ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 05-10-2006, 19:05



หัวข้อ: นักธุรกิจฯจี้ คตส.เช็กบิล “ชินวัตร” ซุกหุ้นภาค 2 - ชี้ “หญิงอ้อ” ร้อนตัว ไร้ผล
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 05-10-2006, 19:05
 ชมรมนักธุรกิจฯ ยื่นหลักฐานการทุจริตชินคอร์ป เทขายหุ้นเทมาเส็ก 7.3 หมื่นล้าน ของตระกูลชินวัตร ต่อ คตส.ยัน “หญิงอ้อ” ร้อนตัวยินดีจ่ายภาษีคืนย้อนหลัง ไม่มีผลเพราะความผิดสำเร็จแล้ว
       
   


    วันนี้ (5 ต.ค.) ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย นำโดย นายประสาร มฤคพิทักษ์ และ นายไกร ตั้งสง่า เดินทางเข้ายื่นหลักฐานและข้อมูลการซุกหุ้นภาค 2 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้กับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ผ่าน นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส.โดย นายประสาร กล่าวว่า ชมรมได้ศึกษาและติดตามการซุกหุ้นของตระกูลชินวัตรมาอย่างต่อเนื่อง พบเงื่อนปมที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการซุกหุ้นและจงใจปกปิดหลักฐานต่อป.ป.ช.และซ่อนเร้นทรัพย์สินอันเป็นหลักฐานถึงการร่ำรวยผิดปกติ ใช้อำนาจหน้าที่ปิดบังอำพรางเพื่อสร้างประโยชน์ส่วนตนอันเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับกลุ่มทุนเทมาเส็กได้เงินกว่า 7.3 หมื่นล้านบาท

       
       นายประสาร กล่าวว่า ชมรมมีหลักฐานที่เป็นประโยชน์ และชี้ให้เห็นเบาะแสที่มาของแหล่งเงินอันที่เคลือบแคลง โดยการกระทำของตระกูลชินวัตร มีพฤติกรรมการลงทุน การโอนหุ้น ของคนในกลุ่มเดียวกัน ทำให้เห็นถึงการแก้ไขข้อมูล อำพรางที่เสนอต่อ ก.ล.ต.เพราะทั้งบริษัทวินด์ มาร์ค และแอมเพิลริช ทำธุรกรรมกับชินคอร์ป และเอสซี แอสเซท คอร์ปอเรชั่น โดยจากการตรวจสอบพบว่าบริษัททั้งหมดเป็นกลุ่มเครือข่ายเดียวกันในหมู่ญาติพี่น้องที่โอนกันไปมา ทั้งนี้ ชมรมจะมอบหลักฐานการจดแจ้งตั้งบริษัทดังกล่าว รวมถึงวันเวลาการโอนขายหุ้น เพื่อให้การทำงานของ คตส.เป็นอย่างราบรื่น

       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่คนสนิทของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าชี้แจงต่อสตง.โดยยินดีจ่ายเงินภาษีคืนกว่า 5 พันล้านบาท จะเป็นผลต่อสู้ในทางคดีหรือไม่ นายประสาร กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน เพราะความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว การยินดีจ่ายเงินภาษีคืนเป็นการร้อนตัว เพราะก่อนหน้านี้ ไม่เห็นมีทีท่าว่าจะมีการจ่ายภาษี ซึ่งหากตรวจสอบกันอย่างจริงจังจะต้องคืนภาษีมากกว่า 5 พันล้านบาท
 
 


คงต้องร้องเพลงให้ว่า-----เมื่อรู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว ////


หัวข้อ: Re: เปิดคำสั่งศาลปกครองฯ รับฟ้องถอนสัมปทานชินคอร์ปฯ
เริ่มหัวข้อโดย: คำตัดพ้อของใบไม้ ที่ 05-10-2006, 19:16
เปิดคำสั่งศาลปกครองฯ รับฟ้องถอนสัมปทานชินคอร์ปฯ
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 ตุลาคม 2549 17:41 น.
 
 
 
คำร้องที่ ๒๘๑/๒๕๔๙
       คำสั่งที่ ๕๘๕/๒๕๔๙
       
       

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
       
       ศาลปกครองสูงสุด

       
       
วันที่ ๑๒ เดือน กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

       
       

       ระหว่าง นายศาสตรา โตอ่อน                         ผู้ฟ้องคดี
       
       กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่๑
       กระทรวงคมนาคม ที่ ๒
       สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓             ผู้ถูกฟ้องคดี
       
       


       เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา)
       
       ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ในคดีหมายเลขดำที่ ๔๖๕/๒๕๔๙ หมายเลขแดงที่ ๓๔๘/๒๕๔๙ ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองลาง)
       
       คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีในฐานะประชาชนผู้มีสัญชาติไทยที่มีความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามความในมาตรา ๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และมีความเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม ซึ่งเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะตามมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และเป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือของบริษัท แอดวานซ์อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) มาเป็นเวลา ๖ ปี เป็นผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารผ่านดาวเทียมและโทรทัศน์ของบริษัท ซินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันอาจได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จากกรณีการโอนหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับกลุ่มทุนข้ามชาติเทมาเส็ก จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งผลของการโอนหุ้นดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นในบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท ชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จนส่งผลกระทบต่อสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัททั้งสามแห่ง ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐและเป็นสัญญาทางปกครองในรูปแบบของสัญญาสัมปทานตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การทำสัญญาโอนหุ้นดังกล่าวแม้ว่าจะเป็นการดำเนินการตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ และแม้ว่าหุ้นจะถืออยู่โดยนิติบุคคลสัญชาติไทย คือ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก็ตาม แต่กรณีนี้ผู้ถือหุ้นจริงส่วนใหญ่กลับเป็นนิติบุคคลสัญชาติสิงคโปร์ ซึ่งส่งผลให้นิติบุคคลต่างประเทศเข้าไปมีบทบาทในการแต่งตั้งกรรมการในบริษัท จำกัด (มหาชน) ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัท มหาชน จำกัด จนทำให้กลุ่มทุนเทมาเส็กสามารถกำหนดทิศทางการบริหาร บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกิจการคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคมได้ ดังนั้น การทำสัญญาโอนหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับกลุ่มทุนข้ามชาติเทมาเส็กจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อสัญญาสัมปทานต่างๆ ที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท ชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ได้รับจากรัฐโดยให้อำนาจทุนต่างชาติเข้ามามีส่วนในการกำหนดทิศทางการบริหารคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๐ กำหนดให้เป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ นอกจากนี้ในกรณีของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ยังมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยอีกด้วย
       
       การที่นิติบุคคลต่างประเทศเข้ามาครอบครองกิจการคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคมผ่านสัญญาโอนหุ้นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงคมนาคม และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ละเลยต่อหน้าที่ในการตรวจสอบและยกเลิกสัญญาสัมปทานที่มีการละเมิดต่อหลักการตามมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และในกรณีของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ที่มีการละเลยตามมาตรา ๓๙ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งการใช้อำนาจในการยกเลิกสัญญาสัมปทานถือเป็นอำนาจมหาชนหรือเอกสิทธิ์ที่หน่วยงานของรัฐมีอยู่เหนือเอกชน ตามหลักการทั่วไปของสัญญาทางปกครองแต่หน่วยงานทั้งสามของรัฐหาได้ใช้เอกสิทธิ์หรืออำนาจมหาชนไม่ แต่กลับปล่อยให้นิติบุคคลเอกชน ซึ่งดำเนินการต่างๆ บนพื้นฐานของประโยชน์ปัจเจกบุคคลมีอำนาจเหนือกว่านิติบุคคลมหาชน ซึ่งดำเนินการต่างๆ บนพื้นฐานของประโยชน์มหาชนกรณีการละเลยปฏิบัติหน้าที่จึงมีลักษณะเป็นการขัดกับหลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชนอย่างร้ายแรงและอาจส่งผลเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีทั้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและในฐานะผู้ใช้บริการ ผู้ฟ้องคดีจึงมาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
       
       ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งดังนี้
       
       ๑. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทำการยกเลิกสัญญาสัมปทานที่ทำกับบริษัทแอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๓ ทั้งฉบับ
       
       ๒. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทำการยกเลิกสัญญาสัมปทานที่ทำกับบริษัทชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๔ ทั้งฉบับ
       
       ๓. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทำการยกเลิกสัญญาสัมปทานที่ทำกับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ทั้งฉบับ
       
       ผู้ฟ้องคดีได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว โดยขอให้ทุนข้ามชาติเทมาเส็กงดเว้นการดำเนินการหรือรับผลประโยชน์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามสัญญาสัมปทานทั้งสามฉบับโดยเด็ดขาด
       
       ศาลปกครองชั้นชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 บัญญัติว่า ผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เมื่อพิจารณาคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามยกเลิกสัญญาสัมปทานของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด(มหาชน) บริษัทชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน)นั้นเห็นว่า สัญญาที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ยกเลิกนั้น เป็นสัญญาที่รัฐมอบหมายสิทธิให้กับบริษัทที่ได้รับสัมปทานในการจัดทำบริการสาธารณะหรือกิจการใดๆ ที่การดำเนินการต้องได้รับอนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ซึ่งตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจะต้องมีข้อความที่ระบุไปถึงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกระทำการผิดไปจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามย่อมสามารถบอกเลิกสัญญาได้ ดังนั้น การที่จะบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิของคู่สัญญาที่จะมีสิทธิยื่นคำฟ้องต่อศาล หามีผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสามไม่ ผู้ฟ้องคดีซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาจึงมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และมิได้เป็นผู้มีสิทธิโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานดังกล่าว ที่จะมาฟ้องขอให้ศาลปกครองสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามยกเลิกสัญญาสัมปทานที่ทำกับบริษัทแอดวานซ์อินโฟเซอร์วิส จำกัด(มหาชน) บริษัทชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ศาลปกครองชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณา
       
       ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ความว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้นำคดีขึ้นฟ้องในฐานะเป็นคู่สัญญาที่จะมีสิทธิในการยกเลิกสัญญาได้ด้วยตนเอง อันเป็นประเด็นในเรื่องของการมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองแต่ประการใด แต่นำคดีขึ้นฟ้องในประเด็นที่ผู้ถูกฟ้องคดีงดเว้นกระทำการ คือ การบกเลิกสัญญาสัมปทาน ซึ่งยังมีประเด็นความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งความไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 40 และมาตรา 39 วรรคห้า ประเด็นการละเลยในการใช้เอกสิทธิ์ และอำนาจมหาชนเพื่อยกเลิกสัญญาสัมปทานที่ขัดแย้งต่อหลักการทางกฎหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาวินิจฉัยจากศาลปกครองในเนื้อหาของสัญญาสัมปทานว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น คดีนี้จึงมีเพียงประเด็นเดียวว่า เป็นประเด็นเกี่ยวกับการมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือเป็นประเด็นเกี่ยวกับการที่หน่วยงานของรัฐงดเว้นกระทำการซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลปกครองชั้นต้นได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัย อันมีลักษณะเป็นประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลตามข้อ 101 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543 จึงขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคำอุทธรณ์ที่โต้แย้งคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นเพียงประเด็นเดียวนี้ ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องๆไว้พิจารณา และมีคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาคำร้องขอให้กำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวของผู้ฟ้องคดีต่อไป
       
       ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีกล่าวไว้ในคำฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นส่วนหนึ่งของปวงชนชาวไทยซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเป็นผู้ใช้บริการจากการดำเนินการของบริษัทแอดวานซ์อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัทชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทไอทีวี จำกัด(มหาชน) ผู้รับสัมปทานจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเพื่อดำเนินกิจการสื่อสาร แม้จะไม่ปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายในขณะหรือก่อนฟังคดีนี้ แต่สัมปทานที่บริษัททั้งสามได้รับไปเพื่อดำเนินกิจการสื่อสารนั้น มีโอกาสล่วงรู้ความลับเกี่ยวกับการสื่อสารของผู้ใช้บริการ หากกิจการดังกล่าวตกไปอยู่ในอำนาจบริหารจัดการของบุคคลต่างด้าวอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายได้ในอนาคต และอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ผู้ฟ้องคดีจึงอยู่ในฐานะเป็นผู้อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับดุแลเกี่ยวกับการให้หรือบอกเลิกสัมปทานที่บริษัททั้งสามได้รับไปดำเนินการประกอบกับคำฟ้องบรรยายไว้โดยแจ้งชัดว่า บริษัทผู้รับสัมปทานทั้งสามได้ขายหุ้นส่อไปในทางให้บุคคลต่างด้าวเข้ามามีบทบาทและมีอำนาจในการบริหารกิจการที่ได้รับสัมปทาน หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่ผู้ฟ้องคดีดังกล่าวอ้างไว้ และผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามมิได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ฟ้องคดีในฐานนะผู้ใช้บริการในกิจการที่บริษัททั้งสามได้รับสัมปทาน อาจถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร จึงเป็นคดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาหรือมีคำสั่งตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ผู้ฟ้องคดีเป็นบุคคลผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน กรณีไม่ใช่เรื่องโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คำร้องอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีฟังขึ้น
       
       จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้รับคำฟ้องไว้พิจารณาและดำเนินการต่อไปตามรูปคดี
       
       นายวิชัย ชื่นชมพูนุท ตุลาการเจ้าของสำนวน
       ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
       
       นายอำพล สิงหาคมโกวินห์
       ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูง
       
       นายเกษม คมสัตย์ธรรม
       ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
       
       นายปรีชา ชวลิตธำรง
       ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

 
 
 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000124557
 
 
 


หัวข้อ: Re: นักธุรกิจฯจี้ คตส.เช็กบิล “ชินวัตร” ซุกหุ้นภาค 2 - ชี้ “หญิงอ้อ” ร้อนตัว ไร้ผล
เริ่มหัวข้อโดย: ริวเซย์ ที่ 05-10-2006, 19:20
เสียน้อยเสียยาก เสียมาก.....เสียง่าย  :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: นักธุรกิจฯจี้ คตส.เช็กบิล “ชินวัตร” ซุกหุ้นภาค 2 - ชี้ “หญิงอ้อ” ร้อนตัว ไร้ผล
เริ่มหัวข้อโดย: คนเดินดิน ที่ 06-10-2006, 23:04
สังคมต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ ใครมีความรู้ มีข้อมูลด้านไหน ต้องมาช่วยกันแฉ อย่าปล่อยให้ โจรปล้นชาติลอยนวล


หัวข้อ: Re: นักธุรกิจฯจี้ คตส.เช็กบิล “ชินวัตร” ซุกหุ้นภาค 2 - ชี้ “หญิงอ้อ” ร้อนตัว ไร้ผล
เริ่มหัวข้อโดย: ไทมุง ที่ 07-10-2006, 00:53

พี่คำตัดพ้อกลับมาแล้ว ยินดีต้อนรับกลับบ้าน  :slime_v:


หัวข้อ: Re: นักธุรกิจฯจี้ คตส.เช็กบิล “ชินวัตร” ซุกหุ้นภาค 2 - ชี้ “หญิงอ้อ” ร้อนตัว ไร้ผล
เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 07-10-2006, 08:53
ที่หน้าเศร้าใจ ก็คือ คนที่เป็น ลูกต้องมามีชนักติดหลังเพราะ ความงก ของคนเป็น พ่อ เป็น แม่.....


หัวข้อ: Re: นักธุรกิจฯจี้ คตส.เช็กบิล “ชินวัตร” ซุกหุ้นภาค 2 - ชี้ “หญิงอ้อ” ร้อนตัว ไร้ผล
เริ่มหัวข้อโดย: เบื่อไอ้เหลี่ยม ที่ 07-10-2006, 11:40
โลภมาก ลาภหายครับ   เงินที่มีแดกไปกี่ร้อยปีก้ไม่หมดยังไม่พอ ยังต้องการเพิ่มไม่รู้จบ เอาเงินไปซื้ออำนาจ  พอได้อำนาจก้เอามาหาเงิน  โดยไมสนความถูกต้อง  โสน นั้น น่า อิๆๆๆ


หัวข้อ: Re: นักธุรกิจฯจี้ คตส.เช็กบิล “ชินวัตร” ซุกหุ้นภาค 2 - ชี้ “หญิงอ้อ” ร้อนตัว ไร้ผล
เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 07-10-2006, 12:04
ถูกกฎหมายทุกอย่าง ขายหุ้น ไม่ต้องเสียภาษี ท่องให้ขึ้นใจ สำหรับ ลิ่วล้อ  :slime_bigsmile:

อย่าเถียงแทน นะครับ ถ้าเค้าผิดจริง จะได้รู้ว่าเห็นแก่ประโยขน์ของชาติ หรือ ของใคร  :slime_v: