ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: สมชายสายชม ที่ 18-11-2007, 00:36



หัวข้อ: จุดอ่อนของสังคมไทย เมื่อสิบปีก่อนไม่เปลี่ยน เปลี่ยนแต่ค่าตัว20ล้าน เป็น40ล้าน
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 18-11-2007, 00:36
เห็นบทความเก่าจากนิตยสารผู้จัดการออนไลน์เมื่อสิบเอ็ดปีก่อน 2539
ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ เพราะคิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์และให้ข้อคิดแก่สังคม

________________________________________________________________
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539


จุดอ่อนของสังคมไทย

 สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ทางความคิดหรือทางปัญญา สะท้อนตอกย้ำให้เห็นจุดอ่อนพื้นฐานของสังคมไทยที่มีผู้รู้สรุปไว้ได้เป็น อย่างดี

จุดอ่อนที่เป็นขั้นเป็นตอนมีดังนี้

-มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง (15 ฉบับใน 60 ปีเศษ) โดยไม่มีการเปลี่ยนหลักการที่เกี่ยวกับโครงสร้าง องค์กร กลไก และกระบวนการ ที่บรรจุดอยู่ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่เป็นนัยสำคัญโดยแท้เพื่อแก้ปัญหาของ ระบบอย่างแท้จริง

-การทุจริต คอร์รัปชั่น โดยผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง เกิดขึ้นตลอดเวลาเพราะกฎหมายให้อำนาจดุลพินิจสูงไม่มีหลักเกณฑ์การใช้ ดุลพินิจที่วัดความถูกผิดได้ อีกทั้งไม่มีระบบการตรวจสอบที่อิสระและมีประสิทธิภาพคนจึงอยากดำรงตำแหน่ง แข่งกันเข้าสู่ตำแหน่ง เพื่อให้ได้อำนาจและทรัพย์สิน

-เมื่ออำนาจเป็นที่มาของเกียรติและเงิน การแข่งขันโดยการเลือกตั้งที่มุ่งตำแหน่งเป็นสำคัญ จึงเป็นการแข่งขันที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นการซื้อเสียงหรือ วิธีอื่น

-ระบบการบังคับให้สังกัดพรรค พรรคต้องส่งคนลงสมัครมากกว่า 1 ใน 3 ของส.ส.ทั้งประเทศ ซึ่งต้องใช้เงินมากและระบบพรรคยังไม่ใช่พรรคมวลชนที่มีการบริหารเป็น ประชาธิปไตย พรรคจึงอยู่ใต้อำนาจของคนไม่กี่คนที่ลงทุนให้พรรค

-ชาวบ้านในชนบทยังขาดความจำเป็นพื้นฐาน ถูกละเลยจากส่วนกลางทั้งในสภาพปัญหาและการแก้ปัญหา ข้าราชการก็ไม่ใช่ที่พึ่งแท้จริงเข้าพบหายาก ผู้สมัครและพรรคการเมืองจึงแทรกเข้ามาแก้ปัญหาให้ด้วยการไปหาและนำความ เจริญไปให้ นำเงินไปให้ เมื่อถึงเวลา ชาวบ้านเขาก็เลือกคนที่ไปหาไปสร้างบุญคุณให้

-คนในเมืองที่มีฐานะเศรษฐกิจดีและมีการศึกษา ประณามการขายเสียงของชาวบ้านและดูถูกผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามา ไม่ศรัทธาในองค์กรการเมือง

-การเมืองถูกมองว่าเป็นเรื่องของนักการเมืองเป็นเรื่องสกปรก ประชาชนรู้สึกว่าตนจะเกี่ยวกับการเมืองเฉพาะเมื่อเลือกตั้งและฟังหรืออ่าน ข่าวเท่านั้น

-ระบบการบริหารแบบรวมศูนย์สูงสุดอยู่ที่ราชการบริหารที่กรุงเทพฯทำให้ ปัญหาทุกปัญหาที่เกิดขึ้นทุกมุมประเทศต้องวิ่งมาให้ส่วนกลางแก้ปัญหา ปัญหาของคนกรุงเทพฯแท้ๆ (การจราจร) กลายเป็นปัญหาของชาติไป การแก้ไขล่าช้า ปัญหาสั่งสม หมักหมม จนยากจะแก้

-องค์กรการเมืองทุกองค์กรไม่สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมฯลฯได้ไม่ว่าของคนเมือง (การจราจร,สลัม,สิ่งแวดล้อม) หรือชนบท (ที่ทำกิน,พืชผลราคาตกต่ำ,ผลผลิตตกต่ำ,ยากจนลง) ปัญหาสั่งสมหมักหมม

-กฎหมายไทยส่วนใหญ่ทำให้ระบบการตัดสินใจทางการเมือง ระบบราชการและข้าราชการ มีอำนาจดุลพินิจที่กว้างขวาง เน้นสิทธิเด็ดขาดในทางบริหาร มากกว่าหน้าที่หรือภารกิจเพื่อการบริหารราชการให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

-การตรากฎหมายมีแนวโน้มที่สูงขึ้นและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากนั้น องค์กรวิชาชีพทั้งหลายเองก็มีส่วนร่วมทางการเมืองและการปกครองน้อยกว่าที่ ควรจะเป็น

-สังคมไทยนิยมการใช้อำนาจมากกว่าการใช้กฎหมาย จึงพบกับการยุติปัญหาข้อขัดแย้งแบบอะลุ้มอล่วย มากกว่าการใช้วิธีการตามกฎหมาย

-มีการสร้างองค์กร กลุ่ม ฯลฯ ที่ต่างคนต่างหวงและกันอำนาจของตนเอง ไม่ร่วมมือกัน เมื่อขัดแย้งกันก็แบ่งฝักแบ่งฝ่าย กล่าวหาใส่ร้ายทำลายประหัตประหารกันด้วยความสะใจ

-การถ่ายทอดภาพการเมืองโดยสื่อต่างๆเน้นความมัน ไม่ได้เน้นเนื้อหาซึ่งถูกมองว่ากร่อย ปลูกฝังความรู้สึกรุนแรงแบ่งขั้วให้ผู้ติดตามการเมือง ความขัดแย้งทางความคิดจึงถูกสร้างให้กลายเป็นความแตกแยก ความขัดแย้งกลายเป็นสินค้าที่มีราคาดีในสังคมสารสนเทศไทย

-สื่อในสังคมไทยโดยส่วนใหญ่ ยังไม่อยู่ในฐานะที่สามารถปกป้องคุ้มครองคนในสังคมได้อย่างเต็มที่ จึงมีแนวโน้มที่จะเอารัดเอาเปรียบและเอาประโยชน์จากสังคม มากกว่าการพิทักษ์ผลประโยชน์ของสังคม

-สังคมไทยมีความอ่อนแอทางวิชาการ

-สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพุทธศาสนาเป็นตัวนำ ซึ่งมีพลังทางจิตวิญญาณสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว แต่ในปัจจุบัน สถาบันในพุทธศาสนาเช่นวัดมีความอ่อนแอลง เนื่องจากถูกครอบงำจากระบบที่รวมศูนย์อำนาจของราชการและของอำนาจทุนในกระแส โลกานุวัตร

-คนไทยมีความศรัทธามากกว่าการใช้ปัญญา ซึ่งบางครั้งสามารถใช้แก้ไขปัญหาสำเร็จได้โดยรวดเร็ว แต่อาจไม่ถูกต้องและอาจจะใช้ไม่ได้กับทุกๆกรณี

ทั้งหมดนี้นำไปสู่ปัญหา 2 ประการ

ความชอบธรรม : Legitimacyและ ประสิทธิภาพ : Efficiency

อันนำไปสู่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ครั้งแล้วครั้งเล่า

ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่หมุนวนและไร้ความหมาย

การยุบสภาและการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ ไม่ได้มีผลในเชิงโครงสร้าง องค์กรกลไกและกระบวนการที่บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญเลย พูดง่ายๆว่าไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองเลย

มันมีผลต่อเฉพาะเกมของนักการเมืองเท่านั้น

มันทำให้นักการเมืองฝ่ายที่ไม่ได้เป็นรัฐบาลมีความหวังอีกครั้งว่า ครั้งนี้มีโอกาสได้เป็นรัฐบาล ในขณะที่นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลใช้อำนาจรัฐเต็มที่เพื่อพิทักษ์ความเป็น รัฐบาลไว้ การเปลี่ยนพรรคเป็นเรื่องปกติ

นอกจากเงินแล้ว ตำแหน่งหลังเลือกตั้งก็เป็นปัจจัยประกอบการพิจารณา

ตอนนี้พรรคการเมืองเกิดใหม่บางพรรคตั้งราคาต่อหัวไว้ที่ 20 ล้านบาทในขณะที่พรรคการเมืองเก่าล็อกตัวสมาชิกไว้ที่ 20 ล้านบาทเช่นกัน

พรรคที่เป็นรัฐบาลอยู่เวลานี้และมีหวังจะได้เสียงข้างมากในคราวถัดไปใช้ตำแหน่งทางการเมืองหลังเลือกตั้งเป็นราคา

ถ้าประชาชนยอมรับระบบนี้ประชาชนก็แพ้ตลอดกาล !   

...




หัวข้อ: Re: จุดอ่อนของสังคมไทย เมื่อสิบปีก่อนไม่เปลี่ยน เปลี่ยนแต่ค่าตัว20ล้าน เป็น40ล้าน
เริ่มหัวข้อโดย: เล่าปี๋ ที่ 18-11-2007, 01:00

     ผมขอปรึกษาถามคุณ สมชายสายชม  ว่าเราจะมีวิธีแก้

อาการของโรคที่เมืองไทยเป็นนี้อย่างไรครับ  ใช่ว่าต้องใช้คำสอน

ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ

มรรค จะใช้ได้ไหมครับ :slime_worship:


หัวข้อ: Re: จุดอ่อนของสังคมไทย เมื่อสิบปีก่อนไม่เปลี่ยน เปลี่ยนแต่ค่าตัว20ล้าน เป็น40ล้
เริ่มหัวข้อโดย: (ลุง)ถึก สไลเดอร์ ที่ 18-11-2007, 01:12
ธรรมะของพระพุทธเจ้า ใช้กับเดรฉานพวกนั้นไม่ได้ผลหรอกครับ....เอิ้กกกกก
 :slime_inlove: :slime_inlove: :slime_inlove: :slime_inlove: :slime_inlove:


หัวข้อ: Re: จุดอ่อนของสังคมไทย เมื่อสิบปีก่อนไม่เปลี่ยน เปลี่ยนแต่ค่าตัว20ล้าน เป็น40ล้
เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 18-11-2007, 01:33
     ผมขอปรึกษาถามคุณ สมชายสายชม  ว่าเราจะมีวิธีแก้

อาการของโรคที่เมืองไทยเป็นนี้อย่างไรครับ  ใช่ว่าต้องใช้คำสอน

ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ

มรรค จะใช้ได้ไหมครับ :slime_worship:


คิดว่า วิธีของคุณขวานผ่าซาก น่าจะลดปัญหาได้ถ้า้คนส่วนใหญ่คิดได้
ผมคิดว่า จุดเริ่มต้น มันก่อกำเนิดจาก กิเลศ ลาภ ยศ สรรเสริญ และ การไม่รู้จักพอ
ขอเดาว่า ปัญหาตามที่บทความระบุไว้ น่าจะอยู่กับสังคมไทยไปอีกนาน

...