หัวข้อ: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 04-07-2006, 11:19 :D
ตั้งแต่อ่านข่าว และ ดูข่างเกี่ยวกับเรื่องของ GDP มาก็เคยคิดเหมือนกันนะครับ ว่าเราจะมีอะไรเป็นตัววัด ที่ดีกว่า GDP วันนี้ได้มีโอกาศอ่านข่าวจากที่ http://www.manager.co.th/lite/ViewNews.aspx?NewsID=9490000085706 เนื้อข่าวมีว่า ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน โดย ภคภาส ศิริสุข 3 กรกฎาคม 2549 16:03 น. เวทีนโยบายสาธารณะ อันเนื่องมาจากงานเฉลิมฉลองสริราชสมบัติ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มกุฎราชกุมาร จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ในฐานะพระราชอาคันตุกะ กลายเป็นที่รู้จักและเป็นขวัญใจของประชาชนไทยไปในเวลาอันรวดเร็ว ความเป็นขวัญใจและความนิยมที่พุ่งขึ้นสูงจากปากต่อปาก ต่อไปถึงสื่อสารมวลชน ยังได้เปิดตาของคนไทยให้ยลไปได้ไกลถึงภูฏาน แผ่นดินมังกรของเจ้าชายแห่งเทือกเขาหิมาลัย และเปิดหูของคนไทยให้ได้ยินถึงปรัชญาการพัฒนาของราชอาณาจักรภูฏาน ที่เน้นความยั่งยืน พอเพียง มีเป้าหมายที่เรียกด้วยคำพื้นๆ ว่า ‘ความสุข’ ซึ่งเริ่มต้นเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของภูฏาน นับตั้งแต่ พระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก พระราชบิดาของเจ้าชายเคเซอร์ มีกระแสพระราชดำรัสในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 2515 ว่า “ดัชนีชี้วัดความสุข Gross National Happiness (GNH) สำคัญกว่าดัชนีวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ Gross National Product (GNP)” เป็นการรู้จักดัชนีที่ใช้วัดการเติบโตของสังคมไทยใหม่ๆ ของคนไทยในจังหวะเดียวกับที่ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กำลังจะประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาของรัฐไทยที่จะเริ่มต้นเดือนตุลาคม 2549 ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน’ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ 1. การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมฐานความรู้ และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ 2. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมเป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ การใช้งบประมาณ การใช้ทรัพยากร ผ่านการทำแผนชุมชน 3. การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน กระจายความเสี่ยงการผลิตจากการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมอย่างเดียวลงสู่ภาคบริการ และเน้นจุดแข็งด้านการเกษตร เข้าสู่อุตสาหกรรมเกษตร เน้นการออมเพื่อเป็นฐานในการลงทุน เน้นยุทธศาสตร์เรื่องพลังงานที่จะสามารถพึ่งพาตนเองได้ 4. การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 5. การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่ GNH จะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเพราะเจ้าชายแห่งภูฏานไม่นานนัก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยเปิดประเด็นเรื่อง GNH กับสังคมไทยมาครั้งหนึ่ง และล่าสุดออกมาเน้นย้ำอีกครั้งว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทย จะต้องมีดัชนีใหม่ๆ มาชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม เพราะแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา มุ่งชี้วัดอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยจีดีพี (Gross Domestic Product) ได้สร้างปัญหาสั่งสมไว้มากมาย ต้องหันมายึดทั้งกระแสหลักและกระแสการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดการพึ่งพาน้ำมันที่ต้องนำเข้ามา แล้วผู้ว่าแบงก์ชาติก็เสนอว่า ควรใช้ดัชนีวัดที่เรียกว่า Well Beings Index ซึ่งมีดัชนีชี้วัดทั้งหมด 7 ด้านประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ดัชนีชี้วัดด้านรายได้และการกระจายรายได้ ชีวิตและครอบครัว สภาพแวดล้อม การบริหารจัดการที่ดีสุขภาพอนามัย ความรู้ และวิธีการทำงาน โดยบอกด้วยว่าเตรียมจะเสนอต่อที่ประชุมสภาพัฒน์ ที่ผ่านมา การวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยดัชนีที่เรียกว่าจีดีพี เคยได้รับการยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นดัชนีที่บอกถึงระดับความกินดีอยู่ดี ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับการบริโภคของประชาชนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ จีดีพีจึงกลายมาเป็นตัวเลขชี้นำนโยบายของแต่ละประเทศให้ต้องมุ่งเน้นการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เกิดประเด็นโต้แย้งจากนักสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ถึงข้อจำกัดการชี้วัดของจีดีพี ว่าไม่สามารถชี้วัดสวัสดิการทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง โดยมิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคณะ เคยศึกษาถึงข้อจำกัดของจีดีพีว่า 1) จีดีพี ไม่ได้รวมมูลค่าสินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาด แม้ว่าสินค้าและบริการดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลผลิตเพิ่ม เช่น การทำงานบ้าน เป็นต้น 2) จีดีพีไม่ได้รวมผลกระทบภายนอกที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลกระทบภายนอกดังกล่าว อาจะส่งผลกระทบต่อสวัสดิการของคนในสังคม เช่น มลพิษ ที่ทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวกลับถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของจีดีพี ทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าจะนำมาหักลบกับจีดีพี 3) จีดีพีไม่ได้คำนึงถึงการหมดสิ้นไปของทรัพยากรชาติ และ 4) จีดีพีไม่ได้คำนึงถึงการกระจายรายได้ มิได้สะท้อนถึงความกินดีอยู่ดีของคนในประเทศ ถ้าประเทศนั้นมีความแตกต่างในการกระจายรายได้ การเติบโตของจีดีพี ก็จะส่งผลประโยชน์ต่อคนส่วนน้อยที่ถือครองทรัพย์สินส่วนใหญ่ (มิ่งสรรพ์และคณะ : ศึกษากรณีหลักเกณฑ์และเครื่องมือชี้วัด : 2544) ดังนั้นการนำจีดีพีมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอาจเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดพลาด ทำให้เกิดการเร่งรัดการใช้ทรัพยากร จนนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ไม่ยั่งยืนในที่สุด ถ้าเช่นนั้นถามว่า ที่ผ่านมามีดัชนีตัวอื่นๆ ที่พอจะนำมาใช้วัดความเจริญในแบบที่ยั่งยืนได้หรือไม่ คำตอบคือมี มีหลายตัว และมีมานานแล้ว อย่างน้อยก็ที่เรียกว่า ดัชนีวัดการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (Index of Sustainable Economics Welfare : ISEW) ที่คำนึงถึงต้นทุนทางสังคม การเสื่อมค่าของทุนทางธรรมชาติ ผลของการกระจายรายได้ ตลอดจนมูลค่าของการบริการที่ไม่ผ่านตลาดต่างๆ ในกรณีของประเทศไทย แม้การพัฒนาดัชนี ISEW จะได้รับความสนใจในแวดวงวิชาการ แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องการคำนวณหาต้นทุนมูลค่าความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องใช้งบประมาณสูง จึงทำให้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการดัชนี ISEW ไม่มากนัก ความพยายามพัฒนาดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2542 โดยสาธิต จรรยาสวัสดิ์ ในปี 2544 มิ่งสรรพ์และคณะ ทำการพัฒนาดัชนีนี้อีกครั้ง และล่าสุดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) แม้จะเร็วเกินไปที่จะรู้ว่า ดัชนีชนิดนี้จะถูกใช้ในการวัดการเติบโตของประเทศหรือไม่และเมื่อไร แต่หากความสำคัญการดัชนีชี้วัดมีผลต่อการชี้ทิศชี้ทางการพัฒนา อย่างน้อยการมีดัชนีตัวอื่นๆ ก็พอจะสร้างหลักประกันได้ว่า สังคมไทยจะไม่ถูกลากจูงไปในทางใดทางหนึ่งโดยที่เราไม่รู้อะไรเลย ราวกับว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นของคนกลุ่มน้อย แต่มลพิษและความเสื่อมโทรมเป็นของคนส่วนใหญ่ ซึ่งได้สร้างความไม่เป็นธรรมในสังคมให้กับคนรุ่นปัจจุบัน ขณะที่การคำนึงถึงความยั่งยืน ก็ยังหมายถึงความยุติธรรมในสังคมของคนรุ่นอนาคตด้วย. คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผมรู้สึกชอบเฮะ ถ้ามีดัชนีชี้วัดแบบนี้น่ะ หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: จูล่ง_j ที่ 04-07-2006, 11:29 บทความน่าสนใจดีครับ น่ามีคนทำตัวเลขพวกนี้ออกมาเหมือนกัน
หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 04-07-2006, 11:30 ดัชนีชี้วัดความสุข ของคนบางคนในยุคปัจจุบัน
มี 2 อย่าง อำนาจ + เงิน หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: ผู้ทำลาย ที่ 04-07-2006, 11:31 ดัชนีชี้วัดความสุข ของคนบางคนในยุคปัจจุบัน มี 2 อย่าง อำนาจ + เงิน เป็นอะไรที่เถียงไม่ขึ้นจริงๆ :!: หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: แนวสกา ที่ 04-07-2006, 11:37 :roll: :) :D อืม...
หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 04-07-2006, 11:55 ดัชนีชี้วัดความสุข ของคนบางคนในยุคปัจจุบัน มี 2 อย่าง อำนาจ + เงิน เอาของประชาชนซีครับ ไม่เอาของนายทักกี้ และ พรรคพวก หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 04-07-2006, 12:51 ดัชนีชี้วัดความสุข ของคนบางคนในยุคปัจจุบัน มี 2 อย่าง อำนาจ + เงิน เอาของประชาชนซีครับ ไม่เอาของนายทักกี้ และ พรรคพวก ประชาชน ยุคนี้โดนหล่อหลอม ด้วย โฆษณาชวนเชื่อ ด้วยเงินที่ได้มาเป็นหนี้ ด้วยความเชื่อ จากผู้นำ ว่าต้องมีหนี้ ต้องสร้างหนี้ ถึงจะเป็นทางสว่างในการดำเนินชีวิต พอไม่มีเงินใช้หนี้ รัฐก็สนับสนุนกลายๆ โดยการให้สร้างกลุ่มขึ้นมาต่อรองกับทางรัฐ เพื่อเอาเงินภาษีไปช่วย ไม่ก็ไปกดดัน ธนาคารที่ปล่อยกู้เพื่อให้ลดหนี้ เลิกหนี้ ชาวบ้านจึงคิดว่าเงินที่ได้เป็นเงินที่เหลี่ยมแจกฟรี เอาไปใช้อะไรก็ได้ ยังไงก็ไม่ต้องจ่าย เอาไปซื้อสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆ สังคม โดยเฉพาะรากหญ้า ทุกปรับเปลี่ยนทัศนะคติไปกันมากแล้วครับ หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 04-07-2006, 12:57 ดัชนีชี้วัดความสุข ของคนบางคนในยุคปัจจุบัน มี 2 อย่าง อำนาจ + เงิน เอาของประชาชนซีครับ ไม่เอาของนายทักกี้ และ พรรคพวก ประชาชน ยุคนี้โดนหล่อหลอม ด้วย โฆษณาชวนเชื่อ ด้วยเงินที่ได้มาเป็นหนี้ ด้วยความเชื่อ จากผู้นำ ว่าต้องมีหนี้ ต้องสร้างหนี้ ถึงจะเป็นทางสว่างในการดำเนินชีวิต พอไม่มีเงินใช้หนี้ รัฐก็สนับสนุนกลายๆ โดยการให้สร้างกลุ่มขึ้นมาต่อรองกับทางรัฐ เพื่อเอาเงินภาษีไปช่วย ไม่ก็ไปกดดัน ธนาคารที่ปล่อยกู้เพื่อให้ลดหนี้ เลิกหนี้ ชาวบ้านจึงคิดว่าเงินที่ได้เป็นเงินที่เหลี่ยมแจกฟรี เอาไปใช้อะไรก็ได้ ยังไงก็ไม่ต้องจ่าย เอาไปซื้อสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆ สังคม โดยเฉพาะรากหญ้า ทุกปรับเปลี่ยนทัศนะคติไปกันมากแล้วครับ อย่างนี้ก็ล่มจม ซิครับทั่น หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 04-07-2006, 15:18 ใช่ครับ เจ๊งแน่
วงจรมันใกล้วจะบรรจบที่เดิมแล้ว อาจเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่พยายามจะ กวนสังคมให้มันปั่นป่วนอยู่ในขณะนี้ หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: มีคณา ที่ 04-07-2006, 15:48 ดัชนีชี้วัดความสุข ของคนบางคนในยุคปัจจุบัน มี 2 อย่าง อำนาจ + เงิน
ใช่ค่ะ ความสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับ อำนาจและเงินด้วย คนถึงโลภ ร้าย ทำลาย ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อ ความสำเร็จ >>อำนาจ >> เงิน ได้มาแล้วก็หมดไปกับ ของไมจำเป็นทั้งหลายในชีวิตนะคะ หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: mini ที่ 04-07-2006, 23:34 มันก็ไม่พ้นเรื่องเงินหรอกครับ
เราอาจจะพูดอะไรกันได้มากมาย ทางจิตใจ เศรษฐกิจพอเีพียง ต่างๆนาๆ แต่พอไปถามคนที่เราจะวัดเข้าจริงๆ ถ้าไม่มีความสุข ก็ไม่พ้น เงินไม่พอหล่ะครับ หัวข้อ: Re: ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน เริ่มหัวข้อโดย: hison ที่ 05-07-2006, 07:38 ขอบใจหลายๆเด้อ ที่นำมาให้อ่านกัน
ขอบใจ คุณ ภคภาส ศิริสุข และ คุณ Silance Mobius :D |