หัวข้อ: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: koo ที่ 29-06-2006, 10:22 ในยุคทักษินครองเมือง ผมรู้สึกว่ามีภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปจาก ความเข้าใจสมัยเป็นเด็กของผม
คำแรกคือ "ชาติหน้าตอนบ่ายๆ" เมื่อตอนเป็นเด็กได้ยิน อ่าน (หรือพูดด้วยละมั้ง) คำนี้บ่อยมาก อย่างแข่งขันอะไรกัน เราก็ปรามาสคู่ต่อสู้ไว้ก่อนเลย คิดชนะผม ชาติหน้าตอนบ่ายๆโน้น :D หรือเรื่องเกี่ยวกับความรักเหมือนจะเคยอ่าน คิดจะเป็นแฟนกับฉันรึ ชาติหน้าตอนบ่ายๆเถอะจ๊ะ (อันนี้ยังมีหวังชาติหน้าก็ยังดี) หรือเกี่ยวกับเรื่องการวิจารณ์เรื่องต่างๆ ก็ยังมีใช้ ยกเลิกการผลิตบุหรี่ ชาติหน้าตอนบ่ายๆโน้น ร้านเกี๋ยวลุงป๋องจะเปิดแฟรนชายไปขายเมกา ชาติตอนบ่ายๆเถอะลุง มาเจอท่านผู้นำพูดคำนี้เข้าไป ปัจจุบันคำนี้เป็นคำที่ตายไปเสียแล้ว หากใครใช้ก็จะเจอสวน อ๋อ อีก1เดือนใช่ไหม , ชาติหน้ามันก็ไม่นานนี่ , ฯลฯ เล่นเอาคนที่ปรับตัวกับการเปลื่ยนแปลงนี้ไม่ทันเสียมวยไปซะหลายยก แต่ก็ทำให้หลายๆคนมีความหวังขึ้นมาทันที เพราะเคยมีเกจิ จำนวนมากทำนายเอาไว้ว่า ทีมชาติไทยจะไปบอลโลกได้ต้องชาติหน้าตอนบ่ายๆ หยั่งนี้ก็มีหวังแล้วละซิ :mrgreen: คำต่อมาก็โจรกระจอก คำนี้มีไว้ดูถูก มิจฉาชีพมือละอ่อน (ซึ่งส่วนใหญ่มักจะทำครั้งแรก) ประเภท เอาปืนปลอมไปจี้แบงค์ โดน รปภ. อัดน่วม ส่งให้ตำรวจ หรือจะจี้แบงค์แต่เกิดไปผิดที่ ไปจี้ สถานีตำรวจ :mrgreen: หรือเอามีดไปจี้ขอทาน จี้แม่ค้ากล้วยกล้วยปิ้ง โดนข้อหาโจรกระจอกทั้งนั้น ปัจจุบัน คำนี้ ฟังแล้วแสลงหูอย่างมาก เพราะท่านผู้นำ(อีกแล้ว) ได้ดูถูกคนกลุ่มหนึงว่าเป็นโจรกระจอก ผ่านไป6ปี ท่านยังไม่สามารถทำให้ปัญหาจากโจรกระจอกนี้เบาบ้างลงได้เลย มีแต่ทำให้ คนทั้งประเทศขุ่นข้องหมอง ระคนโศกเศร้า จากเหตุการณ์ ตันหยงลิมอร์ และ รร.บ้านกูจิงลือปะ(ตอนเหตุการณ์ครูจุ้ยนี่ผมน้ำตาซึมเลย) ตอนนี้เลยไม่อยากเห็นใครเขียนคำนี้ น่าจะไปใช้คำว่า โจรตาถั่ว โจรอ่อนหัด โจรซื้อบื้อ ไปตามเหตุการณ์ ดีกว่า แต่... โจรนี่อาจจะกระจอกจริงๆก็ได้ เพราะตั้งกี่ปีแล้ว ราษฎรกับข้าราชการในภาคใต้ ตายไปประมาณ x,xxx คน(ไม่รู้ตัวเลขแฮะ) ท่านประกาศสงครามเปรี้ยงเดียว 2500คน ตายเพราะโดนตัดตอนทันที หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: hison ที่ 29-06-2006, 10:45 คุณ koo มีวิธีการเขียนเรื่อง น่าสนใจมาก สงสัย ทอป ภาษาไทย
ขอให้ทำรายการ ภาษาไทย กับ การเมืองวันละคำ จะคอยติดตามอ่านครับ :mrgreen: หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: hison ที่ 29-06-2006, 10:50 ม.7
คำนี้ คุณ koo ให้ความหมาย ยังไงครับ :D หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: ลูกไทย หลานไทย ที่ 29-06-2006, 10:57 บางทีผมก็สงสารเขานะครับ ความน่าเชื่อถือทางคำพูดของคุณทักษิณลดลงอย่างน่าเป็นห่วงแทน(ว่าไปผมก็ไม่ได้เป็นห่วงสักเท่าไหร่หรอกครับ)
แต่พูดถึงความหมายภาษาไทยที่เปลี่ยนไป ผมก็เลยนึกไปถึงภาษาไทยที่เปลี่ยนไปจากความหมายเดิมของมันอันอื่นๆที่ไม่จำเป็นต้องเป็นในช่วงคุณทักษิณ คำว่าตุ๋ย เดี๋ยวนี้ก็มีความหมายในทำนองการมีเพศสัมพันธ์โดยเกย์คิง ประเทือง มีอยู่ช่วงหนึ่งก็หมายถึงกระเทย ตอนนี้ก็ไม่ค่อยจะฮิตๆกัน ซ่าส์ ผมเข้าใจว่ามาจากสมัยผมเด็กๆเป็นการเปรียบเทียบกริยาที่มันเกินเลยเสมือนฟองน้ำอัดลมที่มันผุดพร่างพรายซ่า สมัยผมเริ่มเป็นวัยรุ่น เขาก็ฮิตศัพท์หนึ่งคือคำว่า เด็กฮาร์ด (แปลตรงๆไม่รู้เรื่อง แต่เข้าใจในความหมายรวมว่าหมายถึงเด็กที่ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจหรือยอมรับในพฤติกรรม) มีเพลงนี้ออกมาดังได้ช่วงหนึ่ง เกรียน อันนี้เป็นคำฮิตของเด็กสมัยปัจจุบัน ยังมีศัพท์ที่บัญญัติออกมาใหม่เช่น กางเกงเจเจ เอ้อ คำนี้ผมต้องไปถามน้องผู้หญิงที่ทำงาน ได้ความว่าเป็นกางเกงผ้าเชือกรูด สีแดงๆลายดอกไม้เล็กๆยิบๆเต็มไปหมด แซ้บ สก๊อย แว้น ฯลฯ ที่เป็นคำเรียกวัยรุ่นจำพวกต่างๆ บางทีผมก็สังเกต เออ เขาแบ่งกลุ่มได้ใกล้เคียงครับ หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: That's right. ที่ 29-06-2006, 10:58 อ้ายโม่งละ..ให้ความหมาย ยังไง??
หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: koo ที่ 29-06-2006, 11:16 ม.7 คำนี้ คุณ koo ให้ความหมาย ยังไงครับ :D คำว่า ม.7 นี้ สมัยก่อนมักนิยมใช้โดยผู้สูงอายุ ที่เรียนจบม.7กัน(มักจะวงเล็บท้ายคำด้วยว่าสมัยก่อนมีถึง ม.7) ซึ่งสมัยก่อน มีถึง ม.7หรือ ม.8 ผมเคยอ่านแต่เอาทิ้งน้ำไปแล้ว(ลืม :oops: ) คุณอภิสิทธิ์ ได้ฉายานี้ มาจากการที่เขา เรียกร้องให้ นายกทักษินลาออก แล้วขอนายกพระราชตามมาตรา7 ซึ่งเป็นมาตราต้นๆซึ่งเป็นภาพรวมของรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นความหมายเลยกว้าง มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พอ ในหลวงทรงมีพระราชดำรัส (ไม่ขอเอ่ยถึงเนื้อความเพราะต้องยกมาทั้งหมด) ทำให้มาตรา7 ที่อภิสิทธิ์เสนอ ต้องมีอันเลิกพูดถึงไป กองเชียร์ ของนายกใจดีมอบ ฉายา ม.7 ให้มาร์ค ตามด้วยลิ่วล้อจำนวนมาก เล่นตามน้ำบอกว่ามาร์ค จบ ม.7 ทำให้ตอนนี้คงไม่มีคนสูงอายุ ยืดว่าเคยจบ ม.7 รุ่นนั้นรุ่นนี้แล้ว :D เป็นที่น่าเสียดาย หากคุณอภิสิทธิ์ เรียกร้องให้นายกใช้มาตรา 313 ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉีกทิ้งกันไปเลย :shock: ฉายาของ คุณอภิสิทธิ์ ก็ จะกลายเป็น มาร์ด ม. 313 :mrgreen: อึ้งกันไปเลย :mrgreen: หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 29-06-2006, 14:26 ขออนุญาตเสริมครับ
ไอ้โม่ง หมายถึง ลูกน้ำหัวโต นิยมใช้เป็นอาหารปลากัด นัยว่าทำให้ปลากัดกัดเก่ง โตเร็ว หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: koo ที่ 29-06-2006, 16:04 อ่าครับ ไอ้โม่ง คำนี้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
แรกเริ่มเดิมที ใช้กับ 1.ผู้ชาย(1คนหรื่อมากกว่านั้นก็ได้) 2.กระทำเรื่องไม่ดี และ 3.ในขณะกระทำการนั้น ได้สวนมหมวกไหมพรม หรือถุงหน่องผู้หญิงเพื่อปิดบังใบหน้า ถ้าหากครบตามเงื่อนไขนี้ จะสามารถใช้คำว่าไอ้โม่งได้ทันที เช่น ไอ้โม่ง 3คนบุกปล้นร้านทองกลางเมือง ไอ้โม่ง บุกพังร้านข้าวแกงในตลาดxx ถ้าหาก ไม่เข้าเงื่อนไขนี้จะไม่ใช่ไอ้โม่งแน่นอน ต่อมาเริ่มวิวัฒนาการของไอ้โม่งเริ่มมองไม่เห็นตัวมากขึ้น หลังจากเมื่อก่อนเห็นตัวแต่ไม่เห็นใบหน้า แต่อาจจะมีการบอกใบ้เกี่ยวกับตัวไอ้โม่งให้รู้ คดีฆ่าเจ้ามือหวยรายนี้ มีไอ้โม่งตำแหน่งสารวัตรอยู่เบื้องหลัง พอมาถึงยุคนี้ ไอ้โม่งกลายเป็นของลึกลับ ที่ฟังๆดูคิดไม่ออกว่าใคร :? เช่น การที่สนธิ ออกมาต่อต้านทักษิน มีไอ้โม่งบงการอยู่เบื้องหลัง :oops: คิดตัวอย่างไม่ออกแล้ว :oops: เดี๋ยวนี้ไม่เคยสนใจคำว่าไอ้โม่งเลย เลยไม่รู้มีข่าวอะไรเกี่ยวกับไอ้โม่งบ้าง :( คาดว่าต่อไปในอนาคต แนวโน้นของคำว่า ไอ้โม่ง จะใช้หลอกเด็ก อย่าไปเล่นที่รกๆนะ เดี๋ยวไอ้โม่งมันออกมาหักคอ ถ้าไม่รีบนอน เดี่ยวเรียกไอ้โม่งมากินตับเลย :mrgreen: :mrgreen: หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: ตลก ที่ 29-06-2006, 18:20 อ้ายโม่งละ..ให้ความหมาย ยังไง?? คำว่า ไอ้โม่ง คือ นามสมมุติ ซึ่งผู้พูด ไม่รู้ว่าชื่อจริงของไอ้โม่งคืออะไร แต่ก็พูดไว้ก่อน พูดขึ้นมาลอยๆ หาหลักฐานไม่เจอ ไงล่ะครับ หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: นายเบียร์ ที่ 29-06-2006, 18:28 สมัยผมเริ่มเป็นวัยรุ่น เขาก็ฮิตศัพท์หนึ่งคือคำว่า เด็กฮาร์ด (แปลตรงๆไม่รู้เรื่อง แต่เข้าใจในความหมายรวมว่าหมายถึงเด็กที่ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจหรือยอมรับในพฤติกรรม) มีเพลงนี้ออกมาดังได้ช่วงหนึ่ง คำว่าเด็กฮาร์ดผมเคยอ่านเจอในการ์ตูนสมัยเก่าๆที่พิมพ์ซัก 20 ปีก่อน ได้อ่านโดยการไปคุ้ยสมบัติที่อาผมเก็บไว้ น่าสงสัยครับว่าใช้ในบริบทไหนบ้าง :roll: คำที่ความหมายไม่เปลี่ยนอย่างคำว่าชู้ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังถูกมองไม่ดีเหมือนเดิม แต่คนยุคนี้หาทางออกโดยสร้างคำใหม่ให้ไม่รู้สึกแย่มากไปดดยใช้คำว่ากิ๊ก คุณkoo มีความเห็นว่าไงบ้างละครับ? หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: ตลก ที่ 29-06-2006, 18:30 กิ๊ก แปลว่า เล็กๆน้อยๆ ไม่จริงจัง ไม่ใช่ตัวจริง มั้งครับ :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
ผมล้อเล่นน่ะครับ หัวข้อ: Re: ภาษาไทยที่ความหมายเปลื่ยนไปในยุคนี้ เริ่มหัวข้อโดย: koo ที่ 29-06-2006, 19:24 ถ้าเรื่องคำว่าเด็กฮาร์ด ผมเกิดไม่ทันคร๊าบ :mrgreen:
ส่วนเรื่องคำว่า กิ๊ก ซึ่งสามารถแปลได้ความหมายกว้างมาก เพราะมีการใช้พร่ำเพื่อ :( แปลได้ตั้งแต่ แค่นึกชอบในใจ จนถึงขั้นมีบทพระนางกันเลยทีเดียว จะว่ามันมาแทนคำว่าชู้มันก็กว้างมากกว่านั้นมาก คำนี้มันหลายง่ามง่า :( |