ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: morning star ที่ 09-08-2006, 15:43



หัวข้อ: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 09-08-2006, 15:43
มันคือ parallel economic ที่จัดการกับเศรษฐกิจระดับมหาภาคให้เติบโต ตามมาด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์นั้นให้คนคนในชนบท..

แนวคิดแบบนี้เชื่อเรื่องระบบทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ควบคู่กันไป..คอมมิวนิสต์เชื่อว่ารัฐบาลจะต้องบริหารจัดการผลประโยชน์ทุกอย่างและนำมาจัดสรรให้กับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม..ขณะที่ระบบทุนนิยมมองว่าการเปิดให้มีการแข่งขันจะสร้างการเติบโตให้เศรษฐกิจ ซึ่งสร้างระบบเศรษฐกิจที่สามารถแข่งขันกับนานา ประเทศได้

ดังนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เราได้ยินคำว่าเศรษฐกิจคู่ขนาน..คือการบริหารเศรษฐกิจระดับมหภาคให้เติบโต เพื่อการแข่งขันกับต่างประเทศ..ประกอบกับการนำผลประโยชน์นั้นมาแบ่งปันให้กับประชาชนชนชั้นแรงงานและชนบท ให้เท่าเทียม..เพราะการบริหารของรัฐนั้นมันล้าสมัยและไม่สามารถทำให้ประสพความสำเร็จได้อย่างเช่นที่ประเทศสังคมนิยมหลายประเทศเจอมาแล้วและทำให้คอมมิวนิสต์กลายเป็นระบอบการปกครองอ่อนหัดที่พ่ายอย่างราบคาบต่อทุนนิยม...

...เอาไว้จะมาเขียนต่อครับ..ไปทำงานแล้ว


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 09-08-2006, 16:21
ไม่เห็นมีอะไรใหม่...


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 09-08-2006, 22:54
 :mrgreen:

ทีนี้ แนวคิดคอมมิวนิสต์ใหม่..คือการใช้ทุนนิยมสุดขั้วเข้ามาขับเคลื่อนต่อสู้กับความผันแปรอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจโลกให้ก้าวหน้าและทันต่อเหตุการณ์ ขณะเดียวกัน ก็นำเงินภาษีที่ได้จากกลุ่มคนทำงานเข้ามาจุนเจือชาวชนบท ให้มีโอกาศได้เท่าเทียมกับคนเมือง...ส่วนธุรกิจระดับใหญ๋ ก็ได้รับประโยชน์ไปเสียก่อน..เมื่อเศรษฐกิจระดับรากหญ้าลืมตาอ้าปากได้..ก็ย่อมส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศมากขึ้นตามไป และช่องว่างระหว่างคนจน และคนเมืองจะแคบลงเรื่อย ๆ

เรื่องแนวคิดการต่อต้านพลังชาวนาของชนชั้นศักดินาที่เหม๋าเจ๋อตุงบอกไว้ว่าต้องมี..มันเป็นสิ่งที่ เขาคิดไว้เรียบร้อยแล้วในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากคนรวยไปให้คนจน..คนรวยเอาเปรียบคนจนมานาน เมื่อคนจนจะเอาคืนบ้านเป็นสิ่งที่ชอบธรรมในแนวคิดนี้...แล้วจะพูดต่อไปอีกว่าพวกคนพวกนี้ชอบโวยวายเมื่อตัวเองเสียผลประโยชน์

ขณะที่คอมมิวนิสต์เริ่มตายไปเพราะการบริหารของรัฐไม่สามารถทนต่อการต่อสู้ทางเศรษฐกิจที่โหดร้ายในยุคสมัยใหม่..ความคิดคอมมิวนิสต์ใหม่ที่ยอมให้ทุนนิยมเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทนย่อมมีความเป็นไปได้..เมื่อทุนเข้ามาอาศัยเสียงจากประชาชน ปันผลประโยชน์ให้รากหญ็าโดยตรงจากเงินภาษีของคนชั้นสูง และ กลาง เพื่อเกลี่ยให้ช่องว่าเหล่านั้นลดลง ขณะที่คนชั้น high end ที่เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจได้รับการยกเว้นเพราะเป็นผู้บริหารย่อมคงไว้ซึ่งอภิสิทธิ์บ้าง

ปฏิญญาฟินแลนด์ที่พูดถึงกัน ไม่ใช่เรื่องเกินเลยความจริง หากแนวคิดคอมมิวนิสต์ใหม่เหล่านี้มีอยู่ในการบริหารประเทศไทย การขับเตลื่อนประเทศในระบอบคอมมิวนิสต์ใหม่จึงถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เดิม ให้ก้าวเข้ามาร่วมกับไทยรักไทย เพื่อสานความฝันที่ดูจะเหี่ยวเฉาลงทุกวันของเขาใ้ห้กลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาดังเดิม


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ธ.ส. ที่ 09-08-2006, 23:01
ในหนังสือของ Thailand Stand Up ของ ดร สุวิทย์ เมษิณทรีย์ หนึ่งในทีมที่ปรึกษาของ ดร สมคิด เรียกระบบแบบนี้ว่าระบบเศรษฐกิจทวิลักษณ์(Dual Track Economic) ที่ใช้ระบบทุนนิยมในเขตเมือง และสังคมนิยมในเขตชนบท

ใช่แล้วคิลเลอร์นโยบายเศรษฐกิจแบบนี้ไม่มีอะไรใหม่ ถ้าคิลเลอร์ไม่ชอบใจก็ไปโวยวายเอากับคุณ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ แล้วกัน เพราะแกเป็นคนต้นคิดที่จะเอามาใช้ในเมืองไทย


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 10-08-2006, 06:09
จริง ๆ แล้วเรื่อง นโยบายคู่ขนาน (Dual Track Policy) มีใช้ในหลาย ๆ ประเทศก่อนหน้าจะมีการพูดถึงในวงกว้างด้วยซ้ำไป เป็นนโยบายการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และ ส่งเสริมการส่งออกให้มากขึ้น จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ และการผลิตเพื่อการส่งออก...

จะเห็นได้ว่า สิ่งสำคัญในการดำเนินนโยบายคู่ขนานคือการเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ พร้อม ๆ ไปกับการส่งออกสินค้า..อันนี้เป็นสิ่งที่คุณ killer และ คุณ ธ ส คงเคยได้อ่าน หรือ ศึกษาผ่าน ๆ ตา มา บ้างแล้ว

ผมว่าถ้ามันเป็นยังงั้นมันก็เป็นเรื่องดีเสมอที่ได้สร้างการบริโภคให้เกิดขึ้นภายในประเทศ..ตลาดในประเทศจะได้เติบโต และ มีการผลิตเพื่อการบริโภคเอง และทำให้เงินตราหมุนเวียนภายในประเทศมากขึ้น

แต่ที่ผมยกมาพูด เพราะมันไม่ได้เป็นยังงั้นนี่นา :o




หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 10-08-2006, 07:23
แต่ผมกลับคิดว่า การนำทฤษฏีนี้ไม่ว่าจะเรียกว่า parallel economic หรือ Dual Track Economic หรือ Dual Track Policy มาใช้ เป็นนโยบายที่ห่วยมาก ที่ว่าห่วยก็เพราะมันไม่เหมาะกับสภาพของสังคมไทย เนื่องจากการขาดความเท่าเทียมกันในเรื่องการศึกษา การดูดซับเอาเงินจากในเมืองมาจุนเจือชนบทเพื่อสร้างโอกาสให้คนชนบทเป็นแค่เพียงภาพลวงตา ที่ทำให้ดูดี แต่แท้จริงเป็นเพียงเรื่องโกหก เพราะว่าคนชนบทขาดความรู้ความสามารถในการจัดการ สิ่งที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็น ดูดเงินคนในเมืองไปแจกในชนบท จากนั้นบริษัทใหญ่ ๆ ในเมืองก็ไปขนเงินกลับมา แทนที่เงินจะหมุนเวียนอยู่ในชุมชน เงินกลับไหลออกมากกว่าเงินที่อัดฉีดเข้าไป และเงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งสร้างความมั่งคั่งให้กับเจ้าของบริษัทใหญ่ ๆ เหล่านั้น อีกส่วนหนึ่งถูกส่งกลับออกไปนอกประเทศเพื่อจ่ายค่านำเข้าสินค้า ผมคงจะไม่พูดว่ามือถือ มอร์เตอร์ไซด์ รถปิกอัพ ฯลฯ รวยขึ้นมาจากนโยบายนี้ เพราะมันดูจะเป็นการว่าร้ายจนเกินไป แต่ความเป็นจริงในชนบท มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ใครเคยทำงานสนามย่อมรู้ดี

นโยบายการบริหารบ้านเมืองของไทย ที่ดีที่สุดก็คือนโยบายที่มีมาตั้งแต่โบราณ นโยบายนี้ทำให้ไทยเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้มาก่อน นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ทำให้ไทยเคยเจริญกว่าญี่ปุ่น เคยเจริญกว่าเกาหลีใต้ นั่นคือ นโยบายเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัจฉริยะภาพ นำมาให้คนไทยใช้ในยุคปัจจุบัน ด้วยทรงเล็งเห็นถึงอันตรายจากการรุกรานทางเศรษฐกิจจากต่างชาติ ด้วยนโยบายนี้เท่านั้นประเทศไทยจึงจะอยู่รอดในประชาคมโลก หากรัฐบาลยังไม่สำเนียกในใจความสำคัญของนโยบายนี้ ประเทศไทยฉิบหายแน่นอน!!!

ดังนั้น หากวันนี้พรรคการเมืองใดก็ตามที่พร้อมจะนำเอานโยบายเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารประเทศอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรม เป็นนโยบายที่ชัดเจนของพรรค เป็นแนวทางการทำงานของรัฐมนตรี เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของคนในพรรค ผมจะเลือกพรรคนั้น และผมจะรณรงค์ให้เพื่อนบ้าน ให้เพื่อนในที่ทำงาน ให้เพื่อนในอินเตอร์เน็ต ให้ทุก ๆ คนช่วยกันเลือกพรรคนั้น ขอเพียงเค้าพิสูจน์ตัวเองได้ว่าพวกเค้าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่ได้สร้างภาพ ซึ่งมาถึงวันนี้ผมยังไม่เห็นพรรคใหนเลย ไม่ว่าจะเป็น ทรท. ปชป. ชท. มหาชน ราชประชาฯ มีแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายนี้ ไม่ต้องพูดถึง ทรท. ซึ่งตรงข้ามสุดโต่ง พรรค ปชป. ซึ่งน่าจะเป็นความหวังได้ ก็เปิดตัวอภิสิทธิออกมาอย่างน่าอนาจใจ อะไรต่อมิอะไรที่ฟรีที่ ปชป. พูดมันไม่ได้แตกต่างอะไรกับนโยบายของ ทรท. เอาเสียเลย ถ้าพรรค ปชป. จริงใจจริงดังคำโปรย ก็น่าจะกลับไปศึกษานโยบายเศรษฐกิจแบบพอเพียงใหม่ เพราะองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยมีพระราชดำริใด ๆ เลยที่จะแจกอะไรฟรี!!! พระองค์ทรงสอนให้ประชาชนพึ่งพาตนเอง!!!

ผมไม่ได้จงรักษ์ภักดีแต่ปากครับ!!!


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: Yodyood ที่ 10-08-2006, 07:36
ขอขยายความคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงคือ ไม่พัฒนา อยู่กันเล็กๆ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด
คำว่าเศรรษฐกิจพอเพียงจริงๆแล้ว คือการทำให้ชุมชนเล็กสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องนำเข้า(แม้แต่จากชุมชนอื่นยกเว้นจำเป็นจริงๆ)
ค่อยๆสร้างรากฐานส่งออกการผลิตที่เกินต่อการบริโภคในชุมชนนั้นๆ รายได้ของชุมชนก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้น + ระบบหมุนเวียนในชุมชนเองก็เป็นตัวช่วยเสริมเช่นกัน

ถ้่าพูดให้สวยหรูก็คือ การรักษาดุลรายรับรายจ่ายของชุมนนนั่นเอง

ถ้าเราสามารถพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงได้ในทุกชุมชน ขยายขึ้นมาจนเป็นระดับประเทศ
นั่นก็หมายความว่าประเทศเราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาประเทศอื่น (ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้อง แต่เราพึ่งตัวเองเป็นหลักต่างหาก)
เราสามารถพัฒนาประเทศไปได้ด้วยขาของตัวเอง (แน่นอนมีเหลือส่งออกด้วย)
อาจจะรู้ช้าแต่รับประกันได้ว่ายั่งยืน

หากผมเข้าใจผิดปแต่ประการใดก็ขออภัยล่วงหน้า และขอคำอธิบายที่กระจ่างด้วย  :wink:


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 10-08-2006, 07:41
การพึ่งพาตนเอง เป็นแกนหลักของระบบเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ และเป็นแกนหลักหรือกระดูกสันหลังที่จะพาให้ชาติยืนได้อย่างมั่นคง

ระบบคอมมิวนิสต์และทุนนิยมนั้น โดยตัวระบบเองต่างกันตรงที่ว่า คอมมิวนิสต์มองประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก แต่ระบบทุนนิยมมองนายทุนหรือประชาชนส่วนน้อยเป็นหลัก ว่าถึงตัวแนวคิดนะคะ ไม่ใช่การปฎิบัติ  เพราะเท่าที่ผ่านมา ทั้งสองระบบ ผู้นำไปใช้ กลับมองตัวเองและพรรคพวกเป็นหลักค่ะ

การจะใช้ระบบทุนนิยมกับภายนอกหรือเขาเมือง และใช้ระบบคอมมิวนิสต์กับชนบท สำหรับประเทศไทยที่ทำมา มันห่วยจริงๆแหละค่ะ  เพราะในชนบทมันกลายเป็นประชานิยม และในเมืองกลายเป็นลัทธิตะกราม  เจ๊งค่ะ โดยรวมแล้วประเทศเจ๊งอย่างที่เห็นๆนี้

รับบใดๆก็ตาม สามารถนำมาบริหารประเทศให้เจริญมั่นคงได้ทั้งนั้น  แต่ต้องได้คนดีมาบรืหารบ้านเมือง ตามที่เคยทรงมีพระราชดำรัสสอนพวกเราไว้  มาวันนี้ คนเลวบริหารบ้านเมือง  ยกมาอีกกี่ร้อยกี่พันระบบ มันก็พังทั้งนั้นค่ะ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: Yodyood ที่ 10-08-2006, 07:44
ลบครับ (กดผิดไปตอนไหนเนี่ย)  :oops: :oops: :oops:


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 10-08-2006, 07:45
คุณยอดยุทธ มาถูกทางแล้วครับ ระบบเศรษฐกิจพอเพียง เน้นลดรายจ่ายที่เกินความจำเป็น (แต่ไม่ได้เพิ่มรายได้เหมือนกับที่บางพรรคเอาไปสร้างภาพ) คือจ่ายในสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ และผลิตเองไม่ได้ เน้นให้พึ่งพาตนเอง อะไรทำได้ก็ทำเอง ไม่ต้องทำแบบเน้นเอาไปขายส่งออก เน้นการมองเข้าหาตนเอง ผลิตกินเองใช้เองแบบพอเพียง ถ้ามีเหลือจึงเสนอขาย ขายไม่ออกก็ไม่เป็นไร เพราะเก็บสะสมไว้กินไว้ใช้ได้ต่อไป เพราะเป็นของที่กินที่ใช้อยู่ทุกวันอยู่แล้ว ถ้าขายได้ ก็ได้เงินเพิ่ม นำมาอุดหนุนจุนเจือกันในหมู่ นำมาจ่ายซื้อของจำเป็นมาใช้ ด้วยวิธีนี้ดุลรายรับรายจ่ายก็จะดีขึ้นคือรับมากกว่าจ่าย ทำให้ครอบครัวมั่งคั่ง ชุมชนมั่งคั่ง ประเทศมั่งคั่ง ครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ธ.ส. ที่ 10-08-2006, 09:54
ระบบที่ถูกต้องของ Dual Track Economic คือ ในเขตเมืองต้องใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม และในเขตชนบทต้องเน้นเศรษฐกิจแบบพอเพียง โดนมีตัวเชื่อมกลางในการกระจายความเจริญสู่ชนบทคือ กลไกการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม (Balancing Income Distrbution) ไม่ใช่การปล้นคนรวยแล้วเอาเงินไปให้คนจน การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมคือการใช้มาตรการทางภาษี จัดเก็บอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม บริหารงบประมาณอย่างทั่วถึง เน้นกาารกระจายการลงทุนในชนบท เน้นเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง มีระบบดูดซับแรงงานส่วนเกินจากภาคเกษตรกรรม และเน้นการสร้า้งงานในภาคอุตสาหกรรม และสุดท้ายคือเน้นการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด 


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 10-08-2006, 10:00
คุณ ธ.ส. ช่วยอธิบายประโยคนี้ "ในเขตเมืองต้องใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม" เพิ่มเติมหน่อยสิครับ ผมไม่ค่อยเข้าใจครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ธ.ส. ที่ 10-08-2006, 10:14
คือในเมืองทุกวันี้มันมีปัญหาเรื่อง ความยากจนในเมือง (Urban Poverty) มันต่างจากความยากจนในชนบทนะครับ เพราะความยากจนในเมืองมันเกิดจากการว่างงานเป็นหลัก ในระบบทุนนิยมเค้าไม่สนใจเรื่องค่าแรงที่เป็นธรรม แต่เค้าสนใจค่าแรงที่เป็นไปตามกลไกตลาด แรงงานมาก ค่าแรงถูก ค่าแรงจึงถูกควบคุมด้วยกฏหมายที่เป็นธรรมบ้างไม่เป็นธรรมบ้าง และส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามอำนาจของนายจ้าง ซึ่งในระบบทุนนิยมจริงๆแล้วสหภาพแรงงานต้องเข้มแข็งพอที่จะกำหนดค่าจ้างรายหัวให้กับคนในสหภาพได้ แต่บ้านเราไม่ใช่อย่างนั้น สหภาพทำอะไรไม่ได้แถมยังกลายเป็นเครื่องมือของนายจ้างเสียอีก ทีนี้ถ้าระบบเศรษฐกิจในเมืองเป็นสังคมนิยมที่รัฐมีอำนาจในการดูแลมากกว่าเอกชน และแทรกแซงค่าแรงได้โดยไม่ให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ให้เป็นไปอย่างเป็นธรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม มันจะเกิดความเป็นธรรมมากกว่า ที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เค้าเน้นการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ทุกคนในสังคมมีสวัสดิการเท่าเทียมกัน คนมีรายได้ต้องจ่ายภาษี มีรายได้มากจ่ายมาก คนมีรายได้น้อยจ่ายน้อย ลดความฟุ้งเฟ้อ และบริหารการใช้ทรัพยากรของสังคมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 10-08-2006, 10:24
ระบบที่ถูกต้องของ Dual Track Economic คือ ในเขตเมืองต้องใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม และในเขตชนบทต้องเน้นเศรษฐกิจแบบพอเพียง โดนมีตัวเชื่อมกลางในการกระจายความเจริญสู่ชนบทคือ กลไกการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม (Balancing Income Distrbution) ไม่ใช่การปล้นคนรวยแล้วเอาเงินไปให้คนจน การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมคือการใช้มาตรการทางภาษี จัดเก็บอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม บริหารงบประมาณอย่างทั่วถึง เน้นกาารกระจายการลงทุนในชนบท เน้นเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง มีระบบดูดซับแรงงานส่วนเกินจากภาคเกษตรกรรม และเน้นการสร้า้งงานในภาคอุตสาหกรรม และสุดท้ายคือเน้นการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด 
นี่มันในฝันเลยนะครับ หาวิธีลดใช้พลังงานก่อน หรือหาทางฮั้วราคาสินค้าเกษตรให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปทางนี้
ตอนนี้ไปทางเดิมก่อนดีกว่าครับ แต่ละคนเข้าใจนโยบายกันลึกซึ้งดีนี่ครับ
เดี๋ยวนี้จ้างค่าแรงขั้นต่ำไม่มีคนมาทำแล้วนะครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: คนในวงการ ที่ 10-08-2006, 10:29
อ่า ... กระจ่างแระครับ ขอบคุณมากครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: Yodyood ที่ 10-08-2006, 10:33
ปัญหาของสังคมนิยม ในความคิดของผมคือ มันเป็นอุดมคติเกินไปอ่ะครับ
นอกเสียจากว่าต้องมีการควบคุมที่ดีจริงๆอ่ะครับ

ขอเพิ่ม เติมอีกเล็กน้อยครับ  :oops:
ยกตัวอย่างเช่นถ้าผู้นำไม่ดี(คิดว่าคงเห็นมาชั่วชีวิตแล้ว)
ก็สามารถใช้อำนาจเอาเงินเข้ากระเป๋า + ตั้งราคาที่ไม่เป็นธรรมทั้งต่อนายจ้าง และลูกจ้างได้อ่ะครับ

คิดว่าคงต้ิองวางระบบกันตั้งแต่รากฐานเลยกระมังครับ :?:


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ธ.ส. ที่ 10-08-2006, 10:44
สังคมนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยผู้นำ อันนั้นมันเผด็จการแล้วครับ แต่สังคมนิยมที่แท้จริงต้องขับเคลื่อนด้วยกลุ่มพลังทางสังคม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในสังคม มันจะต่างจากเสรีนิยมตรงที่ จุดมุ่งหมายไม่ได้อยู่ที่ความผาสุขของปัจเจกชน แต่อยู่ที่ความมั่นคงและผาสุกมวลรวมของสังคมต่างหาก อาจจะดูเพ้อฝัน แต่เสรีนิยมที่เน้นเสรีภาพของปัจเจกชนในทุกๆด้าน เพ้อฝันกว่าเยอะครับ เพราะสุดท้ายแล้วการอยู่ร่วมกันและ ดื่ม กิน ใช ทรัพยากรร่วมกันของสังคม ไม่มีทางที่จะเสรีได้


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: Yodyood ที่ 10-08-2006, 11:15
สังคมนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยผู้นำ อันนั้นมันเผด็จการแล้วครับ แต่สังคมนิยมที่แท้จริงต้องขับเคลื่อนด้วยกลุ่มพลังทางสังคม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในสังคม มันจะต่างจากเสรีนิยมตรงที่ จุดมุ่งหมายไม่ได้อยู่ที่ความผาสุขของปัจเจกชน แต่อยู่ที่ความมั่นคงและผาสุกมวลรวมของสังคมต่างหาก อาจจะดูเพ้อฝัน แต่เสรีนิยมที่เน้นเสรีภาพของปัจเจกชนในทุกๆด้าน เพ้อฝันกว่าเยอะครับ เพราะสุดท้ายแล้วการอยู่ร่วมกันและ ดื่ม กิน ใช ทรัพยากรร่วมกันของสังคม ไม่มีทางที่จะเสรีได้

อืมเห็นภาพเลยครับ
มองในมุมที่ว่าประชาธิปไตยที่เน้นทางด้านสังคม มากกว่า เศรษฐกิจ
(หรือไม่ก็เป็นเชิงสมดุลย์)

คุณคิดว่า ระดับประชาชนคงต้องสูงพอด้วยหรือเปล่าครับ (ความรู้ด้านสังคม+การเมือง ไม่นับวิชาชีพ)
ไม่เช่นนั้นสังคมนิยมก็ล่อแหลมที่จะกลายเป็นเผด็จการได้ (แต่ตอนนี้ก็เผด็จการประชาธิปไตยแล้วอ่ะนะ)



หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 10-08-2006, 14:40
 :mrgreen:

จริง ๆ แล้ว ..ความคิดของเหม๋าเองน่าจะแตกต่างออกไป ตรงที่จีนมีโครงสร้างที่เป็นแบบ ศักดินา คือผู้มีอภิสิทธิ์ทางที่ดินและสังคมอยู่มากมาย และ การรวมพลังของชนชั้นชาวนาเพื่อโค่นล้มระบบศักดินา มีต้นกำเนิดที่แตกต่างจากแนวคิดของสังคมนิยมทางตะวันตกเป็นแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ออกมาต่อต้านระบบทุนนิยมซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นให้กับผู้คนในสังคมของมาร์ก ที่เชื่อว่าการผลิต และกลไกการเติบโดแบบทุนนิยมสร้างให้เกิดการบริโภคนิยม ซึ่งขัดต่อคุณค่าของมนุษย์

ถ้าจะเปลี่ยนมาใช้เศรษฐศาสตร์แบบสังคมนิยม คุณ ธ ส คงจะหมายถึงเอาบางส่วนออกมาใช้เพียงเท่านั้น เพราะปรัชญาสังคมนิยมจริง ๆ แล้ว ขัดแย้งมากกับระบบเศรษฐกิจในเมืองของไทยในยุคปัจจุบัน....เพราะโครงสร้างส่วนบน ตอนนี้ยังไม่ถูกทำลาย สังคมนิยมแบบมาร์กจึงยังไม่สามารถเอามาใช้กับระบบเศรษฐกิจได้

แต่ถ้ากลับมามองที่แนวคิดของเหม๋า เป็นการมองไปยังระบบศักดินา ซึ่ง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็มีต้นกำเนิดมาจากแนวความคิดของเหม๋าซะมากกว่าแนวคิดของทางคาร์ลมาร์กซ์ เพราะในสังคมไทยจะมีแนวโน้มออกไปทางนั้นเสียมากกว่า จึงทำให้คนที่อยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย อาจมีความเห็นไปได้หลายแบบหลายทาง แต่สุดท้ายก็มีเป้าหมายอยุ่ที่การโค่นล้มระบบศักดินา

จะเห็นได้ว่าแม้สังคมนิยมเอง ก็มีรูปแบบที่ต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ คงบอกไม่ได้ว่า ระบบเศรษฐศาสตร์แบบสังคมนิยมของประเทศไหนจะถูกนำมาใช้ในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม(ถ้าจะมีคนคิดนำมาใช้จริง ๆ)

ผมอาจจินตนาการมากไปเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ เลยคิดเรื่องนี้ออกมา แต่จากข่าวที่อ่าน และ การดำเนินนโยบายประชานิยมในปัจจุบัน มันเหมือนมีอะไรสอดคล้องกันอยู่แบบน่ารำคาญ


ผมชอบคำว่าเสรีนิยมในอุดมคติ เพ้อฝันมากกว่าสังคมนิยม(ในอุดมคติ)...เพราะคนไม่รู้จักพอ(ไม่ว่ามีการศึกษามากแค่ไหน)จึงไม่มีทางที่จะทำให้สังคมปกติสุขในระบบนี้ได้อย่างจริงจังเลย ..แนวคิดคอมมิวนิสต์ที่ผมพูดถึง อาจเป็นเรื่องจริง หรือ หลอก และในมุมมองของคนที่เคยทำงานในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ตอนนี้อยู่ในพรรคไทยรักไทย อาจไม่ได้มีอุดมคติเดิม ๆ เหลืออยู่เลย

เพราะตอนนี้ superstructure ยังครอบงำระบบเศรษฐกิจ..และชนชั้นศักดินาในเมืองไทย ก็ไม่ได้มีอำนาจมากมายอีกต่อไปแล้ว...

การพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการบริโภคอย่างในปัจจุบัน คือการทิ้งสังคมไว้ข้างหลัง ปล่อยให้ทุนนิยม ก้าวต่อไปแบบไม่มีทางที่ใครจะมาหยุดมันได้เลย


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ธ.ส. ที่ 10-08-2006, 15:43
เป็นสังคมนิยมในบางส่วนที่ยังไม่มีความเป็นธรรมเท่านั้นครับ ในส่วนที่ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ อย่างสิงคโปร์นั่นเป็นสังคมนิยมในเชิงโครงสร้าง แต่ในส่วนปลีกย่อยกับเป็นทุนนิยมจ๋าเลย เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่ทรัพยากรจำกัด การปล่อยเสรีในทุกๆเรื่องนั้นเป็นไปไม่ได้

ส่วนสังคมไทยแม้ว่าทรัพยากรจะมีมาก แต่อย่าลืมว่า ความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบทมีสูงมาก ถ้าเอาแบบอุดมคติจริงๆ ก็ต้องเอาสังคมนิยมมาใ้ช้ในเขตเมือง เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ส่วนในชนบทใช้แนวคิดพระราชดำริปรัชญาเศราฐกิจพอเพียง นี่เป็นแบบอุดมคติเลย แต่ตอนนี้มันทำไม่ได้ ก็ต้องลดบทบาททุนนิยมในเขตเมืองให้เหลือน้อยที่สุดในสัดส่วนที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการกระจายรายได้ให้ทั่วถึง ไม่ใช่ใครมือยาวก็สาวเอาๆจนกินรวบไว้ที่คนเดียวหมด อันนี้ไม่ใช่สิ่งที่ดี

ตราบใดที่สังคมไทยยังไม่เข้้าสู่ Modernization อย่างเต็มรูปแบบ อย่าเพิ่งไปหลงไหลกับเสรีนิยมทุนนิยมเลยครับ นั่นมันไม่ใช่เครื่องมือสร้างชาติเลย


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: Killer ที่ 10-08-2006, 15:55
ในหนังสือของ Thailand Stand Up ของ ดร สุวิทย์ เมษิณทรีย์ หนึ่งในทีมที่ปรึกษาของ ดร สมคิด เรียกระบบแบบนี้ว่าระบบเศรษฐกิจทวิลักษณ์(Dual Track Economic) ที่ใช้ระบบทุนนิยมในเขตเมือง และสังคมนิยมในเขตชนบท
ใช่แล้วคิลเลอร์นโยบายเศรษฐกิจแบบนี้ไม่มีอะไรใหม่ ถ้าคิลเลอร์ไม่ชอบใจก็ไปโวยวายเอากับคุณ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ แล้วกัน เพราะแกเป็นคนต้นคิดที่จะเอามาใช้ในเมืองไทย

หนังสือเล่มนี้ดีมาก ควรไปสรรหามาอ่านกันให้ทั่วถึง
อย่ามัวแต่ดู ASTV อ่าน MGR ฟัง 92.25

ผมไม่ได้ว่ามันไม่ดี แต่ผมเคยอ่านแนวคิดพวกนี้มาบ้าง เค้านำเสนอมานานแล้ว


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 10-08-2006, 16:05
อ่านกระทู้นี้แล้วเห็นอุดมการณ์ของสหายจรัสเลยครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ธ.ส. ที่ 10-08-2006, 16:14
ต้องใช้คำว่า "อุดมการณ์เมื่อก่อนของสหายจรัส" ไม่ใช่ตอนนี้


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 10-08-2006, 16:25
เมื่อก่อนหรือตอนนี้ก็เพื่อคนยากคนจนอยู่ดี

ลืมไป ตอนนี้แถมเพื่อท่านทักษิณอีกคน


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: Yodyood ที่ 10-08-2006, 20:06
มาถึงตรงนี้ผมมองว่า ไม่ว่าจะใช่ระบบไหนในการปกครอง
ระดับของประชาชนในสังคมต้องดีพอครับ เพราะทุกระบบมีช่องโหว่

ถ้าคนในสังคมเองไม่สามารถอุดช่องโหว่ของระบบนั้นๆำได้
มันก็จะมีคนกลุ่มนึงซึ่งเรียกง่ายๆว่าโลภ อาศัยช่องโหว่นั้นมาหาประโยชน์ และสร้างความเดือดร้อนได้
(เห็นได้ตั้งแต่ในอดีต ถึงปัจจุบันไม่เคยเปลี่ยน แค่เปลี่ยนรูปแบบไปตามระบบที่เรามี)

คุณ ธส. , sexysoulagency  และท่านอื่นๆ คิดว่าเราควรจะเริ่มที่ไหนครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ธ.ส. ที่ 10-08-2006, 21:24
เริ่มที่ตัวเรานี่แหล่ะครับ ให้รู้จักความพอดี พอเพียง และพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด ที่สำคัญต้องรู้ว่าเราจะทำอะไรเพื่อสังคม คิดถึงตัวเองให้น้อยแต่คิดถึงสังคมให้มาก


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: Yodyood ที่ 11-08-2006, 02:30
เริ่มที่ตัวเรานี่แหล่ะครับ ให้รู้จักความพอดี พอเพียง และพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด ที่สำคัญต้องรู้ว่าเราจะทำอะไรเพื่อสังคม คิดถึงตัวเองให้น้อยแต่คิดถึงสังคมให้มาก

พยายามทำอยู่ครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 11-08-2006, 12:23
ผมเห็นด้วยกับความคิดของเจ้าของกระทู้ เรื่องมีการพยายามผสมผสานระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันใน "แนวทาง" เข้าด้วยกัน คือ "ระบบทุนนิยม" และ "สังคมนิยม" (ที่แฝงตัวเข้ามาในนามรัฐสวัสดิการและประชานิยม)

ผมเห็นด้วยกับความคิดของคุณ ธ.ส. เรื่องการ "จัดโซน" สำหรับจัดการแนวทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในแต่ละโซนนั้นๆ

ผมเห็นด้วยกับความคิดของคุณคนในวงการ เรื่องนโยบายคู่ขนานที่จัดการโดย "รัฐ" มักเป็นการหมุนเงินออกและดูดเข้ากระเป๋าเศรษฐี... และเห็นด้วยกับเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" สอดคล้องกับคุณพรรณชมพูที่เน้นเรื่อง "การพึ่งพาตนเอง"

แต่ผมก็เห็นด้วยกับคุณ yodyoot เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมิได้หมายความปิดตัวเองแต่มีการเปิดไปสู่ระบบทุนนิยมที่เป็นกระแสหลักด้วยขึ้นกับ "จังหวะเวลา" และเห็นด้วยว่าไม่มีระบบเศรษฐกิจใดที่ไม่มีจุดอ่อน การใช้งานต้องผสมผสานกันไปตามสภาพ

กลับมาที่คุณ ธ.ส. อีกครั้ง... ผมเห็นด้วยว่าระบบเศรษฐกิจพอเพียงควรเน้นที่ "ภาคประชาชน" หรือ "กลุ่มพลังทางสังคม" โดยเป้าหมายของระบบเศรษฐกิจอยู่ที่ "ความมั่นคงและผาสุกมวลรวมของสังคม"

------------------------

จะเห็นว่าในกระทู้นี้มี "คีย์เวิร์ด" เต็มไปหมด

ที่ผมเห็นว่าน่าจะมีความไม่ลงตัวอยู่บ้างก็ตรงเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" นี่แหละครับ... มันไปพันกับสิ่งที่ค่อนข้างเป็นปรัชญามากๆ คือ "ความพอเพียง"

ความพอเพียงคืออะไร?

ความพอเพียงนี้.. ใครกำหนด?

ความพอเพียงนี้... ต่างคนต่างทำหรือช่วยกันทำ?

ความพอเพียงวัดได้อย่างไร?

สิ่งเหล่านี้แหละความเป็นภาพเบลอที่ทำให้การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้นทำได้ยาก... แต่ก็เป็นโอกาสที่พวกเรานี่แหละจะช่วนแต่งเติมลงไปให้เต็มและนำมาใช้งานได้

ผมเคยเห็นความพยายามของพระองค์ท่านในการแปลงเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรมผ่านความเข้าใจหลักคือ "พอมีพอกิน" และรูปธรรม "ทฤษฎีใหม่" ที่แปลงออกมาเป็น 3 ระดับคือ พอเพียงในครัวเรือน(การพึ่งตนเองจัดการใน 15 ไร่), พอเพียงในชุมชน, และพอเพียงในเครือข่ายระดับประเทศ

แนวคิดนี้แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อพลังทางสังคมหรือสิทธิในการจัดการของประชาชนโดยตรง สอดคล้องกับความคิด "ประชาชนต้องมาก่อน" (แต่สิ่งที่ประชาธิปัตย์นำเสนอในเชิงรูปธรรมกลับเป็นรัฐสวัสดิการซะนี่... เน้นบทบาทของรัฐเป็นหลัก)

สิ่งที่ยังไม่นิ่งเป็นภาพเบลอ... หมายถึงสิ่งที่ยังไม่ตาย ถ้าเรานิ่งเพียงแค่ทฤษฎีใหม่ไม่กล้าที่จะนำเสนอพัฒนาเพิ่มเติมในระดับ "รูปธรรม" แล้วเราคงไม่สามารถก้าวต่อในแนวทางนี้ได้

ย้ำกันอีกครั้งครับ...

ความพอเพียงคืออะไร?

ความพอเพียงนี้.. ใครกำหนด?

ความพอเพียงนี้... ต่างคนต่างทำหรือช่วยกันทำ?

ความพอเพียงวัดได้อย่างไร?


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: ชอบแถ ที่ 11-08-2006, 14:14
ลำดับความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ดีครับ มี criteria ของคำว่าพอเพียง
หมายความว่าต้องมี ขีดบน และ ขีดล่าง คิดว่าน่าจะมีคำตอบนะครับ
ผมก็อยากจะรู้เหมือนกัน


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: เพนกวินน้อยนักอ่าน ที่ 11-08-2006, 14:28
พูดถึงความพอเพียง
มันก็มีคำถาม ในความเข้าใจที่มีไม่ตรงกันของคนทั้งประเทศ

ส่วนมากนึกว่า มีน้อยใช้น้อย
มีมากใช้น้อย
หรือทำอะไรประหยัด มักน้อย และ ไม่ค่อยใช้จ่าย

การไม่ค่อยใช้จ่าย นี่ล่ะ
จะเป็นปัญหา ในเศรษฐกิจ แบบทุนนิยม
ที่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหว ของเงิน
และมีการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นบ้าง
เพื่อให้เกิดบรรยากาศทางการบริโภค(ไม่รู้ศัพท์เทคนิคเรียกว่าอะไร)

ซึ่ง จนบัดนี้ผมก็ไม่เข้าใจขอบเขต ของเศรษฐกิจพอเพียงเท่าที่ควร
คาดว่าต้องศึกษา ไปอีกนาน

แต่ที่แน่ๆ การสร้างเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง เป็นหลัก
จะช่วยทำให้ความผันผวน หรือปัจจัยภายนอกประเทศ
สั่นคลอนชะตาชีวิต เราน้อยลง

ซึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ยุคหลังๆเรียกว่า
การพัฒนาแบบยั่งยืน sustainable development
ซึ่งเน้นไปที่ การพัฒนามนุษย์ และ สังคม
แต่ทว่า จนบัดนี้ ด้วยรากฐานที่เป็นทุนนิยม บริโภคนิยม
ผมก็ไม่ทราบว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ นี้
จะไปได้ไกลเท่าไหร่ เพราะมันต้องติดขัด และ ปะทะ กันแน่นอน

ถ้าพูดถึงความพอเพียง เพื่อ เอามาคานกับ ทุนนิยม
ผมเชื่อว่าทั้งสองไม่สามารถขับเคลื่อนไปร่วมกันได้ง่ายๆ หรอก
มันต้องมีแนวคิดอื่น มาช่วยผสาน
ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่ ระบบเศรษฐกิจ คู่ขนานหรอก
เพราะจากที่เห็นกันอยู่ว่ามันไม่จอยกัน ยังไงระบบทุนนิยม
ก็ชนะ และ ครอบงำในที่สุดอยู่ดี

สงสัยถ้าประเทศไทยมีคนคิดได้ คงได้รางวัลโนเบล
ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: mini ที่ 11-08-2006, 15:14
ผมไม่เห็นด้วยกับเศรษฐกิจพอเพียงครับ (ไม่ว่าจะพอเพียงมากหรือน้อยก็ตามที)

เพราะนั่น เป็นการพยายามจำกัด individual freedom (ไม่แน่ใจว่าแปลไทยว่าอะไร เสรีภาพส่วนบุคคลได้รึป่าว)
ในการเข้าถึงความต้องการต่างๆ ซึ่งแต่ละคนมีย่อมมีความต้องการที่แตกต่างและไม่เท่ากัน

ผมเชื่อว่า รัฐมีหน้าที่สร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ
การศึกษาพื้นฐาน การสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน แต่ไม่ได้มีหน้าที่ แบ่งปันผลประโยชน์
เป็นเพียง ผู้ถือกฎ และควบคุมกฎเท่านั้น

ถ้าเสรีนิยมทุนนิยมที่พูดถึง คือ Social liberalism ตามที่ผมเข้าใจ
(classic liberalism --- ในปัจจุบัน แทบไม่เหลือแล้วนะครับ)
ซึ่งเมืองไทยไม่เคยมีมาก่อน
จะรู้ได้อย่างไร ว่านี่ไม่ใช่คำตอบในการพัฒนาประเทศครับ

จนบัดนี้ ก็ยังมีบริษัทที่ได้รับสัมปทานต่างๆในประเทศมากมาย
ทำให้ต้องเสียค่าเช่าทางเศรษฐกิจจำนวนมาก ให้กับกลุ่มทุนบางกลุ่มเท่านั้น
ซึ่งนี่ไม่ใช่แนวคิดของ Social liberalism นะครับ


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 11-08-2006, 23:13
คุณเพนกวินน้อยนักอ่านนำเสนออีกคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจคือ การพัฒนาแบบยั่งยืน... ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

คุณ mini นำเสนอแนวคิด Social Liberalism ที่ค่อนข้างขัดแย้งกับแนวเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปรัชญาพื้นฐานเรื่อง "เสรี" ในโอกาสการเข้าถึงทางเศรษฐกิจ การศึกษาพื้นฐาน การสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นสภาพ idealism แตกต่างจากเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นการเสนอคำตอบจากประสบการณ์และภาคปฏิบัติ

แต่ผมคิดว่าเราจะ "เสรี" ดังกล่าวได้ ย่อมมีสมมติฐานเกี่ยวกับ "ฐานทรัพยากร" ที่รัฐสามารถจัดสรรให้อย่างไม่จำกัด

ผมขอถามคุณ mini ว่า ในสภาพที่เรามีทรัพยากรจำกัด จะสามารถประยุกต์ใช้แนวคิด Social Liberalism ได้อย่างไร?

ยกตัวอย่างนะครับ.. ในภูเขาแห่งหนึ่งมีพืชของป่าประจำภูเขาเป็นยาวิเศษที่ไม่มีในแห่งอื่นในประเทศเรา ไปปลูกที่อื่นมีแต่เหี่ยวแห้งเฉาตาย แน่นอนว่าพืชของป่านั้นมีจำกัดแต่มีเรื่่อยๆ ถ้าไม่มีการตัดมาใช้จนเกินไปย่อมงอกเงยออกมาให้เราใช้ได้เรื่อยๆ ... แต่โบราณมีเพียงแค่คนในชุมชนแถบนั้นเท่านั้นที่ตัดพืชชนิดนั้นมาใช้รักษาโรคภัย

ต่อมาคนต่างถิ่นต่างก็แย่งกันเข้ามาเก็บพืชยาวิเศษที่ภูเขาแห่งนี้ ต่างอ้างสิทธิว่าภูเขาเป็นของประเทศ คนในประเทศล้วนมีสิทธิในการเข้ามาเก็บพืชยาวิเศษไปขาย แต่ชุมชนใกล้ภูเขาก็พยายามขัดขวาง เนื่องด้วยคนจำนวนมากไปย่อมทำให้พืชยาวิเศษสูญพันธุ์ไปจากภูเขาอย่างรวดเร็ว

สุดท้าย.. รัฐก็เข้ามาระบุว่าทุกอย่างบนภูเขาเป็นทรัพย์สมบัติของประเทศ... คุณ mini จะใช้หลัก Social Liberalism อย่างไรให้ประชาชนทุกคนสามารถมีสิทธิในการเข้าถึงยาวิเศษตัวนี้อย่างเท่าเทียมกัน สมมติว่าพืชยาวิเศษมีกำลังผลิตแค่วันละ 200 ต้น แต่ทั้งประเทศมีคนป่วยหนักใกล้ตายเฉลี่ยวันละ 1000 คน เป็นต้น

ขอยืมมุขของคุณ Jerasak มาใช้... สมมติให้เปลี่ยนจากยาวิเศษเป็นเรื่องอื่นๆ เช่น การศึกษา เป็นต้น

ผมคิดว่าความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ในกรณีนี้คงมีเพียงการ "จับฉลาก" เท่านั้นที่ให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน... แต่ถ้าเป็นกรณีจับฉลาก ผมว่าน่าจะขัดกับความคิดของคุณ mini ที่ไม่สนับสนุนการพยายามจำกัด individual freedomใดใด (น่าจะรวมไปถึงการจับฉลากด้วย)

คุณ mini จะแก้ปัญหานี้อย่างไรครับ?


หัวข้อ: Re: (วิเคราะห์) แนวคิดคอมมิวนิสต์ ในการบริหารเชิงทุนนิยม
เริ่มหัวข้อโดย: mini ที่ 12-08-2006, 02:21
ผมขออนุญาติไปตั้ง กระทู้ใหม่นะครับ เกรงใจเจ้าของกระทู้
เพราะรู้สึกผมเริ่มพิมพ์ยาวเกินไปด้วย
พิมพ์เป็นชั่วโมงแนะ หน้ามืดเลย hahaha


ที่นี่ครับ http://forum.serithai.net/index.php?topic=5480.0