หัวข้อ: เผาเมืองเอาประกัน เหรี้ยแม้ว เหรี้ยหมัก ไอ้เลวเชลียร์ แม้ว ช่วยเผาเมือง รายา เริ่มหัวข้อโดย: กำจัดระบอบแม้ว ที่ 10-06-2008, 17:56 กวนน้ำให้ใส
เผาบ้านเอาเงินประกัน เผาบ้านเอาเงินอายัดคืน (กวนน้ำให้ใส) สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ดูเหมือนว่า ผู้มีอำนาจกำลังเร่งรีบนำพาประเทศเดินไปสู่จุดแตกหัก ทำให้นึกถึงคำพูดของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เตือนว่า "...คนไทยพึงรู้เท่าทันว่า คนที่ฉลาดๆ บางคนที่ออกแบบวางตัวองค์ประกอบของรัฐบาล อาจจงใจให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมือง ต้องระวังอารมณ์ ใช้การต่อสู้ที่เป็นวิถีอารยะให้มากที่สุด เพื่อป้องกันการจลาจล..." อันที่จริง ปัญหาข้อขัดแย้งในบ้านเมืองวันนี้ สามารถยุติได้ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็น คดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือคดีทุจริตประพฤติมิชอบทั้งหลาย โดยผู้ถูกกล่าวหาสามารถหยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นมาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในชั้นศาลได้อยู่แล้ว เว้นเสียแต่ว่า ผู้ถูกกล่าวหาอาจจะกลัวว่าตนเองดิ้นไม่หลุด หรือเชื่อลึกๆ ว่า ตนคงไม่สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้แน่แล้ว คงจะต้องถูกยุบพรรคแน่ๆ หรือจะต้องถูกยึดทรัพย์ หรือติดคุกแน่ๆ จึงอ้างว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรม พยายามดิ้นรนเร่งรัดจะแก้กฎหมาย เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มคดี หากเป็นเช่นนี้ คนพวกนี้ก็จะพยายามทำทุดวิถีทาง แม้แต่การใช้อำนาจรัฐไปสร้างเงื่อนไข สร้างความสับสนวุ่นวาย สร้างความแตกแยก แตกหัก ทำให้กลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่มีอยู่ในระบบไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบรัฐสภา จะทำหน้าที่ได้อย่างไร ในเมื่อหัวหน้าพรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภา ไม่มีอำนาจ ไม่มีราคา ไม่มีบารมี แม้แต่ในสายตาของลูกพรรค ? ไม่ต้องเอ่ยถึงการพูดโกหกคำโตกลางสภาซ้ำแล้วซ้ำอีกของหัวหน้ารัฐบาล เป็นเหตุแห่งความไม่เชื่อถือ ไม่เชื่อใจ เข้าขั้น "เจ๊งในทางความน่าเชื่อถือ" ไปแล้ว ส่วนประธานสภา แม้จะเป็นผู้สูงอายุ แต่ก็มีทุนทางสังคมต่ำ น่าเสียดาย... ระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน เป็นระบอบที่ประนีประนอมอยู่ในตัวเอง เพราะเมื่อเกิดประเด็นความขัดแย้งขึ้น ก็มีเวทีไว้ให้คนที่เป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนได้มาพูด มาประชุมเพื่อถกแถลงกัน อภิปรายชี้แจงโน้มน้าว พูดกันด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง โดยพยายามพูดให้อีกฝ่ายเข้าใจ เห็นใจ ยอมรับในข้อเสนอหรือเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่ง คำว่า parliament ก็มาจากรากศัพท์ฝรั่งที่มีความหมายว่า "การพูด" นั่นเอง การมีสภาไว้พูดคุยกัน น่าจะทำให้ทุกฝ่ายสามารถแสวงหาและยึดถือข้อยุติร่วมกัน ทั้งฝ่ายบริหารที่เป็นรัฐบาล และฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงทำให้กลุ่มต่างๆ ในสังคมนอกสภา ก็สามารถจะเชื่อถือข้อยุติดังกล่าวได้ด้วย แต่ในความจริงของปัจจุบัน ถ้าหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นคนที่มีพฤติกรรมไม่น่าเชื่อถือ โกหกหน้าตาเฉย พูดจากลับกลอกเสียแล้ว น่าสงสัยว่า สังคมจะเชื่อถือได้อย่างไร ? จะหาข้อยุติร่วมกันได้อย่างไร ? ต่อให้สภา มีการเปิดอภิปราย หรือตั้งกระทู้ถามหัวหน้าฝ่ายบริหาร สังคมจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เขาคนนี้จะไม่โกหกเหมือนที่เคยเป็นมา วันนี้ รับปากอย่างนี้ พรุ่งนี้กลับไปทำอีกอย่าง วันนี้ถอนญัตติแก้รัฐธรรมนูญ พรุ่งนี้อาจจะยื่นเข้าไปอีก หรือวันนี้รับปากจะแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน แต่พรุ่งนี้อาจจะบ่ายเบี่ยงเลี่ยงไปเรื่อยๆ ไม่ต้องพูดถึงพฤติกรรมการตอบคำถาม แบบไม่ตอบคำถาม แต่เล่นสำนวน ตีโวหาร อวดอ้าง เอาตัวรอดไปเรื่อยๆ ระบบขจัดความขัดแย้งในสภาปัจจุบัน จึงมีปัญหาน่าห่วง เพราะพฤติกรรมของหัวหน้าพรรคเสียงข้างมากในสภาเป็นสำคัญ เหมือนที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เตือนว่า " ...รัฐบาลที่ขาดความเชื่อถือไว้วางใจจากสังคมอยู่ได้ยาก ทำอะไรๆ จะลำบากไปหมด หรืออาจเกิดการต่อต้านขึ้นมาได้ ถ้าเราดูในประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งมีการบันทึกที่ยาวนานที่สุดจะเห็นได้ว่าเมื่อรัฐบาลขาดความชอบธรรม จะเกิดความกระด้างกระเดื่อง เกิดกบฏ หรือเกิดการลุกฮือของราษฎร จนเป็นเหตุให้เปลี่ยนราชวงศ์อยู่บ่อยๆ .... รัฐบาลจะมั่นคงต่อเมื่อตั้งอยู่ในความถูกต้อง พยายามรักษาน้ำใจของคนในชาติ มีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนเข้ามารวมพลังสร้างชาติบ้านเมือง มีวจีสุจริต มิใช่โฮกฮากขากถุยทะเลาะกับผู้คน หาความสัตย์มิได้เป็นประจำวัน..." ในระบอบทักษิณ เรามีนายกรัฐมนตรีที่ไม่เห็นความสำคัญ ไม่เข้ามามีส่วนร่วมในระบบรัฐสภา ได้แต่ส่งตัวแทนมาตอบกระทู้ ทำให้ไม่สามารถชี้แจงความคิดเห็นหรือแสดงท่าทีต่อปัญหาและทิศทางในอนาคตแทนตัวนายกรัฐมนตรีได้ทั้งหมด ทำให้การประชุมในรัฐสภาไม่ได้ข้อยุติอันครบถ้วนดังเจตนารมณ์ ในปัจจุบัน เรามีนายกรัฐมนตรีที่เข้ามาตอบกระทู้หรือประชุมสภา แต่ก็เหมือนไม่ตอบ ประชาชนไม่แน่ใจว่านายกฯ เป็นตัวแทนของใคร เป็นตัวของตัวเองแค่ไหน พูดไปแล้วเชื่อถือได้แค่ไหน พูดไปแล้วจะสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามที่พูดได้จริงไหม (เพราะหลายกรณีที่ผ่านมา นายกฯ พูดว่าจะทำ แล้วก็ทำไม่ได้ แต่บางอย่างพูดว่าจะไม่ทำ กลับควบคุมไม่ได้) ประการสำคัญที่สุด ฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ ทั้งรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร กลับไม่พยายามตอบให้ตรงกับคำถาม หรือปัญหาอันนำมาซึ่งความขัดแย้งนั้น คือ การใช้อำนาจรัฐไปกระทบกระเทือน ก้าวก่าย แทรกแซง หรือแม้แต่ล้มล้างคดีในกระบวนยุติธรรม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพรรคพวก ขณะนี้ จึงมองไม่เห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรหรือแม้แต่รัฐสภา จะเป็นกลไกที่ช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้อย่างไร ? สถานการณ์ปัจจุบัน จึงเป็นไปอย่างที่อดีตนายกรัฐมนตรี คุณอานันท์ ปันยารชุณ ที่ว่า "สังคมระบอบประชาธิปไตยสามารถใช้กลไกทางรัฐสภา สกัดปัญหาหรือลดความเข้มข้นของปัญหาไปได้ แต่ถ้าสภาไม่ทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ข้อขัดแย้งจะลงไปอยู่บนท้องถนน ทุกแห่ง ถ้าไม่สามารถแก้ในสภาได้ ทุกๆ ประเทศ ก็ออกมานอกสภา ปัจจุบันก็เห็นปัญหาข้าวยากหมากแพง น้ำมันขึ้น มีการชุมนุมบนถนนเป็นปรากฏการณ์ธรรมดา แต่ตราบใดที่การชุมนุมในที่สาธารณะหรือถนนทำด้วยความสันติ ไม่ใช้ความรุนแรงก็เป็นสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญของเขา" น่าเป็นห่วงว่า ในอดีต ช่วงที่มีการลอยตัวค่าเงินบาท 2540 นายเสนาะ เทียนทอง เคยเปรียบเทียบว่า คนกลุ่มหนึ่ง ได้กระทำเสมือน "เผาบ้านเอาเงินประกัน" คือ เอาข้อมูลภายในไปเก็งกำไร ซื้อขายล่วงหน้า ประกันความเสี่ยง และร่วมโจมตีค่าเงินบาท ซึ่งในที่สุด ก็มีส่วนกดดันให้ต้องมีการลดค่าเงินบาทจริงๆ แล้วคนกลุ่มนั้นได้ผลประโยชน์ไปมหาศาล น่าคิดว่า ขณะนี้ คตส.ได้ทำการอายัดและดำเนินการเพื่อยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว มูลค่ากว่า 76,000 ล้านบาท จะมีใคร หรือคนกลุ่มใด หรือ คนที่ฉลาดๆ บางคนที่ออกแบบวางตัวองค์ประกอบของรัฐบาล อาจจงใจให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมือง "เผาบ้านเอาเงินอายัดคืน" มุ่งใช้อำนาจรัฐ โดยไม่สนใจว่าจะเกิดความปั่นป่วน วุ่นวาย แตกแยก แตกหัก รุนแรง เพียงหวังจะล้มกระดาน ล้มล้างความผิดของตนและพวก เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น หรือไม่ ? สารส้ม http://www.naewna.com/news.asp?ID=109011 หัวข้อ: Re: เผาเมืองเอาประกัน เหรี้ยแม้ว เหรี้ยหมัก ไอ้เลวเชลียร์ แม้ว ช่วยเผาเมือง รายา เริ่มหัวข้อโดย: akp ที่ 23-06-2008, 17:33 สู้พวกตอแหลไม่ได้หรอก
เอาไม้เบสบอลมา บอกว่าเป็นอุปกรณ์กีลา คงเล่นเป็นกันนะคะ อยากเห็นเมื่อไหร่จะเอามาเล่นกันสักที เมืองไทย จะได้ส่งเบสบองเข้าโอลิมปิก อยากให้ท่านจำลองช่วยพัดนา วงการเบสบองไทย เป็นห่วงลูกหลานจะเล่งไม่เป็ง ง |