หัวข้อ: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 22-08-2007, 18:08 จะมีใหมหนอรัฐบาลใดจะ....รับนโยบายสาธารณะ......ดังต่อไปนี้ไปพิจารณา
๑.โครงการรถไฟรางคู่ ไปอีสาน เหนือ ใต้ (ตัวอย่าง..อีสานใต้ไปอินโดจีน ทั้ง เขมร ลาว เวียตนาม) ๒.กองทุนชุมชน ส่งเสริมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชนให้ยั่งยืน ส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร ๓.โครงการส่งเสริมเลี้ยงปลาในนาข้าว( ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว )บ่อปลาพื้นบ้าน ตามแต่ละภูมิภาค ๔.โครงการ"ราษฎร์เสริมรัฐ" ภาคประชาชนมีตำแน่งบริหารควบคู่ภาครัฐทุกระดับเช่น ตำแหน่ง ผู้ประสานงานชุมชน(NGo.)ทุกอำเภอ เพื่อให้เอ็นจีโอมีบทบาทอย่างแท้จริง ๕.โครงการ "ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน" โดยชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเช่น นักเรียนร่วมเรียนรู้การทอเสื่อกก ทอผ้าไหม กับกลุ่มแม่บ้าน ไม่ใช่ตามหนังสือแบบเรียนอย่างเดียว ๖.โครงการ "แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร"เช่น ข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงผลไม้ตามฤดูกาล ของไทยและผลิตผลจากท้องถิ่นและรัฐบาลรับประกันราคา เพื่อนๆเสรีไทยฯก็เสนอเข้ามากันนะครับ ถือว่ามีส่วนร่วมทางการเมืองระดับนโยบายสาธารณะโดยชาวเสรีไทยฯ หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: GN-001 Exia ที่ 22-08-2007, 18:23 ฝันดีเกินไปครับท่าน ผมว่าขอแค่ไม่คอรัปชั่นนี่ก็พอแล้ว
อยากเห็นซักชุดนึงที่เข้ามาทำงานเพื่อชาติจริงๆ คงไม่ได้เห็นในประเทศนี้หรอกมั้ง หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 22-08-2007, 19:20 จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... ๑.ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชน รถไฟ ไปอีสานตลอดอีสานใต้ไปอินโดจีน ทั้ง เขมร ลาว เวียตนาม ๒.กองทุนชุมชน ฟื้นฟูระบบสหกรณ์และกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชนอีสาน เหนือ กลาง ใต้ ๓.ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว (ไม่ใช่ มีข้าวขึ้นราคา) คือ ความสมบูรณ์ของทรัพยากร ไม่ใช่ ราคาเป็นหลัก ๔.ส่งเสริมองค์กรภาคประชาชนในการมีส่วนบริการในชุมชนเช่น องค์กรชุมชน เอ็นจีโอ ประชาสังคม มาเป็นที่ปรึกษาภาครัฐ ๕.นโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน โดยชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเช่น นักเรียนเรียนรู้การทอเสื่อกก ทอผ้าไหม ออกแบบเอง ไม่ใช่ตามหนังสือแบบเรียนอย่างเดียว ๖.นโยบายแปรรูปข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงผลไม้ตามฤดูกาล ของไทยและผลิตผลจากท้องถิ่นและรัฐบาลรับประกันราคา ตอนนี้ก็รอว่าจะมีพรรคไหนออกมาเสนอโครงการพวกนี้อยู่ครับ นอกจากประชาธิปัตย์ที่ออกวาระประชาชน ที่ขยายความว่าประชาชนต้องอย่างนั้นต้องอย่างนี้ (แต่ยังไม่เห็นพูดเป็นโครงการ) กลุ่มอื่นยังไม่นิ่งวิ่งรวมตัวกันอยู่เลยครับ ทางพลังประชาชนก็ยังไม่เห็นมีนโยบายอะไรออกมาเหมือนกัน ความจริงผมอยากเห็นพรรคการเมืองเสนอโครงการที่เป็นตัวโครงการจริงๆ ออกมาเลยมากกว่า หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: irq5 ที่ 22-08-2007, 20:02 จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... ๑.ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชน รถไฟ ไปอีสานตลอดอีสานใต้ไปอินโดจีน ทั้ง เขมร ลาว เวียตนาม ๒.กองทุนชุมชน ฟื้นฟูระบบสหกรณ์และกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชนอีสาน เหนือ กลาง ใต้ ๓.ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว (ไม่ใช่ มีข้าวขึ้นราคา) คือ ความสมบูรณ์ของทรัพยากร ไม่ใช่ ราคาเป็นหลัก ๔.ส่งเสริมองค์กรภาคประชาชนในการมีส่วนบริการในชุมชนเช่น องค์กรชุมชน เอ็นจีโอ ประชาสังคม มาเป็นที่ปรึกษาภาครัฐ ๕.นโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน โดยชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเช่น นักเรียนเรียนรู้การทอเสื่อกก ทอผ้าไหม ออกแบบเอง ไม่ใช่ตามหนังสือแบบเรียนอย่างเดียว ๖.นโยบายแปรรูปข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงผลไม้ตามฤดูกาล ของไทยและผลิตผลจากท้องถิ่นและรัฐบาลรับประกันราคา เค้าอยากได้นิคมมากกว่ามังครับ ใกล้บ้าน ไม่ต้องระหกระเหิน ได้เงินดี มี Knowlege มาแล้ว เงินเดือน 8-9 พัน โบนัส ซัก 3 เดือน หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 22-08-2007, 20:10 เท่าที่พอจำได้ รู้สึกสมัยชาติชาย มีโครงการว่าจะทำรถไฟหัวกระสุน แบบญี่ปุ่นน่ะ รู้สึกจะใช้เทคโนโลยีของฝรั่งเศส
แต่ไม่แน่ใจว่า โครงการล้มเพราะล้มกันเอง หรือ สิงคโปร์จ้างล้ม หรือ รสช ไม่ทำต่อ ถ้ามีป่านนี้ผมก็กลับบ้านนอกสบายละ :slime_dizzy: หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 22-08-2007, 20:20 อยากได้เหมือนกันค่ะ อยากได้การกระจายอำนาจอย่างจริงจัง รัฐบาลไม่ต้องไปสัญญาว่าจะทำอะไรให้ชาวบ้าน แต่คืนอำนาจบริหารท้องถิ่นให้ชาวบ้าน เอาให้เต็มรูปแบบ รัฐบาลควบคุมแต่นโยบายหลักและความมั่นคง การต่างประเทศ ส่วนการบริหารท้องถิ่น บ้านใครบ้านมันดูกันเอง มีคอรัปชั่นหน่วยงานของรัฐบาลจึงเข้าไปจัดการ
คราวนี้แหละ ท้องถิ่นใดโกง ท้องถิ่นใดขายเสียง ท้องถิ่นใดโง่ รับเคราะห์กันไปเอง ไม่ต้องไปวิจารณ์คะแนนเสียรับร่างรัฐธรรมนูญกันแล้ว โง่ฉลาด ได้เห็นกัน :slime_smile2: หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: ดอกฟ้ากับหมาวัด ที่ 22-08-2007, 20:39 จะมีบ้างไหม ที่ภาครัฐจะกระจายความเจริญไปยังทุกภาคอย่างเท่าเทียมกัน
โดยคนในท้องถิ่น ไม่ต้องละทิ้งชนบทเข้ามาหากินอย่างแออัดอยู่ในเมืองหลวง พัฒนาระบบเกษตรและกสิกรรมอย่างจริงจังในทุกรูปแบบ ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในแบบที่ไม่ต้องเป็นทาสนายทุนยักษ์ใหญ่บางบริษัทฯ ที่พยายามจะครอบงำชาวบ้านแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: (ลุง)ถึก สไลเดอร์ ที่ 22-08-2007, 20:47 (http://www.tellerup.se/jarnvag/bild/021622.jpg)
รถไฟน่าจะมีการพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ ประชากรไทย เรามีมากกว่า 65 ล้านคนแล้ว ขยายรางให้ได้มาตรฐานแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นและในยุโรป มีรางคู่ขนาน ไม่ต้องมาสับหลีก กันเป็นรถหวานเย็นอยู่เหมือนในปัจจุบัน การคมนาคมโดยรถไฟ มีความปลอดภัยสูง สามารถบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าได้เป็นจำนวนมาก เมื่อมีรถไฟที่สามารถเดินทางได้ด้วยความรวดเร็ว คนก็จะหันมาใช้บริการรถไฟมากขึ้น รถส่วน บุคคลก็จะลดปริมาณลงไปโดยอัตโนมัติ การที่จะมีรถไฟความเร็วสูง ต้องลงทุนสูง ทั้งต้องวางรางมาตรฐาน ซื้อรถไฟรุ่นใหม่ ทำรั้วรอบ ขอบชิด เพื่อป้องกันไม่ให้คนและสัตว์เข้าไปป้วนเปี้ยนในบริเวณนั้น เป็นการป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุแต่โดยง่าย รถไฟสามารถเข้าไปจอดในตัวเมืองใหญ่ๆ ทำให้เกิดความสะดวกในการเดินทางต่อไปสู่จุดหมายปลายทางอื่นๆ ไม่เหมือนกับเครื่องบิน ที่ส่วนมากต้องไปลงที่สนามบินที่ห่างไกลจากตัวเมือง ในยุโรปมีรถไฟความเร็วสูงประมาณ350กิโลเมตรต่อชั่วโมง ค่าโดยสารรถไฟจึงมีราคาแพงกว่าการโดยสารด้วยเครื่องบิน เพราะรถไฟมีสถานีอยู่ในใจกลางเมือง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างบน หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 22-08-2007, 21:13 (http://www.tellerup.se/jarnvag/bild/021622.jpg) รถไฟน่าจะมีการพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ ประชากรไทย เรามีมากกว่า 65 ล้านคนแล้ว ขยายรางให้ได้มาตรฐานแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นและในยุโรป มีรางคู่ขนาน ไม่ต้องมาสับหลีก กันเป็นรถหวานเย็นอยู่เหมือนในปัจจุบัน การคมนาคมโดยรถไฟ มีความปลอดภัยสูง สามารถบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าได้เป็นจำนวนมาก เมื่อมีรถไฟที่สามารถเดินทางได้ด้วยความรวดเร็ว คนก็จะหันมาใช้บริการรถไฟมากขึ้น รถส่วน บุคคลก็จะลดปริมาณลงไปโดยอัตโนมัติ การที่จะมีรถไฟความเร็วสูง ต้องลงทุนสูง ทั้งต้องวางรางมาตรฐาน ซื้อรถไฟรุ่นใหม่ ทำรั้วรอบ ขอบชิด เพื่อป้องกันไม่ให้คนและสัตว์เข้าไปป้วนเปี้ยนในบริเวณนั้น เป็นการป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุแต่โดยง่าย รถไฟสามารถเข้าไปจอดในตัวเมืองใหญ่ๆ ทำให้เกิดความสะดวกในการเดินทางต่อไปสู่จุดหมายปลายทางอื่นๆ ไม่เหมือนกับเครื่องบิน ที่ส่วนมากต้องไปลงที่สนามบินที่ห่างไกลจากตัวเมือง ในยุโรปมีรถไฟความเร็วสูงประมาณ350กิโลเมตรต่อชั่วโมง ค่าโดยสารรถไฟจึงมีราคาแพงกว่าการโดยสารด้วยเครื่องบิน เพราะรถไฟมีสถานีอยู่ในใจกลางเมือง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างบน ถึงทุกท่านครับ...........(ลุง)ถึก สไลเดอร์ คุณirq5 ดอกฟ้ากับหมาวัด คุณพรรณชมพู คุณเอี้ยก้วย ปรมาจารย์เจได และคุณjerasak เรื่องรถไฟหรือระบบข่นส่งมวลชนเพื่อประชาชนโดยการโดยสารรถไฟจะถูกนำเสนอต่อพรรคการเมืองครับ ไม่ว่าทางตรง ทางอ้อม ทางขรุขระ ล็อบบี้หรือผ่านกระบวนการเสนอผ่านโดยใครก็ตามที่เข้ามาอ่าน....(แล้วเขา พวกเขา พวกเรา) เกิดไอเดียเพื่อการพัฒนาอีสานและภาคอื่นๆตามภูมิศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์....แล้วเราทุกท่านก็ควรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบาย สาธารณะ จากชุมชนเสรีไทยครับโดยไม่ต้องรอว่าใครจะคิดให้พวกเราหรือจะมีใครสนหรือเปล่า..แต่หากเราช่วยกันผลักต้องมีคนดันต่อแน่นอนครับ ไม่เริ่มจากเรา....แล้วใครจะทำครับ :slime_v: :slime_v: :slime_v: หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: วิหค อัสนี ที่ 22-08-2007, 22:39 ผมขอสนับสนุนเรื่องรถไฟรางคู่ และยกเครื่องระบบขนส่งโดยรถไฟครับ
ในฐานะคนชอบท่องเที่ยว (แต่หาเวลาไปไม่ค่อยได้) :slime_v: หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 23-08-2007, 19:40 ถึงทุกท่านครับ...........(ลุง)ถึก สไลเดอร์ คุณirq5 ดอกฟ้ากับหมาวัด คุณพรรณชมพู คุณเอี้ยก้วย ปรมาจารย์เจได และคุณjerasak เรื่องรถไฟหรือระบบข่นส่งมวลชนเพื่อประชาชนโดยการโดยสารรถไฟจะถูกนำเสนอต่อพรรคการเมืองครับ ไม่ว่าทางตรง ทางอ้อม ทางขรุขระ ล็อบบี้หรือผ่านกระบวนการเสนอผ่านโดยใครก็ตามที่เข้ามาอ่าน....(แล้วเขา พวกเขา พวกเรา) เกิดไอเดียเพื่อการพัฒนาอีสานและภาคอื่นๆตามภูมิศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์....แล้วเราทุกท่านก็ควรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบาย สาธารณะ จากชุมชนเสรีไทยครับโดยไม่ต้องรอว่าใครจะคิดให้พวกเราหรือจะมีใครสนหรือเปล่า..แต่หากเราช่วยกันผลักต้องมีคนดันต่อแน่นอนครับ ไม่เริ่มจากเรา....แล้วใครจะทำครับ :slime_v: :slime_v: :slime_v: ผิดหวังมาก็หลายรัฐบาลเหมือนกันครับ รถไฟหัวกระสุน รถไฟรางคู่ โฮปเวลล์ รถไฟฟ้าสายรุ้ง ไม่เห็นมีไรคืบหน้าซักอัน เออ ว่าแต่ทุกรัฐบาล มันชอบเอารถไฟมาหากินกันจังเลยเนอะ :slime_hmm: หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: Gun ที่ 23-08-2007, 19:55 ๓.ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว (ไม่ใช่ มีข้าวขึ้นราคา) คือ ความสมบูรณ์ของทรัพยากร ไม่ใช่ ราคาเป็นหลัก ข้ออื่นไม่ค่อยรู้หรอกครับ แต่ข้อ 3 นี่คงยากอยู่นะครับ เอาแค่ป่า ระบบชลประทาน และการควบคุมมลพิษ ถ้าดูแล 3 อย่างนี้ได้ดีก็สุดยอดรัฐบาลแล้วละครับ มียุคไหนที่ทำเรื่องพวกนี้จริงจังมั่งละนี่ :slime_surrender: หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: glock19 ที่ 23-08-2007, 20:30 ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ตาม จะต้องใช้นโยบายประชานิยมเป็นหลัก เพราะ6ปีที่ผ่านมาชาวบ้านเสพจนติดงอมแงมแล้ว
หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 23-08-2007, 20:35 ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ตาม จะต้องใช้นโยบายประชานิยมเป็นหลัก เพราะ6ปีที่ผ่านมาชาวบ้านเสพจนติดงอมแงมแล้ว งั้นแก้ไม่ยากครับ ไปเพิ่มสาขาวัดถ้ำกระบอกให้มากๆ ประหยัดงบชาติ เผยแพร่ศาสนาไปในตัวด้วย :slime_smile2: หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: ริวเซย์ ที่ 23-08-2007, 21:28 ต้องรอดูนโยบายหาเสียงของแต่ละพรรคในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
รับรองมันส์แน่ๆ จะได้ให้โปรเจคเวอร์ๆอีกแน่นอน หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอ??รัฐบาลชุดใดในอนาคตจะ....รับนโยบายสาธารณะของพวกเราไปพิจารณา เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 28-08-2007, 12:36 อ้างจากคุณQ
ชัยชนะของเว็บบอร์ดเสรีไทย ในนัดถัดไป ก็คือการเลือกตั้งครั้งถัดไป ในสมรภูมิภาคอีสานและภาคเหนือ อดีตสส. ทรท.ควรได้รับการลงโทษจากคนอีสานโดย ไม่เลือกกลับมาอย่างน้อยก็ หนึ่งถึงสองสมัยครับ.. ช่วยกันหายุทธศาสตร์และยุทธวิธีได้แล้วละครับ นั่นคือส่วนหนึ่งของระบอบทักษิณ หากเอาชนะระบอบทักษิณได้ ระบอบศักดินาเอาชนะได้ไม่ยากหรอกครับ.. :slime_cool: มาต่อกระทู้นี้ดิครับคุณQ หัวข้อ: Re: จะมีใหมหนอรัฐบาลใดในอนาคตจะ.... เริ่มหัวข้อโดย: สมปอง ที่ 28-08-2007, 12:58 งั้นแก้ไม่ยากครับ :slime_agreed: :slime_agreed: :slime_agreed:ไปเพิ่มสาขาวัดถ้ำกระบอกให้มากๆ ประหยัดงบชาติ เผยแพร่ศาสนาไปในตัวด้วย :slime_smile2: หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-08-2007, 13:26 ครับ... ผมก็เสนอไว้บ้างแล้ว อย่างน้อยประจำจังหวัดนะครับ -รถไฟรางคู่ -โรงเรียนกินนอน แยกหอพักชายหญิง -โรงแรมห้าดาวรับนักท่องเที่ยว -นิคมเกษตร เมืองใหม่ ผังเมือง ปฏิรูปภาษีที่ดิน -โรงพยาบาล -สวนสาธารณะ -ห้องสมุด -ประปาที่สามารถกรองดื่มได้ -ไฟ้ฟ้า เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ -บ่อน้ำเพื่อการเกษตร -แปรรูปอาหาร -ปรับปรุงมาตรฐานส่วนราชการที่จำเป็นสำหรับประชาชน เช่น บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-08-2007, 13:44 อย่างพวกโรงเรียนอาชีวะ เช่นพาณิชย์ เทคนิค สารพัดช่าง ก็น่าจะรื้อพื้นขึ้นมาสร้างมารฐานใหม่ครับ ยกระดับการศึกษาภาคบังคับโดยเฉพาะระดับอนุบาลและประถมศึกษา การสร้างค่านิยมที่ดี มีมาตรกฐานในการบริการนักท่องเที่ยวและลูกค้า กิจกรรมท่องเที่ยวประจำจังหวัด เช่นศูนย์อาหาร ศูนย์แสดงสินค้าศูนย์ประชุมประจำจังหวัด ฯลฯ ความสะอาดของตลาดสด และอาหารที่จำหน่ายในท้องถิ่น โรงกำจัดขยะ ดูแลการจราจรให้สะดวกเป็นระเบียบและปลอดภัย หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-08-2007, 14:46 ผมเคยชมสารคดีอันหนึ่ง ในอิสราเอล มีเจ้าของฟาร์มแห่งหนึ่ง เลี้ยงไก่แสนกว่าตัวด้วยแรงงานของเขาคนเดียวยืนพื้น เขาประดิษฐ์อุปกรณ์ดัดแปลงด้วยตัวเองครับ.. ของไทยเราเรื่องสวนมังคุดมีนายดำประดิษฐ์ระบบน้ำหยดสำหรับมังคุด หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-08-2007, 18:39 เรื่องข่าวสารเหมือนกัน รัฐบาลควรอุดหนุนนักวิทยุชุมชนจังหวัดให้วิเคราะห์ข่าวให้ชาวบ้านฟังอีกที แต่อย่าไปชี้นำให้เชื่อข่าวลือ หรือการโฆษณาชวนเชื่อง่ายๆ ล้างอิทธพลพวกใช้วิธีนอกกฎหมาย ยกเครื่องตำรวจต่อเนื่องต่อไป ต้องสอนให้คนไทยคิดแบบใช้สมองสองซึก ไม่ใช่ซีกเดียวซีกใดซีกหนึ่ง หรือใช้แต่แรงงาน ตกเย็นก็ร่ำสุราอีก สมองไม่ค่อยได้ใช้เต็มที่ เสียสุขภาพด้วยเพราะดื่มมากเกินไป หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-08-2007, 19:53 ส่งเสริมพวกงานช่างประดิษฐ์คิดค้น พื้นฐานการเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ต้องดีพอสมควร เรียนสายสังคมมันกว้าง ทำให้หลายคนตรรกะ เพื้ยนๆ การคิดค้นก็เป็นไปเพื่อสามารถตอบสนองการปรับปรุงงานประจำวันด้วยตนเอง ทำได้มากหน่อยก็เอามาประกวดประขันกันได้ แทนที่จะเสียเวลาไปกับไก่ชน ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว หันมาเลี้ยงปลา ไว้กินไว้ขาย ทำเครื่องทุ่นแรงง่ายๆใช้งานเอง ทำขายในท้องถิ่นก็ได้ วายด์โอท็อป โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ก็มีเป็นกรอบริเริ่มนำร่องอยู่เหมือนกัน หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-08-2007, 20:24 งานด้านค่านิยมและวัฒนธรรม ให้มีหน่วยงานระดับจังหวัด คอยรวบรวมและเป็นพี่เลี้ยงไม่ปล่อยตามสภาพแวดล้อม หรือตามถากรรมครับ ค่านิยมที่ดี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต้องเร่งสร้าง บางทีผมอยากให้ปฏิวัติวัฒนธรรมด้วยซ้ำ บางเรื่องมันถ่วงความเจริญมากจริงๆ อย่างเช่นตำหนิแต่ไม่แนะนำไม่รับฟังจริงๆ ตอบโต้รุนแรง ไม่ว่าใครพูดอะไร แบบทักษิณนี่ผมไม่เห็นจะดี ศรีธนญชัยคือคนเลว เอาอย่างไม่ได้เลย ผู้ใหญ่ต้องเปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกและเรียนรู้มีความคิดสร้างสรรค์ ทรงเจ้าเข้าผี มีแต่หลอกลวง..ขอหวย บนเจ้า พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งศีล ต้องจับสึกให้หมด โกหกหลอกลวง ไม่พูดความจริงให้ครบทันเวลา แถไถเลื้อยลด ขาดความพอดี ทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิด เลิกเสียให้หมด หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 28-08-2007, 20:33 นโยบายเรื่อง พืช GMO
น่าจะทำประชาพิจารณ์มากกว่านี้ หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 28-08-2007, 20:41 นโยบายเรื่อง พืช GMO น่าจะทำประชาพิจารณ์มากกว่านี้ มันโยงใยกับการพึ่งพิงการส่งออกตลาดต่างประเทศ และการจดทะเบียนพืชพันธ์ ทำให้พวกนายทุนข้ามชาติคุมตลาดตั้งแต่ต้นทางได้.. หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 29-08-2007, 10:27 :slime_cool:
ต้องสอนให้คนไทย เข้าใจบทบาทของตนเองในเวทีโลกด้วย.. ท้องถิ่นย่อมสามารถสร้างศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ให้ตนเองได้ด้วยตนเองครับ หากเล่นถูกบท ถูกกาละเทศะนะครับ.. หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 29-08-2007, 10:41 เรื่องการขนส่งระบบราง มีการศึกษาไว้แล้ว จำได้ว่าในเสรีไทยก็เคยเล่นเรื่องนี้
รู้สึกจะเป็นคุณจีรศักดิ์...ไม่แน่ใจ เป็นข้อมูลที่น่าจะนำขึ้นมาปลุกกันใหม่ หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: eAT ที่ 29-08-2007, 10:48 ๓.โครงการส่งเสริมเลี้ยงปลาในนาข้าว ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว (ไม่ใช่ มีข้าวขึ้นราคา)
ไม่มีทางเป็นไปได้ครับ เพราะถ้าหากเลี้ยงปลาในนา สิ่งที่ห้ามเด็ดขาดคือ ยาฆ่าแมลง กับ ปุ๋ยเคมี นั่นหมายถึง พ่อค้าสารพัดสารเคมีที่ใช้ในนาข้าว จะขายสินค้าไม่ได้ แล้วคนพวกนี้เป็นพวกไหน ก็ส่วน หนึ่งก็เป็นพวกหัวคะแนนไปจนถึงนักการเมืองท้องถิ่น ไม่แน่ใจว่าถึงระดับชาติด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีปัญหา เรื่องการให้ความรู้ คือนอกจากชาวนาจะต้องมีความรู้ในเรื่องทำนา จะต้องมี องค์ความรู้เรืื่องการประมงน้ำจืดอีกด้วย ซึ่งไม่คิดว่าจะให้ความรู้กันง่ายๆ เรื่องทำมาหากิน ยังลำบาก เลย มีบางคนคิดว่า จะอ่านรัฐธรรมนูญ รู้เรื่องเสียอีก หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 29-08-2007, 10:56 เห็นด้วยอย่างแรงกับขนส่งระบบราง
เป็นการลงทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งประเทศ ไม่ใช่ลงทุนแล้วมีแค่บางกลุ่มบางคนได้ประโยชน์ :slime_fighto: หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 30-08-2007, 12:11 :slime_doubt: :slime_cool: พรรคการเมืองเน้นการสร้างนโยบายผลักดันรายภาค ผมก็ว่าน่าสนใจครับ ให้สส.หรือผู้สมัครลงรายละเอียดปัญหาของแต่ละท้องถิ่นในเขตลงรับสมัครของตนเองให้มากขึ้น หัวข้อ: Re: มาช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 31-08-2007, 00:08 จะบังเอิญ หรือตั้งใจก็ตามครับ...คุณ jerasak,คุณ QuaOs,ปรมาจารย์เจได,คุณ Cherub Rock, คุณ Q และเพื่อนๆ ครับ
มีข่าวเรื่อง รถไฟระบบราง จากเว็บ ปชป.มาให้อ่านครับ http://www.democrat.or.th/main.asp อภิสิทธิ์ พบ รมช.กระทรวงทางรถไฟจีน แลกเปลี่ยนประสบการณ์เทคโนโลยีรถไฟ ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 30/8/2550 ข่าวพรรค/การเมือง หน้าที่ :: 1 ของ 1 เวลา 09.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 30 ส.ค. 50 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคณะ เดินทางเข้าพบนาย TENG KAIZHON รัฐมนตรีช่วยกระทรวงทางรถไฟของรัฐบาล จากนั้นไปเยี่ยมชมสนามกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ได้พบกับรัฐมนตรีช่วยกระทรวงทางรถไฟครั้งนี้ ถือว่าจีนมีประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีในเรื่องรถไฟมานาน ปัจจุบันจีนก่อสร้างรถไฟในประเทศปีละ 3,000 กิโลเมตร ซึ่งตนได้หยิบยกประเด็นที่เราเชื่อว่าการลงทุนระบบรางของเราในช่วง 4-5 ปีข้างหน้าคงจะมีมาก ซึ่งพรรคมีแนวคิดเรื่องระบบราง โดยเฉพาะรถไฟรางคู่หรือบางพื้นที่อาจมีรถไฟความเร็วสูงด้วย จึงสอบถามกันเพราะบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจของจีนจะได้เข้าไปลงทุนในไทย ซึ่งกระทรวงทางรถไฟของจีนบอกว่ายินดีแลกเปลี่ยนและให้ความร่วมมือเพราะเขาคุ้นเคยและมีโอกาสทำงานกับต่างประเทศ เข้าใจการแข่งขันในสากลเป็นอย่างดี หัวข้อ: Re: ช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ (มีข่าว รถไฟรางคู่ จาก ปชป.) เริ่มหัวข้อโดย: ปรมาจารย์เจได ที่ 31-08-2007, 00:29 ขอเสนอนโยบาย พลังประชาชนต้องไปก่อน
รับรอง ไทยมีเงินมากพอที่จะเป็นผู้ให้กู้สบายโดยไม่ต้องคิดดอกเลย :slime_bigsmile: หัวข้อ: Re: ช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ (มีข่าว รถไฟรางคู่ จาก ปชป.) เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 31-08-2007, 01:04 ขอเสนอนโยบาย พลังประชาชนต้องไปก่อน รับรอง ไทยมีเงินมากพอที่จะเป็นผู้ให้กู้สบายโดยไม่ต้องคิดดอกเลย :slime_bigsmile: คงไม่นานเกินรอครับท่าน...หากพวกเขา......ไม่รู้จักสงบปากสงบคำเสียบ้าง :slime_sentimental: หัวข้อ: Re: ช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ (มีข่าว รถไฟรางคู่ จาก ปชป.) เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 31-08-2007, 11:36 ยิงแคมเปญวาระประชาชน
ผมยังไม่เห็นเลยว่ามันเจ๋งเป้งตรงไหน มีอะไรเป็นรูปธรรมบ้าง :slime_surrender: หัวข้อ: Re: ช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ (มีข่าว รถไฟรางคู่ จาก ปชป.) เริ่มหัวข้อโดย: GTD-111 ที่ 31-08-2007, 14:51 เห็นหลายคนถามหาว่าเมื่อไร ประเทศไทย ถึงจะมีรถไฟความเร็วสูง ใช่
ขอตอบสั้นๆ นะครับว่า คงอีกนานเลยละ ผมไม่พิจารณาเรื่องของผลประโยชน์ทางด้านการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง การที่จะทำระบบรถไฟความเร็วสูงได้นั้น ระบบพลังงานไฟฟ้าของไทยจะต้องมีขนาดใหญ่และเสถียรกว่านี้อีกหลายเท่าตัวถึงจะได้ เรียกว่าถ้าเราจะสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน จำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันเลยที่เดียวเพื่อป้อนพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบรถไฟความเร็วสูงได้อย่างพอเพียง ซึ่งจะทำให้ราคาของค่าโดยสารสูงเกินกว่ามาตราฐานค่าครองชีพของเมืองไทยมาก นี้ยังไม่รวมถึงราคาในการวางระบบรางใหม่นะ แถมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสำหรับบ้านเรามันเหมือนกับอะไรที่รู้ว่าจำเป็นต้องใช้ แต่ไม่มีใครอยากให้สร้าง นี่แค่โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิส นะครับ ไม่ต้องพูดถึงโรงไฟฟ้านิวเครียร์ ดังนั้นถึงฟันธงลงไปได้เลยว่า ระบบรถไฟความเร็วสูงสำหรับบ้านเราไม่มีทางได้เกิดแน่นอน ถ้าพูดถึงความเป็นไปได้ เอาแค่ทำระบบรางคู่ตามเส้นทางหรือชุมทางสำคัญ เพื่อไม่ให้รถไฟเสียเวลาในการคอยสับหลีกกัน ไห้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับระบบรถไฟบ้านมากกว่าเยอะเลย หัวข้อ: Re: ช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ (มีข่าว รถไฟรางคู่ จาก ปชป.) เริ่มหัวข้อโดย: paper punch ที่ 31-08-2007, 15:13 ยิงแคมเปญวาระประชาชน เห็นด้วยครับ ผมเชียร์ ปชป.มาตลอด คราวนี้แม้จะมีการออกสื่อมากขึ้น แต่ส่วนตัวเห็นว่าสิ่งที่คุณอภิสิทธิ์พูดในทีวีผมยังไม่เห็นเลยว่ามันเจ๋งเป้งตรงไหน มีอะไรเป็นรูปธรรมบ้าง :slime_surrender: ยังไม่ทำให้คนเข้าใจว่า ประชาชนต้องมาก่อน คืออะไร จับต้องได้ไหม หรือว่านี่แค่โหมโรงเท่านั้นครับ อีกอย่าง สุเทพ เทือกสุบรรณ น่ะ พูดให้น้อยหน่อยก็ดีครับ.. หัวข้อ: Re: ช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ (มีข่าว รถไฟรางคู่ จาก ปชป.) เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 31-08-2007, 15:27 เห็นหลายคนถามหาว่าเมื่อไร ประเทศไทย ถึงจะมีรถไฟความเร็วสูง ใช่ ขอตอบสั้นๆ นะครับว่า คงอีกนานเลยละ ผมไม่พิจารณาเรื่องของผลประโยชน์ทางด้านการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง การที่จะทำระบบรถไฟความเร็วสูงได้นั้น ระบบพลังงานไฟฟ้าของไทยจะต้องมีขนาดใหญ่และเสถียรกว่านี้อีกหลายเท่าตัวถึงจะได้ เรียกว่าถ้าเราจะสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน จำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันเลยที่เดียวเพื่อป้อนพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบรถไฟความเร็วสูงได้อย่างพอเพียง ซึ่งจะทำให้ราคาของค่าโดยสารสูงเกินกว่ามาตราฐานค่าครองชีพของเมืองไทยมาก นี้ยังไม่รวมถึงราคาในการวางระบบรางใหม่นะ แถมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสำหรับบ้านเรามันเหมือนกับอะไรที่รู้ว่าจำเป็นต้องใช้ แต่ไม่มีใครอยากให้สร้าง นี่แค่โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิส นะครับ ไม่ต้องพูดถึงโรงไฟฟ้านิวเครียร์ ดังนั้นถึงฟันธงลงไปได้เลยว่า ระบบรถไฟความเร็วสูงสำหรับบ้านเราไม่มีทางได้เกิดแน่นอน ถ้าพูดถึงความเป็นไปได้ เอาแค่ทำระบบรางคู่ตามเส้นทางหรือชุมทางสำคัญ เพื่อไม่ให้รถไฟเสียเวลาในการคอยสับหลีกกัน ไห้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับระบบรถไฟบ้านมากกว่าเยอะเลย ที่ใดมีความพยายาม ก็ยังคงมีโอกาสครับ.. :slime_fighto: ประกอบกระทู้นะครับ http://forum.serithai.net/index.php?topic=14260.msg206505#msg206505 http://forum.serithai.net/index.php?topic=14872.msg195227#msg195227 http://forum.serithai.net/index.php?topic=14223.msg188268#msg188268 หัวข้อ: Re: ช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ (มีข่าว รถไฟรางคู่ จาก ปชป.) เริ่มหัวข้อโดย: GTD-111 ที่ 31-08-2007, 20:45 การมีความหวังและความพยายามเป็นสิ่งที่ดีครับ
ผมก็อยากจะเห็นเมืองไทยมีระบบรถไฟความเร็วสูงมากเหมือนกัน แต่ก็นั้นแหละข้อจำกัดหลายต่อหลายอย่างที่มันทำให้ความหวังของเราเป็นไปได้ยาก เอาเป็นว่าถ้าแก้ปัญหาทางด้านเทคนิคได้แล้ว เรื่องราคาค่าโดยสาร มันจะต้องถูกกว่าค่าเครื่องบิน แต่อาจจะแพงกว่ารถทัวร์ แค่นี้ก็ตายแล้วละสำหรับใครที่คิดจะลงทุน ยกเว้นว่าภาครัฐจะเข้ามาเป็นผู้ลงทุนให้บริการซะเอง แต่ก็นั้นแหละ เราไม่ได้ร่ำรวยอะไรเลย ออกไปในแนวทางจะยากจนซะด้วยซ้ำ เอาเงินไปพัฒนาระบบการศึกษา และเศรษฐกิจ ซะยังจะคุ้มค่ากว่าครับ แต่ลึกๆ ผมก็อยากจะให้ รัฐบาล ในอนาคต ตัดสินปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน และระบบขนส่งสินค้า ให้มันดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่เดิม แล้วถึงขยายไปเป็นระบบขนส่งความเร็วสูง ไม่รู้ว่าในรอบทศวรรษนี้ผมจะได้เห็นรึเปล่า คิดแล้วมันเศร้า ก็ต้องสร้างความหวังกันต่อไป หัวข้อ: Re: ช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ (มีข่าว รถไฟรางคู่ จาก ปชป.) เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 31-08-2007, 21:22 ทุกอย่างต้องทำไปพร้อมกันครับจะรอนานเกินไปคงไม่ได้ ถ้าเป็นเรื่องเงิน รัฐบาลใหม่ต้องรู้จักแสวงหาความร่วมมือ เงินสำรองของจีนญีปุ่นมีมากครับ..ใช่วิธีร่วมทุนบ้างดีทื่สุด ส่วนเรื่องค่าโดยสารทุกวันนี้รัฐอุดหนุนค่าพลังงาน ถนนหนทางเป็นเตี้ยอุ้มค่อมอยู่แล้วครับ การลงทุนควบคู่ไปกับการประหยัดคือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเองครับ..การศึกษาถ้าปฏิรูปวัฒนธรรมได้ก็ลงทุนไม่มากครับ เกี่ยวกับรถไฟรางคู่อ่านเพิ่มเติมที่กระทู้นี้ก็ได้ครับ http://forum.serithai.net/index.php?topic=16145.msg213137#msg213137 หัวข้อ: Re: ช่วยสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)..กันครับ (มีข่าว รถไฟรางคู่ จาก ปชป.) เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 01-09-2007, 10:42 การมีความหวังและความพยายามเป็นสิ่งที่ดีครับ ผมก็อยากจะเห็นเมืองไทยมีระบบรถไฟความเร็วสูงมากเหมือนกัน แต่ก็นั้นแหละข้อจำกัดหลายต่อหลายอย่างที่มันทำให้ความหวังของเราเป็นไปได้ยาก เอาเป็นว่าถ้าแก้ปัญหาทางด้านเทคนิคได้แล้ว เรื่องราคาค่าโดยสาร มันจะต้องถูกกว่าค่าเครื่องบิน แต่อาจจะแพงกว่ารถทัวร์ แค่นี้ก็ตายแล้วละสำหรับใครที่คิดจะลงทุน ยกเว้นว่าภาครัฐจะเข้ามาเป็นผู้ลงทุนให้บริการซะเอง แต่ก็นั้นแหละ เราไม่ได้ร่ำรวยอะไรเลย ออกไปในแนวทางจะยากจนซะด้วยซ้ำ เอาเงินไปพัฒนาระบบการศึกษา และเศรษฐกิจ ซะยังจะคุ้มค่ากว่าครับ แต่ลึกๆ ผมก็อยากจะให้ รัฐบาล ในอนาคต ตัดสินปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน และระบบขนส่งสินค้า ให้มันดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่เดิม แล้วถึงขยายไปเป็นระบบขนส่งความเร็วสูง ไม่รู้ว่าในรอบทศวรรษนี้ผมจะได้เห็นรึเปล่า คิดแล้วมันเศร้า ก็ต้องสร้างความหวังกันต่อไป คุณ GTD-111 ครับ หากพวกเราช่วยกันคิดแล้วมีการนำเสนออย่างสมเหตุสมผล..มีการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบ ข้อมูลหนักแน่น มีกาศึกษาความเป็นไปได้ น่าเชื่อถือผมว่า..ประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยนะครับ หลายท่านในที่นี้..มีความรู้ที่พอเป็นที่ปรึกษาให้กับทุกรัฐบาลด้วยซ้ำไปครับ..ผมว่าคุณGTD-111 เองก็เป็นผู้มีความสามารถ..และมีข้อเสนอแนะที่ดีครับ...ยินดีต้อนรับสู่บ้านแห่งความคิดเสรีไทยครับ หัวข้อ: Re: มาสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)....โดยเสรีไทย เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 05-09-2007, 11:01 ด่วน [/color]นโยบาย...รถไฟรางคู่.......จะถูกเสนอต่อตัวแทนพรรคการเมือง.....วันนี้ครับ :slime_agreed: ผมจะทำหนังสือไปยังตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆเพื่อเป็นการตอบสนองของชุมชนเสรีไทยแห่งนี..ณ บัดดล หัวข้อ: Re: มาสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)....โดยเสรีไทย เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 05-09-2007, 12:12 จะมีใหมหนอรัฐบาลใดจะ....รับนโยบายสาธารณะ......ดังต่อไปนี้ไปพิจารณา ๑.โครงการรถไฟรางคู่ ไปอีสาน เหนือ ใต้ (ตัวอย่าง..อีสานใต้ไปอินโดจีน ทั้ง เขมร ลาว เวียตนาม) ๒.กองทุนชุมชน ส่งเสริมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในชุมชนให้ยั่งยืน ส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร ๓.โครงการส่งเสริมเลี้ยงปลาในนาข้าว( ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว )บ่อปลาพื้นบ้าน ตามแต่ละภูมิภาค ๔.โครงการ"ราษฎร์เสริมรัฐ" ภาคประชาชนมีตำแน่งบริหารควบคู่ภาครัฐทุกระดับเช่น ตำแหน่ง ผู้ประสานงานชุมชน(NGo.)ทุกอำเภอ เพื่อให้เอ็นจีโอมีบทบาทอย่างแท้จริง ๕.โครงการ "ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน" โดยชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเช่น นักเรียนร่วมเรียนรู้การทอเสื่อกก ทอผ้าไหม กับกลุ่มแม่บ้าน ไม่ใช่ตามหนังสือแบบเรียนอย่างเดียว ๖.โครงการ "แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร"เช่น ข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงผลไม้ตามฤดูกาล ของไทยและผลิตผลจากท้องถิ่นและรัฐบาลรับประกันราคา เพื่อนๆเสรีไทยฯก็เสนอเข้ามากันนะครับ ถือว่ามีส่วนร่วมทางการเมืองระดับนโยบายสาธารณะโดยชาวเสรีไทยฯ ปรับปรุงแก้ไข.............จากการระดมความคิด และแปรเปลี่ยนเป็นโครงการ...... ..อย่างที่เห็น เพิ่มเติม/เห็นต่างโปรด....แสดงตามซำบายครับ หัวข้อ: Re: มาสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)....โดยเสรีไทย เริ่มหัวข้อโดย: เพื่อนร่วมชาติ ที่ 05-09-2007, 12:44 ดูเหมือนรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาจะไม่มีใครจริงใจกับระบบราง
ไม่รู้แกล้งโง่เพื่อเอื้อประโยชน์ให้อุตสาหกรรมรถยนต์และน้ำมันหรือเปล่า ถ้ารัฐบาลจริงใจ ต้องไม่แค่ทำรางคู่เท่านั้น แต่ต้องเพิ่มขนาดรางให้รองรับรถไฟความเร็วสูงด้วย เป็นการปฏิรูประบบรางครั้งใหญ่ อีกเรื่องที่ต้องโละไปพร้อมกันคือการศึกษา ไอ้ประเภทผลิตคนงานป้อนโรงงานนายทุนน่ะควรเปลี่ยนซะที ระบบการศึกษาปัจจุบันสอนให้เด็กทำข้อสอบเก่ง ไม่ได้สอนให้คิด นอกจากนั้นยังไม่ได้สอนให้เห็นแก่ส่วนรวม เรื่องง่าย ๆ ที่ผมอยากเสนอกระทรวงศึกษาก็คือ เอาวรรณกรรมที่ไม่เหมาะกับเด็กออกไปจากตำราเรียนซะที ๑) ศรีธนญชัย ๒) ขุนแผน ๓) พระอภัยมณี วรรณกรรมสามเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อวิธีคิดของคนไทยมากกว่าที่หลาย ๆ คนคิด อิทธิพลของศรีธนญชัย สะท้อนให้เห็นในพฤติกรรมหัวหมอ เลี่ยงบาลี ตีความกฎหมายและสิ่งต่าง ๆ เข้าข้างตัว อิทธิพลของขุนแผน สะท้อนให้เห็นในพฤติกรรมมีกิ๊ก มีบ้านเล็กบ้านน้อย แสวงหาอิทธิฤทธิ์ส่วนตัว บ้าเครื่องรางของขลัง อิทธิพลของพระอภัยมณี สะท้อนให้เห็นในพฤติกรรมเห็นแก่ตัว เพราะวรรคที่คนไทยจำได้ดีที่สุดจากวรรณกรรมเรื่องนี้ก็คือ "รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี" วรรณกรรมเหล่านี้ปลูกฝังเรื่องความเป็นคนดี คนเสียสละ น้อยมาก แต่เทิดทูนค่านิยมเรื่องอิทธิฤทธิ์ การเป็นคนเก่ง เป็นคนรูปงาม เจ้าเล่ห์หัวหมอ จะเอาไว้ในห้องสมุดก็ตามสบาย แต่อย่าเอามาให้เด็ก ๆ อ่าน มันไม่เหมาะสำหรับเด็กเลย ผมเห็นบทเรียนต่างประเทศ เรื่องที่เขาให้เด็กอ่านคือ เด็กชายชาวฮอลแลนด์ที่เห็นรูรั่วเล็ก ๆ ที่เขื่อน เขาเอานิ้วไปอุดไว้ทั้งคืน ทนหนาว ทนเมื่อย รู้จักเสียสละเพื่อคนทั้งเมือง จะบอกว่าเรามีเรื่องเวสสันดรชาดก สอนเรื่องเสียสละ ผมก็ไม่อยากเถียง แต่ผมว่าเรื่องดังกล่าวแทนที่จะกระตุ้นให้คนเสียสละ กลับส่งผลตรงข้าม และทำให้คนคิดในใจว่า ใครมันจะเสียสละแบบสุดโต่งแบบนั้นได้ และพาลปฏิเสธแนวคิดเรื่องความเสียสละไปเลย หัวข้อ: Re: มาสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)....โดยเสรีไทย เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 07-09-2007, 00:11 ด่วน [/color]นโยบาย...รถไฟรางคู่.......จะถูกเสนอต่อตัวแทนพรรคการเมือง.....วันนี้ครับ :slime_agreed: ผมจะทำหนังสือไปยังตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆเพื่อเป็นการตอบสนองของชุมชนเสรีไทยแห่งนี..ณ บัดดล ผมลองตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับรถไฟเพิ่มเติม ไปเจอว่ามีข่าวถึงขนาดอาจยุบการรถไฟแห่งประเทศไทยเลยนะครับ ผมว่าเรื่องนี้น่าจะเกิดผลกระทบกับอนาคตของ โครงการรถไฟรางคู่ ตอนนี้เลยตามเช็คข่าวเรื่องนี้อยู่ครับ http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi02030950&day=2007-09-03§ionid=0212 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ร.ฟ.ท.ยามโพล้เพล้ ตอกย้ำรัฐไทยไร้น้ำยา บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 3-5 ก.ย.50 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มกิจการรถไฟมาตั้งแต่ พ.ศ.2439 ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยยืนหยัดรับใช้คนไทยมาแล้วถึง 111 ปีแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยใช้หัวรถจักรดีเซลเป็นประเทศแรกในเอเชียก่อนประเทศญี่ปุ่นเสียอีก หลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศเพื่อนบ้านต้องมาดูงานกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องมาจากเราเริ่มก่อนใครและศักยภาพของเราเหนือกว่าทุกประเทศ โรงงานรถไฟมักกะสันใหญ่โตมโหฬารบนพื้นที่ 435 ไร่ เป็นศูนย์ซ่อมที่ครบวงจรที่สุด ช่างรถไฟทำได้ทุกอย่าง ไม่แพ้ที่ใดในโลก เช่นเดียวกับที่ดินของการรถไฟฯที่มีอยู่กว่า 2 แสนไร่ทั่วประเทศ 75 ปีผ่านไป ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 24 คน มีรัฐบาลที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาบริหารประเทศหลายสิบชุด มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่กำกับดูแลการรถไฟฯ หลายโหล แต่ดูเหมือนว่า ร.ฟ.ท.ไม่ได้พัฒนาไปสู่ความยิ่งใหญ่ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นเริ่มมาหลังประเทศไทย คนญี่ปุ่นได้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง (ชินกันเซ็น) หรือประเทศที่เปิดประเทศ เมื่อ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา อย่างเวียดนามวันนี้ระบบรถไฟพัฒนาแซงหน้าประเทศไทยไปเรียบร้อยแล้ว กล่าวกันว่าจริงๆ แล้ว ร.ฟ.ท.ควรเป็นผู้ผลิตหัวรถจักรเองด้วยซ้ำ แต่ภาพของความเป็นจริง คือ เราทำได้แค่ซ่อมแซมและปะผุหัวรถจักรที่มีอายุใช้งาน 40-50 ปี เหลียวดูอาณาจักรที่กำลังอัสดงของ ร.ฟ.ท. ความจริงที่น่าเจ็บปวดก็คือ การรถไฟฯในปี 2550 จมอยู่ใน กองหนี้กว่า 5 หมื่นล้าน ในกิจการที่ขาดทุนต่อเนื่องมาทุกปี ถ้าเป็นธุรกิจเอกชนก็เป็นกิจการที่ล้มละลายมานานแล้ว ขณะที่ภายในองค์กรเอง ร.ฟ.ท.มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งที่สุด แต่เป็นองค์กรที่ล้มเหลวในการบริหารจัดการมากที่สุด ทุกวันนี้องค์กรแห่งนี้แบกภาระบำนาญของบุคลากร 14,000 คน ในวงเงินมากกว่า แสนล้าน ซึ่งแน่นอนว่าองค์กรที่ไม่ทำกำไรแห่งนี้ไม่มีปัญญาจ่ายบำนาญดังกล่าวได้อย่างแน่นอน ปัญหาที่ใหญ่ไปกว่านั้นก็คือ อาณาจักรแห่งนี้กำลังประสบวิกฤตสมองไหล เพราะคนดีคนเก่งก็ไม่อยากทำงานกับอาณาจักรที่กำลังล่มสลาย เหตุปัจจัยที่ทำให้การรถไฟฯล้าหลังและย่ำเท้าอยู่ในวิกฤตมาอย่างยาวนาน อาจสะท้อนภาพสังคมไทยได้เป็นอย่างดีว่า อาณาจักรแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ทั้งสินทรัพย์และทรัพยากร แต่เมื่อใดคนไทยเข้ามาบริหารจัดการ ทุกอย่างค่อยๆ ล่มสลายลงตามกาลเวลา นักการเมืองในอดีตที่เข้ามาบริหารการรถไฟฯมักมุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินการรถไฟฯอย่างมูมมาม จนกลายเป็นที่มาของบุฟเฟต์คาบิเนต หรือแกรนด์ดินเนอร์คาบิเนต ไม่ว่าจะเป็นสินบนจากค่าเช่าที่ดิน ของการรถไฟฯที่มีมูลค่ามหาศาล หรือโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของ ร.ฟ.ท. คดีทุจริตคอร์รัปชั่นในรัฐบาลที่ผ่านมาเกิดจากการแสวงหาผลประโยชน์ในการรถไฟฯ จึงไม่น่าแปลกที่ตัวเหลือบต่างอ้วนพี แต่การรถไฟฯเหลือแต่ซาก อาณาจักรยามโพล้เพล้ของการรถไฟฯเป็นเรื่องน่าเศร้าใจ เมื่อรัฐบาลจนปัญญาในการแก้วิกฤตการรถไฟฯ ความคิดแบบที่ง่ายที่สุดก็คือ ยุบการรถไฟฯทิ้งไปเหมือนกับแนวคิดในการยุบ ร.ส.พ. แต่เอาเข้าจริงวิธีแก้ปัญหาโดยการยุบทิ้งอาจมีโจทย์ที่ต้องตามแก้ไขมากมาย และอาจไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด จริงๆ แล้วห้วงเวลาที่ดีที่สุดของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ผู้พิสมัยโมเดลรถไฟเล็กก็คือ การลงมือยกเครื่องการรถไฟฯให้พ้นจากวิกฤตอย่างจริงจัง ถ้าจะต้องผ่าตัดครั้งใหญ่หรือตัดชิ้นส่วนที่เน่าเสียเพื่อรักษาชีวิตก็เป็นเรื่องจำเป็น เพราะหากพ้นจากนี้ไปแล้วก็อย่าหวังว่านักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจะปฏิรูปอาณาจักรแห่งนี้ หัวข้อ: Re: มาสร้างนโยบายสาธารณะ(Public Policy)....โดยเสรีไทย เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 07-09-2007, 00:24 ต่อไปเป็นบทความใน ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับล่าสุดเกี่วกับเรื่องนี้นะครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- คิวยุบร.ฟ.ท.หลังผ่าตัดใหญ่ไม่สำเร็จ รื้อสัญญาที่ดินทุกแปลง RCA-จตุจักร-อตก.คิวแรก! ประกาศวันที่ : 30 August 2550 ผู้เขียน : ผู้จัดการรายสัปดาห์ รายละเอียด * รัฐสั่งผ่าตัดใหญ่ ร.ฟ.ท.เพราะทนแบกหนี้มหาศาลไม่ไหว * แค่ค่าบำนาญก็หนักอึ้ง!ต้องจ่ายถึง 160,000 ล้านบาท * ขู่ทำไม่ได้ปิดกิจการตามรอย รสพ.! * ก้าวแรกสั่งรื้อสัญญาที่ดินทุกแปลงเพื่อสร้างรายได้ * พบที่แปลงใหญ่กลางกทม.เอื้อประโยชน์นายทุน! * RCA-จตุจักร-อตก.ต่อคิว เซ็นทรัล * พร้อมขึ้นค่าโดยสารรถไฟต่อไป!.. แม้ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. จะเป็นอีกหนึ่งในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน่วยงานใดๆ แต่ด้วยความผิดพลาดของการดำเนินงานที่ฝังรากลึกมายาวนาน และไม่เคยแก้ไขได้สำเร็จ กลับทำให้ภาพลักษณ์ของ ร.ฟ.ท. กลายเป็นความตกต่ำ เป็นแดนสนธยา ที่นักการเมือง นักลงทุนต้องการเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากขุมทรัพย์มหาศาลในร.ฟ.ท. แม้รัฐบาลทุกชุดจะเคยสั่งการให้ร.ฟ.ท.ผ่าตัดองค์กรครั้งใหญ่ ทำทุกวิถีทางในการเร่งสร้างรายได้ เพื่อล้างหนี้สิน จนสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นภาระกับประเทศชาติก็ตาม แต่เวลาผ่านไปหลายปี พร้อมๆ กับรัฐบาลที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นครองอำนาจมาหลายชุดหลายสมัย กลับพบว่า ความพยายามของ ร.ฟ.ท.กับภารกิจในการล้างหนี้ก้อนใหญ่ขององค์กรไม่เคยผลักดันได้สำเร็จ ทั้งๆ ที่โดยเบื้องลึกแล้วพื้นฐานของ ร.ฟ.ท. จัดว่าเป็นองค์กรที่มีศักยภาพไม่ด้อยไปกว่าใคร เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีสินทรัพย์อยู่ในมือในรูปของที่ดินที่มีศักยภาพ ซึ่ง ร.ฟ.ท. ครอบครองอยู่กว่า 36,000 ไร่ทั่วประเทศ จากทั้งหมดกว่า 200,000 ไร่ หากโฟกัสเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะพบว่าร.ฟ.ท. มีที่ดินมากถึง 3,900 ไร่ เช่น บางซื่อ บางซ่อน มักกะสัน ยมราช ช่องนนทรี หัวลำโพง รัชดาภิเษก ฯลฯ และที่ดินตามแนวที่รางรถไฟตัดผ่านอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นแหล่งสร้างรายได้มหาศาลเข้าองค์กร หากมีการบริหารจัดการที่ดี เปิดแผนผ่าตัดใหญ่ สำหรับแผนนำพาร.ฟ.ท.ให้หลุดพ้นจากการเป็นองค์กรที่มีหนี้สินล้นตัว ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้นั้น แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า จะต้องมีการแยกองค์กรอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ซึ่งกำกับดูแลโดยร.ฟ.ท. แยกเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ ร.ฟ.ท. บริษัทขนส่งสินค้า บริษัทขนส่งผู้โดยสาร บริษัทบริหารรถไฟฟ้า และบริษัท ซ่อมบำรุงล้อเลื่อน การดำเนินงานของแต่ละบริษัท แบ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นให้บริการประชาชน ไม่มุ่งเน้นกำไร โดยรัฐบาลจะต้องสนับสนุนค่าชดเชยส่วนที่ขาดทุน อาทิ การบริการเพื่อสังคม ขณะที่บริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างรายได้ รัฐบาลไม่ต้องอุดหนุน อาทิ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ร.ฟ.ท. บริษัทขนส่งสินค้า และบริษัทบริหารรถไฟฟ้า ปัจจุบันร.ฟ.ท.ต้องรับภาระค่าโดยสารแทนประชาชนจำนวนมาก โดยร.ฟ.ท.เสนอให้รัฐอุดหนุนค่าโดยสารในส่วนของบริการเพื่อสังคมที่เดินรถจำนวน 168 สาย จากทั้งหมด 324 สาย ปีละ 22,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลข ที่ร.ฟ.ท.ขาดทุน ส่วนเชิงพาณิชย์ 84 สาย และเชิงสินค้า 72 สาย รัฐไม่ต้องชดเชย เพราะสามารถจัดเก็บค่าใช้รางจากเอกชนได้ตามจริง และมีผลกำไร สำหรับเรื่องการบริหารทรัพย์สินนั้น หากร.ฟ.ท.นำที่ดินออกมาพัฒนา จะสร้างรายได้มหาศาลเข้าองค์กร แต่ทุกวันนี้ที่ร.ฟ.ท.จัดเก็บรายได้ไม่เต็มเม็ดหน่วย เพราะปัญหาการโกงกินของเจ้าหน้าที่ร.ฟ.ท.ที่ร่วมมือกับฝ่ายการเมือง และบริษัทเอกชนที่เข้ามาแสวงหาประโยชน์จากที่ดินของร.ฟ.ท.จนทำให้ร.ฟ.ท.สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับจำนวนมาก หากการผ่าตัดร.ฟ.ท.ครั้งนี้ ไม่ประสบความสำเร็จ จะทำให้ร.ฟ.ท.ล้มทั้งยืน เพราะร.ฟ.ท.เป็นหน่วยงานที่มีภาระหนี้สินจำนวนมาก อีกทั้งยังมีพนักงานเป็นหมื่นคนที่ต้องรับผิดชอบ ขณะที่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่เกิดขึ้น ความล่าช้าฉุดร.ฟ.ท.ตกต่ำ ความล่าช้า การเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยครั้ง ทำให้แผนงานไม่คืบหน้า กลายเป็น การเสียโอกาส และเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับผู้บริหาร พนักงาน ร.ฟ.ท. รัฐบาลและประเทศชาติ ด้าน แหล่งข่าวจากการรถไฟ ระบุว่า ปัญหาหลัก ๆ ของร.ฟ.ท.อยู่ที่ภาระหนี้สินที่มีอยู่จำนวนมาก มีเงินกู้สูงมากถึงประมาณ 45,000 ล้านบาท มีหนี้สะสมกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งทุกๆ ปี มีภาระดอกเบี้ยจ่าย 1,350 ล้านบาท และยังมีปัญหาใหญ่คือหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ตลอดทุกปี เพราะ ร.ฟ.ท.ดำเนินการขาดทุนมาตลอด เช่นเดียวกับในหลายประเทศที่ดำเนินกิจการขาดทุน เนื่องจากการลงทุนระบบรางใช้เงินลงทุนสูงมาก แต่เก็บรายได้ได้น้อยมาก ทั้งนี้ การเก็บค่าเช่ารางก็ไม่คุ้ม เพราะการลงทุนระบบรางสูงมาก ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ลงทุนเองทั้งหมด ทั้งตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบราง ซึ่งการลงทุนระบบรางเป็นปัญหาสำคัญของ ร.ฟ.ท.หากเทียบกับการตัดถนน รัฐลงทุนให้ทั้งหมด ตั้งแต่การสำรวจเส้นทาง ตัดถนน รวมถึงการซ่อมแซม ดูแล ซึ่งการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุก เจ้าของรถรับผิดชอบแค่ค่าน้ำมัน ไม่ต้องจ่ายเงินค่าก่อสร้าง และค่าซ่อมแซม ปรับปรุง โดยรัฐเป็นผู้อุดหนุนทั้งหมด ขณะที่ระบบขนส่งทางรางต้องลงทุนระบบราง ซ่อมแซม ปรับปรุงรางเอง ซึ่งการซ่อมระบบรางแต่ละครั้งต้องใช้เงินเป็นหมื่นๆ ล้านบาท อีกทั้งการขนส่งยังไม่ต่อเนื่องหากต้องซ่อมแซม ต่างจากการขนส่งทางถนน จะมีความต่อเนื่องมากกว่า สามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางได้ หากมีการซ่อมแซม แต่การขนส่งทางถนนจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากกว่า ส่วนหนี้ที่เป็นหนี้เก่า คือ หนี้การก่อสร้างในอดีต 45,000 ล้านบาท หนี้โครงสร้างพื้นฐาน 13,000 ล้านบาท และหนี้สะสมการชดเชยขาดทุน 22,040 ล้านบาท และหนี้การค้าอีก 4,900 ล้านบาท โดยในแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.ขอให้รัฐรับภาระหนี้ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน และขอเร่งชดเชยหนี้ที่รัฐติดค้างอีก 22,000 ล้านบาท ภาระหนักจ่ายบำนาญหลังแอ่น ภาระบำนาญเป็นภาระใหญ่ที่ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระ ซึ่งร.ฟ.ท.มีคนอยู่ 14,000 คน ถ้าคิดตามอายุพนักงานเฉลี่ยที่ 75 ปี ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายค่าบำนาญสูงถึง 160,000 ล้านบาท พนักงานที่มีสิทธิรับบำนาญมี 14,990 คน แบ่งเป็นพนักงานที่เกษียณอายุแล้ว 12,000 คน เป็นเงินรวม 12,800 ล้านบาท ทำให้ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายให้เงินให้พนักงานปีละกว่า 2,000 ล้านบาท และจำนวนเงินค่าบำนาญจะพุ่งไปสูงสุดที่ปี 2560 คิดเป็นเงินรวมกว่า 4,500 ล้านต่อปี ซึ่งทำให้ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายเงินบำนาญรวมไปถึงปี 2560 สูงถึง 56,000 ล้านบาท จำนวนดังกล่าวเป็นจำนวนที่สูงมาก ร.ฟ.ท.ไม่มีความสามารถที่จะหาเงินมาจ่ายค่าบำนาญได้แน่นอน สำหรับทางแก้ไขภาระค่าบำนาญนั้น ในสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต้องการแก้ไขปัญหาของร.ฟ.ท. ซึ่งเห็นว่าร.ฟ.ท.มีที่ดินมากกว่า 200,000ไร่ ทั่วประเทศ เป็นเขตทางประมาณ 100,000 ไร่ และเป็นที่ดินมีศักยภาพสามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้กว่า 36,000 ไร่ โดยพ.ต.ท.ทักษิณต้องการให้ร.ฟ.ท.นำที่ดินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการนำไปปล่อยเช่า เพื่อสร้างรายได้เข้าร.ฟ.ท. ซึ่งที่ผ่านมาร.ฟ.ท.นำที่ดินไปปล่อยเช่าบ้าง ที่ดินบริเวณลาดพร้าว ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้างเซ็นทรัล และที่หัวหินเป็นที่ตั้งของรร.รถไฟ เป็นต้น หลักการของพ.ต.ท.ทักษิณ คือ ต้องการให้ร.ฟ.ท.โอนที่ดินให้กรมบัญชีกลาง เพื่อแลกกับหนี้สินแทนที่จะพัฒนาที่ดินเอง ในช่วงนั้นการเจรจาเกือบจะสำเร็จ แต่มีปัญหาถูกต่อต้านจากสหภาพร.ฟ.ท. โดยสหภาพนำประเด็นว่า ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่ได้รับพระราชทานไม่ควรโอนให้ใคร ทำให้แผนดังกล่าวล่มกลางคัน ขณะที่กรมธนารักษ์ก็ไม่พร้อมที่จะรับโอน เพราะที่ดินมีปัญหามากทั้งการบุกรุก บางสัญญาหาไม่เจอบ้าง อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สะสมมานานและแก้ยาก แหล่งข่าวคนเดิม กล่าวว่า ร.ฟ.ท.เองก็หวงที่ดิน ต้องการเก็บไว้พัฒนาเอง โดยไม่ได้คำนึงว่าตัวเองไม่มีความสามารถในการพัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำมาชำระหนี้สิน และแก้ปัญหาเงินบำนาญ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มากของร.ฟ.ท. โยนรัฐจ่ายค่าแอร์พอร์ต ลิงก์ ส่วนอีกปัญหาคือ การลงทุนก่อสร้างโครงการแอร์พอร์ต ลิงก์ ซึ่งร.ฟ.ท.จะต้องจ่ายเงินค่าก่อสร้าง 34,473 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท.ขอให้รัฐเป็นผู้จ่ายเงินลงทุนระบบราง ส่วนการบริหารจัดการบอร์ดเสนอให้หาคนนอกที่เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารจัดการ เพราะหากปล่อยให้คนในเป็นผู้บริหารก็จะเกิดปัญหาขึ้นอีก เพราะเคยบริหารแต่รถไฟรางซึ่งต้องใช้หัวจักรลากเป็นระบบเก่า หากจะมาบริหารรถไฟฟ้าจะไม่มีประสบการณ์ อาจจะเกิดปัญหาได้ในอนาคต แอร์พอร์ต ลิงก์เป็นระบบใหม่ น่าจะให้ผู้ที่มีความชำนาญ ไม่ว่าเป็น บีทีเอส บีเอ็มซีแอล หรือคนที่มีความชำนาญเข้ามาบริหาร อาจจะมีการตั้งบริษัทขึ้นมาดูแล แล้วมีผู้ชำนาญการเข้ามาช่วยพนักงานร.ฟ.ท. แหล่งข่าว กล่าวว่า คิดว่าจะเสนอรัฐบาลชุดนี้ไม่ทัน เพราะรัฐบาลไม่เชื่อว่าร.ฟ.ท.จะมีศักยภาพในการบริหาร ซึ่งต้องการให้แก้พ.ร.บ.ซึ่งรัฐจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ผลต่างออกไปก่อน แล้วให้ใช้ระบบการอุดหนุนที่ชัดเจน (PSO) แทน ซึ่งการใช้ระบบ PSO ในความหมายจะให้ความชัดเจนและตรงไปตรงมา ปัจจุบันร.ฟ.ท.มอบให้กระทรวงคมนาคมดูแล ซึ่งครม.มีมติให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้แก้กม.แล้วเสนอให้ครม.ภายใน 30 วัน ขณะเดียวกัน มติครม.ระบุว่าให้ร.ฟ.ท.ไปทำบันทึกตกลงความเข้าใจ เพื่อให้เอกชนสามารถมาเดินรถในรางของร.ฟ.ท.ได้ ประเด็นดังกล่าวอาจจะมีปัญหาตามมาอีกเช่นเดียวกับในกรณีของถวิล สามนคร รองผู้ว่าการ ที่เคยทำสัญญาให้เอกชนเข้ามาเดินรถ แต่ในกม.ระบุว่า พนักงานร.ฟ.ท.ไม่มีสิทธิ์ทำสัญญาให้เอกชนเข้ามาเดินรถ สุดท้ายจึงต้องยกเลิกสัญญาแหล่งข่าวระบุ สำหรับนโยบายล่าสุดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องการให้เอกชนเข้ามาเดินรถ เพื่อสร้างรายได้เข้าองค์กร และหากสหภาพตกลงก็จะแก้กม. เพื่อให้เอกชนเข้ามาเดินรถได้ และให้นำเงินที่ได้มาจ่ายเป็นโบนัส เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในการทำงาน ซึ่งจะเกิดผลดีทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายพนักงานก็มีโบนัส ส่วนภาคเอกชนก็ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้ระบบราง เพราะการขนส่งระบบรางเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าการขนส่งทางรถบรรทุก โดยร.ฟ.ท.ทำหน้าที่กำกับดูแลการเดินรถ การสร้างระบบราง ด้วยการตั้งบริษัทย่อยๆ แยกออกมาเป็นอิสระตามพ.ร.บ.บริหารขนส่ง ซึ่งจะมีคณะกรรมการกำกับรถไฟดูแล และหากเป็นไปได้ควรจะแก้พ.ร.บ.รถไฟให้เอื้อกับพ.ร.บ.ขนส่งด้วย เพราะเอกชนจะสามารถเข้ามาวิ่งบนรางของรถไฟได้ ชง 2 ประเด็นเสนอรัฐแก้ขาดทุน บอร์ดร.ฟ.ท.เสนอขอแก้ไขกม. 2 ประเด็น คือ 1.ขออุดหนุนผลขาดทุนตามที่รัฐต้องจ่ายเงินชดเชยผลขาดทุน แล้วให้ใช้ระเบียบการบริหารกิจการ PSO คือให้ร.ฟ.ท.ไปทำรายงานว่า เดินรถกี่สาย รัฐต้องอดุหนุนเป็นเงินเท่าไหร่ และจะมีรายได้เข้ามามากน้อยแค่ไหน สำหรับคณะกรรมการ PSO จะมาจากร่างระเบียบ PSO ที่เคยเสนอให้ เรียกว่าร่างระบบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ โดยบอร์ดจะมาจากปลักกระทรวงคลัง สำนักงบประมาณ กฤษฏีกา และคนนอกอีก 3 คน เพราะต้องมีตัวแทนจากผู้บริโภค ให้เข้ามาช่วยดูด้วยว่าตัวเลขเงินอุดหนุนมีความเหมาะสมแค่ไหน เล็งขึ้นค่าโดยสารพยุงองค์กร แหล่งข่าว กล่าวว่า สุดท้ายแล้ว ร.ฟ.ท.อาจจะต้องปรับค่าบริการขึ้น เช่น ค่ารถ 3 บาท เป็น 6 บาท ซึ่งถือว่าไม่สูงมากหากเทียบต้นทุนเฉลี่ยที่ 1.25 บาทต่อกม. เป็นต้นทุนผันแปร 0.57 บาทต่อกม.แต่เก็บรายได้เพียง 0.23บาทต่อกม. ซึ่งหากมีการปรับค่าตั๋ว ร.ฟ.ท.จะต้องปรับปรุงการให้บริการและคุณภาพให้ดีขึ้น เช่น ต้องวิ่งรถให้ตรงเวลา เพราะปัจจุบันวิ่งไม่ตรงเวลา เพราะมีจุดตัดจำนวนมากและเป็นรถไฟรางเดี่ยว แต่เมื่อให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง จะไม่มีปัญหาเรื่องนี้ เพราะเป็นทางยกระดับลดจุดตัดลงไปได้ อีกทั้งยังเดินทางถึงใจกลางเมือง อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.ไม่สามารถปรับราคาเองต้องขออนุมัติครม. แต่ยังต้องให้บริการเดินรถเช่นเดิม จึงทำให้ทุกวันนี้การดำเนินกิจการขาดทุนมาตลอด เพราะปัจจุบันรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 11.71บาทต่อตั๋ว เอามาเฉลี่ยเป็นค่า PSO แล้วเป็นต้นทุนรวมเฉลี่ยสูงถึง 64.31บาทต่อตั๋ว และมีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 29.26บาทต่อตั๋ว ตามแผนฟื้นฟู เสนอให้ปรับโครงสร้างองค์กร แยกตามหน่วยธุรกิจ เช่น ดูแลผู้โดยสาร บริหารทรัพย์สิน เพื่อให้มีความคล่องตัว สามารถพัฒนาองค์กรได้ โดยเรื่องที่ดินให้ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารจัดการ คือบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องที่ดิน ปรับค่าเช่า 2. บริษัทขนส่งสินค้า 3.บริษัทบริหารรถไฟฟ้าในโครงการแอร์พอร์ต ลิงก์ โดยการนำคนที่มีความชำนาญเข้ามาบริหาร ซึ่งจะเป็นเร็กคูเลเตอร์ แต่ก็ต้องไปแก้พ.ร.บ.รถไฟ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานในอนาคต ขู่ยุบตามรอยร.ส.พ. หากแผนฟื้นฟูครั้งนี้ไม่ผ่านพิจารณา และพนักงานร.ฟ.ท.ไม่ร่วมกันแก้ปัญหา ในอนาคตอาจจะต้องยุบกิจการร.ฟ.ท.เหมือนกับที่รัฐบาลชุดก่อนยุบ ร.ส.พ.มาแล้ว เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาขาดทุน และเลี้ยงองค์กรได้ ขณะที่รัฐบาลต้องการให้ทุกหน่วยงานต้องดูแลตัวเองได้ พัลลภา เรืองรอง ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนารัฐวิสาหกิจ ในฐานะบอร์ดร.ฟ.ท. อธิบายสั้น ๆว่า บอร์ดจะเร่งประสานกับพนักงานร.ฟ.ท.อย่างเต็มที่ เพื่อแก้ปัญหาทุกอย่างให้หมดไป ทำให้รถไฟสามารถดำเนินกิจการต่อไป มีกำไรเลี้ยงองค์กร และมีโบนัสให้กับพนักงาน เพราะดูจากงบการเงินการดำเนินกิจการแล้ว หากเป็นบริษัทเอกชนก็ล้มละลายไปนานแล้ว สำหรับการจัดการกับที่ดินนั้น เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ที่ดินของร.ฟ.ท.มีศักยภาพจำนวนมาก ทำให้เอกชนหลายรายต้องการเข้ามาพัฒนาพื้นที่ แต่ทุกวันนี้ยังมีปัญหามากมาย ที่ดินหลายแปลง หมดสัญญาเช่าแล้วยังไม่มีการต่ออายุ หรือบางแปลงเก็บเงินไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้น เพราะผู้ชนะการประมูลจะมีกลุ่มนายทุนหนุนหลัง ทำให้ร.ฟ.ท.ไม่กล้าเรียกเก็บเงิน และไม่กล้าปรับราคาขึ้น ทั้งที่ราคาตลาดปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัว หรือหากจำเป็นต้องปรับก็จะปรับขึ้นในสัดส่วนที่น้อยมาก เล็งใช้สูตรมาบุญครอง อาทิ ที่ดินบริเวณ RCA ร.ฟ.ท.เก็บรายได้เพียง 50,000 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าความเป็นจริงมาก และที่ดินบริเวณอ.ต.ก.ซึ่งจะมีการคิดราคากันใหม่ โดยปัจจุบันรถไฟมีรายได้จากที่ดินเพียง 1,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก หากเทียบกับที่ดินที่อยู่ในมือ โดยเฉพาะเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูง โดยแปลงที่เป็นที่ตั้งของห้างเซ็นทรัล สัญญาสิ้นสุด 2551 มูลค่าราคาตามประเมินเบื้องต้น 6,000 ล้านบาทต่อปี ขณะนี้อยู่ระหว่างคำนวณการจัดเก็บค่าเช่าใหม่ อาจจะใช้สูตรเดียวกับของการเก็บค่าเช่าของห้างมาบุญครอง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วนแปลงที่ตั้งของอตก. สัญญาสิ้นสุด 2548 มูลค่าราคาตามประเมินเบื้องต้น 1,600 ล้านบาทต่อปี ตลาดนัดจตุจักร สัญญาสิ้นสุด 2555 มูลค่าราคาตามประเมินเบื้องต้น18,000-20,000 ล้านบาทต่อปี โรงงานมักกะสัน ยังไม่มีการพัฒนา มูลค่าราคาตามประเมินเบื้องต้น 10,000 ล้านบาทต่อปี บางซื่อ ยังไม่มีการพัฒนา มูลค่าราคาตามประเมินเบื้องต้น 4,800 ล้านบาทต่อปี คลังน้ำมันช่องนนทรี ยังไม่พัฒนา มูลค่าราคาตามประเมินเบื้องต้น 12,000 ล้านบาทต่อปี โรงแรมโซฟีเทล สัญญาสิ้นสุด 2551 มูลค่าราคาตามประเมินเบื้องต้น10,000 ล้านบาทต่อปี และRCA สัญญาสิ้นสุด 2555 มูลค่าราคาตามประเมินเบื้องต้น 1,100 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ การจัดการพื้นที่ที่ยังมีการพัฒนาแล้ว 8,200 ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ 4,000 ไร่ พื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพ 4,700ไร่ พื้นที่ที่มีศักยภาพ 1,100 ไร่ สูญเงินปีละ 500 ล้าน แหล่งข่าว กล่าวว่า หลังจากที่ร.ฟ.ท.มีนโยบายปรับอัตราค่าเช่าทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 20% เมื่อปี 2-3 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ผู้เช่าจำนวนมากไม่ยอมจ่ายค่าเช่าให้กับร.ฟ.ท.ตามสัญญา ทำให้ให้ร.ฟ.ท.ต้องเสียรายได้รวมเป็นเงินกว่า 500 ล้านบาท ขณะนี้กำลังจะทำเรื่องเสนอให้ผู้บริหารพิจารณายกเลิกคำสั่งและกลับมาใช้ระเบียบของร.ฟ.ท.ที่เป็นระเบียบเดิม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เช่าที่เป็นคู่สัญญา ระเบียบเดิมร.ฟ.ท.จะมีการปรับค่าเช่า 5% ทุกปี แต่สมัยสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ปรับค่าเช่าใหม่เป็น 20% แต่เวลาเก็บค่าเช่าจริงๆ แล้ว ปรากฏว่าไม่ใช่ปรับแค่ 20% แต่บางสัญญาปรับเพิ่มเป็น 100% ก็มี ทำให้ผู้เช่ากลุ่มที่ทำสัญญากับร.ฟ.ท. 3 ปี ซึ่งถือเป็นผู้เช่าระยะสั้นจะได้รับผลกระทบอย่างมาก ส่วนผู้เช่าระยะยาวไม่ค่อยได้รับผลกระทบ ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีสัญญาเช่าทั้งหมด 4,060 สัญญา แบ่งเป็นสัญญา เช่าที่อยู่ระหว่างต่ออายุสัญญาจำนวน 2,562 สัญญา สัญญาเช่าที่ขาดอายุสัญญาภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2549 จำนวน 1,498 สัญญา อยู่ระหว่างดำเนินคดีพิพาท 90 สัญญา เบี้ยวจ่ายค่าเช่า 1,498 สัญญา ในจำนวนนี้มีผู้เช่าที่ไม่ยอมจ่ายค่าเช่านับจากวันที่ร.ฟ.ท.ปรับค่าเช่าใหม่สูงถึง 1,498 สัญญา ส่วนใหญ่เป็นสัญญาเช่าต่างจังหวัด เช่น สถานีรถไฟสระบุรี สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ เป็นต้น ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯมีสัญญาอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาด อ.ต.ก. ติดกับที่ดินที่ให้ ร.ส.พ.เช่าแต่เดิม ซึ่งปัจจุบันเจ้าของสัญญาเช่าเปิดเป็นร้านอาหารและผับกลางคืน เป็นคู่สัญญาที่ค้างชำระค่าเช่า มานาน เหตุผลที่ร.ฟ.ท.เสนอขออนุมัติเพื่อยกเลิกคำสั่งปรับค่าเช่า 20% เพราะในทางปฏิบัติ คู่สัญญาได้รับผลกระทบทำให้ไม่ยอมจ่ายค่าเช่า และกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้ร.ฟ.ท.เสียประโยชน์ที่เป็นรายรับจากค่าเช่ามากกว่า 500 กว่าล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับการคิดค่าเช่าในอัตราเดิมและปรับค่าเช่าปีละ 5% พบว่าจะทำให้ร.ฟ.ท.มีรายได้เข้ามาอย่างน้อย 200-300 ล้านบาท ดังนั้น จึงต้องการกลับไปใช้อัตราค่าเช่าแบบเดิมน่าจะเป็นผลดีมากกว่า อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้จะได้รับความเห็นชอบหรือไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหารและบอร์ด ปัญหาหนักขณะนี้คือ นอกจากร.ฟ.ท.จะเก็บค่าเช่าไม่ได้แล้ว ผู้เช่ายังไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่เช่าอีกด้วย กรณีนี้ร.ฟ.ท.จำเป็นจะต้องดำเนินการฟ้องขับไล่ตามกฎหมายต่อไป ประเด็นคือการฟ้องขับไล่กว่าจะปรากฏผลสำเร็จต้องใช้เวลานาน อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี ในระหว่างนี้แนวทางที่จะบรรเทาผลกระทบของผู้เช่าและบรรเทาความเสียหายจากการสูญเสียประโยชน์ขององค์กร จึงน่าจะใช้แนวทางที่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน เพื่อให้รายได้ที่ขาดหายไปกลับคืนมาบ้าง แหล่งข่าว กล่าวว่า ถ้าแผนการดำเนินงานทั้งหมดเป็นไปตามแผนฟื้นฟู รายได้ของร.ฟ.ท.จะดีขึ้นในปี 2550 และในปี 2551-2552 การดำเนินงานจะเริ่มไม่ขาดทุนและมีกำไรเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยในช่วง 10 ปี ร.ฟ.ท.จะต้องลงทุนระบบรางจำนวน 283,527 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะต้องเข้ามาอุดหนุนการลงทุนครั้งนี้ด้วย เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับร.ฟ.ท.เหมือนในปัจจุบัน จากนี้ไปคงต้องลุ้นกันว่า แผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.ครั้งนี้ จะผ่านการอนุมัติจากครม.หรือไม่ และพนักงานร.ฟ.ท.จะให้ความร่วมมือร่วมใจกับการแก้ปัญหาให้กับร.ฟ.ท.อย่างจริงใจ หรือไม่ ? เพื่อให้กิจการของร.ฟ.ท.อยู่คู่กับคนไทยต่อไป! หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 07-09-2007, 13:42 :slime_fighto: :slime_cool:
ผมเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนในรัฐวิสาหกิจ และกันงบประมาณทุกปี เพื่อสมทบเข้ากองทุนเพื่อการลงทุนในรัฐวิสาหกิจ อาจจะใช้การออกพันธบัตรรัฐบาล การร่วมทุน และรับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ โดยเงินอุดหนุนต่างๆ อาจจะมีเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละโครงการได้บ้าง.. สิ่งที่รัฐ ควรเปิดกว้างคือข้อมูลความรู้และการอบรมบุคคลากรไว้รองรับโครงการต่างๆ แม้โครงการไม่เกิดขึ้นจริงเราก็ได้สร้างทีมบุคคลากรมือาชีพขึ้นมา เพื่อสามารถเข้าถึงความรู้และทักษะในระดับนานาชาติได้ครับ..รวมทั้งได้ประเมินโครงการต่างๆในเชิงลึกและกว้างมากขึ้นได้ด้วย การมีกองทุน ทำให้เรามีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญในการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการขนาดใหญ่ และสามารถเปรียบเทียบ ข้อดีของโครงการจ่างๆของรํฐวิสาหกิจต่างๆ ตลอดไปจนถึงรัฐวิสาหกิจเดิม การยกเลิกรัฐวิสาหกิจเดิม การสร้างสรรค์รัฐวิสาหกิจใหม่ทดแทน หรือการขยายทักษะ รุปแบบโครงสร้างในการบริหารจัดการอย่งยั่งยืนได้ด้วยครับ หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 07-09-2007, 14:17 กองทุนนี้ควรมีบอร์ดใหญ่ดูแล การตัดสินใจให้ใช้ประชาพิจารณ์ ประชามติ ประกอบการตัดสินใจครับ การลงทุนเพื่อพัฒนาสังคมต้องกระทำอย่างเป็นระบบแลใช้เงินจำนวนมาก อย่างไรก็ตามภาครัฐและนักการเมืองไม่ควรใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณเพราะจะทำให้เกิดการรั่วไหลไม่มีประสิทธิภาพได้ เอกชนอยากลงทุนร่วมกับรัฐ ใช้วิธีตั้งกองทุนและส่งคนมาร่วมทุนกับรัฐตามเงื่อนไขของบอร์ดใหญ่ของกองทุนใหญ่ของรัฐดังกล่าวน่ำจะดีกว่า ตรงนี้ต้องมีกฎหมายรองรับวิธีการใช้เงินลงทุนโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนกฎหมายในสาระสำคัญ หรือแทรกแซงการใช้จ่ายโดยนักการเมืองที่ไม่ใช่เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด ต่อประเทศของบอร์ดชุดดังกล่าว ซึ่งก็ควรประสานให้มีกฎหมายปราบปรามการคอร์รัปชันขนาดใหญ่โดยเฉพาะ ประสานการลงลงทุนให้มีมาตรฐานชีวิตและสภาพแวดล้อมของประชาชนให้ยกระดับได้เป็นลำดับ และสามารถรักษามาตรฐานเหล่านั้นไว้เป็นบรรทัดฐานของเราเองต่อนานาชาติได้ หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 08-09-2007, 18:03 ทุกท่านที่ผ่านเข้ามาในกระทู้นี้ หรือในบอร์ดการเมืองแห่งนี้ ผมขอเรียนฝากถึงนักการเมืองของท่านด้วยนะครับ ในเรื่องนโยบายสาธารณะต่างๆ ทั้งนี้เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้สังคมไทยด้วยอีกทางหนึ่ง เรื่องใดที่เห็นร่วมสอดคล้องกันก็ขอให้เร่งรัดผลักดันโดยบรรจุไว้ในนโยบายของพรรคการเมืองครับ เช่นเรื่องรถไฟรางคู่ เรื่องยกมาตรฐานการศึกษาของเรา..เรื่องผลักดันข้อมูลข่าวสารต่างๆให้ทั่วถึงแก่พี่น้องภาคอีสาน ฯลฯ หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-09-2007, 12:26 :slime_smile: :slime_v: :slime_worship:
แหมถ้าได้พรีเซนเตอร์ ยกตัวอย่างนะครับ อย่างหนูหิ่น คอยรณรงค์สร้างบ้านแปงเมืองในระดับภาค ปัดกวาดท้องถิ่น สร้างศูนย์ประชุมและกิจกรรมระดับจังหวัด รับแขกบ้านแขกเมืองทั้งงชาวไทยและเทศได้ก็จะดีมากครับ หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-09-2007, 21:22 :slime_smile: สิ่งที่นักการเมืองรู้ แต่ชาวบ้านและข้าราชการไม่รู้คืออะไร? หากตอบได้ ลูกหลานชาวบ้านก็จะหลุดพ้นจากความยากจนโดยไม่ต้องเป็นภาระสังคมครับ.. หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ชัย คุรุ เทวา โอม ที่ 10-09-2007, 21:38 อยากได้เสรีภาพ ในการแสดงสิทธิ์ที่จริงๆ
ข้าราชการคือ ข้าราษ จริงๆไม่ใช่เจ้านาย ราษ กรรมาชีพ เกษตรกร มีอะไรที่ดีกว่านี้ หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 10-09-2007, 21:48 อยากได้เสรีภาพ ในการแสดงสิทธิ์ที่จริงๆ ข้าราชการคือ ข้าราษ จริงๆไม่ใช่เจ้านาย ราษ กรรมาชีพ เกษตรกร มีอะไรที่ดีกว่านี้ รัฐในอุดมคติคือรัฐที่ปกครองน้อยที่สุดครับ.. :slime_fighto: หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 11-09-2007, 16:26 นโยบายสาธารณที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ การสร้างแหล่งงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของแต่ละท้องถิ่น ให้โอกาสให้คนในท้องถิ่นเพิ่มศักยภาพและมีโอกาสได้เห็นได้เห็นตัวอย่างที่จะเลือกเป็นเป้าหมายของคนในท้องถิ่นได้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจเลือกอาชีพ รัฐควรอุดหนุนอาชีพเกษตรกรผ่านสาธารณูปโภคและทักษะในการทำงานเพิ่มผลผลิต ต้องมีนิคมและแหล่งงานที่น่าสนใจรองรับ แรงงานและมันสมองของนักโทษควรถูกนำมาพัฒนาและนำมามาใช้มากกกว่านี้ หัวข้อ: หากปชป.ผลักดัน นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? สำเร็จเป็นชิ้น... เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 04-10-2007, 17:01 หากปชป.ชัดเจนในการ ผลักดัน นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน ก็ควรให้โอกาสเป็นรัฐบาล เช่นเรื่องรถไฟรางคู่ อีก็อฟเวอร์เม้นท์ในระดับอำเภอ..การออกเอกสารราชการเป็นภาษาไทยและอังกฤษควบคู่กันได้ตามปกติ ดึงหน่วยสอบทางวิชาชีพระดับโลกเข้ามาตั้งสาขาในไทย ให้โอกาสคนไทยที่ผ่านการสกรีนเดินทางไปมาประระเทศต่างๆได้โดยสะดวก ปกป้องเกษตรกรณ์ด้วยตลาดเกษตรล่วงหน้า มีเงินอุดหนุนสำหรับเกษตรกรณ์โดยตรงที่ต้องการเพิ่มผลผลิต สำหรับผู้ไม่มีที่ดินทำกินก็เพิ่มทักษะทางด้านการศึกษาและวิชาชีพช่าง ฯลฯ :slime_fighto: :slime_doubt: หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 06-10-2007, 01:14 เรื่องปราบปราม การทุจริตในวงการเมืองและราชการ ไล่ไปจนถึงมาเฟียตามตลาดสด ม้า มวย หวย ซ่อง การสร้างนโยบายที่เป็นรูปธรรม ก็จะสามารถชนะใจคนกลุ่มที่มีศักยภาพในสังคมได้มากกว่า ส่วนนโยบายประชานิยม และการตลาดการเมือง มันก็ต้องมีกลยุทธ กุศโลบายมากกว่าที่เป็นอยู่ ตรงนี้ประชาธิปัตย์ต้องเรียนรู้เพื่อทำงาน ไม่ใช่โกงเล็กโกงน้อยจนถึงโกงก้อนใหญ่ อย่างพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป พรรคการเมืองอย่างประชาธิปัตย์ เหลือโอกาสไม่มากในการทำงาน ก่อนจะกลายเป็นวัตถุโบราณที่ไร้ค่าถาวร..ในระบบการเมืองไทย เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกรรมการบริหารพรรค จะกล้าปฏิรูปพรรคต่อเนื่องหรือไม่ ที่ผ่านมาถือว่า สะดุดขาตนเอง จริงแล้วยังถือว่าไม่พร้อมสำหรับโลกาภิวัฒน์ บอกได้ว่าอนาคตกำลังไล่ล่าคนไทยอยู่ นักการเมืองก็ไม่ได้ต่างจากคนไทยอื่นๆหรอกครับ ต้องทำการเมืองให้มีเสถียรภาพ สมดุลย์วิวัฒน์ มีการกระจายรายได้การเจริญเติบโตของบริการภายในที่ดี หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-10-2007, 12:54 ไว้มารอเปรียบเทียบกับนโยบายพรรคการเมืองต่างๆดูกันครับ :slime_smile: หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 18-10-2007, 13:01 อันนี้ฝากน้องๆหลานๆ ที่ต้องเรียน ต้องสอบ ต้องฝึกฝนตนเองครับ. มีข้อสอบโอลิมปิกคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ด้วย เผื่อจะเข้ามาใช้บอร์ดการเมืองกันหรือมีญาติๆกำลังะรียนตรงนี้ (http://www.sudipan.net/test/image/math.gif) http://www.sudipan.net/test/ (http://www.sudipan.net/test/image/physics.gif) (http://www.sudipan.net/test/image/chem.gif) (http://www.sudipan.net/test/image/other.gif) ถ้าท่านมีข้อสอบดีๆ และพร้อมที่จะเผยแพร่ กรุณาติดต่อมาที่ sudipannet@hotmail.com Copyright © 2004 - 2008 by Sudipan.net หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: Scorpio6 ที่ 18-10-2007, 14:37 เข้าไปชมแล้ว....................ดีมากครับคุณQเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
ช่วยกันรวบรวมไว้ครับเพื่อลูกหลานรุ่นใหม่ ผมจะได้เรียนรู้ไปด้วยครับ :mrgreen: หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: GN-001 Exia ที่ 18-10-2007, 16:53 ถ้าเป็นไปได้ผมขอ...
1.การเกษตรเพื่อพลังงาน ปลูกแทนพืชตลาดอย่างลำไย ลองกอง เพราะมันเยอะจนล้น เอาส่วนต่างนี่ไปสร้างพืชพลังงานดีกว่า 2.ส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ (ถ้าคนรักชาติ ภูมิใจในชาติเดี๋ยวอะไรมันก็ดีขึ้นเอง) อันนี้ขอแบบฉลาดๆหน่อยนะ คนไทยตามสื่อง่าย เช่น ใส่ชุดไทยตอนงานประเพณี ทำไงให้คนคล้อยตามและให้เขาเนเป็นเรื่องดี ทันสมัย สนับสนุนพูดภาษาถิ่น และการพูดภาษาไทยกับคนต่างชาติ ให้ความสำคัญกับคำว่าคนไทยมากกว่าเห็นขึ้ฝรั่ง 3.ลดการแข่งขันทางเศรษฐกิจ พอเพียง ลดขนาดกิจการ สนับสนุนออมทรัพย์ เอาให้มั่นคงก่อนค่อยกลับไปบู๊ใหม่ไม่เสียหาย 4.ความสัมพันธ์ในครอบครัว อันนี้สำคัญสุดจะลดปัญหาสังคมได้เยอะ เป็นสมาชิกที่ดีทำกันยังไงชักนำเข้า ล้างสมองเข้า ทำได้อยู่แล้ว 5.ลดความบันเทิง เพิ่มสาระในชีวิต 6.สนับสนุนทุกการศึกษาอย่าเอาแต่เด็กวิทย์ให้คนที่ถนัดได้ทำสิ่งที่ถนัด ทำสิ่งที่รัก ไม่ใช่เรียนหมอเพราะพ่อขอทั้งที่ตัวเองวาดรูปเก่งมีใจเป็นศิลปิน ผมเล่าฝันดีให้ฟังกันเล่นๆนะครับ ชาตินี้คงเป็นไปไม่ได้หรอก หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 18-10-2007, 17:04 นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ
ผมต้องการให้ปฎิรูปสื่อ ทั้งระบบครับ รธน. ปี 40 โดนฉีกไปเรียบร้อย กสช. ยังไม่ได้คลอดเลย :slime_sleeping: หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 18-10-2007, 21:57 เรื่องปฏิรูปสื่อ รัฐธรรมนูญใหม่ ให้มา 2 ประเด็นคือ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องไม่มีหุ้นในสื่อ ผู้ทำสื่อ จะควบรวมข้ามสื่อไม่ได้ เข้าใจว่า ต่อไปนี้ ระหว่างคนทำหนังสือพิมพ์ กับฝ่ายทำทีวี จะข้ามเส้นกันไม่ได้ กฎหมายทีวีเสรี กำลังร่างกฎหมาย ไม่ทราบว่า เข้าสภาหรือยัง แต่เข้าใจว่า สนช. คงจะเร่งให้ได้ หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-10-2007, 12:41 :slime_bigsmile: :slime_cool: :slime_smile:
อยากให้เชิญเกสต์จากบล็อก ที่มีแนวคิดนโยบายสาธารณะมาคุยกันเพิ่มเติมที่เสรีไทยอีกครับ แบบคุณพาสต้าก็ได้ หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 21-10-2007, 22:32 นโยบายสาธารณะอีกอันที่น่าสนใจคือ การออกกฎหมาย เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการดูแลระดับชาติ
สำหรับบ่อนการพนัน การชิงโชคส่งเสริมการขาย การกำหนดคุณสมบัติและระเบียบหน่วยงานละการบริการต่างๆแห่งชาติ เพื่อจัดระเบียบการดำเนินการของทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีการจ่ายเงินและหรือจ่ายรางวัลตอบแทนการเข้าร่วม.. ข้อมูลประกอบ ทั้งนี้เพื่อดูแลพวกธุรกิจใต้ดินนอกกฎหมายทั้งหลายที่เป็นแหล่งสำหรับการก่อการร้ายและฟอกเงินของนักการเมืองในและนอกระบบ พรบ.หวยบนดินไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน พรบ.บ่อนการพนัน(คาสิโน) เจ้ามือรับแทง ด่วนกว่า! http://forum.serithai.net/index.php?topic=17427.0 เปิดร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ http://forum.serithai.net/index.php?topic=14813.0 หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 22-10-2007, 20:39 ครม.ไฟเขียวสร้างรถไฟทางคู่ 2 เส้นทาง มุ่งแหลมฉบัง [22 ต.ค. 50 - 18:34] :slime_fighto: :slime_v:
http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=65492 (http://www.thairath.co.th/2550/newsthairathonline/Oct/library/22/break18.30_1.jpg) นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าววันนี้ (22 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการนำร่องการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าและบริการ ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอ 2 เส้นทาง คือ การก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางขอนแก่น นครราชสีมา - ท่าเรือแหลมฉบัง และเส้นทางนครสวรรค์ - ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเป็นต้นแบบในการสนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟ โดยมีการรวบรวมและกระจายสินค้าที่ย่านกองเก็บตู้สินค้าในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยลดเวลาและต้นทุนการขนส่ง ส่วนเหตุผลที่ต้องส่งเสริมการขนส่งสินค้าผ่านระบบราง นายโชติชัย กล่าวว่า เพราะการขนส่งไทยยังขาดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และในปัจจุบันพบว่า การขนส่งสินค้าในรูปแบบของรถบรรทุกมีปริมาณมากถึงร้อยละ 86.32 แต่ทางน้ำมีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 11.62 ขณะที่ทางรถไฟมีสัดส่วน ร้อยละ 2.05 และ เครื่องบินประมาณ ร้อยละ 0.01 ดังนั้น จำเป็นต้องส่งเสริมการขนส่งระบบรางและน้ำให้มากขึ้น เพราะสามารถประหยัดต้นทุนได้ดีกว่าการขนส่งสินค้าทางอื่น ซึ่งการนำร่องทั้งสองเส้นทางจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งข้าวสาร แป้งมันสำปะหลัง และน้ำตาลทราย เป็นต้น นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.คมนาคม กล่าวว่า โครงการนำร่องดังกล่าวอาจใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยสิ้นเดือน ต.ค.นี้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน และนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง จะหารือในรายละเอียดถึงหลักเกณฑ์การกู้เงิน โดยกำหนดกรอบการกู้เงินไว้ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท ส่วนระยะเวลาการกู้เงินนั้นต้องการให้อยู่ในช่วงเวลา 3-5 ปี แต่ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีทั้ง 2 กระทรวงเป็นผู้พิจารณาอีกครั้งว่า มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร เชื่อว่าทั้ง 2 โครงการหากเดินหน้าจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการผ่านระบบรางมากขึ้น เพราะปัจจุบันการขนส่งสินค้าของไทยส่วนใหญ่จะเป็นทางถนน เนื่องจากการลงทุนทางรถไฟยังมีน้อย หัวข้อ: Re: นโยบายสาธารณะ(Public Policy)ที่คนไทยต้องการ? เริ่มหัวข้อโดย: Ginger ที่ 27-05-2008, 21:51 สวัสดีค่ะ
เป็นไปได้ไหมค่ะ ว่าเราจะมีระบบขนส่งหรือคมนาคมที่ดีเหมื่อนที่ญี่ปุนหรือต่างประเทศที่ใช้ระบบขนส่งโดยรถไฟฟ้า เพราะค่าน้ำมัน ก่อขึ้นมากกว่าเดิมเมื่อเปลี่ยบเที่ยบ 5ปีที่ผ่านมา หากดูแค่ปริมาณคนใช้บริการ เช่น ที่กทม ปริมาณผู้ใช้บริการ มากถึงสร้าง อาจจะทำให้ต่างจังหวัดไม่มีหวังที่จะได้ใช้เลย ข้อดีของการมีระบบขนส่งที่ดี 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนผู้ใช้บริการ การใช้ระบบขนส่งที่ดี ตรงเวลา จะสามารถช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นในอนาคต ถึงแม้เงินเดือนจะได้น้อยหรือไม่ถึงหมื่น 2. รวดเร็ว+ง่าย หากมีการจัดการที่ตรงเวลาหรือตารางเวลาที่ดี เราก่อสามารถออกไปทำงานได้ตรงตามเวลา แต่หารถมาสายเราถูกหักเงินเดือน แต่ผู้ดูแลระบบขนส่งไม่ได้ถูกหักเงินเดือนเหมือนเรา 3. ทำให้อากาศดีขึ้น เนื่องจาก ปริมาณรถยนต์ จักรยานยนต์ ลดลง ลดปริมาณควันเสียในอากาศ 4. ความปรอดภัยในการเดินทาง ถึงเมายังไง ก่อไม่ต้องกลัวว่าไม่มีรถกลับ หากมีระบบขนส่งที่ดี แค่เดินเข้าไปนั่งที่รถ จนกว่า ถึงป้ายจอดไกล้บ้าน ก่อลงได้แล้ว 5. สร้างนิสัยให้คนตรงเวลา อันเนื่องมาจากถ้ามาไม้ทันรถเวลานี้แล้ว ก่อต้องรอต่อไปเงินเดือนถูกหักชัวร์ หากทำงานไกล ก่ออาจจเป็นผลให้ต้องดูตารางรถไฟเที่ยวต่อไปจะมาอีกเมื่อไร 6. จริงๆมีอีก ไม่ไหวแล้วขอนอนก่อน เพราะที่ญี่ปุนเขาตื่นเช้ากัน(คนไทยที่ญี่ปุน) ไ้ว้ต่อวันอื่น... |