หัวข้อ: เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ กับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และ"สัญญาประชาคม" เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 04-10-2008, 18:39 วันเสาร์ ที่ 4 ตุลาคม 2551
เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ กับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และ"สัญญาประชาคม" Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 6 , 16:01:26 น. หลังจากรัฐธรรมนูญ 2540 เปิดโอกาสให้มีการเมืองภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองทุกระดับ การเมืองภาคพลเมืองใช้เวลา 10 ปี เชื่อมร้อยเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมาตลอดเวลา แต่การพัฒนาเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มั่นคง จาก" บิ๊ก แบง บางกอก 2547" รวมพลคนรักกรุงเทพ มาเป็น "บิ๊ก แบง สยาม 2548" รวมพลคนรักสยาม ( ครั้งนั้นผมมีโอกาสเข้าร่วมระดมสมอง ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กับเค้าด้วย ) ครั้งกระโน้นประชาชนได้ร่วมกำหนดนโยบายของประชาชนนำเสนอต่อรัฐบาล...ชุดใดก็ได้ ที่จะเข้ามา แต่ไม่ได้ผลเป็นรูปธรรมเท่าใดนัก อาจเป็นเพราะไม่มีกิจกรรมต่อเนื่อง เพราะแม้แต่เว็บไซต์ที่ทำ ก็เป็น "งานเฉพาะกิจ" เสร็จงานก็ปิดเว็บ ซึ่งทำให้สื่อข้อมูลสูญหาย ประชาชนตามติดไม่ต่อเนื่อง ทั้งการนำเสนอนโยบายสาธารณะ และการติดตามตรวจสอบ ร่วมคิดร่วมทำ ครั้งนี้ เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เครือข่ายเดิมๆ ก็สร้างกิจกรรมใหม่ เป็นองค์กรภาคพลเมืองในชื่อ เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ และได้รับความร่วมมือจากสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น "ผู้ว่าฯ กทม." มาร่วมรับฟังปัญหา และตอบข้อซักถามในแนวนโยบายของผู้สมัครแต่ละคน ผลที่ได้คือ ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับปากว่าจะนำข้อเสนอและเห็นด้วยในเรื่องการเมืองแบบมีส่วนร่วม และยินดีสนับสนุนให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบในทุกโครงการ ตั้งแต่การนำเสนอนโยบายเพื่อผ่านเข้าสู่การพิจารณาของสภากทม. ดังนั้น ไม่ว่า"ใคร" จะเข้าป้าย ได้รับการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม. ก็มีสัญญาประชาคมกับกลุ่มเครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพแล้ว ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ว่าฯกทม. และ กลุ่มเครือข่ายเปลี่ยนกรุงเทพ สร้าง "การเมืองใหม่" การเมืองแบบมีส่วนร่วมให้ได้ผลอย่างยั่งยืน ตลอดไป @@@@@@@@@@ ( ความเดิม ) ภาคประชาชนกทม.กว่า 40 องค์กร คลอด เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพ ประกาศขอมีส่วนร่วม พร้อมเสนอ 7 ยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหากทม. ตั้งเป้าหมายติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้ว่าฯ และเป็นพื้นที่สาธารณะระดมปัญญาของเมือง พร้อมตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ เพื่อเป็นกลไกลทำงานร่วมกับภาคประชาชนทุกองค์กร 27 ก.ย. 2551 ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนกรุงเทพมหานครกว่า 40 องค์กรได้รวมตัวกัน เพื่อประกาศ เปลี่ยนกรุงเทพฯ ด้วยพลังพลเมือง โดยนายชวน ชูจันทร์ ตัวแทนเครือข่ายฯ ได้แถลงว่า กรุงเทพมหานครเป็นความหวังของต้นแบบการปฏิรูปสังคมไทย เพียงแต่พลเมืองกรุงเทพฯ จะต้องแสดงเจตจำนงเป็นหุ้นส่วนของเมือง ร่วมขับเคลื่อนผลักดันนโยบายสาธารณะภาคพลเมืองด้วย โดยเฉพาะในวาระการสรรหาผู้บริหารกรุงเทพมหานครคนใหม่ เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่ม องค์กร ชุมชน สื่อมวลชนและภาคประชาชน มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของภาคประชาชนร่วมกับทุกภาคส่วน รวมถึงทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ สะท้อนการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานครเป็นระยะๆ ว่า การดำเนินการหรือไม่ดำเนินการนโยบายนั้นๆ สร้างผลกระทบต่อคุณภาพและวิถีชีวิตชุมชนให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร นายชวน กล่าวและว่า นายชวน เปิดเผยว่า ข้อเสนออันเป็นยุทธศาสตร์หลักของภาคประชาชนมี 7 ข้อ ได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันภัยพิบัติ, การฟื้นฟูและพัฒนาวิถีท้องถิ่นที่มีชีวิตในเขตเมือง, การปฏิรูปโครงสร้างที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนที่หลากหลาย, การพัฒนาจิตสำนึกต่อส่วนร่วมของสังคมเมือง, การพัฒนาเศรษฐกิจและระบบสวัสดิการที่เอื้อต่อความมั่นคงของชีวิตคนเมือง, การพัฒนาระบบจราจรและขนส่งที่เหมาะสมในพื้นที่เมือง, และการศึกษาและการพัฒนาเด็ก เยาวชน ทั้งนี้ นายชวน บอกว่า ตัวแทนเครือข่ายจะนำเสนอยุทธศาสตร์เหล่านี้ต่อผู้สมัครผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ และสาธารณชน ผ่านพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองเพื่อร่วมขับเคลื่อนเปลี่ยนกรุงเทพฯ อย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันเครือข่ายฯ จะทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อระดมปัญญาของเมืองโดยการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองที่ตื่นตัว เป็นการพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองอันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอีกชั้นหนึ่ง ด้านนายณัชพล เกิดเกษม ประธานสภาองค์กรชุมชน เขตลาดกระบัง กทม. กล่าวว่า ในส่วนของกลไกหรือโครงสร้างที่จะมารองรับการทำงานร่วมกันของเครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ และอีกหลายเครือข่ายภาคประชาชนนั้น จริงๆ แล้วทั่วกรุงเทพมหานครมีตัวแทนประชาชนในระดับพื้นที่ และระดับเขต ทำงานกันอยู่แล้ว ส่วนในระดับกรุงเทพมหานครนั้น เครือข่ายฯ ได้จัดตั้ง ศูนย์ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ ขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่รองรับภาคพลเมืองจากต่างพื้นที่ที่มาอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วย เพราะจริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ นั้นไม่ได้มีเพียงคนที่มีทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯ อาศัยอยู่เท่านั้น หากยังมีคนอีกมากมายที่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาขับเคลื่อนเมือง. @@@@@@@@@@@@@@@@ คำประกาศ : เปลี่ยนกรุงเทพฯ ด้วยพลังพลเมือง กรุงเทพมหานคร เมืองใหญ่ที่สะท้อนปัญหาความเป็นประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นความหวังของต้นแบบการปฏิรูปสังคมไทยสู่วิถีของความหลากหลายแต่ธำรงไว้ซึ่งความเท่าเทียมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพียงแต่พลเมืองกรุงเทพฯ จะต้องแสดงเจตจำนงเป็นหุ้น ส่วนของเมือง ร่วมขับเคลื่อนผลักดันนโยบายสาธารณะภาคพลเมืองเพื่อเปลี่ยนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะในวาระการสรรหาผู้บริหารกรุงเทพมหานครคนใหม่ เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่ม องค์กร ชุมชน สื่อมวลชนและภาคประชาชน ที่มีรายชื่อท้ายคำประกาศฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อทำหน้าที่ขับ เคลื่อนนโยบายสาธารณะของภาคประชาชนร่วมกับทุกภาคส่วน รวมถึงทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ สะท้อนการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานครเป็นระยะๆ ว่า การดำเนินการหรือไม่ดำเนินการนโยบายนั้นๆ สร้างผลกระทบต่อคุณภาพและวิถีชีวิตชุมชนให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ทั้งนี้ภายใต้ 7 ข้อเสนออันเป็นยุทธศาสตร์หลักของภาคประชาชน อันได้แก่ 1. การจัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันภัยพิบัติ 2. การฟื้นฟูและพัฒนาวิถีท้องถิ่นที่มีชีวิตในเขตเมือง 3. การปฏิรูปโครงสร้างที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนที่หลากหลาย 4. การพัฒนาจิตสำนึกต่อส่วนร่วมของสังคมเมือง 5. การพัฒนาเศรษฐกิจและรบบสวัสดิการที่เอื้อต่อความมั่นคงของชีวิตคนเมือง 6. การพัฒนาระบบจราจรและขนส่งที่เหมาะสมในพื้นที่เมือง และ 7. การศึกษาและการพัฒนาเด็ก เยาวชน ซึ่งตัวแทนเครือข่ายจะได้นำเสนอต่อผู้สมัครผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ และสาธารณชน ผ่านพื้นที่สาธารณะ เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองเพื่อร่วมขับเคลื่อนเปลี่ยนกรุงเทพฯ อย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันเครือข่ายฯ จะทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อระดมปัญญาของเมือง(Think Tank) โดยการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองที่ตื่นตัว เป็นการพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองอันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอีกชั้นหนึ่ง เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ 27 กันยายน 2551 @@@@@@@@@@@@@ รายชื่อเครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา / มูลนิธิชุมชนไท / สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม / ประชาคมรางขนส่งมวลชน กรุงเทพฯ / ประชาคมเขตห้วยขวาง / เครือข่ายเยาวชน YIY / สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม / ชมรมรักถิ่นเขตทวีวัฒนา / ชมรมฟ้าใส / เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย / กลุ่ม SIU / กลุ่ม BLACK BOX / เครือข่ายสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ / เครือข่ายแรงงานนอกระบบ / สำนักข่าวชาวบ้าน / เครือข่ายชุมชนเมืองเก่าเขตพระนคร / ชมรมสยามทัศน์ / ชมรมหรี่เสียงกรุงเทพฯ / ชมรมกรุงไทยอาสา / สภาองค์กรชุมชนกรุงเทพฯ / เครือข่ายชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม / เครือข่ายสลัมสี่ภาค / MEDIA by FRIEND / สมัชชาสุขภาพลดผลกระทบจากเสียงเครื่องบิน / สภาเยาวชนกรุงเทพฯ / กลุ่มนักศึกษาใส่ใจไทย / เครือข่ายเคหะหัวหมาก / HAPPY MEDIA / มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ / เครือข่ายภัยพิบัติกรุงเทพฯ / สหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร / มูลนิธิกองทุนไทย / เครือข่ายอนุรักษ์ทะเลกรุงเทพและสิ่งแวดล้อม / สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ / สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล / สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย / สำนักข่าวเด็กและเยาวชน / กองทุนสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน / ชมรมเกื้อไทย กู้ไทย / Change Fusion / เครือข่ายจิตอาสา / มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค / เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในกรุงเทพฯ / กลุ่มเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) / เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) / คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ / ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ / บางกอกฟอรั่ม และโครงการสนับสนุนการก่อตั้งกองทุนสุขภาวะกรุงเทพฯ @@@@@@@@@@@@@ ครั้งกระโน้น ภาคพลเมืองรวมตัวกันทำงานโดยขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากสื่อสารมวลชน ผลกระทบหรือเสียงสะท้อน เสียงก้องจากชุมชนมีน้อย แต่บัดนี้ เรามี สภาองค์กรชุมชน เรามีสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ( ไทย พีบีเอส )ซึ่งร่วมคิดร่วมทำกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ก็หวังเพียงว่า หลังจากการเลือกตั้งผ่านไป "เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ" จะทำหน้าที่ตรวจสอบ เสนอแนะ ร่วมคิดร่วมทำกับผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างใกล้ชิด มีศูนย์ประสานงานที่ยั่งยืน ไม่ทำแล้วหายเหมือนครั้ง "บิ๊กแบง" ระเบิดตูม แล้วสูญสลายไปตามเวลา การตรวจสอบนั้นสำคัญและจำเป็น แต่การร่วมคิดร่วมทำนำเสนอนโยบายต่อผู้บริหารเป็นอีกด้านที่การเมืองภาคพลเมืองต้องทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรม การเมืองภาคพลเมืองจะต้องทำให้เห็นว่า พลเมืองที่ดีมีหน้าที่มากไปกว่าการเดินเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้ง การเมืองภาคพลเมืองต้องทำหน้าที่ติดตามเสนอแนะ ตรวจสอบในทุกกิจกรรมของบ้านเมือง คนกทม.โชคดี ที่มีเสียงดังและได้รับการสนับสนุนจากสื่อสาธารณะ แต่ชาวบ้านหนองแคน บ้านผมคงต้องบอกว่าโชคร้าย อยู่ใกลปืนเที่ยง ถ้าไทยพีบีเอสว่างๆ ลองๆ ออกไปดูชีวิตชาวบ้านที่อยู่ใกลปืนเที่ยงบ้างนะครับ เพราะถึงยังไง เมืองไทยก็คงมิใช่แค่กรุงเทพ.....แผลอักเสบของประชาธิปไตย อยู่แถวๆ อีสานบ้านผมโน่นครับ แคน ไทเมือง http://www.oknation.net/blog/canthai/2008/10/04/entry-2 |