หัวข้อ: รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม เริ่มหัวข้อโดย: คนบ้านนอก ที่ 02-07-2008, 22:44 สังคมไทยในขณะนี้แบ่งกันออกโดยชัดเจน คือคุณอยู่ฝ่ายไหน จึงมีปัญหาว่า "การสมานฉันท์" จะเกิดขึ้นได้ไหม?
คอลัมน์ สยามรัฐ ได้หยิบยกประเด็นปัญหาสังคมการเมืองของประเทศไทย ที่กลายเป็นปัญหาวุ่นวายไม่รู้จบขึ้นอยู่กับแค่ 3 เรื่อง ระหว่าง 1. ข้อกล่าวหา 2. ข้อเท็จจริง 3. ความเชื่อของคนทั่วไป ...*.. หรือประเทศไทยจะอุบัติเหตุข้างหน้ามาจาก 3 เรื่องที่ว่า ...*... หากเกิดอะไรขึ้นก็ตามวันข้างหน้า ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้ว่าเกิดอะไรขึ้นในสมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช สาเหตุมาจากเรื่องราวในอดีตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ ม็อบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ใครชนะ ใครแพ้ ยังไม่รู้ แต่ประเมินได้ว่า ประเทศไทยและคนไทย เสียหายเท่าไหร่ และเสียโอกาสเดินไปข้างหน้าเท่าไหร่ ... แหล่งอ้างอิง สังคมสยามรัฐ ฉบับประจำวันที่ 27 มิ.ย.51 ข่าววันที่ 26 มิถุนายน 2551 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ -------------------------------------------------------------------------------- หากเปรียบเทียบกับปรัชญาการเมืองกับการเมืองไทยในปัจจุบัน จึงมีข้อแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นโดยหลักพฤตินัยและนิตินัย ข้อสังเกต : การเมืองสมัยโบราณ (ปรัชญาการเมือง) มุ่งประเด็นประชาชนเป็นศูนย์กลาง นั้นหมายถึง อุดมการณ์ (หลักการของพรรค) คือ ยึดหลักการความเป็นอยู่ของประชาชนมาก่อน คือ 1. อยู่อย่างมีความสุข ตามฐานะแต่ละบุคคล 2. ประชาชนอยู่อย่างสงบสุขได้นั้น รัฐควรจะต้องให้ความรู้ต้องเป็นไปตามหลักพฤตินัยด้วย รัฐจึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ประชาชน ข้อสังเกต : การเมืองปัจจุบันต่างคนต่างมุ่งหวังเสรีภาพส่วนตน (อาจพูดได้ว่า ไร้ขอบเขต ไม่เป็นตามหลักนิตินัย ) ดังที่เห็นได้จาก สากก๊ก แสดงหลักปกครองการเมืองของ สุมาอี้ ที่สั่งสอนลูกชายทั้งสองของตน ขณะใกล้สิ้นใจ (คัดลอกจากวรรณกรรม "สามก๊ก ฉบับคนขายชาติ") ความว่า 1. ชาวนาปลูกข้าวมุ่งหวังมีข้าวกินไปตลอดปี .. 2. พ่อค้าค้าขายล้วนมุ่งหมายจะได้กำไร ทำให้กิจการเจริญเติบโต 3. ข้าราชการขุนนางทำราชการด้วยหวังยศศักดิ์ความก้าวหน้า มีประโยชน์ และอำนาจเป็นที่หมาย 4. ข้าทหารตำรวจทำราชการหวังให้มีชื่อลือชาปรากฎไว้ในประวัติศาสตร์ว่า เป็นวีรชนของแผ่นดิน |