ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Ires ที่ 25-08-2006, 01:16



หัวข้อ: เหตุผลของการลอบหรือไม่ลอบสังหาร
เริ่มหัวข้อโดย: Ires ที่ 25-08-2006, 01:16
เหตุ: เพราะรู้ดีว่าทักษิณจะต้องติดคุก และพรรคของมันจะต้องถูกยุบในไม่ช้า
ผล: ฝ่ายต่อต้านทักษิณจึงไม่จำเป็นต้องไปคิดลอบสังหารให้เหนื่อย

เหตุ: เพราะรู้ดีว่าตนจะต้องติดคุก และพรรคของตนจะต้องถูกยุบในไม่ช้า
ผล: ทักษิณจึงจำเป็นต้องสร้างสถานการณ์เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม และเรียกร้องความเห็นใจ (เผื่อจะเจอหนทางรอด)


หัวข้อ: Re: เหตุผลของการลอบหรือไม่ลอบสังหาร
เริ่มหัวข้อโดย: นู๋เจ๋ง ที่ 25-08-2006, 07:33
เห็นด้วย  อย่างแรง ค่ะ


หัวข้อ: Re: เหตุผลของการลอบหรือไม่ลอบสังหาร
เริ่มหัวข้อโดย: tom ที่ 25-08-2006, 08:24
เห็นด้วยครับ

ไม่มีเหตุผลที่ฝ่ายตรงข้ามจะต้องลอบสังหารเหลี่ยม ในเมื่อเห็นๆกันอยู่ว่าใครอยู่ตรงใหน ใครมันจะโง่ไปทำอย่างนั้น
สงสัยพันธมิตร ต้องส่งการ์ดไปคอยดูแลไม่ให้เหลี่ยมแกล้งลอบฆ่าตัวเองซะละมั้ง....



หัวข้อ: Re: เหตุผลของการลอบหรือไม่ลอบสังหาร
เริ่มหัวข้อโดย: pankgara ที่ 25-08-2006, 08:44
เอามาจากเว็ปอาแดงลองดูกันน่ะเผื่อมีประโยชน์
อ่าน พรบ กำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน  เตรียมเอาไว้ เผื่อๆ ดีไหม  กระทบทุกคนนะ
“สถานการณ์ ฉุกเฉิน” หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ  หรืออาจทําให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน  หรือมีการกระทําความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา  การรบหรือการสงคราม ซึ่งจําเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย....................

มาตรา ๕ เมื่อปรากฏว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นและนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรใช้กําลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตํารวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน  หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารร่วมกันป้องกัน แก้ไข  ปราบปราม ระงับยับยั้ง ฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอํานาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขต  บางท้องที่ได้ตามความจําเป็นแห่งสถานการณ์

ในกรณีที่ไม่อาจขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้ทันท่วงที นายกรัฐมนตรีอาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปก่อน แล้วดําเนินการให้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในสามวัน..........

มาตรา ๗ ในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามมาตรา ๕ ให้บรรดาอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งหรือหลายกระทรวง  หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายใดก็ตาม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน โอนมาเป็นอํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว เพื่อให้การสั่งการและการแก้ไขสถานการณ์เป็นไปโดยมีเอกภาพ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
........................

http://www.sae-dang.com/cgi-bin2/dangBoard/OpenMessage.php?no=774