หัวข้อ: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 26-09-2006, 22:28 แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540
น่ายินดี...วันนี้ หน.คปค. และเลขาคปค. อ.จรัล และอธิการบดี มธ. อธิการบดี สุโขทัยธรรมาธิราช เข้าประชุมเอง อ.มีชัยสรุปให้ฟัง ไม่มี วิษณุและบวรศักดิ์ในที่ประชุมแต่อย่างใด สรุปสั้น ๆ ให้ฟังดังนี้ มาตรา 3 ให้พิทักษ์สิทธิ์ประชาชน เทียบเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 34 เรื่องสภามนตรีความมั่นคง มี 5 คนจาก คปค. และแต่งตั้งเพิ่ม 15 คน เพื่อรองรับปลัดกระทรวง แม่ทัพนายกอง ให้ เลขา กฤษฎีกามาอยู่โดยตำแหน่ง ( เนื้อหาจะไม่แทรกแซง หรือไม่ควบคุมรัฐบาล แต่จะคุ้มครองภัยอันจะมากล้ำกรายรัฐบาลทั้งภัยจากในประเทศหรือขั้วอำนาจเก่า และปกป้องดูแลภัยจากภายนอกหรืออำนาจเงิน...) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 250 คน มาจาก 4 ส่วนคือ จากภาครัฐ (ราชการ) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคสภาบันการศึกษา อำนาจหน้าที่ ทำกฎหมายนโยบายต่าง ๆ สนับสนุนรัฐบาลชั่วคราว ในส่วนสภาต่าง ๆ มีดังนี้ ตอนนี้จะมี 3 สภา คือ สภามนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิก 20 คน ( คปค. 5 คนและแต่งตั้งเพิ่ม 15 คน ) สภานิติบัญญัติ สมาชิก 100 คน ( เลือกจากสมัชชาแห่งชาติ 2,000 คน คัดกันเองให้เหลือ 200 แล้วให้สภามนตรีความมั่นคงคัดเหลือ 100 คน ) สภาร่างรัฐธรรมนูญ 300-500 คน ( แต่งตั้งมาจาก สภานิติบัญญัติ ) มี คณะยกร่างรัฐธรรมนูญ 20-30 คน หลังจากร่างเสร็จให้ทำประชามติทั่วประเทศ ประกาศใช้ภายใน 1 ปี แล้วมีเลือกตั้ง สำนักข่าวลุงแคน หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: ดาบฟ้าฟื้น ที่ 26-09-2006, 22:32 แล้วจะฉีกทิ้งทำไม ในเมื่ออันไหม่กับอันเก่า เหมือนกัน..?
กร๊าก หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: เพนกวินน้อยนักอ่าน ที่ 26-09-2006, 22:35 แล้วจะฉีกทิ้งทำไม ในเมื่ออันไหม่กับอันเก่า เหมือนกัน..? กร๊าก อ่านเข้าใจบ้างไหมครับ เขาพูดถึงประเด็นเสรีภาพ ในรธนฯ สองฉบับ เปรียบเทียบกัน :slime_smile: หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: ริวเซย์ ที่ 26-09-2006, 22:41 หวังว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีกว่าฉบับที่แล้วครับ
หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 26-09-2006, 22:42 รัฐธรรมนูญ อาจเหลือไม่ถึง 300 กว่ามาตรา คงทำให้กระชับมากขึ้น
การเกิดของวุฒิสภา องค์กรอิสระ ต่าง ๆ อาจต้องเปลี่ยนแปลง หน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ อาจเปลี่ยนแปลงไป เข้มขึ้นหรือยกเลิกบางองค์กร การคานอำนาจหรือการตรวจสอบ อาจโอนไปทางอำนาจตุลาการ อาจมีศาลเลือกตั้ง...อาจไม่มีวุฒิสภา ..ศาลรัฐธรรมนูญอาจไปอยู่ทางด้านศาลฎีกา อาจ...อาจ...อาจ...รับประกันไม่เหมือนเดิม แต่เสรีภาพของประชาชนให้น้อยกว่านั้นไม่ได้...พอมองออกใช่มั๊ย... รัฐธรรมนูญมิได้มีเฉพาะด้านสิทธิ์พลเมือง แต่มีกลไกในการบริหารประเทศ การตรวจสอบ การกำหนดจริยธรรมนักการเมือง ฯลฯ ลอง ๆ ไปพลิกดูรัฐธรรมนูญสิ มีหลายหมวดนะ...แต่หมวด 3 หใวดสิทธิ์ของพลเมืองจะเหมือนเดิม น้อยกว่านั้นไม่ได้ เข้าใจหรือยัง หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 26-09-2006, 22:54 รัฐธรรมนูญ 2540
# คำปรารถ # หมวด ๑ บททั่วไป # หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ # หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย # หมวด ๔ หน้าที่ของชนชาวไทย # หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ # หมวด ๖ รัฐสภา * ส่วนที่ ๑ บททั่วไป * ส่วนที่ ๒ สภาผู้แทนราษฎร * ส่วนที่ ๓ วุฒิสภา * ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการการเลือกตั้ง * ส่วนที่ ๕ บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง * ส่วนที่ ๖ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา * ส่วนที่ ๗ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา * ส่วนที่ ๘ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ # หมวด ๗ คณะรัฐมนตรี # หมวด ๘ ศาล * ส่วนที่ ๑ บททั่วไป * ส่วนที่ ๒ ศาลรัฐธรรมนูญ * ส่วนที่ ๓ ศาลยุติธรรม * ส่วนที่ ๔ ศาลปกครอง * ส่วนที่ ๕ ศาลทหาร # หมวด ๙ การปกครองส่วนท้องถิ่น # หมวด ๑๐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ * ส่วนที่ ๑ การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน * ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ * ส่วนที่ ๓ การถอดถอนออกจากตำแหน่ง * ส่วนที่ ๔ การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง # หมวด ๑๑ การตรวจเงินแผ่นดิน # หมวด ๑๒ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ # บทเฉพาะกาล ที่กล่าวถึงในกระทู้ หมายถึง หมวด 3 แต่เพียงหมวดเดียวคือหมวดสิทธิ์และเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งจะอยู่ใน "รัฐธรรมนูญชั่วคราว" ซึ่งประชาชนเป็นห่วง...และรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้จะใช้เพียงแค่ 1 ปี เมื่อมี "รัฐธรรมนูญใหม่" ก็ยกเลิกรัฐธรรมนูญชั่วคราวไปโดยของใหมออกมาแทน่ ซึ่งแน่นอนว่า เรายังมีเสรีภาพอยู่ แม้ในภาวะของรัฐบาลชั่วคราว หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: tron ที่ 27-09-2006, 02:23 แบ่งเค้ก หรือแบ่งเผือก เอาไปกิน เดี๋ยวก็รู้ กรรมติดจรวด
หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 27-09-2006, 11:07 แล้วจะฉีกทิ้งทำไม ในเมื่ออันไหม่กับอันเก่า เหมือนกัน..? กร๊าก ฟายยังคนเป็นฟาย ไม่เปลี่ยนแปลง แค่ไม่กี่บรรทัด ยังอ่านไม่เข้าใจ กลับไปเรียนหนังสือเสียเถอะ อ้ายพวกถ่วงความเจริญของชาติ หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 27-09-2006, 11:11 เปิดสาระสำคัญ 39 มาตรา ร่าง รธน.(ชั่วคราว) 2549
วันที่ 27 ก.ย. 2549 คำปรารภ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 เป็นการกำหนดกลไกการปกครองไปพลางก่อน โดยจะคำนึงถึงหลักนิติธรรมตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชา ธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามที่ คปค. ได้นำความกราบบังคมทูลฯ มาตรา 1 ว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรและพระมหากษัตริย์ มาตรา 2 ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยและพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล มาตรา 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดย มีสาระว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคที่ประชาชนเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีของระหว่างประเทศย่อมได้รับการคุ้มครอง มาตรา 4 ว่าด้วยการแต่งตั้งคณะองคมนตรี มาตรา 5 ว่าด้วยสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกิน 250 คน คุณสมบัติมีอายุไม่ต่ำ 35 ปีทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภาแล้วแต่กรณี การสรรหาให้คำนึงถึงบุคคลกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ เอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการจากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม มาตรา 6 ว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มาตรา 7 ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้รับสนองแต่งตั้งสมาชิกสภา ประธาน และรองประธาน มาตรา 8 ว่าด้วยการถอดถอนสมาชิกสภาที่มีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม โดยให้สมาชิกไม่ต่ำกว่า 20 คน เข้าชื่อร้องต่อประธานสภา และที่ประชุมมีมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ให้พ้นจากตำแหน่ง มาตรา 9 ว่าด้วยวิธีการประชุมสภา มาตรา 10 วิธีการตราพระราชบัญญัติ โดย สมาชิกเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 25 คนหรือคณะรัฐมนตรี เสนอ มาตรา 11 การตั้งกระทู้ถามในสภานิติบัญญัติ และการขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรี แต่ไม่มีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจ มาตรา 12 ว่าด้วยเรื่องที่คณะรัฐมนตรีรับฟังความเห็นจากสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยขอให้เปิดประชุมสภา มาตรา 13 ว่าด้วยเอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกในการอภิปรายข้อเท็จจริงในสภา มาตรา 14 ว่าด้วยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง โดยประธานคณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้ กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน มาตรา 15 ว่าด้วยการตราพระราชกำหนด มาตรา 16 ว่าด้วยการตราพระราชกฤษฎีกา มาตรา 17 การรับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 18 ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการในการพิพากษาคดี มาตรา 19 สมัชชาแห่งชาติมีไม่เกิน 2,000 คน มีประธานคณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มาตรา 20 ประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติ บัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ มาตรา 21 สมัชชาทำหน้าที่เลือกกันเองให้เหลือ 200 คน เป็นผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องทำให้เสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาครั้งแรก ถ้าครบกำหนดเวลาไม่อาจคัดเลือกได้ให้สมัชชาแห่งชาติสิ้นสุดลง วิธีการคัดเลือก ให้สมาชิกสมัชชาเลือกได้คนละไม่เกิน 3 ชื่อ และผู้ได้คะแนนสูงสุด 200 คน มาตรา 22 นำบัญชีรายชื่อ 200 คน ให้คณะ มนตรีเลือกเหลือ 100 คน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง มาตรา 23 การพ้นจากตำแหน่งและการแต่งตั้งเพิ่มเติมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 24 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแต่งตั้งประธานสภาร่าง และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะมนตรีความมั่นคงแต่งตั้ง 10 คน มาตรา 26 เมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารชี้แจงว่ามีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 อย่างไร เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน มาตรา 27 การแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญนำความเห็นของประชาชนและคำแปรญัตติมาพิจารณา มาตรา 29 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำร่างรัฐธรรม นูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่กับประชาชนและจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติไม่เกิน 30 วัน มาตรา 30 ให้กรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เสร็จภายใน 45 วัน และเสนอต่อสภานิติบัญญัติ ห้ามมิให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคง สมาชิกสภานิติบัญญัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องลงสมัครเป็น ส.ส. และ ส.ว. ภายในเวลา 2 ปี มาตรา 31-32 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ผ่านความเห็นชอบในการลงประชามติ ให้คณะมนตรีความมั่นคงประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และประกาศใช้ได้เลย มาตรา 33 ว่าด้วยค่าตอบแทนของประธาน รองประธานสภานิติบัญญัติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคง และผู้ดำรงตำแหน่งในตุลาการรัฐธรรมนูญให้ออกเป็นกฤษฎีกา มาตรา 34 ว่าด้วยองค์ประกอบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประธานคณะมนตรีฯอาจขอให้มีการประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแก้ปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 35 ว่าด้วยอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน และมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือก 5 คน และตุลาการศาลปกครองสูงสุดเลือก 2 คน โดยมีอำนาจพิจารณาคดีเหมือนศาลรัฐธรรมนูญเดิม มาตรา 36 ให้ประกาศคำสั่งของ คปค. ให้มีผลบังคับใช้ต่อไปและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 37 ให้การกระทำทั้งหลายของ คปค. ในการยึดและควบคุมทางด้านการปกครองแผ่นดิน ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง มาตรา 38 ว่าด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแผ่นดินเมื่อไม่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบังคับ มาตรา 39 ในระหว่างนายกรัฐมนตรียังไม่ได้รับหน้าที่ ให้ประธานคณะมนตรีฯทำหน้าที่ไปพลางก่อน http://www.matichon.co.th/breaking-news/breaking-news.php?nid=MjAwNjA5MjctMDcxMTEx หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 27-09-2006, 11:23 มาตรา 34 ว่าด้วยองค์ประกอบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประธานคณะมนตรีฯอาจขอให้มีการประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแก้ปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
มาตรานี้แปลว่า หอยต้องมีเปลือก มาตรา 36 ให้ประกาศคำสั่งของ คปค. ให้มีผลบังคับใช้ต่อไปและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรานี้แปลว่า ให้รู้ซะมั่งใครใหญ่กว่าใคร มาตรา 37 ให้การกระทำทั้งหลายของ คปค. ในการยึดและควบคุมทางด้านการปกครองแผ่นดิน ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง มาตรานี้แปลว่า นิรโทษกรรม มาตรา 38 ว่าด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแผ่นดินเมื่อไม่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบังคับ อดีตเรียกมาตรานี้ว่า มอเจ็ด หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 27-09-2006, 21:00 มาตรา 29 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำร่างรัฐธรรม นูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่กับประชาชนและจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติไม่เกิน 30 วัน ...กำหนดชัดเจน...ใช้เวลาร่าง 6 เดือน...ใช้ได้...เร็วดี มาตรา 30 ให้กรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เสร็จภายใน 45 วัน และเสนอต่อสภานิติบัญญัติ ห้ามมิให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคง สมาชิกสภานิติบัญญัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องลงสมัครเป็น ส.ส. และ ส.ว. ภายในเวลา 2 ปี มาตรานี้ ป้องกันข้อครหา ร่างกฎหมายเพื่อตนเอง..มาตรานี้ดีครับ....ชัดเจนดี มาตรา 31-32 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ผ่านความเห็นชอบในการลงประชามติ ให้คณะมนตรีความมั่นคงประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และประกาศใช้ได้เลย ที่ขีดเส้นใต้คือของดี..นะ... นะ...เพราะหากไม่ผ่านประชามติ ยังมีหลักประกันว่ามีของเดิมใช้ไปก่อน มาตรา 38 ว่าด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแผ่นดินเมื่อไม่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบังคับ มาตรานี้คล้าย มาตรา 7 ในของเดิม นี่คือความจำเป็นของการปกครอง เพราะไม่มีใครสามารถร่างรัฐธรรมนูญได้ครอบคลุมทั้งหมด การปล่อยร่างออกมาให้ประชาชนได้วิพากษ์วิจารณ์ อย่างน้อยจากสื่อต่าง ๆ คงได้รับฟังความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ บ้าง มาตรา 35 ว่าด้วยอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน และมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือก 5 คน และตุลาการศาลปกครองสูงสุดเลือก 2 คน โดยมีอำนาจพิจารณาคดีเหมือนศาลรัฐธรรมนูญเดิม มาตรา 35...ผู้พิจารณาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ น่าจะเป็นทางออกเพื่อไม่ให้ผู้ใดไปมีอิทธิพลเหนือศาลรัฐธรรมนูญ โดยรวมก็นับว่าดี อย่างน้อยก็ตัด จำพวก มาตรา 17 หรือมาตราที่เป็นอำนาจเด็ดขาดทั้งหลาย ที่สำคัญมีเงื่อนเวลาชัดเจน เบี้ยวไม่ได้ หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 27-09-2006, 21:23 น่าจะเพิ่มอีกข้อ ห้ามไม่ให้มีองค์กรแบบคณะมนตรีฯ อยู่ในรัฐธรรมนูญ
และผู้มีตำแหน่งในคณะมนตรีรวมทั้งผู้ทึ่คณะมนตรีฯ แต่งตั้งต้องแสดง ทรัพย์สินก่อนพ้นสภาพ หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 27-09-2006, 22:09 มันจะเอากันยังไง ก็เรื่องของมรึงเหอะ....ถ้าชาติบ้านเมืองฉิบหายบรรลัยวายวอดขึ้นมา
โปรด... :!: แสดงความรับผิดชอบอย่างลูกผู้ชายด้วยก็แล้วกัน... หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 27-09-2006, 23:02 แล้วจะฉีกทิ้งทำไม ในเมื่ออันไหม่กับอันเก่า เหมือนกัน..? กร๊าก ฮืมมม์............อเวไนยสัตว์ :!: ปล. อเวไนยสัตว์ (a-way-nai-ya-sut) (น.) สัตว์ที่ไม่อาจสั่งสอนได้. n. animals which cannot be taught. หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 27-09-2006, 23:18 จากอีกกระทู้หนึ่งครับ คัดลอกให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับมาตราต่างๆ ได้อยู่ด้วยกันครับ
โดยรวมๆ แล้ว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำได้ชัดเจนทั้งในเรื่องเนื้อหา วิธีการ และกรอบเวลา ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญใช้งานภายใน 1 ปีแน่นอน... แต่จะได้รัฐธรรมนูญที่ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะไปไกลถึงขนาดต้องใช้มาตรา 31-32 หรือไม่? มาตรา 31-32 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ผ่านความเห็นชอบในการลงประชามติ ให้คณะมนตรีความมั่นคงประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และประกาศใช้ได้เลย ถ้าหากสุดท้ายคือการปรับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 จริง... ต้องอธิบายได้ว่าการปรับปรุงบางมาตราของรัฐธรรมนูญ 2540 ใช้หลักการใดบ้าง จะต้องอธิบายให้ชัดเจน.. ที่สำคัญจะต้องไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าเสียแรงปฏิรูปแล้วได้ของเดิมกลับมาทั้งดุ้น ผมเห็นด้วยกับนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง (จำไม่ได้ว่านำโดยท่านสุรพลหรือเปล่า) ที่นำเสนอไว้ตั้งแต่ตอนต้นปีให้ใช้ร่วมกับมาตรา 7 เป็นธงปฏิรูปการเมือง โดยสาระสำคัญเน้นไปที่เรื่ององค์กรกลางและการปรับปรุงระบบการตรวจสอบ... ถ้าจะนำของเก่ามาปรับใช้ ก็ควรมีการปรับปรุงสาระสำคัญตรงนี้เป็นหลัก สำหรับข้อสังเกตในบางมาตราเช่น มาตรา 12 มาตรา 12 ว่าด้วยเรื่องที่คณะรัฐมนตรีรับฟังความเห็นจากสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยขอให้เปิดประชุมสภา ผมได้สำรวจตรวจตราทั้ง 39 มาตรา... ไม่รู้หลงหูหลงตาไปหรือไม่ แต่เข้าใจว่ามาตรานี้ค่อนข้างโดดเดี่ยวจากข้ออื่นๆ ไม่มีมาตราที่รับลูกส่งลูกกับมาตรานี้เลย... เช่น อำนาจหน้าที่ของสภาฯ ในการให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีผ่านการประชุมสภาฯ... เป็นต้น (ไม่แน่ใจในวัตถุประสงค์ของมาตรานี้ว่าคืออะไร?) และสุดท้ายคือแก้คำที่น่าจะผิดครับในมาตรา 20 มาตรา 20 ประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ ที่ขีดเส้นใต้ไว้น่าจะเป็น "รองประธานสมัชชาแห่งชาติ" มากกว่าครับ หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: ดาบฟ้าฟื้น ที่ 27-09-2006, 23:28 รัฐธรรมนูญ ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจาก เสียประชาชนทั่วประเทศแล้วมาบอกดีที่สุด
มริงหลับตาเพ้อเหรอ ถ้ามันเสรีจริง มรึงจะตั้ง คณะมนตรี ความมั่นคง ขึ้นมาขู่ ทำไม จะไปก็ไปเลยสิ จะมามีเยื่อใยอะไรอีก กร๊ากกกก สัน ดดด.ด. รสช แท้ๆ หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 28-09-2006, 00:40 เอาไปเปรียบเทียบกับธรรมนูญการปกครองฉบับอื่น ๆ ดูสิ...
เข้าใจคำว่า ธรรมนูญการปกครอง กันหรือเปล่าล่ะ อายุมันปีเดียว ชัดเจน... เท่าที่ดูแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างสภานิติบัญญัติกับ รัฐบาลยังไม่ค่อยชัดเจน ถึงที่สุดอภิปรายรัฐบาลได้ แต่ลงมติไม่ไว้วางใจไม่ได้ ดู ๆ แล้วเสมือนเป็นสภากระจก คือสะท้อนปัญหาให้รัฐบาลเท่านั้น...ไม่มีอำนาจอื่นที่จะโค่นรัฐบาลได้ อาจทำหน้าที่แค่เป็นเครื่องมือให้รัฐบาลเท่านั้น เพราะถึงที่สุด ตัวนายกยังต้องมาจาก สภามนตรีความมั่นคง อยู่ดี หัวข้อ: Re: แย้ม ๆ "รัฐธรรมนูญ" ( ชั่วคราว ) 2549 ให้เสรีภาพเท่า รัฐธรรมนูญ 2540 เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 28-09-2006, 00:59 ดูจากคำปรารภ คงพอจะรู้วัตถุประสงค์
คำปรารภ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 เป็นการกำหนดกลไกการปกครองไปพลางก่อน โดยจะคำนึงถึงหลักนิติธรรมตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชา ธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามที่ คปค. ได้นำความกราบบังคมทูลฯ .................................... 1. ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 เป็นการกำหนดกลไกการปกครองไปพลางก่อน ( ตามกรอบเวลา ) 2. โดยจะคำนึงถึงหลักนิติธรรมตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชา ธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3. เพื่อฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4. ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( จำเป็นที่ต้องคงสภามนตรีความมั่นคงไว้ ) 5. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ( แตะต้องสื่อมวลชนให้น้อยที่สุด ) 6. การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ ( สร้างความมั่นใจให้ต่างชาติ ) 7. การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ( สนองพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ) 8. ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในทุกขั้นตอน โดยหน้าที่ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คงทำหน้าที่แต่เพียงเท่านี้ |