ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สโมสรริมน้ำ => ข้อความที่เริ่มโดย: คนในวงการ ที่ 23-08-2006, 11:24



หัวข้อ: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 23-08-2006, 11:24
"….ตอนนั้นผมเป็นเด็กเลี้ยงควายอยู่ให้เหตุการณ์ด้วย เขาดักยิงถูกขาจิตรก่อน จิตรวิ่งมาถึงใต้ต้นสะเดาที่เคยอยู่ตรงนี้ เขาตามมายิงซ้ำจนตาย ผมเห็นอีกสองคน กำลังจะข้ามเข้ามาช่วยแต่เข้ามาไม่ได้เพราะถูกยิงสกัดอยู่…. ได้เห็นสภาพศพแว่บนึงก่อนที่เขาจะเผา คอจิตรเป็นรอยเกือบขาด"
"…. ตอนเช้าพวกควายมันได้กลิ่นขี้เถ้าศพ เข้ามาเหยียบมาถ่าย พ่อผมเห็นน่าสงสารก็เลยนำกะโหลกส่วนที่เหลือจากการเผาไปฝังไว้ที่ใต้ต้นแดง…."
"….เมื่อหลายปีก่อนที่ขุดกระดูกจิตรขึ้นมาครั้งแรกๆ กระโหลกของจิตรก็ไม่มีแล้ว ผุไปหมดเหลือแต่รอยดินเป็นหลุมกระโหลกอยู่ตรงนี้…."
"….ตอนขุดกระดูกครั้งแรก เจอกระดูกไม่มากนัก อีกหลายปีต่อมาขุดครั้งที่สองตอนนั้นค่อยรวบรวมกระดูกได้มากหน่อย…."


…

เขาตายในชายป่า เลือดแดงทาดินเข็ญ   ยากเย็นค่นแค้นอับจน
เขาตายในชายป่า เลือดแดงทาดินเข็ญ   ยากเย็นค่นแค้นอับจน

ถึงวันพราก เขาลงมาจากยอดเขา    ใต้เงามหานกอินทรีย์
ล้อมยิงโดยกระหยิ่ม อิ่มในเหยื่อตัวนี้    โชคดี สี่ขั้นพันดาว

เหมือนดาวร่วงหล่น ความเป็นคนร่วงหาย ก่อนตายจะหมายสิ่งใด
แสนคนจนยาก สิบคนหากรวยหลาย   อับอายแก่หล้าฟ้าดิน

เขาจึงต่อสู้อยู่ข้างคนทุกข์เข็ญ   ได้เห็นได้เขียนพูดจา
คุกขังเขาได้แต่หัวใจอย่าปรารถนา   เกิดมาเข่นฆ่าอธรรม

แล้วอำนาจเถื่อนมาบิดเบือนบังหน   กี่คนย่อยยับอัปรา
สองพันห้าร้อยแปด เมฆดำปรกคลุมฟ้า    ด้วยฤทธา มหาอินทรีย์

ร้างเมืองไร้บ้าน ออกทำการป่าเขา    เสี่ยงเอาชีวีมลาย
พฤษภาห้าร้อยเก้า แดดลบเงาจางหาย    เขาตายอยู่ข้างทางเกวียน

ศพคนนี้นี่หรือชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์    ศพคนนี้นี่หรือคือ จิตร ภูมิศักดิ์
ตายคาหลักเขตป่ากับนาคร

เขาตายในชายป่า เลือดแดงทาดินอิสาน   อีกนาน อีกนาน อีกนาน
เขาตายในชายป่า เลือดแดงทาดินอิสาน   อีกนาน อีกนาน อีกนาน

เขาตายเหมือนไร้ค่า แต่ต้องมาก้องนาม    ผู้คนไถ่ถามอยากเรียน

ชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิดนักเขียน   ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน
ชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิดนักเขียน   ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน

http://www.esnips.com/doc/27919886-76dd-4837-b06f-563a867619fe/จิตร-ภูมิศักดิ์
...

๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙

ค่ำคืนที่ผ่านมา แผ่นดินแล้งได้รองรับฝนห่าใหญ่ ภูเขาชื้นชุ่มและท้องทุ่งเจิ่งนองน้ำ ห้วงยามเช่นนี้คนชนบทจะรู้ว่านามีกบเขียดให้หา ในป่ามีเห็ดให้เก็บ เช้าตรู่ ผู้หญิงบ้านคำบ่อที่ขึ้นภูมาหาเก็บเห็ดก็มาปะเข้ากับทับทหารป่า  ทีแรกพวกนางแตกตื่นแทบสิ้นสติ เพราะความกลัวความโหดร้ายของคอมมิวนิสต์ตามที่ได้ยินคำเล่าลือกันมา  แต่ครั้นได้มานั่งทำความรู้จักและพูดคุยจนเป็นที่เข้าใจกัน ท่าทีของพวกนางก็ดูเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จนทหารป่าวางใจว่ากลุ่มผู้หญิงจะเดินกลับเข้าหมู่บ้านด้วยความรู้สึกเป็นมิตร

กระนั้นก็ตาม การที่มีคนมาพบเห็น ในทางจรยุทธถือเป็นการ เสียลับ มีกฎให้เคลื่อนย้ายที่ทันที ปล่อยผู้หญิงกลับไปแล้ว ปรีชากับพวกรีบกินอาหารที่เหลือจากเมื่อคืน แล้วเก็บข้าวของข้ามห้วยปลาหางไปอยู่อีกฟากทุ่ง ไม่ระแคะระคายใจสักนิดว่า ในกลุ่มแม่บ้านที่เจอกันเมื่อเช้า มีคนที่เป็นเมีย อส. รวมอยู่ด้วย
แดดเที่ยงไม่ทันเบี่ยงแสงลอดพุ่มไม้ สหายคนที่อยู่ยามเอ่ยกับเพื่อนว่าเขาได้ยินเสียงคน สหายอีกคนลุกไปเมียงมองสังเกตการณ์ ฉับพลันเสียงปืนก็แตกปะทุสนั่นหวั่นไหว ลูกกระสุนปักลงพื้นและปลิดขั้วใบไม้ร่วงกราว
 
ทหารป่า ๖ คนแตกออกเป็นสองกลุ่ม แยกกันถอยหนี ไม่มีใครทันได้หยิบเป้สัมภาระของตัวเอง สหายสวรรค์ สหายวาริช และสหายปรีชา ถอยไปด้วยกัน  ตอนนั้นพวกเขาอาจคิดว่าโชคยังเข้าข้างอยู่บ้างตรงที่ฝ่ายโจมตีหันไปติดตามพวกอีก ๓ คนที่แยกหนีไปอีกทาง หรือบางทีอาจเป็นความจงใจของฟ้าดินที่เปิดให้เขาเดินไปสู่ชะตากรรมโดยสะดวก ปรีชาบอกกับเพื่อนสหายร่วมทุกข์ยากว่า เราต้องไม่ทิ้งกัน แล้วออกนำหน้าบุกป่ามุ่งไปหาบ้านคำบ่อ ที่นั่นมีแกนบ้านที่ไว้ใจพึ่งพาได้ แต่ความไม่คุ้นเคยพื้นที่ และไม่มีคนพื้นที่อยู่ในกลุ่ม ทหารป่าหนีตาย ๓ คนจึงเดินขึ้น-ลงเขาหลงป่าอยู่จนล่วงบ่าย และมาถึงท้ายหมู่บ้านเมื่อเย็นย่ำ นี่ละบ้านคำบ่อ สหายปรีชาบอกพรรคพวก พวกคุณสองคนรออยู่ที่นี่ ผมจะเข้าไปสืบสภาพ เขาหายไปชั่วครู่ก็กลับมาแจ้งกับเพื่อนว่า มีแต่บ้านหลังใหญ่ ๆ  พวกเขารู้ว่านั่นไม่ใช่บ้านของคนยากจนที่ขอความช่วยเหลือได้  สหายปรีชาพาพวกวนไปซุ่มดูอีกด้านของหมู่บ้าน สักพักมีคนจูงหมูจากบ้านออกมาที่ลำห้วย ปรีชาเดินออกไปหาเขาคนเดียว

จะพาหมูไปไหน ?
เอามันไปล้างน้ำ
นี่บ้านอะไร ?
บ้านหนองกุง
บ้านคำบ่อไปทางไหน ?
ชายคนนั้นชี้บอกทาง แล้วเดินจากไป

คล้อยหลังไม่นาน หญิงชาวบ้านอีกคนเดินแบกยอกลับมาจากทางทุ่งนา ปรีชาเข้าไปถามทางไปคำบ่ออีกครั้ง นางชี้ไปทิศเดิม และชวนคนแปลกหน้าให้เข้าไปเที่ยวในหมู่บ้าน ซึ่งตอนนั้นเป็นวันงานบุญพระเวส หญิงคนนั้นเดินเข้าหมู่บ้านไปแล้ว สวรรค์เห็นปรีชายืนรีรอเหมือนกำลังงุนงง หรือครุ่นคิดอะไรสักอย่าง สุดท้ายเห็นเขาเดินออกไปกลางทุ่ง แล้วก็หายไป

สหายที่ซุ่มอยู่ข้างทางแน่ใจว่าปรีชาต้องเดินย้อนเข้าหมู่บ้านไปแล้ว โดยเขาทั้งสองคนไม่ทันเห็น เด็กชายยก หลานกำนันแหลม เพิ่งต้อนควายจากทุ่งนากลับมาถึงบ้าน เห็นชายร่างผอมสวมแว่น ท่าทางอ่อนล้า เดินออกมาจากทางเดินท้ายหมู่บ้าน ไม่พูดไม่จากับใคร บอกแต่เพียงว่าขอข้าวสักปั้น แม่ของเด็กชายและทุกคนในหมู่บ้านรู้ในทันทีว่า ชายแปลกหน้าเป็นพวกที่ถูกตีแตกมาจากในป่า เสียงปืนที่ดังอยู่บนภูเขาเมื่อกลางวันไม่ได้ไกลเกินได้ยินมาถึงหมู่บ้าน  ทั้งยังเพิ่งถูกกำชับมาจากกำนัน-ผู้เป็นพี่ชายของนางว่า ถ้าเห็นใครเห็นคนแปลกหน้าเข้ามาในหมู่บ้านให้มาแจ้ง ไม่อย่างนั้นจะเป็นโทษหนัก เด็กชายได้ยินแม่ตอบชายผู้หิวโซคนนั้นไปว่า ข้าวเหนียวกำลังนึ่ง ยังไม่สุก ให้ขึ้นมานั่งรอบนเรือนก่อน ชายแปลกหน้าปฏิเสธ

เขายืนรออยู่หน้าบ้านจนได้รับห่อข้าว แล้วเดินออกจากหมู่บ้านไปตามทางเดิมที่เขาเข้ามา แดดผีตากผ้าอ้อมฉาบบนทิวไม้สองข้างทางเหลืองเรืองไปทั้งป่า แมลงในพงหญ้าเริ่มกรีดปีกบรรเลงรอการมาของราตรี  ปั้นข้าวเหนียวที่หญิงชาวบ้านคนนั้นให้มาอ่อนอุ่นอยู่ในห่อ หิวจนแสบท้องแต่เขายังไม่ยอมแกะห่อออกกิน  เพื่อนอีกสองคนซุ่มรออยู่ที่ชายป่า พวกเขาก็อยู่ในสภาพไม่ต่างกัน  ก่อนแดดวันนี้จะสิ้นแสงทุกคนคงได้อิ่มท้อง เขาจ้ำเท้าอย่างรีบเร่งและมีความหวัง

เสียงอึกทึกของฝ่าเท้าคนจำนวนมากทำเอาแมลงไพรตกตื่นผวา บ้างแตกหนีลงรูดิน ทางเดินในหมู่บ้านตกอยู่ในความสงัด พอเขาเดินออกมาถึงกลางทุ่งโล่งที่คั่นระหว่างชายป่ากับหมู่บ้าน เสียงปืนก็แตกก้องฟ้า กระสุนสาดมาเป็นห่าฝน นัดหนึ่งเจาะเข้าที่โคนขาคนถือห่อข้าว เขาชักปืนสั้นวอลเทอร์ยิงตอบโต้กลับไปบ้าง พลางหนีกระเสือกกระสนไปล้มลงที่โคนไม้ริมชายป่า ได้ยินเสียงปืนชุดแรก สวรรค์กับวาริชจะหนุนเข้าไปช่วยปรีชา ตามยุทธวิธีที่ฝึกมา แต่ห่ากระสุนของฝ่ายผู้ล่าหนักหน่วงเกินต้าน จำต้องชวนกันถอยขึ้นไปรออยู่ในดงลึก หลังฟ้าค่ำไปพักใหญ่ สวรรค์ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นอีกนัด แล้วป่าทั้งป่าก็คืนสู่ความเงียบงัน

สวรรค์รู้ว่า ปรีชาเสียสละชีวิตแน่แล้ว เขาด้นป่าฝ่าความมืดไปหาบ้านคำบ่อ สั่งความให้ทหารบ้านมาสืบข่าวการล้อมยิงทหารป่าที่บ้านหนองกุง การพิสูจน์ของเจ้าหน้าที่ทราบว่า ศพนิรนามในชุดเสื้อผ้ามัวมอที่ทอดร่างอยู่บนกองเลือดของตัวเอง ริมชายป่าหมู่บ้านหนองกุง อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เป็นชายไทยเจ้าของบัตรประชาชนเลขที่ ๕๙๘๓๙/๒๔๙๖ 
ชื่อนายจิตร ภูมิศักดิ์


(http://members.thai.net/wanyong/m08.jpg)

"เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์
สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน
จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน"


...

จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นปราชญ์ของไทยอย่างแท้จริง วันนี้หากเขายังมีชีวิตอยู่ เขาจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับอาจารย์ ส. ศิวลักษณ์ เรื่องราวของจิตร ภูมิศักดิ์ มีคนเขียนเอาไว้เยอะมาก ผมคิดจะเขียนเรื่องราวของวีรบุรุษท่านนี้นานมาแล้ว เพียงแต่ไม่มีโอกาสเหมาะที่จะเขียนขึ้น และสืบเนื่องมาจากการที่มีคนเขียนเอาไว้เยอะ ทำให้การเขียนของผมยากลำบาก เพราะไม่ต้องการให้เนื้อหาซ้ำกับผู้เขียนท่านอื่นมากจนเกินไป แต่ในความยากก็มีความง่ายเพราะการหาข้อมูลสามารถทำได้ง่าย

อีกเพียงเดือนกว่า ๆ ก็จะครบรอบวันคล้ายวันเกิดในปีที่ 76 ของวีรชนท่านนี้ ผมจึงมีความปราถนาอย่างแรงกล้าที่จะเผยแพร่เรื่องราวของท่านให้เพื่อน ๆ ได้เรียนรู้กัน งานเขียนของผมอ้างอิงจากหลายแหล่ง หลายเว็บไซต์มาก เพื่อไม่ให้ผู้อ่านต้องสะดุดในการอ้างอิงที่มาของงานเขียน ผมจะขอสรุปแหล่งอ้างอิงในตอนท้ายสุดของบทความ ซึ่งน่าจะเป็นซีรี่ย์ที่ยาว และใช้เวลาเขียนนาน ผมคาดว่าผมน่าจะจบซีรี่ย์นี้ได้ก่อนวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดของท่าน

ผมเปิดตัวโหมโรงบทความด้วยเรื่องราวการตายของจิตร ภูมิศักดิ ซึ่งผมคัดลอกมาจากเว็บนิตยสารสารคดี ส่วนหนึ่ง และ บทบันทึกงานรำลึก 36 ปี การจากไปของ "จิตร ภูมิศักดิ์" อีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากผมเห็นว่าเป็นส่วนที่สมบูรณ์ในตัวเองอยู่แล้วจึงไม่ได้เขียนขึ้นใหม่ ผมเปิดตัวด้วยเรื่องราวการตายของท่าน ด้วยเหตุที่เรื่องราวที่ผมจะเขียนในตอนต่อ ๆ ไป ผมจะไม่เขียนถึงการตายของท่านอีก ผมเคยดูภาพยนต์เรื่อง The last Samurai ผมประทับใจตอนที่องค์จักรพรรดิเมจิถาม นาธาน อัลเกรนถึงการตายของคัทสึโมโต้

Emperor Meiji: Tell me how he died.
Algren: I will tell you how he lived.

เป็นประโยคที่กินใจผมมาก แน่นอนครับ ผมจะไม่เล่าเรื่องของจิตร ภูมิศักดิ์ ว่าเขาตายอย่างไร แต่ผมจะเล่าเรื่องของจิตร ภูมิศักดิ์ ว่าเขาใช้ชีวิตอย่างไร!!!





หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : The Last Samurai
เริ่มหัวข้อโดย: ThailandReport ที่ 23-08-2006, 11:51
Emperor Meiji: Tell me how he died.
Algren: I will tell you how he lived.


จักรพรรดิ ถามว่า : เล่าให้ฉันฟังหน่อยว่า เขาตายอย่างไร ?
ทอม ครูช ตอบว่า : ให้กระหม่อมเล่าให้ฟังว่า เขามีชีวิตอยู่อย่างไรดีกว่า พะยะค่ะ .....

ซามูไรคนสุดท้าย ของประวัติศาสตร์ ญี่ปุ่นกลายเป็น อเมริกันคนนี้ไปได้
ภายหลังจาก ที่ จักพรรดิ ผู้เผลอหลงใหล ในอารยะธรรมตะวันตก ได้เห็นดีเห็นงามไปกับ มนตรีอำมาตย์ที่ให้ล้างผลาญ
เหล่าซามูไร เลือดบูชิโด ประจำชาติ...

ทรงตระหนัก ได้คิดในวินาทีที่....เกือบสายเกินไป..
และทรงตัดสินพระทัย ใช้พระราชอำนาจ...ในเส้นทางสายใหม่
ประสานวัฒนธรรมเก่าแก่คงไว้ แต่เปิดรับวิทยาการใหม่ๆจากต่างชาติ

นั่นคือบทตอนสุดท้ายของ The Last Samurai
หนังดีที่สุด อีก 1 เรื่องของ ทอม ครูช ครับ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 23-08-2006, 11:54

โอ........ ประทับใจมากๆ ค่ะ  :cry:  :cry:

มิเสียแรงที่รอจริงๆ

คุณลุงอยากได้เพลงชุดไหนเป็นพิเศษอีกไหมคะ

จะทำให้.. ตอบแทนกับเรื่องดีๆ นี้ค่ะ...


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 23-08-2006, 12:13
ขอบคุณคุณนักข่าวมากครับ ที่ช่วยมาช่วยเสริมในส่วนของภาพยนตร์เรื่อง The last Samurai ทำให้เพื่อนสมาชิกบางท่านที่ไม่ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ผมขอแย้งความคิดเห็นของคุณนักข่าวส่วนหนึ่งครับ คือที่คุณนักข่าวบอกว่าซามูไรคนสุดท้ายคือ นาธานซึ่งเป็นชาวอเมริกัน ผมมองอีกมุมหนึ่งครับ ว่าเรื่องนี้ผู้แต่งน่าจะหมายถึงคัทสึโมโต้ ซึ่งใช้ชีวิตตามวิถีของบูชิโด ซึ่งเป็นวิถีการดำรงชีวิตของซามูไรอย่างแท้จริง การตายของเขาก็เพื่อพลีชีพเพื่อรักษาจิตวิญญาณของญี่ปุ่น เป็นการฝากข้อความไปถึงองค์จักรพรรดิเมจิ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเขา เป็นการใช้ชีวิตเป็นบทเรียนบทสุดท้ายที่จะมอบให้กับลูกศิษย์ เพื่อเป็นการเตือนให้ชาวญี่ปุ่นไม่ลืมที่มาที่ไปของชนชาติของตนเอง เขาจึงเป็นซามูไรคนสุดท้ายที่แท้จริงครับ

ขอบคุณสำหรับคำชมครับคุณเก็ดถวา อย่างที่เขียนเอาไว้ครับ ว่าการเขียนเรื่องนี้ยากมาก คุณเก็ดถวาอาจต้องใช้ความอดทนสักนิดนะครับ กว่าจะจบซีรี่ย์

เพื่อนสมาชิกท่านอื่นที่มีเรื่องราวของ จิตร ภูมิศักดิ อยากจะร่วมเล่าด้วย ก็เชิญนะครับ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน Who is he ? the last Samurai..
เริ่มหัวข้อโดย: ThailandReport ที่ 23-08-2006, 12:29
ขอบคุณคุณนักข่าวมากครับ ที่ช่วยมาช่วยเสริมในส่วนของภาพยนตร์เรื่อง The last Samurai ทำให้เพื่อนสมาชิกบางท่านที่ไม่ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ผมขอแย้งความคิดเห็นของคุณนักข่าวส่วนหนึ่งครับ คือที่คุณนักข่าวบอกว่าซามูไรคนสุดท้ายคือ นาธานซึ่งเป็นชาวอเมริกัน ผมมองอีกมุมหนึ่งครับ ว่าเรื่องนี้ผู้แต่งน่าจะหมายถึงคัทสึโมโต้ ซึ่งใช้ชีวิตตามวิถีของบูชิโด ซึ่งเป็นวิถีการดำรงชีวิตของซามูไรอย่างแท้จริง การตายของเขาก็เพื่อพลีชีพเพื่อรักษาจิตวิญญาณของญี่ปุ่น เป็นการฝากข้อความไปถึงองค์จักรพรรดิเมจิ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเขา เป็นการใช้ชีวิตเป็นบทเรียนบทสุดท้ายที่จะมอบให้กับลูกศิษย์ เพื่อเป็นการเตือนให้ชาวญี่ปุ่นไม่ลืมที่มาที่ไปของชนชาติของตนเอง เขาจึงเป็นซามูไรคนสุดท้ายที่แท้จริงครับ

ขอบคุณสำหรับคำชมครับคุณเก็ดถวา อย่างที่เขียนเอาไว้ครับ ว่าการเขียนเรื่องนี้ยากมาก คุณเก็ดถวาอาจต้องใช้ความอดทนสักนิดนะครับ กว่าจะจบซีรี่ย์

เพื่อนสมาชิกท่านอื่นที่มีเรื่องราวของ จิตร ภูมิศักดิ อยากจะร่วมเล่าด้วย ก็เชิญนะครับ


ขอมองต่างมุมมั่ง ผมมองว่า นาธาน ซึ่งถูกชะตาชีวิต ลิขิตให้เป็น "เสือขาว" ในนิมิตรของ คัทสิโมโต้ คือ ซามูไรคนสุดท้าย
เพราะ เขาพร้อมถึง ทั้ง..กาย วาจา และใจ ครบ 3 ส่วนแล้วที่จะเป็น ซามูไรอย่างภาคภูมิ

จาก นายทหารหนุ่ม ตะวันตก ที่ ไม่เคยสนใจวิถีชีวิต "ไร้สาระ" แบบตะวันออก
เขาพกพาเพียง ความปวดร้าวในใจ ที่ต้อง ทำตามหน้าที่ เข่นฆ่า ผู้บริสุทธิ์ ชาวอินเดียแดง ไปมากมาย
ความเจ็บแค้น ตัวเอง ทำให้เขาต้องกลายเป็น คนติดเหล้า...
และร่ำร้องตะโกนก้อง ในคืนที่ เปล่าดาย.....รันทด....

นาธาน..รับพลังแห่งชีวิตใหม่ จาก ขุนเขา ของชาวซามุไร จิตวิญญาณ แห่งนักรบบูชิโด บ่มเพาะและปลุกนักสู้ คนนี้ขึ้นมาใหม่
ชาติพันธ์ และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่อุปสรรค อีกต่อไป วันที่เขาได้รับการยอมรับว่า เป็น ซามูไร คือวันที่เขาได้สวมใส่ "ชุดเกราะสีแดง" นั้น

ผมมองว่า เขาคือ...ซามูไร คนสุดท้าย  ที่พร้อมจะตาย เคียงข้างคัทซึโมโต้...
แต่ฟ้าลิขิต ให้ชีวิตเขาไว้...แค่บาดเจ็บสาหัส....เพื่อไปเข้าเฝ้า ถวายเรื่องราว ของ "ขุนทัพ"ซามูไร คนสุดท้าย...แด่องค์พระจักรพรรดิ์ ครับ !!


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 23-08-2006, 12:34
เป็นอีกมุมมองที่ดีครับ คุณนักข่าว

เพื่อน ๆ ท่านอื่น ๆ ร่วมเสวนาด้วยได้นะครับ เพราะ บทความจิตร ภูมิศักดิ์ ยังต้องใช้เวลาปั่นต้นฉบับตอนต่อไปอยู่ ระหว่างนี้ท่านใดมีเรื่องของ จิตร ภูมิศักดิ์ อยากจะเล่า หรือว่าจะเสวนาเรื่อง The last Samurai ก็ได้นะครับ หรือเรื่องอื่น ๆ ก็ได้ครับ ไม่ต้องกลัวออกทะเล เนื่องจากผมว่ายน้ำเก่งครับ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน... ฤาทุกข์จะท่วมท้น ล้นทะเล
เริ่มหัวข้อโดย: ThailandReport ที่ 23-08-2006, 12:38
เป็นอีกมุมมองที่ดีครับ คุณนักข่าว

เพื่อน ๆ ท่านอื่น ๆ ร่วมเสวนาด้วยได้นะครับ เพราะ บทความจิตร ภูมิศักดิ์ ยังต้องใช้เวลาปั่นต้นฉบับตอนต่อไปอยู่ ระหว่างนี้ท่านใดมีเรื่องของ จิตร ภูมิศักดิ์ อยากจะเล่า หรือว่าจะเสวนาเรื่อง The last Samurai ก็ได้นะครับ หรือเรื่องอื่น ๆ ก็ได้ครับ ไม่ต้องกลัวออกทะเล เนื่องจากผมว่ายน้ำเก่งครับ

ส่วนผม เก่งแต่พับเพียบไหว้ครับ...
แต่ผมมีทั้ง ชูชีพ ห่วงยาง เสื้อกันกระสุน เอ้ย..เสื้อแพลอยน้ำ และ...กรมธรรม์ประกันชีวิต (+อุบัติเหตุทั่วโลก)
พร้อมครับ ฮิๆ ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง   :mrgreen: :lol: 8)


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 23-08-2006, 12:40
หนูว่าจะเก็บกระทู้ไว้อ่านตอนเย็นค่ะ ตอนนี้ ขอแซวๆๆชาวบ้านเขาไปก่อนค่ะ   :mozilla_tongue:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 23-08-2006, 12:55

คุณลุงขา หนูอยากเรียนถามค่ะ  :D

หนูเคยอ่านหนังสือเล่มนึง บอกว่าช่วงที่จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกโยนบกที่จุฬาอ่ะค่ะ

แล้วมีนิสิตหญิงคนหนึ่งเป็นหม่อมราชวงศ์ ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านการโยนบกครั้งนั้น (กล้ามากๆ) 

คุณลุงพอจะทราบไหมคะว่าหม่อมราชวงศ์หญิง ท่านนั้นเป็นใคร... (ต้องอายุ 76 ปีแล้วสินะคะ..)



และ.. ทำให้หนูสงสัยขึ้นมาว่าท่านจะอยู่ในกลุ่มราชนิกุล ต้านทักษิณ ด้วยอ๊ะเปล่า???  :mozilla_tongue:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 23-08-2006, 13:21
แหม๋คุณเก็ดถวา ถามคำถามข้ามช็อตเลยนะครับ อันที่จริงผมกะจะเก็บเอาไว้เล่า เรื่องชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ ในช่วงที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยผู้ดี (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-ไม่ได้ประชดประชันนะครับ ในยุคนั้นเค้าเรียกอย่างนี้จริง ๆ) เอาหละใหน ๆ ก็ถามมาแล้ว จะไม่ตอบก็กระไรอยู่

เธอคนนั้นชื่อ ม.ร.ว.ดวงใจ จิตรพงษ์ เป็นนายกชุมนุมปาฐกถาและโต้คารมแห่งคณะอักษรศาสตร์ ในขณะนั้นครับ

คำพูดของเธอก็ได้รับการจารึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์เช่นกัน เธอปรี่เข้าไปแย่งไมค์จากนิสิตชายที่โยนบก จิตร ภูมิศักดิ (แล้วผมจะเล่าโดยละเอียดทีหลังนะครับ) โดยไม่เกรงกลัวอันตรายใด ๆ แล้วประกาศต่อนิสิตในหอประชุมว่า

"มันเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรม ทำไมจึงไม่รอการพิสูจน์ก่อน เราขอประณามการกระทำที่ป่าเถื่อนครั้งนี้ จะต้องมีการลงโทษบุคคลทั้งสองในการกระทำที่อุกอาจครั้งนี้"

ผมหารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของเธอได้ไม่มากนัก ถ้าวันหลังหาได้เพิ่มจะนำมาเล่าให้ฟังครับ  :D


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน ฟังเพลงให้ใจเย็นคับ
เริ่มหัวข้อโดย: ThailandReport ที่ 23-08-2006, 13:31
คั่นด้วยเพลง นี้จะผิดบรรยากาศไหมครับ
เพลงที่เปิดในวันที่ทรงเสด็จ ....ออกสีหบัญชร

เพลง การเดินทางของใจที่เที่ยงแท้  Album: นิพพาน
หรือชื่อภาษาอังกฤษ Journey On The Earth

แต่งโดย จำรัส เศวตาภรณ์ ครับ



ฟังได้ที่

http://thai.greenmusic.org/index.php?mode=frontweb&lang=eng&file=genProductDetail&id=8&back=genMainpage&page=0

เลือกที่Play Sampleหลังชื่อเพลงนะครับ
อัลบั้มชุด นิพพาน (Nivana) นี้ที่แมงป่องมีขาย ราคา 236 บาทครับ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 23-08-2006, 13:33

โอ... ขอโทษค่ะคุณลุง ที่ถามข้ามช็อต  :mozilla_tongue:

บังเอิญมันเป็นคำถามที่คาใจมานานมากตั้งแต่อ่านหนังสือเล่มนั้น

แล้ว.. ในหนังสือไม่ได้บอกว่าเป็นใครอ่ะค่ะ แค่บอกว่าหม่อมราชวงศ์หญิงคนนึง


แต่จริงๆ คุณลุงก็ยังไม่ตอบได้นี่นา...

น่าจะกั๊กๆ ไว้ให้ลุ้นบ้างไงคะ โถ่ ไม่เป็นเร้ยยย  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 23-08-2006, 13:40
คุณใบไม้ทะเล กำลังออกทะเล ตอนเย็น ๆ มาอ่านก็ดีครับ แล่นเรือเสร็จมานั่งอ่านเรื่องราวของวีรชนที่การจากไปของท่านเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงของไทยนะครับ

ขอบคุณคุณนักข่าวอีกรอบ ที่ช่วยสร้างบรรยากาศ ที่ฟังแล้วทำให้กระทู้ผมดูขลังขึ้นเยอะเลยครับ เพลงอื่น ๆ ก็ไพเราะมากเช่นกันครับ เป็นอัลบัมที่น่าซื้อหามาฟังเป็นอย่างยิ่งครับ

คุณเก็ดถวาครับ น้อยคนมากที่สนใจเรื่องของจิตร ภูมิศักดิ์อย่างละเอียดขนาดนี้ คุณเก็ดถวาทำให้ผมทึ่งกับคำถาม ที่ไม่คิดว่าจะมีใครถามขึ้นมา แล้วผมจะไม่ตอบได้อย่างไรครับ

เดี๋ยวสักครู่ผมจะไปพักผ่อนแล้วครับ แหะ แหะ ถ้าผมหายไป ก็เจอกันตอนดึก ๆ ครับ ถ้าไม่สลบไปซะก่อนครับ  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 23-08-2006, 13:43
มาแว้วววว.... รออ่านอยู่ตั้งนาน... จะตามอ่านเรื่อยๆ ครับ
ติดใจคำนี้
ผมจะไม่เล่าเรื่องของจิตร ภูมิศักดิ์ ว่าเขาตายอย่างไร แต่ผมจะเล่าเรื่องของจิตร ภูมิศักดิ์ ว่าเขาใช้ชีวิตอย่างไร!!!

อยากถามคุณคนในวงการว่า... ที่มาของงานชิ้นสำคัญที่สุดของจิตรนั้นมาได้อย่างไร ใช้ชีวิตบุกบั่นขนาดไหนถึงจะได้มา

อ่า.... หรือต้องรอไคลแมกซ์ตอนท้่ายๆ คับ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 23-08-2006, 13:46
แหะๆ ขอบพระคุณมากๆ ค่ะคุณลุง  :D

หนูก็ตื่นเต้นมาก ไม่รู้จะถามใครเรื่องจิตร ภูมิศักดิ์ มานานแล้วเหมือนกันค่ะ

เอาล่ะ.. หนูจะไปเตรียมคำถามคาใจไว้เลยนะคะ หนูมีคำถามอีกเยอะ

แต่.. คำถามหนูจะออกแนวบ้านๆ หน่อยนะคะ  :oops: :oops:

คุณลุงต้องทำใจนิดนึง  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 23-08-2006, 13:51
ขอบคุณที่เข้ามาติดตามอ่านครับคุณพระพาย งานของจิตร ภูมิศักดิ์ (งานเขียนทางวิชาการ) ทุกชิ้นถือได้ว่าเป็นสุดยอดทั้งสิ้น สำหรับผมแล้วทุกชิ้นสำคัญเท่ากันหมด เป็นเรื่องที่ผมจะเขียนถึงเช่นกันครับ ถ้าคุณพระพายไม่ใจร้อน รออ่านในตอนต่อ ๆ ไปดีมั้ยครับ หรือว่าจะให้เฉลยตรงนี้เลย? เดี๋ยวไม่ตื่นเต้นนะครับ  :mrgreen:

คุณเก็ดถวาครับ อย่าเพิ่งตั้งความหวังหรือคาดหวังอะไรจากผมมากนักนะครับ ผมเป็นเพียงเหยี่ยวอนาถาที่ว่างเว้นจากศึกสงคราม ที่บังอาจริอ่านเขียนเรื่องราวของวีรบุรุษในดวงใจของผมเท่านั้นเอง ผมเชื่อว่ามีผู้รู้อีกหลายท่านในเสรีไทยครับ ที่กำลังรอมะพร้าวน้ำหอมจากสวนของผมอยู่  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 23-08-2006, 14:17
เข้ามาลงชื่อรออ่านด้วยคนค่ะ :mozilla_smile:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: ภูพาน ที่ 23-08-2006, 14:52
มาลงชื่อคนชอบอ่านด้วยคน... (แต่ไม่ชอบค้นคว้า... :mrgreen:)


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: THE THIRD WAY ที่ 23-08-2006, 15:32
เคยอ่านประวัติท่านพอสมควร
ผลงานของท่านอ่านพอสมควรเช่นกัน

ขอคารวะผู้แต่งเพลงจิตร ภูมิศักดิ์
ควรค่าจริงๆครับ
บ้านเราก็แบบนี้
กว่าจะรู้คุณค่าคน
สายไปทุกที

คนไทยที่ได้รับรางวัลนานาชาติ
บางคนแทบเอาตัวไม่รอด
รัฐบาลหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์....ตุ๋ย
(เพียงแต่คิดไม่เหมือนรัฐบาลเท่านั้น มิได้หมายล้มล้าง)

เหมือนตอนนี้เด๊ะ
ไม่อยากพูด
ใครคิดไม่เหมือนกรู..แม่มหาว่าขาประจำมั่ง
ไอ้นู่นมั่ง ไอ้นี่มั่ง
ทีพวกมันทำดีโม๊ดดดดดดดดดดดดดด
ประเทศไทยนี้ดีทุกอย่าง
เสียดายที่มีนักการเมืองมือไม่ถึงมาข่มขืนป่นปี้หมด


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกเข็มขาว ที่ 23-08-2006, 16:17
ตามมาอ่านด้วยคนค่ะ
และจะรอคอยอ่านตอนต่อไปนะคะ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: *bonny ที่ 23-08-2006, 17:59
เข้ามาอ่านครับ

การต่อสู้ของคุณจิตร ก็เป็นการต่อสู้แบบดั้งเดิมของคนมีอุดมการณ์แรงกล้า

การต่อสู้ที่จำเป็นต้องตาย..

ตายเพื่อเป็นอนุสรณ์ของการรำลึกให้คนรุ่นหลังที่สืบสานอุดมการณ์ได้ติดตามเคารพ บูชา และยึดถือเป็นแบบอย่าง

ถ้าคุณจิตรไม่ตาย ก็ไม่เกิดวีรกรรม

คุณจิตรก็อาจมีสภาพเหมือนคุณ ส.ศิวลักษณ์ในปัจจุบัน หรือ คุณเนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์

ชีวิตที่อยู่บนความเป็นจริง อยู่ที่ว่า ความเป็นจริงนั้นอยู่ในช่วงเวลาใด ชีวิตก็เปลี่ยนไปตามความเป็นจริงของช่วงเวลานั้น


ข้อสำคัญของผู้ที่สืบสาน จึงจำเป็นต้องรู้ว่า ความเป็นจริงของช่วงเวลานี้อยู่ตรงไหน ค้นหาให้เจอ แล้วเอาความเป็นจริงแต่ละช่วงเวลามาสังเคราะห์ เพื่อให้ตกผลึกทางปัญญา 8)


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 23-08-2006, 18:38
หนูไม่น่าอ่านไปแล้วทานข้าวไปด้วยเลยค่ะ มันมีช่วงน้ำตาซึมๆๆ( ตอนขอข้าวเหนียวชาวบ้าน) แล้วก็ตัดไปลุ้น แล้วตัดไปซึมอีก(ตอนปรีชาเสียชีวิต)

ต้องทำสมาธิอีกที กว่าจะทานข้าวต่อได้  :cry: :cry: :cry:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 23-08-2006, 18:51
-----


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 25-08-2006, 01:34
เสียดายที่คนดีๆต้องจากไป และเชื่อว่าคนอย่างคุณจิตร ภูมิศักดิ์

ยังมีอยู่ในทุกยุคสมัย

''ตัดกิ่งยังแตกก้าน     ยังผลิบานทั้งช่อใบ
รากแก้วปลูกฝังไว้    เป็นไม้ใหญ่ที่ยืนยง

ยิ่งตัดยิ่งแตกราก     แม้นจำพรากรากยังคง
อุดมการณ์ที่ซื่อตรง  ไม่ลืมหลงไม่ลืมเลือน''


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 25-08-2006, 01:48
-----


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกเข็มขาว ที่ 26-08-2006, 09:26
มานั่งคอยคุณ คนในวงการ เขียนต่อค่ะ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 26-08-2006, 16:04
ฝนแรก

2471 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียง 4 ปี นายตรวจสรรพสามิตหนุ่มที่ชื่อ ศิริ ภูมิศักดิ์ ก็ได้ตกลงปลงใจแต่งงานกับ แสงเงิน ฉายาวงศ์ ลูกสาวพ่อค้าในอำเภอเมืองจังหวัดนครนายก จังหวัดเล็ก ๆ ใกล้พระนคร สองปีต่อมาทั้งสองจึงได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนแรก ของครอบครัว ศิริ ได้ตั้งชื่อลูกสาวให้สอดคล้องกับชื่อของตนว่า ภิรมณ์ ไม่นานหลังจากนั้น ศิริและครอบครัวก็ต้องย้ายไปอยู่จังหวัดปราจีนบุรี ที่จังหวัดปราจีนบุรีนี่เองที่ เด็กชายสมจิตร ภูมิศักดิ์ ได้มีโอกาสลืมตาขึ้นมาดูโลก

เด็กชายสมจิตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2473 ที่ ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี แน่นอน ศิริ ตั้งชื่อลูกชายให้สอดคล้องกับพี่สาวคนโต ครอบครัวภูมิศักดิ์ ได้ปักหลักอยู่ที่ปราจีนบุรีนานถึง 6 ปี จึงได้ย้ายตามนายศิริ ซึ่งต้องไปประจำอยู่ที่กาญจนบุรีในปี 2479 ที่นั่นเด็กชายสมจิตรก็ได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษา 2481 เด็กชายสมจิตร ได้เปลี่ยนชื่อเป็น จิตร ตามนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้นที่ต้องการให้คนไทยมีชื่อที่ระบุเพศได้ชัดเจน ครอบครัวภูมิศักดิ์ต้องอพยพย้ายกันอีกครั้งในปี 2483 ไปอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ เด็กชายจิตร ได้เข้าเรียนชั้นมัธยมต้นที่จังหวัดนี้

แต่ต่อมาเพียงอีกเจ็ดเดือนให้หลัง ศิริ ก็ต้องย้ายไปกินตำแหน่งที่จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดใหม่ที่ไทยยึดได้จากเขมร (จังหวัดพระตะบอง) ในปี 2484 ด้วยเป็นเพราะจิตรเพิ่งจะเข้าเรียนชั้นมัธยมต้นและจังหวัดพิบูลสงครามก็ยังไม่แน่ชัดว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร ศิริ จึงฝากจิตรเอาไว้กับพระที่วัดพิชัยสงคราม (วัดนอก) ที่ซึ่งจิตรต้องใช้ชีวิตเป็นอารามบอยนานถึง 3 ปี แต่สามปีนี้ เป็นสามปีสำคัญที่ฝนแรกได้ให้กำเนิดต้นกล้าผู้ที่จะเติบโตขึ้นเป็นปราชญ์คนสำคัญของไทย สามปีที่เพาะบ่มเด็กชายบ้านนอกให้เข้าสู่โลกของอักษรศาสตร์ จิตรเรียนภาษาเขมรที่นี่!! นอกจากจะต้องหิ้วปิ่นโตตอนเช้าแล้ว จิตรยังต้องเป็นลูกมือในการลงตะกรุดลงยันต์ ซึ่งเป็นภาษาขอม ทำให้ได้เรียนรู้ภาษาเขมรโบราณไปในตัว

เมื่อเรียนจบชั้นมัธยม 3 ศิริซึ่งย้ายไปอยู่ที่จังหวัดพิบูลสงครามได้ถึงสามปี ความเป็นอยู่เริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว จึงได้ย้ายจิตรให้ไปเรียนต่อชั้นมัธยม 4 ที่จังหวัดพิบูลสงคราม ในปี 2487 การมาเรียนต่อในจังหวัดที่เคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศษ ทำให้จิตรได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศษ และภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาเขมร เขาแตกฉานถึงขนาดแปลศิลาจารึกโบราณได้เลยทีเดียว

รักแรกของจิตรได้ถือกำเนิดที่นี่ ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก รู้แต่เพียงชื่อของเธอ เวียน เกิดผล น่าเสียดายที่ในปี 2489 เมื่อสิ้นสุดสงครามอินโดจีน ประเทศไทยต้องคืนดินแดนที่ยึดมาได้ให้กับกัมพูชา เป็นเหตุให้หนุ่มสาวคู่นี้ต้องพลัดพรากจากกัน เพราะต้องอพยพกลับประเทศไทย

นอกจากเรื่องราวความรักที่แสนโรแมนติกนี้แล้ว ยังมีเรื่องที่น่าเจ็บปวดเกิดขึ้นกับครอบครัวภูมิศักดิ์ เมื่อความรักของ ศิริ กับ แสงเงิน ก็จบสิ้นลงที่จังหวัดพิบูลสงคราม ภิรมณ์ ภูมิศักดิ์ พี่สาวของจิตรได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

" คุณแม่ไม่เคยได้รับรักเดียวใจเดียวจากผู้เป็นที่รัก  ปีแล้วปีเล่าที่ต้องทนขมขื่นกับความรู้สึกกลัดหนองเมื่อทั้งรู้ทั้งเห็น ว่าผู้ที่ตนรัก เอาใจไปแบ่งปันให้หญิงอื่น  เอาทรัพย์สินที่หาได้ไปบำเรอหญิงอื่น โดยไม่ไยดี ต่อบุคคลในครอบครัว... วันหนึ่ง  ลูก ๆ ก็ได้ทราบว่าคุณแม่ตัดสินใจเด็ดขาด แยกทางเดินกับคุณพ่อ   ลูก ๆ ทราบอย่างไม่ตกอกตกใจ เพราะความ ทุกข์ของ แม่นั้น เรารู้อยู่เต็มอก "
 
และที่จังหวัดพิบูลสงครามอีกเช่นกัน ที่จิตรได้เรียนรู้บทเรียนแรกเกี่ยวกับการเมือง  เขาได้รู้ได้เห็นการเรียกร้อง "เอ็ยสะระ" ของชาวกัมพูชา ซึ่งจิตรได้บันทึกในภายหลังว่านั่นคือความประทับใจการเมืองครั้งแรกในชีวิตของเขา

2490 หลังจาก แสงเงิน แยกทางเดินกับ ศิริ  แสงเงินได้อพยพครอบครัวสามแม่ลูกมาอยู่ที่จังหวัดลพบุรี แสงเงินเช่าบ้านและเปิดเป็นร้านรับจ้างเย็บเสื้อผ้า และจำหน่ายเสื้อผ้าอยู่ที่นั่น จิตรได้เขียนโคลงอาฆาตานุสรณ์ ที่สะท้อนความคาดหวังว่าสักวันหนึ่งจังหวัดพระตะบองและอีกสามจังหวัดที่ไทยต้องคืนให้กัมพูชาจะกลับมาเป็นของไทยว่า "หากสยามกลับเกรียงไกร  องอาจ นาท่าน  แปดเขตต์ไทยเดิมอ้า  โอบเข้าถิ่นสยาม" นอกจากนั้นจิตรยังเขียนถึงความอาลัยอาวรณ์คนรักเอาไว้ในนิราศอพยพที่เขาเขียนด้วยความสะเทือนใจ

ด้วยความมองการณ์ไกลของแสงเงิน เธอจึงส่งลูกทั้งสองมาเรียนต่อที่กรุงเทพ โดยภิรมณ์ได้เข้าเรียนต่อที่เตรียมอุดมศึกษา ส่วนจิตรได้เข้าเรียนต่อมัธยม 5 ที่โรงเรียนเบญจมบพิตร ตอนที่จิตรมาขอเรียนต่อนั้น อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนไม่รับเอาไว้ สองพี่น้องต้องต่อสู้อยู่นานกว่าที่โรงเรียนเบญจมบพิตรจะยอมรับจิตรเข้าเรียนทั้ง ๆ ที่รัฐบาลได้ประกาศให้เด็กที่อพยพมาจากกัมพูชาสามารถเข้าเรียนต่อโรงเรียนใหนก็ได้ที่อยากเรียน จิตรได้เข้าเรียนต่อโดยมีภิรมณ์ผู้เป็นพี่สาวลงชื่อเป็นผู้ปกครอง ชีวิตในโรงเรียนเบญจมบพิตรของจิตรเป็นช่วงชีวิตที่ไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากต้องถูกเพื่อนล้อเลียนเป็นประจำว่าเป็นไอ้เขมร ด้วยบรรยากาศเกลียดชังเขมรของคนไทยในสมัยนั้น

เมื่อปิดเทอมภาคฤดูร้อนของชั้นมัธยม 5 จิตรได้กลับไปเยี่ยมแม่ของเขาที่ลพบุรี ที่นั่นจิตรได้พบกับรักแรกของเขาอีกครั้ง และเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต ซึ่งจิตรได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า

“คุยกับคุณเวียนประเดี๋ยวหนึ่ง สังเกตได้ว่าท่าทางสาวจะมีใจให้อยู่เหมือนกัน”
"วันนี้พูดกันมากที่สุดตั้งแต่รู้จักกันมา พอลาแม่เขาแล้ว หันไปลาเขา เขายกมือไหว้ หันมองเราจนลับตา..."


ในท้ายบันทึกที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ของจิตร จิตรได้เขียนรำพึงเอาไว้ในภายหลังว่า
 
"เดี๋ยวนี้ คุณเวียนไปอยู่ที่ไหนหนอ"



ในปีที่จิตรเรียนชั้นมัธยม 6 มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ของคนจีนในไทย มีการก่อความไม่สงบขึ้นประปรายของคนจีนที่อพยพมาอาศัยอยู่ในเมืองไทย อยู่มาวันหนึ่งจิตรได้ไปอ่านบทความของอาจารย์ท่านหนึ่งบนกระดานประกาศข่าวของห้องสมุด มีเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายของจีนที่จะกลืนชาติไทย เมื่อจิตรอ่านเสร็จก็โกรธคนจีนและต้องการที่จะตอบโต้ เขาเขียนจดหมายถึงหัวหน้าชั้นทุกห้อง ชักชวนให้นักเรียนทุกคนมารวมตัวกันที่สนามหน้าโรงเรียนตอนพักเที่ยง เมื่อเวลามาถึงนักเรียนเกือบทั้งโรงเรียนมารวมตัวกัน จิตรจึงได้ขึ้นเวทีนำการประท้วงครั้งแรกในชีวิต จิตรได้ตระโกนร้องถามผู้ชุมนุมประโยคแรกว่า

"จะนิ่งดูดายให้ชาติอื่น ๆ เขากลืนชาติไทยได้ไหม"

เสียงตอบก็ดังกระหึ่มขึ้นมาพร้อม ๆ กันว่า “ไม่ได้ ๆ ๆ”

ชีวิตของนักปฏิวัติได้เปิดฉากแล้ว ณ. เวลานั้นเอง


เมื่อจบมัธยม 6 เขาได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พยาไท ตามรอยพี่สาวซึ่งตอนนี้ได้เข้าเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จิตรเรียนจนจบชั้นเตรียม 2 (ม.ศ.5) ด้วยคะแนนเพียง 65% (เกรดเฉลี่ยประมาณ 2 ต้น ๆ) จากนั้นจึงสอบเข้าเรียนต่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2493


ชีวิตในวัยเด็กของจิตร ไม่ได้งดงามสวยหรู เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ชวนฝันเหมือนกับเด็กโดยทั่วไป เขาเติบโตขึ้นมาในครอบครัวข้าราชการชั้นผู้น้อย ซึ่งไม่ได้อบอุ่นอย่างที่ควรจะเป็น ต้องระหกระเหิรย้ายติดตามบิดาไปอาศัยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ชะตาชีวิตได้เคี่ยวกรำให้เขาต้องแกร่ง จิตรไม่ใช่เด็กที่รักการเรียน และไม่ชอบไปโรงเรียนมาตั้งแต่ยังเด็ก แต่จิตรรักการเรียนรู้ในโลกกว้าง ตอนนั้นจะมีใครรู้หรือไม่ว่าเด็กชายสมจิตร จิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อเขาเติบใหญ่ จะกลายเป็นหนึ่งในปราชญ์ของประเทศไทย จะกลายเป็นตำนานของวีรชนคนหนุ่มสาวทุกยุคทุกสมัย ... 


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 26-08-2006, 17:14
-----


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกเข็มขาว ที่ 26-08-2006, 17:28
เข้ามาอ่านแล้วค่ะ
ขอบคุณคนในวงการมากที่เขียนให้อ่าน
และจะรอคอยตอนต่อไปค่ะ นานแค่ไหนก็จะรอค่ะ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 26-08-2006, 17:32
เข้ามาอ่านแล้วค่ะ
ขอบคุณคนในวงการมากที่เขียนให้อ่าน
และจะรอคอยตอนต่อไปค่ะ นานแค่ไหนก็จะรอค่ะ


กรี๊ดดดดด พี่ดอกเข็มขาวขา... หากกล่าวเช่นนั้น

จะเป็นการเปิดทาง ทำให้คุณลุงดองไว้นานมากๆ นะคะ 

เนื่องจากได้ใจที่มีแฟนๆ รอคอย อิอิ  :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกเข็มขาว ที่ 26-08-2006, 17:48
หนูเก็ดขา
นานแค่ไหนของพี่ หมายถึงห้ามเกิน 3 วันค่ะ :mrgreen:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 27-08-2006, 02:02
อ่า ... ขอบคุณสำหรับ comment ครับ หวังว่าคงไม่หลับกันไปก่อนจะอ่านกันจบนะครับ  :mozilla_wink:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 27-08-2006, 02:18
--------------------------------------------------------------------------------
อ่า ... ขอบคุณสำหรับ comment ครับ หวังว่าคงไม่หลับกันไปก่อนจะอ่านกันจบนะครับ


นั่งตบยุง ปัดแมลง ปูเสื่อรอเลยค่ะ :mozilla_wink:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 27-08-2006, 02:23
อ่า ... ผมหมายถึงเวลาอ่านหนะครับคุณดอกฟ้าฯ ไม่ได้หมายถึงจะเขียนให้อ่านคืนนี้ แหะ แหะ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 27-08-2006, 02:25
อ่า ... ผมหมายถึงเวลาอ่านหนะครับคุณดอกฟ้าฯ ไม่ได้หมายถึงจะเขียนให้อ่านคืนนี้ แหะ แหะ


งั้นเก็บเสื่อกลับบ้านก่อนก็ได้ค่ะ เด๋วมาใหม่ อิ อิ :lol:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 27-08-2006, 02:27
"เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์
สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน
จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน"


อยากให้เอาบทกวีต้นแบบ ภาษาอังกฤษมาลงด้วยครับ.. เสียดายที่ผมลองแต่งไว้หลายสำนวนหายไป.หมดเลย เก็บไว้ในเว็บบอร์ดที่อื่น  :mozilla_frown: :mozilla_cool:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 27-08-2006, 02:33
เอามาลงให้แน่นอนครับคุณสามเก้า แต่ให้ถึงตอนนั้นก่อนนะครับ แหะ แหะ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: 999 ที่ 27-08-2006, 02:41
เอามาลงให้แน่นอนครับคุณสามเก้า แต่ให้ถึงตอนนั้นก่อนนะครับ แหะ แหะ

ยินดีรอครับ..


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 27-08-2006, 02:43
--------


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 27-08-2006, 02:46
สวัสดียามดึก... เข้ามานั่งอ่านแล้วเพลินมั่กๆ

ไม่ใช่แค่สนุกอย่างเดียว แต่สอดแทรกแรงบันดาลใจที่ส่งตัวละครให้เหมือนมีชีวิต บางช่วงสอดแทรกการวิเคราะห์ได้น่าสนใจมาก

แฮ่ม... ไม่อยากเชื่อว่าจิตร "ผู้รักชาติ" ในวัยเด็กและต่อสู้เพื่อชาติในแนวทางของคอมมิวนิสต์ในช่วงปลาย ต่อมาจะเขียนหนังสือที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นมาของชาติได้ในระดับถอนราก

เป็นความขัดแย้งในตัวจิตรหรือไม่?


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 27-08-2006, 03:00
ติดตามตอนต่อไปครับ คุณพระพาย ฮี่ ๆๆๆ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 27-08-2006, 05:08
รอ... ติดตามตอนต่อไปอยู่...

ง่วงนอนแระ... ถ้าคุณคนในวงการเขียนยังไม่เสร็จ... ผมขอสักครึ่งตอนส่งมาทางเมล์บ๊อกซ์ก่อนได้ป่ะ  :mozilla_laughing:

รับรองผมไม่เอาไปเล่าให้ใครฟังก่อน อิ อิ :mozilla_tongue:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 27-08-2006, 10:07
^
^
ติดงอมแงม  :lol:

ขนาดมีอ้อน ขอครึ่งตอนเป็นการส่วนตัว
โห อะไรจะขนาด ... น้าน  :mrgreen:

------

ขึ้นต้นก็โหดเลย
โดนซะจน ...  :cry:
ต้องแก้ด้วยการจับผิด
กลั่นแกล้งผู้เขียน ดีกว่า 555

ปรารถนา มี ร อีกตัวค่ะ

ไปละ ก่อนแฟนพันธุ์แท้จะมารุมตื้บ :mozilla_tongue:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 27-08-2006, 10:22
-----


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 27-08-2006, 15:00
ขอบพระคุณ คุณ snowflake มากครับที่ช่วยมาตรวจทานต้นฉบับ ผมสะกดผิดจริง ๆ เนื่องมาจากความเคยชินครับ แหะ แหะ

สำหรับเพื่อน ๆ ที่รออ่าน ผมอาจจะเขียนช้าหน่อยนะครับ เนื่องจากต้องใช้เวลาตกผลึกข้อมูลครับ มันเยอะมาก ๆ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 27-08-2006, 20:59

ขออนุญาตคุณลุงเจ้าของกระทู้ เอาดอกไม้มาเพิ่มความสดชื่นให้เรื่องราวนะคะ..  :D

ขอบพระคุณมากๆ สำหรับความรู้ใหม่ เกี่ยวกับความหมายของดอก Iris ค่ะ
(http://cgi.educities.edu.tw/funstory/apus/icon/smile.gif)


(http://rbg-web2.rbge.org.uk/wfsoc/wfs_winners_photos_2005/N3_2_becky_coffin_iris_foetidissima_small.jpg)


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: zero ที่ 27-08-2006, 21:27
ขออนุญาตเจ้าของกระทู้นะครับ..
ประโยคที่ว่า  ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
แต่ตามเนื้อเพลงแล้วรู้สึกจะเป็นว่า  ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน หรือเปล่าครับ

................................................

เป็นคนหนึ่งที่ศรัทธา "จิตร  ภูมิศักดิ์ "
และก็ได้ศึกษาค้นคว้าถึงเรื่องราวของท่าน
ทุกวันนี้ก็ยังอ่านบทความเกี่ยวกับท่านอยู่เสมอ
ขอบคุณสำหรับ สิ่งดีๆที่มีมาให้อ่านครับ

 


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 28-08-2006, 00:38
-----


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 28-08-2006, 01:34
ขอบคุณสำหรับดอกไม้ครับคุณเก็ดถวา

สวัสดีครับคุณ zero ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน ครับ ลองฟังดูได้ตาม link นี้นะครับ

http://www.uploadtoday.com/download.php?42e8255f3c41c92d0f52327502d1e0fd


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: zero ที่ 28-08-2006, 16:56
ถึงคุณเจ้าของกระทู้ครับ
ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงก่อนนะครับ
ว่าไม่ได้คิดจะมาขัดแย้งอะไร
เพียงแค่สงสัย ซึ่งคงจะเป็นข้อปลีกย่อยเล็กน้อยเท่านั้นเอง
ผมเองก็ศึกษาเรื่องราวของ ' จิตร ' มาบ้างเล็กน้อย
เพลง 'จิตร ภูมิศักดิ์' ก็ฟังมาหลายเวอร์ชั่นทั้งเก่าและใหม่
ฟังกี่ครั้ง ก็ฟังว่า ดั่งเทียนผู่ถ่องแท้แก่ 'คน'  อยู่ดี
เนื้อเพลง จิตร ภูมิศักดิ์ ของคาราวาน
ก็ ระบุว่า  ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่'คน'
รวมทั้งหนังสือที่อ่านอยู่เรื่อยๆ
  ' ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิดนักเขียน
    ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน '

(http://www.4shared.com/file/3305113/2a9aadea/img_0120.html)

http://www.4shared.com/file/3305113/2a9aadea/img_0120.html

.....ก็ติดตามอ่านตอนต่อไปอยู่นะครับ....



หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก -- คุณ zero คะ
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 28-08-2006, 17:15
-----


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: zero ที่ 28-08-2006, 17:57
คุณเก็ดถวาครับ
ผมเองก็ฟัง คาราวาน มานานแล้ว
ท่อนที่คุยกันอยู่ ดูจากหนังสือเพลงของ คาราวาน
ก็ระบุว่า 'คน'  และเวลาร้องเอง ก็ร้องว่า
'ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน' มาตลอดเลย
(นักร้องบางคนร้องว่า ดั่งเทียน ผู้'ส่อง'แท้แก่คน)
ก่อนจะมาคุยเรื่องนี้ ก็เปิดหนังสือเพลงมาหลายเล่ม
รวมทั้งหนังสือ
' ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิดนักเขียน
 ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน'
 (พยามจะโพสต์รูปหนังสือดังกล่าว แต่ไม่สำเร็จ
ก็เลยทำลิงค์เอาไว้ ยังไงก็ลองคลิกไปดูนะครับ)

ประโยคดังกล่าว น่าจะหมายความว่า
'จิตร' เป็นผู้ที่ให้แสงสว่าง ให้ความรู้
 ให้ความดีงาม แก่ผู้คนทั่วไป

ออกตัวนิดนึงว่า เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของเวปนี้
อยู่ๆก็โผล่มาพูดคุยโดยไม่แนะนำตัว ก็คงไม่ว่ากันนะครับ
ปกติจะฟังเพลงปฏิวัติและคาราวาน เป็นประจำ
เข้ามาก็รู้สึกดีมากๆ มีคนชอบเพลงปฏิวัติเหมือนกัน
ยินดีครับที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน

(แก้ชื่อแล้วครับ..ขอโทษครับ  พิมพ์ผิด)


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 28-08-2006, 18:03
-----


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 29-08-2006, 01:08
ถึงคุณเจ้าของกระทู้ครับ
ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงก่อนนะครับ
ว่าไม่ได้คิดจะมาขัดแย้งอะไร
เพียงแค่สงสัย ซึ่งคงจะเป็นข้อปลีกย่อยเล็กน้อยเท่านั้นเอง
ผมเองก็ศึกษาเรื่องราวของ ' จิตร ' มาบ้างเล็กน้อย
เพลง 'จิตร ภูมิศักดิ์' ก็ฟังมาหลายเวอร์ชั่นทั้งเก่าและใหม่
ฟังกี่ครั้ง ก็ฟังว่า ดั่งเทียนผู่ถ่องแท้แก่ 'คน'  อยู่ดี
เนื้อเพลง จิตร ภูมิศักดิ์ ของคาราวาน
ก็ ระบุว่า  ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่'คน'
รวมทั้งหนังสือที่อ่านอยู่เรื่อยๆ
  ' ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิดนักเขียน
    ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน '

(http://www.4shared.com/file/3305113/2a9aadea/img_0120.html)

http://www.4shared.com/file/3305113/2a9aadea/img_0120.html

.....ก็ติดตามอ่านตอนต่อไปอยู่นะครับ....




สวัสดีครับ คุณ zero ขอบพระคุณที่ท้วงติงถึงสองครั้ง ผมเลยไปค้นอย่างละเอียด เพื่อความชัดเจนในเรื่องนี้จากหลายแหล่ง ตกลงว่าคุณ zero ถูก ครับ ต้องเป็น "ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน" ครับ ต้องขออภัยคุณเก็ดถวาด้วยครับ ที่พาคุณเก็ดถวาไปออกเดทกันกลางทะเล  :mrgreen: เรื่องคนเก่าคนใหม่ นั้นไม่สำคัญหรอกครับ (ถ้าไม่ตั้งกระทู้สมานฉันท์แบบคุณพระพายนะ) ผมกลับยินดีเสียอีกที่มีคนมาอ่าน มาแสดงความคิดเห็น รวมไปจนถึงท้วงติง เหมือนอย่างที่คุณ zero ทำ ครับ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: zero ที่ 29-08-2006, 01:57
สวัสดีครับ คุณมารบูรพา
ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ
ตัดสินใจอยู่นานว่าจะทักดีหรือเปล่า
เพราะเพิ่งมาใหม่ๆ มาถึงก็มาท้วงคนดั้งเดิม
ก็ขอขอบคุณ ที่เข้าใจกันนะครับ
หลังจากได้รับคำตอบครั้งแรก
ก็ไปค้นหนังสือเพลง เท่าที่มีอยู่
ค้นหาหนังสือ ที่อ้างถึง
ฟังเพลงอยู่หลายเวอร์ชั่น และหลายรอบ
แล้วถึงมาแสดงความคิดเห็นอีกครั้ง
และจะตามเก็บเกี่ยวต่อไปนะครับ
ขอบคุณมากครับ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 29-08-2006, 02:43
คุณ zero ครับ (อันที่จริงตั้งใจฝากลอยลมไปถึงหลาย ๆ คนนะ)

คนเก่าคนแก่ก็ผิดได้ครับ จะเล่นที่ รดน. มาสิบปี หรือจะเล่นที่นี่รุ่นก่อตั้ง ก็ผิดเป็นครับ ไม่มีใครที่ถูกไปทั้งหมดตลอด คนเราผิดกันได้ การยอมรับผิด และแก้ไขในสิ่งที่ผิด ไม่ใช่เรื่องเสียหน้าแต่อย่างใด กลับเป็นเรื่องที่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง การแถ การตะแบงกันไป เพื่อรักษาหน้าตัวเอง ยิ่งทำให้ตัวเองตกต่ำ คนเราถ้าต้องการการให้เกียรติจากผู้อื่น ต้องให้เกียรติผู้อื่นก่อน ต้องเรียนรู้ที่จะเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะมาใหม่ หรืออยู่มานาน

ขอกล่าวต้อนรับแทนม็อดของห้อง สโมสรริมน้ำ ยินดีต้อนรับครับ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 29-08-2006, 02:46


ฮู้วววว.. คนแก่เค้าทักกัน สุภ๊าพสุภาพเนอะ  :mozilla_tongue: :mrgreen: :mrgreen:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน : ฝนแรก -- คุณ zero ช่วยมาแก้่ไขชื่อให้ด้วยค่าาา
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกเข็มขาว ที่ 29-08-2006, 06:33
คุณเห็ดถวาครับ
ผมเองก็ฟัง คาราวาน มานานแล้ว


(http://cgi.educities.edu.tw/funstory/apus/icon/cry.gif) (http://cgi.educities.edu.tw/funstory/apus/icon/cry.gif)


หนูจะยินดีมากนะคะ...

ถ้าคุณลุงจะไม่เปลี่ยนชื่อเก็ดถวา เป็นเห็ดถวา

เสียใจอย่างแรงงงงงง........ โกด!!!!
  :evil:


แก้ให้หน่อยนะค้าาา... พลีสสส ขายหน้าเค้าอ่ะ นะ นะ นะ  (http://cgi.educities.edu.tw/funstory/apus/icon/good.gif)


เห็นแล้วอยากทานเห็ดฟางต้มยำอะ  :mrgreen:


ล้อเล่นนะจ๊ะ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : เสียงปรบมือ ที่ไม่ดังออกมาให้ได้ยิน
เริ่มหัวข้อโดย: ThailandReport ที่ 29-08-2006, 09:40
คุณ zero ครับ (อันที่จริงตั้งใจฝากลอยลมไปถึงหลาย ๆ คนนะ)

คนเก่าคนแก่ก็ผิดได้ครับ จะเล่นที่ รดน. มาสิบปี หรือจะเล่นที่นี่รุ่นก่อตั้ง ก็ผิดเป็นครับ ไม่มีใครที่ถูกไปทั้งหมดตลอด คนเราผิดกันได้ การยอมรับผิด และแก้ไขในสิ่งที่ผิด ไม่ใช่เรื่องเสียหน้าแต่อย่างใด กลับเป็นเรื่องที่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง การแถ การตะแบงกันไป เพื่อรักษาหน้าตัวเอง ยิ่งทำให้ตัวเองตกต่ำ คนเราถ้าต้องการการให้เกียรติจากผู้อื่น ต้องให้เกียรติผู้อื่นก่อน ต้องเรียนรู้ที่จะเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะมาใหม่ หรืออยู่มานาน

ขอกล่าวต้อนรับแทนม็อดของห้อง สโมสรริมน้ำ ยินดีต้อนรับครับ

 สิ่งที่ คุณคนในวงการ เขียนมาตัวดำๆที่ผมทำไว้
มันขาดหายไปจาก ใครหลายๆคน
คนที่มองว่า คนแก่เท่านั้นถึง ทักทาย และ ยอมรับกันแบบนี้..ผมว่าคิดผิดนะ

ทักทาย ก็ส่วนทักทาย วัยรุ่นจะ โย่ว What's zup  อะไรก็ได้
แต่การยอมรับ ความผิดพลาด ไม่เกี่ยวกับวัย....มันเกี่ยวกับ .."การยกระดับจิตใจ" ของแต่ละคน

นั่นคือ...คนเราผิดกันได้ การยอมรับผิด และแก้ไขในสิ่งที่ผิด ไม่ใช่เรื่องเสียหน้าแต่อย่างใด
 กลับเป็นเรื่องที่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง การแถ การตะแบงกันไป เพื่อรักษาหน้าตัวเอง ยิ่งทำให้ตัวเองตกต่ำ



ผมแอบปรบมือให้กับ ความคิดเงียบๆ แบบนี้ของคนหลายๆคนในเสรีไทย มานานแล้วครับ
แต่ไม่มีเสียงดัง....เพราะผมปรบมือแค่ในใจ.. :mozilla_oops:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 29-08-2006, 10:03



ฮู้วววว.. คนแก่เค้าทักกัน สุภ๊าพสุภาพเนอะ  :mozilla_tongue: :mrgreen: :mrgreen:


---------------------------------------


 สิ่งที่ คุณคนในวงการ เขียนมาตัวดำๆที่ผมทำไว้
มันขาดหายไปจาก ใครหลายๆคน
คนที่มองว่า คนแก่เท่านั้นถึง ทักทาย และ ยอมรับกันแบบนี้..ผมว่าคิดผิดนะ

ทักทาย ก็ส่วนทักทาย วัยรุ่นจะ โย่ว What's zup  อะไรก็ได้
แต่การยอมรับ ความผิดพลาด ไม่เกี่ยวกับวัย....มันเกี่ยวกับ .."การยกระดับจิตใจ" ของแต่ละคน




ขอประทานโทษนะคะ คุณ ThailandReport

หนูจะแซวคุณลุงมารบูรพา กับ ลุงซี ของหนูเล่นสนุกๆ

คุณมาเกี่ยวอะไรด้วยไม่ทราบคะ

หนู... ไม่อยากโต้ตอบคุณเลย ให้ตายสิคะ

ไม่ต้องเอาคำพูดที่หนูแซวลุง 2 คนมาเหน็บแนม

หนูโมโหคุณแล้วนะ..


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ขอประทานโทษนะคับ นส.เก็ดถวา ^^
เริ่มหัวข้อโดย: ThailandReport ที่ 29-08-2006, 10:38
ผมก็จะแซว คนบางคนเล่นๆ...บ้าง
ไม่ได้เลยหรือครับ  :mozilla_sealed:

แม่นาง โกวเนี้ยน้อย เก็ดถวา
  :mozilla_oops: :mozilla_tongue:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 02-09-2006, 02:13

โอ... ขอโทษค่ะคุณลุง ที่ถามข้ามช็อต  :mozilla_tongue:

บังเอิญมันเป็นคำถามที่คาใจมานานมากตั้งแต่อ่านหนังสือเล่มนั้น

แล้ว.. ในหนังสือไม่ได้บอกว่าเป็นใครอ่ะค่ะ แค่บอกว่าหม่อมราชวงศ์หญิงคนนึง


แต่จริงๆ คุณลุงก็ยังไม่ตอบได้นี่นา...

น่าจะกั๊กๆ ไว้ให้ลุ้นบ้างไงคะ โถ่ ไม่เป็นเร้ยยย  :mrgreen:



คุณ"คนในวงการ"

 แต่จริงๆ คุณลุงก็ยังไม่ตอบได้นี่นา...

น่าจะกั๊กๆ ไว้ให้ลุ้นบ้างไงคะ โถ่ ไม่เป็นเร้ยยย


เป็นอย่างนี้ ต้องมีการลงโทษกันบ้างหล่ะ
ทำให้เสียบรรยากาศและอารมณ์...............ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ฝนแรก
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกเข็มขาว ที่ 02-09-2006, 08:09
มานั้งรออ่านแล้วนะคะ
ครบอาทิตย์พอดี ... :lol:


หัวข้อ: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 01-03-2007, 02:07
ตอนแรกผมกะเขียนซีรี่ย์นี้ให้จบทันวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดของท่าน แต่บังเอิญตอนนั้นเหตุการณ์ในบอร์ดมันช่างวุ่นวาย ทำให้ผมท้อแท้หมดกำลังใจที่จะเขียนต่อ จึงได้พักเอาไว้ พักไปพักมารากมันก็งอก เลยพาลหยุดเขียนยาวไปเลย ครั้นจะทิ้งเอาไว้แบบนี้ มันก็กลายเป็นเรื่องที่คาใจผม ก็กะ ๆ เล็ง ๆ ว่าจะเขียนต่อ ก็ไม่เขียนสักที พอดีช่วงนี้ผมป่วยยาว เลยว่าเอาหละ เป็นโอกาสดีที่จะลงมือเขียนต่อซะที หวังว่ายังคงมีคนที่อยากอ่านหลงเหลืออยู่นะครับ


ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย


ตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่รู้จักกันในหมู่นิสิตจุฬาฯ ว่า "เทวาลัยร้าง อันศักดิ์สิทธิ์" ณ. เทวาลัยร้างแห่งนี้แหละ คือที่บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ของวีรชนที่ชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์!!

จิตร สอบเข้าเรียนต่อได้ในแผนกวิชาอักษรศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นสถานที่เรียนที่จิตรใฝ่ฝันเนื่องจากเขาสนใจในเรื่องภาษามาตั้งแต่เด็ก มีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องของเขาในขวบปีแรก ๆ ในจุฬาฯ อยู่น้อยมาก ด้วยเป็นเพราะจิตรไม่ใช่บุคคลที่โดดเด่นแต่อย่างใดในสายตาคนทั่วไป แต่สำหรับคนในโลกอักษรศาสตร์ คนในแวดวงวรรณกรรม จิตรคือเพชรเม็ดงามที่เปล่งประกายเจิดจรัส จิตรมีผลงานได้ลงตีพิมพ์มาตั้งแต่เรียนอยู่ที่เตรียมอุดมฯ ผลงานที่โดดเด่นเรื่องหนึ่งคือ "กำเนิดลายสือไทย" ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เยาว์ศัพท์ ของคณะสมาคมนักเรียนแห่งประเทศไทย พอมาเข้าจุฬาฯ ได้สักเดือนบทความเรื่อง "แชมพูไทย" ก็ได้ลงตีพิมพ์ในวารสาร "ปาริชาติ" บรรณาธิการของวารสารปาริชาติได้เขียนทำนายอนาคตของจิตรเอาไว้ว่า "จิตร ภูมิศักดิ์ จักเป็นศิลปินผู้สนใจวรรณคดีและอักษรศาสตร์สำคัญผู้ หนึ่งในอนาคต ด้วยทำนองการเขียนและวิธีอ้างอิงที่ไม่ซ้ำแบบกับของใคร...จากการค้นคว้าเอกสารและการติดต่อไต่ถามผู้ใหญ่ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ต่อไปเด็กหนุ่มผู้นี้จะเป็นดวงแก้วอีกดวงหนึ่งของไทย ถ้าหากเขาไม่ละทิ้งความพิสมัยในวรรณคดีเสียก่อน" บรรณาธิการผู้นี้ทำนายไม่ผิด เพียงแต่การดับไปของดวงแก้วเกิดจากลูกปืน ไม่ได้เกิดจากจิตรละทิ้งวรรณคดี

ในตอนนั้นจิตรและเพื่อน ๆ ที่เรียนปีหนึ่งด้วยกัน ก็ร่วมลงขันออกนิตยสาร "ทรรศนะ" โดยหวังว่าจะเทียบรัศมีของ Reader Digest เลยทีเดียว ปรากฏว่าขายดีเป็นเททิ้งเทขว้างตามประสานิตยสารวิชาการ ที่มีกลุ่มผู้อ่านอยู่แคบในสมัยนั้น นิตยสารทรรศนะเลยออกได้เพียงสามฉบับ จากนั้นก็หมดทุนปิดตัวเองไปอย่างน่าเสียดาย เพราะนอกจากจะมีบทความที่จิตรเขียนเองในคอลัมน์ "ศัพท์สันนิษฐาน" แล้ว ยังมีบทความของนักคิดนักเขียนอีกหลายคนที่ต่อมาได้เป็นปราชญ์ของเมืองไทย ในปัจจุบัน นิตยสารทั้งสามเล่มจัดเป็นหนังสือหายากที่นักสะสมมองหาอยากจะได้มาไว้ในครอบครอง นอกจากนั้นในปีต่อ ๆ มาก็มีงานได้รับการตีพิมพ์อีกหลายเรื่องเช่น นิตยสารตำรวจ ๒๐ : ๔ ปักษ์หลัง ตีพิมพ์งานวิเคราะห์ศัพท์ "ตำรวจ" หนังสือสีเทา ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ตีพิมพ์บทความ "เชิงอักษรไทย" วารสารวงวรรณคดี ตีพิมพ์เรื่อง "พิมายในด้านจารึก" วารสารศิลปากร ตีพิมพ์เรื่อง "จังหวัด"

ด้วยความเป็นคนรักการเขียนการอ่าน เงินที่จิตรได้รับจากทางบ้านส่วนใหญ่จึงหมดไปกับการซื้อหนังสือ เวลาว่างส่วนใหญ่ของจิตร เขามักใช้เวลาขลุกอยู่ในห้องสมุดมาตั้งแต่สมัยเรียนเตรียมอุดมฯ มาจนถึงสมัยเรียนจุฬาฯ นิสัยนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยน ทำให้จิตรต้องประหยัดอย่างมาก บางครั้งถึงกับยอมอดข้าวเพื่อเอาเงินไปซื้อหนังสือที่อยากได้ จากเรื่องการอดข้าว ก็กลายมาเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล และอาจารย์สมจิต ศิกษมัต ซึ่งเป็นอาจารย์ที่อยู่แวดวงภาษาและวรรณคดี ก็ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือจิตร โดยแนะนำจิตรให้กับเพื่อนของท่านคือ ดร.วิลเลียม เจ. เก็ดนีย์ ซึ่งเป็นดุษฏีบัณทิตทางอักษรศาสตร์ฝ่ายภาษาโบราณตะวันออก ชาวอเมริกัน ที่ได้รับทุนรัฐบาลสหรัฐให้มาศึกษาวรรณกรรมไทย เป็นเวลาสองปี ซึ่งเมื่อหมดทุน ดร.เก็ดนีย์ ก็ไม่ยอมกลับประเทศเพราะหลงรักเมืองไทย (และสาวไทย-คนในวงการ) ดร.เก็ดนีย์ ก็อาศัยความสามารถทางภาษาทำมาหาเลี้ยงตนเองโดยการรับแปลเอกสารต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานต่างประเทศเช่น USOM USAID ซึ่งก็คือหน่วยงานของอเมริกาที่มาปักหลักในไทย จิตรจึงได้มาอยู่กับ ดร.เก็ดนีย์ กินฟรีอยู่ฟรี โดยแลกกับการทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ และช่วย ดร. เก็ตนีย์ ทำมาหากินแปลเอกสาร เป็นการตอบแทน ตั้งแต่เรียนปีหนึ่งที่จุฬาฯ

ต่างคนต่างได้ประโยชน์ ดร.เก็ตนีย์ ได้ดิกชันนารีภาษาไทยฉบับเคลื่อนที่ได้ เอาไว้ใช้งาน จิตรได้มากกว่า เพราะได้ฝึกพูดอ่านเขียนภาษาอังกฤษแบบตัวต่อตัวฟรีทุกวัน นอกจากนั้นที่สมใจจิตรก็คือ บ้านของ ดร.เก็ตนีย์ เป็นคลังหนังสือทางด้านภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะภาษาโบราณตะวันออก ซึ่งหาได้ยากในเมืองไทย ทั้งสองมีความสัมพันธ์ในฐานะ อาจารย์ กับศิษย์ และฐานะเพื่อนร่วมงานช่วยกันทำมาหากิน จิตรได้ช่วย ดร.เก็ตนีย์ แปลเอกสารยาก ๆ เช่นพวกคำทำนายโบราณต่าง ๆ ของไทย เป็นภาษาอังกฤษ ไปตีพิมพ์ในต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ดร.เก็ตนีย์ ก็ถ่ายทอดความรู้ด้านภาษาศาสตร์ชั้นสูงให้กับจิตร จนจิตรนำมาใช้ในการเขียนบทความยาก ๆ ที่นักวิชาการที่เรียนจบยังเขียนไม่ได้เช่น "พิมายในด้านจารึก" ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์

อาจจะเป็นเพราะทำมาหากินกันมากไป จิตรสอบตกตอนปีสอง ต้องเรียนซ้ำชั้นจนเพื่อน ๆ เรียนนำหน้าไป เมื่อถึงปีสุดท้ายของเหล่าอักษรา จิตรซึ่งเพิ่งจะได้เรียนชั้นปีที่สาม ช้ากว่าเพื่อน ๆ หนึ่งปี ก็ได้รับการยอมรับจากวงการนักเขียนทั้งจุฬาว่าเขาคือนักเขียนมือหนึ่ง จนเป็นที่มาของการรับตำแหน่งสาราณียกรของสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งสำคัญที่รับผิดชอบจัดทำหนังสือของมหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช ซึ่งเป็นฉบับพิเศษซึ่งจัดพิมพ์ทุกปี เป็นหนังสือสำคัญของจุฬาฯ ที่เป็นเกียรติประวัติสำหรับคนที่ได้เป็นสาราณียกร เป็นคนที่จะคัดเลือกบทความจากทั่วจุฬาฯ มาลงในหนังสือเล่มนี้ เป็นตำแหน่งที่สาราณียกรของทุกคณะอยากจะเป็น และต้องให้ความร่วมมือในการจัดทำหนังสือ และเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตครั้งสำคัญของ จิตร ภูมิศักดิ์!!!



ท้าทายเทวพิมานตระหง่านนภพิสัย
เลอทวยสุเทพไท              ประสิทธิ์
งามตึกอักษรศาสตร์วิลาสวรวิจิตร
รื่นรมย์มโนนิตย์                   นิรันดร์
เชิญเนาผองนุชเพียรบำเรียนวิวิธวรรณ
โดยเจตน์ประจวบบรร-       ลุเทอญฯ

จิตร ภูมิศักดิ์
อักษรานุสรณ์ ฉบับรับนิสิตใหม่ ประจำปี ๒๔๙๖





หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 01-03-2007, 02:18

คุณลุงบิ๊กเหยี่ยวคะ.. 6 เดือน ได้อ่านเพิ่มเท่าเนี้ย!!!!!  :slime_hitted:



ปล. ล้อเล่นค่ะ ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ ที่ทำให้ได้มีโิอกาสอ่านอีก นึกว่าจะอดแล้ว  :slime_fighto:


ให้ดอกไอรีสค่ะ   (http://www.usa-flowers.com/images/all_gifs/c12-3014.gif)




หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 01-03-2007, 02:27
แฮ่ม.. นึกว่าเลิกเขียนไปแล้ว... ยังติดตามอยู่ครับ

ขอให้หายป่วยไวไวนะครับ

 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: อธิฏฐาน ที่ 01-03-2007, 12:06



(http://www.healthjockey.com/images/tea.jpg)


เสียดายนั่งหน้าคอม เลยนอนอ่านไม่ค่อยถนัด น้ำเก็กฮวยร้อนสำหรับคนป่วยด้วยค่ะ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: zero ที่ 01-03-2007, 19:33
ขอบคุณครับ สำหรับเรื่องราวที่เล่าต่อ
ยังติดตามและเฝ้ารออยู่..ครับ... :D


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 01-03-2007, 21:42
ระหว่างที่ผมกำลังกลั่นตอนต่อไปหลังจากบ่มมานาน มีเกร็ดเล็ก ๆ เรื่องนึงที่ไม่ได้แทรกไว้ในตอนหลัก แต่จะไม่เล่าก็ออกจะเสียดาย คือเรื่องคนรักคนที่สองของจิตร รักแรกเป็นรักที่มีการเล่าไว้คือคุณเนียม เป็นรักที่ไม่ผลิบาน รักที่สองเป็นรักที่ผลิบานแต่ดันไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเรื่องเล่าที่จางหาย ว่ากันว่า ในรั้วสีชมพูใต้ร่มจามจุรี นี่หละ ที่จิตร พบกับรักที่ผลิบานของเขา สามปีแรกในจุฬาฯ จิตรมีคนรัก!!!

ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ผมเพียรพยายามเสาะแสวงหาประจักรหลักฐาน และพยานบุคคลมาอ้างอิงยืนยัน ค้นบทความข้อเขียนของคนในยุคสมัยของจิตร เผื่อว่าจะมีบันทึกเอาไว้ เหลว!!! ไม่มีงานชิ้นใหนเลยที่ระบุชื่อเธอคนนั้นเอาไว้ มีเพียงแต่ร่องรอยเรื่องเล่าจาง ๆ ว่า จิตร มีคนรักเท่านั้น ผมเพียรพยายามค้นหาต่อไป จนได้ข้อสรุปเล็ก ๆ ที่เลื่อนลอยว่า

เธอคนนั้น เป็นคนที่สูงศักดิ์ และน่าจะสวย นอกจากนั้นคงจะเป็นคนที่โดดเด่นในจุฬาฯ ผมเกิดไม่ทันเลยไม่รู้ว่าคนยุคนั้นเค้าจีบกันรักกันอย่างไร แต่เดา ๆ ว่าคงจะไม่หวือหวา รวดเร็วและใกล้ชิด เหมือนคนสมัยนี้ คนรุ่นที่น่าจะใกล้เคียงกับจิตรในรั้วจุฬาฯ น่าจะเป็น อาจินต์ ปัญจพรรค์ ซึ่งเขียนเล่าเรื่องไว้ในมหาลัย เหมืองแร่ เอามาทำเป็นหนังให้ได้ดู ผมก็จินตนาการเอาว่า ความรักของจิตร ก็น่าจะดำเนินไปในแบบแผนเดียวกันกับ อาจินต์ คือ เรื่อย ๆ (ฮา)

ร่องรอยของความรักหายไปเมื่อจิตรกลับมาเรียนปีสามต่อจนจบการศึกษา การที่ถูกพักการเรียนเสียเกือบสองปี ที่ผมจะเล่าในตอนต่อ ๆ ไปนี่แหละ ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ความรักของจิตรต้องพังทลายลง อันสืบเนื่องมาจากเธอคนนั้น คงจะจบการศึกษาไป และบทบาทของจิตรในยุคหลัง ๆ ที่ทำให้ต้องถูกกีดกันจากผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง (ยังไม่รวมไปถึงฐานะที่ค่อนข้างยากจนของจิตร)

จิตรไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ตรง ๆ ไม่ว่าจะในบทความหรือบันทึกเรื่องใหน เขาเคยพูดเอาไว้ในคำให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า "ข้าฯ ยังไม่แต่งงานเพราะข้าฯ รู้สึกว่าความรู้สึกในตัวข้าฯ เฉยเมยต่อความรู้สึกทางกามารมณ์ และรู้สึกหนักใจในภาระการครองชีพ กลัวว่าเมื่อได้หญิงใดมาเป็นภรรยาแล้ว จะให้ความสุขกับภรรยาได้ไม่เพียงพอ"  

หลังจากนั้นจิตรได้แต่งเพลง "อาณาจักรความรัก" ขึ้น (ซึ่งผมก็เพียรหาต้นฉบับอยู่) มีเนื้อหาที่กินใจและแฝงความนัยเอาไว้อย่างน่าสนใจ 

"อันความรักแท้จริงจากใจ แผ่กว้างไปในนภา เหมือนนกน้อยร่อนเริงถลา เผยอาณาจักรรักกว้างแผ่ไปถึงมวลชน รักชนชั้นลำเค็ญยากจน ไร้ทรยศจากคนและชนชั้นที่ยิ่งใหญ่
 ......
ชีวิตไม่ไร้คุณค่า อยู่รออนาคตสดใส แผ่รักที่คับแคบออกไป ออกสู่ดวงใจผองผู้ทุกข์ยาก ทั่วแคว้นแดนดิน"

เป็นที่น่าเสียดาย ที่เราไม่มีโอกาสที่จะได้รับรู้ถึงชีวิตด้านนี้ของเขา เพราะสำหรับผมแล้ว จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นคน ที่มีเลือดเนื้อ มีอารมณ์ ความรู้สึก ดังนั้นไม่ว่าแง่มุมใดของจิตร จึงเป็นเรื่องที่ผมสนใจทั้งสิ้น เธอคนนั้นเป็นใคร จะสูงศักดิ์ จะสวย จะโดดเด่น หรือไม่ ทำไมบทสรุปของเรื่องราวจึงกลายเป็นปริศนา ทำใมคนในยุคของจิตรจึงไม่เอ่ยนามของเธอในบันทึก และสุดท้ายความรักครั้งนั้นจบลงอย่างไร ...



เรื่องราวอันเลือนรางที่คงจะจืดจางไปในประวัติศาสตร์ ... ของวีรชน ...


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 02-03-2007, 08:18
หลังจากเอาเกร็ดมาฝากด้านบนก็เอารูป ดร.วิลเลียม เจ. เก็ดนีย์ พร้อมประวัติมาแปะครับ

(http://www.geocities.com/thaifreeman/jit/yonbok/getny.jpg)

ศาสตราจารย์ ดร.วิลเลียม เจ. เก็ดนีย์ (Professor Dr.William J. Gedney) นักอักษรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเยล สาขาภาษาโบราณตะวันออก และที่ปรึกษากรมศิลปากร ฝ่ายหอสมุดวชิรญาณ อาจารย์ฝรั่งสัญชาติอเมริกันที่มาทำ การศึกษาวิจัยภาษาไทยและวรรณคดีไทยอยู่ที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


หล่อมั้ยครับ  :mrgreen:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: สเลเต ที่ 02-03-2007, 12:45
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีดีค่ะ

 :slime_sentimental:
เห็ดถวา...อิอิ
ชื่อนี้เพราะดี


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 02-03-2007, 13:05
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีดีค่ะ

 :slime_sentimental:
เห็ดถวา...อิอิ
ชื่อนี้เพราะดี



เฮ้ย!!!! ไอ้เพื่อน กระทู้นี้เค้าให้อ่านเอาสาระ

อย่ามาแซวชื่อชั้นนะ...   ออกทะเลมาก เดี๋ยวลุงบิ๊กเหยี่ยวดุไม่รู้ด้วย

 :slime_v:




หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: zero ที่ 02-03-2007, 13:26
ขออนุญาตเจ้าของกระทู้นิดนึงนะครับ
อ่านมาถึงความรักของจิตร
ก็เลยไปค้นมาอ่านด้วยได้แรงบันดาลใจจากกระทู้นี้
กลับไปอ่านเรื่องราว ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ว่าด้วยเพลงอาณาจักรความรัก
ในหนังสือ ระบุว่าจิตร เคยนึกรักผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อ เวียน เกิดผล
....'เพียงแต่จิตรนึกว่า ภารกิจอย่างอื่นสำคัญกว่าความรัก
จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมันมากนัก' ....
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ....รอติดตามตอนต่อไปอยู่ครับ

.........................

ส่วนชื่อ คุณเก็ดถวา..ที่เพี้ยนๆไป
จะว่าไปก็เพราะดีเหมือนกัน....
ไม่ได้ตั้งใจจริงๆ..คนชราสายตาไม่ดี... :slime_bigsmile:




หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 02-03-2007, 14:08
"จิตรมาจากอุดรธานีคนเดียว นายทหารคุ้มกันมา 2-3 คันรถยีเอ็มซี เป็นรถของทหารฝ่ายรัฐบาลที่เป็นแนวร่วม เขาส่งจิตรให้เข้าป่า มาลงตรงนั้นราวสามทุ่ม เราคุ้มกันเขามาอยู่ที่ดงพันนาราว 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็พามาที่ดงพระเจ้า ใช้เวลาเดินเท้า 6 ชั่วโมง"

* คำพูดของสหายสวรรค์ คนที่ไปรับจิตรเข้าป่า  

** จากหนังสือ จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย หน้า 134

ผมอ่านเจอแล้วสงสัยว่า มันอะไรกันแน่

เหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา ผลักดันคนเข้าป่าไปเป็นแนวร่วมผกค

ช่วงนั้นมีสงครามเวียตนาม สงครามลาว สงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ

.... ทำให้ผมนึกถึง Conspiracy Theory

*** ตามข้อมูล จิตร น่าจะตายเพราะไปผิดหมู่บ้านแท้ๆ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: นายเกตุ ที่ 02-03-2007, 15:39
มัวไปหลงอยู่ไหนหว่าเรา ถึงมองไม่เห็นกระทู้นี้

ต้องsave ณ บัด Now

ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้เป็นอย่างยิ่งสำหรับคนเดินเรื่อง

และต้องขอขอบคุณน้องน้ำหวานที่ชี้ทางสว่างให้แก่ข้า ได้มาเจอกระทู้นี้


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 03-03-2007, 00:05

หนูพยายามจะแปะเพลง "ใบไม้ป่า"

เพลงที่นำเนื้อร้องมาจากบทกวี ของลุงเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ค่ะ

ลุงป่อง วงต้นกล้า นำมาขับร้องเป็นเพลง (คล้ายๆ เพลงไทยเดิม ตามสไตล์ของวงต้นกล้าค่ะ)

ที่บอกว่าพยายามจะแปะ ก็เพราะว่าพยายามแล้วค่ะ แต่วันนี้เน็ตหนูอืดมากๆ ค่ะ อัพโหลดไฟล์อะไรไม่ได้เลยค่ะ

 :slime_surrender:


อยากจะแปะเพลงที่เขียนโดยจิตร ภูมิศักดิ์ ในกระทู้ดีๆ นี้

แต่ก็เกรงว่า จะข้ามช็อตงานเขียนของคุณลุงเจ้าของกระทู้

เลยไปเอาเพลง ที่เขียนถึงจิตร ภูมิศักดิ์ แต่แต่งโดยคนอื่น มาแปะแทนค่ะ



ปล. ขอบคุณเอ เพื่อนรัก สำหรับเพลงนี้ค่ะ


 :slime_smile:



ใบไม้ป่า


ใบไม้ร่วงหนึ่งใบในราวป่า
ยังดีกว่าใบไม้เหลืองในเมืองหลวง
ที่รอปลิดหล่นเปล่าประโยชน์ปวง
เป็นด่างดวงดำเปื้อนในป่าคน

ใบไม้ป่าร่วงแล้วได้เลี้ยงป่า
ทิ้งลงมาเลี้ยงรากเลี้ยงลำต้น
เหมือนแม่ให้นมลูกปลูกฝังจน
ลูกเติบตนโตแทนเต็มแผ่นดิน

เมื่อเมืองคนคับคั่งด้วยคนป่า
คนดีก็ด้อยค่าเหมือนกรวดหิน
เมื่อสัตว์ป่าสร้างป่าไว้หากิน
สัตว์เมืองก็ต้องสิ้นวิสัยเมือง

ใบไม้ป่าชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์
ได้ร่วงแล้วลงเป็นหลักให้โลกเลื่อง
ดั่งเทียนป่าปลุกแสงขึ้นแรงเรือง
ไม่เปล่าเปลืองลมปราณที่ต้านลม

ลมประสานเสียงแคนว่าแค่นแค้น
เปิบข้าวทุกคราวแค่นความขื่นขม
เหงื่อกูรินตากูแล้งน้ำแห้งตรม
ร่างกูซมซานไข้จนเขียวคาว

เสียงปืนดังเปรี้ยงกว่าเสียงปาก
ก็ปิดฉากชีวิตมืดมิดหนาว
แต่วิญญาณคือทิพย์ที่ยืนยาว
ดั่งดวงดาวยิ่งดึกยิ่งตื่นตา

กาลเวลาฆ่าจิตร ภูมิศักดิ์
กาลเวลาก็ตระหนักประจักษ์ค่า
กาลเวลาฆ่าคนดีทุกทีมา
แต่เวลาก็ทูนเทิดเชิดคนดี

ใบไม้ร่วงหนึ่งใบในราวป่า
เพื่อแตกมาเป็นใบใหม่ในทุกที่
จิตรหนึ่งดวงดับไปในวันนี้
เพื่อจะมีจิตรใหม่มากมายดวง

ถ้าสัตว์เมืองสร้างเมืองเป็นป่าได้
เราก็เหมือนใบไม้ในเมืองหลวง
ที่โหยหาป่าเขาเปลี่ยวเปล่าปวง
จิตรจะร่วงลงทั้งป่าเข้ามาเมือง


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 03-03-2007, 12:32
เพราะจังค่ะ ใบไม้ป่า

แล้วนี่ถ้าเป็น ใบไม้ทะเลจะขนาดไหน  :slime_v: :slime_v:

เข้ามาให้กำลังใจเจ้าของกระทู้ และบอกว่าติดตามอยุ่เสมอค่ะ    :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 03-03-2007, 13:26
ขอบคุณสำหรับกำลังใจจากทุกความคิดเห็นนะครับ ทั้งเพื่อน ๆ ที่ติดตามมาตั้งแต่แรก และเพื่อน ๆ ที่เพิ่งจะมาอ่านในช่วงนี้ ผมไม่คิดว่าจะยังมีคนที่ตามอ่านเหลืออยู่มากนัก เรียนตามตรงว่าไม่กล้าที่จะหวังเลย เพราะว่าผมทิ้งกระทู้ไปนานมาก เพื่อน ๆ ที่เขียนแสดงความคิดเห็น ก็เหมือนกับการให้กำลังใจนักเขียน ให้มีแรงเขียนต่อ โดยเฉพาะนักเขียนสมัครเล่นแบบผม ที่ชอบทานผลยอมาก วันนึงทานได้เป็นเข่ง ๆ สำหรับเพื่อนที่เข้ามาอ่านแต่ไม่ได้โพสความคิดเห็นเอาไว้ ผมก็ขอขอบคุณอีกเช่นกัน เพราะตัวเลขคนเข้ามาอ่าน ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้นักเขียนรู้ว่ายังมีคนสนใจงานของเขาอยู่ โดยสรุป ผมขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านกันมาครับ

ซีรีย์นี้ ผมกะเอาไว้คร่าว ๆ ในใจว่า จะเขียนประมาณ 6-8 แปดตอน ตอนนี้เพิ่งเขียนได้ 2 ตอนเอง ถ้านับบทนำด้วยก็เป็น 3 สำหรับบทต่อไปซึ่งน่าจะเป็นตอนที่ 3 ผมคงจะโพสได้ในคืนนี้หรือไม่ก็พรุ่งนี้ครับ หลังจากนั้นผมต้องไปต่างจังหวัดสามสี่วัน แล้วจึงจะได้กลับมาเขียนต่อได้อีก งานเขียนของผมเป็นอย่างไรอย่างลืมวิจารณ์กันมานะครับ จะส่งเป็น pm มาก็ได้ ผมจะได้นำไปปรับปรุง หรือว่าเพื่อนท่านใดมีข้อมูลทั้งสนับสนุน หรือขัดแย้ง ผมก็ยินดีครับ

สำหรับผมแล้ว การได้เขียนเรื่องของจิตร ภูมิศักดิ์ ถือเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของชีวิตครับ!!!


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: อังศนา ที่ 03-03-2007, 13:39
..ตามอ่านอยู่เงียบๆ ค่ะ  :slime_sentimental:
(ลงชื่อ : Silent groupie)

(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/pink_flowers.gif)


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 03-03-2007, 14:03
..ตามอ่านอยู่เงียบๆ ค่ะ  :slime_sentimental:
(ลงชื่อ : Silent groupie)

(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/pink_flowers.gif)


 :slime_bigsmile:

รีบพุ่งตัวมาจากหน้าแรก อย่างเร็วจี๋ (แม้เน็ตจะอืด)
เพราะชอบตามอ่านความเห็นพี่อังฯ 55555555  ดูจิ๊ๆๆๆๆ   :slime_shy:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: อังศนา ที่ 03-03-2007, 14:19
..ผิดหวังหรือไงคะน้ำหวาน.. อิอิ  :slime_p:
(เขียนสั้นจู๋ มีแต่เครื่องทรงพะรุงพะรัง)

(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/pink_flowers.gif)


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: zero ที่ 04-03-2007, 16:45
.....ในสมัยที่ยังเรียนอยู่ จุฬาฯ พระยาอนุมานราชธน
ผู้เป็นอาจารย์ท่านหนึ่งได้เคยเอ่ยกับศิษย์คนนี้ว่า
เขาเป็นคนแรง ความคิดความเห็นเฉียบแหลม
น่าสนใจน่ารับฟังทั้งๆที่ฉันก็ไม่เห็นด้วยกับความคิดของเขานัก
ฉันไม่อยากให้เขาคิดไกลเกินไป อยากให้เขาเล่นทางนิรุกติ์ดีกว่า
ต่อไปเขาอาจเป็นเอกทางนี้....
........................
คัดจาก ..ศิลปะเพื่อชีวิตเพื่อประชาชน


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : ต้นกล้าริมเทวาลัย
เริ่มหัวข้อโดย: visitna ที่ 04-03-2007, 19:19
อาจารย์ แถมสุข  นุ่มนนท์  เรียนอักษร รุ่นเดียว
กันกับ จิตร  เคยเขียนถึง จิตร ในหนังสือ ต๋วยตูน
จำไม่ได้ว่าฉบับไหน ราว2-3 ปีมานี่ เดี๋ยวนี้ผมตัดขาด
จาก ต๋วยตูน ตั้งแต่เอารูปสมัครขึ้นปก เลิกกันเลย
  เคยเรียนสามย่านที่เดียวกับ จิตร ภูมิใจมากเรื่องนี้


หัวข้อ: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 04-03-2007, 22:40
ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก


บ่ายโมงตรง วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๖ ที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายหลังจากที่เลขาธิการมหาวิทยาลัย และประธานเชียร์ของจุฬาฯ พูดจบ นิสิตปีสามผู้เป็นสาราณียกรของสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของผลงานเจ้าปัญหาฉบับ 23 ตุลาคม จึงมีโอกาสได้ก้าวขึ้นเวทีที่สูงจากพื้นราวสองเมตร เขาขึ้นพูดเพื่อแก้ข้อกล่าวหาที่เลขาธิการมหาวิทยาลัย ผู้เป็นอาจารย์ได้กล่าวหาเขาไว้ ต่อหน้านิสิตจุฬาฯ ทั้งหกคณะจำนวนกว่าสามพันคน การพูดของเขาได้โน้มน้าวหัวใจที่รักความเป็นธรรมของนิสิตจุฬาฯ ให้เห็นถึงเจตนารมย์ที่บริสุทธิที่จะสร้างสรรหนังสือฉบับพิเศษฉบับนี้ให้สมกับเป็นหนังสือของชาวจุฬาฯ เขาได้รับเสียงปรบมือกึกก้องและยาวนาน จิตรพูดนานนับสิบนาที เขาได้เล่าเรื่องบทความต่าง ๆ ที่มีปัญหาให้เพื่อนนิสิตฟัง ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมจึงได้รับเลือกให้มาลงในหนังสือฉบับนี้

จนกระทั่งมาถึงบทความเรื่องประเพณีการโยนน้ำตามระบบ SOTUS ของชาวจุฬาฯ ซึ่งจิตรเองไม่ได้เป็นผู้เขียน แต่คัดเลือกมาจากบทความที่เพื่อนนิสิตส่งมาลง เสียงตะโกนจากฝั่งคณะวิศวะก็เริ่มดังขึ้นแสดงความไม่พอใจ อันสืบเนื่องจากประธานเชียร์เป็นคนของวิศวะ จิตรยังคงพูดต่อไปอย่างอดทน จนกระทั่งเขาได้กล่าวปิดท้ายการชี้แจงของเขาโดยการเรียกร้องว่า

"ตามที่ท่านเลขาฯ ได้เลือกเอาข้อความเพียงบางตอนมากล่าวบิดเบือนให้ร้ายผมนั้น ผมเห็นว่าไม่เป็นธรรม ทางที่ดีควรเปิดโอกาสให้นิสิตได้เห็นเนื้อหาของหนังสือทั้งหมด และวินิจฉัยเนื้อหาทั้งหมดด้วยตนเอง จึงจะเป็นการยุติธรรม"

เสียงปรบมือก็ดังกระหึ่มขึ้นอีกครั้ง แต่ดังกึกก้องกว่า และยาวนานกว่า พร้อมกันนั้น บรรดานิสิตจุฬาฯ ในห้องประชุมก็ตะโกนขึ้นมาพร้อมกันว่า "ให้ตีแผ่หนังสือออกมา" เหตุการณ์นี้ทำให้ฝ่ายอาจารย์ และฝ่ายคณะวิศวะ ตื่นตระหนก เพราะเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามคาด ที่นิสิตส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนจิตร แทนที่จะประนาม นิสิตวิศวะหลายคนเริ่มหลุด และตะโกน "โยนน้ำเลย" สวนขึ้นมาสู้กับกระแสที่สนับสนุนจิตร เหตุการณ์ในหอประชุมเริ่มชุลมุนวุ่นวาย ทันใดนั้นเอง นายสีหเดช บุนนาค ผู้แทนนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ และประธานเชียร์ของจุฬาฯ ก็ปีนขึ้นไปบนเวที และวิ่งเข้าไปเตะจิตรจนล้มลงไปนอนกับพื้น นายศักดิ์ สุทธิพิศาล นิสิตคณะวิศวะอีกคนปีนตามขึ้นไป ก็เข้าไปช่วยนายสีหเดช ล็อคตัวจิตรเอาไว้ เหตุการณ์น่าจะจบตรงนี้ ถ้าหากนายชวลิต พรหมานพ เลขานุการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไม่วิ่งตามขึ้นไปอีกคน ไม่มีบันทึกฉบับใหนเขียนระบุเอาไว้ว่า ใครคนใหนในสามคนนี้ที่พูดขึ้นมาว่า "อย่าโยนน้ำเลย โยนบกนี่แหละ" บันทึกบางฉบับบันทึกเอาไว้ว่าพูดพร้อมกันทั้งสามคน แต่เป็นที่เชื่อกันว่านายชวลิต พรหมานพ นี่แหละที่เป็นคนตะโกนให้โยนบก เพราะเป็นคนที่ตามขึ้นไปเป็นคนสุดท้าย และรวบขาของจิตรขึ้นให้ลอยจากพื้น จิตรสลบไปครู่ใหญ่หลังจากถูกโยนลงจากเวทีที่สูงจากพื้นถึงสองเมตร และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเลิศสินทันทีที่ได้สติ

...............................................................................................

๑๖ ตุลาคม ๒๔๙๖ ก่อนหน้ากรณีโยนบก 12 วัน

จิตร ไปตรวจความเรียบร้อยของการพิมพ์หนังสือที่สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ซึ่งในวันนี้หนังสือควรที่จะเย็บเล่มเสร็จตามกำหนด เพื่อที่จะได้นำไปเข้าปก เท่าที่ดูจากการทำงานของสำนักพิมพ์หนังสือคงเสร็จตามกำหนดแน่นอน เมื่อไปถึงจิตรก็ได้รับข่าวร้ายจากนายจรัส วันทนทวี ผู้จัดการโรงพิมพ์ ว่า สภามหาวิทยาลัย ได้มาอายัดหนังสือทั้งหมดไปเก็บไว้ที่สำนักงานเลขาธิการมหาวิทยาลัย โดยขอให้ทางโรงพิมพ์ระงับขั้นตอนที่เหลือออกไปก่อน ผู้จัดการโรงพิมพ์ให้จิตร ไปสอบถามสาเหตุการอายัดหนังสือกับทางสภาฯ เอาเอง

เรื่องนี้หลังจากที่มีการสืบสาวกันในภายหลัง เงื่อนงำของเรื่องราวก็ได้รับการเปิดเผยว่า แท้จริงแล้ว ในระหว่างที่มีการพิมพ์หนังสือที่โรงพิมพ์ นายน้อย ฝากมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ซึ่งทำหน้าที่ตรวจปรู๊ฟก่อนการพิมพ์จริง (ฉบับพิมพ์ร่าง) ตำแหน่งตรวจปรู๊ฟนี้เป็นตำแหน่งบรรณาธิการ ของบรรณาธิการอีกทีนึง เป็นผู้อ่านข้อความในหนังสืออย่างละเอียดเพื่อค้นหาข้อผิดพลาดก่อนที่จะมีการพิมพ์จริง เพื่อลดความเสียหายในการพิมพ์ให้กับโรงพิมพ์ อ่านพบว่า เนื้อหาในหนังสือฉบับนี้นอกจากจะแหวกแนวจากหนังสือฉบับ 23 ตุลาในปีก่อน ๆ ยังมีบทความหลายบทความที่ค่อนข้างหมิ่นแหม่เฉียดฉิวที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายให้กับทางโรงพิมพ์ได้ จึงได้ติดต่อไปยัง ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ณ อยุธยา อาจารย์ในแผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ของคณะอักษรศาสตร์ ซึ่งสนิทสนมกันกับโรงพิมพ์ ม.ร.ว.สุมนชาติ จึงได้รีบนำเรื่องเข้าปรึกษากับ ม.ร.ว.สลับ ลดาวัลย์ เลขาธิการจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่ง ม.ร.ว.สลับ ก็ได้สั่งระงับการพิมพ์ และไปอายัดหนังสือที่โรงพิมพ์ในทันที ภายหลังจากที่ได้ไปปรึกษากับ ม.ร.ว.สลับ ม.ร.ว.สุมนชาติ ก็ยังได้ไปพบกับ พันตำรวจตรีวิศิษฐ์ แสงชัย สว.ผ.๒กก.๒ ส. ซึ่งเป็นตำรวจสันติบาล และได้พากันไปที่โรงพิมพ์เพื่อที่จะอายัดหนังสือ ปรากฏว่า ทางจุฬาฯ ได้มาขนไปก่อนหน้านั้นแล้ว พตต.วิศิษฐ์ จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และรอการประสานงานจากจุฬาฯ ต่อไป

๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๖ ก่อนหน้ากรณีโยนบก 11 วัน

ม.ร.ว.สลับ และพระเวชยันตรังสฤษฎ์ (พลอากาศโทมุนี มหาสันทนะ) อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วย ได้เรียกจิตรไปพบในห้องทำงานของ ม.ร.ว.สลับ ทั้งสองได้ซักถามรายละเอียดของบทความต่าง ๆ จากจิตร และสรุปว่าบทความบางบทความ ไม่เหมาะกับหนังสือของจุฬาฯ และบางบทความก็ขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาล ขอให้จิตรไปตัดออก และจัดรูปเล่มใหม่ ให้เหมาะสม

๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๖ ก่อนหน้ากรณีโยนบก 9 วัน

สภามหาวิทยาลัยได้เรียกประชุมคณะกรรมการ เพื่อทำการสอบสวนหาความจริงในกรณีการจัดทำหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ ๒๓ ตุลาฯ คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิราว ๑๐ ท่าน อาทิ ม.ร.ว.สลับ ประธานในที่ประชุม พระเวชยันตรังสฤษฎ์ ม.ร.ว.สุมนชาติ และ นางนพคุณ ทองใหญ่ ผู้จดบันทึกการประชุม

คณะกรรมการได้สอบสวนจิตร ว่าบทความในหนังสือบทความใหนเป็นของใคร จิตรใช้อะไรเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าบทความใด ควรได้รับการตีพิมพ์ นอกจากนั้น ยังได้ยกเอาบทความเรื่องผีตองเหลือง และกลอนเรื่องแม่ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่ามีเนื้อหาที่รุนแรง มาพิจารณาเป็นพิเศษ คณะกรรมการพยายามที่จะให้จิตรบอกว่าใครเป็นเจ้าของกลอนและบทความเรื่องนั้น (กรรมการรู้ดีอยู่แล้วว่าของใคร - คนในวงการ) จิตรไม่ได้ให้คำตอบที่น่าพอใจใด ๆ กับคณะกรรมการ การประชุมสอบสวนจึงสรุปว่า จิตรมีความเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ และลงมติให้ ส่งเรื่องจิตรไปให้กับทางตำรวจสันติบาล เพื่อทำการสอบสวนหาความจริงต่อไป

๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๖ ก่อนหน้ากรณีโยนบก 8 วัน

สภามหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เพื่อทำการตรวจสอบและพิจารณาบทความต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ ๒๓ ตุลาฯ ทั้งที่ตีพิมพ์เสร็จแล้วและที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ คณะกรรมการชุดนี้ประกอบไปด้วย ม.ร.ว.สุมนชาติ หัวหน้าคณะกรรมการ นางจินตนา ยศสุนทร นางฉลวย กาญจนาคม และนางสาวเบญจวรรณ ธันวารชร

คณะกรรมการ ได้เรียกคืนต้นฉบับทั้งหมดจากทางโรงพิมพ์ และออกคำสั่งห้ามจิตรไม่ให้ยุ่งเกี่ยวในการตรวจสอบ และไม่ให้จิตรติดต่อกับทางโรงพิมพ์ และตัดสิทธิในการพิจารณาบทความต่าง ๆ ตามตำแหน่งสาราณียกรของจิตร

คณะกรรมการได้ตัดบทความออกหลายบทความ นอกจากนั้นยังลบข้อความบางข้อความออกจากงานที่ผ่านการพิจารณา และได้ส่งต้นฉบับที่ได้ผ่านการเซ็นเซอร์แล้วกลับคืนมาให้จิตร เพื่อที่จะได้นำไปดำเนินการจัดพิมพ์ต่อไป

จิตรไม่พอใจอย่างมากกับการเซ็นเซอร์ในครั้งนี้ เพราะทำให้หนังสือขาดความสมบูรณ์ มีลักษณะพิกลพิการ และคณะกรรมการยังเซ็นเซอร์โดยที่ไม่เปิดโอกาสให้จิตรได้ชี้แจง จิตรได้ขอเข้าพบ ม.ร.ว.สุมนชาติ เพื่อปรึกษาในเรื่องนี้ และปัญหาของการจัดทำเสร็จไม่ทันตามกำหนดที่ได้ตั้งเอาไว้ ม.ร.ว.สุมนชาติได้ให้คำแนะนำกับจิตรว่า "เมื่อทำงานไม่สำเร็จ ก็ควรลาออกตามวิถีทางประชาธิปไตย"

๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๖ ก่อนหน้ากรณีโยนบก 4 วัน

ไม่มีการแจกหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ ๒๓ ตุลาฯ ข่าวลือแพร่สะพัดว่า ตำรวจและสภามหาวิทยาลัย ระงับการแจกจ่ายหนังสือฉบับนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า "มีบทความเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์"

๒๗ ตุลาคม ๒๔๙๖ ก่อนหน้ากรณีโยนบก 1 วัน

นิสิตหัวก้าวหน้าบางกลุ่มในจุฬาฯ ได้แทรกใบปลิวแสดงความไม่เห็นด้วยกับการสั่งระงับการแจก และเซ็นเซอร์ข้อความในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ ๒๓ ตุลาฯ ไว้ในหนังสือแจกของคณะต่าง ๆ โดยเรียกร้องให้นิสิตจุฬาฯ มีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มหาวิทยาลัยต้องเคารพในการแสดงความคิดเห็นของนิสิต ที่ผ่านมา นิสิตถูกริดรอนสิทธิและเสรีภาพจากอำนาจ เบื้องบนมาตลอด ดังพบได้จากกรณีการจัดทำหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ ๒๓ ตุลาฯ ทั้ง ๆ ที่จุดประสงค์ดั้งเดิม ในการจัดทำหนังสือมหาวิทยาลัย ก็เพื่อต้องการให้นิสิตได้แสดงออกทางความคิดเห็นอย่างเสรี โดยผ่านทางบทความของหนังสือฉบับนี้

ว่ากันว่า จิตรได้รับใบปลิวฉบับนี้จากเพื่อนนิสิตผู้หวังดีคนหนึ่งนำมาให้อ่าน หลังจากอ่านจบ จิตรก็นำไปให้ ม.ร.ว.สุมนชาติ อ่านเพื่อให้ทราบความเคลื่อนไหวของนิสิต (ม.ร.ว.สุมนชาติ คือคนที่เล่นงานจิตร - แสบซะไม่มีนะจิตร - คนในวงการ) ม.ร.ว.สุมนชาติ บอกกับจิตรว่า จะส่งเรื่องนี้ให้ตำรวจสันติบาลดำเนินการ

ตกบ่าย ก็มีใบปลิวอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งมีข้อความในแนวต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ติดอยู่ตามใต้ต้นจามจุรี ด้วยฝีมือของนิสิตกลุ่มนิยมขวาจัด ซึ่งคาดกันว่าเป็นนิสิตคณะวิศวะ

จิตรได้ลาออกจากตำแหน่งสาราณียกรของสโมสรนิสิตจุฬาฯ ในวันนี้เอง

๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๖ วันพิพากษา

การลุกลามบานปลายของสงครามใบปลิว และข่าวลือในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสาเหตุให้ ม.ร.ว.สลับ เลขาธิการจุฬาฯ ได้เรียกประชุมนิสิตทั้งหมดหกคณะ ที่มีอยู่ราว 3,000 คน ให้มาประชุมกันที่หอประชุมใหญ่ ในเวลา 12.15 น. เพื่อแถลงถึงสาเหตุที่ทางสภามหาวิทยาลัยสั่งระงับการแจกจ่ายหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ ๒๓ ตุลาฯ

 ม.ร.ว.สลับ ได้กล่าวว่า

"สาเหตุที่ยับยั้งไม่ให้หนังสือเล่มนี้ออก เป็นเพราะ มีข้อความบางเรื่องเป็นเรื่องที่สภามหาวิทยาลัยไม่พึงประสงค์ เป็นต้นว่าเรื่องที่มีนิสิตผู้แปลมาจากคำวิพากษ์วิจารณ์เมืองไทยของนักเขียนอเมริกัน ซึ่งเป็นการขัดต่อนโยบายของรัฐบาล และเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา"  

นอกจากนั้น ม.ร.ว.สลับ ได้พูดถึงเรื่องบทความเรื่องผีตองเหลืองซึ่งประณามภิกษุสงฆ์ทั่วไปว่าเป็นผีตองเหลือง ว่าเป็นการดูหมิ่นพระภิกษุสงฆ์ และเรื่องกลอนเกี่ยวกับแม่ ว่าประณามผู้หญิงว่า ผู้หญิงทุกคนที่เกิดมีบุตรออกมาไม่ได้ตั้งใจให้เกิด เป็นผลพลอยได้จากความสนุกสนานทางกามารมณ์ เรื่องการทำปกหนังสือ ว่าทำปกเป็นสีดำมีวงกลมสีขาว ซึ่งตีความหมายว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่าจากยุคมืดไปสู่ยุคแห่งความสว่าง และไม่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๕ ซึ่งควรจะมี และกล่าวหาว่าจิตร มีจิตใจโน้มเอียงนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในขณะที่ ม.ร.ว.สลับ พูด จิตรได้พยายามยกมือ เพื่อขอชี้แจง ม.ร.ว.สลับตอบปฏิเสธและบอกให้จิตรนั่งลงก่อนเมื่อตนชี้แจงเสร็จแล้ว จึงจะเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ในขณะนั้นนายสีหเดช บุนนาค ผู้แทนนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนายศักดิ์ สุทธิพิศาล นิสิตวิศวะ ก็เดินเข้ามากดไหล่ให้จิตรนั่งลง พร้อมกับกล่าวว่า"ประเดี๋ยวจะให้พูด"

เมื่อ ม.ร.ว.สลับ พูดเสร็จ ก็ได้เดินออกจากหอประชุมใหญ่ไปในทันที




และบ่ายโมงตรง วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๖ ที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันนั้น จามจุรีดอกหนึ่งก็ร่วงลง ...






หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 05-03-2007, 00:36
คุณนทร์

สหายที่ไปรับจิตรเข้าป่าชื่อ สหายไสว ครับ ไม่ใช่สหายสวรรค์แต่อย่างใด ส่วนบทความท่อนที่คุณนทร์ก็อปมาผมว่าผมก็เคยผ่านตานะ คุ้น ๆ แต่พอค้นอย่างละเอียดในเอกสารที่ผมมี กลับไม่พบว่ามีการบันทึกเอาไว้ ว่ารถที่มาส่งจิตรเป็นรถทหาร แต่ผมยอมรับนะครับว่าเคยผ่านตาประโยคนี้มาจริง ๆ เพียงแต่ตอนนั้นยังไม่ได้ให้ความสนใจเลยไม่ได้บันทึกเอาไว้

ผมตรวจสอบบันทึกทั้งหมดที่ผมเก็บเอาไว้ ทุกฉบับพูดตรงกันว่า คนที่ไปรอรับจิตร ชื่อ สหายไสว ส่วน สหายสวรรค์นั้น เข้าป่าทีหลังจิตร และได้รับการดูแลจากจิตรเป็นอย่างดี สหายสวรรค์เป็นชาวนา มีความประทับใจในตัวจิตรมาก ในตอนหลังได้รับหน้าที่เป็นทหารพิทักษ์จิตร และเป็นคนที่อยู่ในเหตุการณ์ที่จิตรถูกยิงเสียชีวิตด้วย



ส่วนอันนี้เป็นของแถมครับ

(http://www.geocities.com/thaifreeman/jit/pumisak24.JPG)

ขออนุญาต ไม่บรรยายรูปครับ



หัวข้อ: ดั่งเทียนฯ : กาลเวลาฆ่าคนดีทุกทีมาแต่เวลาก็ทูนเทิดเชิดคนดี ฟังเพลงใบไม้ป่าค่ะ
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 05-03-2007, 01:44
เอาลิงค์เพลง "ใบไม้ป่า" ที่แปะเนื้อทิ้งไว้ในความเห็นข้างบนมาใส่ให้ค่ะ เผื่อมีคนอยากฟัง

เป็นเพลงจากคอนเสิร์ตแสงดาวแห่งศรัทธา รำลึกถึงจิตร ภูมิศักดิ์

ขับร้องโดยผู้หญิงเสียงสง่าคนโปรดหนูคนเดิม พี่สุรินทร์ อิสมันยี

โดยมี ลุงป่อง วงต้นกล้า เล่นซอคลอไปด้วย (เพลงใบไม้ป่าต้นฉบับ รู้สึกจะเป็นเสียงแกนะคะ)

เพลงนี้ หนูตัดไฟล์มาจาก vcd ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณลุงซีโรค่ะ ขอบคุณเหลือเกินค่ะคุณลุง


ฟังเพลงค่ะ  http://www.esnips.com/doc/a852e595-8ff3-4420-886a-e73000ee894f/baimaipa


หนูเอาภาพจากคอนเสิร์ตมาฝากด้วยค่ะ


(http://images.forstudent.com/ii/0image06.jpg)

บรรยากาศคอนเสิร์ตค่ะ


(http://images.forstudent.com/ii/5image01.jpg)

ลุงเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อ่านบทกวี ใบไม้ป่า ด้วยตัวเอง



(http://images.forstudent.com/ii/1image03.jpg)

(http://images.forstudent.com/ii/3image04.jpg)

(http://images.forstudent.com/ii/2image05.jpg)

พี่รินทร์ กับลุงป่อง


(http://images.forstudent.com/ii/2image02.jpg)

ลุงป่อง ต้นกล้า เล่นซอ คลอเสียงร้องของพี่รินทร์ตลอดเพลงค่ะ







หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 05-03-2007, 08:51
กำลังสนุกมาต่อเร็วๆๆนะค่ะ แวะมาอ่านสองรอบค่ะ รอบแรกไม่เข้าใจ รอบสอง พอจะรุ้เรื่องแล้ว อิอิ  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: สเลเต ที่ 05-03-2007, 11:13
 :slime_sentimental: :slime_o: :slime_p:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 06-03-2007, 09:56
"จิตรมาจากอุดรธานีคนเดียว นายทหารคุ้มกันมา 2-3 คันรถยีเอ็มซี เป็นรถของทหารฝ่ายรัฐบาลที่เป็นแนวร่วม เขาส่งจิตรให้เข้าป่า มาลงตรงนั้นราวสามทุ่ม เราคุ้มกันเขามาอยู่ที่ดงพันนาราว 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็พามาที่ดงพระเจ้า ใช้เวลาเดินเท้า 6 ชั่วโมง"

เพิ่งไปเปิดดูหนังสือ อ่านทวนใหม่
ไม่ใช่คำพูดของสหายสวรรค์แต่เป็นคำพูดของสหายวิมล
ผมอ่านพลาดเลยไปครับ   :mozilla_oops:

"สหายวิมลเป็นสหายคนหนึ่งในกองทหารป่า 36 นาย ที่เคลื่อนพลออกไปรับ จิตร ภูมศักดิ์"

(จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย หน้า 134)

* ส่วนสหายสวรรค์เป็นคนนำผู้เขียนพาไปหาสหายวิมลและพาไปดูสถานที่จริงดงพระเจ้า   :mozilla_cool:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 06-03-2007, 10:16

แล้วสหายวิมล (ของพี่นทร์) กับสหายไสว (ของคุณลุงบิ๊กเหยี่ยว)

เป็นคนเดียวกันหรือเปล่าคะ?? ... หรือว่าคนที่ไปรอรับจิตร มีหลายคน

หนูชักงง  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 06-03-2007, 11:15
สหายวิมลเป็นสหายคนหนึ่งในกองทหารป่า 36 นาย ที่เคลื่อนพลออกไปรับ จิตร ภูมศักดิ์

คนไปรับจิตรเข้าป่า มี 36 คน

คนมาส่งจิตรเข้าป่า มากัน 2-3 คันรถ

เพียบครับ คนที่เกี่ยวข้องช่วงนั้น  :wink:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 06-03-2007, 13:53

 :slime_shy: :slime_shy:

ก็หนูไม่รู้นี่นา..   :slime_hitted:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 07-03-2007, 09:24
"ชาวบ้านที่เข้าป่าแถบนั้นส่วนใหญ่เขาถูกกระทำจากนโยบาย ต่อต้านคอมมิวนิสต์แบบรุนแรง ปราบหนักมาก อเมริกาให้งบมา เจ้าหน้าที่ก็กระพือให้มันบานปลาย ได้ใช้งบ แต่เรื่องเกิดในถิ่นชนบท โลกภายนอกไม่รู้"

วัฒน์ วรรลยางกูร
นักเขียนเข้ารอบซีไรต์ 7 สมัย
อดีตสหายร้อย

* จาก จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย หน้า 155

++ เพื่อเป็นข้อมูล กรณีศึกษาในมุม Conspiracy Theory


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกเข็มขาว ที่ 07-03-2007, 18:28
ขอบคุณหนูเก็ดมากที่บอกว่าคุณคนในวงการเขียนต่อแล้ว

เลยต้องรีบเข้ามาอ่าน เพลงก็เพราะชอบจัง

คุณคนในวงการหายดีหรือยังคะ ขอให้หายเร็วๆนะคะ

จะได้เขียนให้พวกเราได้อ่านต่อ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : จามจุรีที่ทางแยก
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 09-03-2007, 19:53


คุณลุงขา... 5 วันแล้วอ่ะค่ะ

อยากอ่านตอนต่อไปแย้วววว   

 :slime_v:


หัวข้อ: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 12-03-2007, 02:34

ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน


(http://cimg.163.com/news/0410/19/luxun_1.jpg)

横眉冷对千夫指 俯首甘为孺子牛

แม้คนพันบัญชาชี้หน้าเย้ย
จงขวางคิ้วเย็นชาเฉยเถิดสหาย
ต่อผองเหล่านวชนเกิดกล่นราย
จงน้อมกายก้มหัวเป็นงัวงาน

รจนาโดยหลู่ซิ่น แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ในนามปากกา ศิลป์ พิทักษ์ชน


สำหรับคนทั่ว ๆ ไป ที่อ่านเรื่องราวของจิตร นี่เป็นเพียงหนึ่งในผลงานการแปลของจิตรเท่านั้น ไม่มีความหมายอะไรมากกว่านี้  แต่สำหรับคนที่อยากรู้จักจิตรให้มากกว่านั้น กลอนบทนี้คือกุญแจที่จะไขเข้าสู่ชีวิตของจิตรเลยทีเดียว เพราะนี่คือต้นแบบของจิตร ภูมิศักดิ์!!!

จิตร ไม่เคยอยากเป็นผู้นำนักศึกษา ไม่อยากเป็นนักปฏิวัติ ไม่อยากเป็นนักต่อสู้ทางการเมืองอะไรทั้งสิ้น เขาเคยเขียนเอาไว้ในสมุดบันทึกของเขาว่า "ความใฝ่ฝันของข้าพเจ้า อยากจะเป็นคนหนึ่งในบรรดานักปราชญ์แห่งราชบัณฑิตยสถาน" จิตร อยากเป็นปราชญ์ เหมือนกับหลู่ซิ่น บุคคลที่จิตรให้การยกย่องว่าเปรียบเสมือนพ่ออีกคนหนึ่งของจิตร

หลู่ซิ่น คือใคร?

หลู่ซิ่น คือนามปากกาของ โจว ซู่เหริน ผู้ซึ่งเกิดในครอบครัวของปัญญาชนของจีน ปู่ของ โจว ซู่เหริน รับราชการเป็นอาจารย์อยู่ในสำนัก Hanling (ผมออกเสียงจีนไม่ถูก-คนในวงการ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีฐานะค่อนข้างดีในสมัยนั้น ต่อมาปู่ของ โจว ซู่เหริน ถูกจับได้ว่าแอบทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ โดยปู่ของ โจว ซู่เหริน พยายามช่วยให้ พ่อของโจว ซู่เหริน เข้ารับราชการ ทำให้ต้องถูกประหารชีวิตทั้งตระกูล พ่อของโจว ซู่เหริน หนีไปได้ แต่สุดท้ายเขากลายเป็นคนติดสุรา และตายเพราะโรคพิษสุราเรื้อรัง ตัวโจว ซู่เหริน ซึ่งยังเป็นเด็กในขณะนั้น ถูกหญิงรับใช้ที่ชื่อ อาจาง พาหนี โจว ซู่เหริน ให้ความเคารพหญิงรับใช้คนนี้เหมือนกับแม่ของเขา โดยเรียกเธอว่าแม่จาง

หลู่ซิ่นต้องระเห็จเร่ร่อนไปจนถึงเจียงหนาน เขาเข้าเรียนที่วิทยาลัยทหารเรือของเจียงหนาน และย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนการรถไฟและเหมืองแร่ ของวิทยาลัยกองทัพบกของเจียงหนาน เพราะชะตากรรมของพ่อของเขาที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หลู่ซิ่นจึงสนใจศึกษาวิชาแพทย์ตั้งแต่เด็ก เขาสอบชิงทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อด้านการแพทย์ที่ญี่ปุ่นที่มหาวิทยาลัยเซนได จุดเปลี่ยนในชีวิตของหลู่ซิ่นมาถึงในวันหนึ่ง เมื่ออาจารย์ได้นำสไลด์มาฉายให้ดูในเวลาว่างของนักศึกษา มีอยู่ภาพหนึ่งเป็นภาพของนักโทษชาวจีน ถูกมัดมือไพล่หลัง กำลังถูกทหารญี่ปุ่นลงโทษตัดศีรษะด้วยความผิดฐานเป็นสปายขโมยความลับของทหารญี่ปุ่นไปให้ทหารรัสเซีย โดยที่มีชาวจีนยืนมุงดูอยู่ หลู่ซิ่นเห็นชาวจีนที่มุงดูในภาพมีสายตาที่ว่างเปล่าไร้ความรู้สึก พวกเขาแค่มามุงดูความตื่นเต้นของการประหารเท่านั้นเอง

จากตรงนี้เองหลู่ซิ่นเกิดแนวความคิดที่ว่าแท้จริงแล้ว สุขภาพของชาวจีนไม่ได้เป็นปัญหาเลย พวกเขามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี แต่จิตใจของชาวจีนตกต่ำ และอ่อนแอ พวกเขาไม่ได้ต้องการการรักษาทางการแพทย์ แต่ต้องการการเยียวยารักษาจิตใจ หลู่ซิ่นจึงเบนเข็มจากการศึกษาด้านการแพทย์ หันมาเอาดีทางด้านวรรณกรรม เพราะเขาเชื่อว่าวรรณกรรมสามารถเข้าถึงจิตใจของคน และสามารถเปลียนแปลงสังคมได้

หลังจากกลับจากญี่ปุ่นหลู่ซิ่นก็เข้าร่วมกับปัญญาชนหัวก้าวหน้าของจีน และประกาศตัวเป็นนักรบที่ใช้ปากกาเป็นอาวุธ โดยใช้นามปากกาว่าหลู่ซิ่น เขียนเรื่อง บันทึกของคนบ้า (A Madman's Diary) ลงในนิตยสารซินชิงเหนียง งานเขียนของเขาได้รับการต้อนรับจากนักอ่านอย่างกว้างขวางและทำให้รัฐบาลเจียงไคเชกในขณะนั้นไม่พอใจ หลู่ซิ่นคิดว่าสิ่งที่จำเป็นในการปฏิวัติสังคม คือการเผชิญหน้ากับความจริง อย่างตรงไปตรงมา เขาได้กล่าวเอาไว้ว่า "คนชั้นสูงหลอกลวงคนชั้นต่ำ เพื่อจะได้มีอำนาจครอบงำ" ดังนั้นเขาจึงเรียกร้องให้มองความจริงอย่างตรงไปตรงมา ดังถ้อยคำของเขาที่ว่า "เราต้องกล้ามองสิ่งต่างๆ อย่างตรงตัว ก่อนที่เราจะกล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ หรือเข้ารับผิดชอบ" เขารู้ดีว่าคู่ต่อสู้ของเขาซึ่งก็คือรัฐบาลเจียงไคเชกในสมัยนั้น ดื้อดึงดันทุรังและมีประสบการณ์เป็นอย่างดีในการปกครองประเทศ ดังนั้น การต่อสู้ทางการปฏิวัติในจีนจึงจำเป็นต้องใช้เวลายาวนานและเต็มไปด้วยความยากลำบาก ต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ และอีกด้านหนึ่งก็ต้องอาศัยกลวิธีและความยืดหยุ่น

ในปี 2464 หลู่ซิ่น ก็เขียนผลงานที่โด่งดังของเขาอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง "เรื่องจริงของอาคิว" (The True Story of Ah Q) ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ในสังคมจีนในขณะนั้น เรื่องจริงของอาคิวต่อมาก็กลายเป็นวรรณกรรมที่มีความเป็นสากล และทันสมัยอยู่เสมอ เพราะคนแบบอาคิวมีอยู่ทุกสังคมและทุกยุคทุกสมัย

อาคิวเป็นคนไม่มีงานประจำ ฐานะยากจน แต่มีความสุขทางใจได้เสมอ โดยเฉพาะเวลาถูกคนที่เหนือกว่ารังแก อาคิวก็จะพยายามลืมมันเสีย เพราะการลืมเสียนั้น อาคิว ถือว่าเป็นของวิเศษที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ หลู่ซิ่นสร้างตัวละครนี้ขึ้นมาเป็นแบบอย่างของผู้ที่พยายามหลอกตัวเอง และมีความขลาดเขลาในการไม่ยอมเผชิญหน้ากับความจริง อาคิว เป็นคนชอบคุยโวโอ้อวด เพ้อเจ้อถึงอนาคต และขาดความเคารพตัวเอง แถมยังเป็นผู้ปฏิเสธไม่ยอมรับความเป็นจริงที่น่าอนาถของสถานะของตัวเอง หลู่ซิ่นกล่าวว่า อาคิวเป็นทาสที่ไม่มีวันยอมรับว่าตัวเองเป็น และหากใครมีบุคลิกเช่นนี้ จะถือเป็นยอดปรารถนาของชนชั้นปกครองทุกยุคทุกสมัย เพราะไม่ว่าเขาจะถูกกดขี่เพียงใด เขาก็ยังถือว่าตัวเองเป็นผู้ชนะอยู่ร่ำไป

หลู่ซิ่นเขียนหนังสืออีกหลายเล่ม และเขียนบทความ บทกวี จำนวนมากมาย เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์วรรณคดีจีนยุคใหม่ นอกจากนั้นยังได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนใหม่ หลู่ซิ่นมีชีวิตอยู่ในช่วงของรัฐบาลเจียงไคเชก เขาเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 55 ปี อย่างสงบ เขามีบทบาทอย่างมากในการชี้นำสังคมให้ต่อต้านการปกครองที่เน่าเฟะและเต็มไปด้วยการคอรัปชันของรัฐบาลจีนในช่วงนั้น และตลอดชีวิตของหลู่ซิ่นเขาไม่เคยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนเลย แต่เขาเป็นบุคคลที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้การยอมรับและยกย่องอย่างมากคนหนึ่ง

งานของหลู่ซิ่นแพร่หลายไปทั่วโลก เริ่มมีเข้ามาในไทยในช่วง 2490 และแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันในหมู่ปัญญาชนของไทยประมาณปี 2495 ซึ่งเป็นช่วงที่จิตรเรียนอยู่ปีสองที่จุฬา ฯ หลู่ซิ่นมีอิทธิพลกับแนวความคิดของจิตร อย่างมาก เห็นได้จากก่อนที่งานของหลู่ซิ่นจะเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย งานของจิตรจะออกมาในแนวรับใช้วิชาการเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ศัพท์สันนิษฐาน หรือแม้กระทั่งบทความที่โดดเด่นอย่าง พิมายในด้านจารึก หลังจากที่จิตรได้รู้จักกับหลู่ซิ่น งานของเขาเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดยกตัวอย่างเช่น งานในหนังสือเจ้าปัญหา หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาคม จิตรมีบทความของตัวเองแทรกในหนังสือเล่มนี้ถึงสามเรื่อง คือ

ขวัญเมือง เป็นนวนิยายขนาดสั้น อันสะท้อนถึงทัศนคติที่มีต่อสภาพสังคมและการเมืองของไทย ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางตัวละครนาม ขวัญเมือง หญิงผู้ยึดเอาภารกิจหน้าที่ทางประวัติศาสตร์การเมืองมาเป็น เป้าหมายสำคัญสูงสุดในชีวิตของตน โดยแนวคิดดังกล่าวนี้จะมีส่วนช่วยทำให้ คน ได้วิวัฒน์พัฒนามาเป็น มนุษย์โดยสมบูรณ์ ได้

บทกวี เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า กลอนเรื่องแม่ จัดอยู่ในประเภทกลอนแปด ซึ่งเป็นงานเขียนที่สะท้อนถึงแนวคิดของจิตรที่มีต่อปัญหาทางจริยธรรมในเรื่องเพศของผู้หญิงที่มักชิงสุกก่อนห่าม และบทบาทของความเป็น แม่ โดยกล่าวตำหนิ แม่บางคน ที่ไม่รับผิดชอบเลี้ยงดูลูกน้อยที่เป็นสายโลหิตของตน ซึ่งเกิดขึ้นจากความสำส่อน หลงระเริงในรสกามารมณ์อันไม่เหมาะสม นอกจากนี้ จิตรยังได้แสดงทรรศนะว่า แม่ผู้ให้กำเนิด ควรเป็นผู้ทำหน้าที่เลี้ยงดูอบรม สั่งสอนลูกน้อยด้วยตนเอง จึงจะเหมาะสมดีงามตามธรรมนองครองธรรม โดยจิตรได้ใช้นามปากกาว่า ศูลภูวดล

ความเรียงเรื่อง พุทธปรัชญาแก้สภาพสังคมตรงกิเลส วัตถุนิยมไดอะเลคติคแก้สภาพสังคมที่ตัวสังคมเอง และแก้ได้ด้วยการปฏิวัติ มิใช่ปฏิรูปตามแบบของสิทธารถ ปรัชญาวัตถุนิยมไดอะเลคติค กับปรัชญาของสิทธารถผิดกันอย่างฉกรรจ์ที่ตรงนี้ หรือที่รู้จักกันในนามบทความเรื่อง ผีตองเหลือง ซึ่งจิตรมักเรียกงานเขียนชินนี้ว่า พุทธปรัชญาไม่ใช่วัตถุนิยม โดยใช้นามปากกาว่า นาครทาส

ซึ่งผลงานทั้งสามเรื่องล้วนเป็นชนวนให้หนังสือถูกแบนทั้งสิ้น จิตรเชื่อตามความคิดของหลู่ซิ่นที่ว่า "ในโลกนี้ แม้นหากยังมีผู้ที่ต้องการจะอยู่ต่อไป เขาต้องกล้าพูด กล้าหัวเราะ กล้าร้องไห้ กล้าด่า กล้าสู้ กล้าขับไล่ยุคสมัยอันน่าแสปแช่ง ณ ที่อันน่าสาปแช่งนี้" เขาจึงกล้าเปลี่ยนแปลงหนังสือมหาวิทยาลัย ทั้งรูปแบบ และเนื้อหา จนนำไปสู่การโยนบกในที่สุด

น่าตลกตรงที่บรรดาอาจารย์หลายต่อหลายคนเชื่อว่าจิตรมีความเลื่อมใสในระบอบลัทธิคอมมิวนิสต์ ทั้งที่แท้จริงแล้ว จิตร เองคือผู้แปลเอกสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นภาษาไทยให้กับ USOM ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ CIA ใช้แฝงตัวเข้ามาปฏิบัติงานในเมืองไทย เพื่อใช้เผยแพร่ให้กับบรรดาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และข้าราชการให้รู้จักกับลัทธินี้ และถ้าเราได้ศึกษางานเรื่องผีตองเหลืองของจิตรอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้ว เราจะพบว่าจิตร ปฏิเสธลัทธิคอมมิวนิสต์ และปกป้องพระพุทธศาสนาด้วยซ้ำไป

หลังจากกรณีโยนบกเกิดเรื่องต่าง ๆ ขึ้นในรั้วจุฬา ฯ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษ "โยนน้ำ" นายสีหเดช บุนนาค และนายศักดิ์ สุทธิพิศาล โดยให้เดินลุยลงไปในน้ำเองแค่ครึ่งตัวแล้วรีบขึ้นจากสระ การไม่กล่าวโทษนายชวลิต พรหมานพ หรือการไม่ดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อผู้ก่อเหตุทั้งสาม โดยอ้างว่าไม่มีเจ้าทุกข์มาแจ้งความ ทั้งที่คดีนี้เป็นอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้ ต่อให้ไม่มีเจ้าทุกข์ตำรวจก็ต้องดำเนินคดีเป็นต้น ภายนอกรั้วจุฬา ฯ ก็ดุเดือดไม่แพ้กัน เพราะหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในขณะนั้น ก็พยายามที่จะเจาะข่าวมานำเสนอ เพราะกรณีโยนบก เป็นเหตุการสะเทือนขวัญที่เกิดเป็นครั้งแรกในเมืองไทย และจนบัดนี้ก็ยังเป็นเหตุการเพียงครั้งเดียวในเมืองไทย เรื่องนี้ส่งผลกระทบไปกว้างขวางในวงสังคมทุกระดับ แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง กลายเป็นประเด็นการเมือง โดยในที่สุด จอมพล ป. ก็สั่งการให้อธิบดีกรมตำรวจดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริง นอกจากนั้นยังสั่งการให้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการลงมากำกับควบคุมหาตัวนิสิตผู้กระทำผิดมาลงโทษ แน่นอน ผลการสอบสวนของทั้งกระทรวงศึกษาธิการ และทางตำรวจ ระบุตรงกันว่า จิตร ภูมิศักดิ์ คือตัวการ

จุฬา ฯ ได้สั่งลงโทษพักการเรียน จิตร นาน 12 เดือน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นโทษสถานเบา แต่แท้จริงแล้ว นี่คือคำสั่งไล่ออกดี ๆ นี่เอง เพราะหากถูกพักการศึกษานานขนาดนั้น จะทำให้จิตรพ้นสภาพนิสิตไปโดยปริยาย เมื่อข่าวเรื่องนี้แพร่กระจายไปในหมู่อาจารย์และนิสิตผู้รักความเป็นธรรม จึงเกิดการรวมตัวกันขึ้นเพื่อกดดัน จนกระทั่งในที่สุด จุฬา ฯ ได้เปลี่ยนคำสั่งเป็น ให้พักการเรียน จิตร โดยไม่มีกำหนด และมีหมายเหตุท้ายคำสั่งว่าหากทางตำรวจได้พิสูจน์แล้วว่าจิตรเป็นผู้บริสุทธิ จุฬา ฯ ก็จะรับจิตรกลับเข้าศึกษาต่อ ในช่วงนั้น ดร.เก็ตนีย์ ได้พยายามวิ่งเต้นช่วยเหลือจิตรให้ไม่ต้องได้รับโทษ จนเป็นที่เพ่งเล็ง จนในที่สุด กรมตำรวจ ก็เชิญตัว ดร.เก็ตนีย์ ให้ออกจากประเทศไทย เมื่อไม่มี ดร.เก็ตนีย์ จิตรเลยต้องหาที่พักใหม่ เขาย้ายไปอยู่บ้านนายสุธีร์ คุปตารักษ์ประมาณหนึ่งเดือน ก่อนที่จะย้ายมาพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านนางทองคำ ดิษคุ้ม แม่ของหาญ ดิษคุ้ม เพื่อนสนิทสมัยเรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ซึ่งอยู่บริเวณเชิงสะพานเสาวณีย์ ตรงข้ามกรมทางหลวงแผ่นดิน นางแสงเงิน แม่ของจิตร ซึ่งอาศัยอยู่กับลูกสาวที่รับราชการที่จังหวัดหนองคาย ก็ได้เดินทางมาพักอยู่ที่บ้านของนางทองคำ ดิษคุ้มด้วยระยะหนึ่ง ในระหว่างที่ พี่สาวของจิตร ได้นำเงินออมส่วนหนึ่งขอเช่าพื้นที่ว่างต่อจากเพื่อนบ้าน (แถบนั้นเป็นสลัม) เพื่อปลูกบ้านให้กับจิตรได้อาศัยอยู่กับแม่ ซึ่งต่อมาคือบ้านเลขที่ ๓๓๗/๑๒ ถนนศรีอยุธยา ใกล้สี่แยกสะพานเสาวณีย์ ที่บ้านหลังนี้เอง ที่จิตร แขวนรูปหลู่ซิ่นไว้ตรงประตูห้องรับแขก และตอบกับทุกคนที่ถามถึงว่ารูปนั้นเป็นรูปของใคร ว่า รูปนั้นคือ "รูปพ่อฉันเองละ"

       
(http://cimg.163.com/news/0410/19/luxun_1.jpg)

横眉冷对千夫指 俯首甘为孺子牛

แม้คนพันบัญชาชี้หน้าเย้ย
จงขวางคิ้วเย็นชาเฉยเถิดสหาย
ต่อผองเหล่านวชนเกิดกล่นราย
จงน้อมกายก้มหัวเป็นงัวงาน

รจนาโดยหลู่ซิ่น แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ในนามปากกา ศิลป์ พิทักษ์ชน




หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 12-03-2007, 03:08

...

 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: สเลเต ที่ 12-03-2007, 08:00
 :slime_smile: :slime_smile: :slime_shy: :slime_smile:
 :slime_v: :slime_v: :slime_v: :slime_v: :slime_v:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 12-03-2007, 17:09
"ความใฝ่ฝันของข้าพเจ้า อยากจะเป็นคนหนึ่งในบรรดานักปราชญ์แห่งราชบัณฑิตยสถาน"  

จิตร เป็นได้หลากหลาย มากกว่าที่เขาคิดไว้แต่แรก

นักภาษาศาสตร์ ปรัชญา กวี นักดนตรี มนุษยวิทยา สังคมวิทยา.....  


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกเข็มขาว ที่ 12-03-2007, 20:25
ขอบคุณมากๆคะ

 :slime_smile: :slime_smile:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 12-03-2007, 21:11
เมื่อวานหนูมาปูเสื่อจองที่ไว้ อ่านรวดเดียวจนจบ

แต่เพราะมันดึกเกินไป เบลอๆ จึงไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้

...

ยิ่งอ่านไป จนถึงตอนนี้ หนูเริ่มรู้สึกว่า..

จิตร ภูมิศํกดิ์ ที่หนูเคยรู้จัก (และบังอาจคิดว่าในรุ่นราวคราวเดียวกันนี่เราก็รู้จักเยอะกว่าเพื่อนๆ ทีเดียว)

ถึงตอนนี้ มันเป็นการรู้จักที่ดูห่างชั้นออกไปเรื่อยๆ และผิวเผินเต็มที

เมื่ออ่านมาถึงตอนปัจจุบัน ยิ่งสรุปได้ว่า แทบจะไม่รู้อะไรเลย (ชักเขินที่เคยเข้าใจว่าตัวเองรู้)


หนูเข้าใจว่า กระทู้แบบนี้ กว่าจะเขียนให้เสร็จแต่ละตอน ใช้เวลา และความพยายามเยอะนะคะ

ขอบพระคุณจริงๆ ค่ะ ที่กรุณาทำให้หนู กำลังจะรู้จักกับ จิตร ภูมิศักดิ์ จริงๆ เสียที

หลังจากที่เข้าใจว่าตัวเองรู้จัก มาตั้งนาน

 :slime_worship:
...

อ้อ 1.. ที่หนูชอบทวงตอนใหม่ๆ อย่าถือสาเลยนะคะ หนูรู้ว่ามันเขียนยากค่ะ แต่ความอยากอ่าน ทำให้ควบคุมตัวเองไม่ได้  :slime_p:

...

อ้อ 2.. หนูสงสัยมานานแล้วค่ะ ทำไม..งานศิลปะ ดนตรี และหนังสือดีๆ มักจะเกี่ยวข้องกับประเทศที่เป็นสังคมนิยม ???  





หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: paperjam ที่ 13-03-2007, 11:22
paperjam รายงานตัวครับ
ช่วงนี้เรียนหนักไปหน่อยครับ ไม่ได้เข้ามาแจมนานแล้ว

อ่านเรื่อง จิตร ภูมิศักดิ์ ของ คนในวงการแล้ว เกิดความรู้สึกสะท้อนสะท้านใจและเกิดความคิดที่ตามมาอีกหลายเรื่อง

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ผมอ่านประวัติของจิตร ไปอย่างช้าๆ
 
ขณะเดียวกัน ก็นึกภาพเหมือนกับกำลังนั่งดูหนังที่ถ่ายทำอย่างปราณีต ฉากและเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในมโนภาพ

ดูตรึงตา น่าติดตามเรื่องราวของผู้ชายคนนี้

หลายขวบปีที่ผ่านมา ผมก็เหมือนเราๆ ท่านๆ ที่ได้ท่องบ่นแต่ประวัติของคนเด่นคนดัง ในแวดวงอื่นๆ ที่ไม่ใช่แวดวงสามัญชน

(ซึ่งนักการศึกษาเมืองไทยไม่สนใจและเจตนามองข้าม จะโดยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ แต่อย่ามาบอกว่าเป็นเหตุผลด้านความสมานฉันท์ เพราะจะ...อ้วก)

ขอบคุณและให้กำลังใจ คนในวงการ ที่ขยันเก็บ รวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์ และนำเสนอเรื่องราวของ  จิตร ภูมิศักดิ์ อย่างเป็นลำดับ น่าชื่นชมยิ่งนักเชียวครับ

เห็นความตั้งใจขนาดมี การ flashback แบบเทคนิคภาพยนตร์ด้วย อ่านแล้วเพลิดเพลินและคิดตามไปว่าคุณ คนในวงการ คงมีความสุขที่ได้เรียบเรียงเรื่องราว

แต่คงมีความสุขมากกว่านี้ ถ้ามีคนเข้ามาติดตามอ่านมากกว่าที่เป็นอยู่ (ฮา)

มาเข้าเรื่องที่ผมบอกว่ารู้สึกสะท้อนสะท้านใจครับ

การที่เราสูญเสีย ว่าที่นักนิรุกติศาสตร์หรือนักอะไรต่อมิอะไร ที่จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นหรือสามารถเป็นได้ โดยแลกราคากับลูกตะกั่วลูกเดียว เป็นอะไรที่น่าสะท้อนสะท้านใจมั้ยล่ะครับ

หากผมมีเครื่องเจาะเวลา ผมจะเจาะเวลากลับไป ณ เวลานั้น แล้วเอาคุณทักษิณไปด้วย

แล้วจะบอกคนที่จะยิงคุณจิตร ภูมิศักดิ์ ว่ายิงคนผิดแล้วคุณพี่ ยิงคนนี้ดีกว่า (ชี้ไปที่คุณทักษิณ)

ผมเรียกช่วงเวลาที่คุณจิตร ภูมิศักดิ์ ถูกสังหารกลางทุ่งนา ว่าเป็น "ปฎิบัติการที่เป็นความโง่เขลาอย่างยิ่ง" ครั้งหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย

น่าเสียดายครับ....น่าเสียดาย

ประเด็นต่อมา คือ ความคิดที่หนุนเนื่องตามมาหลังจากอ่านจบ

ผมรู้สึกตลอดเวลาว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานความรู้

พูดอีกอย่างหนึ่ง คือ ผมไม่รู้ เพราะว่า ผมนั้นไม่อยากรู้ ไม่รู้เพราะไม่มีคนมาบอกให้รู้ รัฐบาลไม่ได้จัดสภาพแวดล้อมให้ผมได้รู้มากขึ้น

ดังนั้นผมจึงยังไม่รู้อยู่นั่นแหละ

สังคมไทยผ่านจากจุดวันที่ปฏิบัติการอันสุดโง่เขลา ได้เกิดขึ้น มาหลายทศวรรษแล้ว แต่คำถามคือ แล้วทำไม วันนี้เราอยากจะรู้เรื่องราวของจิตร แต่ทำไม ต้องให้คนในวงการมาเล่าให้

เราฟัง แทนที่จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือของสื่อมวลชน ซึ่งมีหน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชน

สังคมไทยนี่ก็แปลก เราไม่ได้อยากให้รู้ แล้วยังบิดเบือนซ้ำเข้าไปอีก เพื่อให้เป็นความไม่รู้อย่างสุดขั้ว

นักนิรุกติศาสตร์เลยกลายเป็นคอมมิวนิสต์ ที่ต้องกำจัดกวาดล้าง เข่นฆ่า

ผมอยากใช้คำว่า "สมัยก่อน" เมื่อจะเขียนถึง จุฬาลงกลอน (ตั้งใจเขียนอย่างนี้) สมัยก่อน ก็กระทำไปกับคุณจิตร บนความโง่เขลาอย่างยิ่ง และก็เป็นความไม่รู้ แต่ก็นึกว่า สมัยก่อนกับ

สมัยนี้ บทบาทมันต่างกันแค่ไหนกันเชียว ในที่สุดก็พบว่า สถาบันการศึกษาแห่งนี้หรือแห่งไหน ๆ ก็ยังไม่ได้ทำหน้าที่ให้ความรู้ ความจริง กับคนไทยแตกต่างไปจากเดิมสักเท่าไร

ผมว่าสังคมไทยต้องยอมรับความจริงก่อน แล้วก็ขอโทษ เมื่อทำผิด หลังจากนั้น ก็ปรับปรุงตัวใหม่ ทำอะไรที่สร้างสรรค์ เท่านี้ก็จบ

ตัวแทนสูงสุดของจุฬา คือ อธิการบดี ในกาลเวลาปัจจุบัน น่าจะขอโทษ ต่อสิ่งที่จุฬาเคยทำกับคุณจิตร จุฬาก็จะพ้นตราบาป และจุฬาร่วมกับมหาลัยอื่นๆ น่าจะทำหน้าที่กระจายความจริง

ของสามัญชนที่ดี ให้คนรู้มากเข้าๆ ด้วยการสื่อแบบต่างๆ

ที่พูดถึงกันมาก คือ ทีวีสาธารณะ ที่เราๆ ท่านๆ ฝันว่าเมื่อไร เราจะมีแบบ NHK BBC ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง


ผมอยากให้มีทีวีแบบนี้มากๆ แบบที่ดูได้ความรู้ ดูเพลิน ดูสนุก และเข้าใจความเป็นตัวเรามากขึ้น  ไม่อยากให้ตัวเราถูกชี้นำโดยความเป็นตะวันตกมากเกินไป

ผมอยากเห็นสารคดีแบบดิสคัฟเวอรี่ แบบไทยทำเอง ที่พูดถึง จิตร ภูมิศักดิ์ ปรีดี พนมยงค์ พระยาอนุมานราชธน ฯลฯ

อยากเห็นเรื่องราวของท่าน ที่เป็นภาพ แสง สี เป็นฉากๆ มีคนมาพูดในแง่มุมต่างๆ สะท้อนให้เห็นสังคมไทยในแง่มุมต่างๆ ในสถานการณ์ ช่วงเวลานั้น

ว่าทำไมมันเกิดขึ้นอย่างนั้น เราได้เรียนรู้อะไรจากมันบ้าง

อยากให้สังคมไทย พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้) ครับ

ขอบคุณ คนในวงการ ที่ได้ทำหน้าที่เล็กๆ แต่มีคุณค่า เพราะทำให้คนไม่รู้ ได้รู้เพิ่มอีกหลายคน

ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นนะครับ ที่ได้รู้มากขึ้นและทำให้อยากรู้เรื่องราวของคุณจิตร มากขึ้นไปอีก

งั้นเรามาช่วยกันวางแผนให้สังคมไทย ได้ "รู้" กันมากขึ้น ดีมั้ยครับ ชาวเสรีไทยเวบบอร์ดทุกท่าน


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 13-03-2007, 13:50
สวัสดีครับคุณคนในวงการ

บทล่าสุดที่เขียนมานี้อ่านได้สนุกอย่างยิ่ง ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนได้สัมผัสกับจิตรจริงๆ ในระดับ "ถึงแก่น"

ตามความเข้าใจของผม ถ้าหลู่ซิ่นเป็นต้นแบบของจิตร จิตรก็น่าจะอยู่ในกลุ่มมนุษย์นิยม สัจจนิยม เกลียดสังคมหลอกลวงและการครอบงำ ซึ่งชัดเจนว่าไม่ใช่ทั้งสังคมนิยมและประชาธิปไตย

จิตรเป็นวีรบุรุษสามัญชนผู้สร้างความเข้มแข็งแรงบันดาลใจให้แก่มนุษย์คนอื่นๆ เท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะสามารถทำได้... เพลงแสงดาวแห่งศรัทธาเป็นสิ่งที่สะท้อนตัวตนด้านนี้ของจิตรได้ดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ผมอ่านบทความของคุณคนในวงการ ก็พบว่าบทความของจิตรอาจมีปัญหาจริงๆ ผมไม่เคยอ่านบทความเหล่านี้มาก่อนและชื่นชอบจิตรเป็นอย่างมาก แต่จาก "ข้อมูลเพิ่มเติม" ที่ได้อ่านครั้งนี้ ผมคิดว่าการเข้าถึงและกล้าเผชิญ "ความจริง" ตามแนวทางที่จิตรยึดถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะเข้าใจในสิ่งที่จิตรต้องการสื่อออกมา... ถ้าใครมีเนื้อความของบทความทั้งสามเรื่องของจิตรมาเผยแพร่จักขอบคุณยิ่ง

ในบทความที่เรียกสั้นๆ ว่า "ผีตองเหลือง" นั้น เป้าหมายของจิตรชัดเจนในการโจมตี "ความหลอกลวง" ที่แฝงกายอยู่ในคราบของพุทธศาสนา แต่การยกให้ศาสนาพุทธเป็น "ปรัชญา" ตีความคู่กับปรัชญาวัตถุนิยมไดอะเลกตริก (ไม่แน่ใจว่าผู้คิดคือมาร์กซต้นแบบสังคมนิยมหรือไม่?) นั้นเป็นปัญหาอย่างยิ่ง แม้แนวทางของจิตรจะให้ความสำคัญกับความเข้มแข็งคุณค่าทางจิตใจของมนุษย์แต่ละคนดังที่ปรากฎในอีกบทความ "ขวัญเมือง" หรือเชื่อในในการ "ปฏิรูป" ความดีงามของปัจเจกบุคคลแบบเดียวกับพุทธศาสนา แต่การเกลียด "สังคมหลอกลวง" และให้ความสำคัญการแก้ปัญหาสังคมด้วยระบบสังคมเองแบบไดอะเลกตริกที่เน้นแนวทาง "ปฏิวัติ" ดังที่ยกขึ้นมาวิจารณ์ตีคู่กับ "ปรัชญา" พุทธศาสนาที่ถูกจำกัดกรอบเป็นการแก้กิเลสส่วนบุคคลและเป็นเพียงการ "ปฏิรูป" นั้น โดยคอนเทกซ์ที่เชื่อมโยงกันน่าจะมีปัญหาและทำให้เข้าใจผิดกันไปได้ว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์

ในสมัยนั้นถ้าจะมีการปฏิวัติ ก็ต้องเป็นการปฏิวัติจากระบอบประชาธิปไตยไปสู่สังคมนิยมเท่านั้น (ไม่นับฟาสซิสม์ที่มีบทบาทเฉพาะช่วงสงคราม) แม้แต่การยกย่องตัวละครขวัญเมือง... ก็เน้นในด้านการมีอุดมการณ์ทางการเมือง ที่โน้มน้าวให้ก้าวออกจากกรอบของปัจเจกไปสู่ระดับสังคม ในเมื่อบทความทั้งสามไม่มีแนวทางนำเสนอที่ชัดเจนของระบอบที่มนุษย์คนหนึ่งจะก้าวเข้าไปแก้ปัญหาสังคมได้อย่างไร (ตรงนี้ผมเข้าใจว่าจิตรก็ยังไม่พบหรือตกผลึกในแนวคิดชัดเจนนัก) มีแต่มนุษย์คนหนึ่งที่แก้ปัญหากิเลสของมนุษย์คนหนึ่งแบบพุทธศาสนา และสังคมหนึ่งที่แก้ปัญหาของสังคมด้วยการปฏิวัติแบบไดอะเลกตริกแบบสังคมนิยม... เมื่อจิตรให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา "สังคมหลอกลวง-ผีตองเหลือง" ที่เปรียบเสมือนการโจมตีพุทธศาสนาที่แก้ปัญหาสังคมตัวเองไม่ได้ โดยตรรกะจึงหมายถึงการสนับสนุนแนวทางของสังคมนิยมโดยอัตโนมัติ

ผมจึงเห็นใจอย่างยิ่งทั้งจิตรที่ถูกเข้าใจผิดและผู้เข้าใจผิดในจิตรที่ล้วนเป็นเหยื่อของสถานการณ์ทั้งสองฝ่าย... แต่ที่ผมไม่เข้าใจก็คือบทความเรื่องแม่... มันเป็นปัญหาได้อย่างไร?


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 13-03-2007, 18:12
ขอบคุณมากครับ มิตรรักแฟนเพลง ที่ยังคงติดตามกันอย่างเหนียวแน่น
ทั้งท่านที่โพสคอมเมนต์ และท่านที่ไม่โพสคอมเมนต์


ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน เป็นกระทู้แรกในเสรีไทย ที่ผมเขียนยาวมาก และ
ใช้เวลาเขียนนานมาก อย่างที่เรียนบอกเอาไว้ในท้ายบทนำ ว่าผมได้รวบรวมข้อมูล
จำนวนมหาศาลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ บางส่วนก็เรียบเรียงขึ้นใหม่จากข้อเขียนเดิม
บางส่วนก็เขียนเพิ่มเติมเข้าไปจากการเก็บเล็กผสมน้อย บางส่วนขี้เกียจพิมพ์ใหม่
ก็ก็อปเอามาทั้งประโยค บางส่วนก็คิดเองล้วน ๆ ถ้าเป็นหนังสือที่ต้องใช่เชิงอรรถ
ไว้ทุกครั้งเพื่อแสดงที่มา เห็นจะห้อยระโยงระยางเต็มไปหมดแน่ ๆ ผมจึงออกตัว
เอาไว้ว่า ผมขออ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล และเชิงอรรถ ไว้ทีเดียวในตอนสุดท้าย
พอดีเป็นกระทู้ในเว็บบอร์ดเลยทำได้ นี่ถ้าเป็นหนังสือคงถูกด่าเปิงไปแล้ว ผมประมาณดู
อัตราส่วนที่ผมเขียนเอง กับที่ก็อปมาคงจะอยู่สักราว ๆ 70 ต่อ 30

จะว่าไปแล้วการเขียนเรื่องราวของ จิตร ภูมิศักดิ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายผมอย่างมาก
เพราะว่า มีทั้งหนังสือ มีทั้งเว็บไซต์ มากมาย ที่เล่าเรื่องของจิตรเอาไว้ ทั้งจากผู้รวบรวม
แบบผม และทั้งจากผู้ที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ หรือใกล้ชิดกับ จิตร ภูมิศักดิ์ เลยทีเดียว
ผมจึงวางรูปแบบการนำเสนอของผมเอาไว้ว่า ผมจะเล่าเรื่องของจิตร ในมุมมองที่ว่า
จิตรใช้ชีวิตอย่างไร มากกว่าที่จะนำเสนออัตชีวประวัติของวีรชน แบบที่เราเคยอ่านกันมา
ในตอนฝนแรก บอกได้ว่าไม่ค่อยยากเท่าไหร่ เพราะว่าช่วงต้น ๆ ของชีวิตของจิตร
เขาก็เหมือนกับคนทั่ว ๆ ไป มีพิเศษอยู่บ้างก็ตรงที่มีโอกาสร่ำเรียนภาษาเขมร และ
ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในเขมร และยังไม่ค่อยเปร่งประกายมากนัก จวบจนจิตรเข้าเรียนที่
เตรียมอุดม ฯ ซึ่งในตอนนั้นจิตรเริ่มมีผลงานออกมาบ้างแล้ว

เรื่องของจิตรเริ่มเขียนยากขึ้นเมื่อเขาเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งผมต้องเขียนแยกออกเป็น
4 ตอน คือต้นกล้าริมเทวาลัย เพื่อปูพื้นให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่าทำไม สาราณียกรของจุฬา ฯ
จึงต้องเป็นจิตร ในหนังสือ และเว็บไซต์ส่วนใหญ่ละเลยตรงนี้ไป ทำให้ภาพร่างของจิตร
ขาดความชัดเจน คล้ายกับว่าเป็นเหตุบังเอิญที่จิตรต้องมาเป็นสาราณียกร ทั้งที่จริงแล้ว
การที่คน ๆ หนึ่ง จะได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ในสังคมให้ทำหน้าที่สำคัญ ต้องผ่าน
การพิสูจน์ตนเองให้สังคมยอมรับ ซึ่งจิตรทำได้ดีในตรงนั้น ต่อมาคือตอนจามจุรีที่ทางแยก
ตอนนี้เขียนไม่ยากนักแต่ข้อมูลเรื่องกรณีโยนบกมีเยอะมาก ผมเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับจิตร เรื่องกรณีโยนบก เป็นเรื่องที่มีการบันทึกเอาไว้มากที่สุด และละเอียดที่สุด มากกว่า
เรื่องใด ๆ ของจิตรที่มีการบันทึกเอาไว้ ผมก็แค่คัดกรองเรียบเรียงขึ้นใหม่เท่านั้นเอง
และตอนล่าสุดที่เพิ่งโพสไปคือบนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน นั้น ตั้งแต่ผมเริ่ม
เขียนเรื่องนี้มา ตอนนี้ยากที่สุด และใช้เวลานานที่สุด เพราะตอนนี้จะเป็นการตอบคำถาม
ที่ว่า แล้วทำไมจู่ ๆ จิตร ภูมิศักดิ์ ถึงได้ก้าวออกมาจากบทบาทเดิม ๆ ที่สร้างผลงานรับใช้
ด้านวิชาการ มาเป็นผู้ที่สร้างผลงานรับใช้สังคมแทน บางเอกสารระบุว่าการที่จิตรเปลี่ยน
แนวทางก็เพราะว่าได้ศึกษาผลงานของนักคิดนักเขียนท่านอื่น ๆ เช่น ผลงานของนายผี ฯลฯ
จนทำให้จิตรหล่อหลอมตนเองออกมาเป็นผู้สร้างผลงานรับใช้สังคม แต่ผมกลับมองเห็นว่า
งานเขียนของท่านเหล่านั้น มีผลกับจิตรอยู่บ้าง แต่ไม่มากพอที่จะสร้างความประทับใจ
ให้กับจิตร จนทำให้จิตรเปลี่ยนแนวทาง ผมมองย้อนไปที่ ตัวจิตรอีกครั้งในฐานะของ
คนธรรมดาคนหนึ่ง ผมพบว่า การที่คน ๆ หนึ่ง ประทับใจใครสักคนจนให้การยกย่องว่า
เป็นเสมือนกับบิดาตนเองนั้น เขาต้องได้รับอิทธิพลอย่างมากจากบุคคลนั้นอย่างแน่นอน
และหลู่ซิ่นก็เป็นคำตอบที่ชัดเจนในตัวเอง หลังจากที่ผมค้นคว้าศึกษาประวัติพ่อของจิตรคนนี้
ยิ่งทำให้ผมมั่นใจและกล้านำเสนอว่า หลู่ซิ่น นี่เองที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของจิตร
หากไม่มีหลู่ซิ่น บางทีแล้ววันนี้อาจจะมี จิตร ภูมิศักดิ์ ตัวเป็น ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นได้

ตอนต่อ ๆ ไป คงจะเขียนยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเรื่องราวของจิตรในช่วงหลังจากกรณีโยนบก
ที่มีการบันทึกเอาไว้ คล้ายกับจะเป็นตำนานมากกว่าเรื่องชีวิตจริงของบุคคลคนหนึ่ง
เอกสารหลักฐานต่าง ๆ มีลักษณะขาด ๆ หาย ๆ เหมือนกับจิ๊กซอว์ที่กองรวมกันอยู่ในกล่อง
รวมทั้ง เพื่อน ๆ หลายท่านก็เริ่มตั้งการบ้าน ยาก ๆ ให้ผมต้องกลับไปค้นคว้าอย่างละเอียด
ไม่อย่างนั้นแล้ว ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน อาจจะกลายเป็น นั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน ไป


ขอบคุณอีกครั้งที่ติดตามอ่าน และหวังว่าคงจะไม่เบื่อกันเสียก่อน


คนในวงการ


ปล. ผมต้องเดินทางอุตลุตอีกแล้ว คงจะเว้นไปอีกสามสี่วันครับ กว่าจะได้เขียนตอนใหม่
และคำถามที่ ถาม ๆ เอาไว้ ผมจะกลับมาตอบหลังจากกลับมาจากต่างจังหวัดครับ


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: ใบไม้ทะเล ที่ 13-03-2007, 18:35
แวะมาแปะชื่อค่ะ


           /\ สายเดี่ยว แวะมาเยือน



อย่าหายไปนานนะค่ะ ติดตามอยุ่คร๊า   :slime_v: :slime_v: :slime_v: :slime_v:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: อังศนา ที่ 13-03-2007, 19:53
สัญญลักษณ์ สายเดี่ยวของอนา  :slime_smile2:
น่าจะเป็นอย่างนี้นะคะ.. อิอิ
     
      |       |
     (""""""")
      \       /


(เลื่อนปรับขนาดได้ตามใจชอบด้วยน้า)

(http://i30.photobucket.com/albums/c329/Seaspica/pink_flowers.gif)


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน : บนวิถีที่รกร้าง จักเอาร่างปูทางให้เธอเดิน
เริ่มหัวข้อโดย: nick ที่ 13-03-2007, 21:27
(http://img213.imageshack.us/img213/5672/35923636360536193616364xh0.jpg) (http://imageshack.us)
จิตร ภูมิศักดิ์ เกิดผิดยุคผิดสมัย เป็นปัญญาชนหัวก้าวหน้า ในขณะที่นิสิตจุฬาฯทั้งหลาย
็กระทั่งอาจารย์แม่ที่ใครๆเคารพนับถือ ก็ยังหลงๆใหลในระบอบทุนนิยมและศักดินาอย่างโงหัวไม่ขึ้น
  ชาวบ้านในย่านที่จิตร ภูมิศักดิื ถูกยิงตาย ไม่มีใครรู้จักว่า จิตร ภูมิศักดิ์เป็นใคร มีแต่เสียงเล่าลือกันว่า ชายหนุ่มที่ถูกล้อมยิง
ตายที่ชายป่าผู้นั้น ให้หวยแม่นมากๆ....เวรกรรมของคนไทยจริงๆ
  "เขาตายเหมือนไร้ค่า แต่ต่อมาก้องนาม ผู้คนไถ่ถามอยากเรียน"

(มรณะบ้านหนองกุง ต.คำบ่อ)


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: terri ที่ 21-11-2007, 11:35
คุณเก็ดถวาครับ น้อยคนมากที่สนใจเรื่องของจิตร ภูมิศักดิ์อย่างละเอียดขนาดนี้ คุณเก็ดถวาทำให้ผมทึ่งกับคำถาม ที่ไม่คิดว่าจะมีใครถามขึ้นมา แล้วผมจะไม่ตอบได้อย่างไรครับ

ผมพบ ม.ร.ว. ดวงใจ ครั้งแรกเมื่อปี 2504 เมื่อเธอพาฝรั่งและคณะของกรมศิลป์มาชมวัดเฉลิมพระเกียรติ ตอนนั้นผมอยู่เตรียม ไม่รู้เรื่องโยนบกที่เกี่ยวกับจิตรอะไรเลย  แต่ประทับใจที่เธอคุยด้วยและบอกชื่อเพราะคงเห็นว่าผมกำลังเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียม (และเธอก็คงคาดว่าผมอาจจะไปเป็นลูกศิษย์เธอสักวันหนึ่งกระมัง)

เชื่อไหมครับ ผมเรียนจบจุฬาฯแล้วก็ยังไม่ได้เจออาจารย์สาวท่านนี้ เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นไปหาท่านด้วยเรื่องอะไร ก็อาจเป็นได้ ผมจบมาแล้ว 15 ปี มีลูกแล้วได้สิทธิให้ไปฝากที่ "บ้านเด็กจุฬาฯ" (เป็นเนิร์สเซอรี่) ซึ่งเพิ่งเปิดในปีที่ลูกชายผมเกิดพอดี (ตอนนี้ลูกชายผม 26 ปีแล้ว) และทราบว่าผู้ก่อตั้งบ้านเด็กเพื่อเป็นสวัสดิการให้พวกอาจารย์หิ้วลูกตั้งแต่ 6 เดือนถึงก่อนวัยเข้าอนุบาลนี้เป็นอาจารย์อาวุโสขื่อ ม.ร.ว. ดวงใจ จิตตพงษ์ นั่นแหละครับ ผมถึงรอพบเธอวันหนึ่งขณะมาตรวจดูความเรียบร้อยที่บ้านเด็ก
อย่าให้ผมบอกว่ามันล่วงมากี่ปีนะครับ จากวันที่ผมพบท่านครั้งแรกที่วัดเฉลิมฯ เมืองนนท์

เมื่อได้คารวะท่านแล้ว อาจารย์ ม.ร.ว. ดวงใจ บอกว่าได้ว่าเคยพาหลวงบริบริบาลบุรีภัณฑ์ (อธิบดีกรมสิลป์สมัยนั้น) และกรมหมื่นพิทยลาภ ไปวัดเฉลิมพระเกียรติ แต่คงนานเกินไปที่จะจำเด็กวัดเก่าคนนั้นได้
ผมเรียนท่านว่า  ผมเดินตามขบวนที่มาเยี่ยม ด้วยสมภารให้ผมในฐานะลูกศิษย์วัดเก่าช่วยดูว่าจะมีอะไรขาดเหลือ และบ้านผมก็ไม่ไกลจากวัด  เรียกใช้ง่าย ไปมาสะดวกครับ

ที่เล่ามานี้ก็อยากจะบอกว่า อาจารย์หม่อมดวงใจ "ติดดิน"  และเมื่อนึกถึงกรณีของจิตรที่ถูกกระทำอย่างโหดจากเพื่อนนิสิตรุ่นพี่ อาจารย์ย่อมทนเห็นความไม่ยุติธรรมอย่างนั้นไม่ได้ ถึงกับคว้าไมค์มาประท้วง ประณามนิสิตวิศวะสองสามคนนั้นให้สำนึกว่าไม่ควรทำอะไรเถื่อนอย่างนั้น

ผมมานั่งลำดับปี ผมมาเป็นเด็กวัดก็ปีเดียวกับที่เกิดเหตุการโยนบกจิตรที่จุฬาฯ 8 ปีต่อมาจึงพบกับอาจารย์หม่อมดวงใจที่วัดนั้น
ตอนที่จิตรถูกโยนบก ถ้าอาจารย์หม่อมดวงใจอยู่ปีสอง ผมก็พบตอนที่อาจารย์อายุราว 28 ปี จำได้ว่าอาจารย์เป็นคนสวยจัดคนหนึ่ง
ก็ดีใจที่มีโอกาสเล่าเรื่องนี้เป็นครั้งแรกครับ :slime_worship:


หัวข้อ: Re: ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่ตน
เริ่มหัวข้อโดย: terri ที่ 21-11-2007, 12:22
เธอคนนั้นชื่อ ม.ร.ว.ดวงใจ จิตรพงษ์ เป็นนายกชุมนุมปาฐกถาและโต้คารมแห่งคณะอักษรศาสตร์ ในขณะนั้นครับ

คำพูดของเธอก็ได้รับการจารึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์เช่นกัน เธอปรี่เข้าไปแย่งไมค์จากนิสิตชายที่โยนบก จิตร ภูมิศักดิ (แล้วผมจะเล่าโดยละเอียดทีหลังนะครับ) โดยไม่เกรงกลัวอันตรายใด ๆ แล้วประกาศต่อนิสิตในหอประชุมว่า

"มันเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรม ทำไมจึงไม่รอการพิสูจน์ก่อน เราขอประณามการกระทำที่ป่าเถื่อนครั้งนี้ จะต้องมีการลงโทษบุคคลทั้งสองในการกระทำที่อุกอาจครั้งนี้"...:D