หัวข้อ: ไปดูฝีมือเซียนเศรษฐกิจ กัน เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 23-04-2008, 11:28 งามหน้า'ค่าโง่'สวอป 4,000 ล้าน
23 เมษายน พ.ศ. 2551 00:00:00 วันนี้ขอพักเรื่องการเมืองวุ่นๆ สักวัน เบื่อหน่ายที่จะพูดถึง... กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ลองมาดูเรื่องงามหน้าที่เกิดขึ้นกับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือเอสเอ็มอีแบงก์ กันหน่อย เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา มีฝ่ายบริหารของเอสเอ็มอีแบงก์ อาจหวังดีกับองค์กร ณ ขณะนั้น คิดการใหญ่ ทะลึ่งไปทำสัญญา cross currency and interest rate swap กับ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด วงเงินกู้ประมาณ 25,000 ล้านบาท ภายใต้ข้อตกลงในสัญญาสวอปดอกเบี้ย มีเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.5-8% ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือเกินกว่านี้เอสเอ็มอีแบงก์ ต้องจ่ายค่าปรับให้แก่ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ปรากฏว่า พิษซับไพร์ม ทำให้ดอกเบี้ยอ้างอิงต่ำกว่าข้อตกลงกัน ประกอบอัตราดอกเบี้ยโดยรวมต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ผลที่ตามมา เอสเอ็มอีแบงก์ต้องจ่ายค่าปรับให้กับ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ถึง 4,000 ล้านบาท เป็นค่าดอกเบี้ย บวกค่าปรับรวมๆ กันสูงถึง 16-17% ค่าปรับจำนวน 4,000 ล้านบาท นับเป็นความเสียหายยิ่งยวดสำหรับเอสเอ็มอีแบงก์ ที่ยังหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ แถมเรื่องยัง "หมกอยู่ใต้พรม" นานพอสมควร กระทั่งมีการประชุมบอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงได้แตกตื่น โดยเฉพาะ จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ประธานบอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์ "ร้อนผ่าว" ไปทั้งตัว เมื่อรู้ความจริงว่า เอสเอ็มอีแบงก์ต้องเสีย "ค่าโง่" ถึง 4,000 ล้านบาท" ที่เลวร้ายไปกว่านั้น ผู้บริหารยังเสนอขอเพิ่มทุนอีก 5,000 ล้านบาท นี่มันอะไรกัน ทำเจ๊ง 4,000 ล้านบาทแล้วดันมาขอเพิ่มทุนอีก!! แต่ก่อนประชุมบอร์ดครั้งนั้น จักรมณฑ์ ยกหูขอปรึกษากับ ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เพื่อแจ้งให้ทราบว่าจะ "เบี้ยวค่าปรับ" และปฏิเสธ ว่าบอร์ดไม่เกี่ยว ไม่รู้ ไม่เห็น เรื่องใหญ่โตขนาดนี้ จะปฏิเสธความรับผิดชอบได้อย่างไร สืบสาวราวเรื่องกลับไป ก็พบว่า "ซีเอฟโอ" ของเอสเอ็มอีแบงก์ น่าจะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้ เมื่อ 3-4 ปีก่อน แต่เรื่องอย่างนี้ ลำพัง "ซีเอฟโอ" คนเดียว จะทำได้สำเร็จหรือ ผู้บริหารคนอื่นๆ จะไม่ร่วมรับรู้เลยเชียวหรือ มันมีอะไรซ่อนเร้น ถึงกล้าทำอย่างนี้ ล่าสุด แว่วมาว่า ประดิษฐ์ สั่งบอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์ชะลอเรื่องนี้ไว้ก่อน เพื่อดูผลกระทบรอบด้าน แน่นอนว่า เรื่องนี้แม้จะหนีความรับผิดชอบไม่ได้ แต่หากจะปฏิเสธการจ่าย "ค่าปรับ" ทันทีจะมีผลกระทบอย่างไร โดยเฉพาะ หากเจอต่างชาติประจานไปทั่วโลกว่า "ประเทศไทยโกง" งานนี้ ประดิษฐ์ จึงสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ และสั่งบอร์ดจัดการขั้นเด็ดขาดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะใครหน้าไหนก็ตาม เอาถึงขั้น ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เล่นงาน ว่ากันว่า มีหวังได้มีคนติดคุกกันบ้าง ก็ขอให้เอาจริงเอาจังกันสักทีเถอะ...อย่า "ปากว่าตาขยิบ" ก็แล้วกัน ชื่อเสียงเอสเอ็มอีแบงก์ ทุกวันนี้ เน่าเหลือเกิน ทั้งใช้เงินมือเติบ ปล่อยกู้ก็ "เละเป็นโจ๊ก" ยังไม่นับเรื่องฉาวครั้งใหม่ เริ่มมี "ขาใหญ่" ออกอาการกระวีกระวาด "ฝากฝังเด็กในคาถา" กันเอิกเกริก หากตรวจสอบกันจริงๆ จังๆ อาจเจอเด็ก "ขาใหญ่" ติดร่างแหปล่อยกู้ เน่าเฟะมานานแล้ว ว่ากันว่า เรื่องนี้มีกลุ่มการเมืองพ่วงอยู่ไม่น้อย งานนี้ ต้องวัดใจ รมช.ประดิษฐ์ ว่า จะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไร จะรับกล่องหรือก้อนอิฐ ก็เลือกเอา http://www.bangkokbiznews.com/2008/04/23/WW01_0104_news.php?newsid=250590 ไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของรํฐบาลไหน เพราะ มันคาบเกี่ยวกันอยู่ ระหว่าง รัฐบาลทักษิณสุดท้าย กับ ขิงแก่.... ก็ อ่าน ๆ กันเอาไว้ประดับความรู้ก็แล้วกันครับ หัวข้อ: Re: ไปดูฝีมือเซียนเศรษฐกิจ กัน เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 23-04-2008, 12:48 :slime_bigsmile:
ชักดาบครับ ไปเอากับไอ้คนเซ็นต์นั่นคนเดียวเหอะครับ เราชิงออกข่าวไปเลย ว่า std มีนอกมีในกับ คนเซ็นต์ หัวข้อ: Re: ไปดูฝีมือเซียนเศรษฐกิจ กัน เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 23-04-2008, 13:41 อีตอนเอาเงินมาหว่านแย่งกันเสนอหน้า
เวลาโดนทวงหนี้หายหัวหมด :slime_sleeping: หัวข้อ: Re: ไปดูฝีมือเซียนเศรษฐกิจ กัน เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 23-04-2008, 22:42 ไปเจอข่าวก่อนหน้านี้นำมาให้อ่านเพิ่มเติมกันครับ
นอกจากภาระเรื่อง SWAP ยังมีเรื่อง NPLที่สูงถึง 44% ตัวเลข NPL ขนาดนี้แสดงถึงความล้มเหลวในการปล่อยกู้ เพียงแต่ยังไม่รู้ว่ามีปัญหาตั้งแต่รัฐบาลทักษิณหรือเปล่า :slime_smile: --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ซับไพรมพ่นพิษ "เอสเอ็มอีแบงก์" อ่วม ! จ่ายเบี้ยปรับ SWAP 17% วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3992 (3192) http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02fin13140451&day=2008-04-14§ionid=0206 ภาย หลังที่ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่งในสังกัด กระทรวงการคลังแล้ว พบว่า สถาบันการเงินที่ รมว.มอบหมายให้ดูแลมีอาการร่อแร่เต็มที เกือบ ทุกแห่งขอให้กระทรวงการคลังไปหาเงิน งบประมาณ มาเพิ่มทุนให้กว่า 20,000 ล้านบาท อาทิ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 10,000 ล้านบาท, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย (ธสน.) 5,000 ล้านบาท บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 2,000 ล้านบาท, บรรษัทตลาดรอง สินเชื่อที่อยู่อาศัย 600 ล้านบาท และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ 4,000 ล้านบาท แต่ที่มีอาการโคม่ามากที่สุด เห็นจะเป็น "ธพว." เพราะเม็ดเงินสินเชื่อที่ธนาคารปล่อยไปกว่า 40,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะใช้แหล่งเงินทุนจากการไปกู้เงินจากต่างประเทศถึง 25,000 ล้านบาท คิด เป็นสัดส่วนกว่า 60% ซึ่งธนาคารได้ปิดความเสี่ยงทั้งอัตราแลกเปลี่ยนและดอกเบี้ยด้วยการทำ Cross Currency and Interest Rate SWAP กับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ใน ส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นไม่มีปัญหา เพราะได้แปลงหนี้สกุลดอลลาร์เป็นหนี้สกุลบาทเรียบร้อยแล้ว ส่วนความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ย ในช่วงที่ทำสัญญาเงินกู้กับสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จะเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ทุกคนกลัวว่าดอกเบี้ยจะทะลุถึง 15-16% ธพว.จึงซื้อ ประกันความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ย โดยกำหนดช่วงของดอกเบี้ย หรือ BRAND ที่อ้างอิงกับดอกเบี้ย LIBOR เอาไว้ในสัญญา หาก LIBOR เคลื่อนไหวอยู่ใน กรอบที่กำหนด ก็จะปลอดภัยไม่ถูกปรับ แต่ถ้า LIBOR ขึ้นสูงหรือต่ำกว่าที่กำหนดจะถูกปรับ รายได้ถดถอย รายจ่ายเพิ่มพูนทวี ผล กระทบจากซับไพรมส่งผลให้ดอกเบี้ย LIBOR ลดต่ำกว่ากรอบที่กำหนด ทำให้เสียค่าปรับ 17-18% ของวงเงิน 25,000 ล้านบาท ซึ่งหมายความว่า เม็ดเงินสินเชื่อที่ ธพว.ปล่อยให้ลูกค้ากว่า 40,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้จะมีอยู่ 25,000 ล้านบาท ที่ ธพว.มีภาระ จ่ายดอกเบี้ย 17% ที่เหลือใช้วิธีกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร ในขณะเดียวกันสินเชื่อที่ ธนาคารปล่อยไปเป็น NPL ถึง 44% ของพอร์ตสินเชื่อ ซึ่งหมายถึงสินเชื่อที่ธนาคารปล่อยไปเกือบครึ่ง ของพอร์ตเป็นสินเชื่อที่ไม่ มีรายได้กลับเข้าแบงก์ แถมธนาคารยังต้องหาเงินมากันสำรองหนี้ เป็นเหตุให้กระทรวงการคลังต้อง ผ่อนผันให้ ธพว.ไม่ต้องใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ (IAS 39) นอกจากนี้ ธพว.ยังประสบปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรที่มีผู้บริหารระดับผู้ช่วยกรรมการผู้ จัดการใหญ่ ที่ได้รับเงินเดือนมากกว่า 100,000 บาท/เดือน เกือบ 30 คน ทำให้ต้นทุนของธนาคารปีนี้เพิ่มสูงขึ้นรวดเร็ว จนอาจทำให้ไม่สามารถขยายสินเชื่อปีนี้ได้ หากกระทรวงการคลังไม่เพิ่มทุนให้ เอสเอ็มอีแบงก์อุบข้อมูลทำ SWAP เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นกับ ธพว.ต่อกรณีการทำ SWAP จนสร้างความเสียหายให้กับธนาคารมากมาย "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สอบถาม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง ในฐานะกำกับดูแลว่า ได้รับรายงานข้อมูลเหล่านี้หรือยัง และจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นาย ประดิษฐ์กล่าวว่า "ในช่วงที่ผมไปตรวจเยี่ยม ธพว. ทางผู้บริหาร ธพว.ไม่เห็นรายงานเรื่องนี้ให้ทราบ แต่ได้ทราบจากรัฐมนตรี บางท่านที่แอบกระซิบในช่วงไปประชุม ครม.เมื่อ 8 เม.ย.ว่า ให้ผมช่วยไปดูด้วย มีอย่างนี้หลายแบงก์ ผมจึงสั่งการให้สำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ไปรวบรวมและอัพเดตข้อมูลภาพรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่ง สรุปเป็นรายงาน มาเสนอหลังสงกรานต์ เพื่อนำไปหารือกับ รมว.คลัง จะดำเนินการอย่างไรต่อไป" สอบเจ้าหน้าที่สินเชื่อทุจริต นาย ประดิษฐ์กล่าวว่า การไปตรวจเยี่ยม ธพว. ผู้บริหารเพียงแต่รายงานสถานการณ์ปัญหา NPL ที่มีถึง 44% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากเจ้าหน้าที่ สินเชื่อทุจริต โดยมีการตรวจพบแล้ว 52 กรณี พร้อมกันนี้ผู้บริหาร ธพว.ยังขอให้กระทรวงคลังจัดหา งบประมาณเพื่อมาเพิ่มทุนให้ 4,000 ล้านบาท ทั้ง หมดเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับ ธพว.ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรมทางอ้อม แต่ที่น่าแปลกใจที่สุด เห็นจะเป็น ผู้บริหาร ธพว.และตัวแทนที่กระทรวงการคลังส่งไปดูแล ปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยไม่ทำอะไรสักอย่าง ทั้งๆ ที่ได้รับการตักเตือนจากกระทรวงการคลัง, ธปท. และธนาคารผู้ขายบริการประกันความเสี่ยง เรื่องวุ่นๆ จะลงเอยกันอย่างไร ...คงต้องติดตามกันต่อไปหลังสงกรานต์ หัวข้อ: Re: ไปดูฝีมือเซียนเศรษฐกิจ กัน เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 24-04-2008, 13:14 มันคนชั่วอยู่ทุกหย่อมหญ้าจริง ๆ
|