ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 04-07-2006, 10:34



หัวข้อ: ราคาน้ำมันยังดันเงินเฟ้อ มิ.ย.เพิ่ม 5.9% พาณิชย์มั่นใจครึ่งปีหลังมีทิศทางลดลง
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 04-07-2006, 10:34
โดย กระแสหุ้น


กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนและครึ่งปีแรกปีนี้เพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันที่ 5.9% สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมัน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ขอดูอัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมก่อนปรับประมาณการใหม่ แต่มั่นใจครึ่งปีหลังอัตราเงินเฟ้อจะมีทิศทางลดลง เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ความต้องการน้อยลง ราคาสินค้าเกษตรก็เริ่มลดลงด้วย

นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายน และ 6 เดือนแรกของปี 2549 ว่า เงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 สูงขึ้น 5.9% ทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 สูงขึ้น 5.9% สาเหตุหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2549 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 สูงขึ้น 5.9% มาจากราคาน้ำมันเป็นส่วนสำคัญ แต่กระทรวงพาณิชย์จะขอรอดูอัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมนี้ก่อนว่าจะลดลงหรือไม่ ก่อนที่จะมีการปรับประมาณการเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ว่าปีนี้จะอยู่ที่ 4% - 4.5% ว่าจะเป็นอัตราใด


ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เท่าที่ประเมินสถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลัง แนวโน้มราคาน้ำมันแม้จะผันผวนบ้างในแต่ละช่วง แต่เชื่อว่าจะทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง ประกอบกับราคาพืชผักและผลไม้ช่วงหลังจากนี้ไปอยู่ในแนวโน้มที่ลดลง ทำให้เชื่อว่าครึ่งปีหลังอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อเดือนน่าจะลดลงได้อย่างแน่นอน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อครึ่งปีหลังลดลง เช่น ราคาน้ำมันฐานจะไม่สูง ราคาผักผลไม้สดไม่สูง และสินค้าอุปโภคบริโภค กรมการค้าภายในดูแลอย่างใกล้ชิด โดยจะดูถึงต้นทุนและนำสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านโครงการตลาดนัดธงฟ้า...มหาชน และขณะนี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายจัดโครงการธงฟ้าเคลื่อนที่ที่จะช่วยเหลือข้าราชการและผู้ใช้แรงงาน ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าโดยรวมไม่สูงขึ้น


สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ โดยคำนวณจากสินค้าและบริการ 266 รายการ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 สูงขึ้น 0.1% แต่เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 สูงขึ้น 2.7% ทำให้ 6 เดือนแรกของปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2548 สูงขึ้น 2.7%



อ่านข่าวกันก่อนนะคะ ยังไงเดี๋ยวว่างๆ มาเพิ่มเติม


หัวข้อ: Re: ราคาน้ำมันยังดันเงินเฟ้อ มิ.ย.เพิ่ม 5.9% พาณิชย์มั่นใจครึ่งปีหลังมีทิศทางลดลง
เริ่มหัวข้อโดย: koo ที่ 04-07-2006, 11:54
ง่า .... พ่อค้าข้าวแกงอย่างผม อ่านแล้วไม่สามารถจับประเด็นมาขึ้นมาพูดต่อได้เลย

อ่านๆดูมันก็เป็นตามนั้น  :cry:

http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/cpi/stat/test/select_cpig_region.html

ประเด็นมันอยู่ที่ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ปรับขึ้น 5.9%

แต่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ปรับขึ้น 2.7%

ใช่ไหมครับ แปลความหมายของคำว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและพื้นฐาน
http://www.price.moc.go.th/cpi/handbook/desc/handbook11.htm

เรียกว่า หักพวก อาหารสด กับพลังงานออกไปแล้ว
ราคาสินค้าอื่นๆ ไม่ค่อยจะปรับราคาขึ้นเลย (เพราะถูกควบคุมราคาหรือการแข่งขัน ก็แล้วแต่ )
แล้วจะมองต่อยางงายอ่า พ่อค้าข้าวแกง ไปไม่ถูก

เพิ่มlink แรกไปไม่ถึง เลือกเดือน มิถุนายน ปี2006 ถึงจะไปถึงหน้าที่ผมยกมานะครับ  :|


หัวข้อ: Re: ราคาน้ำมันยังดันเงินเฟ้อ มิ.ย.เพิ่ม 5.9% พาณิชย์มั่นใจครึ่งปีหลังมีทิศทางลดล
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 04-07-2006, 12:00
คือ มันจะแพง หรือ ถูก ยังไงไม่รู้ ขอให้มันนิ่งๆซะที จะได้ตั้งต้นถูก

จะนั่งรอคุณแอ่นแอ๊นกลับมาว่าต่อ


หัวข้อ: Re: ราคาน้ำมันยังดันเงินเฟ้อ มิ.ย.เพิ่ม 5.9% พาณิชย์มั่นใจครึ่งปีหลังมีทิศทางลดล
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 04-07-2006, 21:13
ขออนุญาตขุดกระทู้นี้ขึ้นมาเป็นระยะๆนะครับ คุณแอนเธอบอกจะกลับมาว่าต่อ

ผมเซ็งไอ้พวก hedge fund บ้าบอเต็มทนแล้ว พอเฟดส่งสัญญาณชะลอขึ้นดอกหน่อยเดียว ราคา commodities พุ่งเลย ไอ้พวกเลวนี้ทำลายเศรษฐกิจชัดๆ ตัวเองไม่ได้สร้างผลผลิตอะไรเลย แต่กลับไปทำลายภาคการผลิตที่แท้จริงให้เขาขาดทุนอีกต่างหาก

อยากทราบทัศนะคุณแอนว่า โรคบ้าเก็งกำไรมันจะพีคเมื่อไร มันจะเก็งกันจนเศรษฐกิจพังเลยไหม


หัวข้อ: Re: ราคาน้ำมันยังดันเงินเฟ้อ มิ.ย.เพิ่ม 5.9% พาณิชย์มั่นใจครึ่งปีหลังมีทิศทางลดลง
เริ่มหัวข้อโดย: kobkla ที่ 04-07-2006, 21:29
Fed ขึ้นดอกเบี้ยงวดนี้ ส่งสัญญานความกังวลภาวะเศรษฐกิจตกในไตรมาศต่อไป  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น Demand ของ Comodities ทั้งหลาย ย่อมตกลง เป็นของธรรมดา  ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในไตรมาศ 3 และ 4 จะทำให้พวกเก็งกำไร ใน Commodities `หุ้น หดหายลงไปมาก  คาดว่าถึงที่สุด พวกเก็งกำไรย่อมหันไปลงทุนใน พันธบัตร ทองคำ ที่มีค่าความเสี่ยงต่ำ ผลที่ดี คือ ไม่ไปซ้ำเติม Real Economy
  ยกเว้นแต่น้ำมัน ซึ่งภาวนาว่าจะไม่ถูกซ้ำเติมโดย เทศกาลพายุในอเมริกา และความรุนแรงของสงครามก่อการร้าย ไม่เช่นนั้น เก็งกำไร เข้ามาแน่