หัวข้อ: สถานะ ตำแหน่ง และบารมี เริ่มหัวข้อโดย: taworn09220 ที่ 03-07-2006, 14:57 สถานะ ตำแหน่ง และบารมี [/color] หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ( วันที่ 22 มิถุนายน 2549 ) ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต มนุษย์ที่อยู่ในสังคมยุคปัจจุบัน มีจำนวนไม่น้อยที่ดำรงตำแหน่งในการบริหารใน ภาครัฐหรือภาคสาธารณะ หรือภาคเอกชน โดยบุคคลเหล่านี้จะมีภูมิหลังทาง ครอบครัวที่ต่างกัน และก็มีข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเหล่า นี้แม้จะเป็นตำแหน่งเดียวกันก็จะแตกต่างกันในแง่ความนิยมชมชอบ การให้ความ ยอมรับ การให้ความเคารพนับถือ ฯลฯ หรือที่เรียกกันรวมๆ ว่าบารมีแตกต่าง กัน ไตรลักษณ์คือ สถานะ ตำแหน่ง และบารมี จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้า ใจเพื่อจะใช้เป็นกรอบของการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในสังคม รวมทั้งเพื่อความ เข้าใจถึงระบบและสถาบันต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวบุคคลที่ดำรง ตำแหน่งในภาคส่วนต่างๆ สถานะของมนุษย์ย่อมแตกต่างกัน ในแง่กายภาพจะมีความแตกต่างกันในเรื่อง ความสูงความต่ำ รูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ น้ำเสียง ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนของ ธรรมชาติ และก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความแตกต่างทางกายภาพนี้อาจจะส่งผลถึงความ สำเร็จหรือความล้มเหลวในการดำรงตำแหน่งในสังคมในบางครั้งโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งองค์กรบางองค์กร เช่น องค์กรที่เป็นธุรกิจนั้นอาจจะมองหาบุคคลที่มีบุคลิก ลักษณะดีมาดำรงตำแหน่งในฝ่ายที่ต้องติดต่อลูกค้า หรือในองค์กรที่ต้องใช้คนรูป ร่างสูงใหญ่มาทำหน้าที่ก็อาจจะไม่ยินดีรับบุคคลซึ่งมีรูปร่างเล็กมาดำรงตำแหน่ง บางตำแหน่ง เป็นต้น เรื่องของกายภาพเป็นเรื่องของรูปธรรมนามธรรม เป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับค่านิยมและอารมณ์ของมนุษย์ ไม่มีใครสามารถจะแก้ไขความอ่อนด้อย ในส่วนนั้นได้ ทางเลือกของปัจเจกบุคคลคือต้องหาตำแหน่งหรือประกอบวิชาชีพที่ กายภาพไม่เป็นอุปสรรค แต่ความแตกต่างที่นอกเหนือจากกายภาพนั้นก็คือสถานะของปัจเจกบุคคล อัน ประกอบด้วย 5 ประการดังต่อไปนี้ คือ วัยวุฒิ ซึ่งได้แก่อายุและความอาวุโส อายุหมายถึงอายุทางชีวภาพ ความอาวุโส เช่น ดำรงตำแหน่งงานมาเป็นเวลานานกว่าบุคคลอื่น แม้จะมีวัยวุฒิทางชีวภาพ น้อยกว่า วัยวุฒิทางชีวภาพจะถือเป็นเรื่องส่วนตัว แต่บ่อยครั้งก็จะเกี่ยวพันกับ ความอาวุโสในองค์กรด้วย เพราะคนที่มีอายุสูงก็มีโอกาสอยู่ในองค์กรนานกว่าคน ที่เข้ามาในองค์กรใหม่ๆ ในสังคมตะวันออกวัยวุฒิยังเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งอาจจะ แตกต่างจากสังคมตะวันตกโดยที่ตัวแปรเรื่องอายุไม่ใช่ตัวแปรสำคัญที่เป็นหลัก เกณฑ์ในการตัดสินบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าที่การงาน แต่ก็ไม่ใช่ทุก กรณี ตัวอย่างของความสำคัญของวัยวุฒิและความอาวุโส เช่น มีนักการเมือง บางท่านที่มีความสามารถ มีความรู้ แต่อาจจะด้อยในแง่วัยวุฒิ และส่งผลไปถึง ความเชื่อมั่นในแง่ความอาวุโส ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงการยอมรับของคนในสังคม คุณวุฒิ หมายถึงความรู้ซึ่งเกิดจากการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษา ผนวก กับประสบการณ์จากการทำงานโดยเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ ที่เรียกว่าผ่านงานมา มาก ดังนั้น ถ้าหากมีระดับการศึกษาสูง มีประสบการณ์มาก และมีระยะเวลา ของการทำงานนาน ที่เรียกว่าอาวุโส ก็จะกลายเป็นคุณสมบัติสำคัญของบุคคล นั้น คือมีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ ชาติวุฒิ ซึ่งได้แก่สถานภาพโดยกำเนิด เป็นต้นว่า สืบเชื้อสายเจ้าหรือเชื้อสาย ตระกูลขุนนางเก่าแก่ หรือเป็นลูกหลานของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมที่เคยทำ คุณงามความดีให้แก่แผ่นดิน ส่วนใหญ่จะดูจากนามสกุล ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าชาติ วุฒิจะเป็นผลบวกกับบุคคลที่เป็นผู้สืบสันดานเช่นลูกหลานของตระกูลขุนนางเก่า แก่ เนื่องจากบางครั้งจะได้รับการยอมรับเพราะเป็นที่รู้จักมากกว่าบุคคลที่มีพื้นเพ และภูมิหลังทางครอบครัวธรรมดา อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของชาติวุฒิได้ลด น้อยลงในระบบที่มุ่งเน้นความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องคุณวุฒิ ผู้ ซึ่งมาจากครอบครัวที่ดีแต่ถ้าระดับการศึกษาไม่สูงเมื่อเทียบกับคนที่มาจากภูมิหลัง ครอบครัวธรรมดาแต่มีคุณวุฒิสูงกว่า และมีอาวุโสทางการงานมากกว่า ก็ย่อมจะ ไม่มีความได้เปรียบอันเนื่องมาจากตัวแปรเรื่องชาติวุฒิ ธนวุฒิ ได้แก่ การมีทรัพย์สินเงินทองจากการประกอบธุรกิจและการค้าขายโดย สุจริต การเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือการรับมรดก ธนวุฒิจะเป็น ประโยชน์ต่อเมื่อการใช้ทรัพย์สินเงินทองดังกล่าวเพื่อการดำรงชีวิต ทำให้ครอบ ครัวมีความสุขตามอัตภาพ และที่สำคัญจะต้องใช้ทรัพย์สินดังกล่าวในการช่วย เหลือผู้อื่นด้วยการกุศล การสนับสนุนศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นการใช้ทรัพย์สิน เงินทองที่ชาญฉลาด และในกรณีของการทำธุรกิจที่มีลูกจ้างอยู่ในความดูแล ก็ ควรจะมีจิตใจเมตตาเผื่อแผ่ดูแลให้เขาอยู่ดีกินดี นำส่วนกำไรมาเฉลี่ยและปันผล เพื่อให้เป็นแรงจูงใจในการทำงาน ธนุวฒิจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของการที่จะทำ ประโยชน์ให้แก่สังคมและช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญในการยกระดับ จิตใจให้สูงขึ้น ธรรมวุฒิ คำนี้เป็นคำใหม่ที่ผู้เขียนคิดขึ้นเอง หมายถึงการมีคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรมของปัจเจกบุคคล กล่าวคือ บุคคลที่เป็นที่ทราบกันว่าเป็นคนดี เป็น คนธรรมะธัมโม มีความยุติธรรม ไม่มีประวัติด่างพร้อยในเรื่องส่วนตัว ในเรื่อง การทำงาน พูดจามีเหตุมีผลสมเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา มี วุฒิภาวะที่น่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี คือบุคคลที่มีธรรมวุฒิ เพราะเป็นคนธรรมะธัมโม เป็นประธานองค์กรพุทธศาสนา นอกเหนือจากคุณวุฒิ โดยจบการศึกษาจากอังกฤษ ความอาวุโส ได้แก่ เป็นประธานศาลฎีกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายกรัฐมนตรี ประธานองคมนตรี นอกจาก นั้นยังมาจากครอบครัวที่เป็นขุนนางเก่าแก่โดยบิดาเป็นขุนนางระดับสูงของแผ่น ดิน และอาจารย์สัญญาก็มีฐานะในทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับดี ก่อนการถึง อสัญกรรมของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ คือบุคคลที่ประกอบด้วย คุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาติวุฒิ ธนวุฒิ และธรรมวุฒิ ที่กล่าวมาเบื้องต้นคือสถานะของบุคคล บุคคลที่มีสถานะในทางบวกดังกล่าวนั้น ย่อมมีโอกาสที่จะดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ในสังคม ตำแหน่งที่สำคัญในสังคมนั้น มาจาก 3 แหล่ง แหล่งที่หนึ่ง คือตำแหน่งของภาคราชการ เริ่มตั้งแต่องค์พระ ประมุขของประเทศ หัวหน้าฝ่ายบริหารและรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาล ฎีกา เป็นต้น ข้าราชการทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน ตุลาการ รัฐวิสาหกิจ อันได้แก่ ตำแหน่งในระบบราชการ ตำแหน่งที่เป็นตำแหน่งสาธารณะเช่น นายกสมาคม ต่างๆ เช่น นายกสมาคมสตรีอาสาสมัคร นายกสมาคมทหารผ่านศึก นายก สมาคมกีฬา กรีฑา และการกุศลอื่นๆ ประธานมูลนิธิ ฯลฯ ในกรณีของศาสนา นั้นคาบเกี่ยวระหว่างตำแหน่งที่เป็นราชการและตำแหน่งที่เป็นสาธารณะ ตำแหน่ง ในแหล่งที่สามได้แก่ตำแหน่งภาคเอกชน ได้แก่ ธุรกิจเอกชน บริษัท ห้างหุ้น ส่วนจำกัด รวมตลอดทั้งสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคารแห่ง ประเทศไทย ที่กล่าวมาคือรายละเอียด ประเด็นอยู่ที่ว่าผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้จะต้องมี คุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือผสมกันหลายข้อในส่วนที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคล เช่น จะต้องมีคุณวุฒิ และบางตำแหน่งต้องมีวัยวุฒิด้วย กล่าวคือ ต้องมี ประสบการณ์ มีวามอาวุโสพอ และบางตำแหน่งก็อาจจะพิจารณาถึงภูมิหลังทาง ครอบครัวด้วย และในบางตำแหน่งก็ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าจะต้องมีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีความเป็นกลาง ซึ่งได้แก่ธรรมวุฒิ จากสถานะและตำแหน่งก็มาถึงส่วนที่สำคัญยิ่งคือบารมี คำว่าบารมีมีการกล่าวถึง บ่อยครั้งโดยผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจความหมาย แต่ถ้าจะเพียรพยายามอธิบายให้เห็น เป็นรูปธรรมเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก บางครั้งก็พยายามใช้ศัพท์อังกฤษ คือ charisma มาอธิบาย ซึ่งเป็นศัพท์มาจากภาษาลาติน หมายถึงบุคคลที่สามารถดึง ดูดคนอื่นให้เลื่อมใสโดยเชื่อว่าเป็นผู้ที่มีบุญญาธิการ คำว่าบารมีสูงกว่า charisma บารมีหมายถึงการเป็นที่ยอมรับ เป็นที่เคารพนับถือ นิยมชมชอบ และ ศรัทธา โดยเชื่อในคุณความดีของบุคคลผู้นั้น และมีความไว้วางใจที่จะให้บุคคลผู้ นั้นดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ความนิยมชมชอบและชื่นชมอาจจะแปรเปลี่ยนเป็น ความศรัทธาสูงสุดจนถึงขั้นเคารพและบูชาได้ บารมีของปัจเจกบุคคลจะเกิดจาก 3 ส่วนด้วยกัน ในส่วนแรก ปฏิเสธไม่ได้ว่า สถานะต่างๆ ที่กล่าวมา 5 สถานะ คือ คุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาติวุฒิ ธนวุฒิ และธรรม วุฒิ จะเป็นฐานสำคัญของบารมีของปัจเจกบุคคล แต่บารมีจะสูงส่งยิ่งขึ้นเมื่อเข้า ดำรงตำแหน่งระดับสูงในสังคม เช่น ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็น ประธานศาลฎีกา เป็นประธานรัฐสภา เป็นรัฐมนตรี เป็นประธานบรรษัทใหญ่ ฯลฯ ตำแหน่งหน้าที่การงานจะมีส่วนผลักดันให้บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ เป็นที่ รู้จักและมีโอกาสในการทำผลงาน ดังนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงจะสามารถสร้าง สมบารมีได้จนถึงระดับหนึ่ง แต่บุคคลที่จะมีบารมีอย่างแท้จริงจะขึ้นอยู่กับสองส่วนด้วยกัน คือในส่วนของการ กระทำอันได้แก่ผลงาน ซึ่งจะต้องมาจากคุณวุฒิ วัยวุฒิ ในส่วนที่สองคือส่วนที่ เป็นธรรมวุฒิ อันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ จริงจัง อุทิศชีวิตความสุข ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม ไม่ด่างพร้อยในพฤติกรรมส่วนตัว มีคุณธรรม ศีลธรรม และ จริยธรรมเป็นที่ปรากฏ สร้างสมคุณงามความดีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน ก็ จะทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นบุคคลที่มีบารมีอย่างสูงส่ง ดังนั้น บารมีที่มาจาก สถานะบวกตำแหน่ง และการกระทำผสมผสานกับคุณสมบัติในส่วนของธรรมวุฒิ ของผู้ดำรงตำแหน่ง ก็จะกลายเป็นบารมีที่สมบูรณ์ แต่จะมีกรณีซึ่งคนบางคนอาจจะดำรงตำแหน่งที่สำคัญ แต่เนื่องจากขาดคุณวุฒิ ขาดวัยวุฒิซึ่งได้แก่ขาดวุฒิภาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดธรรมวุฒิ ก็อาจจะเป็น บุคคลที่มีอำนาจเนื่องจากตำแหน่งนั้นแต่จะไม่มีบารมี จนมีการกล่าวว่า "นาย ก. มีอำนาจ แต่ไม่มีบารมี" บารมีจึงไม่ได้เกิดจากการดำรงตำแหน่งแต่อย่างเดียว ผลที่สุดแล้วการมีบารมีของบุคคลจะขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและผลงาน ผสมผสานคุณงามความดีที่มีพื้นฐานจากศีลธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต การอุทิศชีวิตและการเสียสละเพื่อผู้อื่น คนที่ไม่มีบารมีอย่างแท้จริงเมื่อหลุดจาก ตำแหน่งก็จะไม่มีใครทักทายปราศรัย หรือคบหาสมาคมด้วย เพราะเป็นเพียง บารมีชั่วคราวอันเกิดขึ้นระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ ตรงกันข้าม คนบางคนแม้จะ ออกจากตำแหน่งแล้วคนก็ยังเคารพกราบไหว้ด้วยความชื่นชม เพราะบุญบารมีที่ ได้สร้างสมไว้จนติดตัวผู้นั้น คนที่มีสถานะสูงเช่น คุณวุฒิสูงแต่มีพฤติกรรมที่น่า รังเกียจ ทรยศต่อจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ แม้จะดำรงตำแหน่งระดับสูงคนก็จะ รังเกียจไม่ให้ความเคารพนับถือ บุคคลเหล่านี้ก็จะเป็นคนที่ไม่มีบารมี แม้จะมาก ด้วยความรู้หรือคุณวุฒิ และตำแหน่งหน้าที่การงานก็ตาม หรือในกรณีคนที่มีฐานะ ร่ำรวยจากมิจฉาชีพ จากการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนกลายเป็นเศรษฐีมีธนวุฒิแต่ก็จะ ไม่มีเกียรติและศักดิ์ศรีอย่างแท้จริง และย่อมจะไม่มีบารมี สถานะ ตำแหน่ง และบารมี เป็นเรื่องที่ซับซ้อนละเอียดอ่อน และเป็นเรื่องที่ ต้องทำความเข้าใจอย่างถึงแก่น มิฉะนั้นอาจจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดๆ ที่ว่า เมื่อมีตำแหน่งอำนาจแล้ว บารมีก็จะเกิดขึ้นเอง ซึ่งอาจเป็นจริงเพียงชั่วครู่ชั่ว ยาม แต่บารมีที่แท้จริงย่อมเกิดจากผลงานและการกระทำผนวกกับธรรมวุฒิของ บุคคลผู้นั้นเป็นหลัก มหาชนเป็นเรือนแสนเรือนล้าน และเป็นสิบๆ ล้าน ที่น้ำตาคลอเบ้าด้วยความปลื้มปิ ติและตื้นตันใจในงานฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระภัทรมหาราช จะอธิบายด้วยเหตุผลใดไม่ได้เลยนอกเสีย จากพระบารมีอันยิ่งใหญ่ขององค์พระประมุข ซึ่งเกิดจากสถานะของการเป็นเลือด ขัตติยาแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ของประเทศไทยอันประกอบด้วยประชากร 65 ล้านคน แต่ที่สำคัญที่สุด พระ บารมีอันเปี่ยมล้นซึ่งเกิดจากพระราชกรณียกิจและพระจริยาวัตรอันงดงาม โดย เฉพาะอย่างยิ่งจากการทรงงาน ทรงอาบพระเสโทต่างวารี เพื่อความผาสุกของ พสกนิกร โดยเห็นได้จากโครงการพระราชดำริเป็นพันๆ โครงการบนพื้นฐานของ ความรู้และปัญญา รวมตลอดทั้งโครงการพระราชกุศลจากพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ ในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรและเป็นแนวทางการดำรง ชีวิตตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" และที่สำคัญคือการที่ทรงธำรงอยู่ ในทศพิธราชธรรมเพื่อความเจริญของบ้านเมืองและเพื่อประโยชน์สุขของอาณา ประชาราษฎร์ ตามพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" องค์พระประมุขจึงเปี่ยมด้วยพระบารมีอัน เกิดจากชาติวุฒิ คุณวุฒิ วัยวุฒิ ธนวุฒิ และธรรมวุฒิ องค์พระประมุขจึงทรงเป็น พระมงกุฎของชาติไทยและทรงเป็น "พ่อหลวงของคนไทยทั้งแผ่นดิน" __._,_.___ |