หัวข้อ: คำวินิจฉัยของศาล กับ การเฉไฉของกกต. เริ่มหัวข้อโดย: porameto009 ที่ 09-05-2006, 22:25 สวัสดีท่านผู้อ่านที่รัก วันนี้ก็ได้มีคำวินิจฉัยของทางด้านศาลรัฐธรรมนูญออกมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลท่านก็เป็นที่ทราบกันเป็นที่ชัดเจนดีอยู่แล้ว คือ การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาในวันที่สอง เมษายนนั้น ล้วนมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งท่าทีของทางฟากฝั่งของพรรคการเมืองในทุก ๆ พรรคก็ล้วนแต่ออกมาน้อมรับคำวินิจฉัยทั้งสิ้น ทว่า ทางฝ่ายคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้มีท่าทีที่กระผมเห็นว่ามิสมควร และ เป็นพฤติการณ์อันไม่พึงเคารพต่อศาล ซึ่งความที่ว่ามานี้คือ(กระผมขอเท้าความเสียสักหน่อยพอกระสัยครับ)
การออกรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ ในขณะที่ยังรอคำวินิจฉัยของศาลอยู่ ซึ่งกระบวนการนั้น สมควรที่จะพักลงด้วยสำนึก เพราะการวินิจฉัยของศาลท่านในครานี้มิใช่เป็นการยื่นคำร้องธรรมดาเอาเสีย หากแต่เป็นไปตามคำพระราชดำรัส ซึ่งพระมหากษัตริย์พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ตรัสแก่ประธานศาลฯ โดยตรัสเพื่อคลี่คลายปัญหา(เรื่องการเลือกตั้ง และ สถานการณ์ทางการเมือง) กระบวนการทางฝ่ายตุลาการในฐานะที่เป็นผู้วินิจฉัย พฤติการณ์ให้เป็นไปตามความแห่งกฎหมาย แต่พฤติกรรมในทางฟากฝั่งกกต.ก็ยังดำเนินไป คือ สานต่อปัญหา ในที่นี้มิได้หมายถึงว่า การเลือกตั้ง หากแต่หมายความถึง การเลือกตั้งในครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาที่มีผู้คิดหนีปัญหา โดยพยายามที่จะผูกโยงเอาการเลือกตั้งมาเบียดบังปัญหาของตน ซึ่งก็เป็นการผูกปัญหาซ้ำซ้อนปัญหา เพราะการออกพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งมีความจงใจในการกระทำที่มิชอบด้วยศีลธรรม อันเป็นเหตุให้เกิดปัญหา คือ ทางพรรคการเมือง(ที่สร้างขึ้นจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่แน่นแฟ้นและสมบูรณ์ถูกครากับสภาพทางสังคมในยุคนั้น ๆ หาใช่พรรคการเมืองเฉพาะกิจไม่) พรรคการเมืองอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านจึงมิอาจรับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ จึ่งไม่ส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งตามสิทธิของพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างผูกขาดโดยพรรคการเมืองใหญ่ ซึ่งก็เป็นการเกิดปัญหาอีกเช่นกัน เนื่องจากพฤติการณ์ดังกล่าวหาใช่ประชาธิปไตยไม่ หากแต่เป็นไปในจำพวกกลุ่มของ การใช้อำนาจนิยม ซึ่งเรียกอย่างสามัญว่าเผด็จการ ในการเลือกตั้งที่ประชาชนเกือบครึ่งมิพึงประสงค์ให้เกิดขึ้น ดังนั้น แรงหนุนกำลังพอเพียงกับแรงผลัก-แรงต้าน ทีนี้ หากภายหลังจากการเลือกตั้งขึ้นมาแล้วได้เกิดสภาขึ้น มีรัฐบาลขึ้น แล้ว รัฐบาลชุดนั้น ๆ จะหาเสถียรภาพทางการเมืองได้หรือไม่ และเสถียรภาพทางการเมืองที่ย่อมมีผลเกี่ยวเนื่องไปยังเสถียรภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งก็ล้วนเป็นแต่เพียงพันธนาการได้บ่วงล็อกเอาไว้ พันธนาการตัวสำคัญที่สุดแห่งปัญหา นั่นคือ คุณทักษิณ ที่ไม่พึงยอมรับในหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาเอามาใช้ ในขณะที่คุณทักษิณดำรงตำแหน่งอย่างมีเสถียรภาพลุ่ม ๆ ดอน ๆ ปากก็ว่าอ่านหนังสือธรรมะ อ่านหนังสือท่านพุทธทาส แต่ในทางสภาพที่ปรากฏนั้น กระผมมิเห็นถึงความกระเตื้องขึ้นในด้านการวางตัวแบบพุทธเอาเสียเลย ในสิ่งที่คุณทักษิณ และพรรคไทยรักไทย สมควรอย่างยิ่งที่จะพิจารณาคือหลักธรรมเบื้องต้นเรื่องไตรลักษณ์ อันกอปรด้วย ประการแรก หลักอนิจจัง ความไม่เที่ยงในอำนาจ ความไม่เที่ยงในลาภยศ ความไม่เที่ยงในชื่อเสียงเกียรติคุณ เป็นต้น หลักทุกขัง คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมมิได้ เพราะล้วนพ่วงมาจากเหตุ และเชื่อมมาจากอนิจจัง อยู่ไม่ได้ในฐานะผู้มีวาจาสิทธิ์ ทนอยู่ไม่ได้ในด้านสุขภาพ โรคาพยาธิ เป็นต้น ประการที่สามสุดท้ายก็พึงตระหนักว่ามันคืออนัตตา คือ มันไม่มีตัวตน ในทางธรรมจะแปลไปว่า ไม่มีตัวข้า ไม่มีตัวเอ็ง แต่หากใช้มิจฉาทิฏฐิแปลไปเอาว่า ตัวเราไม่ใช่ตัวเรากระนั้นก็คงหมายถึง แผ่นดินของเราก็มิใช่ของเรา ครั้นจะเอา จะโกง จะขย่ม ก็หาใช่ตัวเราไม่ เพราะไม่มีความเกี่ยวเนื่องในเรื่องของตน ถ้ากระนั้นก็แปลดั่งคุณทักษิณ แต่หากแปลอย่างสัมมาทิฎฐิ คือ ความไม่มีตัวไม่มีตน ที่เป็นรัฐมนตรี หรือ นายกรัฐมนตรี ก็เป็นเพียงสมมติที่มีคนเขายกให้เป็น เป็นสมมติที่ถูกสวมไว้ หากสมมตินั้นหลุดพ้นไป ก็หาความยิ่งใหญ่ในอำนาจเกียรติคุณอันใดมิได้ ก็เพราะอำนาจและเกียรติคุณนั้นก็เป็นสมมติที่เขายกเราขึ้นมาเสียเท่านั้น หาใช่ตัวเราไม่ เพราะตัวเราไม่ใช่เรา หากยึดหลักอนัตตา คือ ยึดอย่างถูก ถูก ในที่นี้ หมายถึงถูกต้องตามภาษาธรรม มิใช่แปลเอาตามภาษาคน คือต้องแยกให้ออกระหว่างภาษาธรรมกับภาษาคน เพราะหากแปลเอาตามภาษาธรรมก็คือ ถูกต้องตามศีลธรรมอันมีต่อมนุษย์ที่ยังอยู่ในธรรมขั้นโลกียธรรม หาใช่ฝ่ายฝั่งโลกุตรธรรมไม่ เพราะทางฝ่ายของโลกุตรธรรมนั้นเป็นธรรมที่มีผลในการกำจัดผัสสะ(แบ่งออกเป็นสองประเภท คือภายในและนอก ภายในได้แก่ รัก ชัง เกลียด หลง เป็นต้น ภายนอกได้แก่ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น) กล่าวคือ หากผัสสะทั้งภายในและภายนอกนั้นมากระทบกันเมื่อไร ก็ย่อมเกิดเวทนา(ทางภาษาพระหมายถึง ความรู้สึก) และ สังขาร(ทางภาษาของพระหมายถึง เกิดจิตปรุงแต่ง) อันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมการเมืองทุกวันนี้ กล่าวคือ การละเวทนา กับ สังขาร(ที่นี้ให้ท่านแปลเอาตามภาษาพระ มิใช่ตามภาษาไทย) ละมิได้ จึ่งทำให้เกิดปฏิจสปันธรรม คือ กรรมที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติ จะเรียกเป็นว่าสภาวธรรมก็ได้ คือ เกิดเหตุปัจจัยไปตามธรรมชาติ คือ เหตุที่ทางกกต.กระทำการมิชอบด้วยธรรมและจริยา อันต้องปฏิบัติควบคู่เพื่อเสริมกันในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสังคมทางโลก ซึ่งการกระทำในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการจัดคูหาอันมิชอบก็ดี ปล่อยปละให้เกิดพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง โดยปล่อยยอมให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันทางฝ่ายบริหารและ ผู้ทำหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบ และพรรคการเลือกนอกสภา ซึ่งเป็นการกระทำอันไม่พึงประสงค์ ถึงแม้ว่าจะอ้างถึงประเทศ ว่าประเทศนั้นจะมิสามารถขาดรัฐบาลนานเสียได้ จึ่งต้องเลือกตั้งให้รวดเร็วเสียที่สุด หากเป็นเช่นนั้น ทำไมเล่า รัฐธรรมนูญ จึ่งมิกำหนดว่าหากยุบสภาเปลี่ยนจากเดิมที่จะต้องเลือกตั้งกันภายในหกสิบวัน ปรับไปเป็นเจ็ดวัน หรือ สามวัน หรือตามแก่ใจกกต. เล่า??? ด้วยเหตุนี้กกต.ก็คือผู้ร่วมสานความแห่งทุกข์ หาใช่ผู้พึงปฏิบัติในภาคส่วนของการยึดอุเบกขา(ความยุติด้วยธรรม และ ความเป็นธรรม) ซึ่งเป็นสิ่งที่กกต.พึงปฏิบัติ แต่ในขณะที่สิ่งที่กกต.ปฏิบัตินั้นเป็นเพียงทิฏฐิ(ความเห็น)ส่วนบุคคล แล้วนำมาพิจารณาตีรวนทั้งกระบวนโดยหวังแก่อามิส โดยไม่พึงละในสิ่งล่อหรือการกระทบกันของผัสสะ อันทำให้เกิดระบบที่เสีย ในการที่กล่าวอ้างว่าอำนาจในการจัดระเบียบการเลือกตั้งนั้น ตามรัฐธรรมนูญล้วนแต่เป็นสิทธิขาดของกกต. ที่ว่ามานั้นดูจะจริงเสียไม่ทั้งความ กล่าวคือ อำนาจที่เบ็ดขาดนั้น ก็ยังคงจำต้องพึงยืนและก้าวไปควบกับธรรมจริยา และศีลธรรม อันที่มิพึงจะหลีกเลี่ยงได้ เพราะดั่งในอดีต กระผมขอเทียบเอาให้เห็นเสียชัด ๆ เอาย้อนไปสมัยสุโขทัย หรือ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีก็แล้วก็แล้วกันครับ คือ ในยุคสมัยนั้น พระมหากษัตริย์นั้น เป็นผู้ถือครองพระราชอำนาจทั้งปวง ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินเอาเองเสียทั้งสิ้น ซึ่งพระราชอำนาจนี้ หามีผู้ใดกระทำการละเมิดมิได้ ซึ่งพระราชอำนาจที่กษัตริย์มีอยู่ ก็ล้วนแต่ต้องพึงยึดมั่นในธรรม คือ หลักธรรมแห่งผู้ปกครอง อันได้แก่ จักรวรรดิวัตรสี่ และ หลักทศพิธราชธรรม อันมิพึงเลือนจางไปจากพระราชบัลลังค์ เพราะหากผู้นำขาดหลักธรรมเป็นเครื่องยึดมั่นในผัสสะเสียแล้ว บ้านเมืองก็เป็นกลียุค หาความเป็นสุขมิได้ ท้ายสุดการถูกถอดออกจากพระราชอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ก็ย่อมถูกถอดไป ดั่งเช่นขุนวรวงศาธิราช แลพระเจ้าทองลันกระนั้น ในปัจจุบันก็เช่นกัน บ้านเมืองก็ได้แปรเปลี่ยนไป แต่คุณธรรมในใจคนนั้นก็หาควรจะต้องผันแปรไปตามกาลไม่ เพราะกาลย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์เลวดี และพฤติกรรมของกกต.ที่กระทำในครานี้คือ แสดงพฤติกรรมอันไม่พอใจและยอมรับในคำวินิจฉัยของศาล ซึ่งก่อนหน้านี้กระผมได้กล่าวไว้แล้วครับว่า ไม่ว่าศาลท่านจะวินิจฉัยออกมาอย่างไร ทุกฝ่ายสมควรอย่างยิ่งที่จะพร้อมใจออกมายอมรับ แต่นี่ตราบตอนนี้(8/5/49)ก็ยังไม่ปรากฏภาพของทางกกต.ว่า จะพร้อมยอมรับ และ พิจารณาความผิดพลาดในการจัดการเลือกตั้งอันขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อบังคับการเลือกตั้งให้เป็นไปตามแนวทางแห่งรัฐธรรมนูญ มิใช่จะเอาใจเป็นใหญ่เหนือหน้าที่ไม่ เพราะใจย่อมแปรไปตามสังขาร(จิตปรุงแต่ง) อันรวนเรแปรปรวนหามั่นคงไม่ วันนี้ว่าขาว วันพรุ่งว่าดำ อันนี้จึ่งเชื่อมั่นมิได้ ดังนั้นหน้าที่ตนเป็นกระไรก็พึงกระทำตามข้อยอมรับจากสังคม ซึ่งประชาชนพึงยอมรับในการที่จะปฏิบัติตามกฎหมายเช่นกัน แต่กกต.มีหน้าที่เพียงควบคุมการเลือกตั้งและรับรองผลคะแนนของผู้ที่จะไปออกกฎหมายเท่านั้น หาใช่จะถือเอาว่าตัวนั้นมีศักดิ์ใหญ่เหนือกฎหมายมิได้ สวัสดีครับ น้องพุฒิพงษ์ |