ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: แมว มหาภัย ที่ 16-09-2008, 09:17



หัวข้อ: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: แมว มหาภัย ที่ 16-09-2008, 09:17
หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐส่งสัญญาญเตือนจากหนี้เสียมาหลายรอบ  ตอนนี้ส่งสัญญาญยืนยันชัดเจนว่าสหรัฐเข้าสู่สภาวะถดถอยอย่างชัดเจน  และถดถอยขนาดหนักด้วย  ปู่อลัน กรีนสแปนด์ ผู้ว่าแบงค์ชาติสหรัฐบอกว่า  อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบ ๑๐๐ ปี  นั่นหมายถึงการจ่ายใช้สอยในสหรัฐจะลดลง  อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง   เราจะทำอย่างไรในเมื่อสหรัฐ และ ทั่วโลกแรงซื้อลดต่ำลงอย่างมากนับตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป

    เรื่องนี้ใหญ่โตกว่าการเมืองใหม่ หรือ การเมืองเก่าเยอะ  การเมืองใหม่ผมก็เห็นด้วยแต่ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน  หาทางให้บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบเตรียมพร้อมรอรับ  ซึนามิทางเศรษฐกิจลูกนี้ดีกว่า  ถ่าเรายังมีปัญหากันอยู่อย่างนี้  เราจะไม่เข้มแข็งพอที่จะสู้กับคลื่นลมในความแรงระดับนี้ได้เลย

    อาจจะไม่ต้องถอย  แต่ควรหยุด  แล้วหาทางเจรจาให้ได้แผนผัง และโรดแมป  ของการเมืองใหม่มาก่อนแล้วยุติการชุมนุมครับ  ข้อเรียกร้องเปลี่ยนทุกวัน  อะไรอะไร  ก็ไม่เอา  เรากำลังจะกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาประชาชนแล้วครับ. 


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 16-09-2008, 09:22
หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐส่งสัญญาญเตือนจากหนี้เสียมาหลายรอบ  ตอนนี้ส่งสัญญาญยืนยันชัดเจนว่าสหรัฐเข้าสู่สภาวะถดถอยอย่างชัดเจน  และถดถอยขนาดหนักด้วย  ปู่อลัน กรีนสแปนด์ ผู้ว่าแบงค์ชาติสหรัฐบอกว่า  อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบ ๑๐๐ ปี  นั่นหมายถึงการจ่ายใช้สอยในสหรัฐจะลดลง  อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง   เราจะทำอย่างไรในเมื่อสหรัฐ และ ทั่วโลกแรงซื้อลดต่ำลงอย่างมากนับตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป

    เรื่องนี้ใหญ่โตกว่าการเมืองใหม่ หรือ การเมืองเก่าเยอะ  การเมืองใหม่ผมก็เห็นด้วยแต่ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน  หาทางให้บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบเตรียมพร้อมรอรับ  ซึนามิทางเศรษฐกิจลูกนี้ดีกว่า  ถ่าเรายังมีปัญหากันอยู่อย่างนี้  เราจะไม่เข้มแข็งพอที่จะสู้กับคลื่นลมในความแรงระดับนี้ได้เลย

    อาจจะไม่ต้องถอย  แต่ควรหยุด  แล้วหาทางเจรจาให้ได้แผนผัง และโรดแมป  ของการเมืองใหม่มาก่อนแล้วยุติการชุมนุมครับ  ข้อเรียกร้องเปลี่ยนทุกวัน  อะไรอะไร  ก็ไม่เอา  เรากำลังจะกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาประชาชนแล้วครับ. 


สถานการณ์นี้ จะหวังให้ได้'ดีพร้อม'ทั้งหมดไม่ได้......
ควรจะขัดขวางไม่ให้แกนนำพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่....

ให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ เผื่อว่าจะมี'น้ำดี'เข้าสภามากกว่าเดิม ลดความเข้มข้นของ'น้ำครำ'.......!!!




หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: E-pen ที่ 16-09-2008, 09:23
ปีที่แล้วเผาหลอก  

ปีนี้เผาจริง

ปีหน้าเผาเกลี้ยง




งานนี้พวกรากโง่รากงั่ง นปก. มันจะเอาอะไรกิน


 :slime_shy:



หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: นู๋เจ๋ง ที่ 16-09-2008, 09:25
ปิดบ้าน
ปิดประตู ปิดหน้าต่าง ตีแมวสกปรกในบ้านให้เรียบร้อยก่อนค่ะ
หยุดไม่ได้ เพราะแมวสกปรกมันวิ่งชนข้าวของเสียหาย สกปรกไปหมด
จับขังให้ได้ก่อนนะ

ในบ้านเรียบร้อยเสียก่อน ... เรื่องนอกบ้าน ค่อยว่ากันค๊า


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 16-09-2008, 09:26
การเมืองใหม่นั่นแหละครับ คือ ทางออก

การเมืองที่ไม่ส่งเสริมให้ประชาชนฟุ้งเฟ้อ (แล้วมีคนคอยรับประโยชน์) แต่ก็ไม่ประหยัดจนขี้เหนียว เศรษฐกิจไม่เดิน   ถ้าไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดไปเอง มีซึนามิทางเศรษฐกิจอะไรมาก็ไม่กลัว ดู New Zealand เป็นต้น


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Puggi ที่ 16-09-2008, 09:27
    อาจจะไม่ต้องถอย  แต่ควรหยุด  แล้วหาทางเจรจาให้ได้แผนผัง และโรดแมป  ของการเมืองใหม่มาก่อนแล้วยุติการชุมนุมครับ  ข้อเรียกร้องเปลี่ยนทุกวัน  อะไรอะไร  ก็ไม่เอา  เรากำลังจะกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาประชาชนแล้วครับ. 


 เห็นด้วยครับ  เรื่อง เลอแมน นี่ใหญ่มาก ดูท่าจะเป็นก้อนภูเขาน้ำแข็ง ส่วนที่เหลือกำลังโผล่มา

  ดู aig กับ โกลแมนแซค ให้ดี หากว่าแก้เลอแมนไม่เสร็จ  สองตัวนี้ มีปัญหาได้ เน่าสนิทแน่
  ยังไม่นับ  พวก hedge fund ที่ได้มีปัญหาต่อ แน่ เพราะพวก commodity กำลังร่วงแล้ว น้ำมัน ก็ลงหนัก
  แก้ไม่ดี วิกฤต หนักมากครับ

 พันธมิตร  ไม่อยากให้ตึงเกินไป  ครับ หากกระแส สวิงกลับเมื่อไหร่ ก็หมาหัวเน่าเท่านั้น   ควรจะเล่นให้เป็นไม่ใช่ ว่าไอ้นู่นก็ไม่เอา ไอ้นีก้ไม่เอา จะเอาแบบนี้เท่านั้น
 แม้จะเห็นด้วยกับการเมือง ใหม่  ที่อยากให้ดีขึ้นกับประเทศ แต่ว่า มันต้องใช้ระยะเวลา ครับ
 


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอ
เริ่มหัวข้อโดย: -3- ที่ 16-09-2008, 09:33
เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยท่านได้แน่นอนครับ  :slime_worship:


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 16-09-2008, 09:42
แน่นอนครับ เศรษฐกิจ พอเพียง ช่วยได้แน่นอนที่สุด....

ปัญหา ในอเมริกา ยังไม่จบหรอกครับ....เมื่อเลห์แมน กับ เมอริลลิ้นซ์ มีปัญหา...

จะส่งผลกระทบเป็นโดมิโน ไปยังสถาบันการเงิน อื่น ๆ ในอเมริกามากขึ้นแน่นอน....

ผีเพิ่งเริ่มแตก แต่คงใช้เวลาครับ....เพราะ ฝีเม็ดนี้ ใหญ่เหมือนภูเขา

ผมยังมองว่า ประเทศไทย จะเกิดผลเพียงแค่ระยะสั้น เท่านั้นแหละครับ....เพียงแต่ว่า...

เราได้รัฐบาลที่ดีกว่านี้ ปัญหาความวุ่นวายน้อยลงกว่านี้.....

เพราะ ระยะหนึ่ง ...เงิน จะไหลออกจากอเมริกา แน่นอน....ตอนนี้ ที่ลงที่ดีที่สุด

ถูกที่สุด ก็แถบอาเซี่ยนนี่แหละครับ......

ไอ้รัฐบาลโง่เง่า พวกนี้ ไม่มีปัญญาหรอกครับ....ตราบใดที่ เอาหมอซื่อบื้อ ไม่มีน้ำยา มาเป็นรัฐมนตรีคลัง...

เอาพยาบาล มาช่วยคลังอีกต่างหาก......ที่ยังพอวางใจได้อยู่บ้าง ก็แบ็งค์ชาตินี่แหละครับ ถ้าหากยังรับมือ

บอร์ดชั่ว ๆ ที่มันตั้งเข้าไป ไหว


ในขณะเดียวกัน อเมริกา จะมีสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาวนานทีเดียวครับ...ให้ลองย้อนกลับไปดู ประเทศไทย

กับ อเมริกา ก่อนฟองสบู่แตก...ถอยหลังไป ซัก 10-15 ปี....


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: mebeam ที่ 16-09-2008, 09:52
เค้าว่าจะรักษาแผล ต้องขูดเอาหนองออกก่อน
ตอ้ง ประชาชนเดือดร้อน เรื่องธรรมดา

เค้าว่า ถ้าปล่อยให้มีการบริหารโดยใช้ระบบการเมืองอย่างปัจจุบันชาติจะล่มจม เสียหาย
ก้เลยต้องจัดการดังเช่นปัจจุบัน

ตอนนี้ ใครมาเป็นนายก ก็ไม่เอา
อะไรก็ไม่เอา จะ เอาระบอบการเมืองใหม่

ระบอบการเมืองใหม่  มีรายละเอียดอย่างไร
ไม่รู้ ยังไม่ได้คิดรายละเอียด รู้แต่โสลแกน กับ คีย์เวิร์ด ประชาภิวัฒน์
ปัญหาที่จะตามมา  ยังไม่ได้คิด  แต่ต้องเปลี่ยน เป็นชาติแรกในโลก

สรุป ประท้วงทำให้ชาติไม่สงบนี่ เพราะกำลังเรียกร้อง ในสิ่งที่ยังไม่มีบทสรุปเลย
แล้วมันจะยาวนานอีกถึงเมือไหร่  สงสัยชาติเรา คงล่มจมก่อนได้ใช้ระบอบการเมืองใหม่เป็นแน่แท้

ตอนนี้พันธิตรคงไม่สนในเรื่องที่เจ้าของกระทู้  พูดหรอก เพราะมัวแต่ จาเอาระบอบการเมืองใหม่ อยู่
ประเทศไทย คงเข้าสู่สถานการณ์ เศรษฐกิจถดถอย  โดยที่ยังอยู่ในอาการโคม่าอยู่

คิดแล้ววังเวงจัง   :slime_surrender:




หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: E-pen ที่ 16-09-2008, 09:56
รอดูข่าวว่า อาจมีธนาคารของอเมริกา ล้มอีก 1 ธนาคาร ในอนาคตใกล้ ๆ นี้..



งานนี้ คนติดตามข่าวสารข้อมูล ต้องประคองตัวอย่างพอเพียง ไม่หาเหาใส่หัวทำอะไรเกินตัว 



เก็บของเก่ากินอย่างประหยัด  ....ดีกว่าไปสร้างหนี้เพิ่มเพื่อหวังน้ำบ่อหน้า


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: noppon ที่ 16-09-2008, 11:01
พวกที่บอกว่าพันธมิตรฯ อะไร ๆ ก็ไม่เอาน่ะ แหกตาดูหรือเปล่าครับ
มีแต่ของเน่า ๆ เสีย ๆ มาให้เลือก จะไปเลือกทำไม

ใครกลัวผลกระทบจากปัญหาที่ จขกท. ว่า ก็ท่องคาถาเอาไว้สิครับ พอเพียง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

กำจัดวงจรอุบาทว์ทางการเมืองแบบปัจจุบันไปได้ ประเทศไทยมีแต่จะเจริญขึ้นครับ
แต่ถ้าปล่อยไว้ มีแต่จะล่มจม


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: ริวเซย์ ที่ 16-09-2008, 11:49
ปัญหาที่ว่ากระทบประเทศไทยมานานแล้วครับ

ขออนุญาตอัพเดดข่าวครับ


สหรัฐฯวิกฤตรุนแรงสุดในศตวรรษ! บ.ยักษ์ล้ม-ทรุดระนาว  
 
 
โดย มติชน วัน อังคาร ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551 00:00 น.
 
 สหรัฐอ่วม! บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ เซหนักวิ่งโร่ขอกู้เฟด 4 หมื่นล้านดอลลาร์ เลห์แมน หนี้ท่วมต้องยื่นศาลขอล้มละลาย ด้าน เมอร์ริล ลินช์ ไปไม่รอด ขายกิจการให้ เอไอจี ธปท.ชี้กระทบแบงก์ไทยวงจำกัด แค่ 4.3 พันล้าน ส่วนตลาดหุ้นดิ่งต่ำสุดในรอบ 20 เดือน
 
เลห์แมน หนี้ท่วมยื่นล้มละลาย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หนี้เสียและการขาดทุนมหาศาลจากวิกฤตสินเชื่อบ้านที่ปล่อยกู้แก่ผู้มีเครดิตต่ำกว่ามาตรฐาน (ซับไพรม์) ในสหรัฐอเมริกา ทำให้เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น เลห์แมน บราเธอร์ วาณิชธนกิจใหญ่อันดับ 4 อายุเก่าแก่ 158 ปี ของสหรัฐอเมริกา ประกาศว่าจะยื่นขอล้มละลายต่อศาลล้มละลายในนครนิวยอร์กตามมาตรา 11 เพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์และดำเนินธุรกิจต่อไป หลังจากการเจรจาหาผู้ซื้อกิจการเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมาล้มเหลว ส่วนเมอร์ริล ลินช์ วาณิชธนกิจและบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอีกแห่งที่ขาดทุนมหาศาลจากสินเชื่อซับไพรม์นั้น ทางแบงก์ ออฟ อเมริกา ได้ตกลงที่จะเข้าซื้อกิจการในราคา 50,000 ล้านดอลลาร์

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานด้วยว่า ในเวลา 09.00 น. วันที่ 15 กันยายน (ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ) ตลาดหุ้นวอลสตรีทในนครนิวยอร์กเปิดตัวช่วงเช้า ดัชนีตลาดหุ้นก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน แต่ไม่ได้ลดลงมากอย่างที่มีการคาดการณ์ไว้ โดยดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับลดลงเฉลี่ย 2.6 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ดัชนีหุ้น 500 เอสแอนด์พีลดลงไป 2.5 เปอร์เซ็นต์ และมีรายงานล่าสุดว่า เลห์แมน บราเธอร์ได้ยื่นขอความคุ้มครองพิทักษ์ทรัพย์จากภาวะล้มละลายตามมาตราที่ 11 ต่อศาลล้มละลายของสหรัฐในนครนิวยอร์กแล้ว

เฟดยื่นมืออุ้ม-แบงก์ลงขันช่วย

รายงานข่าวเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศมาตรการรับมือล่วงหน้าเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อสยบความตื่นตระหนกของตลาดจากการที่เลห์แมน บราเธอร์ อาจประสบภาวะล้มละลาย ด้วยการผ่อนคลายเงื่อนไขเกี่ยวกับหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมแก่สถาบันการเงินที่ต้องการกู้ยืมเงินโดยตรงจากเฟด พร้อมกันนี้ธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจชั้นนำของโลก 10 แห่ง ได้ลงขันกัน 7 หมื่นล้านดอลลาร์ ตั้งกองทุนฉุกเฉินเพื่อเสริมสภาพคล่องในตลาดการเงิน

รายงานข่าวเปิดเผยว่า นอกจากนี้ เอไอจี บริษัทประกันภัยใหญ่ที่สุดในโลกแห่งสหรัฐอเมริกา ก็ประสบปัญหาสภาพคล่องเช่นกัน โดยมีกระแสข่าวว่า เอไอจีได้ติดต่อขอกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางสหรัฐ 4 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อใช้เป็นเงินทุนระยะสั้น

ด้านนายบารัค โอบามา ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครต กล่าวว่า วิกฤตของสถาบันการเงินในครั้งนี้เป็นภัยคุกคามครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจสหรัฐ

พิษมะกันพ่นดัชนีหุ้นยุโรปร่วง

เอพีรายงานว่า ตลาดหุ้นทั่วยุโรปได้รับผลกระทบจากข่าวการล้มลงของสถาบันการเงินอันเก่าแก่ที่สุด 2 แห่งของสหรัฐ โดยการซื้อขายปรับตัวลดลงหลังการเปิดตลาดเมื่อช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ตามเวลาท้องถิ่น โดยดัชนีหุ้นฟุตซี-100 ของตลาดหุ้นลอนดอนลดลง 4.07 เปอร์เซ็นต์ ส่วนดัชนีซีเอซี-40 ของฝรั่งเศสลดลง 4.5 เปอร์เซ็นต์ และดัชนีหุ้นแด็กซ์ในหุ้นกลุ่มบลูชิพของเยอรมนีลดลง 3.23 เปอร์เซ็นต์ การปรับตัวลดลงดังกล่าวเป็นผลมาจากหุ้นกลุ่มประกันภัยและกลุ่มสถาบันการเงินที่นำโดยหุ้นของบริษัทประกันภัย เอซีเอ เอสเอของฝรั่งเศส ที่ลดลง 11.1 เปอร์เซ็นต์ หุ้นธนาคารคอมเมิร์ซแบงก์ เอจีของเยอรมนีลดลง 10.55 เปอร์เซ็นต์ และหุ้นธนาคารยูบีเอส เอจี ของสวิตเซอร์แลนด์ปรับลดลงไป 15.4 เปอร์เซ็นต์

ธปท.ชี้ผลกระทบวงจำกัด

ด้านนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คาดว่า ปัญหาที่เกิดกับเลห์แมน จะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินไทยในวงจำกัด เนื่องจากเลห์แมนฯไม่มีสาขาในไทย ผลกระทบจึงจำกัดอยู่เพียงธุรกรรมการเงินระหว่างธนาคารไทยกับธนาคารเลห์แมนฯในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากการดูข้อมูลเบื้องต้น การทำธุรกิจระหว่างเลห์แมนฯกับธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง มีขนาดธุรกรรมอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยเมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 พบว่า การทำธุรกรรมโดยตรง ทั้งการปล่อยกู้และการลงทุนรวม 4.3 พันล้านบาท ต่ำกว่าตัวเลขการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทซีดีโอก่อนหน้านั้น และมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการลงทุนในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งระบบ ที่มีทั้งสิ้น 1.02 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.3% ของสินทรัพย์รวม นอกจากนั้น ยังมีรายการนอกงบดุลที่เป็นธุรกรรมระหว่างธนาคารไทยกับเลห์แมน เช่น การลงทุนในอนุพันธ์ มีมูลค่ารวม 5.3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขตามมูลค่าตามสัญญา แต่หากประเมินมูลค่าจริงจะต่ำกว่านี้มาก

ห่วงเงินทุนย้ายกลับสหรัฐ

"ผลกระทบต่อธนาคารไทยคงมีน้อย เพราะการทำธุรกรรมร่วมกันมีไม่มาก ผลกระทบจึงมีจำกัดและไม่กระทบต่อฐานะและความมั่นคงของธนาคารไทย ส่วนหนึ่งเพราะธนาคารพาณิชย์ไทยระมัดระวังการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และ ธปท.เองยังกำชับเรื่องความเสี่ยงมาโดยตลอด แต่ใน 1-2 เดือนนี้ ยังต้องติดตามตลาดต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ธนาคารปรับตัวต่อสิ่งต่างๆ ที่จะตามมาได้" นายบัณฑิตกล่าว

สำหรับผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย นายบัณฑิตกล่าวว่า เป็นประเด็นที่จะตามมา อาจจะเห็นนักลงทุนต่างประเทศผ่องถ่ายหรือโยกย้ายเงินจากภูมิภาคเอเชียกลับไปสหรัฐ เพื่อนำเงินไปเพิ่มทุนหรือซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐ โดยจะต้องติดตามตลาดหุ้นและตราสารหนี้เป็นรายวัน แต่แนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายจากตลาดทุนเป็นมาระยะหนึ่งแล้ว

หวั่นปัญหายืดเยื้อฉุดส่งออกไทย

นายบัณฑิตกล่าวต่อว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเลห์แมนฯ น่าจะเป็นข้อมูลชี้ว่า ตลาดการเงินต่างประเทศมีปัญหาและอยู่ในช่วงปรับตัว หากใช้เวลานานก็จะทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจและสินเชื่อ และที่สุดจะกระทบต่อการส่งออกไทยหากเศรษฐกิจโลกชะลอรวมถึงสภาพคล่องจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน ซึ่งจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย แต่จากการประเมินพบว่า ระบบเศรษฐกิจและการเงินไทยเข้มแข็งพอที่จะรองรับความผันผวนจากเศรษฐโลกได้ จาก 3 ปัจจัยหลักคือ เงินลงทุนในต่างประเทศมีน้อย สภาพคล่องในประเทศยังมาจากการระดมทุนเงินฝากจากประชาชนในประเทศมากกว่าพึ่งเงินภายนอก และระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีความเข้มแข็งพอ

ดัชนีหุ้นไทยรูดต่ำสุดรอบ20ด.

สำหรับบรรยากาศการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงตามตลาดหุ้นในภูมิภาค โดยเปิดตลาดที่ระดับ 651.05 ลดลง 3.29 จุด แกว่งตัวลงแรงในช่วงบ่าย โดยลดลงต่ำสุดที่ระดับ 640.03 ลดลง 14.31 จุด และปิดตลาดที่ระดับ 642.39 จุด ต่ำสุดในรอบ 20 เดือน ลดลง 11.95 จุด หรือ 1.83% มูลค่าการซื้อขายเบาบาง เพียง 7,453.57 ล้านบาท ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 295.51 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 610.25 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 905.76 ล้านบาท

นางวิริยา ลาภพรหมรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เกียรตินาคิน จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงตามตลาดภูมิภาค ที่มีความกังวลปัญหาวิกฤตสินเชื่อในสหรัฐ ในกรณีของเลห์แมน บราเธอร์ส ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้าลดลงถึง 300 จุด ตลาดภูมิภาคจึงปรับลดลงตาม โดยเฉพาะจีน ฟิลิปปินส์ อินเดียลดลงกว่า 4% นอกจากนี้ ปัญหาทางการเมืองก็ยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดอยู่ เพราะการที่พรรคพลังประชาชนเสนอชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ก็เป็นไปตามที่ตลาดคาด จึงเชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็จะยังคงมีการชุมนุมต่อไป

"กรณีเลห์แมนฯไม่ใช่บริษัทแรกที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติซับไพรม์ และไม่รู้ว่าจะมีอีกกี่แห่ง ซึ่งส่งผลทำให้นักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่น จึงมีการปรับพอร์ตการลงทุน ในส่วนของตลาดหุ้นไทย ที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศก็ได้มีการถอนเงินลงทุนไปเยอะแล้ว แต่ก็ไม่ได้ถือมากที่สุดในภูมิภาค อยู่ในอันดับ 3-4" นางวิริยากล่าว

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การล้มละลายของเลห์แมนฯ ไม่น่าจะมีผลกระทบโดยตรงต่อไทย เพราะถ้าดูสัดส่วนการลงทุนในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย และไม่มีนัยสำคัญแต่นักลงทุนอาจจะกังวลว่าปัญหาสถาบันการเงินจะยังคงอยู่ และจะคลี่คลายเมื่อไหร่ เช่นเดียวกับปัญหาการเมืองในประเทศ ที่ต้องติดตามดูว่าใครจะเข้ารับตำแหน่งแทนนายสมัคร สุนทรเวช และทำให้การเมืองมีเสถียรภาพต่อไปอย่างไร ทั้ง 2 ปัจจัยส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในระยะนี้

ค่าเงินบาทยังทรงตัว

วันเดียวกัน บล.กิมเอ็ง ได้ออกบทวิเคราะห์ว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และปัญหาซัมไพรม์ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องในกลุ่มสถาบันการเงินในต่างประเทศ แต่ไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อระบบธนาคารไทย แต่จะมีผลทางอ้อม ทำให้การทำธุรกิจยากขึ้น และต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น ส่วนธนาคารต่างชาติที่เข้ามาร่วมทุนกับธนาคารพาณิชย์ไทย เช่น กรณีธนาคารกรุงศรีอยุธยา และบริษัท ทุนธนชาต เป็นต้น จากการสอบถามกับทางธนาคารยังไม่มีปัญหาที่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด แต่จะติดตามอย่างใกล้ชิด

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กรณีเลห์แมน บราเธอร์จะทำให้ปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐต้องยืดเยื้อต่อไปอีก ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทางอ้อม ทั้งเรื่องทิศทางค่าเงินบาท อาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะปัจจัยการเมืองยังมีผลกระทบมากกว่า แม้ว่าจะมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปแล้ว แต่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล โดยเฉพาะการท่องเที่ยวคงไม่ฟื้นตัวมากนัก ซึ่งต้องจับตาดูในไตรมาส 3-4 ที่เหลือต่อไป

นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์รายหนึ่งเปิดเผยว่า ค่าเงินบาทของวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา เปิดตลาดที่ 34.58-34.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างวันค่าเงินบาทผันผวนตามข่าวปัญหาของเลห์แมนฯ แต่ยังเคลื่อนไหวตามภูมิภาค และปิดตลาดที่ 34.58-34.61 ต่อดอลลาร์สหรัฐ


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Rule of Law ที่ 16-09-2008, 12:04
การเมืองใหม่นั่นแหละครับ คือ ทางออก

การเมืองที่ไม่ส่งเสริมให้ประชาชนฟุ้งเฟ้อ (แล้วมีคนคอยรับประโยชน์) แต่ก็ไม่ประหยัดจนขี้เหนียว เศรษฐกิจไม่เดิน   ถ้าไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดไปเอง มีซึนามิทางเศรษฐกิจอะไรมาก็ไม่กลัว ดู New Zealand เป็นต้น


ขอคารวะพี่ truth  :slime_worship:
ว่าแต่ว่าถ้าจะเอาเศรษฐกิจพอเพียงแบบ new zealand
อีพวกนายทุนสมองกลวง ที่มันรอค้าขายอย่างเดียว สร้างสรรค์ไม่เป็น
พวกนี้สงสัยจะอดตายนะท่าน (จริงๆแล้วสมน้ำหน้า)




หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 16-09-2008, 12:09
เวลาวิกฤตแบบนี้ ขืนปล่อยให้นักการเมืองที่จ้องจะแด๊กตลอดเวลายังทำงานต่อไป เป็นอันได้วินาศสิ้นชาติกันคราวนี้แหละ


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 16-09-2008, 12:15
เค้าว่าจะรักษาแผล ต้องขูดเอาหนองออกก่อน
ตอ้ง ประชาชนเดือดร้อน เรื่องธรรมดา

เค้าว่า ถ้าปล่อยให้มีการบริหารโดยใช้ระบบการเมืองอย่างปัจจุบันชาติจะล่มจม เสียหาย
ก้เลยต้องจัดการดังเช่นปัจจุบัน

 ตอนนี้ ใครมาเป็นนายก ก็ไม่เอา
อะไรก็ไม่เอา จะ เอาระบอบการเมืองใหม่

ระบอบการเมืองใหม่  มีรายละเอียดอย่างไร
ไม่รู้ ยังไม่ได้คิดรายละเอียด รู้แต่โสลแกน กับ คีย์เวิร์ด ประชาภิวัฒน์
ปัญหาที่จะตามมา  ยังไม่ได้คิด  แต่ต้องเปลี่ยน เป็นชาติแรกในโลก

สรุป ประท้วงทำให้ชาติไม่สงบนี่ เพราะกำลังเรียกร้อง ในสิ่งที่ยังไม่มีบทสรุปเลย
แล้วมันจะยาวนานอีกถึงเมือไหร่  สงสัยชาติเรา คงล่มจมก่อนได้ใช้ระบอบการเมืองใหม่เป็นแน่แท้

ตอนนี้พันธิตรคงไม่สนในเรื่องที่เจ้าของกระทู้  พูดหรอก เพราะมัวแต่ จาเอาระบอบการเมืองใหม่ อยู่
ประเทศไทย คงเข้าสู่สถานการณ์ เศรษฐกิจถดถอย  โดยที่ยังอยู่ในอาการโคม่าอยู่

คิดแล้ววังเวงจัง   :slime_surrender:





 ตอนนี้ ใครมาเป็นนายก ก็ไม่เอา
อะไรก็ไม่เอา จะ เอาระบอบการเมืองใหม่....

พูดอย่างนี้เหมือน'อมบัตรเติมเงิน' พูด
เอา'บัตรเติมเงิน'ออกก่อน แล้วค่อยพูด ค่อยแสดงความคิดเห็นว่า....

ตอนนี้ ไม่เอาใครในพลังประชาชนเป็นนายกฯนอมินีของจำเลยหนีประกันตัว หนีหมายจับของศาลยุติธรรม....!!!

ถ้าเป็น'บุคคลที่น่าเชื่อ' เป็นนายกรัฐมนตรีใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารบ้านเมือง ก็เอาทั้งนั้น.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า



ปล. ถ้าติดตามแนวคิดของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็ไม่ต้องตะแบงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหรอก
พวกเขาเข้าใจก่อนที่ประเทศไทยจะมี'บัตรเติมเงิน'เสียอีก.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า




หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 16-09-2008, 12:17
ขอคารวะพี่ truth  :slime_worship:
ว่าแต่ว่าถ้าจะเอาเศรษฐกิจพอเพียงแบบ new zealand
อีพวกนายทุนสมองกลวง ที่มันรอค้าขายอย่างเดียว สร้างสรรค์ไม่เป็น
พวกนี้สงสัยจะอดตายนะท่าน (จริงๆแล้วสมน้ำหน้า)





ต้องคอยระวังจะพ่วง'ปฏิญญาฟินแลนด์'ด้วย......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 16-09-2008, 12:37
การเมืองใหม่นั่นแหละครับ คือ ทางออก

การเมืองที่ไม่ส่งเสริมให้ประชาชนฟุ้งเฟ้อ (แล้วมีคนคอยรับประโยชน์) แต่ก็ไม่ประหยัดจนขี้เหนียว เศรษฐกิจไม่เดิน   ถ้าไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดไปเอง มีซึนามิทางเศรษฐกิจอะไรมาก็ไม่กลัว ดู New Zealand เป็นต้น


ไม่เข้าใจประเด็น New Zealand น่ะครับ ช่วยอธิบายหน่อยได้ไม๊  :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 16-09-2008, 13:15
หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐส่งสัญญาญเตือนจากหนี้เสียมาหลายรอบ  ตอนนี้ส่งสัญญาญยืนยันชัดเจนว่าสหรัฐเข้าสู่สภาวะถดถอยอย่างชัดเจน  และถดถอยขนาดหนักด้วย  ปู่อลัน กรีนสแปนด์ ผู้ว่าแบงค์ชาติสหรัฐบอกว่า  อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบ ๑๐๐ ปี  นั่นหมายถึงการจ่ายใช้สอยในสหรัฐจะลดลง  อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง   เราจะทำอย่างไรในเมื่อสหรัฐ และ ทั่วโลกแรงซื้อลดต่ำลงอย่างมากนับตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป

    เรื่องนี้ใหญ่โตกว่าการเมืองใหม่ หรือ การเมืองเก่าเยอะ  การเมืองใหม่ผมก็เห็นด้วยแต่ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน  หาทางให้บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบเตรียมพร้อมรอรับ  ซึนามิทางเศรษฐกิจลูกนี้ดีกว่า  ถ่าเรายังมีปัญหากันอยู่อย่างนี้  เราจะไม่เข้มแข็งพอที่จะสู้กับคลื่นลมในความแรงระดับนี้ได้เลย

    อาจจะไม่ต้องถอย  แต่ควรหยุด  แล้วหาทางเจรจาให้ได้แผนผัง และโรดแมป  ของการเมืองใหม่มาก่อนแล้วยุติการชุมนุมครับ  ข้อเรียกร้องเปลี่ยนทุกวัน  อะไรอะไร  ก็ไม่เอา  เรากำลังจะกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาประชาชนแล้วครับ. 

เข้ามาอีก... เจ้าของกระทู้กังวล ก็มีเหตุผล  แต่ผมคิดว่า เวทีพันธมิตรฯควรจัดโปรแกรมที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องกลไกเศรษฐกิจและเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นในต่างประเทศ ว่าจะกระทบไทยอย่างไร และการชุมนุมของพันธมิตรฯให้ประโยชน์มากกว่า "ต้นทุน" อย่างไร

แน่นอนมันไม่ใช่น้อยๆครับสำหรับธนาคารที่มีหนี้สินใหญ่ถึง 615,000,000,000 ดอลล่าร์   คิดว่าพันธมิตรฯจะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะก็มีอาจารย์ที่เก่งเศรษฐศาสตร์และสื่อสารเก่งๆเข้ามาเจาะลึกได้  โดยให้มุมมองที่ต่างจากพวกดร.เฮงซวยอย่าง ดร.ทำใจ หรือดร.โง่ๆทั้งหลายได้แน่นอน   ข้อสรุปมาก็มาสู่เรื่องความโลภมากเกินตัวทั้งนั้น เวลาเศรษฐกิจมีปัญหาขนาดนี้ อะไรก็แก้ไม่ได้หรอก นอกจากเวลา  มาตรการที่จะแก้ดีที่สุดคือมาตรการระยะยาวเพื่อป้องกันที่ตัวสาเหตุไม่ให้ซ้ำสอง  ไม่มีมาตรการรายวันใดที่แก้ได้ นอกจากบรรเทาผลกระทบชั่วคราว แล้วมันก็มีต้นทุนทั้งนั้น เช่น  การพยายามอุ้ม เทคโอเวอร์จากรัฐบาลที่ไทยเคยทำและอเมริกาก็ทำและเพิ่งจะยอมแพ้ไป   เงินอัดฉีดที่บรรดาธนาคารกลางพากันตั้งเป็นวงเงินสำรองหากแบ๊งก์ขาดสภาพคล่องเท่านั้นเอง ดังนั้นในระดับคนเดินดินกินข้าวแกง ผลกระทบมีแน่ แต่การลดผลกระทบไม่มีอะไรดีไปกว่า กินใช้ไม่เกินตัว ลงทุนไม่เกินตัว กระจายความเสี่ยง เก็บออม



ไม่เข้าใจประเด็น New Zealand น่ะครับ ช่วยอธิบายหน่อยได้ไม๊  :slime_doubt:

เศรษฐกิจเล็ก  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้มาก เ้น้นการเกษตรและท่องเที่ยว แล้วก็เอาดีกับเรื่องเกษตรจริงๆ สามารถไปลงทุนในจีนในอุตสาหกรรมนมเนยที่ตัวเองถนัดได้ด้วย  ทั้งรัฐบาลและคนที่นั่นเจียมตัว  ขนาดเป็นประเทศพัฒนาแล้ว แต่เขานิยมใช้รถมือสองที่ยังสภาพดีนำเข้าจากญี่ปุ่น   แคนาดาก็เหมือนกัน แม้จะพึ่งพาตลาดอเมริกามาก แต่โครงสร้างเศรษฐกิจเขาไปพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน แร่ธาตุ ที่มีเหลือเฟือ และมีไฮเทคของตัวเอง  มีไปลงทุนอเมริกาบ้างแต่ไม่เยอะ ความเสียหายก็น้อย สรุปคือต้องย้อนดูตัวเองว่ามีขีดจำกัดขนาดไหน


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: E-pen ที่ 16-09-2008, 13:19
ติดลบ - แดงเถือกไปทั่วโลก

(http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/16/thumb/294920_photothumbnewbkk.jpg)

นักลงทุนนั่งมองกระดานหุ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ หลังร่วงลงอย่างหนัก เช่นเดียวกับตลาดในภูมิภาค เนื่องจากวิตกวิกฤติ'เลห์แมน'จะลุกลามไปทั่วโลก  


http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/16/news_294855.php (http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/16/news_294855.php)

เลแมนฯเจ๊ง!กระชากดาวโจนส์ดิ่งเหว504จุด

:เลแมนฯล้มละลาย กระชากดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงกว่า 504 จุด ต่ำสุดอีกครั้งตั้งแต่เปิดทกำการ หลังเหตุการณ์ 911

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ตลาดเปิดทำการอีกครั้งหลังเหตุวินาศกรรมสหรัฐเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2001

ขณะที่มีความวิตกเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเสถียรภาพของระบบการเงินสหรัฐ หลังเลห์แมน บราเธอร์สยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอการพิทักษ์ทรัพย์จากภาวะล้มละลาย





หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: E-pen ที่ 16-09-2008, 13:31
(http://www.matichon.co.th/prachachat/images/main_01.jpg)
http://www.matichon.co.th/prachachat/news_detail.php?id=1827&catid=2 (http://www.matichon.co.th/prachachat/news_detail.php?id=1827&catid=2)

 เกาะติด 24 ชั่วโมง สกัดวิกฤต คลื่นโดมิโน "ยักษ์การเงินโลกล้ม" ถล่มสหรัฐ   
 

 
วันที่ 16 กันยายน 2551 - เวลา 09:53:12 น. 
 

   
เกาะติดสถานการณ์ 24 ชั่วโมง หลังยักษ์การเงินโลก"เลห์แมน บราเธอร์ส"ล้มละลาย!

อลัน กรีนสแปน อดีตปธ.เฟดฟันธงยังมีสถาบันการเงินอื่นล้มละลายตามมาอีกเป็นโดมิโน
 
 

ต่อไปนี้คือลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินสหรัฐ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา

* การเจรจาระหว่างธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), กระทรวงการคลังสหรัฐ และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ กับสถาบันการเงินชั้นนำ ทั้งจากสหรัฐและจากต่างประเทศ  ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อวันอาทิตย์ ถือเป็นความพยายามที่จะช่วยเหลือ "เลห์แมน บราเธอร์ส" ให้อยู่รอดได้เป็นวันที่ 3

อย่างไรก็ตาม การเจรจาประสบความล้มเหลวในเวลาต่อมา หลังจากธนาคารบาร์เคลย์สของอังกฤษ   ซึ่งถือเป็นตัวเก็งสถาบันการเงินที่จะเข้ามาช่วยกู้สถานการณ์ให้กับวาณิชธนกิจอันดับ 4 ของสหรัฐ ประกาศถอนตัว โดยปฏิเสธจะเข้าไปมีส่วนร่วมในข้อตกลงใดๆ ที่ไม่มีเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ




@ วิกฤตการเงินเลวร้ายสุดใน 100 ปี

ในจังหวะที่เลห์แมน บราเธอร์ส ยังไม่รู้ชะตากรรมที่ชัดเจนของตัวเอง โดยเฉพาะหลังจากธนาคารบาร์เคลย์ส ของอังกฤษ ถอนตัวอย่างกะทันหันจากการเจรจาเมื่อสุดสัปดาห์ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ ให้มุมมองของเขาต่อสถานการณ์ในปัจจุบันว่า สหรัฐกำลังตกอยู่ในช่วงเวลาของวิกฤตการณ์ที่ "100 ปีจึงจะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง" ซึ่งส่งผลกระทบได้รุนแรงมากกว่าภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ

ระหว่างให้สัมภาษณ์รายการของเอบีซี กรีนสแปนคาดการณ์ว่า จะมีสถาบันการเงินขนาดใหญ่อีกหลายแห่งที่จะเผชิญกับภาวะ "ล้มละลาย"  




หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: 8owmp ที่ 16-09-2008, 13:46
ประเด็นหลักๆของการชุมนุมของพันธมิตร คือ ขจัดระบอบทักษิณให้สิ้นทราก ไม่เพียงตีงูให้หลังหัก

ทำลายล้างระบอบที่เอาคำว่าทุนเสรี การค้าเสรี การกระตุ้นผู้บริโภค แต่ประโยชน์กลับตกอยู่กับนายทุนไม่กี่ตระกูล

และ รากหญ้า คือเหยื่อ

ฉะนั้น การชุมนุมจึงต้องดำเนินต่อไป

ผมว่าจุดยืนเขาชัดเจนมากนะครับ

ดูจากข้อเรียกร้องทั้งหมดจะพบได้เลยว่า ไปหาเป้าหมายเดียวครับ

ไม่เอาระบอบที่ภาพสวย แต่แฝงเล่ห์กลให้ประชาชนเป็นเหยื่อ

ส่วนในเรื่องเศรษฐกิจโลก เป็นผลพวงที่อเมริกาทำไว้เองครับ

กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้ GDP วัดค่าความเจริญ ให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอย

แสวงหาสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆที่หลอกลวงให้จับจ่าย โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นของชีวิต

ต้องเป็นหนี้สินมากมายจากการกู้

จึงทำอะไรเพื่อเงิน หวังได้เงินกับตัวเลขที่ตัวเองไม่ได้เหนื่อยยากเอง

จนถึงจุดที่ฟองสบู่แตก

และวันนี้ เศรษฐกินพอเพียง ของในหลวงของเรา นี่แหละครับ จะพาให้ประเทศไทยผ่านวิกฤติโลก


" มีสลึง พึงบรรจบให้ครบบาท
  อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
  มีน้อย ใช้น้อย ค่อยบรรจง
  อย่าจ่ายลงให้มาก จะยากนาน "


ด้วยความเคารพ
8owmp


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: E-pen ที่ 16-09-2008, 14:24
ธ.กรุงเทพบันทึกเจ๊งหุ้นกู้เลห์แมน3.5พันล.

http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/16/news_294942.php (http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/16/news_294942.php)


ธ.กรุงเทพเผยบันทึกขาดทุนหุ้นกู้'เลห์แมน' 3.5 พันล้านบาท คาด(เดา)(คิดว่า)(น่าจะ)จะได้รับชำระคืนบางส่วน กระทบงวดบัญชี 1 ไตรมาส แต่ไม่ส่งผลให้ขาดทุนสุทธิ

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นางกุลธิดา ศิวยาธร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวกับ"รอยเตอร์" ว่าธนาคารลงทุนในหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิ (senior unsecured bond)

ของเลห์แมน บราเธอร์ส อยู่ 3.5 พันล้านบาท ซึ่งเชื่อว่า(คิดว่า)(เดาว่า)(น่าจะ)จะได้รับการชำระคืนบางส่วน  


ผลการขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นกู้ของเลห์แมนฯจะมีผลต่องวดบัญชีเพียง 1 ไตรมาส และจะไม่ส่งผลให้ธนาคารต้องมีขาดทุนสุทธิเนื่องจากยังมีกำไรจากการดำเนินงาน


"เราก็คงรอดูกระบวนการศาลของทางโน้น ว่าการชำระหนี้จะเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าเราคงจะได้คืนมาบ้างบางส่วน...ตราสารอื่นนอกจากนี้ ไม่มีที่เกี่ยวข้องกับเลห์แมนฯแล้ว และอาจส่งผลกระทบต่อการบันทึกกำไรใน 1 งวด แต่คงไม่ส่งผลขาดทุน(สุทธิ) เพราะแบงก์ยังมีกำไรจากการดำเนินงาน"



หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 16-09-2008, 14:29
เข้ามาอีก... เจ้าของกระทู้กังวล ก็มีเหตุผล  แต่ผมคิดว่า เวทีพันธมิตรฯควรจัดโปรแกรมที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องกลไกเศรษฐกิจและเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นในต่างประเทศ ว่าจะกระทบไทยอย่างไร และการชุมนุมของพันธมิตรฯให้ประโยชน์มากกว่า "ต้นทุน" อย่างไร

แน่นอนมันไม่ใช่น้อยๆครับสำหรับธนาคารที่มีหนี้สินใหญ่ถึง 615,000,000,000 ดอลล่าร์   คิดว่าพันธมิตรฯจะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะก็มีอาจารย์ที่เก่งเศรษฐศาสตร์และสื่อสารเก่งๆเข้ามาเจาะลึกได้  โดยให้มุมมองที่ต่างจากพวกดร.เฮงซวยอย่าง ดร.ทำใจ หรือดร.โง่ๆทั้งหลายได้แน่นอน   ข้อสรุปมาก็มาสู่เรื่องความโลภมากเกินตัวทั้งนั้น เวลาเศรษฐกิจมีปัญหาขนาดนี้ อะไรก็แก้ไม่ได้หรอก นอกจากเวลา  มาตรการที่จะแก้ดีที่สุดคือมาตรการระยะยาวเพื่อป้องกันที่ตัวสาเหตุไม่ให้ซ้ำสอง  ไม่มีมาตรการรายวันใดที่แก้ได้ นอกจากบรรเทาผลกระทบชั่วคราว แล้วมันก็มีต้นทุนทั้งนั้น เช่น  การพยายามอุ้ม เทคโอเวอร์จากรัฐบาลที่ไทยเคยทำและอเมริกาก็ทำและเพิ่งจะยอมแพ้ไป   เงินอัดฉีดที่บรรดาธนาคารกลางพากันตั้งเป็นวงเงินสำรองหากแบ๊งก์ขาดสภาพคล่องเท่านั้นเอง ดังนั้นในระดับคนเดินดินกินข้าวแกง ผลกระทบมีแน่ แต่การลดผลกระทบไม่มีอะไรดีไปกว่า กินใช้ไม่เกินตัว ลงทุนไม่เกินตัว กระจายความเสี่ยง เก็บออม



เศรษฐกิจเล็ก  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้มาก เ้น้นการเกษตรและท่องเที่ยว แล้วก็เอาดีกับเรื่องเกษตรจริงๆ สามารถไปลงทุนในจีนในอุตสาหกรรมนมเนยที่ตัวเองถนัดได้ด้วย  ทั้งรัฐบาลและคนที่นั่นเจียมตัว  ขนาดเป็นประเทศพัฒนาแล้ว แต่เขานิยมใช้รถมือสองที่ยังสภาพดีนำเข้าจากญี่ปุ่น   แคนาดาก็เหมือนกัน แม้จะพึ่งพาตลาดอเมริกามาก แต่โครงสร้างเศรษฐกิจเขาไปพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน แร่ธาตุ ที่มีเหลือเฟือ และมีไฮเทคของตัวเอง  มีไปลงทุนอเมริกาบ้างแต่ไม่เยอะ ความเสียหายก็น้อย สรุปคือต้องย้อนดูตัวเองว่ามีขีดจำกัดขนาดไหน

ขอบคุณครับ  :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

เข้าใจเรียบร้อยยยยย


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: ฟ้าประทานII ที่ 16-09-2008, 14:42
อ้างถึง
ธ.กรุงเทพเผยบันทึกขาดทุนหุ้นกู้'เลห์แมน' 3.5 พันล้านบาท





ขาดทุนขนาดนี้แบงค์ไม่แย่หรือ แล้วมีแบงค์ไหนไปลงทุนแบบนี้บ้าง ถ้ามีหลายๆรายมันจะไม่กระทบอยู่แต่กับสหรัฐน่ะซิ

ปท.เล็กอย่างเราก็อาจซวยด้วย




หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: varada ที่ 16-09-2008, 14:48
สถานะการณ์เหมือนสภาพอากาศตอนนี้
ที่โดนพายุกระหน่ำ น้ำท่วมทุกแห่งหน
แต่ที่เป็นตอนนี้ยังแค่ออเดิฟ
เมนคอร์สจริงๆยังไม่เริ่มเสริฟ

เกษตร........จะหวังอะไรได้มาก น้ำท่วมทุกแห่งหน
การบรรเทาภัยทำได้ไม่เต็มที่ รบ.มัวแต่ติดม๊อบอยู่
การท่องเที่ยวหน่ะหรือ ตอนนี้เดี้ยงสนิทกับสถานะการณ์แบบนี้
กว่าจะฟื้นตัวคงอีกนาน สืนามิจริงๆยังไม่ร้ายเท่าสืนามิการเมือง


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 16-09-2008, 15:05

ขาดทุนขนาดนี้แบงค์ไม่แย่หรือ แล้วมีแบงค์ไหนไปลงทุนแบบนี้บ้าง ถ้ามีหลายๆรายมันจะไม่กระทบอยู่แต่กับสหรัฐน่ะซิ

ปท.เล็กอย่างเราก็อาจซวยด้วย

ก็ต้องดูขนาดของสินทรัพย์ของแบ๊งก์บัวหลวงว่าใหญ่ขนาดไหน เมื่อเทียบกับส่วนที่ไปจมไปกับการไปลงทุนใน CDO ของ Lehman  แล้วก็ต้องดูด้วยว่า มีไปลงทุนในสถาบันการเงินอื่นๆของอเมริกาที่กำลังมีปัญหาอีกไหม

เป็นหน้าที่ของสถาบันการเงินทุกแห่ง ไม่ว่าจะไทยหรือเทศ ที่ต้องออกมาเปิดให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแล้วชี้แจงได้แล้วครับ ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนคอยตั้งคำถาม


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: E-pen ที่ 16-09-2008, 15:07
ประเทศไทยขายของให้ตลาดอเมริกาเป็นตลาดใหญ่อันดับ 1

อย่างนี้คนอเมริกา คงรอตกงานกันระนาว อาจโดนให้ออกจากงาน(ในอนาคตอันใกล้)

เพราะอเมริกามีปัญหาเรื่องเงินขาดสภาพคล่อง..

ส่วนประเทศไทย อนาคตอันใกล้ อาจได้เห็นบริษัทโรงงานได้ทยอยปิดกิจการ

ค่าเงินบาทก็ยิ่งอ่อนลงทุกวัน..สินค้านำเข้าก็แพงขึ้นตาม....สินค้าส่งออกก็ไม่ค่อยมีคนซื้อขายไม่ค่อยได้

คนตกงานมากขึ้น และ นักศึกษาเรียนจบมาก็รอตกงาน

ไปเปิดร้านขายของ ก็ได้แค่พอกินไปวัน ๆ ขายไปขายมาก็อาจล้ม

เพราะชีวิตคนที่พอมีเงินใช้จ่ายก็เปลี่ยนไปใช้ชีวิตเข้าห้างโลตัสของทักษิณซะแล้ว


 :slime_dizzy:


เห็นจะมีอาชีพเดียวที่ร่ำรวยไม่มีผลกระทบใด ๆคือ

"อาชีพนักการเมือง"

เพราะมันโกยโกงกินเงินภาษีประชาชนคอรับชั่น 30% จากการก่อสร้างต่าง ๆ สร้างถนน สร้างตึก เช่ารถเมล์

 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: E-pen ที่ 16-09-2008, 18:28
วิกฤตการณ์การเงินครั้งนี้หากเรียงลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ ก็คือ..

(ยกตัวอย่าง)

นโยบายรัฐกระตุ้นการเงินประชานิยมทั้งประเทศโดย...
ประชาชนทั้งประเทศผู้มีเงินเดือน 10,000 บาท 
         -สามารถทำบัตรเครดิตธนาคารได้ ในวงเงินเบิกล่วงหน้า 1 แสนบาท
         -สามารถกู้เงินซื้อบ้าน+ที่ดิน+รถยนต์ได้ 90% จากราคาขาย
         -กู้หนี้ซื้อบ้าน+รถ+ที่ดิน+คอนโดให้เช่าเพื่อเก็งกำไร


เมื่อประชาชนทั้งประเทศใช้สิทธิ์เต็มที่จากนโยบายรัฐ ผ่อนไป ผ่อนไป ก็เป็นวัวพันหลัก..
จนในที่สุด ประชาชนลูกหนี้คนในประเทศ ไม่มีปัญญาผ่อนหนี้ ธนาคารก็ยึดทรัพย์สินนั้น

ธนาคารก็เอาทรัพย์สินนั้นไปขายในราคาถูก ๆ 50-60% จากราคาประเมิน..
ก็เกิดมีการเปิดบริษัทฯ เพื่อมารับซื้อทรัพย์สินนั้น เพื่อไปเก็งกำไรต่อ...


บริษัทฯ ที่ไปซื้อหนี้เน่าจากธนาคารในราคาถูก ก็นำทรัพย์สินออกขายเพื่อเก็งกำไร...

ในที่สุด วันหนึ่งเมื่อคนไม่มีตังค์ซื้อ เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ....

จากวิกฤตการณ์ ปั่น/เก็งกำไรน้ำมันแพง + ต้นทุนแพง + ภัยพิบัติทางธรรมชาติ + เงินเฟ้อ + ตกงาน + เจ็บไข้ +ป่วยตาย + ติดพนัน + ลูกเยอะ + เมียเยอะหาเลี้ยงไม่ทัน ฯลฯ

บริษัทฯ ขายของไม่ได้ ก็ขาดสภาพคล่อง มีแต่สินค้าแต่ขายของไม่ได้

ในที่สุดก็ขาดทุนและปิดกิจการในที่สุด...  


  :slime_hmm:



(รอผู้รู้ช่วยมาไขเพิ่มครับ)  :slime_fighto:


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: boyk ที่ 16-09-2008, 18:57
วันนี้มีหุ้นตัวนึงปิดชนซิลลิ่ง ปิดกระโดด 20 กว่าช่องมั้ง  ทำไปได้นะ

ใครกล้ารับช่วงพานิคเช้า บ่ายมาก็พอมีกำไรแล้วคับ

เสี่ยงมากได้มาก  และเสียมาก(อาจจะยิ่งกว่า) :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: แมว มหาภัย ที่ 16-09-2008, 19:32
หุ้นตัวไหนเหรอ  วันนี้เฝ้ากระดานทั้งวันไม่เห็นเลย


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: boyk ที่ 16-09-2008, 19:46
tucc คับ

มันบ้าได้จัยเจรงๆ  :slime_v:



หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: แมว มหาภัย ที่ 16-09-2008, 22:37
โหย  บ้าจริง  ตัวนี้อยู่ใน watch list ของเราด้วยนะนี่  แต่พอดูรายงานการขายแล้ว แม่งบ้าจริงๆ  มันเคาะทีดีตอนสี่โมงครึ่ง  ซื้อทุกแถวยันซิลลิ่ง  ถ้ามีอะไรโดนตลาดสอบแหงๆ ถ้าไม่มีอะไรพรุ่งนี้ร่วงเพราะขึ้นมาแบบไม่มีกระไดแบบนี้เจอรุมขายแหงๆ


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Rule of Law ที่ 16-09-2008, 23:33

เห็นกราฟแล้ว  มันบ้าทำไปได้นะน่ะ เคาะตอน 4.30 ยันซิลลิ่ง
บางทีคนเราก็ทำอะไรแบบหลุดโลกไม่มีใครเข้าใจได้แฮะ  :slime_hmm:
แล้วพรุ่งนี้ใครจะมาบ้าตามมันหว่า




หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Iona ที่ 17-09-2008, 01:14
จขก. จำข่าว
เลี๊ยบจะเอาเงินคงคลังไปแปลงเป็นทุน เพื่อลงทุนกับเลย์แมนได้ไหม? (เลย์แมนระดมทุนหนัก ค่าคอมมิชั่น)..........วิกฤติที่สุด    >>> ถ้าไม่ไล่ ให้รัฐบาลมันทำตามใจมัน คงพังกันหมดไปแล้ว แต่ละโครงการดีแต่หาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองและพวกพ้องทั้งนั้น

หรือ ควรหยุดไล่แล้วให้พวกรัฐบาลมันบริหารต่อไปดี? -*-


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอ
เริ่มหัวข้อโดย: นักปฏิวัติ ที่ 17-09-2008, 01:34
การเมืองใหม่ สำคัญกว่า ส่งผลดีระยะยาวต่อประชาชนทุกคนในประเทศไทย

ความล่มสลายของกลุ่มทุน เช่น Lehman, AIG, ฯลฯ ล้วนเป็นตัวอย่าง แสดงความล้มเหลวของระบบทุนนิยม ที่โลภเกินตัวของกลุ่มทุนผู้ไร้จริยธรรม(ปากพูดแต่ไม่ทำ)

เจ้าของกระทู้คงเป็นห่วงผลประโยชน์เฉพาะหน้า(ในตลาดหุ้น)ของตนเอง มากกว่า

ลองคิดดู สมมติ คุณเป็นโรคหัวใจ ในระหว่างทำงาน กำลังก้าวหน้า

หมอ บอกว่า ให้มาทำบอลลูนโดยเร็วที่สุด (ลางาน โดยเร็วที่สุด เพื่อนัดหมอ)

แต่คุณเสียดาย รายได้และความก้าวหน้า โดยขอผัดผ่อนไปเรื่อยๆ

แต่โรคหัวใจ(ขาดเลือด) ไม่เคยรอใคร ผ่านไป 3 สัปดาห์ คุณเสียชีวิตกะทันหัน ระหว่างกำลังขอลางานพอดี...

การชุมนุม เหมือนการผ่าตัดหัวใจ
ส่วนการเมืองใหม่ คือการปฏิบัติตัวใหม่ ลดอาหารมัน กินอาหาร ผักผลไม้ ไฟเบอร์สูง ออกกำลังกายทุกวัน


คุณจะยกระดับคุณภาพชีวิตตนเอง ไปอีกขั้น เฉกเช่น ประเทศไทยมีการเมืองใหม่





หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข$
เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 17-09-2008, 09:21
ข่าวล่าสุด FED ตัดสินใจ จะอุ้ม AIG  แต่ ตัดหางปล่อยวัด เลแมน ......

FED จะอัด ฉีด เงิน ประมาณ 85,000 ล้าน ดอลล่าห์ เพื่ออุ้ม AIG

อาจเป็นลักษณะ การเข้าแทรกแซง แบบที่ เราทำกัน ในสมัย ที่ แบ็งค์ บีบีซี หรือ นครหลวงล้มในตอนนั้น...

ต่างกัน ตรงที่ AIG ไม่ใช่สถาบันการเงิน....

ปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งคือ....บริษัทฯ ใหญ่ ๆ ที่มี ชั้นเครดิต Triple A  เข้าไปค้ำประกัน

ตราสาร อนุพันธ์ ที่ สถาบันอื่น ๆ นำออกขาย ทั่วโลก  เมื่อบริษัท ฯ อย่างเลแมน หรือ อาจจะเป็น

เมอริลลิ้นซ์ และ โกลแมนแซค ที่ เป็นพวก triple A  จำทำให้ ตราสารอนุพันธ์ เหล่านั้นขาดความเชื่อถือทันที

เนื่องจาก ขาดหลักประกันที่ ดี.....โอย...ไม่อยากจะนึกถึง.....

ผมอยากให้ คนศึกษา กรณี เลแมน บราเธอร์ เป็นตัวอย่าง

ในกรณี การซื้อสินทรัพย์ ที่มีความเสียงสูง จนทำให้เกิด วิกฤติซัพไพรม์

จะทำให้เข้าใจ ทีมาที่ไป ของการขาย สินทรัพย์ใน ปรส. ครับ

จำได้ไม่เป็นเหยื่อ ของพวก แกล้งโง่ อย่าง บักจืด จอมหมิ่นคู่หูหมัก

กับไอ้พวกโง่จริงแต่อวดรู้ อย่าง ไข่มุกดำจอมทรพี..

ส่วนเรื่องการเมืองใหม่ ผมว่า คงไม่เกี่ยว เท่าไหร่ครับ..

ค่อย ๆ ศึกษา กันไป...ผมว่า มันน่าจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย...เพราะ พื้นที่ น่าจะกว้าง และ กระจาย มากขึ้น

ทำให้ ซื้อเสียงได้ลำบาก เนื่องจาก ไม่มีหลักประกันว่า ซื้อเสียงแล้ว จะมีคะแนนนำคู่แข่ง

จะลำบากนิดหน่อย ตรงวิธี การแบ่งประเภท ของ ผู้ลงคะแนน ซึ่ง ก็น่าจะแก้ไขได้ไม่ยาก

หากคิดจะทำจริง ....


 :slime_smile:


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข$
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 17-09-2008, 10:16
ข่าวล่าสุด FED ตัดสินใจ จะอุ้ม AIG  แต่ ตัดหางปล่อยวัด เลแมน ......

FED จะอัด ฉีด เงิน ประมาณ 85,000 ล้าน ดอลล่าห์ เพื่ออุ้ม AIG

อาจเป็นลักษณะ การเข้าแทรกแซง แบบที่ เราทำกัน ในสมัย ที่ แบ็งค์ บีบีซี หรือ นครหลวงล้มในตอนนั้น...

ต่างกัน ตรงที่ AIG ไม่ใช่สถาบันการเงิน....

ปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งคือ....บริษัทฯ ใหญ่ ๆ ที่มี ชั้นเครดิต Triple A  เข้าไปค้ำประกัน

ตราสาร อนุพันธ์ ที่ สถาบันอื่น ๆ นำออกขาย ทั่วโลก  เมื่อบริษัท ฯ อย่างเลแมน หรือ อาจจะเป็น

เมอริลลิ้นซ์ และ โกลแมนแซค ที่ เป็นพวก triple A  จำทำให้ ตราสารอนุพันธ์ เหล่านั้นขาดความเชื่อถือทันที

เนื่องจาก ขาดหลักประกันที่ ดี.....โอย...ไม่อยากจะนึกถึง.....

ผมอยากให้ คนศึกษา กรณี เลแมน บราเธอร์ เป็นตัวอย่าง

ในกรณี การซื้อสินทรัพย์ ที่มีความเสียงสูง จนทำให้เกิด วิกฤติซัพไพรม์

จะทำให้เข้าใจ ทีมาที่ไป ของการขาย สินทรัพย์ใน ปรส. ครับ

จำได้ไม่เป็นเหยื่อ ของพวก แกล้งโง่ อย่าง บักจืด จอมหมิ่นคู่หูหมัก

กับไอ้พวกโง่จริงแต่อวดรู้ อย่าง ไข่มุกดำจอมทรพี..

ส่วนเรื่องการเมืองใหม่ ผมว่า คงไม่เกี่ยว เท่าไหร่ครับ..

ค่อย ๆ ศึกษา กันไป...ผมว่า มันน่าจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย...เพราะ พื้นที่ น่าจะกว้าง และ กระจาย มากขึ้น

ทำให้ ซื้อเสียงได้ลำบาก เนื่องจาก ไม่มีหลักประกันว่า ซื้อเสียงแล้ว จะมีคะแนนนำคู่แข่ง

จะลำบากนิดหน่อย ตรงวิธี การแบ่งประเภท ของ ผู้ลงคะแนน ซึ่ง ก็น่าจะแก้ไขได้ไม่ยาก

หากคิดจะทำจริง ....


 :slime_smile:

เอาเถอะ เวลานี้ จะทำอะไรก็อัปลักษณ์ทั้งนั้น  อุ้มก็จะเกิดต้นทุนสูงมาก  moral hazard สร้างสองมาตรฐานแก่นโยบายการค้าเสรีของอเมริกา ทำให้สถาบันการเงินในอนาคตไม่ต้องรับผิดชอบอะไร  นอกจากนี้ก็เป็นแค่การถ่วงเวลาให้ "ของจริง" มาช้าลงอีกนิด การพิมพ์ดอลล่าร์ออกมาอีก 80,000,000,000 ดอลล่าร์นี่อันตรายมาก ทุกวันนี้อเมริกาก็พิมพ์เงินมากกว่า 150,000,000,000 ออกมาทำสงครามในอิรักและอัฟกาอยู่แล้ว และใช้เงินอีก 300,000,000 ต่อวันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการยึดครอง 2 ประเทศ   แต่อย่างว่า ถ้าไม่อุ้มอเมริกาก็ตาย ไม่เชื่อหรอกว่าอเมริกาจะหนีพ้น   มิน่า Greenspan ถึงบอกว่า "วิกฤติแห่งประวัติศาสตร์อเมริกา" (แกก็มีส่วนสร้างฟองสบู่)

เวลานี้อังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมในการลงทุนกับอเมริกา ทั้งเรื่องการเงิน สงคราม น้ำมัน เพราะตัวเองหวังเกาะชายกระโปรงอเมริกากลับมาเป็นมหาอำนาจโลกอีกครั้ง เริ่มออกอาการแล้ว     เมื่อข้อมูลบ่งชี้ว่า เอเชียได้รับผลกระทบจาก sub prime น้อยกว่าที่คาด   แล้วที่เหลือนี่เป็นของใคร :?:  :?:


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 17-09-2008, 10:49
นี่คือสาเหตุที่ Fed ต้องอุ้ม AIG

New York Times เอามาลงไว้ สรุปก็คือ ทรัพย์สินของ AIG มีทั่วโลกนับล้านล้านดอลล่าร์ ตั้งแต่ให้เช่าซื้อเครื่องบิน 900 ลำ ปล่อยเงินกู้สร้างไฮเวย์ ประกันภัย บริหารกองทุนบำเน็จบำนาญ ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ฯลฯ ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย   โดยอ้างว่า ถ้าปล่อยล้มโลกจะกระทบ


แต่ถ้าเรามองในแง่ผลประโยชน์ของอเมริกา หากปล่อยให้ตัวแม่ล้มแบบ Lehman   ทรัพย์สินพวกนั้น (ลูกๆ) ก็จะหลุดลอยไปสู่มือของประเทศอย่าง  แคนาดา จีน ญี่ปุ่น และประเทศเล็กประเทศน้อยอย่าง ไทย ฟิลิปปินส์    อเมริกาก็จะจนลงทันที ความเป็นมหาอำนาจก็จะเสื่อมความขลัง จึงน่าจะเป็นสาเหตุให้ Fed ยอมเสี่ยงพิมพ์เงินออกมาอุ้ม  (คิดไปคิดมา  อยากจะเอาตัว ทนง พิทยะ, โภคิน พลกุล, ทักษิณ ชินวัตร, ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์, อมเรศ ศิลาอ่อน, วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ ฯลฯ มาตัดหัวทิ้งเอาเลือดมาล้างตีนจริงๆ  โทษฐานทำตัวเป็นขี้ฝรั่ง และปล้นประเทศชาติ)


A.I.G. Is Still Profitable, With a Wide Array of Enterprises

By JONATHAN D. GLATER
Published: September 16, 2008


American International Group and its assortment of businesses run the gamut from aircraft leasing to life insurance for Indians to retirement plans for elementary schoolteachers. Parts of the company have been battered by the credit crisis.

But many of its operations may put up for sale — as the Federal Reserve signaled they would be when it announced its rescue of the company Tuesday night — and they could prove attractive to prospective investors and competitors. The main insurance unit has remained profitable, as has the aircraft leasing arm.

American International Group and its assortment of businesses run the gamut from aircraft leasing to life insurance for Indians to retirement plans for elementary schoolteachers.

The great assortment of assets reflects the determination of the man who built A.I.G., Maurice R. Greenberg, to create an global empire operating in complementary businesses. Not even the company’s annual reports to shareholders or its regulatory filings offer a chart of its complex corporate structure.

Though its name is American, the company is rooted in Asia. According to company lore, its founder, Cornelius Vander Starr, a World War I veteran, traveled to Asia with only 300 Japanese yen (less than $3 by today’s exchange rates) in his pocket and started the firm in Shanghai in 1919.

With a partner, he sold marine and fire insurance and expanded rapidly throughout the Philippines, Indonesia and China by hiring locals as agents and managers, a business strategy A.I.G. uses today. Nearly half of A.I.G.’s 116,000 direct employees — about 62,000 people — are in Asia.

In 1960, Mr. Greenberg joined the company, following his mentor, an executive at Continental Casualty Company in Chicago. Mr. Greenberg focused on making giant commercial deals, increasing its share of the life insurance business and writing what were, decades ago, unusual types of coverage, like insurance against kidnapping and protection from suits against a company’s officers and directors.

A.I.G.’s general insurance business, which accounted for nearly half its $110 billion in revenue last year, has held up well. A.I.G. claims that its companies are the largest underwriters of commercial and industrial insurance in the United States. Its policies cover everything from environmental liability for companies to auto insurance.

A.I.G.’s asset management group — it includes a private banking subsidiary for the wealthy, a broker dealer and another unit that manages mutual funds — has had losses, but it is not a unit that pushed the company to the brink. That group reported its first loss in years in the last quarter of 2007; in the second quarter of this year, it reported an operating loss of $314 million, which is modest these days.

Then there is the aircraft leasing business, which owns more than 900 planes and is part of the company’s financial services group. The company stated in its annual filing with regulators that the leasing unit would buy 73 new aircraft this year. That unit is profitable, according to the most recent report for the quarter ended June 30.

A.I.G.’s problems rest in the company’s London-based financial products unit, part of its financial services group, which is exposed to securities tied to the value of home loans — the same kind of securities that forced Lehman Brothers into Chapter 11 bankruptcy proceedings on Monday. The financial products group sold credit-default swaps, complex financial contracts allowing buyers to insure securities backed by mortgages. Many of the buyers were European banks. As home values have fallen, the value of the underlying mortgages has declined, and A.I.G. has had to reduce the value of the securities on its books.

The company has other forms of real estate exposure. One subsidiary, American General Finance, makes home loans and has suffered along with the housing market. Another subsidiary, the United Guaranty Corporation, provides mortgage guarantee insurance. Still other units buy mortgage-backed securities directly.

“We’ve always been opportunistic,” Mr. Greenberg said, responding to a question about whether the company would buy other insurers struggling in the wake of the Sept. 11 terrorist attacks. “When we see opportunities, we will never change. At A.I.G., it’s part of our culture.”

Geographically, A.I.G. is sprawling. One of its life insurance company operates in 50 countries and other units offers other products, like health insurance and retirement services, in countries like Japan and the United States. It claims to be the largest life insurance company in the Philippines. Its private bank is based in Zurich.

A.I.G. ’s Asian asset management business has $115 billion in assets, and the company peddles mutual funds in the Philippines, Hong Kong and Singapore and investment trusts in Taiwan.

The company is a sizable investor in Asian development projects, from toll roads in the Philippines to Seoul’s international finance center. It is also a major investor in the Taiwan government. As of February, A.I.G. held $14.2 billion in Taiwan government bonds, 13.1 percent of Taiwan’s total issued government bonds.

Though he left the company a few years ago after an accounting scandal, Mr. Greenberg’s fortune remains locked up with A.I.G., in which he has a stake of about 11 percent through various holdings, according to Bloomberg News.

Early in 2005, questions arose about financial transactions that had the effect of making the company’s earnings look better. Mr. Greenberg resigned as chief executive after regulators sent a wave of subpoenas to the company; eventually A.I.G. restated earnings covering a five-year period. His successor tried to restore confidence in the company but his efforts did not meet with investor approval and he was replaced this summer, after the company announced that it lost $7.8 billion in the first quarter of the year, the biggest loss in its history. In August it announced that it had lost another $5.3 billion in the second quarter.


หัวข้อ: Re: เลย์แมนล้ม เมอร์ลินลินซ์ถูกเทค ปัญหาข้างหน้าใหญ่กว่า การเมืองใหม่หรือเก่าเยอะ
เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 17-09-2008, 11:46
AIG มีสมบัติเยอะหน่ะเนอะ คุ้มที่จะยึดมา เลห์แมนมีแต่กระดาษ อุ้มไปมีแต่ตายกะตาย เมื่อเช้าพอดีได้ฟังสัมภาษณ์คุณกรณ์ เค้าเล่าว่า การทำธุรกิจของเลห์แมน เก็งกำไรมากๆ เสียงมากๆ มากชนิดที่บริษัทหรือวานิชฯ ของเมกาเค้าไม่ทำกัน ก็ไม่แปลกที่จะเสียหายมาก

ฟังแล้วนึกถึง ตะวันออกไฟแนนซ์สมัยก่อน พี่แกเล่นกู้เงินกองทุนฯ ปาเข้าไป 11 เท่าของเงินกองทุนบริษัท พอโดนปิดแล้ว เจ้าของยังทำปากเก่ง บอกว่าตัวเองมีปัญญากู้ ก็มีปัญญาใช้หนี้ มาปิดของเค้าทำไม ฟังแล้วประสาทจะแด๊ก  :slime_hmm: