ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: นทร์ ที่ 28-06-2006, 11:09



หัวข้อ: ขั้นตอน"ยุบพรรค" กับวิกฤตการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 28-06-2006, 11:09
ขั้นตอน"ยุบพรรค" กับวิกฤตการเมือง 
คอลัมน์ มติชนวิเคราะห์

มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองซึ่งมีอยู่ 3 วงเล็บถูกอัยการสูงสุดนำมาใช้เป็นฐานสำหรับการดำเนินการยุบพรรคการเมือง 5 พรรค โดยยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ สามารถแจกแจงได้ ดังนี้

มาตรา 66 เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง

(1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ได้แก่ พรรคไทยรักไทย

(2) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์

(3) กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ได้แก่ พรรคไทยรักไทย, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคแผ่นดินไทย, พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า และพรรคพัฒนาชาติไทย

แม้จะยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวางแนวการพิจารณาอย่างไร ในเมื่อมีพรรคการเมืองถึง 5 พรรค จะแยกพิจารณาให้เสร็จทีละพรรค หรือพิจารณารวมพรรคโดยถือเอาฐานความผิดเป็นเกณฑ์

แต่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น อัยการ และ กกต.(นายทะเบียนพรรค คือประธาน กกต.เป็นผู้ส่งคำร้องมายังอัยการสูงสุด) จะอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ที่จะต้องแสดงพยานหลักฐานต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 15 คนว่า พรรคการเมืองทั้ง 5 พรรคกระทำขัดต่อมาตรา 66 สมควรถูกยุบพรรค ในขณะที่พรรคการเมืองทั้ง 5 พรรค บางพรรคอาจต่อสู้ว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่กล่าวหา และบางพรรคอาจยอมรับสารภาพ

ในการต่อสู้ของพรรคการเมืองใหญ่อย่างไทยรักไทยและประชาธิปัตย์ในชั้นศาลรัฐธรรมนูญ ก็คือ นอกจากจะปฏิเสธการกระทำตามข้อกล่าวหาของอัยการสูงสุดและ กกต.แล้ว การแยกตัวบุคคลออกจากพรรคการเมืองก็เป็นแนวทางที่จะนำมาใช้ เช่น พรรคไทยรักไทยไม่เคยมีมติพรรค และหัวหน้าพรรคไม่เคยสั่งการหรือมอบหมายให้ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ผู้ถูกกล่าวหา ไปจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง

ว่าไปแล้ว คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงส่วนใหญ่จาก 15 คนจึง "ดิ้น" ได้ สุดแท้แต่ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนจะเห็นอย่างไร เสียงส่วนใหญ่อาจให้ยุบหรือไม่ให้ยุบก็ได้ บางคนอาจดูทิศทางลมของอำนาจหรือกระแสสังคมในขณะนั้น

หากคำวินิจฉัยออกมาให้ยุบพรรคก็ไม่ได้หมายความคนในพรรคนั้นจะหมดหนทางทำมาหากินทางการเมืองได้อีกต่อไป ใน พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 69 บัญญัติเพียงการห้ามกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบไม่ให้ไปจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการขอจัดพรรคการเมืองใหม่ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นถูกยุบ

แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามกรรมการบริหารและสมาชิกของพรรคที่ถูกยุบไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคอื่นเพื่อลงสมัคร ส.ส.และไม่ได้ห้ามเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี

มีเงื่อนปมของระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องที่จะส่งผลถึงสถานการณ์การเมืองที่อาจนำไปสู่วิกฤตการณ์รอบ 2 นั่นก็คือ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคก่อนเปิดรับสมัคร (ร่างพระราชกฤษฎีกาที่รัฐบาลเสนอสำนักราชเลขาธิการ กำหนดวันรับสมัครต้นกันยายน 2549) หรือเปิดรับสมัครแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. (เลือกตั้งวันที่ 15 ตุลาคม 2549) ผู้นั้นก็จะหมดสิทธิการลงสมัคร แต่ถ้าให้ยุบหลังเลือกตั้งและประกาศรับรอง ส.ส.แล้ว ส.ส.ของพรรคก็มีสิทธิไปหาพรรคใหม่สังกัดได้

ล็อคอีกอันที่ยังไม่ถูกปลด นั่นคือ กกต.ชุด 3 เสือที่เหลืออยู่ ถ้ายังจัดการเลือกตั้งย่อมไม่มีใครยอมรับได้ ถ้าจะลาออก ก็ต้องให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหาแล้วส่งรายชื่อ 10 คนไปให้ที่ประชุมวุฒิสภาคัดเลือกเลือก 5

ไม่ว่า กกต.ชุดนี้จะอยู่หรือไปก็ล้วนแต่เกิดปัญหาทั้งสิ้น
 
มติชน


หัวข้อ: ทรท 66(1) 66(3) ปชป+3พรรคเล็ก 66(2) 66(3)
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 28-06-2006, 11:12
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีมติเป็นเอกฉันท์ 11 เสียง เห็นควรเสนอให้อัยการสูงสุดดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า และพรรคประชาธิปัตย์ ตามสำนวนชี้มูลความผิดของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่เห็นว่าพรรคการเมืองทั้งสี่ กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 66 (2) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และ (3) กระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
 
ที่ประชุมยังมีมติเป็นเอกฉันท์ 11 เสียง เห็นควรเสนอให้อัยการสูงสุดดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคไทยรักไทย กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 (1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ (3)  กระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะเสนอมติพร้อมร่างคำร้องให้อัยการสูงสุดพิจารณาและตรวจสอบคำร้องในการยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองทั้งห้าพรรค



หัวข้อ: Re: ขั้นตอน"ยุบพรรค" กับวิกฤตการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: In The Name Of Justice. ที่ 28-06-2006, 11:17
(1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ได้แก่ พรรคไทยรักไทย

อ้าวซะอย่างงั้น ไหนว่ารักษากติกา รักษาประชาธิปไตยไงอ่ะ?  :shock:


หัวข้อ: Re: ขั้นตอน"ยุบพรรค" กับวิกฤตการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 28-06-2006, 11:20
(1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ได้แก่ พรรคไทยรักไทย

อ้าวซะอย่างงั้น ไหนว่ารักษากติกา รักษาประชาธิปไตยไงอ่ะ?  :shock:

ข้อหาที่ 1 ของ ทรท รุนแรงที่สุดครับ

แต่จากการวิเคราะห์... จากหลายทาง ดูเหมือนเกมส์นี้แปลกๆ


หัวข้อ: Re: ขั้นตอน"ยุบพรรค" กับวิกฤตการเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: Limmy ที่ 28-06-2006, 13:00
ตอนแรกผมเข้าใจว่าโดนมาตรา 67 วงเล็บ 2 กับ วงเล็บ 3 ทั้ง 5 พรรค เพราะมาตรา 66 วงเล็บ 1 ค่อนข้างร้ายแรง

ถ้าทรท. โดนข้อหานี้จริง ๆ ถือว่าหนักมาก เพราะเกี่ยวพันกับโทษทางอาญาด้วย  ต้องคอยติดตามดูกันต่อว่าการบังคับใช้กฎหมายจะเป็นอย่างไรครับ