หัวข้อ: KOREA among top science, tech powerhouses by 2012!! (ศรีธนญชัยแลนด์จะไปทางไหน?) เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 15-11-2007, 11:49 จีน
http://forum.serithai.net/index.php?topic=18171.0 สิงคโปร์ http://forum.serithai.net/index.php?topic=18182.0 Korea among top science, tech powerhouses by 2012: gov't Korea aims to become the one of the world's top five science and technology powerhouses by 2012, the government said Sunday (Nov. 4). The plan by the Ministry of Science and Technology calls for more allocation of funds for research and development (R&D), the strengthening of knowhow in innovative cutting-edge technologies and concentration of scientific resources on promising growth industries. "About 3.2 percent of the gross domestic product is being used for R&D at present, but Seoul wants to raise the figure to at least 3.5 percent by 2012, with 1 percent of the state's budget set aside to bolster this endeavor," said a ministry official. In 2005, the country spent roughly US$23.59 billion on R&D. The United States spent more that 13 times that amount, with Japan spending 6 times as much. The figure increased to slightly more than $29 billion last year. He said the ranking will be determined by the Switzerland-based International Institute of Management and Development (IMD), whose 2007 competitiveness report placed South Korea seventh among 55 countries in the science area and sixth in terms of technological prowess. The official also said policymakers and experts want to concentrate efforts to build up 40 key strategic technologies along with 60 vital skills that could ensure South Korea's standing in the science and technology field. Among the key technologies, Seoul wants to become a world leader in next-generation high-speed trains, nano-materials, robotics, eco-friendly cars, hydrogen fuel cells and energy storage as well as biotech areas, including stem cell and cancer treatment. The Science Ministry said there will be fine-tuning of objectives as the government receives feedback, and the goal of making the top five will not be easy. In the 2007 IMD report, the United States ranked first in both science and technology areas, with Japan, Germany, Switzerland, Sweden and Taiwan taking second to sixth place in the science ranking. In technology competitiveness, Singapore came in second, followed by Hong Kong, Denmark and Israel. นี่คืออีกทิศทางหนึ่งของประเทศ ซึ่งเคยส่งคนมาดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งศรีธนญชัยแลนด์ 40 กว่าปีที่แล้ว !! หัวข้อ: Re: KOREA among top science, tech powerhouses by 2012!! (ศรีธนญชัยแลนด์จะไปทางไหน?) เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 15-11-2007, 18:32 :slime_v:
บ้านเราเดินตุปัดตุเป๋อยู่ค่ะ ยังไม่ทราบจะไปไหนดี :slime_hmm: แม้ว่าจะมีการริเริ่มให้บางโรงเรียนนำร่องในการปั้นเด็กเก่งทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือโครงการทุนพสวท. และ ฯลฯ แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ทราบจะเหลือนักเรียนที่จบปริญญาเอกทำงานด้านอาร์แอนด์ดีเต็มตัวสักกี่คน ถ้าเทียบสัดส่วนของนักวิทยาศาสตร์กับจำนวนประชากรของประเทศเราแล้วล่ะก็ ตัวเลขต่ำจนน่าเป็นห่วงอย่างที่ทราบกันดี ก็นะ...แค่ผลการสำรวจของอัตราการอ่านหนังสือของประชากรบ้านเราก็ต่ำอย่างน่าใจหาย ดังนั้น คงคาดหวังอะไรไม่ได้ค่ะ และแม้ว่าวุฒิการศึกษาของผู้เรียนจบจากโรงเรียนนายร้อย เมื่อสมัยก่อน คือ วท.บ. ระหว่าง 2492-2533 มี ฯพณฯ นายกฯ เป็นนายพลหลายท่านอยู่นะคะ แวดวงวิทยาศาสตร์บ้านเราก็น่าได้รับอานิสงส์บ้างหรือป่าว :mozilla_sealed: และยิ่งเดี๋ยวนี้ ดูเหมือนเด็ก ๆ (เข้าใจว่านับเป็นเปอร์เซนต์ที่น่าจะสูงแต่ไม่น่าชื่นใจ) อยากดัง อยากรวยเร็ว อยากเป็นดารา นักร้อง อยากออกทีวีว่างั้นเถอะ :mrgreen: หัวข้อ: Re: KOREA among top science, tech powerhouses by 2012!! (ศรีธนญชัยแลนด์จะไปทางไหน?) เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 15-11-2007, 18:54 ผมฟังรายการทีวีผ่านๆ ที่ญี่ปุ่น รู้สึกว่า เค้ามีนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์อยู่ประมาณ 1 ต่อ 400
แต่บ้านเราผมไม่แน่ใจ ถ้าให้ประมาณก็คง 1 ต่อ 40,000 :slime_bigsmile: สวัสดีพี่เม่ยด้วยนะคร๊าบ ^^ หัวข้อ: Re: KOREA among top science, tech powerhouses by 2012!! (ศรีธนญชัยแลนด์จะไปทางไหน?) เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 15-11-2007, 18:56 ผมฟังรายการทีวีผ่านๆ ที่ญี่ปุ่น รู้สึกว่า เค้ามีนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์อยู่ประมาณ 1 ต่อ 400 แต่บ้านเราผมไม่แน่ใจ ถ้าให้ประมาณก็คง 1 ต่อ 40,000 :slime_bigsmile: สวัสดีพี่เม่ยด้วยนะคร๊าบ ^^ หวัดดีก๊าบบ ขอบคุณน้องท่านเจไดสำหรับตัวเลขค่ะ :slime_v: ว่าแล้วยังไม่ได้ขอเพลง "หน้ากากเสือ" ให้เลยนิ :slime_smile: หัวข้อ: Re: KOREA among top science, tech powerhouses by 2012!! (ศรีธนญชัยแลนด์จะไปทางไหน?) เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 15-11-2007, 18:57 หวัดดีก๊าบบ ขอบคุณน้องท่านเจไดสำหรับตัวเลขค่ะ :slime_v: ว่าแล้วยังไม่ได้ขอเพลง "หน้ากากเสือ" ให้เลยนิ :slime_smile: เอา Let's go Rider ก็ได้ครับ :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: ปล. ไปดูทุนการศึกษา ป.โท ป.เอก ของ ก.พ. สาขาที่ขาดแคลนมี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมทุกสาขา แพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ฯลฯ ประเทศไทยขาดแคลนสาขาสร้างชาติแบบนี้อยู่มากเลยครับพี่น้อง หัวข้อ: Re: KOREA among top science, tech powerhouses by 2012!! (ศรีธนญชัยแลนด์จะไปทางไห เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 15-11-2007, 23:30 พอพูดเรื่องแบบนี้ ไหงปรัชญาพอเพียงหายหมด
จะแข่งกันเป็นเจ้าโลกกันไปทำไม เป้าหมายสุงสุดไม่ใช่ความก้าวหน้าหรือความยิ่งใหญ่ แต่เป็นความสุขของประชาชน เอาเป็นว่าอะไรขาดแคลนก็เสริมเข้าไป ไม่ต้องไปหวังเป็น top5 top10 อะไรหรอก การเปรียบเทียบแล้วเป็นทุกข์ก็คือการอิจฉาดีๆ นี่เอง หัวข้อ: Re: KOREA among top science, tech powerhouses by 2012!! (ศรีธนญชัยแลนด์จะไปทางไห เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 16-11-2007, 07:35 แล้วคุณว่า ขณะนี้เรามีพอเพียงแล้วหรือ??
พอพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง เราดันไปนึกว่า งั้นเราพอแล้ว ทั้งๆที่มันยังขาดแคลนอย่างสาหัส ในหลายๆด้านด้วย และบางครั้งปัญหาอย่างหนึ่ง มักจะแก้ปลายเหตุ เช่น โจรผู้ร้ายเพิ่ม ก็เพิ่มตำรวจไปจับ โดยไม่ได้ดูภาพรวม เหมือนคนปวดท้องมันมีหลายสาเหตุ แต่ดันแก้ปัญหากันง่ายๆแค่ให้ยาแก้ปวดท้อง เรื่องความรู้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ไม่ควรมีวันพอครับ การแข่งขันในด้านนี้เป็นเรื่องที่ดี ไม่งั้นคุณจะขวนขวายไปเรียนเมืองนอกกันทำไม ในเมื่อทุกคนก็บอกว่าพอแล้ว? ทุกวันนี้ที่มันแข่งมีรถหรูหรา มือถือ ผับ เทค สื่อไร้สาระ นั่นแหละที่น่าจะพอได้แล้ว หัวข้อ: Re: KOREA among top science, tech powerhouses by 2012!! (ศรีธนญชัยแลนด์จะไปทางไหน?) เริ่มหัวข้อโดย: aiwen^mei ที่ 16-11-2007, 18:11 ส่วนตัวเห็นว่า งานอาร์แอนด์ดีนั้นมีความสำคัญและจำเป็นมาก ๆ เพราะไม่เช่นนั้น เราก็จะต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจอยู่ร่ำไป เราไม่สามารถปฏิเสธความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ได้ แม้แต่งานด้านกฎหมาย บัญชี ฯลฯ ยังต้องพัฒนาปรับปรุงอยู่เสมอ
เพียงแต่ว่าตอนนี้งานวิจัยพัฒนา ด้านหนึ่งคงจะต้องเน้นไปในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อันเนื่องจากภาวะโลกร้อนกำลังเป็นภัยคุกคาม ซึ่งเป็นผลกระทบด้านลบจากการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมทำให้ผลิตกันแบบไม่บันยะบันยัง ผิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนตอนนี้ต้องตามมาแก้ปัญหาซึ่งก็ต้องอาศัยงานอาร์แอนด์ดีนั่นเอง วันนี้สกู๊ปหน้าหนึ่งของ "เดลินิวส์" ลงเรื่องนี้พอดีเลย :slime_smile: ----------------------------------------------------------------------------------------------------- จุฬาฯ ชูธง ทลายหิ้ง อัพเกรดวิจัย นำไทยสู่เศรษฐกิจใหม่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.อัมมาร์ สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันทีดีอาร์ไอ ได้แสดงความเห็นพ้องกับรายงานของธนาคารโลกที่ชี้ว่า การวิจัยและพัฒนาจะเป็นปัจจัยสำคัญในการนำประเทศสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ แต่ ปัญหา ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย เกิดจาก มีการวิจัยและพัฒนาน้อยเกินไป ทั้งยังขาดการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ รวมทั้งการวิจัยของสถาบันการศึกษาและองค์กรวิจัยของรัฐก็ยัง ขาดการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ทำให้ขาดการนำงานวิจัยไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาดังกล่าวคงแก้ไขไม่ได้ง่ายนัก เพราะมีความล้าหลังต่อเนื่องมานานหลายสิบปี อีกทั้งระบอบเศรษฐกิจไทยในยุคหลังมีการเปลี่ยนแปลงแปรสภาพซับซ้อนมากขึ้น ...เป็นข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของ ดร.อัมมาร์ เมื่อเป็นเช่นนี้การพัฒนาประเทศไทยทำได้ยากหรือ ? คำตอบคือยาก แต่ก็ต้องทำ และก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ !! กับเรื่องนี้ ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ รองอธิการบดี จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรับผิดชอบดูแลด้านการวิจัยและการต่างประเทศ แสดงความเห็นว่า... การเรียกร้องให้ประเทศจัดสรรงบประมาณเพื่อการวิจัยมาก ๆ ในสัดส่วนที่พอเพียงต่อการสร้างนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถจะแก้ปัญหาตามที่ธนาคารโลกระบุได้ ดังนั้น มหาวิทยาลัยก็ต้องมีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหา และพัฒนาตนเองในเรื่องนี้ตามที่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้ดำเนินการแล้ว ศ.นพ.สุทธิพรเปิดเผยด้วยว่า... ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัยที่ได้ดำเนินการไปก็คือ... การวางแผนภาพรวมของงานวิจัยของทั้งมหาวิทยาลัย การแบ่งสัดส่วนระหว่างการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ การวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อนำไปสู่นวัตกรรม การตั้งเป้าหมายผลการวิจัยที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ในการดำเนินการก็เพื่อมิให้งานวิจัยวนอยู่ในวังวนเดิมที่ว่า นักวิชาการก็สนใจเฉพาะความก้าวหน้า-ความสนใจด้านวิชาการส่วนตัว ผลงานวิจัยส่วนหนึ่งไม่มีคุณภาพ มีแต่ output คือวิจัยเสร็จ แต่ไม่มี outcome คือไม่ได้ตีพิมพ์ หรือตีพิมพ์ในวารสารภายในสถาบันเอง ไม่ได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่จะเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ให้กระจายในวงกว้างอันเป็นที่ยอมรับในระดับสูงในแวดวงวิชาการ และถึงแม้ตีพิมพ์ได้ก็อาจถูกประเมินว่าเป็นผลงาน ขึ้นหิ้ง ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ/อุตสาหกรรม ทั้งนี้ การส่งต่องานวิจัยออกไปสู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมก็ไม่ง่าย ทั้งในแง่ความพร้อมและความเข้าใจในส่วนนักวิชาการ ภาคอุตสาหกรรม กลไกความร่วมมือเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีความขัดแย้ง ประเด็นที่สำคัญที่ได้ทำก็คือ ทำให้อาจารย์/นักวิชาการ ได้ปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ในการมองความต้องการของภายนอก มากกว่ามองออกจากตัวเองในฐานะศูนย์กลางความรู้เช่นที่เคยคิดกัน นอกจากนั้นคือกระตุ้นให้อาจารย์/นักวิจัย วางแผนงานวิจัยแบบระยะยาว เพื่อตอบตนเอง สังคม ตอบแหล่งทุนได้ว่า สิ่งที่กำลังจะทำวิจัย หรือที่ทำไปแล้ว มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอย่างไร และสุดท้ายจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ทั้งในเชิงพัฒนาชุมชน ประชาคม และประโยชน์ที่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมจะสามารถนำไปใช้ได้ ...ศ.นพ.สุทธิพร ระบุ พร้อมทั้งขยายความต่อไปอีกว่า... เมื่อวางแผนได้ก็จะรู้ได้ว่าผลงานการวิจัยที่ได้ศึกษามา คิดค้นขึ้นมา จะออกมาในรูปใด อีกทั้งยังสามารถดำเนินการไปพร้อม ๆ กันหลายโครงการแบบคู่ขนาน หรือหาทีมมาร่วมกันทำวิจัย ทำให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างรวดเร็ว แทนที่จะต้องรอให้จบโครงการนี้แล้วค่อยเริ่มโครงการใหม่ต่อเนื่องไปตามขั้นตอนทีละขั้น ศ.นพ.สุทธิพรย้ำว่า... สิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนา ในส่วนของ นักวิชาการ ก็คือ เราต้องมองการพัฒนาจากภายนอก มากกว่ามองจากภายใน-มองจากมุมมองของเรา สำหรับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ขับเคลื่อนไปใน ทิศทางที่น่าจะเป็นไป ได้ระยะหนึ่งแล้ว ได้มีการผนึกกำลังกันพัฒนางานวิจัย ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เป็นการ ลบคำสบประมาท...วิจัยขึ้นหิ้ง แต่เพื่อให้สังคม ผู้มีส่วนรับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการวิจัยอย่างถ่องแท้ เข้าใจธรรมชาติการวิจัยที่ต้องอาศัยเวลา การวิจัยมีทั้งทักษะพื้นฐาน ประยุกต์ และต้องอาศัยกระบวนการหลายขั้นตอน ผ่านระยะเวลาทั้งการฝันเฟื่อง ฝันร้าย อาศัยความมุ่งมั่นแก้ไขประเด็นปัญหา พัฒนาต่อเนื่อง กว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ ...นี่ก็เป็นแนวทาง-แนวคิดที่น่าสนใจในการแก้ปัญหาการวิจัยและพัฒนามีน้อย ขาดการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ที่จะนำสู่การวิจัยและพัฒนาเพื่อนำพาประเทศสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ซึ่งจากแนวคิดที่ใช้ในการบริหารจัดการงานวิจัยดังที่ว่ามา ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ก่อให้เกิดการพัฒนางานวิจัย เกิดผลงานวิจัยคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติ-นานาชาติ และนำออกประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อชุมชนได้ทุกระดับ หากทำได้สำเร็จ มหาวิทยาลัย อาจารย์ นักวิชาการ ก็จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาประเทศไทยของเราให้เติบโตและแข่งขันได้ในเวทีโลก ขณะเดียวกันก็จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในภาคประชาสังคมด้วย ...ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ระบุทิ้งท้ายถึงภาพรวมระดับประเทศ มหาวิทยาลัย มีบทบาทสูงต่อการพัฒนาประเทศ ทลายหิ้ง-ต่อยอดงานวิจัย ก็นับว่า สำคัญยิ่ง ในการนำประเทศสู่เศรษฐกิจยุคใหม่บนเวทีโลก !!. http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=48760&NewsType=2&Template=1 |