ครับ  แต่นักการเมืองพรรคไทยรักทุยมันสถุลของมัน  ผมเองก็ยังไม่เคยเจอนักการเมืองรุ่นไหนเลวและสามานย์ หยิ่งผยอง ทำอะไรไม่เกรงกลัวอะไรเลย อยากทำอะไรก็ทำ  เท่านักการเมืองไทยรักไทยยุคนี้อีกแล้ว   นักการเมืองที่เกลียดมากๆเช่นพวกกลุ่มวังน้ำเย็น พวกประชาธิปัตย์สายปักษ์ใต้  ยังดูไม่แย่เท่านี้  

 

ดังนั้นผมมองว่าเมืองไทยไม่เหมาะกับระบอบที่เอื้อนักการเมืองเห ล่านี้มามีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองครับ ต้องมีการถ่วงดุลย์อำนาจไว้มากๆ  บางทีมันอาจะพัฒนาช้าไปบ้างก็ต้องยอม  ไม่งั้นประเทศนี้ไม่มีอะไรเหลือ  แมร่งคอยแต่จะจ้องกันแดรก  ไล่พวกเหิ้ยนี่ไปก็ไม่รุว่าจะมีเหิ้ยตัวใหม่เข้าอีกเมื่อไหร่


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 12:28
แต่การยกเอาปัญหาเรื่องคุณธรรมเฉพาะตัวบุคคลขึ้นมาเป็นเป้าหมาย
ในการโจมตีทางการเมืองในประเทศอื่นๆ เขาก็มี


มันก็มี แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เขาตัดสินกันที่ศักยภาพและความสามารถในการทำงาน
ในการปกครองและผลงาน  ตัวอย่างอันหนึ่งที่ผมสามารถยกขึ้นมาได้ก็คือ กรณีของ
คลินตันกับลูวินสกี้ ผมคิดว่ามันเป็น Debate ในเชิงจริยศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับ
ตัวผู้นำทางการเมือง และถูก Orchestrate โดยสื่อ และ พรรคริพับลิกัน

แต่ในท้ายที่สุดแล้ว คลินตันก็ได้รับการยอมรับและรับรอง และที่เขาได้รับการยอมรับ
และรับรองไม่ใช่เพราะว่าทุกคนละเลยต่อปัญหาจริยศาสตร์หรือคุณธรรมความดี ทุกคน
เขารับรองว่า นี่คือผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ผู้นำที่สร้างผลงาน แล้วกติกาตามครรลอง
ประชาธิปไตยยอมรับสิ่งนี้

บางครั้งประเด็นเรื่องคุณธรรมความดีเป็นเรื่องส่วนบุคคลมาก อย่างกรณีคลินตันนั้น การ
ที่มี Affair กับคนอื่นเป็นปัญหาเฉพาะบุคคลซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือศักยภาพใน
ทางการเมือง โอเค ประเด็นเรื่องลูวินสกี้คือรอยด่างของคลินตัน ทุกคนรู้ แต่ทุกคนก็
นับถือและให้เกียรติคลินตันในผลงานที่เขาทำให้กับประเทศสหรัฐมาตลอดระยะเวลา
แปดปี

กลับมาที่สังคมไทย ถ้าพูดในระนาบเดียวกันก็คือว่า เราจะวาง check and balance
คือการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองอย่างไร ในฐานะพื้นฐานกติกาของ
ระบอบประชาธิปไตยให้มีประสิทธิภาพ และเมื่อนั้น ไม่ว่าผู้นำคนนั้นจะดีหรือเลวอย่างไร
ก็ตาม เขาต้องได้รับการตรวจสอบ  เราต้องการผู้นำที่มีความสามารถและมีศักยภาพใน
การบริหารประเทศ และสามารถขับเคลื่อนระบบทั้งระบบให้ทำงาน

ปัญหาของสังคมไทยไม่ได้อยู่ที่ปัญหาว่าดีหรือเลว แต่ปัญหาของสังคมไทย
คือการมีผู้นำที่มีประสิทธิภาพหรือมีความสามารถที่จะกำหนดทิศทางของสังคม
อย่างที่ทุกคนต้องการและสามารถที่จะพัฒนาให้ทัดเทียมกับชาติอื่นได้

ผมคิดว่าทุกวันนี้ในแง่ของการพัฒนาของเรานั้นเราล้าหลังชาติอื่นๆ ในระบอบ
ประชาธิปไตยเราก็ล้าหลังตรงที่เราไม่วางครรลองของประชาธิปไตยให้เป็นพื้นฐาน
ของสังคม

เราต้องแยกการเมืองดี-เลวหรือเทพ-มารให้ออก แล้วทำให้กติกาของประชาธิปไตย
มันเกิดขึ้นบนพื้นฐานของนโยบาย พื้นฐานของการตรวจสอบ และพื้นฐานที่คนในสังคม
สามารถที่จะกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสังคมได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องพึ่ง
อำนาจใดๆ ที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ

การเมืองแบบแบ่งดี-เลวนั้น คุณไม่สามารถที่จะวางพื้นฐานครรลองประชาธิปไตย
ได้อย่างแท้จริง นี่คือจุดยืนของผม เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณมาตรวจสอบว่าคนนี้
ดีหรือเลว ดีหรือเลวเป็นเงื่อนไขส่วนบุคคลที่คนเหล่านั้นมี แต่เงื่อนไขของสังคม
ประชาธิปไตยคือเงื่อนไขของประสิทธิภาพการทำงานและประสิทธิภาพในการนำพา
สังคม


ประเด็นของผมคือ ไม่ใช่ปัญหาว่าต่อไปนี้จะมีคนเลวมาเป็นนักการเมือง ผมคิดว่าสังคม
เรียนรู้ เราต้องให้ประสบการณ์กับสังคมประชาธิปไตยเรียนรู้ส่วนนี้ โอเค ความทรงจำ
ของคน เราอาจจะบอกว่าคนไทยหรือสังคมไทยความทรงจำสั้น แต่ผมอยากจะบอกว่า
ทุกสังคมความทรงจำสั้นทั้งนั้น แต่ปัญหาคือ อะไรคือประสบการณ์ที่ทุกคนในสังคมมี

ความทรงจำกับประสบการณ์นั้นต่างกัน เราอาจจะจำไม่ได้ แต่เมื่อเผชิญกับสิ่งที่คุณ
ประสบ คุณรับรู้ได้ หรือบ่มเพาะประสบการณ์อย่างสำคัญ

รัฐประหารครั้งนี้ จุดยืนของผมแน่นอนว่ามันไม่ชอบธรรม แต่สังคมได้ประสบการณ์อะไร
หรือเปล่า ผมคิดว่าสังคมเริ่มจะได้ประสบการณ์จำนวนหนึ่ง แต่ประสบการณ์เหล่านี้ยัง
ไม่ได้ชี้ชัดอย่างแน่นอน ยังตอบไม่ได้ว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นตามมา แต่ที่แน่ๆ คือความ
ไม่มีประสิทธิภาพหรือความไม่ชัดเจนของการเมืองในรูปแบบรัฐราชการหรืออำมาตยา-
ธิปไตย ความล่าช้าในกระบวนการจัดการ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามต่อไป

ต่อไปคำถามของสังคมจะไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณสุรยุทธ์เป็นคนดีหรือเปล่า แต่สังคม
จะถามว่ารัฐบาลชุดนี้จะมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของประเทศหรือไม่
ตรงนี้แหละที่จะเป็นตัวชี้ชัดว่าในท้ายที่สุดแล้ว ในระบอบการปกครองที่ดี มันคือ
เรื่องประสิทธิภาพของการทำให้สังคมอยู่ดีกินดี มีความสงบสุข ผมคิดว่าเราถ้
ามองในแง่ดี สังคมไทยกำลังเดินไปในทิศทางนั้น


ผมคิดว่าปีหน้าสังคมไทยจะเผชิญปัญหาจำนวนมากเมื่อน้ำแห้ง นี่แหละคือภาพที่เรา
จะเห็นว่าสังคมไทยจะเรียกร้องผู้นำที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถ เพราะฉะนั้น
ถ้าสังคมไทยก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ผมเชื่อว่าแง่มุมของโลกทัศน์ขาวดำมันจะค่อยๆ หดหายไป


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 12:33
ถ้าถามแอนว่า ตอนนี้เราอยู่ที่จุดไหน ใครที่ได้คุยกะแอนคงจะรู้ว่าตอบว่ายังไง
เราเปลี่ยนผ่านจาก เผด็จการรัฐสภา มาสู่เผด็จการทหาร ที่น่าสนใจคือ ต่อไปจะเปลี่ยนผ่านไปแบบไหน
ถ้าต่อไปของการเปลี่ยนผ่านทำให้ไปสู่ประชาธิปไตย และสังคมคุณธรรม อย่างที่ทุกคนหวังหรือพยายามจะสร้างจริงๆ
ก็นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่น่าสนใจอย่างยิ่ง แต่แอนไม่ได้มองแค่สิ่งที่คนอื่นบอก
ไม่ว่าคนๆ นั้นจะมีภาพพจน์อย่างไร หรือเป็นคนดีแค่ไหน เพราะสิ่งที่แอนสนใจคือ การกระทำ

ในทางพุทธแล้ว ที่เจตนาคือ สิ่งที่สำคัญ กรรมเป็นเครื่องส่อเจตนา

การกระทำของแต่ละคน จะสะท้อนถึงเจตนาที่ซ้อนเร้น ทั้งด้านที่ดี และไม่ดีทั้งนั้น

อย่างที่คนมักจะได้ยินว่า เจตนาดี แต่ประสงค์ร้าย เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

เพราะเจตนาดี กรรมก็จะดี แต่ถ้า การกระทำส่อเสียด ก็สะท้อนเจตนาที่ไม่ดี


ปล. อาจจะไม่ค่อยเข้ากับกระทู้เท่าไหร่ แต่พยายามแล้ว  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ล้างโคตรทักษิณ ที่ 23-10-2006, 12:35
คนดีไม่มาลงสมัครให้เลือก เป็นผู้แทน
เพราะได้ระบายสีไว้แล้วว่า นักการเมืองเลว
คนดีมาจากการแต่งตั้ง หลังเอารถถังมาปราบคนเลวเท่านั้น
ระบอบแบบนี้หรือที่ต้องการ
ถ้าใช่ ก็อย่าบิดเบือนเรียกมัน “ประชาธิปไตย” แล้วเติม “แบบไทยๆ” ลงไปเลย
หลอกคนอื่นไมได้ ได้แต่หลอกตัวเอง และคนที่หลงเชื่อเท่านั้น

คนที่มีสมองเขามองหลายๆ ด้านหลายๆ มุม

มองอุปนิสัยคนไทยให้ออก...มองให้ทะลุ....แล้วจะเข้าใจว่ า

ไม่ว่าอย่างไร...ไทยก็ยังคงเป็นไปในระบบการปกครองแบบไทยๆ.....ป ระชาธิปไตยแบบไทยๆ...........

วงล้อ ของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ก็จะหมุนไปแบบเดิม.......และอย่าลืมว่าประชาธิปไตยต้นแบบที่แท้

จริงไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน.........แม้แต่ผู้กำเนิดทฤษ ฏีประชาธิปไตย.....ยังกล่าวไว้ว่าเป็น

เพียงสังคมในอุดมคติ ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงตามต้นแบบ.......คนที่เรียนการปกครองมา จะรับรู้ว่า

เพราะเหตุใดจึงนำประชาธิปไตยต้นแบบมาใช้ทั้งสิ้นไม่ได้....จะใช ้ก็ต้องนำมาประยุกต์ นำมาดัดแปลง

อย่าลืมว่า ประชาธิปไตย...ไม่ใช่คนไทยคิดค้นขึ้นมา........ประเทศใดนำไปใช้

เขาก็ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับคนในชาติของตน ไม่ใช่เอะอะก็ ประชาธิปไตย แบบมี จุดประสงค์ หาโอกาสให้ ทรราชย์นายทุนที่รักยิ่งของ snowflake กลับสภา


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิป&#
เริ่มหัวข้อโดย: ล้างโคตรทักษิณ ที่ 23-10-2006, 12:37
ไม่รู้จะเข้าหัวปล่าวนะ แต่คาดว่าคงไม่มีประโขชน์ สำหรับผู้บูชา เผด็จการนายทุน ที่อิง ประชาธิปไตยจอมปลอม แบบ snowflake  


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิป&#
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 12:53
คนที่มีสมองเขามองหลายๆ ด้านหลายๆ มุม

มองอุปนิสัยคนไทยให้ออก...มองให้ทะลุ....แล้วจะเข้าใจว่ า

ไม่ว่าอย่างไร...ไทยก็ยังคงเป็นไปในระบบการปกครองแบบไทยๆ.....ป ระชาธิปไตยแบบไทยๆ...........

วงล้อ ของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ก็จะหมุนไปแบบเดิม.......และอย่าลืมว่าประชาธิปไตยต้นแบบที่แท้

จริงไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน.........แม้แต่ผู้กำเนิดทฤษ ฏีประชาธิปไตย.....ยังกล่าวไว้ว่าเป็น

เพียงสังคมในอุดมคติ ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงตามต้นแบบ.......คนที่เรียนการปกครองมา จะรับรู้ว่า

เพราะเหตุใดจึงนำประชาธิปไตยต้นแบบมาใช้ทั้งสิ้นไม่ได้....จะใช ้ก็ต้องนำมาประยุกต์ นำมาดัดแปลง

อย่าลืมว่า ประชาธิปไตย...ไม่ใช่คนไทยคิดค้นขึ้นมา........ประเทศใดนำไปใช้

เขาก็ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับคนในชาติของตน ไม่ใช่เอะอะก็ ประชาธิปไตย แบบมี จุดประสงค์ หาโอกาสให้ ทรราชย์นายทุนที่รักยิ่งของ snowflake กลับสภา 
 

ข้างบนเวลา 12.35

ไม่รู้จะเข้าหัวปล่าวนะ แต่คาดว่าคงไม่มีประโขชน์ สำหรับผู้บูชา เผด็จการนายทุน ที่อิง ประชาธิปไตยจอมปลอม แบบ snowflake  

แค่จะบอกว่าด่าผิดแล้ว เพราะ snowflake เค้ารักคุณชวน เพียงแต่ไม่ชอบรัฐประหารเท่านั้น


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 13:03
การมองการเมืองแบบขาวดำหรือโลกทัศน์ดีเลว ไม่สะท้อนว่า
สังคมไทยมีระดับศีลธรรมสูงหรอกหรือ


ไม่ได้สะท้อนอะไรเลย ผมคิดว่าปัญหาศีลธรรมในสังคมไทยคือการมีข้อบังคับมากกว่า
หลักปฏิบัติ มีข้อบังคับห้ามโน่นห้ามนี่ตลอดเวลา สิ่งที่น่าสนใจคือเวลาที่คนไทยสอน
ศีลธรรมหรือสอนเนื้อหาทางศาสนา คุณเน้นศีลมากกว่าธรรม เวลาที่คุณห้าม นั่น
หมายความว่า อะไรที่ไม่ถูกห้าม คุณก็ทำไป คุณทำได้ ในขณะที่ธรรม ในความหมาย
ของแนวทางปฏิบัติ กลับไม่ได้ถูกสอน ไม่ได้บ่มเพาะให้กับสังคม

ปัญหาของสังคมไทยอย่างหนึ่งที่ผมกระอักกระอ่วนมากที่สุด ก็คือว่าเมื่อคุณพบปัญหา
ใดปัญหาหนึ่งก็ออกกฎข้อบังคับ สิ่งที่ตามมาคือ คนก็หาช่องว่างจากกฎข้อบังคับ ผม
เชื่อว่าสังคมที่ดี หรือสังคมประชาธิปไตยนั้น Rule of Law หรือหลักนิติรัฐมีความสำคัญ
แต่ Rule of law มันสร้างแนวทางในการปฏิบัติหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคม
ให้มีความสงบสุขอย่างไรต่างหาก

เมื่อสังคมไทย Abuse rule of law มอง Law ในแง่ของการบังคับใช้ ข้อห้าม ตัวอย่าง
ที่เห็นชัดอย่างหนึ่งก็คือกรณีการแต่งกายชุดนักศึกษา ถ้าว่านักศึกษาแต่งชุดผิดระเบียบ
ไหม เขาก็ไม่ผิด แต่ในการแต่งกายชุดนักศึกษา เขาอาจจะมีช่องว่างที่เขาจะแต่งกายใน
อีกลักษณะหนึ่งที่คุณไม่ต้องการแต่คุณทำอะไรได้

ปัญหาคือคุณทำอะไรไม่ได้เพราะว่าเขาถูกกฎทุกอย่าง แต่ช่องว่างนั้นน่ะ เพราะคุณให้
ความสำคัญกับการบังคับใช้มากกว่าการสร้างแนวทางปฏิบัติ

Rule of law จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อหลักนิติรัฐได้สร้างแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน
มากกว่าจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับ ผมคิดว่านี่คือปัญหาอีกส่วนหนึ่งที
เกิดขึ้นในครรลองประชาธิปไตย

ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานกลับไม่มี
ความสำคัญ ถูกฉีกได้ตลอดเวลา กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณมีอะไรที่คุณเขียน
ไว้ในแง่บทบัญญัติเท่านั้น แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญคือครรลองหรือกติการ่วมกันซึ่งเป็น
กติกาที่ทุกคนในสังคมยอมรับเป็นหลัก

เท่าที่ผมเข้าใจประเทศจำนวนมากมีรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติน้อยกว่าสังคมไทยและ
มีอายุการใช้งานที่ยืนนานมากกว่าสังคมไทย สิ่งเหล่านั้นที่เขาทำได้ ไม่ใช่ว่ากฎหมาย
เขาดีกว่าเรา แต่กฎหมายได้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติของคนในสังคม ผมอยากเห็นสังคม
ไทยใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือเรียนรู้รัฐธรรมนูญในฐานะแนวทางปฏิบัติร่วมกันมากกว่า
ที่คุณเอามาตรวจสอบว่า คนนี้ทำผิดหรือเปล่า  มันกลายเป็นข้อบังคับและในท้ายที่สุด
แล้วมันเหมือนกับเสือกระดาษ เหมือนเขียนเสือให้วัวกลัว และท้ายที่สุดแล้วกถูกละเมิด
อยู่ตลอดเวลา

ผมคิดว่ากฎหมายไทยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการรากฐานทางความคิด แต่สังคมหรือ
ตัวนักกฎหมาย กลายเป็นเพียงช่างฝีมือหรืออย่างที่อาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล
เรียกว่าเป็น ‘ช่างตัดผม’ เป็น Technician และสุดท้ายความเป็น Technician คุณก็
จะรู้สึกว่า คนอื่นไม่ใช่นักกฎหมายจะมารู้เรื่องกฎหมายได้อย่างไร ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ใช่

กฎหมายมันคือกติกาของสังคมนะ แน่นอนว่าทุกคนต้องรู้กฎหมาย ไม่ได้หมายความว่า
ทุกคนต้องรู้กฎหมายอย่างนักกฎหมาย ผมคิดว่านักกฎหมายอาจจะเข้าใจผิด ในขณะ
เดียวกันก็ดูเหมือนนักกฎหมายมีสิทธิพิเศษ เพราะภาษากฎหมายกลายเป็นภาษาเฉพาะ
ความชอบธรรมทางกฎหมายกลายเป็นความชอบธรรมเฉพาะของนักกฎหมาย การเน้น
กฎหมายในฐานะที่เป็นข้อบังคับใช้ มันตอบรับกับลักษณะอำนาจนิยมของสังคมไทย

โดยสรุปก็คือ ผมคิดว่าการเมืองไทยเป็นเรื่องของขาวดำ หรือดีเลว โดยมองผ่านพื้นฐาน
ที่ฝ่ายหนึ่งยึดธงชัยของความดีว่าความดีคืออะไรและเป็นคนบอกว่าสิ่งที่มันเลวคืออะไร
และความโชคร้ายก็คือว่า บนพื้นฐานของสิ่งที่เลวนั้น มันมีเท็จจริงทางสังคมการเมือง
ปรากฏอยู่เป็นข้อสนับสนุนด้วย

ประการที่ 2 ก็คือ ผมมองว่าสังคมต้องข้ามพ้นการเมืองขาวดำไปสู่การมองเชิงนโยบาย
ปัญหาของตัวผู้ปกครองมันไม่ได้อยู่ที่การเป็นผู้ปกครองที่ดี สังคมไทยต้องการผู้ปกครอง
ที่มีความสามารถในการบริหารประเทศและการจัดการ

และสุดท้ายประเด็นที่สามก็คือ กฎหมาย ซี่งควรจะเป็นแนวทางปฏิบัติของสังคมมากกว่า
การมองมันเป็นแค่ข้อห้ามหรือข้อบังคับใช้

ถ้าเราสามารถจะแก้เงื่อนไขทั้งสามนี้ได้ ผมคิดว่าการ Restore Order ที่แท้จริงของ
การเมืองระบอบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้น และจะนำไปสู่หลักการอีกด้านที่เรายังไม่ได้
พูดกันอย่างแท้จริงก็คือ ปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม และ
ภราดรภาพ

ที่ผ่านมา สังคมไทยในครรลอง มองปัญหาเรื่องสิทธิเป็นรูปธรรมเกินไป เช่น มองสิทธิ
ในฐานะที่เกี่ยวกับบุคคล เช่น การเลือกตั้ง


แล้วแบบไม่เป็นรูปธรรมคืออะไร

คือสิทธิในฐานะที่เป็น Citizenship รูปธรรมที่ดีที่สุดคือสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม
สิทธิที่จะกำหนดทิศทางของสังคม ผมคิดว่านี่เป็นสิทธิที่สำคัญที่สุด ไม่มีใครแย่งชิง
สิทธินี้ไปจากตัวคุณได้ และสิทธินี้จะแสดงออกผ่านกิจกรรมทางการเมือต่างๆ ไม่ใช่
แค่การเลือกตั้ง  

สิทธิในการกำหนดแนวทางในการดำเนินชีวิตและสังคม นี่คือสิทธิที่เป็นพื้นฐานที่สุด
ส่วนเสรีภาพคือสิ่งที่คุณจะแสดงออกมา ผมอยากให้สังคมไทยมองสิทธิที่เป็นพื้นฐาน
เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะกำหนดชีวิตคุณเองได้ นั่นคือการที่คุณมีบทบาททางสังคมมากขึ้น
วัฒนธรรมทางการเมืองนี้มันเริ่มเกิดขึ้นในบางส่วนของสังคมและที่น่าสนใจก็คือมันเกิด
ขึ้นในระดับรากหญ้ามากกว่าสังคมเมือง  


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: type ที่ 23-10-2006, 13:09
ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม

ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ


เพราะประชาธิปไตย มันมีสิทธิเสรีภาพ มากกว่า เผด็จการทหารหรือเผด็จการคอมมิวนิสต์ไงครับ
ทั้งความเสมอภาค สิทธิอันพึงมีพึงได้ในการเกิดเป็นมนุษย์ ฐานะที่เราทกุคนก็เป็นมนุษย์เหมือนกันทุกคน
หรือท่านคิดว่ามันมีระบอบการปกครองอย่างไรที่มันดีกว่า นี้ครับ อย่าไปพูดถึง อุตมรัฐเลยนะครับมันเป็นไปไม่ได้
แล้วระบอบการปกครองอื่นที่คิดว่าดี คนอื่นเขาเห็นดีเห็นงามด้วยไหมครับ ถามประชาชนทั้งชาติสิ




ส่วนประชาธิปไตยในไทยก็อยากจะให้มัน เจริญไปตามหนทางบนพื้นฐานของคำว่าประชาธิปไตย
อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เขาเป็นเพียงแม่แบบในประชาธิปไตยแต่ละระบบ
ไทยเลยได้ไปนำ เอาข้อดีข้อเสียมา พิจารณา เป็นประชาธิปไตยแบบไทยเองไงครับ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 23-10-2006, 13:20
แค่จะบอกว่าด่าผิดแล้ว เพราะ snowflake เค้ารักคุณชวน เพียงแต่ไม่ชอบรัฐประหารเท่านั้น

อย่าเพิ่งด่วนสรุปเอง และใช้ความสนิทชิดเชื้อส่วนตัวนอกเว็บมาทำหน้าที่ทนาย

คุณชวน มีเหตุผลมากกว่าพวกนักวิชาการ 3 สลึง อันได้แก นายเกษม นายศิโรตม์ หลายเท่านัก คุณชวนไม่เคยออกมาถึงก็ "เราไม่เอารัฐประหาร ๆ ๆ" "คมช.ออกไป" "เราจะเลือกตั้ง" "ประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการไล่ผู้นำเลว"  แล้วแผ่นเสียงตกร่อง คุณชวนคำนึงถึงปัจจัยรอบด้าน พูดความจริงทุกด้าน แล้วเอามาประมวลรวมกันว่า อะไรเป็นเหตุจนมาถึงการรัฐประหาร แล้วจึงออกมานำเสนอวิธีการ ซึ่งหลักๆก็คือ คมช. ต้องออกมาชี้แจงความจริงและเหตุผล

คนที่พูดความจริงไม่ครบถ้วน จงใจเลี่ยงตอบคำถามหรือข้อเท็จจริงบางอย่าง เช่น ความจริงที่ว่า check & balance มันก็เจ๊งได้หากถูกคนไม่ดีทำให้เจ๊งไป พวกนายเกษม นายศิโรตม์ และพวก สามัญสำนึกของคุณน่าจะบอกได้เองว่า มันแปลกๆ มีเจตนาอะไรแอบแฝง

ดูซะ


นายชวน กล่าวด้วยว่า ความไม่เป็นธรรมที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) หยิบยกขึ้นมาทำรัฐประหาร เป็นเรื่องจริง เพราะทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ซึ่งปัญหาดังกล่าวหากจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก็สามารถทำได้ อย่างเช่น การทบทวนเรื่องของงบประมาณปี 2550 ว่าในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา การจัดงบประมาณรายจ่ายไม่ได้ถูกจัดสรรไปอย่างเป็นธรรม เพราะเกิดจากความคิดว่า จะต้องพัฒนาเฉพาะจังหวัดที่เลือกพรรคไทยรักไทย เมื่อคิดอย่างนี้การจัดงบฯ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาถือเป็นการจัดแบบอคติและเลือกปฏิบัติ ความไม่เป็นธรรมจึงเกิดขึ้น ความไม่พอใจและความขัดแย้งก็ตามมา ดังนั้นส่วนนี้จึงเป็นส่วนที่เราจะต้องแก้ไขก่อน และชี้แจงให้กับประชาชนทราบพร้อมกับแก้ไขการจัดสรรงบประมาณให้เป็นธรรม

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะต้องทำอย่างไรที่จะให้ระบอบทักษิณหมดไป นายชวน กล่าวว่า ให้ความจริง ถ้าเห็นว่าอะไรคือสิ่งดีก็ถือว่าดี แต่ถ้าอะไรไม่ดีก็ต้องชี้แจงและแก้ไขไม่ต้องไปบิดเบือน ในสมัยที่มีระบอบทักษิณ ไม่เปิดโอกาสให้ใครได้พูดเลย ระบบทักษิณ พูดข้างเดียวครอบงำสื่อทั้งหมด ดังนั้นรัฐบาลชุดใหม่อย่าไปใช้วิธีดังกล่าว รัฐบาลควรให้ความจริงในทุกๆ ด้านกับประชนว่าความจริงของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้คิดอะไร

เมื่อถามถึงกรณีการยกเลิกกฎอัยการศึกคิดว่ารัฐบาลควรจะยกเลิกได้เมื่อไหร่ นายชวน กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องให้อำนาจและโอกาสรัฐบาล ว่าพร้อมหรือยังที่ยกเลิก ถ้าพร้อมแล้วและสถานการณ์ไม่มีอะไร เลิกได้ก็ดี แต่ตนคิดว่าข้อวิจารณ์ในเรื่องของกฎอัยการศึกจากต่างประเทศเราก็ควรฟังหูไว้หู เราควรเป็นตัวของเราเอง เพราะสภาพบ้านเมืองแต่ละบ้านเมืองไม่เหมือนกัน ต้องยอมรับว่าในช่วงที่เราคิดว่าเป็นประชาธิปไตยกระบวนการที่จะไปตามระบอบประชาธิปไตยมันถูกทำลายหมด เพราะฉะนั้นบางเรื่องต่างชาติจะไม่เข้าใจอย่างคนไทย เช่นสหรัฐอเมริกาก็มองเฉพาะรูปแบบไม่ได้มองลึกถึงข้างใน หรือแม้แต่คำวิจารณ์ของสิงคโปร์เขาไม่เห็นเรื่องลึกๆ ภายในของประเทศเรา ว่าความจริงมันคืออะไร เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เรารับฟังได้ แต่อย่าไปให้ความสำคัญมากนัก เพราะเวลาเรามีปัญหาคนนอกมองไม่เห็น 5 ปีที่เกิดวิกฤตเราไม่เคยเห็นการแสดงอะไรที่จะเป็นการส่งเสริมความชอบธรรมในประเทศไทยจากประเทศต่างๆ

“ส่วนนี้เราก็ฟังไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการไปปรับปรุงแก้ไข ซึ่งประเทศไทยเราต้องเป็นตัวของตัวเองในการแก้ปัญหาของเรา เพราะว่าวิถีทางระบอบประชาธิปไตยของแต่ละประเทศมันไม่เหมือนกัน บางประเทศก็มีสิทธิเสรีภาพมาก บางประเทศก็มีน้อย ผมว่าฟังไว้ได้ แต่ก็ไม่ควรให้ความสำคัญมากจนเกินไป ฟังไว้ให้เรารู้ว่าข้างนอกเขามองเราอย่างไร คิดอย่างไร แต่ถ้าเรามีโอกาสชี้แจงได้ ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหน โดยเฉพาะเราจะไปเห็นดีเห็นงามกับระบอบการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการรัฐประหาร แต่เมื่อเกิดความจำเป็นเพราะไม่มีทางออกเราก็ต้องชี้แจงให้ต่างชาติเข้าใจความเป็นจริงในเรื่องนี้”นายชวนกล่าว

นายชวน ยังกล่าวถึงการเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า เราใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 มา 9 ปี ก็มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตนั้นส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของตัวบุคคลและพรรคการเมืองด้วย ไม่ใช่ความบกพร่องของรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว แต่ต้องยอมรับว่า ตัวรัฐธรรมนูญก็มีส่วนทำให้เกิดวิกฤต มีความคลุมเครือความไม่ชัดเจนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะการให้อำนาจบทบาทองค์กรบางองค์กรทำงานแล้วเกิดความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เช่นการให้วุฒิสมาชิก ตรวจสอบกระบวนการสรรหาหรือเลือกองค์กรอิสระ เรื่องนี้ต้องถือว่าล้มเหลว ตนเห็นว่าเรื่องนี้เป็นบทเรียนที่หลายฝ่ายต้องนำไปประมวลแล้วนำมาคิดว่าจะนำมาเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไรให้เกิดความสอดคล้องกับบ้านเรา


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Haa ที่ 23-10-2006, 13:33
ชื่อกระทู้ กำลังบอกว่า 'ความชั่ว' และ 'คนชั่ว' ทำให้ประชาธิปไตยก้าวหน้า?  :slime_sleeping:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: มดโฟร์ ที่ 23-10-2006, 13:46
ด็อกตัวนี้บอกว่าแม้ประเทศไทยจะเสื่อมจะทรุดก็ขอรักษาประชาธิปไตยหรือนายของข้าไว้  ต้องหันเข้าโลกาภิวัฒน์ ถ้าสามารถหาคะเเนนมาได้มากๆ ไม่ได้สนใจวิธีการ คือผู้กุมชะตาชีวิต จะพูดเรื่องการถ่วงดุลอำนาจไปทำไม ด็อกไม่ได้ติดตามเหตุการณ์สถานกาณ์บ้างเรอ เข้าไปยุ่งได้แม้ในเเวดวงทหาร ด็อกไม่พูดเรื่องความยิ้งใหญ่คับเมืองของรุ่น 10 เลย  และเหมือนจะยอมรับกลายๆว่า ไม่ว่าจะเป้นการ
ถ่วงดุลเเบบไหน ขอให้มีไว้ไม่เกี่ยวกับความดีความเลว ไม้ประดับว่างั้นใช่มั้ยตกลง มีไว้แค่กันฝรั่งด่าเเค่นั้น  อือมนะ  ดอกเตอร์ ...


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: คนเจียงใหม่ ที่ 23-10-2006, 13:47
 :mozilla_cool:เห็นด้วยกับคุณแอ่นแอ๊นครับ กรรมเกิดจากการกระทำ
และกรรมส่อเจตนา และ กิเลศ คือเครื่องเศร้าหมอง
ผมได้สัมผัสกับคนบ้านนอก(นอกจริงๆนะ) ประเภท
ที่ไปหาต้องนอนค้างคืน เพราะกลับไม่ทัน
ทางมันยาก ขรุขระ เขาอยู่ห่างตัวอำเภอ ร้อยกว่าโล
เพราะฉนั้นเรื่องประชาธิปไตยอะไรนี่ไม่ต้องพูดถึง
มันอยู่ที่เจตนาของผู้ที่จะไปเป็นตัวแทนเขานั่นแหละ
ว่ามีเจตนาซ่อนเร้นหรือเปล่า มีอำนาจแล้วจะโกงมั้ย :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 13:48
แค่จะบอกว่าด่าผิดแล้ว เพราะ snowflake เค้ารักคุณชวน เพียงแต่ไม่ชอบรัฐประหารเท่านั้น

อย่าเพิ่งด่วนสรุปเอง และใช้ความสนิทชิดเชื้อส่วนตัวนอกเว็บมาทำหน้าที่ทนาย



อย่าด่วนสรุปคิดว่า อคติส่วนตัวของตนว่าคนอื่นจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ หรือคิดว่า สิ่งที่รับฟังมาจากคนที่ตนเคารพนับถือเป็นเรื่องถูกต้อง เพราะที่อ่านเค้าตอบกระทู้มา แสดงเจตนาชัดเจน ไม่ได้แอบแฝงว่ารักแล้วแกล้งเกลียด (ถึงแม้ว่าจะส่อเสียดกระแหนะกระแหนไปบ้าง) ความชอบในนักการเมืองคนใดเป็นเหตุผลส่วนตัว (เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้ายังให้โอกาสคุณอภิสิทธิ์ เพราะหลายครั้งก็แสดงเจตนาทางการเมืองที่ชัดเจน ว่า ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร) เพียงแต่บอกว่าจะบอกว่า "การที่มาบอก หรือชี้เป้า snowflake รักทักษิณ" ออกจะเป็นการอนุมานแบบเลือกข้างสุดโต่งไปหน่อย อย่างที่คุณมักจะทำและยัดเยียดข้อหาให้เสมอๆ จนเกิดเรื่องราวมาแล้วหลายครั้ง และขอโทษไปแล้วหลายครั้ง ทั้งๆ ที่การตอบไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาในกระทู้

อยากให้เสรีไทย อยู่กันอย่างสร้างสรรค์ อย่าให้โดนครหาว่า เป็นพันทิบแบบกลับข้าง

ไม่งั้นเสียดายที่ชื่อ เสรีไทย

ปล. ไม่ได้ทราบว่าการคุยผ่าน MSN ถือเป็นการสนิทชิดเชื้อนอกเวปหรือไม่ เพราะที่คุยกับ snowflake ก็เพียงผ่าน internet เท่านั้น ที่คุณอนุมานว่าสนิทชิดเชื้อ ในความหมายส่วนตัว ถือว่า ยังค่อนข้างห่าง แม้แต่คนที่เคยเจอในมีตติ้ง คำว่า สนิทชิดเชื้อ ก็ยังใช้กับแอนไม่ได้ ในความเห็นส่วนตัว


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 13:56
อ้อ ข้อความที่ยกมาหน่ะ คุณชวนบอกเพียงว่า เหตุผลที่ใช้รัฐประหารเป็นเรื่องจริง

แต่ไม่มีตรงไหนที่บอกว่า เห็นด้วยกับการรัฐประหาร

นี่แหละ นักการเมืองของแท้  :slime_bigsmile:

ว่าแต่ ที่หมอดูแม่นๆ บอกว่า ปีหน้าจะได้ของสูงนี่ จะจริงหรือเปล่า


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 23-10-2006, 14:10
แค่จะบอกว่าด่าผิดแล้ว เพราะ snowflake เค้ารักคุณชวน เพียงแต่ไม่ชอบรัฐประหารเท่านั้น

อย่าเพิ่งด่วนสรุปเอง และใช้ความสนิทชิดเชื้อส่วนตัวนอกเว็บมาทำหน้าที่ทนาย



อย่าด่วนสรุปคิดว่า อคติส่วนตัวของตนว่าคนอื่นจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ หรือคิดว่า สิ่งที่รับฟังมาจากคนที่ตนเคารพนับถือเป็นเรื่องถูกต้อง เพราะที่อ่านเค้าตอบกระทู้มา แสดงเจตนาชัดเจน ไม่ได้แอบแฝงว่ารักแล้วแกล้งเกลียด (ถึงแม้ว่าจะส่อเสียดกระแหนะกระแหนไปบ้าง) ความชอบในนักการเมืองคนใดเป็นเหตุผลส่วนตัว (เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้ายังให้โอกาสคุณอภิสิทธิ์ เพราะหลายครั้งก็แสดงเจตนาทางการเมืองที่ชัดเจน ว่า ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร) เพียงแต่บอกว่าจะบอกว่า "การที่มาบอก หรือชี้เป้า snowflake รักทักษิณ" ออกจะเป็นการอนุมานแบบเลือกข้างสุดโต่งไปหน่อย อย่างที่คุณมักจะทำและยัดเยียดข้อหาให้เสมอๆ จนเกิดเรื่องราวมาแล้วหลายครั้ง และขอโทษไปแล้วหลายครั้ง ทั้งๆ ที่การตอบไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาในกระทู้

อยากให้เสรีไทย อยู่กันอย่างสร้างสรรค์ อย่าให้โดนครหาว่า เป็นพันทิบแบบกลับข้าง

ไม่งั้นเสียดายที่ชื่อ เสรีไทย

ปล. ไม่ได้ทราบว่าการคุยผ่าน MSN ถือเป็นการสนิทชิดเชื้อนอกเวปหรือไม่ เพราะที่คุยกับ snowflake ก็เพียงผ่าน internet เท่านั้น ที่คุณอนุมานว่าสนิทชิดเชื้อ ในความหมายส่วนตัว ถือว่า ยังค่อนข้างห่าง แม้แต่คนที่เคยเจอในมีตติ้ง คำว่า สนิทชิดเชื้อ ก็ยังใช้กับแอนไม่ได้ ในความเห็นส่วนตัว

ผมต้องการถามว่า ที่คุณแอนพยายามจะบอกว่าคุณ snowflake ชื่นชอบคุณชวน ผมสงสัยว่า แน่เหรอ? ได้เห็นจุดยืนของคุณชวนต่อการรัฐประหารแล้วหรือ ก่อนจะบอกว่ายังคงชอบคุณชวนต่อไป? ได้นำมาเปรียบเทียบกับเจตนาของบรรดาผู้ที่อ้างตัวเองว่า ประชาไท เที่ยงคืน แล้วหรือยัง? ทำไมพวกเที่ยงคืน ประชาไท จึงไม่เคยพูดถึง "ความเป็นธรรม" "ความดีงาม" สักคำ? ซ้ำยังออกมาถาำกถางว่า "คนดี" ทำให้ประชาธิปไตยถดถอย ?? ต้องการตีกระทบแบบอ้อมๆถึงอะไร แต่ไม่กล้าพูดตรงๆหรือไม่ ?

ทำไมมันต้องมานั่งเกร็งว่า จะโดนครหาว่าเป็นพันทิปกลับข้าง เกร็งว่าจะต้องไปเหมือนพันทิป ทำอย่างนี้แล้วจะ ไม่เป็น เสรีไทย เป็นตัวของตัวเองกันไม่เป็นหรือไงครับ การอยู่กันอย่างสร้างสรรค์ จะต้องเป็นการอยู่ด้วยความจริง เอาความจริงมาพูดกันให้รอบด้าน นั่นถึงเรียกว่าสร้างสรรค์ ไม่ใช่พยายามจะ จ๊ะจ๋า ครับ ค่ะ แต่แกล้งพูดความจริงครึ่งเดียว ใส่ร้ายคนอื่น วันหนึ่งพูดอย่าง อีกวันพูดอีกอย่าง แล้วแกล้งมาเนียน พอถูกจับผิดได้ ก็หาว่าไม่ยอมรับความแตกต่าง แบบนี้เรียกว่าสร้างสรรค์หรือครับ ผมคิดว่า คุณแอนควรกลับไปคิดใหม่ คุณเองก็เป็นคนฉลาด เรียนก็ขนาดนี้แล้ว

ไม่ต้องมาตีความแล้วครับ คุณจะคุยผ่าน MSN ก็คือการสนิทชิดเชื้อนอกเว็บนั่นแหละ



อ้อ ข้อความที่ยกมาหน่ะ คุณชวนบอกเพียงว่า เหตุผลที่ใช้รัฐประหารเป็นเรื่องจริง

แต่ไม่มีตรงไหนที่บอกว่า เห็นด้วยกับการรัฐประหาร

นี่แหละ นักการเมืองของแท้  :slime_bigsmile:

ว่าแต่ ที่หมอดูแม่นๆ บอกว่า ปีหน้าจะได้ของสูงนี่ จะจริงหรือเปล่า

ก็ถูกไงครับ คุณแอนเคยใครเคยพูดว่า "ชื่นชอบรัฐประหาร" อย่างที่พวกเที่ยงคืนพยายามจะยัดเยียดงั้นหรือ?

ก็ไม่มีตรงไหนที่คุณชวน ที่คุณ snowflake ชื่นชม ตะโกนว่า "ประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการไล่ผู้นำเลว" "กูจะเลือกตั้ง" มีไหมครับ ? มีไหมที่ทัศนคติ "ประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการไล่ผู้นำเลว" สามารถเข้ากันได้กับทัศคติ "ความต้องการความเป็นธรรม"

ผมก็หวังว่า หมอดูจะทำนายถูำกเช่นกัน


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 14:11
การมีโลกทัศน์แบบมองขาวดำมีส่วนกลบปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ
และภราดรภาพหรือไม่


มันกดทับ พูดง่ายๆ ว่าการเมืองขาวดำมันสร้างลำดับชั้นให้กับสังคม และกดทับสิทธิ
ขั้นพื้นฐานเหล่านี้ การกดทับก็คือการบอกว่า คนดีนั้นมีความสำคัญมากกว่าคนที่มีความ
สามารถ เพราะเราอนุมานกันว่า ถ้าคุณเป็นคนดีแล้วทำอะไรก็ดีตามไปหมด นี่คือสิ่งที่
น่ากลัว และสิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่มเพาะบนพื้นฐานของเหตุผลแต่บ่มเพาะบนพื้นฐานของ
Sentiment ของสังคม

เพราะว่าด้วยการที่อ้างอิงด้วยหลักการของหลักธรรมหรือทศพิธราชธรรม จึงมองความดี
มีคุณค่ามากกว่าความสามารถ ปัญหาของสังคมไทย ถ้าพูดในที่ว่าทำอย่างไรที่จะให้คน
ที่มีความสามารถในการบริหารประเทศมีบทบาทมีศักยภาพในการทำงานร่วมกันได้ และ
ขณะเดียวกันเราสามารถตรวจสอบการทำงานของเขาได้ นี่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้
ประชาธิปไตยมันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในส่วนของภราดรภาพ ผมเชื่อใน Concept พื้นฐานคือ ภราดรภาพนั้นคือความเป็นพี่เป็น
น้องกันอย่างน้อยที่สุดมันสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคมให้เกิดขึ้น เวลาที่ผมมองภราดรภาพ
ผมไม่ได้มองในแง่ของความเป็นพี่น้องหรือความเป็นครอบครัวเดียวกัน คือผมมองสาย
สัมพันธ์ของสังคมที่มันเชื่อมต่อกันและเมื่อมีสายสัมพันธ์ทางสังคมแล้ว การสร้าง
ความยอมรับซึ่งกันและกันนั้นมันง่าย และการยอมรับที่สำคัญก็คือการยอมรับความ
แตกต่างไม่ว่าคุณจะแตกต่างจากผม คุณไม่เหมือนผม ไม่ว่าจะด้วยชาติกำเนิด
เชื้อชาติศาสนา หรืออะไรต่าง พูดง่ายๆ ว่าเวลาที่คุณเป็นพี่เป็นน้องกัน เมื่อมีอะไร
กระทบกระทั่งกันคุณก็ยอมๆ กันได้
แต่ถ้าพูดในระดับของสังคมภราดรภาพของ
สังคมก็คือการอยู่ร่วมกันของสังคมและยอมรับความแตกต่างระหว่างกันโดยพื้นฐาน
ของ Rule of law ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการยอมรับความหลากหลายอันนั้น นี่คือ
โจทย์สำคัญ

และสุดท้ายเรื่องความเสมอภาคหรือเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของกฎหมาย เสมอภาค
ในส่วนนี้ คือทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในการที่จะใช้มัน ไม่ใช่ว่าผมมีสิทธิที่
จะพูดมากหรือพูดดังกว่าคุณ ไม่ใช่ ผมคิดว่าเสียงต่างๆ ที่พูดออกไปควรจะให้น้ำหนัก
และความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน มันจะผลักดันการเมืองของผู้นำไปสู่การเมือง
ที่เป็นมีส่วนร่วมของคนมากขึ้น ผมไม่อยากใช้คำว่าการเมืองภาคประชาชน แต่เป็น
การเมืองที่คนมีโอกาสหรือว่ามีแนวทางในการแสดงออก ไม่ใช่ใครมาชี้นำ ไม่ใช่ใคร
เป็นตัวเลือกทางสังคม

อาจจะมองว่าเรื่องนี้เป็นอุดมคติจนเกินไป แต่ผมคิดว่าสังคมไทยกำลังเดินไป ผมไม่
เคยบอกว่าประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่ผมบอกว่าประชาธิปไตย
เป็นระบอบที่ดีกว่าระบอบอื่นๆ เพราะว่าคุณมีสิทธิเสรีภาพที่คุณสามารถใช้กำหนด
ทิศทางของคุณได้ และดีกว่าตรงที่คุณพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน พร้อมที่จะผลักดันให้มันดี
ขึ้น  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องผ่านการสะสมของเวลาและประสบการณ์ของสังคม สังคมต้อง
ยอมรับการเรียนรู้ผิดถูก ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ที่จะเป็นไปในแนวทางนั้นแนวทางนี้ และ
การเรียนรู้ของสังคมคือสิ่งที่บ่มเพาะเนื้อหาให้กับคนในสังคมในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่ง
ที่ผมอยากจะบอก


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 14:43
ทักษิณทำให้คนระดับรากหญ้ามีสำนึกของความเป็น Citizenship มากขึ้น
หรือเปล่า


แน่นอน ผมไม่ได้มองว่านโยบายประชานิยมเป็นสิ่งที่เลวร้าย ผมคิดว่านโยบายประชา-
นิยมเป็นสิ่งที่ตอบคำถามต่อหัวข้อของการเมืองชั้นนำอย่างชัดเจน เป็นครั้งแรกที่คน
ส่วนใหญ่ของประเทศได้เห็นดอกผลของการเมืองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
เราอาจจะมองกองทุนหมู่บ้าน เอสเอ็มแอล เอสเอ็มอี อะไรต่างๆ ในแง่ร้าย

แต่ผมคิดว่ามีพัฒนาการประการหนึ่ง ก็คือว่าประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจที่อยู่กับ
ตัวเขาเอง เช่น คุณให้งบประมาณหมู่บ้านละหนึ่งล้านบาท หนึ่งล้านบาทนี้คุณจะเอาไป
ทำอะไรก็ได้ แต่ถ้ามันไม่ดี เช่นคุณเอาไปซื้อมือถือ ซื้อเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ
แล้วเมื่อเงินมันหมดไป คุณก็ต้องถูกตรวจสอบถูกตัดสินจากสังคม แต่ถ้าเงินหนึ่งล้าน
บาทมันแก้ปัญหาของสังคม มันก็ได้รับการยอมรับ

ผมคิดว่าทิศทางหรือแนวทางนั้นเราพูดโจมตีในด้านร้ายมากกว่าที่จะมองในภาพรวม
สำหรับผมแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นจะดีหรือเลวมันคนละเรื่องกับการเรียนรู้ทางสังคม ผมคิดว่า
ชาวบ้านรากหญ้าเรียนรู้ที่จะกำหนดแนวทาง เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในหนทางที่ตัวเองเลือก
อย่างไร นี่คือตัวชี้วัดที่เห็นชัดที่สุด

ผมไม่ได้บอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า มันได้สอนให้คนระดับ
รากหญ้าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเรียนรู้และเข้าใจหลักการประชาธิปไตยขั้น
พื้นฐานซึ่งเริ่มต้นจากตัวเขาเอง  เริ่มต้นจากสิทธิเสรีภาพ การกำหนดแนววิถีชีวิตที่
ตัวเองต้องการ โอเค ผิดถูกอีกเรื่องหนึ่งมันก็ต้องสั่งสมกันไป สังคมและชุมชนนั้น
สั่งสมบทเรียน ผมคิดว่าเราต้องมีสิ่งเหล่านี้

สังคมไทยสั่งสมบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องธรรมราชา เรื่องผู้ปกครองที่มีทศพิธ-
ราชธรรมมายาวนานกว่า แต่อย่างน้อยที่สุดคุณก็ต้องยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้มันมี
พลังที่มันมีพลังก็เพราะมันมีการสั่งสม คุณก็ต้องให้ประชาธิปไตยสั่งสม
บทเรียนเช่นกัน


และผมไม่ได้มองว่าชาวบ้านโง่เขลา หรือว่าไม่รู้ ไม่เข้าใจ อย่างที่คนส่วนหนึ่งบอก
ว่าชาวบ้านขาดการศึกษาไม่รู้ไม่เข้าใจ ผมคิดว่าชาวบ้านเข้าใจ โลกทัศนของชาวบ้าน
คือโลกทัศน์ที่เกี่ยวกับชีวิตที่เขาอยู่ ไม่ใช่เรา

ขณะเดียวกันชาวบ้านก็มีเหตุผลที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง ทำไมล่ะ ถ้าสิ่งนั้น
เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขา ถ้ามันไม่ดี วันหนึ่งเขาก็ไม่เลือก  แต่ปัญหาก็คือว่า คุณสร้าง
ทางเลือกให้คนเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน สังคมไทยยังไม่ได้สร้างทางเลือกอันใดให้กับ
คนอื่นนอกจากสิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำ ถ้ามองในแง่ของการเมืองเชิงนโยบายหรือการ
หาเสียงเชิงนโยบาย ผมยังไม่เห็นนโยบายอื่นที่มีทางเลือกให้กับคน นี่ไม่นับเรื่อง
เศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นไปได้ยาก
 
ในขณะที่ชาวบ้านปกป้องประโยชน์ของตัวเองตามกลุ่มที่ตัวเองสังกัด ในขณะที่ชนชั้น
กลางนั้น...ประเด็นปัญหาของการขับไล่ทักษิณนั้นมันอยู่ในกระบวนการที่เรียกว่า
การทำให้เป็นสุนทรียะทางการเมือง คือมันเป็นเรื่องของ perception และไม่ได้
อยู่บนเนื้อหาสาระพื้นฐาน การเมืองมันถูก dramatize ผ่าน sentiment ผมคิดว่า
ประเด็นเรื่องจริยธรรมหรือจริยศาสตร์ของผู้นำต่างๆ เหล่านี้ เรามันสร้างมันบนฐาน
ของ Sentiment มากกว่าเนื้อหาทางจริยศาสตร์


ปัญหาคือคุณโจมตีทักษิณในเรื่องของคุณธรรมของผู้ปกครองหรือผู้ปกครองที่ดี แต่คุณ
ก็ไม่ได้บอกว่าคุณธรรมที่ดีมันเป็นอย่างไร ผู้ปกครองที่ดีควรทำอะไร ผมคิดว่าไม่ แล้ว
สังคมก็ตอบสนองอย่างเลวร้าย ตอบสนองผ่าน Sentiment มากกว่าผ่านกระบวนการ
การตรวจสอบ

สำหรับผมๆ ไม่เชื่อว่าทักษิณเป็นทรราช เพราะว่าทักษิณยังอยู่ในกติกาประชาธิปไตย
แน่นอนว่าทักษิณ Abuse เรื่องอำนาจ ผมไม่เถียง แต่สังคมกำลังตรวจสอบ  สังคมกำลัง
ดำเนินไปในทิศทางนั้นและเขาไม่สามารถเผด็จอำนาจ (Dictate) ได้ทั้งสังคม  ถ้าเขา
สามารถ Dictate สังคมได้ทั้งสังคม คำนี้อาจจะใช้ได้ แล้วทรราชในระบอบประชาธิปไตย
นั้น เป็นทรรราชที่เกิดมาพร้อมกับ Sentiment


ที่คนเปรียบเทียบทักษิณกับฮิตเล่อร์นั้น ผมขอบอกว่าไม่ใช่ ผมอาจจะไม่ได้มีประสบการณ์
โดยตรง แต่ว่าอาจารย์ของผมส่วนหนึ่งเป็นเหยื่อของฮิตเล่อร์ และการขึ้นมาของฮิตเล่อร์
คือการขึ้นมาผ่าน Sentiment ของสังคม ไม่ได้ขึ้นมาผ่าน Knowledge base ไม่ได้ขึ้น
มาผ่านกระบวนการประชาธิปไตย Sentiment ของสังคมเยอรมันในเวลานั้นก็คือประเทศ
เต็มไปด้วยปัญหา คุณต้องการผู้นำที่มี charisma เป็นผู้นำที่สามารถดึงอารมณ์ร่วมของ
สังคมได้ แล้วนั่นแหละ หลังจากที่คุณดึงอารมณ์ร่วมของสังคมได้ คุณก็อาศัยกระบวนการ
ประชาธิปไตยสร้างตัวเองขึ้นมาเป็นผู้นำ

สิ่งหนึ่งที่ทักษิณทำอยู่ตลอดเวลาก็คือ การที่เขารู้ว่าหลักการประชาธิปไตยอยู่ตรงไหน
แล้วก็เล่นบนกติกา และขณะเดียวกันก็กำหนดกติกา

สิ่งที่ทักษิณทำอันดับแรกก็คือการรู้กติกา อันดับต่อมาก็คือการเล่นตามกติกา และระดับ
ที่ 3 ก็คือ กำหนดกติกา อันดับที่สามนี่แหละคือสิ่งที่เราต้องตรวจสอบ  แต่ปัญหาคือคุณ
ไม่ได้ตรวจสอบอันดับที่สาม กรณีที่เห็นได้ชัดก็คือการเปลี่ยนนโยบายให้เป็นกฎหมาย
นี่เป็นสิ่งที่เลวร้าย และสังคมไม่เคยตรวจสอบหรือการอาศัยช่องว่างหรือการได้เปรียบ
ในการร่างหรือกำหนดกติกา นี่คือปัญหาที่แท้จริงที่รัฐบาลทักษิณสร้าง  
-----------------------------------------------------------------------------------

จบเท่านี้ค่ะ

ท่านที่สนใจอ่านความเห็นของผู้อื่นที่อยู่นอกเวบนี้ หรืออยากแสดงความเห็นนอกเวบ
เสรีไทยบ้าง เชิญตามไปได้ที่


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5467&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 23-10-2006, 14:56
วัตถุประสงค์ของการนำบทสัมภาษณ์นี้ (และอื่นๆ) มาเผยแพร่ที่นี่

เพื่อให้มีความเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้น
เข้าใจคนที่เลือกพรรคไทยรักไทยและนิยมคุณทักษิณมากขึ้น

เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคมมากขึ้น แตกแยกน้อยลง
รู้เขารู้เรา เข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น

แต่หากผู้ใดยังอยากติดอยู่ในมายาคติว่า เพื่อนร่วมชาติเหล่านั้น
โง่ หรือเลว เพราะนิยมคนเลว จึงคบไม่ได้
อันนั้นก็คงไปห้ามกันมิได้

หวังแต่ว่าความพยายามของตัวเองจะไม่สูญเปล่า
มีคนเข้าใจเพิ่มขึ้นบ้าง... เพียงเล็กน้อยก็พอใจ

ขอบคุณทุกท่านที่มาให้กำลังใจค่ะ

 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: No_Tuky ที่ 23-10-2006, 14:58
เฮ้อ..อ่านกี่ที ๆ หมอนี่ก็ตกขอบ... แยกเอาหลักนิติกับจริยออกจากกัน 100% ในโลกความเป็นจริงมันทำอย่างนั้นไม่ได้ หลักนิติศาสตร์และจริยศาสตร์ต้องควบคู่กันไป หมอนี่ยังไม่ได้ศึกษาหลักทางพระพุทธศาสนาและไม่เข้ารากฐานทางความคิดของคนในสังคมไทยว่า ...

"ปัญหาคือคุณโจมตีทักษิณในเรื่องของคุณธรรมของผู้ปกครองหรือผู้ปกครองที่ดี แต่คุณ
ก็ไม่ได้บอกว่าคุณธรรมที่ดีมันเป็นอย่างไร ผู้ปกครองที่ดีควรทำอะไร ผมคิดว่าไม่ แล้ว
สังคมก็ตอบสนองอย่างเลวร้าย ตอบสนองผ่าน Sentiment มากกว่าผ่านกระบวนการ
การตรวจสอบ"

ทำไมจะบอกไม่ได้ ศีล 5 นั้นง่าย ๆ อยู่ เบื่อพวกแกล้งโง่แล้วอวดฉลาด

... จบดีกว่า  :slime_cool: :slime_cool: :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 23-10-2006, 15:51
อ้างถึง
ปัญหาคือคุณต้องเคารพบุคคลที่ได้รับเลือกเข้ามาเพราะว่ามีคนเห็นต่างจากคุณเป็น
จำนวนมาก และคนจำนวนมากเขาเลือกเพราะว่าเขาเห็นเขารู้ว่ามันมีผลดีอย่างไร
ถ้าเขาเลือกคนๆ นี้

คุณ snowflake ถ้าจะแย้งผม ก็ควรจะอ่านบทความของตนเองเสียให้ละเอียดก่อน
ที่ผมแย้งคือที่ผม quote มาตรงนี้ ส่วนในใจคุณ snowflake จะคิดอย่างไรผมคงไม่สามารถเดาได้เพราะได้พิมพ์ออกมา

และถ้าบออกว่าการเคารพเสียงส่วนใหญ่ นั่นคือเคารพในแง่ของการตัดสินใจ คือต้องยอมรับกฎนั้น
แต่ไม่ใช่บอกว่าให้เคารพว่าเสียงส่วนใหญ่คือผู้ยิ่งใหญ่ หรือห้ามวิจารณ์ว่าโง่หรือไร้การศึกษา

ในประเทศอเมริกา เคยมีผลสำรวจ IQ เฉลี่ยของคนที่เลือก Democrat และ Republican
ถามว่าแบบนี้เรียกว่า "ไม่เคารพ" หรือไม่?

ผมสมมติถ้าผมมีผลสำรวจทางวิชาการ เกี่ยวกับการศึกษาของคนที่เลือกพรรคต่างๆ ว่าพรรคใดที่คนมีการศึกษาเลือกมากกว่า
ถามว่าแบบนี้คือการสำรวจตามข้อเท็จจริงหรือไม่

ถ้าผมบอกว่า คนในกรุงเทพ มีการศึกษามากกว่าคนในชนบท ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่
ถามว่าที่ผมพูดมาคือ "ข้อเท็จจริง" หรือ "ความเห็น"

ผมเชื่อว่าคุณ snowflake รู้ดีว่าฐานเสียงของพรรคการเมืองใด คือผู้ที่มีการศึกษาในระดับใด
มันต่างกันแค่บางคนพูด บางคนไม่พูด บางคนแกล้งไม่รู้ บางคนหาเรื่องเบี่ยงประเด็นว่า "ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่" ก็เท่านั้นเอง

ข้อเท็จจริงมันก็คือข้อเท็จจริง ถึงจะพูดออกมาแล้วเป็นการดูถูก แต่มันก็คือข้อเท็จจริงอยู่ดี


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Neoconservative ที่ 23-10-2006, 15:51
อย่างน้อย นักวิชาการ หลายๆ คน รวมทั้ง ดร. เกษม เพ็ญภินันท์  ก็ ยังเข้า ใจ ความดี ความ เลว กับ ประชาธิปไตย มาก กว่า เจ้า โกตั๊บ ฮ่าฮ่า

 :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 16:25
ตอบคุณไทยทรูดอีกทีแล้วกันนะคะ

จะบอกว่า คุณชอบคิดแบบเหมารวมว่า ถ้าไม่เป็นแบบนั้นก็ต้องเป็นแบบนี้แน่ๆ

เหมือนกับที่คุณมองว่า คนที่ต้านรัฐประหารเพราะรักทักษิณ

ซึ่งจริงๆ แล้ว มันมีทั้งรักและเกลียด เหมือนกับที่คุณเหมารวมด่า ประชาไท หรือ ม เที่ยงคืน หรืออื่นๆ

อย่าลืมว่าในทั้งสองเวปนั้น มันมีทั้งความเห็นของนักวิชาการ และคนเล่นบอร์ด

ซึ่งหลังจากการยืดอำนาจแล้ว คนที่รักทักษิณ ก็ไหลไปรวมกันอยู่ที่นั่นเป็นจำนวนมาก

แต่ไม่ได้หมายความว่า จุดยืนของทั้งสองเวป จะเปลี่ยนไปจากเดิม คือ เค้าต้านเผด็จการทุกรูปแบบ

นั่นหมายถึง ทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง และที่มาจากกระบอกปืน

แต่คุณเหมารวมเอาว่า ความคิดแบบนี้เป็นพวกเดียวกับทักษิณนั่นไม่ถูก

เพราะคนที่ต้านการรัฐประหาร มีอยู่ในทั้งสองฝั่ง

แต่ที่เสียดายเสรีไทย เพราะไปๆ มาๆ กลายเป็นว่า จะเห็นดีเห็นงามกับการรัฐประหารไปหมด

ว่าเป็นเรื่องถูกต้อง ยังไง ความเห็นส่วนตัว เรื่องการรัฐประหาร ไม่ใช่เรื่องถูกต้องแน่นอนในระบอบประชาธิปไตย

แต่ถามว่า ที่ผ่านมายอมรับได้มั้ย ก็ต้องตอบว่ายอมรับได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเหตุผลเรื่องความแตกแยกในสังคม

อันนี้สำหรับแอนแล้ว จะเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุด (แต่ไม่ได้หมายความว่า เหตุผลอื่นไม่สำคัญ แต่เพราะกระบวนการต่างๆ ดำเนินอยู่แล้ว)

ดังนั้น เงื่อนไขการรัฐประหาร เพื่อระงับเหตุ จึงเป็นระดับที่พอจะยอมรับได้ในระดับหนึ่ง ตามเหตุผลนี้

แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างตามเหตุผลการรัฐประหารจะเป็นเรื่องถูกต้องไปหมด ถ้าไม่ได้กระทำอย่างถูกต้อง

ซึ่ง อีกบางเรื่องที่ยอมรับได้ คือ การสอบสวนของ คตส ซึ่งผู้ดำเนินการก็ดำเนินการในกรอบของกฎหมายเดิมที่มีอยู่

ถ้าจู่ๆ ยึดทรัพย์ซะเลย ถามว่า จะรู้สึกสะใจมั้ย คงจะรู้สึกอย่างนั้นบ้างเหมือนกัน แต่ถามว่าถูกต้องมั้ย ก็คงไม่ถูก

บางครั้งเหตุผลของคุณ ตั้งอยู่บนความสะใจ มากกว่าความถูกต้อง อันเป็นเหตุให้เกิดวิวาทะขึ้นในบอร์ดอยู่เสมอ

เหมือนที่ตอนนี้ นอกจากคุณมากัด snowflake ทุกกระทู้แล้ว ตอนนี้ก็อาจจะตั้งธงอัดกะแอนอีกคน เพราะมาเห็นด้วยกับเธอ

เออ หรือว่าจะอัดคนอื่นๆ อีกหลายๆ คน เพียงเพราะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารเหมือนกัน

ถ้าคุณตั้งธงจะโจมตีตัวบุคคลไปเรื่อยๆ มันก็คงไม่จบ

แล้วที่แอนตอบเรื่องคุณชวน ก็ไม่ได้ตอบที่คุณตอบเลย เพียงแต่บอกคุณ ล้างโคตรทักษิณ ว่าด่าผิดไปเท่านั้น

และที่โค้ดมาซ้ำ สองอัน เพราะทีแรกกะลังจะตอบแล้วเห็นข้อความมันผลุบๆ โผล่ๆ เหมือนโรคผีสิงกำเริบ เท่านั้นเอง

ถ้าจะโจมตีตัวบุคคลกันต่อไป เวปก็ไม่มีทางสงบสุขหรอก แค่อยากจะเตือนๆ เอาไว้ว่า ทุกคนมีสิทธิ์เสรี ที่จะแสดงความคิดเห็นที่นี่

แม้แต่ admin ซึ่งหลายๆ คนบอกว่า ไม่ควรมาแสดงความเห็นในบอร์ด ซึ่งแอนก็ไม่เห็นด้วย เพราะแอดมินก็ใช้สิทธิ์สมาชิกเวปคนหนึ่ง

ทั้งนี้ทั้งนั้น การสวมหัวโขนใดๆ เพิ่มเติมมากกว่าเดิม ไม่ได้ทำให้สิทธิเสรีภาพอื่นๆ ลดลงตามไปด้วย

ถ้าการโจมตีตัวบุคคลเพื่อดิสเครดิต โดยไม่มีเหตุผล โดยเฉพาะพาดพิงกันไปมา ไม่เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้

นั่นแหละ ที่ว่า เป็นพฤติกรรมแบบพันทิบกลับข้าง

ประเภท ออกมารุมอัดรุมด่า หาเนื้อหาสาระอะไรไม่ได้นั่นตะหากที่บอกว่า เสียดายที่เป็นเสรีไทย

เห็นคุณก็เคยบอกว่า ชอบอ่านประวัติศาสตร์ คงจะพอทราบว่า เสรีไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร

เนื้อใหญ่ใจความของคนที่ไม่เห็นด้วยกับการคงอยู่ของทักษิณ และต้านรัฐประหาร ก็คงจะเข้าใจจุดยืนของคนเหล่านั้น

ไม่ใช่ว่า ไม่เห็นด้วยเพราะขัดใจ แล้วก็ออกมารุมด่ารุมสับ อย่างนั้น จะเรียกว่า จุดยืนแบบไหน


ปล. ขอค้านริดกุนนิดนึงตรงที่ ฐานเสียงใหญ่คือคนที่มีการศึกษาแบบไหน เพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นคนที่มีการศึกษาน้อยกว่าคนส่วนน้อยที่มีการศึกษาสูงอยู่แล้ว แต่ในส่วนของคนที่รักและต้านทักษิณ มีคนทั้งสองส่วน ไม่ได้หมายความว่า คนที่มีการศึกษาสูงแล้วไม่รักทักษิณซะเป็นส่วนใหญ่เมื่อไหร่ เพราะเท่าที่ทราบมีทั้งสองส่วน และทั้งสองฝั่ง ไม่อยากให้เอาเรื่องการศึกษา มาแบ่งแยกประเทศ กลายเป็นว่า จะแบ่งชนชั้นระหว่างกัน ยิ่งยุ่งกันใหญ่

ถ้าจะพูดถึงสถานการณ์แบบสมานฉันท์ ตอนนี้เรียกได้ว่า ผู้มีอำนาจรัฐ ถูกอัดจากทั้งฝั่งรักทัก และฝั่งเกลียดทัก ส่วนตัวคือ อยากให้มีการดำเนินการทำความเข้าใจ ที่ถูกต้อง กับทั้งสองฝ่ายให้มากกว่านี้ นอกจากการแสดงเจตนาด้วยการกระทำที่ชัดเจนแล้ว การประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจก็สำคัญ ไม่งั้นคลื่นใต้น้ำก็ไม่วันหายไป เพราะถ้าคนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ว่าใครจะมายุยง ก็ไม่น่าจะเกิดผลได้ง่ายนัก


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 23-10-2006, 16:38
ใครจะคิดยังไงเกี่ยวกับความเห็นทางวิชาการ, นักวิชาการ, นักการเมือง, เพื่อนร่วมบอร์ด ก็ตามสะดวกครับ

ส่วนผมขอเก็บความคิดเห็นเกี่ยวกับเพื่อนร่วมบอร์ดไว้ในใจ

ดีกว่า  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 23-10-2006, 16:38
การมีโลกทัศน์แบบมองขาวดำมีส่วนกลบปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ
และภราดรภาพหรือไม่


มันกดทับ พูดง่ายๆ ว่าการเมืองขาวดำมันสร้างลำดับชั้นให้กับสังคม และกดทับสิทธิ
ขั้นพื้นฐานเหล่านี้ การกดทับก็คือการบอกว่า คนดีนั้นมีความสำคัญมากกว่าคนที่มีความ
สามารถ เพราะเราอนุมานกันว่า ถ้าคุณเป็นคนดีแล้วทำอะไรก็ดีตามไปหมด นี่คือสิ่งที่
น่ากลัว และสิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่มเพาะบนพื้นฐานของเหตุผลแต่บ่มเพาะบนพื้นฐานของ
Sentiment ของสังคม

เพราะว่าด้วยการที่อ้างอิงด้วยหลักการของหลักธรรมหรือทศพิธราชธรรม จึงมองความดี
มีคุณค่ามากกว่าความสามารถ ปัญหาของสังคมไทย ถ้าพูดในที่ว่าทำอย่างไรที่จะให้คน
ที่มีความสามารถในการบริหารประเทศมีบทบาทมีศักยภาพในการทำงานร่วมกันได้ และ
ขณะเดียวกันเราสามารถตรวจสอบการทำงานของเขาได้ นี่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้
ประชาธิปไตยมันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในส่วนของภราดรภาพ ผมเชื่อใน Concept พื้นฐานคือ ภราดรภาพนั้นคือความเป็นพี่เป็น
น้องกันอย่างน้อยที่สุดมันสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคมให้เกิดขึ้น เวลาที่ผมมองภราดรภาพ
ผมไม่ได้มองในแง่ของความเป็นพี่น้องหรือความเป็นครอบครัวเดียวกัน คือผมมองสาย
สัมพันธ์ของสังคมที่มันเชื่อมต่อกันและเมื่อมีสายสัมพันธ์ทางสังคมแล้ว การสร้าง
ความยอมรับซึ่งกันและกันนั้นมันง่าย และการยอมรับที่สำคัญก็คือการยอมรับความ
แตกต่างไม่ว่าคุณจะแตกต่างจากผม คุณไม่เหมือนผม ไม่ว่าจะด้วยชาติกำเนิด
เชื้อชาติศาสนา หรืออะไรต่าง พูดง่ายๆ ว่าเวลาที่คุณเป็นพี่เป็นน้องกัน เมื่อมีอะไร
กระทบกระทั่งกันคุณก็ยอมๆ กันได้
แต่ถ้าพูดในระดับของสังคมภราดรภาพของ
สังคมก็คือการอยู่ร่วมกันของสังคมและยอมรับความแตกต่างระหว่างกันโดยพื้นฐาน
ของ Rule of law ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการยอมรับความหลากหลายอันนั้น นี่คือ
โจทย์สำคัญ

และสุดท้ายเรื่องความเสมอภาคหรือเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของกฎหมาย เสมอภาค
ในส่วนนี้ คือทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในการที่จะใช้มัน ไม่ใช่ว่าผมมีสิทธิที่
จะพูดมากหรือพูดดังกว่าคุณ ไม่ใช่ ผมคิดว่าเสียงต่างๆ ที่พูดออกไปควรจะให้น้ำหนัก
และความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน มันจะผลักดันการเมืองของผู้นำไปสู่การเมือง
ที่เป็นมีส่วนร่วมของคนมากขึ้น ผมไม่อยากใช้คำว่าการเมืองภาคประชาชน แต่เป็น
การเมืองที่คนมีโอกาสหรือว่ามีแนวทางในการแสดงออก ไม่ใช่ใครมาชี้นำ ไม่ใช่ใคร
เป็นตัวเลือกทางสังคม

อาจจะมองว่าเรื่องนี้เป็นอุดมคติจนเกินไป แต่ผมคิดว่าสังคมไทยกำลังเดินไป ผมไม่
เคยบอกว่าประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่ผมบอกว่าประชาธิปไตย
เป็นระบอบที่ดีกว่าระบอบอื่นๆ เพราะว่าคุณมีสิทธิเสรีภาพที่คุณสามารถใช้กำหนด
ทิศทางของคุณได้ และดีกว่าตรงที่คุณพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน พร้อมที่จะผลักดันให้มันดี
ขึ้น  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องผ่านการสะสมของเวลาและประสบการณ์ของสังคม สังคมต้อง
ยอมรับการเรียนรู้ผิดถูก ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ที่จะเป็นไปในแนวทางนั้นแนวทางนี้ และ
การเรียนรู้ของสังคมคือสิ่งที่บ่มเพาะเนื้อหาให้กับคนในสังคมในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่ง
ที่ผมอยากจะบอก

มาแย้งครับว่า
กรุณากลับไปดูถึงคำว่าทศพิศราชธรรมใหม่ด้วยครับ
เห็นอ้างมาหลายที พึ่งมาแน่ใจว่าคุณยังไม่"รู้"อะไรกับสิ่งที่คุณเขียนซักนิด

ส่วนคำว่า "ภารดรภาพ" "ความเสมอภาค" "การตรวจสอบ"
ผมว่ายังมีประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอีกไม่ขอกล่าวถึงครับ

ป.ล. เอาไปอ่านเล่นๆครับ ผมไม่คิดว่าคุณจะเข้าใจและนำไปใช้ได้หรอกครับ
http://www.soc.soc.go.th/InFormSoc/socClean/acrobat/todsapid2.pdf


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 16:42
เพิ่มเติมอีกนิดนึงแล้วกัน ปั่นกระทู้เล่นๆ

เห็นหลายๆ คน รวมถึงนักวิชาการ หรือบุคคลที่มีผู้เคารพนับถือหลายๆ ท่าน พยายามจะออกมาอธิบายถึงความชอบธรรมของการทำรัฐประหาร มาถึงจุดนี้ต้องบอกว่า มันผ่านไปแล้ว ความชอบธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ทำเพราะความถูกต้อง จะพิสูจน์ถึงความถูกต้องชอบธรรมได้อย่างไร การอธิบายหรือหาเหตุผล ไม่สามารถจะบอกได้ แต่จะได้รับการพิสูจน์ก็ต่อเมื่อ การกระทำนั้น สะท้อนเจตนา ตามเหตุผลที่ได้ยกขึ้นมาอ้างนั้นหรือไม่

ซึ่งถามตอนนี้ คงตอบไม่ได้ เพราะเหตุการณ์จะเป็นต่อไปอย่างไรนั้น ไม่รู้ เพราะ กรรม เป็นเครื่องส่อ เจตนา พยายามจะอธิบายตอนนี้ แต่เหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้นก็ยังไม่รู้ว่า ความจริงแท้นั้นจะเป็นอย่างไร ก็ต้องบอกว่า คอยตามดูกันต่อไป เห็นอะไร ไม่อยู่กะร่องกะรอย ก็ต้องท้วงติงทักท้วง ถ้าเค้ายอมรับฟัง ก็ถือว่ารับได้ในระดับนึง

ตอนนี้ก็บอกกับตัวเอง และคนที่ถูกอ้างว่าสนิทชิดเชื้อว่า "เผด็จการ ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว"  :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 16:52
มาเห็นของคุณ login not found อีกที (เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยอ่านที่ จขกท เอามาแปะทั้งหมด บางอันอ่านข้ามๆ ก็มี)  :slime_bigsmile:

แต่อันนี้ เท่าที่ดูรวมๆ ผู้เขียนคงแสดงเจตนาว่า ให้ยึดกับโครงสร้างและระบบ มากกว่าที่จะยึดกับตัวบุคคลละมังคะ

เพราะที่เค้ายกเรื่องคนดีขึ้นมา อาจจะเพราะเกรงว่ายึดติดว่า คนนี้ดี เลยเชื่อว่าสิ่งที่คนนี้ทำถูกต้อง

แต่ผู้เขียนชึ้ให้เห็นว่า การเชื่อแบบนี้ ถ้าคนนี้ดีเปลี่ยนไปเป็นคนร้าย ดีไม่ตลอด กลายเป็นว่าจะยึดการกระทำของคนนั้นต่อไปไม่ได้

หรือจะมองว่า ก่อนหน้านั้นที่คนนี้ดีทำมาและเห็นว่าเป็นเรื่องดี แต่ต่อมากลายเป็นคนนี้ร้าย เลยจะกลายเป็นว่าทั้งหมดที่คนนี้ดีกลายเป็นไม่ถูกต้องไปหมด

การยึดติดกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยไม่มองโครงสร้างหรือระบบ อาจจะทำให้สับสนแปรปรวน หรือเป๋ไปได้ง่ายๆ ละมังคะ

ปล. โดยส่วนตัว ตอนนี้ยังเห็นว่า พลเอก สนธิ นี้ดีอยู่เหมือนกันค่ะ แต่ต่อจากนี้ต่อไป จะกลายเป็นนี้ร้ายหรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะยังไม่เห็นกรรมใดที่ชัดเจนว่า กลายเป็นนี้ร้ายไปแล้ว เพราะเหตุการณ์ตอนที่เปลี่ยนผ่านอำนาจ มักจะเป็นช่วงที่หวาดเสียวล่อแหลมอยู่เสมอๆ ถ้ารักกันจริง ก็ต้องช่วยๆ กันดู ช่วยๆ กันแย้งในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 23-10-2006, 17:48
ตอบคุณไทยทรูดอีกทีแล้วกันนะคะ
จะบอกว่า คุณชอบคิดแบบเหมารวมว่า ถ้าไม่เป็นแบบนั้นก็ต้องเป็นแบบนี้แน่ๆ
คุณแอนคิดเองว่าผมคิดว่า... ก็แปลว่าคุณกำลังเหมารวมผมอีกนั่นแหละ

เหมือนกับที่คุณมองว่า คนที่ต้านรัฐประหารเพราะรักทักษิณ
คุณแอ่นแอ๊นไปหาหลักฐานมาโชว์ผมหน่อย มีตรงไหนที่ผมเคยบอกว่า ต้านรัฐประหารแล้วต้องชอบทักษิณ ช่วยแสดงหน่อยได้ไหมครับ? อย่ามาใช้สันขวานยัดเยียดแบบนี้สิครับ คุณบอกว่าผมพูดไม่มีหลักฐาน คุณแอนดูตัวเองหรือไม่ว่า เวลาคุณกล่าวหาใครน่ะ คุณใช้หลักฐานหรือเปล่า

ซึ่งจริงๆ แล้ว มันมีทั้งรักและเกลียด เหมือนกับที่คุณเหมารวมด่า ประชาไท หรือ ม เที่ยงคืน หรืออื่นๆ
อย่าลืมว่าในทั้งสองเวปนั้น มันมีทั้งความเห็นของนักวิชาการ และคนเล่นบอร์ด
ซึ่งหลังจากการยืดอำนาจแล้ว คนที่รักทักษิณ ก็ไหลไปรวมกันอยู่ที่นั่นเป็นจำนวนมาก
แต่ไม่ได้หมายความว่า จุดยืนของทั้งสองเวป จะเปลี่ยนไปจากเดิม คือ เค้าต้านเผด็จการทุกรูปแบบ
นั่นหมายถึง ทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง และที่มาจากกระบอกปืน
คุณคิดว่า เขาเพียงแค่ต้านเผด็จการทุกรูปแบบแค่นั้นเองหรือ ? มองอะไรอย่ามองตื้นๆดีกว่า ไปอ่านให้ทั่วๆ อย่างใน #5 ที่คุณ snowflake ไปตัดแปะมา ผมถามแค่นั้นแหละ นายเกษมต้องการอะไร ?


แต่ที่เสียดายเสรีไทย เพราะไปๆ มาๆ กลายเป็นว่า จะเห็นดีเห็นงามกับการรัฐประหารไปหมด
ว่าเป็นเรื่องถูกต้อง ยังไง ความเห็นส่วนตัว เรื่องการรัฐประหาร ไม่ใช่เรื่องถูกต้องแน่นอนในระบอบประชาธิปไตย
อีกแล้วครับ นิสัยทึกทักเอาเอง แล้วยัดใส่ปากคนอื่น ไม่มีใครบอกว่ารัฐประหารเป็นเรื่องถูกต้อง แต่เขาบอกว่า มันไม่มีทางอื่นแล้วต่างหาก จึงต้องยอมรับมัน


แต่ถามว่า ที่ผ่านมายอมรับได้มั้ย ก็ต้องตอบว่ายอมรับได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเหตุผลเรื่องความแตกแยกในสังคม
อันนี้สำหรับแอนแล้ว จะเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุด (แต่ไม่ได้หมายความว่า เหตุผลอื่นไม่สำคัญ แต่เพราะกระบวนการต่างๆ ดำเนินอยู่แล้ว)
ดังนั้น เงื่อนไขการรัฐประหาร เพื่อระงับเหตุ จึงเป็นระดับที่พอจะยอมรับได้ในระดับหนึ่ง ตามเหตุผลนี้
แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างตามเหตุผลการรัฐประหารจะเป็นเรื่องถูกต้องไปหมด ถ้าไม่ได้กระทำอย่างถูกต้อง
ซึ่ง อีกบางเรื่องที่ยอมรับได้ คือ การสอบสวนของ คตส ซึ่งผู้ดำเนินการก็ดำเนินการในกรอบของกฎหมายเดิมที่มีอยู่
ถ้าจู่ๆ ยึดทรัพย์ซะเลย ถามว่า จะรู้สึกสะใจมั้ย คงจะรู้สึกอย่างนั้นบ้างเหมือนกัน แต่ถามว่าถูกต้องมั้ย ก็คงไม่ถูก
บางครั้งเหตุผลของคุณ ตั้งอยู่บนความสะใจ มากกว่าความถูกต้อง อันเป็นเหตุให้เกิดวิวาทะขึ้นในบอร์ดอยู่เสมอ
ไม่ใช่ คุณแอนคุณก็ใช้วิธียัดเยียดอีกแล้ว ผมคำนึงถึง "ผลลัพธ์" ด้วยต่างหาก เพราะคนชั่วเมื่อกติกาไม่สมประโยชน์เขา เขาก็ไม่เล่นตามกติกา ก็เท่านั้น แล้วคุณจะมาเล่นตามเกมเขาเพื่ออะไร ป่านนี้ทรัพย์สินถูกยักย้ายไปถึงไหนต่อไหนแล้ว ถ้าแบบนี้ในอนาคตก็จะเกิดคนอีกเป็นร้อยเป็นพันก็คิดจะโกง และจะมีขนาดใหญ่กว่านี้อีก เพราะโกงแล้ว ทำแล้ว ก็ไม่มีทางถูกจับได้ อยู่สบายดี

เหมือนที่ตอนนี้ นอกจากคุณมากัด snowflake ทุกกระทู้แล้ว ตอนนี้ก็อาจจะตั้งธงอัดกะแอนอีกคน เพราะมาเห็นด้วยกับเธอ
เออ หรือว่าจะอัดคนอื่นๆ อีกหลายๆ คน เพียงเพราะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารเหมือนกัน
ถ้าคุณตั้งธงจะโจมตีตัวบุคคลไปเรื่อยๆ มันก็คงไม่จบ
คุณแอ่นแอ๊น คุณอย่า "แกล้งเซ่อ" อีกคนสิครับ คุณคิดว่าไม่มีที่มาที่ไปหรือ? เป็นเพราะผมไม่ชอบจุดยืนที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาต่างหาก ผมคิดว่าคุณแอนกรุณาย้อนกลับไปดูอดีตบ้างว่า เมื่อวานคุณ snowflake พูดอย่างไร และวันนี้เธอพูดอย่างไร มันมีอะไรที่ขัดกันบ้าง ผมคิดว่า ถ้าคุณตั้งธงต้องการมาปกป้องใครเป็นพิเศษแบบนี้ เรื่องมันก็ไม่จบ (ผมน่ะรู้อยู่แล้วว่า คุณแอนต้องมากระทู้นี้)

แล้วที่แอนตอบเรื่องคุณชวน ก็ไม่ได้ตอบที่คุณตอบเลย เพียงแต่บอกคุณ ล้างโคตรทักษิณ ว่าด่าผิดไปเท่านั้น
และที่โค้ดมาซ้ำ สองอัน เพราะทีแรกกะลังจะตอบแล้วเห็นข้อความมันผลุบๆ โผล่ๆ เหมือนโรคผีสิงกำเริบ เท่านั้นเอง
ผมต้องการจะชี้ว่า คุณแน่ใจหรือว่า คุณ snowflake ชื่นชอบคุณชวนเพราะเข้าใจจุดยืนคุณชวนดีแล้ว

ถ้าจะโจมตีตัวบุคคลกันต่อไป เวปก็ไม่มีทางสงบสุขหรอก แค่อยากจะเตือนๆ เอาไว้ว่า ทุกคนมีสิทธิ์เสรี ที่จะแสดงความคิดเห็นที่นี่
แม้แต่ admin ซึ่งหลายๆ คนบอกว่า ไม่ควรมาแสดงความเห็นในบอร์ด ซึ่งแอนก็ไม่เห็นด้วย เพราะแอดมินก็ใช้สิทธิ์สมาชิกเวปคนหนึ่ง
ทั้งนี้ทั้งนั้น การสวมหัวโขนใดๆ เพิ่มเติมมากกว่าเดิม ไม่ได้ทำให้สิทธิเสรีภาพอื่นๆ ลดลงตามไปด้วย
ถ้าการโจมตีตัวบุคคลเพื่อดิสเครดิต โดยไม่มีเหตุผล โดยเฉพาะพาดพิงกันไปมา ไม่เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้
นั่นแหละ ที่ว่า เป็นพฤติกรรมแบบพันทิบกลับข้าง
ประเภท ออกมารุมอัดรุมด่า หาเนื้อหาสาระอะไรไม่ได้นั่นตะหากที่บอกว่า เสียดายที่เป็นเสรีไทย
เห็นคุณก็เคยบอกว่า ชอบอ่านประวัติศาสตร์ คงจะพอทราบว่า เสรีไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร
เนื้อใหญ่ใจความของคนที่ไม่เห็นด้วยกับการคงอยู่ของทักษิณ และต้านรัฐประหาร ก็คงจะเข้าใจจุดยืนของคนเหล่านั้น
ไม่ใช่ว่า ไม่เห็นด้วยเพราะขัดใจ แล้วก็ออกมารุมด่ารุมสับ อย่างนั้น จะเรียกว่า จุดยืนแบบไหน
อ้าว ก็ถ้าบุคคลเป็นคนที่ปลิ้นปล้อน กลับกลอก แต่ทั้งๆที่ครั้งหนึ่งพรีเซนต์ตัวเองว่ามีศีลมีธรรม เที่ยวสั่งสอนคนอื่น แต่วันนี้กลับถามหามาตรวัดคุณธรรม ก็ต้องด่าสิครับ จะให้ชมเหรอ


ผมคิดว่า อย่า "ศรีธนญชัย" "เบี่ยงประเด็น" "เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าความถูกต้อง" "วันหนึ่งพูดอย่าง อีกวันพูดอีกอย่าง" หรือ "พูดความจริงไม่ครบ" นี่ต่างหากเล่าครับที่จะทำเว็บนี้และสังคมจะสงบสุขได้


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 23-10-2006, 17:48
เห็นด้วยครับ ..

(http://www.customermotivators.com/As%20Good%20As%20It%20Gets.jpg)

"เต็มที่แล้ว ได้เท่านี้แหละ" (เฉพาะตอนนี้นะ)


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 23-10-2006, 18:56
เจ้าของบทความอะไรเนี่ยนะ  ช่วยยกตัวอย่างมาให้ดูหน่อยซิ

ว่ามีผู้นำประเทศไหนบ้าง ที่กระเด็นออกจากตำแหน่งผู้นำ ด้วยวิธี check and balance

ผมเห็นผู้นำประเทศอื่นๆน่ะ  มีกลิ่นไม่ดีเกี่ยวกับการทุจริต เกี่ยวกับผลประโยชน์ซับซ้อนเล็กๆน้อยๆ
เขาก็หน้าบาง ลาออกกันหมดแล้ว ไม่ต้องรอศาลตัดสินหรอก ไปดูเกาหลีใต้ซิ

ถ้าไม่มีใครโดน check and balance แสดงว่า วิธีการแบบนี้ไม่ได้ผล ใช่หรือไม่ แล้ววิวัฒนาการของประชาธิปไตยมันอยู่ที่ไหน?  :slime_hmm:



หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: type ที่ 23-10-2006, 19:07
เอาเข้าไปประเทศไทย  ยังงี้ แค่ไม่ชอบผู้นำคนไหนก็ออกมาเดินขบวนประท้วง
 มาด่า โดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ ตามกระบวนการ แล้วจะมีผู้นำคนไหนบริหารชาติได้เนี่ย
ตายหล่ะคิดยังงี้  สงสัยประเทศไทยคงมี การเดินขบวนจนกว่าจะได้ผู้นำในอุดมคติ ซะมั้ง
 :slime_surrender: :slime_surrender:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว ที่ 23-10-2006, 19:23
เอาเข้าไปประเทศไทย  ยังงี้ แค่ไม่ชอบผู้นำคนไหนก็ออกมาเดินขบวนประท้วง
 มาด่า โดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ ตามกระบวนการ แล้วจะมีผู้นำคนไหนบริหารชาติได้เนี่ย
ตายหล่ะคิดยังงี้  สงสัยประเทศไทยคงมี การเดินขบวนจนกว่าจะได้ผู้นำในอุดมคติ ซะมั้ง
 :slime_surrender: :slime_surrender:


บอกให้ไปดูเกาหลีใต้ทำไมไม่ไปดูเล่า   :slime_smile2:

เขาเดินขบวนกันปีละกี่ครั้ง แล้วเขาบริหารประเทศได้มั้ยครับ  เขากับเราเนี่ยใครเจริญกว่ากัน
ไม่ใช่เพราะจิตวิญญาณรักความถูกต้อง หวงแหนสิทธิของพวกเค้าหรือครับ เค้าถึงได้เจริญ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: type ที่ 23-10-2006, 19:30
ผมได้ยินมาหลังจากที่ไทยทำรัฐประหาร
คนเกาหลีเขาเดินประท้วงการทำรัฐประหารในไทยด้วยอ่ะท่าน :slime_v:
สมกับเป็นชาติแห่งการประท้วงจริงๆ  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:
แต่ อ่านะ ............ ผมดูเหตุของการประท้วงแล้วมันต่างกันมากเลยอ่ะ :slime_smile2:
 :slime_smile2:





หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 23-10-2006, 19:52
การกล่าวหาผู้นำใน
ระบอบประชาธิปไตยด้วยข้อหาเรื่องระดับความดี-เลวนั้น คือการเล่นหมากคนละ
กระดาน


เล่นหมากคนละกระดาน...เออ..คิดได้แปลกดี

ถึงที่สุด จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นมันก็บอกเราว่า "ผู้นำเลว" ย่อมเลวไปหมด แม้กระทั่งความหน้าบาง

เมื่อการตรวจสอบในระบบทำงานไม่ได้ผล กระแสสังคมขับไล่ก็ไม่ยอมออก

ผู้หลักผู้ใหญ่ก็ได้แต่กลอกหน้า มันก็ถึงเวลา ที่ต้องมีใครซักคนมาถีบผู้นำที่ไร้จริยธรรมลงไป

เพราะ"สัญญาประชาคม" นั้น ถูกผู้นำชั่ว ฉีกทิ้งไปเรียบร้อยแล้ว

ผมคิดว่านี่อาจเป็นระบบเช็คแอนด์บาลานซ์ แบบไทย ๆ นี่แหละ

ถ้าให้ดี ต้องใช้วิธีคิดแบบ อ.ธีรยุทธ์ ให้มี "มนตรีจริยธรรม" ที่เป็น "สถาบัน"ต่าง ๆ รวมตัวกัน

ลงมติไล่หรือประนาม หรืออะไรซักอย่าง...ซึ่งตอนนี้เราไม่มี...


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 19:57
เช็คแอนบาลานซ์แบบนี้อย่าทำบ่อยเลยลุง มันหวาดเสียว
ถ้าจะให้ดี อนาคตอย่าให้มีอีกเลย ไล่ทักแค่นี้ก็เหนื่อยแล้ว  :slime_surrender:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: type ที่ 23-10-2006, 20:07
มันสำคัญกับเสถียรภาพทางการเมืองและความน่าเชื่อถือต่อนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในไทยนะครับท่าน
อีกเรื่องที่สำคัญ  เรื่อง UN หน่ะครับ แก้ตัวยังไงให้เขา เห็นตามด้วย
อันนี้ก็ขึ้นอยู่ กับ คณะผู้ทำงาน แล้วนะครับ   แต่ดูแล้ว....... :slime_surrender:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 23-10-2006, 20:11
ผมอ่านนักปรัชญาของประชาไทแล้วขำ ๆ ครับ

เพราะตั้งแต่หัวเท่ากำปั้น หัวดำจนหัวหงอก ผมได้ยินแต่ว่า เลือกคนดีเข้าสภา

นักปรัชญาจากประชาไท เชื่อว่าประชาธิปไตยไม่สามารถเลือกได้คนดี...ประชาธิปไตยกับคนดีเป็นคนละเรื่องกัน...ว้าเหว่ครับ

เพราะอย่างนี้แหละ ที่ต้องมานั่งคุยกันใหม่ ...ทั้งหมด ทั้งยวง...คิดแบบนี้อันตรายครับ

เพราะประชาธิปไตยคือการเลือกคนดี คนเก่ง เข้าไปเป็นตัวแทนของเรา

คนดี ต้องมาก่อนคนเก่ง แต่ผมอ่านสัมภาษณ์แล้วเป็นงง มันเรียนปรัชญามาเพื่ออะไร

มันเรียนมาเพื่อเป็นคนชั่วของสังคมหรือไรครับ แค่เรื่องประชาธิปไตยกับคนดียังแยกแยะกันไม่ได้

คราวที่แล้ว แนวคิดแบบนี้แหละที่ นักวิจัยแบบศิโรตม์ บอกว่า ประชาธิปไตยกับ "คนดี" เป็นคนละเรื่องกัน

แต่ในเว็บประชาไทเอง ก็มีรวมจดหมายเปิดผนึก ประนาม"ผู้นำชั่ว" หรือ "ผู้นำไร้จริยธรรม"

ถ้าการตรวจสอบจากสังคม เป็นแค่ "คำกล่าวหา" ก็เรียกได้ว่า ทั้งสังคม คนมีความรู้ กล่าวหาพร้อม ๆ กัน

แสดงว่า สังคมของ "ผู้รู้" ตัดสินความดีความชั่วไม่ได้สิ

พระบรมราโชวาทยังบอกว่า "ให้สนับสนุนคนดีให้มีอำนาจ อย่าให้คนไม่ดีมีอำนาจ"...แบบนี้ก็ไม่มีผลสิ

หากประชาธิปไตยไม่สามารถเฟ้นหาคนดี สอบจอหงวนกันเลยดีมั๊ยครับ ใครเก่งได้เป็นนายกรัฐมนตรี


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 20:24
เคยจำขี้ปากเค้ามาว่า จริงๆ แล้ว ปัญหาของการเมืองไทย ไม่ได้อยู่ที่ว่า ไม่มีคนดี แต่อยู่ที่โครงสร้างสังคมเดิมเป็นระบบอุปถัมภ์ และคนส่วนใหญ่ของประเทศยังติดอยู่กับระบบนี้ ทำให้ทำอะไรก็เป็นบุญคุณต้องตอบแทน (ด้วยการไปกากบาท) ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการซื้อเสียงแต่เพียงอย่างเดียว แต่เพราะเหตุผลนี้ การที่มีกำลังทรัพย์และอำนาจ ทำให้การเลือกตัวแทนเข้าสู่สภา ไม่ได้มาจากพื้นฐานทางอุดมการณ์การเมืองทั้งหมด อย่างที่เห็นๆ กันคน แต่ก่อน ส.ส. ย้ายพรรคกันกระจุยกระจาย แต่ทำไมย้ายมาเป็นสิบพรรคแล้ว ก็ยังได้ ส.ส. เดิมๆ เข้าสู่สภา เป็นเพราะซื้อเสียงล้วนๆ หรือเปล่า

หรือในบางพื้นที่ซื้อเหมือนกันทุกคน เผลอๆ ก็ให้เท่าๆ กัน แต่ก็ยังได้คนหน้าเก่าๆ เพราะอะไร บางส่วนเพราะ คนดีที่ว่า อาจจะเข้าไม่ถึงมวลชนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง หรือไม่ใช่ว่านโยบายไม่ดี แต่เพราะระบบอุปถัมภ์มีส่วนทำให้คนตัดสินใจเลือก หรือเค้าขอร้องให้เลือกผู้ใหญ่ขอมา

ถ้าการเลือก ไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุผลที่เป็นเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ส่วนรวม คิดว่า โอกาสที่ ส.ส.อย่างปู่แคล้วจะเข้าสภาได้อย่างเมื่อก่อนคงเป็น 0 (จะรอดมาได้คงต้องไปลงส.ว. อย่างส.ว.เชียงใหม่คนนั้น แต่ก็ต้องเหนื่อยมากๆ ทีเดียว)


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 23-10-2006, 20:26
การกล่าวหาผู้นำใน
ระบอบประชาธิปไตยด้วยข้อหาเรื่องระดับความดี-เลวนั้น คือการเล่นหมากคนละ
กระดาน


พวกนักปรัชญาพวกนี้อ่านรัฐธรรมนูญกันหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ

ขนาดนักศึกษาธรรมศาสตร์ ไล่ล่ารายชื่อ 50,000 ชื่อเพื่อส่งผ่าน ปปช. ยังไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มี ปปช. รองรับตรงนั้น

แล้วเราจะถอดถอน นักการเมืองชั่วพวกนี้ได้ยังไง

เอาละ หาก ปปช. ลงมติว่าชั่วจริง ปปช. เอง ก้หามีอำนาจไม่ ต้องส่งไปให้ วุฒิสมาชิกถอดถอน การถอดถอรต้องใช้เสียงเท่าไหร่ 3 ใน 4 หรือไม่ ( ผมไม่แน่ใจ )

แค่เอาให้ผ่านคะแนนครึ่งหนึ่ง ก็ลุ้นยากลุ้นเย็น เพราะมันเป็น "สภาผัวเมีย" เรื่องแบบนี้ กระดานเดียวกันหรือคนละกระดานผมก็ไม่รู้

ตกลงนักปรัชญาของสื่อประชาไท ก็นิยมกำปั้นทุบดินอีกเช่นเคย

ทุบตรงใหนก็ถูกครับ...เพราะการใส่ความหรือวิพากษ์วิจารณ์มันไม่ใช่กระดานหมากรุกอยู่แล้ว

ผมหาอ่านไม่เจอว่าหากจะเล่นกระดานเดียวกันต้องเล่นยังไงซะด้วยสิ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 23-10-2006, 20:33
"ความเลว" และ "คนเลว" จากระบอบทักษิณทำให้เผด็จการรัฐสภาเหิมเกริม


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: An.mkII ที่ 23-10-2006, 20:47
สงสัย...

คงเหมือนเวลาที่จักมีคนบอกเลิกกะเเฟนก็พูดว่า...

เธอคงดีเกินไป... เลยเข้ากะเรามิได้....ฉะนั้นเราเเยกทางกันเถอะ...


และในกาลนี้ก็คงต้องพูุดว่า...


ประชาธิปไตยจ๋า..ถ้าประชาธิปไตยคิดว่า..การที่เป็นคนดีแล้วต้องทำให้ประชาธิปไตยต้องถอยหลัง...

ดังนั้นเราก็ต้องขอเเยกทางกะประชาธิปไตยล่ะกัน..นะจ๊ะ..

ประชาธิปไตยที่รัก....


ปล.

เอาพอขำๆน่ะอย่าคิดมาก..

 
ปล.๒

ผมก็ชอบคุณชวนครับ...

แต่ไม่ได้ชอบแบบไม้ป่าเดียวกันน่ะครับ..

เอาแบบขำๆแก้เครียดอีกซักนิด...
 
แต่เรื่องชอบคุณชวนน่ะเรื่องจริง..แต่ปชป.น่ะมันอีกเรื่องน่ะขอบอก..ขอบอก...


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 23-10-2006, 20:51
เคยจำขี้ปากเค้ามาว่า จริงๆ แล้ว ปัญหาของการเมืองไทย ไม่ได้อยู่ที่ว่า ไม่มีคนดี แต่อยู่ที่โครงสร้างสังคมเดิมเป็นระบบอุปถัมภ์ และคนส่วนใหญ่ของประเทศยังติดอยู่กับระบบนี้ ทำให้ทำอะไรก็เป็นบุญคุณต้องตอบแทน (ด้วยการไปกากบาท) ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการซื้อเสียงแต่เพียงอย่างเดียว แต่เพราะเหตุผลนี้ การที่มีกำลังทรัพย์และอำนาจ ทำให้การเลือกตัวแทนเข้าสู่สภา ไม่ได้มาจากพื้นฐานทางอุดมการณ์การเมืองทั้งหมด อย่างที่เห็นๆ กันคน แต่ก่อน ส.ส. ย้ายพรรคกันกระจุยกระจาย แต่ทำไมย้ายมาเป็นสิบพรรคแล้ว ก็ยังได้ ส.ส. เดิมๆ เข้าสู่สภา เป็นเพราะซื้อเสียงล้วนๆ หรือเปล่า

ถูกต้อง มันก็ได้ยินมาเหมือนๆกันแหละ เผลอๆดูรายการเดียวกัน ฟังแขกร่วมรายการคนเดียวกันด้วย

แต่เมื่อมันอยู่วนเวียนอยู่ในระบบอย่างว่า มันก็ต้องอาศัย "คน" ที่เป็น "คนดี" มีความกล้าหาญ มีคุณธรรม ใช่ไหมล่ะ ที่จะไปปรับปรุงหรือไปเปลี่ยนมัน หรือไปสร้างและวางรากฐานระบบใหม่ๆ ประชาธิปไตยมันถึงจะก้าวหน้าต่อไปน่ะ

ดังนั้น "คนดี" และ "ความดี" มันจะไปทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังได้ไง คนพูดแบบนี้ไม่เพี้ยน ก็มี "วาระแฝงเร้น" อยู่


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 23-10-2006, 20:53
ถ้ายังอยู่ในระบบอุปถัมป์ ก็พัฒนาประชาธิปไตยลำบากครับ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 23-10-2006, 21:00
เคยจำขี้ปากเค้ามาว่า จริงๆ แล้ว ปัญหาของการเมืองไทย ไม่ได้อยู่ที่ว่า ไม่มีคนดี แต่อยู่ที่โครงสร้างสังคมเดิมเป็นระบบอุปถัมภ์ และคนส่วนใหญ่ของประเทศยังติดอยู่กับระบบนี้ ทำให้ทำอะไรก็เป็นบุญคุณต้องตอบแทน (ด้วยการไปกากบาท) ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการซื้อเสียงแต่เพียงอย่างเดียว แต่เพราะเหตุผลนี้ การที่มีกำลังทรัพย์และอำนาจ ทำให้การเลือกตัวแทนเข้าสู่สภา ไม่ได้มาจากพื้นฐานทางอุดมการณ์การเมืองทั้งหมด อย่างที่เห็นๆ กันคน แต่ก่อน ส.ส. ย้ายพรรคกันกระจุยกระจาย แต่ทำไมย้ายมาเป็นสิบพรรคแล้ว ก็ยังได้ ส.ส. เดิมๆ เข้าสู่สภา เป็นเพราะซื้อเสียงล้วนๆ หรือเปล่า

ถูกต้อง มันก็ได้ยินมาเหมือนๆกันแหละ เผลอๆดูรายการเดียวกัน ฟังแขกร่วมรายการคนเดียวกันด้วย

แต่เมื่อมันอยู่วนเวียนอยู่ในระบบอย่างว่า มันก็ต้องอาศัย "คน" ที่เป็น "คนดี" มีความกล้าหาญ มีคุณธรรม ใช่ไหมล่ะ ที่จะไปปรับปรุงหรือไปเปลี่ยนมัน หรือไปสร้างและวางรากฐานระบบใหม่ๆ ประชาธิปไตยมันถึงจะก้าวหน้าต่อไปน่ะ

ดังนั้น "คนดี" และ "ความดี" มันจะไปทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังได้ไง คนพูดแบบนี้ไม่เพี้ยน ก็มี "วาระแฝงเร้น" อยู่


ป่าว ฟังจากวิทยุ คงไม่ใช่รายการเดียวกัน ได้ยินนานแล้ว ตั้งแต่สมัยท่านประยุทธ ยังได้สมณศักดิ์เป็นพระธรรมปิฎกอยู่เลย


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 23-10-2006, 21:03
ป่าว ฟังจากวิทยุ คงไม่ใช่รายการเดียวกัน ได้ยินนานแล้ว ตั้งแต่สมัยท่านประยุทธ ยังได้สมณศักดิ์เป็นพระธรรมปิฎกอยู่เลย

มันก็ท่านเดียวกันแหละ ผมอ่านจากหนังสือ "มองอเมริกา แล้วหันมามองไทย"  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: p ที่ 23-10-2006, 21:05
ขอชื่นชมสมาชิกทุกท่านที่ทะยอยกันออกมาแสดงความคิดเห็นตามที่ตัวเองเชื่อว่าควรจะเป็น
ต่างคนต่างก็พยามหาสำบัดสำนวนประกอบเหตุผลเพื่อให้เกิดสีสันและให้สิ่งที่ตัวเองเชื่อมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
มันเป็นความงดงามที่หาได้ไม่ง่ายนักในสังคมปัจจุบัน
แม้บางครั้งดูๆแล้วบางท่านอาจจะมีอารมณ์บ้าง
แต่ด้วยวุฒิภาวะท่านเหล่านั้นก็สามารถอดกลั้นได้เป็นอย่างดี
ส่วนอะไรจะถูกต้อง หรืออะไรจะถูกใจนั้น
ก็ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีเกียรติ์ทุกท่านก็แล้วกันนะครับ

 :slime_agreed: :slime_agreed: :slime_agreed:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 23-10-2006, 21:13
พักนี้ผมเบื่อ ๆ พวกด็อกเตอร์ทั้งหลายจริง ๆ ครับ

บางทีคำว่า ด็อกเตอร์ ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะการันตีว่าเป็น"ผู้รู้" ไปซะหมด

วันก่อนเจอนักประวัติศาสตร์ระดับ ด็อกเตอร์ พูดเรื่องประชาธิปไตยแล้วเขียนเรื่อง รัถฐาธิปัตย์ แทบอยากจะอ๊วก

มาเจอ ดร.ทางปรัชญาพูดเรื่องประชาธิปไตยแบบกระทู้นี้ยิ่งไปกันใหญ่

ไม่นับ ด็อกเตอร์ทางอาชญวิทยา ที่โดนขับไล่ออกนอกประเทศ ด้วยข้อหากระทำผิดต่อรัฐธรรมนูญ ( คอรัปชั่น )

ตกลงพอเห็นชื่อ ด็อกเตอร์นี่ ต้องเชื่อเลยมั๊ยครับ อิ อิ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 23-10-2006, 22:36
นี่ก็แสดงว่ายังคิดไม่ตก ตีประเด็นไม่แตกน่ะสิ

คุณเคยไปรับรู้ตื้นลึกหนาบาง อะไรวงในมางั้นหรือ

ถึงได้ไปตัดสินว่าใครดี ใครเลว.???

ไม่ใช่หรือเปล่า ..คุณเพียงได้รับข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมาจากสื่อใช่หรือไม่ ??

หรืออย่างมากก็จากคำบอกเล่าจากผู้อื่น  (ถ้าคุณประสบพบเห็นมาด้วยตัวเอง ก็เชิญไปเป็นพยาน

เอาผิด หรือไม่ก็ฟ้องร้องดำเนินคดีกับดร.ทักษิณได้เลย)

ถ้าผมประสบพบเห็นมาด้วยตนเอง แต่ไม่อยากจะไปเป็นพยานเอาผิด ไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีกับทักษิณด้วยตนเองได้หรือไม่ :?:
การไม่ไปฟ้องร้องด้วยตนเอง จะเป็นข้อสรุปสำหรับคุณ Killerว่าทักษิณ บริสุทธิ์ ไม่ทำผิดหรือไม่ :?:

ถ้าไม่ใช่เสียแล้ว...นี่แสดงว่าคุณใช้ข้อมูลจากสื่อฯ มาเป็นตัวตัดสิน



หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 23-10-2006, 22:39
พักนี้ผมเบื่อ ๆ พวกด็อกเตอร์ทั้งหลายจริง ๆ ครับ

บางทีคำว่า ด็อกเตอร์ ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะการันตีว่าเป็น"ผู้รู้" ไปซะหมด

วันก่อนเจอนักประวัติศาสตร์ระดับ ด็อกเตอร์ พูดเรื่องประชาธิปไตยแล้วเขียนเรื่อง รัถฐาธิปัตย์ แทบอยากจะอ๊วก

มาเจอ ดร.ทางปรัชญาพูดเรื่องประชาธิปไตยแบบกระทู้นี้ยิ่งไปกันใหญ่

ไม่นับ ด็อกเตอร์ทางอาชญวิทยา ที่โดนขับไล่ออกนอกประเทศ ด้วยข้อหากระทำผิดต่อรัฐธรรมนูญ ( คอรัปชั่น )

ตกลงพอเห็นชื่อ ด็อกเตอร์นี่ ต้องเชื่อเลยมั๊ยครับ อิ อิ


พักนี้ผมเบื่อ ๆ พวกด็อกเตอร์ทั้งหลายจริง ๆ ครับ
อย่าเหมาหมด พวกดอกเตอร์ที่ไม่มีความคิดเห็นอย่างดอกเตอร์ที่ยกมา ก็มีมาก เช่น
ดอกเตอร์สุรพล ดอกเตอร์สมบัติ ดอกเตอร์เจิมศักดิ์ ดอกเตอร์ไชยยันต์ เป็นต้น





หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 23-10-2006, 22:48
นั่นสิ เมื่อก่อนด็อกเตอร์พวกนี้ไปหลบในซอกหลืบที่ใหนมา

พอมาจับเอาจริยธรรมเข้ากับประชาธิปไตยทำไมยอมรับไม่ได้

ทั้ง ๆ ที่ประเทศที่เค้าเจริญ มีประชาธิปไตยเข้มแข็ง แค่ผู้นำหรือรัฐมนตรี ผิดจริยธรรมเพียงเล็กน้อยสำหรับเมืองไทย เค้าทำไมลาออก

พวกด็อก ๆ เหล่านี้ไปอยู่โลกใหนมา ถึงพยายามแยก จริยธรรมออกจากระบอบประชาธิปไตย

ผมอยากรู้จริง ๆ ได้วุฒิ ด็อก มาได้ยังไง


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ไทมุง ที่ 23-10-2006, 23:03
คุณ snowflake คุณมี "ความกล้าหาญ" หรือไม่ ที่จะตอบมาตรงๆว่า คุณต้องการ "อะไร" .... มากไปกว่าการตัดแปะ แล้วแอบอยู่หลังความเห็นของผู้อื่น ??

ผมคิดว่า "สนธิ ลิ้ม" เป็นเพียง "เป้าลวง" ของคุณ snowflake


เป็นคำถามที่คุณสโนวไม่ยอมตอบ..... นอกจากตัดแปะ

สำหรับประชาไท เห็นบอกว่ามีวัตถุประสงค์เป็นสื่อทางเลือก

เท่าที่เห็นเป็นการเลือกเสนอข่าวตามความเชื่อของตัวเองและพวกพ้องทั้งนั้น

หลายครั้ง สังเกตได้ว่า ไม่ยอมเสนอข่าวด้านที่ตนเองไม่เห็นด้วย ...สุดท้ายจึงไม่ใช่สื่อทางเลือก เพราะไม่มีให้เลือก

แม้กระทั่งงานวันหยุดที่ผ่านมา....ความเห็นของผู้อภิปรายคนไหนไม่สอดคล้องกับแนวคิดของตัวเองก็ไม่ยอมลงในเว็บ

...ได้ยินมากะหู....แต่ไม่เห็นมีในเว็บเลย

ปล.สนับสนุนลุงแคน กะ จารย์ปุ  พวกด็อกเตอร์ทั้งหลายที่ออกมาอภิปราย/สัมภาษณ์ บ่อยๆ หนะ

ตอนที่ทักษิณโกงกินประเทศไม่รู้ไปหลบอยู่ไหน ไม่เห็นออกมาไล่

หรือชอบประชาธิปไตยจอมปลอม...คุณสโนว์ว่าไง


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 24-10-2006, 02:12
คนเขียนบทความก็ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องจริยธรรมและความยุติธรรมอย่างเพียงพอสักเท่าไร   การยกเอาทฤษฏีของนักรัฐศาสตร์มาอธิบายก็ไปตัดเพียงบางเสี้ยวบางมาเพื่อจะมาค้านการทำรัฐประหารเท่านั้น เหมือนดูหนังแค่ตอนจบ ไม่มีที่มาที่ไป ดันมาบอกอีกว่าไม่รู้จะใช้มาตรฐานอะไรวัดว่าใครดีหรือไม่ดีได้ ขนาดนี้มันยังไม่รู้เลยมันจะไปรู้หลักธรรมได้ไงว่ามันเป็นอย่างไร   

ฟังคนพวกนี้พูดแล้วก็เหมือนพนักงานขายของที่เดินเอาของมาขาย ที่มักจะพูดแต่ข้อดี ไม่ว่าของชิ้นนั้นมันจะห่วยแค่ไหน เค้าก็สามารถพูดให้ดูเหมือนว่าสินค้าชิ้นนั้นดีได้ และมักพูดแต่ข้อเสียของสินค้าคู่แข่ง โดยที่คนพูดมันก็ยังไม่มีโอกาสได้ใช้สินค้าสองตัวนั้นเลย   และบางทีสินค้าตัวนั้นก็อาจยังไม่เคยได้ใช้งานจริงมาก่อน อย่างมากก็ทดลองในห้องแลป ซึ่งสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมได้ แต่ถ้าเอาไปใช้งานจริงมันก็อาจได้ผลตรงข้ามกับการทดลองได้ ขนาดสินค้าดังๆ ยังมีข้อผิดพลาดต้องเรียกเก็บสินค้ากลับคืนกันเลย  แล้วจะไปเอาอะไรกับท่านที่จบดอกเตอร์ทั้งหลายที่เอาแต่พูดโดยอาศัยเพียงทฤษฏีไม่กี่ข้อ ประวัติศาสตร์ไม่กี่ตอน มาอธิบาย เพียงเพื่อให้เห็นว่าการทำรัฐประหารครั้งนี้เป็นเรื่องผิดอย่างมาก และสิ่งที่ผิดอย่างมากคือการพยายามทำให้เห็นว่าความดีจะเป็นตัวทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังลงไป


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: kumtong ที่ 24-10-2006, 04:10
ผมในฐานะผู้ติดตามศึกษาความเห็นของแต่ละท่านขอวิจารณ์บ้าง ในกระทู้นี้ มี 2 พวกคือ
1. พวกประชาไท  นี่มีสภาพเหมือนนักศึกษาประชาธิปไตย ท่องจำตำราประชาธิปไตย  มองประชาธิปไตยเป็นสูตรสำเร็จ  มองแต่ โลโก้ ประชาธิปไตย  ไม่ได้มองลงไปในเนื้อหา  แล้ว ออกมาวิจารณ์ เมื่อโลโก้มันผิดไปจากแบบที่ตนเองเคยศึกษามา  จนมองไม่เห็นว่า เผด็จการรัฐสภาในแบบของหน้าเหลี่ยม  มันอันตรายอย่างไร  และมองการปฏิวัติรัฐประหารหน้าเหลี่ยม เป็นการแสวงหาอำนาจอันไม่ชอบของฝ่ายทหาร  เท่านั้น  ไม่ได้มองว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในสังคมไทย 
2.พวกที่มองเห็นการรัฐประการหน้าเหลี่ยม  เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่ไม่มีใครในสังคมที่จะหยุดยั้งเผด็จการรัฐสภาในแบบของหน้าเหลี่ยมได้ ในสถานการณ์ปัจจุบัน  ซึ่งรวมตัวกันในเวปนี้ ซึ่งแม้จะพยายามอธิบายอย่างไร  นักศึกษาประชาธิปไตย  เหล่านี้ก็เข้าใจยาก  เพราะไม่ตรงกับตำรา 
ผมเห็นด้วยกับพวกที่ 2  ผมเชื่อว่า  ระบบดีอย่างเดียวไม่พอ  ต้องคนดีด้วย   แต่หน้าเหลี่ยมเลวมาก จนเกินจะเยียวยา  และไม่สามารถรอให้ กระบวนการตรวจสอบจัดการเพราะไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน เพราะองค์กรตรวจสอบต่างๆ  สยบอยุ่ใต้อุ้งเท้าหน้าเหลี่ยมเรียบร้อยแล้ว   มีแต่จะถลำลึกลงไปมากกว่านี้ 
คิดถึงความคุ้มค่าของสังคม กับการรัฐประการเที่ยวนี้  ผมว่าคุ้ม  ในการหยุดระบอบหน้าเหลี่ยม 
ส่วนการวิตกกังวลเรื่องการสืบอำนาจยาวนานของทหารนั้น  น่าจะเป็นความกังวลเกินเหตุ ณ เหตุการณ์ปัจจุบัน  ทุกสิ่งทุกอย่างกำลังเดินไปตามคำมั่นสัญญา  ของคณะผู้ทำรัฐประหาร  ยังไม่มีอะไรผิดเพี้ยน  จึงยังไม่ถึงเวลาที่จะมาคัดค้านใดๆ   เพราะที่ผ่านมา  หน้าเหลี่ยม ทำเพี้ยนไปจากหลักการมากมาย  แต่กลุ่มนักศึกษาประชาธิปไตย  กลับไม่ได้คัดค้านอะไร 
และภาพลักษณ์ ที่ต่างประเทศมองนั้น  ผมว่าไม่ควรกังวลมากกว่าความเป็นไปของชาติไทย คนไทย
ไม่อยากจะเชื่อว่า  ที่นักศึกษาประชาธิปไตย  เหล่านี้  ออกมาคัดค้าน โจมตีต่างๆนานา ในปัจจุบัน จะเป็นแนวร่วมหน้าเหลี่ยม   แต่มากๆเข้าก็ชักไม่แน่ใจ  ว่า พวกคุณออกมาโจมตีอย่างนี้ทำเพื่ออะไรกันแน่  หรือว่าที่แท้พวกคุณแปรเปลี่ยนไปเป็นสาวกหน้าเหลี่ยมเข้าแล้ว   เพราะเงินหน้าเหลี่ยมมันเยอะ  และพระเจ้าเงินตรามันไม่เข้าใครออกใครซะด้วย  และในปัจจุบัน  ผมมีความเชื่อว่า หน้าเหลี่ยมกำลังดิ้นทุรนทุราย เพื่อการกลับมามีอำนาจใหม่  เพื่อสะสางติดตามผลประโยชน์ทับซ้อนที่ตัวเองลงทุนซุกไว้   อาวุธสำคัญของหน้าเหลี่ยม  ก็คือพระเจ้าเงินตรานั่นเอง   
ระวังเถิด นักศึกษาประชาธิปไตย  จะตกเป็นเบี้ยที่หน้าเหลี่ยมหลอกใช้  ผ่านทางพระเจ้าเงินตรา


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: มด 5.11 ที่ 24-10-2006, 09:38
.....
... แต่หน้าเหลี่ยมเลวมาก จนเกินจะเยียวยา  และไม่สามารถรอให้ กระบวนการตรวจสอบจัดการเพราะไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน ...
.....
... หรือว่าที่แท้พวกคุณแปรเปลี่ยนไปเป็นสาวกหน้าเหลี่ยมเข้าแล้ว   เพราะเงินหน้าเหลี่ยมมันเยอะ ...
.....

 :slime_smile2:ก็แค่อยากจะเขียน 2 ประโยคนี้เท่านั้น ทำเป็นวิจารณ์ซะเหมือนฉลาด


หัวข้อ: "ความดี" และ "คนดี" ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังได้อย่างไร?
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 24-10-2006, 09:49
ตอบง่ายๆ คือ “คนดี” เหล่านั้นเขาไม่อยู่ข้างประชาธิปไตย
ไม่ต้องการและไม่ยอมให้ประเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
เพราะคิดว่าตัวเองรู้ดีกว่า และเชื่อในการปกครองระบอบอื่นมากกว่า
ทำแบบนี้จะเป็น “ความดี” หรือไม่?
ก็ต้องบอกให้ได้ก่อนว่า อะไรคือ "ความดี"?

พ่อแม่ที่ห่วงว่าลูกจะไม่สามารถคิดและตัดสินใจด้วยตัวเองได้
จึงเลือกในสิ่งที่เห็นว่าดีให้ เพื่อป้องกันมิให้ลูกเดินไปผิดทาง
แบบนี้เป็นพ่อแม่ที่ดีหรือไม่?
เขาไม่ได้หวังร้าย แต่เขาไม่ให้คุณเติบโต
คุณอาจพอใจพ่อแม่ที่ดูแลดีแบบนี้ แต่พี่น้องคนอื่นอาจคิดต่างไป
แปลว่าเขาเป็นลูกที่เลว เพราะอยากคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง?

คุณอยากปกครองโดย "ผู้ใหญ่" หรืออยากปกครองตัวเอง?
คำถามมีแค่นั้น

บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้าย
มีแค่ความคิดเห็นหรือมุมมองที่ต่างกันก็ได้
เลิกคิดว่าคนที่เชื่อไม่เหมือนคุณเป็นคนเลวซะบ้าง
บางทีโลกอาจน่าอยู่ขึ้น ... อีกนิดนึง


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: An.mkII ที่ 24-10-2006, 11:26
ถ้าคนดี..

เขาไม่ต้องการะบบประชาธิปไตย
 
แล้วก็เเสดงว่าคนที่เลือกข้างประัชาธิปไตยเป็นคนแบบไหน...คุณsnowflake ช่วยตอบผมที..


และเหตุไร..คนดีเขาจึงไม่ต้องการะบบที่เขาว่ากันว่ามันเลวน้อยที่สุด....

และแบบนั้นคนเหล่านั้น..จักเป็นคนดีเเน่หรือ...


อ้อและผมพูดแบบนี้พูดในฐานะระบบประชาธิปไตยของจริงน่ะครับ...

มิใช้ประชาธิปไตยจำแลง...เพราะถ้ากันว่าด้วยประชาธิปไตยจำแลง...

ผมก็ว่าสมควรแล้วที่คนดีเขาจักไม่ชอบ...


เพราะประชาธิปไตยจำแลง..มันมีไวทำลายคนดี..และคุ้มครองคนชั่ว...


 

และผมว่า..
 
เราจักดูที่ตัวพ่อเเม่อย่างเดียวมิได้...

เราต้องดูที่ตัวเด็กมันด้วย..
 
เพราะว่าเด็กบางคนมันก็ต้องมีพ่อเเม่คอยคุม....แต่กะบางคนพ่อเเม่มันก็ไม่ต้องคุม...



ฉะนั้นในกาลนี้...

ี้เราจักมาบอกไปเลยว่าต้องใช้วิธีโน่นวิธีนี้ไปเลยมันมิได้...

แต่เราต้องดูต้องศึึกษาต้องวิเคราะห์....ว่าเด็กคนไหนมันมีนิสัยอย่างไร...ถ้าถ้าเราใช้วิธีไหน..มันจักเป็นผลดีแก่เด็กคนนั้นๆมากที่สุด..
 
มิใช้พอมันเกิดมาก็ตั้งธงเลยว่า..เราจักคุมทางเดินของมัน..รึว่าปล่อยให้มันเดินเอง...
 


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 11:30
ความดี ตรงนี้คือประโยชน์สุขของประชาชน คือความสงบสุขของบ้านเมือง

เมื่อเราเห็นประเทศชาติกำลังจะมีฝักมีฝ่าย จะฆ่ากันให้ตายกันไปข้างหนึ่ง

หากเรามีอำนาจในมือ หรือมีโอกาสช่วยชาติ ควรห้ามปรามหรือไม่...

หรือจะรอให้ฆ่ากันตายเป็นเบือแล้วค่อยออกมาขับไล่รัฐบาลทรราช

จะว่าไป หากประชาธิปไตยแบบโคตรประชาธิปไตย กำลังจะพาคนไปตาย

ถึงวันนั้น ทหารก็ออกมาอยู่ดี...


หัวข้อ: Re: "ความดี" และ "คนดี" ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังได้อย่างไร?
เริ่มหัวข้อโดย: 555555555555 ที่ 24-10-2006, 11:56
ตอบง่ายๆ คือ “คนดี” เหล่านั้นเขาไม่อยู่ข้างประชาธิปไตย
ไม่ต้องการและไม่ยอมให้ประเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
เพราะคิดว่าตัวเองรู้ดีกว่า และเชื่อในการปกครองระบอบอื่นมากกว่า
ทำแบบนี้จะเป็น “ความดี” หรือไม่?
ก็ต้องบอกให้ได้ก่อนว่า อะไรคือ "ความดี"?

พ่อแม่ที่ห่วงว่าลูกจะไม่สามารถคิดและตัดสินใจด้วยตัวเองได้
จึงเลือกในสิ่งที่เห็นว่าดีให้ เพื่อป้องกันมิให้ลูกเดินไปผิดทาง
แบบนี้เป็นพ่อแม่ที่ดีหรือไม่?
เขาไม่ได้หวังร้าย แต่เขาไม่ให้คุณเติบโต
คุณอาจพอใจพ่อแม่ที่ดูแลดีแบบนี้ แต่พี่น้องคนอื่นอาจคิดต่างไป
แปลว่าเขาเป็นลูกที่เลว เพราะอยากคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง?

คุณอยากปกครองโดย "ผู้ใหญ่" หรืออยากปกครองตัวเอง?
คำถามมีแค่นั้น

บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้าย
มีแค่ความคิดเห็นหรือมุมมองที่ต่างกันก็ได้
เลิกคิดว่าคนที่เชื่อไม่เหมือนคุณเป็นคนเลวซะบ้าง
บางทีโลกอาจน่าอยู่ขึ้น ... อีกนิดนึง

 ถ้าเราเป็นลุกที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ลูกบางคนก็เชื่อฟังพ่อแม่ ลูกบางคนก็ไม่เชื่อพ่อแม่ มันก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ ลุกทุกคนต้องตระหนักให้ดีว่า การที่ครอบครัวจะเป้นครอบครัวได้ ลูกๆทุกคนต้องปรองดองกัน รักกัน ไม่แตกแยกกัน  ไม่งั้นครอบครัวก็จะต้องแตกแยกจากกันไป เหมือนลักษณะการปกครองแบบฝรั่งก็เหมือนรูปแบบครอบครัวของเขาเมื่อโตขึ้นก็แยกจาก ต่างก็ไปมีครอบครัว พ่อแม่ก็ต้องแยกอยู่ต่างหาก แต่เขาอยู่กันได้ นั้นคือรูปแบบของเขา แต่สำหรับไทย เราอยู่กันอย่างนี้ อยู่กันอย่างอบอุ่นมาหลายร้อยปี เรามีรูปแบบครอบครัวอย่างนี้ เราต้องรู้จักตนเองก่อนว่า เราเหมาะกับ การมีครอบครัวรูปแบบไหน สำหรับคนไทย หัวหน้าครอบครัว หรือ ผุ้ใหญ่จะเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพและถือเป็นที่รวมจิตใจของคนในครอบครัว หากขาดผุ้นำก็จะสร้างความสั่นคลอนแก่ครอบครัว แต่ ส่วนใหญ่แล้วหัวหน้าครอบครัวก็จะคอยดุแลให้คนในครอบครัวมีความพร้อมที่จะดูแลครอบครัวแทนตนเองได้อยู่แล้ว เนื่องด้วยไม่อยากให้ครอบครัวต้องแตกแยกกันไป วัฒนธรรมของชาวเอเชียส่วนใหญ่ มักจะมีครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งความอบอุ่นนี้เป็นความอบอุ่นที่ฝั่งยุโรปมีน้อยกว่าพวกเรามาก บางครั้งพวกเขาก็อจฉาเราด้วยซ้ำไป  เราจึงต้องมองตัวตนเราให้ออกว่าเราคือใคร ก่อนที่จะมองว่าเราจะทำอะไร พ่อแม่ไม่บังคับลูกจนวันตายหรอกเพียงแต่มักจะห่วงใยเราอยู่เสมอ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: คนเจียงใหม่ ที่ 24-10-2006, 13:56
 :mozilla_cool:ความดี คนดี ต้องได้คนดีก่อน คนดีสร้างความดี
ความดีจะทำให้สังคมอยู่ดี มีสุข แต่ความดีสร้างยาก
ความเลวสร้างง่ายกว่า มาตรฐานคนดี ความดี นี้วัดยาก
เพราะคนเรามีหลายๆระดับ เพราะฉนั้น คนดี ความดี
ก็ควรจะมีหลายๆระดับ :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 24-10-2006, 14:02
:mozilla_cool:ความดี คนดี ต้องได้คนดีก่อน คนดีสร้างความดี
ความดีจะทำให้สังคมอยู่ดี มีสุข แต่ความดีสร้างยาก
ความเลวสร้างง่ายกว่า มาตรฐานคนดี ความดี นี้วัดยาก
เพราะคนเรามีหลายๆระดับ เพราะฉนั้น คนดี ความดี
ก็ควรจะมีหลายๆระดับ :slime_cool:


มาได้ยังไงเนี่ย แสดงว่าไม่ได้อ่านบทความข้างบนๆเลยเนี่ย

ถ้าทรงภูมิรู้ขนาดนั้นก็ช่วยระบุมาหน่อยว่า ความดีมันมีกี่ Level

ระดับไหนถึงจะมาบริหารประเทศได้

ระดับไหนเป็นได้แค่ขอทาน


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: caveman ที่ 24-10-2006, 14:25
ตอบคุณ Killer หน่อยครับ ความดีนะมันไม่มีความจนความรวยหรอกครับ
ถาม มโนสำนึกก็ได้ครับว่า อยู่ตรงไหน การทำความดีนั้น คิดง่ายๆ ทำแล้วประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับคนทุกคนครับ ไม่ใช่ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ชนชั้นใดชั้นหนึ่ง
พระพุทธเจ้า ท่านทรงสอน ให้เลิกแบ่งกลุ่ม แบ่งชั้น และวรรณ  การทำความดีนั้นไม่มีแบ่งชั้น วรรณ ครับ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: คนเจียงใหม่ ที่ 24-10-2006, 15:10
 :mozilla_cool:ระดับคุณคิลถ้ามีความดีก็คือระดับคุณคิล
ถ้าความดีระดับผมผมก็คิดว่ามันมีอีกระดับแน่ๆ
เพราะแค่ความคิด เรา ก็คิดได้ไม่เหมือนกัน OKด่วย :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 24-10-2006, 15:21
ก็ผมถามอยู่นี่ไงล่ะ เห็นบอกว่า ต้องคนดีๆเท่านั้นถึงจะมาบริหารประเทศ


ช่วยระบุมาด้วยว่าดีระดับไหน คนที่มีความรู้ต่ำต้อย แต่มีความดีระดับสูงสุด

มาบริหารประเทศได้หรือเปล่า ?

หรือคนดีระดับต่ำ ความรู้ระดับต่ำ มาบริหารประเทศได้ไหม ?

แล้วเขามีเปิด National Test จัดชั้น League วัดความดีงามกันเมื่อไหร่

จะได้ไปสมัครกับเค้ามั่ง....


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 15:30
เรื่องความชอบธรรมของการรัฐประหาร อยากให้ไปอ่าน อาจารย์เขียน ธีระวิทย์ ท่านบอกชัดเจนแล้ว

ทักษิณ ละเมิดสัญญาประชาคม มันหมดราคาไปแล้ว หมดความชอบธรรมไปแล้ว

เมื่อผู้ปกครองละเมิดสัญญาประชาคม ก็สมควรที่ใครก้ได้ต้องออกมาถีบมันลงจากอำนาจ เพราะทำผิดสัญญาประชาคม

มีคนถาม "ความดีมีกี่ระดับ" ตอบสั้น ๆ ความดีคือ ทำตามรัฐธรรมนูญ ไม่ไปทำธุรกิจ

แต่หน้าเหลี่ยมยังทำธุรกิจ ยังคิดถึงผลประโยชน์ของตนเองและลูกเมียญาติมิตร

ตรงนี้แหละ ที่มันบอกว่า...เราต้องได้คนดี ถึงหากไม่ดีก้ต้องไม่ทำอะไรที่มันขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

เพราะเค้าบอกตรง ๆ ไม่อ้อมค้อมว่า รัฐมนตรีต้องไม่ทำธุรกิจ...จะต้องพิสูขน์อะไรมากมายเกินกว่าการเจรจาตกลงขายหุ้นชิน

หรือการออก พรก.สรรพสามิต หรือ แม้แต่การยอมให้ ไอทีวี เรียกร้องผลประโยชน์จากรัฐ

หากวัดความดีหรือคนดี มองแค่ว่า เมื่อมีผลประโยชน์วางตรงหน้า คุณจะผลักผลประโยชน์นั้นเข้ากองมรดก หรือจะผลักเข้าคลังของแผ่นดิน

ถ้าคุณเสียสละ ไม่โลภ คุณต้องมองว่า อำนาจที่คุณได้มา คืออำนาจของผู้คนทั้งประเทศ ไม่ใช่ให้อำนาจคุณไปทำอะไรให้ครอบครัว ส่วนตัว และพวกพ้อง

ถ้าด็อกทั้งหลาย มอง"ความดี" หรือ "คนดี" แค่นี้ไม่ออก ก็ส่งคืนปริญญาบัตรได้แล้ว


หัวข้อ: มาตรวัดความดี
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 24-10-2006, 15:58
ที่เขาเสนอไม่ให้ใช้ความดีมากำหนดการเมือง
เนื่องจากมันไม่มีเครื่องมือวัดความดีที่ใช้การได้จริง
ใช่ว่าจะเป็นคนไม่นิยมความดีอะไร
จึงให้วัดที่อื่นแทน เช่นดูจากผลงานการบริหารประเทศ

ถ้าสามารถเลือกคนที่รู้แน่ว่าดีได้ ใครจะไม่เอา
แต่มันบอกไม่ได้ ใช่ว่ามีเขียนไว้บนหน้าผาก
หรือเปล่งแสงออร่าออกมาให้เห็นได้ชัดเจน
นอกจากนี้คนดี ก็แปรเปลี่ยนได้
อำนาจมันไม่เข้าใครออกใคร
ดังนั้นควรทำการวัดที่เวลาต่างๆ
นั่นคือมีการตรวจสอบตลอดการทำงาน

ท่านผู้รู้ช่วยตอบหน่อยสิว่าวัดความดีของคนทั่วไป
ให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร
มีหรือยังเครื่องมือที่ว่า ถ้ามีก็ควรนำมาใช้
วัดไปเลยว่าคนไหนความดีไม่ถึงเท่านี้ขีด ไม่ต้องมาเป็นผู้บริหารประเทศ
หรือถ้าอยากให้ดูเป็นประชาธิปไตย ก็นำมาใช้กับการเลือกตั้ง
โดยวัดความดีไปเลย ก่อนเข้าคูหาไปกาบัตร
ใครดีไม่พอเท่านี้ขีด ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนน
ใช้แทนการกำหนดอายุ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
หรือ “ความโง่” ที่หลายๆ คนอยากให้ใช้เป็นเกณฑ์เหลือเกิน
เพราะเชื่อว่าคนโง่ไปเลือกคนเลวมาเป็นผู้แทนฯ
ถ้าใครมีมาตรวัดความดี เสนอมาเลย
สำหรับสังคมที่จะนิยมความดีของตัวบุคคล อย่างมีเหตุผล
ควรบรรจุเรื่องพวกนี้เข้าไปในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
สำหรับใช้กับระบอบประชาธิปไตย “แบบไทยๆ”

จะได้ไม่ต้อง เลือกตั้งไป...แล้วก็มาทำรัฐประหาร
ด้วยเหตุผลนักการเมืองเลวโกงกิน... แล้วก็เลือกตั้งใหม่
ซ้ำๆ ซากๆ เป็นวงจรอุบาทว์อีกต่อไป


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 24-10-2006, 16:01
โกหก=ไม่ดี


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 16:02
เอาแค่ศีล 5 หรือ หิริ โอตตัปปะ ทำไมมันหายากนักเหรอ

ไม่ได้ศีล 5 ก็อย่าโกหกหลอกลวง ขอข้อเดียวได้มั๊ย...ทำไมไม่เคยเข้าวัดเลยหรือไง


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 24-10-2006, 16:24
ดี เปลี่ยนเป็น เลว ได้ชัวพริบตา

แล้วแต่ว่าจะมีแรงกระตุ้น ยั่วยุ ตรงใจหรือไม่

นั่นคือปัญหาใหญ่

อย่างหลายคนติดยาบ้า เพราะเป็นหนี้ ต้องหาเลี้ยงลูกเีมียเช้ายันเช้า

ก็เลี่ยนไปเป็นคนเลวได้ในไม่นาน เพราะ ยามันทำให้โง่ ขาดสติ และคลั่งยา


หลายคน เพียงเริ่มเล่นการพนันคืนเดียว เปลี่ยนคนคนลักเล็กขโมยน้อย

ชั่วร้าย ทำทุกอย่างเพื่อเงิน


หลายคนเมื่อมีอำนาจแล้ว กลายเป็นคนชั่ว

บ้าอำนาจ พยายามใช้อำนาจในทางไม่ดีให้ถึงที่สุด



ส่วนความฉลาด ความเ่ก่งก็พอกัน

  คนฉลาดด้านนึง อาจโง่บัดซบในอีกด้าน แล้วยังดื้อด้านทำตามใจตนเอง โดยอ้างผลฉลาดจากอีกด้าน


ถึงได้มีการให้เลือกตั้งใหม่  ถึงได้กำหนดให้มีองค์กร ตรวจสอบ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 24-10-2006, 16:30
เอาแค่ศีล 5 หรือ หิริ โอตตัปปะ ทำไมมันหายากนักเหรอ

ไม่ได้ศีล 5 ก็อย่าโกหกหลอกลวง ขอข้อเดียวได้มั๊ย...ทำไมไม่เคยเข้าวัดเลยหรือไง

แล้วรู้ได้ยังไงล่ะคะ
ว่าใครเขาถือศีลอะไร?
มีความดีระดับไหน?

ไม่เกี่ยวกับหายากหรือง่าย
เกี่ยวกับว่าบอกได้หรือเปล่า
ว่าใครดีมากน้อยแค่ไหน

ถ้าบอกได้แม่นยำก็แนะนำ
ให้ใช้เป็นเกณฑ์คัดคนมีสิทธิเลือกตั้งไปเลย
จะได้มีแต่คนดีเลือกคนดี
เข้ามาปกครองประเทศ

and we live happily ever after.
THE END


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 24-10-2006, 16:36
แจ้งบัญชีทรัพย์สิน
แต่ไม่แจ้งของคนใช้ตนขับรถ

น่าจะแปลว่าโกหก




ไม่รู้ว่าแม่นพอรึยัง  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 24-10-2006, 16:39
คนดีย่อมจะเห็นแก่ผลประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง

สนธิลิ้ม ไม่ใช่คนดี
ทักษิณ ไม่ใช่คนดี


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 16:41
ทักษิณ โกหกหน้าด้าน ๆ หลายเรื่องยังไม่่ซึมซับเลยเหรอ...


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 24-10-2006, 16:44
แจ้งบัญชีทรัพย์สิน
แต่ไม่แจ้งของคนใช้ตนขับรถ

น่าจะแปลว่าโกหก




ไม่รู้ว่าแม่นพอรึยัง  :slime_hmm:

ใช่แล้ว

แต่คนที่ไม่มีการแจ้งนี่สิ
เชื่อว่าดีไปเลยหรือไง?

หรือแค่ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า?


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 24-10-2006, 16:46
แจ้งบัญชีทรัพย์สิน
แต่ไม่แจ้งของคนใช้ตนขับรถ

น่าจะแปลว่าโกหก




ไม่รู้ว่าแม่นพอรึยัง  :slime_hmm:

ใช่แล้ว

แต่คนที่ไม่มีการแจ้งนี่สิ
เชื่อว่าดีไปเลยหรือไง?

หรือแค่ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า?

ก็เหมือนหาแฟนนั่นแหละครับ
่คบไปนานๆ ถึงจะเห็นอะไรๆ

ต้องดูใจกันหน่อย  :slime_inlove:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 16:49
พวกด็อก ๆ พวกนี้ เคยได้ยินเรื่อง "ธรรมาภิบาล" กันบ้างมั๊ยล่ะ

ประเทศประชาธิปไตยเค้าถือสามาก ๆ ในเรื่องพวกนี้

ไม่ว่าธรรมาภิบาลภาครัฐ หรือ ธรรมาภิบาลภาคเอกชน

มีกฎหมายมากมาย ในอเมริกา ที่แสดงถึงความมีจริยธรรมหรือ ศีลธรรมหรือ ธรรมาภิบาล

พวกด็อกทั้งหลายคงเรียนไม่ถึง


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 24-10-2006, 16:56
แจ้งบัญชีทรัพย์สิน
แต่ไม่แจ้งของคนใช้ตนขับรถ

น่าจะแปลว่าโกหก




ไม่รู้ว่าแม่นพอรึยัง  :slime_hmm:

ใช่แล้ว

แต่คนที่ไม่มีการแจ้งนี่สิ
เชื่อว่าดีไปเลยหรือไง?

หรือแค่ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า?

ก็เหมือนหาแฟนนั่นแหละครับ
่คบไปนานๆ ถึงจะเห็นอะไรๆ

ต้องดูใจกันหน่อย  :slime_inlove:


อ้าว นึกว่าจะมีวิธีรู้ล่วงหน้า
ใช้ “มาตรวัดความดี” อะไรนั่น
เลือกไปก่อน...ค่อยมารู้ภายหลัง
มันก็ไม่ต่างจากเดิม คือ
ต้องมาไล่... หลังจากช้ำใจไปแล้วน่ะสิ

 :slime_sentimental:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 24-10-2006, 16:57
เอาเป็นว่าถ้าจะเรียกร้องความโปร่งใสผมเห็นด้วยเต็มที่ครับ

เพียงแต่ถ้าเอาประเด็น ดี-ไม่ดี มาเกี่ยวข้องมันจะตีกันยุ่งเปล่าๆ
คุยไปคุยมาก็เข้าใจกันไปคนละอย่าง

โดยเฉพาะหลายๆคนที่ไม่ได้เป็นนักปรัชญา   :slime_dizzy:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 17:02
คนไม่ดี คนโกง มันจะเรียกร้องความโปร่งใสได้ยังไงล่ะ

พอจะถูกตรวจสอบก็ไปขัดขวางทุกวิถีทาง...

เป็นถึงนักปรัชญา แต่ไม่รู้ว่า ประชาธิปไตยคือการเลือกคนดี คนเก่ง เข้าทำงานแทนประชาชน

ไม่รู้ว่าเรียนปรัชญามาทำอะไรกัน


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 24-10-2006, 17:05
เอาแค่ศีล 5 หรือ หิริ โอตตัปปะ ทำไมมันหายากนักเหรอ

ไม่ได้ศีล 5 ก็อย่าโกหกหลอกลวง ขอข้อเดียวได้มั๊ย...ทำไมไม่เคยเข้าวัดเลยหรือไง
ไม่ได้หรอก

วันก่อน
ดิฉันเพียงเป็นพุทธศาสนิกชนที่พยายามถือศีลห้า
วงเล็บ ถือบางข้อนะ ขนาดทนายส่วนตัวยังไม่กล้าแตะประเด็นนี้เลย


วันนี้
ช่วยประดิษฐ์เครื่องวัดคุณธรรมที่แม่นยำให้ด้วยสิคะ
จะได้เอามาใช้วัดกับทุกคน
 :slime_fighto:
ถ้าชวน หลีกภัย รู้ว่ามีคนอ้างว่าเป็นพุทธ แต่ถือศีล 5 บางข้อมาบอกว่าชื่นชอบ ชวนคงจะรีบตีตัวออกห่างล่ะครับ ชวน หลีกภัย ท่านพูดว่าอะไรบ้างกลับไปดูสิครับ

ไม่แปลกที่จะไปชื่นชมทัศนคติของคนอย่าง วรเจตน์ ศิโรตม์ เกษม ฯลฯ  ลองกลับไปอ่าน #5 ยิ่งน่าตกใจครับ ผมจึงต้องเค้นว่า ตกลงต้องการอะไร


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-10-2006, 17:26

อย่าไปคิดมากจนวิตกจริต  ผมฟันธงให้ล่วงหน้าละกัน รัฐประหารนอกระบบรัฐสภาไทย ตุลาการ หรือในฝ่ายบริหารเอง จะไม่เกิดขึ้นอีกสบายใจได้หรือยัง :slime_doubt: :slime_cool: :slime_v:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-10-2006, 17:30


ส่วนเรื่องวิธีการตรวจสอบคนส่วนใหญ่อย่างเป็นระบบนั้นไม่ยากหรอก แต่ต้องรอให้คนไทยทั้งหมดมีความพร้อมกว่านี้ ยังมีเรื่องต้องเดินหน้าอีกหลายๆด้าน   :slime_cool:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 24-10-2006, 20:14

วิธีการสำหรับคนดีคงเหมือนการสอบสัมภาษณ์หรือชิงทุนวิจัย ฯลฯ คือได้ทำสิ่งที่ควรทำหรือไม่?

ส่วนคนไม่ดีก็วัดว่าทำอะไรผิดที่จะต้องถูกจำกัดสิทธิ์ได้ เช่นโกหก หลอกลวง ฆ่าคนบริสุทธิ์ เบียดบังผลประโยชน์สาธารณะเข้ากระเป๋า เป็นต้น


พฤติกรรมในอนาคตเราไม่อาจทำนายได้แน่นอน แต่เราสามารถกำกับตรวจสอบและควบคุมได้ จนถึงป้องกันได้ ซึ่งหากทำผิดก็ต้องลงโทษได้หนักเบาตามโทษที่กระทำ

ในทางการเมืองก็ต้องมีบทกำหนดโทษสำหรับนักการเมืองและข้าราชการ ซึ่งจะต้องสามารถให้ประชาชนกล่าวโทษ ให้จับและฟ้อง ให้ศาลพิจารณาได้โดยง่ายครับ

หากระบบเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ทุกกลุ่ม ไม่มีการคอร์รัปชัน มีความโปร่งใส มีกลไกตรวจสอบที่ทำงานได้จริง เงื่อนไขการรัฐประหารก็จะไม่เกิด

คุณภาพของประชาชน ก็คือต้องไม่เชื่อในสิ่งที่ไม่มีความเป็นไปได้ หรือหลงไปกับมายาคติโดยง่าย  มีข้อควรระวังคือต้องเลือกแหล่งข้อมูลที่เที่ยงตรงที่จะเชื่อได้ด้วย และจะต้องมีพื้นฐานการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวที่ดี  สังเกตง่ายๆจากอคิติที่ติดตัวบุคคลมา  บุคคลเหล่านี้ต้องถูกจำกัดสิทธิ์แม้เป็นเสียงส่วนใหญ่ในหลายๆกรณีครับ  การสร้างเกณฑ์ทดสอบไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ อาจจะตัดสิทธิ์การเลือกตั้งของประชาชนจำนวนสัก 5-10เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์เป็นการทดสอบดูก่อนก็ได้ครับ

เราต้องเน้นการจำกัดสิทธิ์คนไม่ดีไว้ก่อน ถูกต้องแล้วครับ เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสกลับตัวกลับใจ ส่วนคนดีเราก็ใช้วิธียกย่องเชิดชู


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 24-10-2006, 22:18
เอาแค่ศีล 5 หรือ หิริ โอตตัปปะ ทำไมมันหายากนักเหรอ

ไม่ได้ศีล 5 ก็อย่าโกหกหลอกลวง ขอข้อเดียวได้มั๊ย...ทำไมไม่เคยเข้าวัดเลยหรือไง
ไม่ได้หรอก

วันก่อน
ดิฉันเพียงเป็นพุทธศาสนิกชนที่พยายามถือศีลห้า
วงเล็บ ถือบางข้อนะ ขนาดทนายส่วนตัวยังไม่กล้าแตะประเด็นนี้เลย


วันนี้
ช่วยประดิษฐ์เครื่องวัดคุณธรรมที่แม่นยำให้ด้วยสิคะ
จะได้เอามาใช้วัดกับทุกคน
 :slime_fighto:
ถ้าชวน หลีกภัย รู้ว่ามีคนอ้างว่าเป็นพุทธ แต่ถือศีล 5 บางข้อมาบอกว่าชื่นชอบ ชวนคงจะรีบตีตัวออกห่างล่ะครับ ชวน หลีกภัย ท่านพูดว่าอะไรบ้างกลับไปดูสิครับ

ไม่แปลกที่จะไปชื่นชมทัศนคติของคนอย่าง วรเจตน์ ศิโรตม์ เกษม ฯลฯ  ลองกลับไปอ่าน #5 ยิ่งน่าตกใจครับ ผมจึงต้องเค้นว่า ตกลงต้องการอะไร


ขอใช้สิทธิ์พาดพิง ที่ไม่ตอบคุณ เพราะคิดว่าการต่อล้อต่อเถียงกับคุณเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ เลยวางอุเบกขาไปซะ
เพราะยังไงคุณก็ไม่เลิกพฤติกรรมตามจิกกัดทุกคำพูดทุกเม็ดแบบนี้อยู่ดี เห็นเป็นมาตั้งแต่เข้าเวปนี้ใหม่ๆ จนเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็น
คุณเองก็ยอมรับว่าทำแบบนี้ ขอโทษไปก็หลายครั้ง ยังมาหาว่าแอนยัดเยียดข้อหา เพราะงั้น ตอบไปก็เปล่าประโยชน์

ถ้าแบนไม่ต้องอ่านความเห็นของคุณได้ ก็คงจะทำ แบบว่า กด ignore แล้วไม่ว่าคุณตอบอะไรมาก็ไม่โชว์บนหน้าจอเลยแบบนั้นหน่ะ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 24-10-2006, 22:30
เอาแค่ศีล 5 หรือ หิริ โอตตัปปะ ทำไมมันหายากนักเหรอ

ไม่ได้ศีล 5 ก็อย่าโกหกหลอกลวง ขอข้อเดียวได้มั๊ย...ทำไมไม่เคยเข้าวัดเลยหรือไง
ไม่ได้หรอก

วันก่อน
ดิฉันเพียงเป็นพุทธศาสนิกชนที่พยายามถือศีลห้า
วงเล็บ ถือบางข้อนะ ขนาดทนายส่วนตัวยังไม่กล้าแตะประเด็นนี้เลย


วันนี้
ช่วยประดิษฐ์เครื่องวัดคุณธรรมที่แม่นยำให้ด้วยสิคะ
จะได้เอามาใช้วัดกับทุกคน
 :slime_fighto:
ถ้าชวน หลีกภัย รู้ว่ามีคนอ้างว่าเป็นพุทธ แต่ถือศีล 5 บางข้อมาบอกว่าชื่นชอบ ชวนคงจะรีบตีตัวออกห่างล่ะครับ ชวน หลีกภัย ท่านพูดว่าอะไรบ้างกลับไปดูสิครับ

ไม่แปลกที่จะไปชื่นชมทัศนคติของคนอย่าง วรเจตน์ ศิโรตม์ เกษม ฯลฯ  ลองกลับไปอ่าน #5 ยิ่งน่าตกใจครับ ผมจึงต้องเค้นว่า ตกลงต้องการอะไร


ขอใช้สิทธิ์พาดพิง ที่ไม่ตอบคุณ เพราะคิดว่าการต่อล้อต่อเถียงกับคุณเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ เลยวางอุเบกขาไปซะ
เพราะยังไงคุณก็ไม่เลิกพฤติกรรมตามจิกกัดทุกคำพูดทุกเม็ดแบบนี้อยู่ดี เห็นเป็นมาตั้งแต่เข้าเวปนี้ใหม่ๆ จนเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็น
คุณเองก็ยอมรับว่าทำแบบนี้ ขอโทษไปก็หลายครั้ง ยังมาหาว่าแอนยัดเยียดข้อหา เพราะงั้น ตอบไปก็เปล่าประโยชน์

ถ้าแบนไม่ต้องอ่านความเห็นของคุณได้ ก็คงจะทำ แบบว่า กด ignore แล้วไม่ว่าคุณตอบอะไรมาก็ไม่โชว์บนหน้าจอเลยแบบนั้นหน่ะ

ผมขอโทษที่ใช้คำพูดรุนแรง แต่จะไม่ขอโทษกับพฤติกรรมออ ตอ ลอหรอกครับ และผมไม่ชอบคนที่อ้างว่าศึกษาธรรมะ แต่พูดความจริงไม่คบ พูดบางส่วนเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า นายนี่ตามจิกกัด อยู่ดีๆผมไม่มาตามแฉใครหรอก พอตอบคำถามไม่ได้ก็อ้างวางอุเบกขา เดี๋ยวก็แผ่เมตตา แต่ปกป้องความออ ตอ ลอ พูดกันตรงๆเลย


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 22:49
มาตรวัดความดี พูดกันไปหมดแล้วนี่ อิ อิ

เอาจารีต ประเพณี คติธรรม คติพจน์ คุณค่าทางสังคม มารยาททางสังคม

หลอมรวมจนเป็นวัฒนธรรมนั่นไง มาตรวัดความดีของแต่ละสังคม

อะไรดี ไม่ดี มันมีอยู่ทุกสังคมนั่นแหละ

แม้แต่ "สมบัติผู้ดี" นั่นก็เป็นเครื่องหมายให้ทำดี

เครื่องหมายของ "คนดี" ก็ สัปปุริสธรรม 7 ประการใช่มั๊ย..มีหมดแล้วนี่

ไม่งั้นก็สอนลูกให้เป็น "คนดี" ไม่ได้สิ

พวกเรียนถึงระดับด็อก แต่ลืมธรรมะพระพุทธเจ้า ลืมเครื่องหมายของคนดีไปได้ยังไง

ขนาดประธานาธิบดี เค้ายังต้องสาบานตน โดยการแตะมือที่พระคัมภีร์ นั่นแสดงว่าจะทำตัวเป็นคนดี

หากจะทำชั่วที่ขัดกับพระคัมภีร์ ก็ย่อมจะมีความละอาย เหมือนนักการเมืองไทยที่ต้องให้สัตย์ปฏิญาณต่อเบื้องพระพักตร์นั่นแหละ

การสาบาน ปฏิญาณตนนั้นเกี่ยวเนื่องกับการรับตำแหน่งทั้งนั้น การที่บอกว่า ระบอบคัดคนตามแบบประชาธิปไตย ไม่สามารถคัดคนดี

แม้จะเป็นคนม่ดี หรือไม่ใช่ดีพร้อม แต่เมื่อมาอยู่ในตำแหน่งของประชาชน ต้องตัดความเป็น"คนไม่ดี" ออกไป

ลดความโลภ ลงทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ที่ใหน ๆ ที่เป็นประชาธิปไตยก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้น

ไม่มีประชาธิปไตยประเทศใหน ที่ยอมให้คนเลวปกครองแผ่นดิน

อย่าว่าแต่ทำผิดกฎหมายเลยครับ ผิดหลักจริยธรรมก็ต้องลาออกแล้ว

ยกเว้นประเทศศรีธนญชัย ที่คนระดับด็อก พวกโคตรประชาธิปไตยเท่านั้น ที่ชอบอ้าง "กฎหมายไม่ห้าม"

หรือเป็น หมากคนละกระดาน ผมคิดว่า หมอนี่มันเข้าใจประชาธิปไตยแบบใหน


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 24-10-2006, 22:59
ปกติ ในทางธรรม ต้องให้ผู้มีธรรมสูงกว่า ตัดสินว่า ใครดีหรือไม่ดีนี่คะลุง

ไม่ใช่ให้ใครก็ไม่รู้วัด เหมือนที่ว่าพูดกันไปว่าพระท่านนั้นท่านนี้สำเร็จถึงขั้นไหน

นั่นเกิดจากความเชื่อ และศรัทธา แต่ความจริงแท้เป็นอย่างไรไม่มีใครรู้

เพราะต้องเป็นผู้ที่มีภูมิธรรมสูงกว่ามามอง และบอกว่า ใช่หรือไม่

เราเลยมีข้อถกเถียงกันเนี่ยแหละว่า ธรรมขนาดไหน แล้วแน่ใจได้แค่ไหนว่าผู้นำนั้นทรงธรรมจริง

เพราะเราอาจจะมีภูมิธรรมต่ำกว่า มองเห็นด้วยศรัทธา ว่าท่านนี้ดีนัก

หรือไม่ก็ เป็นเพราะศรัทธาตัวบุคคล ว่าท่านนี้ดีนัก

แต่จริงแท้นั้น ความดี หรือทรงธรรมก็เปลี่ยนแปลงได้

แม้แต่พระเทวทัต ซึ่งทรงธรรมจนจะบรรลุแล้ว ยังโดนความอิจฉาริษยา แปลเปลี่ยนให้กลายเป็นคนบาปเลย

สาอะไรกับมนุษย์เดินดิน ไม้บรรทัดธรรม เว้าๆ แหว่งๆ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 23:04
เรื่องของวัฒนธรรม มันรู้กันมาตั้งแต่หัวเท่ากำปั้นแหละ ไม่ต้องให้คนมีคุณธรรมสูงกว่ามาตัดสิน

เอาแค่ผู้เฒ่าผู้แก่ ออกมาเตือน ฝากชะเอมไปให้ หรือ ฝากยาอมกันปากเหม็นไปให้ก็น่าจะรู้ตัวแล้วว่า ปากเหม็น

บางคนก็ฝากพระปาง "ห้ามญาติ" ไปให้ นั่นก็พอรู้กันมิใช่หรือ


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 24-10-2006, 23:18
แหมลุงก็ ถ้าเห็นเหมือนกันจะมานั่งเถียงกันเหรอว่าทำอะไรผิด เพราะคนบางส่วนหน่ะ ไม่ได้รู้เรื่องตั้งแต่หัวเท่ากำปั้นเหมือนอย่างลุงนะเออ ไม่งั้นจะพูดเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาจนเดี๋ยวนี้เหรอว่า เค้าผิดตรงไหนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน

เออ อีกอย่างนะ วัฒนธรรมสมัยลุงเท่าหัวกำปั้น กะวัฒนธรรมสมัยนี้ มันไม่เหมือนกันอ่ะดิคะ  :slime_shy:


หัวข้อ: Re: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 24-10-2006, 23:38
สมัยนี้ยิ่งหนัก แค่สูบบุหรี่ไม่ตรงที่ตรงทาง ก็โดนแล้วคุณเอ๊ย...

เพลง "เด็กเอ๋ย เด็กดี" นั่นก็เพลงเก่านั่นแหละ แต่รุ่นนี้รู้สึกจะร้อง "เด็กเอ๋ยเด็กชิน"

พูดไม่มีควบกล้ำ หลานผมมันสอนเลย...

อ้อ...สัปปุริสธรรม 7 ก็เรื่อง รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ประชาคม รู้บุคคลที่ควรคบคนใหนดีหรือไม่ดี

ประมาณนี้นะ การแสดงออกของคนดีหรือไม่ดี มันบอกไม่ยากหรอก เว้นแต่หลอกกันเล่น