หัวข้อ: ประเด็นทางการเมืองที่สำคัญ เริ่มหัวข้อโดย: taworn09220 ที่ 03-07-2006, 15:27 ประเด็นทางการเมืองที่สำคัญ
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ( วันที่ 22 ธันวาคม 2548 ) ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต กระบวนทางการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจ ซึ่งมีการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจ การใช้อำนาจ และการรักษาอำนาจ โดยทั่วไปผู้เข้าสู่ตำแหน่งอำนาจจะพยายาม อยู่ในตำแหน่งอำนาจให้นานที่สุด แต่ก็มีบ่อยครั้งเมื่อได้อำนาจแล้วก็ไม่สามารถ จะธำรงอำนาจดังกล่าวไว้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากอำนาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องใช้ วิธีการอันแยบยลจึงจะสามารถดำรงอำนาจนั้นไว้ได้ ประเด็นทางการเมืองดังต่อ ไปนี้เป็นเรื่องซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทางการเมืองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักและทำ ความเข้าใจอย่างแท้จริง ประเด็นทางการเมืองที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้ คือ 1. ความถูกต้องตามกฎหมาย (legal) และความชอบธรรมทางการเมือง (legitimate) อะไรก็ตามที่ถูกต้องตามกฎหมายมักจะมีความชอบธรรมทางการ เมือง แต่ไม่เสมอไป เช่น การสร้างสะพานแขวนที่ถนนพระราม 9 อยู่ในกรอบ ของอำนาจที่จะกระทำได้ จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย (legal) เพราะใช้งบ ประมาณในการก่อสร้างตามตัวบทกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน มาตรฐานของการสร้างสะพานก็เป็นที่รับรองและไม่มีข่าวเรื่องกินนอกกินใน แต่ ในขณะเดียวกันหลายหมู่บ้านในชนบทยังไม่มีไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทางก็ไม่ ได้รับความสะดวก คำถามก็คือ ใครเป็นผู้ตัดสินให้สร้างสะพานแขวนซึ่งอำนวย ความสะดวกกับคนในนครหลวงและผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าชาวชนบท ดังนั้น อาจจะเถียงได้ว่ากรณีที่ยกมานั้นถูกต้องตามกฎหมาย (legal) แต่ไม่ชอบธรรม ทางการเมือง (legitimate) ในแง่การใช้งบประมาณอย่างยุติธรรม ในทางกลับกัน การกระทำบางอย่างอาจจะผิดกฎหมายแต่ชอบธรรม ตัวอย่าง คือ ในภาพยนตร์เรื่องหนึ่งนั้นคนที่ติดเชื้อกาฬโรคจากแอฟริกาหลบเข้ามาสู่ที่ เมืองนิวยอร์ค จึงต้องทำการฉีดยาวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว โดยต้องกระทำ อย่างลับๆ เพื่อมิให้คนตื่นตระหนกตกใจ แต่การนำวัคซีนข้ามรัฐเข้ามาที่รัฐ นิวยอร์คนั้นต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อมีการประชุมผู้ว่าราชการมลรัฐที่อยู่ล้อม รอบรัฐนิวยอร์คก็มีข้อตกลงว่าจะนำวัคซีนข้ามรัฐเข้ามาโดยใส่ในกระป๋องเบียร์ การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจน (illegal) แต่มีความ ชอบธรรม (legitimate) เพราะเป็นการช่วยเหลือประชาชนไม่ให้เสียชีวิตจากการ รับเชื้อกาฬโรค ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าผู้ใช้อำนาจการเมืองต้องคำนึงทั้งความถูกต้องตามกฎหมาย และความชอบธรรมทางการเมือง จะใช้ตัวบทกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อเป็น เครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดินน่าจะมีข้อจำกัด และนี่คือที่มาของการใช้ หลักนิติศาสตร์และหลักรัฐศาสตร์ กฎหมายเป็นหลักนิติศาสตร์ ความชอบธรรม ทางการเมืองเป็นหลักรัฐศาสตร์ การสร้างดุลยภาพไม่ให้เกิดการใช้หลักรัฐศาสตร์ อย่างพร่ำเพรื่อเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะทำให้สภาพแห่งนิติรัฐถูก ทำลายลงได้ และจะเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม (the rule of law) แต่ถ้าใช้ หลักนิติศาสตร์อย่างแข็งกระด้างก็จะกลายเป็น the rule by law ในขณะเดียวกัน ถ้าใช้การแก้ปัญหาในทางรัฐศาสตร์หรือทางการเมืองก็จะกลายเป็นการใช้ความ สะดวกทางการเมือง (political expediency) เป็นฐาน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสีย หายได้ 2. อำนาจ (power) และบารมี (a Thai version of charisma) อำนาจมีอยู่สอง ส่วน คือ การมีอำนาจตามตัวบทกฎหมาย และการมีอำนาจเนื่องจากบารมี จะเห็น ได้ว่าคนบางคนไม่มีตำแหน่งอันใดแต่ก็มีบารมีสามารถโน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตาม และปฏิบัติตามได้ คนมีบารมีคือคนที่เป็นที่ยอมรับ และการยอมรับอันนั้นก็จะนำ ไปสู่อำนาจ ผู้นำการเมืองมีอำนาจเนื่องจากมีตำแหน่ง มีอำนาจสั่งการได้ตามตัวบท กฎหมาย แต่การปฏิบัติตามคำสั่งนั้นอาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ มี การหลีกเลี่ยงและมีกระบวนการถ่วงเวลาให้ช้าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางทีก็มีการ ปกปิดข้อมูลเพื่อไม่ให้มีการปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ คนที่มีอำนาจจึงอาจจะไม่ มีบารมี การมีอำนาจมิได้หมายความว่าจะตามมาด้วยบารมีโดยอัตโนมัติ ผู้นำที่ สามารถทำงานได้สัมฤทธิ์ผล สามารถสั่งการได้ คือผู้นำที่มีทั้งอำนาจและบารมี 3. การเรียกร้องทางการเมืองที่เป็นรูปธรรม (concrete demands) และการเรียก ร้องที่เป็นนามธรรม (abstract demands) การตอบสนองต่อการเรียกร้องทางการ เมืองมีสองประการคือ สิ่งที่เป็นรูปธรรมและสิ่งที่เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาที่มีผลต่อการดำรง ชีวิตในทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเสมอภาคใน เรื่องโอกาส การทำมาหากิน การประกอบธุรกิจ แต่การตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นรูปธรรมแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง จำ เป็นต้องตอบสนองต่อการเรียกร้องทางการเมืองที่เป็นนามธรรมด้วย นั่นคือเรื่อง สิทธิเสรีภาพ ความรู้สึกว่าตนเป็นบุคคลที่มีความหมายและมีความเคารพตนเอง ได้ มีศักดิ์ศรี ดังนั้น ผู้นำทางการเมืองผู้ใดที่คิดว่าเมื่อประชาชนอยู่ดีกินดี มีเงิน ซื้อเสื้อผ้าแต่งตัว มีความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่พอเพียงแล้วนั้น ก็ถูกต้องในระดับหนึ่ง แต่หลังจากที่มีการตอบสนองทางรูปธรรมแล้ว มนุษย์จำ เป็นต้องมีการตอบสนองทางนามธรรม นั่นคือ การมีความเคารพตนองและมี ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประเทศบางประเทศที่เป็นเกาะอยู่ทางใต้ของไทย เป็นประเทศเล็กๆ ที่มีประชากร 3 ล้านคน ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่าง มากเนื่องจากระบบการปกครองบริหารสามารถสร้างความเจริญในทางเศรษฐกิจ และตอบสนองต่อความต้องการทางการเมืองในส่วนที่เป็นรูปธรรมได้ แต่ในทาง นามธรรมประชาชนของประเทศนี้เสมือนหุ่นยนต์ที่ปราศจากจิตวิญญาณ ประเทศ ทั้งประเทศถูกควบคุมจัดระเบียบเสมือนหนึ่งเป็นโรงเรียนกินนอน บางคนถึงกับ บอกว่าเป็นโรงเรียนอนุบาล จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นพรรคฝ่ายค้านมี เพียงสองคนเท่านั้น นี่คือตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดของระบบการเมืองที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในส่วนของการตอบสนองทางวัตถุแต่ไม่สามารถ ตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณได้ 4. องค์กรทางการเมืองเช่นพรรคการเมือง ก็มีลักษณะเดียวกันกับที่กล่าวมาเบื้อง ต้น บุคคลที่อยู่ในพรรคการเมืองนอกจากจะมีระเบียบวินัยและปฏิบัติตามวินัย พรรคแล้ว จะต้องเป็นคนที่มีอุดมการณ์ด้วย การบริหารพรรคต้องมีความเป็น ประชาธิปไตย มุ่งเน้นใช้หลักคุณธรรม (the merit system) อันได้แก่ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เป็นเกณฑ์ ที่สำคัญก็คือจะต้องเป็นระบบที่เปิด กว้าง รับความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อหาข้อสรุปประมวลมาเป็นนโยบายและ แนวทางปฏิบัติ สมาชิกพรรคต้องมีจิตวิญญาณโดยปัจเจกสมาชิกต้องไม่สูญเสีย ความเป็นตัวของตัวเอง แต่ขณะเดียวกันก็ผูกพันอยู่กับวินัยและอุดมการณ์ของ พรรค โดยจุดมุ่งเน้นหลักก็คือการรับใช้มวลชนและประเทศชาติ เมื่อมีความขัด แย้งระหว่างความเป็นปัจเจกภาพและวินัยของพรรคก็ต้องถือพรรคเป็นหลัก ยก เว้นแต่แนวทางของพรรคนั้นขัดแย้งอย่างรุนแรงกับความถูกต้องและจริยธรรมทาง การเมือง จนทำให้ตนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 5. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี การฟังความคิดเห็นจากทุกๆ ฝ่ายตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ขณะเดียวกันก็ต้อง สร้างดุลยภาพกับความเป็นผู้นำทางการเมือง ระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยมิได้หมายความว่า หัวหน้าพรรคซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลนั้นไม่สามารถ แสดงความเป็นผู้นำทางการเมืองได้เลย การฟังความคิดเห็นก็เพื่อประมวลสิ่งที่ เป็นประโยชน์ที่สุด แต่หลังจากที่มีข้อสรุปแล้วจะต้องใช้ความเป็นผู้นำทางการ เมืองผลักดันสิ่งนั้นให้เป็นรูปธรรมให้ได้ ความเป็นผู้นำทางการเมืองคือการที่สั่ง การได้อย่างแข็งขันและเข้มข้น (be in command) แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเปิด กว้างให้มีส่วนนำเข้า (input) จากผู้ร่วมรับผิดชอบ ทั้งสองส่วนนี้คือความรับผิด ชอบร่วมกัน (collective responsibility) ซึ่งจะต้องคู่กับความเป็นผู้นำทางการ เมือง (leadership) โดยหัวหน้ารัฐบาลคือเอกอุแห่งคนเสมอกัน (primus inter pares--first among equals) 6. การที่จะแสดงความเป็นผู้นำได้นั้นจะต้องกระชับอำนาจ (consolidation of power) แต่ไม่ใช่ให้อำนาจกระจุกตัว (concentration of power) จำเป็นจะต้องมี การกระจายความรับผิดชอบ (delegation of power) โดยมีความเชื่อและศรัทธา ว่า แต่ละคนสามารถจะทำงานได้ดี มีความอิสระและมีความคิดริเริ่ม แต่ขณะ เดียวกันก็ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของผู้ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ทำนองเดียวกับ การบรรเลงซิมโฟนีโดยวาทยากร คือหัวหน้าฝ่ายบริหาร และนักดนตรีทุกคนคือ คณะผู้ร่วมในกลุ่มผู้บริหาร ในขณะที่ต้องชำเลืองดูการควบคุมกำกับก็สามารถมี ความอิสระ มีความเชื่อมั่น มีจิตวิญญาณเป็นตัวของตัวเอง และนี่คือระบบที่ดีที่สุด เพราะจะสามารถธำรงไว้ซึ่งบุคลิกภาพของแต่ละคนได้ 7. การบริหารบ้านเมืองจำเป็นต้องมีข้อมูล มีความรู้ มีทักษะ การที่จะมีข้อมูลได้ นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น อันตรายของระบบอำนาจก็ คือ มักจะถูกห้อมล้อมด้วยบุคคลเพียงกลุ่มเล็กๆ ซึ่งจะกีดกันไม่ให้กลุ่มอื่นๆ เข้า มามีส่วนร่วม ทำให้ข้อมูลที่ได้นั้นจำกัดและคับแคบ จึงจำเป็นต้องเปิดรับข้อมูลให้ กว้างขึ้น แต่ขณะเดียวกันข้อมูลที่ได้จากกลุ่มผู้ที่มีหน้าที่ปรึกษาหลายๆ กลุ่ม หลายๆ หน่วยงานจะประดังเข้ามาอย่างเต็มที่ การเลือกรับข้อมูลและข้อเสนอแนะ จึงเป็นทักษะสำคัญของผู้นำ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โชกุนแห่งญี่ปุ่นในยุค ซามูไร ประธานาธิบดีอเมริกันแฟรงคลิน ดี. รุสเวลท์ ใช้วิธีการฟังข้อมูล และคำ แนะนำ จากกลุ่มต่างๆ โดยให้กลุ่มต่างๆ แข่งขันกันและถ่วงดุลกันไปในตัว จาก นั้นก็จะเลือกเอาเฉพาะที่ตัดสินใจแล้วว่าข้อมูลและการเสนอแนะของกลุ่มใดมี เหตุผลมากที่สุด หรืออาจจะผสมผสานจากหลายๆ กลุ่มเพื่อประโยชน์สูงสุด ข้อ สำคัญ จะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาครอบงำได้เบ็ด เสร็จเด็ดขาด 8. ผู้บริหารบ้านเมืองจำเป็นต้องมีใบหน้าที่เป็นมนุษย์ (human face) ไม่ใช่ใบ หน้าที่เป็นแต่การปฏิบัติตามตัวบทกฎหมาย ตามเทคนิค แต่จำเป็นต้องมีมนุษย์ สัมพันธ์ ทำให้ผู้เข้าใกล้สบายใจ กล้าแสดงความคิดเห็น และรู้สึกอบอุ่นใจ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีความเข้าใจสังคมนอกเหนือจากความเข้าใจเศรษฐกิจ และการเมือง ต้องมีมิติแห่งประวัติศาสตร์เพื่อจะสามารถเชื่อมโยงอดีตเข้ากับ ปัจจุบันและมองเห็นอนาคต ในปัจจุบันมีผู้นำที่เข้าใจปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และ มองเห็นอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม แต่ขาดความเข้าใจทางสังคมพอสมควร และขาด มิติแห่งประวัติศาสตร์ ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มผู้นำที่มีมิติแห่งประวัติศาสตร์เข้าใจ ปัจจุบันอย่างครึ่งๆ กลางๆ และไม่เข้าใจอนาคตของสังคมมนุษย์แม้แต่นิดเดียว และนี่คือปัญหาที่ต้องสร้างดุลยภาพให้เกิดขึ้น 9. การถ่วงดุลระหว่างข้อพิจารณาทางการเมืองและคุณธรรม ในการบริหาร ราชการแผ่นดินภายใต้ระบบการเมืองแบบเปิด หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีข้อ พิจารณาทางการเมือง การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในบางครั้งมีความจำเป็นที่จะ ต้องตอบสนองต่อการเรียกร้องทางการเมือง เพื่อเป็นการบริหารการเมือง แต่ ขณะเดียวกันการจะบริหารบ้านเมืองโดยไม่มีความสัมฤทธิ์ผลในนโยบายต่างๆ นั้น จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง จึงต้องให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถมาดำรง ตำแหน่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับคลังและต่างประเทศ ระบบคุณธรรมนิยม (meritocracy) เป็นเรื่องจำเป็น ทำอย่างไรจึงจะสร้างดุลยภาพระหว่างคุณธรรม นิยมและข้อพิจารณาทางการเมืองให้เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะถ้าจะว่าถึงที่ สุดแล้วตำแหน่งระดับรัฐมนตรีไม่เพียงแต่เป็นตำแหน่งบริหารชั้นสูงเท่านั้นแต่ต้อง ถือว่าเป็นตำแหน่งของแผ่นดิน จะมองแบบไม่ให้ความสำคัญไม่ได้เป็นอันขาด ประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งในทางการเมืองและในทาง รัฐศาสตร์ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคงอยู่และอนาคตของระบอบการ ปกครองแบบประชาธิปไตย ที่สำคัญคือการพัฒนาและความอยู่รอดของบ้านเมือง __._,_.___ |