หัวข้อ: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: SKRPT ที่ 25-07-2007, 22:45 จากข่าว- นายฉลองภพ กล่าวยอมรับว่า การเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทของ ธปท. อาจมีผลขาดทุน ซึ่งที่ผ่านมาขาดทุนไปแล้ว 170,000 ล้านบาท แต่ถือเป็นการดูแลไม่ให้ภาพรวมเศรษฐกิจมีปัญหา โดยจะต้องดูต้นทุนภาพรวมของประเทศมากกว่าต้นทุนของ ธปท.
http://www.innnews.co.th/biz.php?nid=51072 ความเห็นเจ้าของกระทู้ - เงิน 1.7 แสนล้านขาดทุนมากเกินไป รมต.คลังและผู้ว่าการ ธปท.ดูเหมือนขาดประสพการณ์ ในการแก้ปัญหาของประเทศ เนื่องจากมาจากระบบราชการ โดยเฉพาะขาดวิสัยทัศน์ที่จะคิดหาวิธีการใหม่ๆที่จะป้องกันความเสียหายของประเทศชาติ ทำให้กลับตามแก้ไขซึ่งอาจจะถูกกองทุนนอกประเทศลวงให้เปิดช่องว่างโจมตีค่าเงินบาทประเทศเราได้อีกเหมือนในอดีต หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: jrr. ที่ 26-07-2007, 00:46 แหะ แหะ.....อย่าหลงลมปากนักการเมือง
เขามีวิธีพูด....ให้คนคิดเข้าใจตามที่เขาต้องการ พูดจากหนัก ให้เป็นเบา...ยังไงก็ได้ 170,000 ล้านที่ว่าน่ะ....เป็นเงินที่ปิ๋วไปแล้วจริงๆ ตามที่ใช้ไป แต่....ที่ยังขาดทุนตามเงินดอลล์ที่แบกอยู่น่ะ....ยังม่ายด้ายบอกน่ะ !!! ก็ที่ชอบพูดเก๋ๆว่า....ขาดทุนเพียงตัวเลขตามบัญชีไง !!! :slime_dizzy: :slime_dizzy: :slime_dizzy: หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: kman ที่ 26-07-2007, 01:22 ถ้าจำไม่ผิดตอนที่รัฐบานนี้ตั้งได้สักพักมันยังคุยว่ากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ไม่ใชรึ
หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 26-07-2007, 08:27 ถ้าจำไม่ผิดตอนที่รัฐบานนี้ตั้งได้สักพักมันยังคุยว่ากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ไม่ใชรึ จำผิด หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 26-07-2007, 08:34 อาทิตย์ที่แล้ว ดร.โกร่ง กับ ดร.โอฬาร ขวัญใจ ของคุณทักษิณ .....ยังออกมาบอกให้สู้ค่าเงินอยู่ไม่ใช่รึ .....
แบ็งค์ชาติ ชุดนี้ ยังไม่เลวร้ายจนเกินไปหรอก เมื่อ สู้จนถึงจุดหนึ่ง ก็หยุด แล้ว ใช้ มาตรการ 30 % ออกมาหยุดการโจมตี เพื่อให้ผู้ส่งออก และผุ้ที่ได้รับผลกระทบได้ปรับตัว แต่แปลกจัง 2 ดร. ข้างบน ยังอยากให้ลุยต่อ........... :slime_smile: ผมเผอิญ ได้ฟังสนธิ (ลิ้ม)พูดถึงเงินบาท จำไม่ได้ว่าวันไหน พอดียุ่งอยู่เลยไม่ได้ฟังแบบเต็ม ๆ .......คราวนี้ ไอเดีย สนธิ น่าสนใจทีเดียวครับ ใครได้ฟังลองเอามาเล่ากันฟังซิครับ หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 26-07-2007, 08:44 อาทิตย์ที่แล้ว ดร.โกร่ง กับ ดร.โอฬาร ขวัญใจ ของคุณทักษิณ .....ยังออกมาบอกให้สู้ค่าเงินอยู่ไม่ใช่รึ ..... แบ็งค์ชาติ ชุดนี้ ยังไม่เลวร้ายจนเกินไปหรอก เมื่อ สู้จนถึงจุดหนึ่ง ก็หยุด แล้ว ใช้ มาตรการ 30 % ออกมาหยุดการโจมตี เพื่อให้ผู้ส่งออก และผุ้ที่ได้รับผลกระทบได้ปรับตัว แต่แปลกจัง 2 ดร. ข้างบน ยังอยากให้ลุยต่อ........... :slime_smile: ผมเผอิญ ได้ฟังสนธิ (ลิ้ม)พูดถึงเงินบาท จำไม่ได้ว่าวันไหน พอดียุ่งอยู่เลยไม่ได้ฟังแบบเต็ม ๆ .......คราวนี้ ไอเดีย สนธิ น่าสนใจทีเดียวครับ ใครได้ฟังลองเอามาเล่ากันฟังซิครับ ในปี 2540 ประเทศไทยเราขาดทุนจากการใช้เงินในการดูแลค่าเงินบาทไป 83,417.9 ล้านบาท หรือเทียบเท่ากับ 49% ของจำนวนยอดขาดทุน 1.7 แสนล้านบาทที่กำลังขาดทุน ณ ปัจจุบัน พอจะมองออกหรือไม่ว่าหายนะของประเทศกวักมือเรียกหวอยๆข้างหน้านี่แล้วพี่น้อง!! หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 26-07-2007, 09:02 ตัวเลขท่านท้าว ฯ ไม่น่าผิด........แต่คิดแบบนั้นไม่น่าถูก........บรรดา ผู้ส่งออกได้เห็นข่าวนี้ แล้ว ก็น่าจะเลิกด่า แบ็งค์ชาติกันซะที เพราะเค้าลงทุนไปเยอะแล้ว เพื่อให้ผู้ส่งออกปรับตัว........ถ้าคิดว่า มันจะเหมือน ปี 40 คงไม่น่าใช่.....สถานการณ์ ตอนนั้น มันคนละฝั่งกับตอนนี้ครับ.....ตอนนั้นเราไม่มีดอลล่าห์ เพื่อหนุนหลังเงินบาท แล้ว ทุนสำรองในช่วงนั้น ก็น้อยกว่านี้ มาก..........ตอนนี้เรามีดอลล่าห์ อยู่มาก ...ท่านท้าว ฯ ลองนึกภาพดู สมมุติ น๊ะ ...เงินบาท ตีกลับ ต่างชาติ กลับมารุมขายเงินบาท ตอนนี้ เรามีทุนสำรองขนาดนั้น แล้ว จะเดือดร้อนตรงไหน......แล้วหากมารุมซื้อดอลล่าห์ ตอนนี้ มีคนรอขายกันอื้อ....จีน ญี่ปุ่น รวมทั้งยุโรป กำลังจะลดการถือครองดอลล่าห์
ผมนั่งรออย่างเดียว เมื่อไหร่ แบ็งค์ชาติจะประกาศ พิมพ์ธนบัตรเพิ่ม.....อย่าไปกลัว เงินเฟ้อ ไม่ต้องไปลดดอกเบี้ย เด๋วดอกเบี้ย ก็ลดไปเองตามธรรมชาติ ...ต่างชาติมันอยากได้เงินบาทกันนัก ก็เอาให้มันไปเยอะ ๆ เอาไปให้พอ หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 26-07-2007, 09:16 ตัวเลขท่านท้าว ฯ ไม่น่าผิด........แต่คิดแบบนั้นไม่น่าถูก........บรรดา ผู้ส่งออกได้เห็นข่าวนี้ แล้ว ก็น่าจะเลิกด่า แบ็งค์ชาติกันซะที เพราะเค้าลงทุนไปเยอะแล้ว เพื่อให้ผู้ส่งออกปรับตัว........ถ้าคิดว่า มันจะเหมือน ปี 40 คงไม่น่าใช่.....สถานการณ์ ตอนนั้น มันคนละฝั่งกับตอนนี้ครับ.....ตอนนั้นเราไม่มีดอลล่าห์ เพื่อหนุนหลังเงินบาท แล้ว ทุนสำรองในช่วงนั้น ก็น้อยกว่านี้ มาก..........ตอนนี้เรามีดอลล่าห์ อยู่มาก ...ท่านท้าว ฯ ลองนึกภาพดู สมมุติ น๊ะ ...เงินบาท ตีกลับ ต่างชาติ กลับมารุมขายเงินบาท ตอนนี้ เรามีทุนสำรองขนาดนั้น แล้ว จะเดือดร้อนตรงไหน......แล้วหากมารุมซื้อดอลล่าห์ ตอนนี้ มีคนรอขายกันอื้อ....จีน ญี่ปุ่น รวมทั้งยุโรป กำลังจะลดการถือครองดอลล่าห์ ผมนั่งรออย่างเดียว เมื่อไหร่ แบ็งค์ชาติจะประกาศ พิมพ์ธนบัตรเพิ่ม.....อย่าไปกลัว เงินเฟ้อ ไม่ต้องไปลดดอกเบี้ย เด๋วดอกเบี้ย ก็ลดไปเองตามธรรมชาติ ...ต่างชาติมันอยากได้เงินบาทกันนัก ก็เอาให้มันไปเยอะ ๆ เอาไปให้พอ อิ อิ อิ อยู่ๆท่าน 55555 จะยุให้ไทยกลับไปสู่ยุคญี่ปุ่นขึ้นบกเมืองไทยซะแล้ว ที่ช่วงสมัยนั้นญี่ปุ่นพิมพ์ธนบัตรไทยใช้กันมันส์เลย จนทำให้ค่าเงินบาทและอัตราเงินเฟ้อของไทยสูงลิ่ว เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง "นายสนธิ ย้ำว่า เวลาดูค่าเงินต้องดูภาพรวม และไม่ต้องเล่นตามเกมฝรั่ง ที่มักจะบอกว่าอัตราเงินเฟ้อต้องต่ำ ซึ่งตอนนี้เพียง 1.9 % แต่ราคาสินค้าก็ไม่ต่างจากที่เงินเฟ้อ 4 % เท่าไหร่ เราควรจะยอมให้เงินเฟ้อเพิ่ม ด้วยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม เพื่อไปซื้อดอลลาร์ โดยไม่ต้องไปกู้เงินบาทมาให้ขาดทุน"......ที่แท้เจ้าของแนวความคิดเรื่องพิมพ์ธนบัตรเพิ่มก็มาจากแป๊ะลิ้มนี่เอง ท่านเก่งจริงๆที่บริหารธุรกิจซะล้มละลายหัวเราะเอิ๊กอ๊ากได้แบบนั้น ฮ่าๆๆๆ หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: kj 2nd ที่ 26-07-2007, 09:20 การขาดทุนดังกล่าวเป็นเพียงค่าของเงินที่หายไปครับ
เพราะเมื่อทำธุรกรรม ได้เงินตราต่างประเทศมา ยังไงซะสุดท้ายคนไทยก็ต้องเอาไปแลกเป็นเงินบาท และเงินที่รับแลกนั้นสุดท้ายก็จะไปอยู่ใน ธปท. ในรูปของทุนสำรองระหว่างประเทศ การขาดทุนนั้นจากการที่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น แต่ ธปท. จำเป็นต้องถือเงินตราต่างประเทศ (คงไม่มีคนไทยคนไหนถือเงินต่างประเทศไว้เป็นหมื่นล้านในสถานการณ์ที่ค่าเงินบาทสูงขึ้นแน่นอน) ดังนั้น ที่เป็นสถานกาณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ธปท. จำเป็นต้องรับซื้อไว้ทั้งหมด ถ้า ธปท. ไม่แทรกแซงเงินบาท ตอนนี้ค่าของเงินอาจจะพุ่งสูงแตะ 31-32 บาท/$ ก็ได้ แล้วปัญหาจะยิ่งแรงกว่านี้ (แค่นี้ก็ร้องกันจะตายอยู่แล้ว) ----คำว่าแทรกแซงมีหลายวิธีนะครับ มาตรการ30% การ swop100% เป็นการแทรกแซงทั้งนั้น ไม่ใช้แค่การอุ้มหรือช้อนซื้อบาทเท่านั้น---- ตอนนี้ต้องคิดก่อนว่า บาทแข็ง เป็นจุดอ่อน ทีสำคัญขนาดจำเป็นใช้มาตรการแรงๆหรือเปล่า (อย่างน้อยคนที่มีหนี้ต่างประเทศคงอยากให้เงินบาทแข็งค่าเรื่อยๆ) และหลายๆคนสามารถคิดช่องทางใหม่ๆจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นคราวนี้ได้ หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: Coolly_Jade ที่ 26-07-2007, 09:32 อืม....ไหนคนที่คอยถล่มและพูดจาทับถม แสนรุ้อย่างท่านท้าวจ๊ะและพวกพ้อง
ลองบอกหน่อยสิ ในสภาพเช่นนี้ ธปท ควรทำอย่างไร ถ้าเป็นท่านท้าวและพวกพ้องจะทำอย่างไร อย่าตอบแบบประชดประชันนะ เอาสาระหน่อย ไอประเภทด่าๆแต่คิดทางออกยังไม่ได้นี่ มันน่าเบื่อ ตอบแบบที่ผ่านๆมาเดะอนุบาลมานอ่านยังเบื่อเลยนะ ไอคุณท่านท้าวจ๊ะ หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 26-07-2007, 09:33 การขาดทุนดังกล่าวเป็นเพียงค่าของเงินที่หายไปครับ เพราะเมื่อทำธุรกรรม ได้เงินตราต่างประเทศมา ยังไงซะสุดท้ายคนไทยก็ต้องเอาไปแลกเป็นเงินบาท และเงินที่รับแลกนั้นสุดท้ายก็จะไปอยู่ใน ธปท. ในรูปของทุนสำรองระหว่างประเทศ การขาดทุนนั้นจากการที่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น แต่ ธปท. จำเป็นต้องถือเงินตราต่างประเทศ (คงไม่มีคนไทยคนไหนถือเงินต่างประเทศไว้เป็นหมื่นล้านในสถานการณ์ที่ค่าเงินบาทสูงขึ้นแน่นอน) ดังนั้น ที่เป็นสถานกาณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ธปท. จำเป็นต้องรับซื้อไว้ทั้งหมด ถ้า ธปท. ไม่แทรกแซงเงินบาท ตอนนี้ค่าของเงินอาจจะพุ่งสูงแตะ 31-32 บาท/$ ก็ได้ แล้วปัญหาจะยิ่งแรงกว่านี้ (แค่นี้ก็ร้องกันจะตายอยู่แล้ว) ----คำว่าแทรกแซงมีหลายวิธีนะครับ มาตรการ30% การ swop100% เป็นการแทรกแซงทั้งนั้น ไม่ใช้แค่การอุ้มหรือช้อนซื้อบาทเท่านั้น---- ตอนนี้ต้องคิดก่อนว่า บาทแข็ง เป็นจุดอ่อน ทีสำคัญขนาดจำเป็นใช้มาตรการแรงๆหรือเปล่า (อย่างน้อยคนที่มีหนี้ต่างประเทศคงอยากให้เงินบาทแข็งค่าเรื่อยๆ) และหลายๆคนสามารถคิดช่องทางใหม่ๆจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นคราวนี้ได้ ขาดทุนทางบัญชี ขาดทุนทางค่าเงิน ......ต่อไปจะใช้คำอะไรเพื่อให้ดูsoftไม่กระทบกระเทือนจิตใจคนไทยดีเอ่ย!?! :slime_smile2: "นายฉลองภพ กล่าวยอมรับว่า การเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจมีผลขาดทุน ซึ่งที่ผ่านมาขาดทุนไปแล้ว 170,000 ล้านบาท แต่ถือเป็นการดูแลไม่ให้ภาพรวมเศรษฐกิจมีปัญหา โดยจะต้องดูต้นทุนภาพรวมของประเทศมากกว่าต้นทุนของ ธปท.เพราะขณะนี้ประเทศส่วนใหญ่ใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศอ้างอิงกับดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนตัวลงส่วนใหญ่จะมีผลจากการแทรกแซงค่าเงินเหมือนกัน ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อลดความผันผวน ภาคเอกชนควรแก้ไขสัญญาเปลี่ยนเป็นสกุลอื่น เช่น หากจะส่งออกสินค้าไปสหภาพยุโรป (อียู) ก็ควรทำสัญญาซื้อขายสินค้าเป็นสกุลยูโรแทน เพื่อลดความผันผวนจากเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ" หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 26-07-2007, 09:38 อืม....ไหนคนที่คอยถล่มและพูดจาทับถม แสนรุ้อย่างท่านท้าวจ๊ะและพวกพ้อง ลองบอกหน่อยสิ ในสภาพเช่นนี้ ธปท ควรทำอย่างไร ถ้าเป็นท่านท้าวและพวกพ้องจะทำอย่างไร อย่าตอบแบบประชดประชันนะ เอาสาระหน่อย ไอประเภทด่าๆแต่คิดทางออกยังไม่ได้นี่ มันน่าเบื่อ ตอบแบบที่ผ่านๆมาเดะอนุบาลมานอ่านยังเบื่อเลยนะ ไอคุณท่านท้าวจ๊ะ ในเมื่อมีผู้ไม่รู้(โง่)อยากจะรู้(ฉลาดขึ้นมาบ้าง)....ภารกิจของท้าวฯจึงต้องทำให้ความใฝ่ดีของท่านนี้เป็นจริง อ่ะ..ไปอ่านดูให้ตกผลึกน๊ะท่านน๊ะ http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/16/WW10_WW10_news.php?newsid=84250 หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอ เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 26-07-2007, 09:46 อิ อิ อิ อยู่ๆท่าน 55555 จะยุให้ไทยกลับไปสู่ยุคญี่ปุ่นขึ้นบกเมืองไทยซะแล้ว ที่ช่วงสมัยนั้นญี่ปุ่นพิมพ์ธนบัตรไทยใช้กันมันส์เลย จนทำให้ค่าเงินบาทและอัตราเงินเฟ้อของไทยสูงลิ่ว เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง "นายสนธิ ย้ำว่า เวลาดูค่าเงินต้องดูภาพรวม และไม่ต้องเล่นตามเกมฝรั่ง ที่มักจะบอกว่าอัตราเงินเฟ้อต้องต่ำ ซึ่งตอนนี้เพียง 1.9 % แต่ราคาสินค้าก็ไม่ต่างจากที่เงินเฟ้อ 4 % เท่าไหร่ เราควรจะยอมให้เงินเฟ้อเพิ่ม ด้วยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม เพื่อไปซื้อดอลลาร์ โดยไม่ต้องไปกู้เงินบาทมาให้ขาดทุน"......ที่แท้เจ้าของแนวความคิดเรื่องพิมพ์ธนบัตรเพิ่มก็มาจากแป๊ะลิ้มนี่เอง ท่านเก่งจริงๆที่บริหารธุรกิจซะล้มละลายหัวเราะเอิ๊กอ๊ากได้แบบนั้น ฮ่าๆๆๆ บังเอิญ ไม่ได้ฟังตอนสนธิ ฯ พูด เรื่องพิมพ์ ธนบัตร เพราะ ฟังไม่จบ ...หรือ ถึงสนธิจะพูด ก็ไม่เห็นจะเป็นไร สนธิ ฯ พูด ก็เก็บมาคิดกัน ไร้สาระ ก็ทิ้งไป มีประโยชน์ ก็เก็บไปใช้ ...เอ๊ะ ชักสงสัยแล้วสิ ที่แบ็งค์ชาติ ไม่ใช้นโยบายพิมพ์เงินบาท เพราะสนธิ พูดหรือปล่าวน๊อ............. เรื่องการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม บังเอิญไปได้ยินมาจากที่อื่น เมื่อ เดือนก่อน แล้วลองกลับมาคิดเล่น ๆ .....แทรกแซง ค่าเงินก็ จะขาดทุน ซะเป็นส่วนใหญ่..... ลดดอกเบี้ย ก็ช่วยได้แป๊บเดียว.......ก็เลยคิดว่า การพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม น่าจะช่วยลดเรื่อง ดีมานต์เงินบาท...... ท่านท้าว ฯ จะไปเทียบ ญี่ปุ่นในยุคนั้นได้ไงครับ.......ยุคนั้น ญี่ปุ่น มันพิมพ์ ไปเรื่อย เงินมันก็แค่เศษกระดาษ แต่ ยุคนี้ จะพิมพ์ธนบัตรออกมา เค้ามีกติกาอยู่ ว่า จะพิมพ์ได้จำนวนเท่าไหร่ ต้องมี สินทรัพย์ที่เชื่อถือได้ อย่าง เงินดอลล่าห์ หรือ สกุล เงินตราอื่น ๆ และทอง หนุนหลังอยู่ ระดับทุนสำรองที่เรามี อยู่ตอนนี้ ยังเพิ่มปริมาณเงินได้อีกเยอะครับ ..... พอดีแหงะมาเห็น ท่านท้าว ฯ อีกความเห็น.........คุณ kj 2nd ก็พูดถูกครับ เป็นการขาดทุนทางบัญชี ตัวเลขที่นำมาแถลง เป็นการขาดทุนทางบัญชี ณ วันที่ ตรวจสอบ........แต่ผมคิดว่า แบ็งค์ชาติ อาจจะขาดทุนมากกว่านี้อีก เพราะ ผมประเมินว่า เงินบาทจะแข็งค่าต่อไป ยกเว้น ว่า หลังจากวันนี้ แบ็งค์ชาติจะมีทีเด็ด อะไรออกมา แล้ว ทำให้ค่าเงินบาทตีกลับ........เรื่องแบบนี้แบ็งค์ชาติ เสียเปรียบเรื่องข่าวสารอยู่แล้ว เพราะในความเป็นจริง การอธิบายความให้คนส่วนใหญ่มันยากจริง ๆ :slime_smile: ในเมื่อมีผู้ไม่รู้(โง่)อยากจะรู้(ฉลาดขึ้นมาบ้าง)....ภารกิจของท้าวฯจึงต้องทำให้ความใฝ่ดีของท่านนี้เป็นจริง อ่ะ..ไปอ่านดูให้ตกผลึกน๊ะท่านน๊ะ http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/16/WW10_WW10_news.php?newsid=84250 นั่นไง เห็นมั๊ย โอฬาร แนะ แบ็งค์ชาติ ให้กู้บาทซื้อดอลล่าห์อีกแล้ว........เจ๊งแค่นี้ ท่านท้าว ฯ ก็ เอามากระแนะ กระแหนแล้ว ......ส่วนอันอื่น ก็เห็น เค้ากำลังทำอยู่ไม่ใช่ดอกรึ หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: best ที่ 26-07-2007, 09:49 เอาเถอะ ตอนนี้ก็ปลอบใจกันไป :slime_bigsmile:
รู้ว่าการยอมรับความจริงมันยาก :slime_smile2: หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: Coolly_Jade ที่ 26-07-2007, 09:50 ในเมื่อมีผู้ไม่รู้(โง่)อยากจะรู้(ฉลาดขึ้นมาบ้าง)....ภารกิจของท้าวฯจึงต้องทำให้ความใฝ่ดีของท่านนี้เป็นจริง อ่ะ..ไปอ่านดูให้ตกผลึกน๊ะท่านน๊ะ http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/16/WW10_WW10_news.php?newsid=84250 เอ่อ...ผมก็ไม่ค่อยมีความรู้เท่าไหร่นะครับ ต้องขอออกตัวไว้ก่อน แต่การทำตามแบบที่โอฬารเสนอนั้น ผมมองยังไงๆมันก็กลายไปเป็นการเพิ่มให้ค่าเงินบาทมันแข็งขึ้นอยุ่ดี อันนี้ในสายตาผมนะ เป็นการดูดเงินบาท กลับเข้าไปซะมากกว่า ถ้าจะให้สวยผมกลับชอบวิธีที่กรุงไทยเสนอมากกว่า คือการเพิ่มยอดบัญชีฝากดอลล่าในระยะหนึ่ง และที่สำคัญ กับโอฬารคนนี้ผมไม่ให้เครดิตตั้งกรณีscibแล้วครับ ไม่รุ้ว่าเสนอหน้าอยู่ในสังคมมาได้อย่างไรตั้งนาน(อันนี้ส่วนตัวนะ) ว่าแต่ถ้าเป็นท่านท้าวและพวกพ้องจะทำตามที่โอฬารบอกมาทั้งหมดหรือ อันนี้ถามจริงๆนะ ไม่ได้ลองภูมิ แล้วที่ท่านท้าวคิดเองละ ผมขอความคิดของท่านและพวก ไม่ใช่การไปเอาความคิดใครมาแปะ แบบนั้นมานไม่ใช่การคิด แต่เป็นการลอกเลียนแบบ หวังว่าคงเข้าใจภาษาไทย หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 26-07-2007, 09:58 บังเอิญ ไม่ได้ฟังตอนสนธิ ฯ พูด เรื่องพิมพ์ ธนบัตร เพราะ ฟังไม่จบ ...หรือ ถึงสนธิจะพูด ก็ไม่เห็นจะเป็นไร สนธิ ฯ พูด ก็เก็บมาคิดกัน ไร้สาระ ก็ทิ้งไป มีประโยชน์ ก็เก็บไปใช้ ...เอ๊ะ ชักสงสัยแล้วสิ ที่แบ็งค์ชาติ ไม่ใช้นโยบายพิมพ์เงินบาท เพราะสนธิ พูดหรือปล่าวน๊อ............. โถ...ท่านก้อ แป๊ะลิ้มกับพวกผู้มีอำนาจขณะนี้ก็พวกเดียวกันทั้งน้านนนนน บางครั้งแป๊ะลิ้มยังแสดงอำนาจราวกับเป็นหัวหน้าก๊กเลยน๊า :slime_smile2: เรื่องการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม บังเอิญไปได้ยินมาจากที่อื่น เมื่อ เดือนก่อน แล้วลองกลับมาคิดเล่น ๆ .....แทรกแซง ค่าเงินก็ จะขาดทุน ซะเป็นส่วนใหญ่..... ลดดอกเบี้ย ก็ช่วยได้แป๊บเดียว.......ก็เลยคิดว่า การพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม...... ทีนี้ลองมาอ่านบทความที่เสนอแนะให้มีการพิมพ์เพิ่มธนบัตรในปี 2540 กันดูดีไหม? ""ถ้าเพิ่มสภาพคล่องในทันทีเศรษฐกิจไทยจะไปรอด บทความพิเศษ โดย.. มีพาศน์ โปตระนันทน์ ผู้จัดการรายวัน หน้า 7 วันจันทร์ที่ 11 ส.ค. 40 ปรากฏว่าหลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนให้ค่าเงินบาทลอยตัวตามที่ผู้เขียนได้เสนอตลอดมา สภาวะการเงินได้ค่อยๆตึงตัวหรือฝืด*มากขึ้นจนขณะนี้เริ่มตึงรุนแรง ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้ว และศาสตราจารย์ประพันธ์ ศิริรัตน์ธำรง ประธานกรรมการบริษัทในเครือกลุ่มสหพัฒน์ กล่าวว่า (ฐานเศรษฐกิจ 30-31 ก.ค. 40 หน้า 15 คอลัมน์ 8) ปัญหาที่สำคัญที่ต้องแก้ไขตอนนี้ก็คือ อัตราดอกเบี้ยสูงมาก และเงินก็หายากมากด้วย เงินกู้ดอกเบี้ยประมาณ 20% นั้นหายากมาก และดอกเบี้ยสูงขนาดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจส่งออกซึ่งมีกำไรเฉลี่ยประมาณ 5-6% เท่านั้น หากจะต้องกู้เงินเพื่อมาใช้หมุนเวียนในขณะนี้ ธุรกิจไหนถ้ายังเดินหน้าต่อไป ก็ต้องขาดทุน หากไม่รีบหาทางแก้ไข ก็จะสงผลกระทบเป็นลูกโซ่ คือ ธุรกิจจะดำเนินต่อไปไม่ได้ และรัฐจะไม่มีรายได้จากการจัดเก็บภาษี สภาพดังกล่าว เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้เขียนเห็นว่าแม้ ไอ.เอ็ม.เอฟ. จะได้ตกลงที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในแง่กำกับดูแลนโยบายการคลัง-การเงิน และนโยบายเศรษฐกิจอื่นๆให้เหมาะสม รวมทั้งให้คำมั่นว่าจะมีวงเงินที่พร้อมจะให้ประเทศไทยกู้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย แต่เราจะต้องอย่าลืมว่าคนที่รู้ปัญหาของประเทศไทยดีที่สุดบางทีก็อยู่ในประเทศไทยเองด้วย เพราะฉะนั้น เราจึงต้องจัดการกับปัญหาของเราเองด้วยไม่ใช่จะปล่อยให้ ไอ.เอ็ม.เอฟ ดูแลแต่เพียงอย่างเดียว เราจะต้องไม่ลืมว่าสมัยเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลกที่เริ่มเมื่อปี 1929 นั้น ตอนที่เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกาปัญหายังไม่ได้รุนแรง แต่นักเศรษฐศาสตร์มือเยี่ยมๆ ของสหรัฐฯ สนับสนุนให้ผู้คุมนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ลดปริมาณเงินหมุนเวียนหรือสภาพคล่องลงมาก ทำให้เงินฝืดอย่างมากถึง 3 ปี (ซึ่งเป็นนโยบายการเงินที่ผิดพลาด) จนทำให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงในสหรัฐฯ โรงงานอุตสาหกรรมกว่าครึ่งหยุดทำงาน ทำให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานไม่มีงานทำและไม่ได้ค่าแรง ผลิตภัณฑ์มวลรวมและรายได้เฉลี่ยของประเทศตกลงไปประมาณ 40% ทำให้คนทั้งประเทศลำบากยากจนมาก ซึ่งทำให้มีปัญหาสังคมต่างๆ ตามมาด้วย สภาวะเงินฝืดหรือเงินตึงรุนแรงในประเทศไทยขณะนี้ ความจริง ธปท. สามารถที่จะทำให้เงินหายฝืดได้ แต่ ธปท. ไม่ยอมทำ เพราะกลัวว่าจะทำให้เงินเฟ้อ (ซึ่งในทางวิชาการ ก็คือ ของแพงนั่นเอง) ที่ถูกแล้ว ธนาคารกลางใหญ่ๆทั่วโลก ในบางครั้งอาจจะต้องยอมทำให้เงินฝืดขึ้นบ้างเพียงเล็กน้อย เฉพาะในกรณีที่เศรษฐกิจบูมเกินไปหรือที่พูดกันง่ายๆ ว่า over heat ซึ่งไม่ใช่กรณีของปรแทศไทยในขณะนี้ เพราะปัญหาของแพงหรือเงินเฟ้อของเราในระยะนี้เกิดจากสาเหตุที่ค่าเงินบาทต้องลอยต้วต่ำลงทำให้ต้นทุนของสินค้าแพงขึ้น ซึ่งถ้าจะแก้ก็ต้องแก้ด้วยการทำให้ค่าเงินบาทดีขึ้น (ลอยตัวสูงขึ้น) โดยการทำให้มีเงินตราต่างประเทศเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะต้องส่งสินค้าออกให้ได้มากขึ้น ไม่ใช่ด้วยการทำให้เงินฝืดดอกเบี้ยแพงจนทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเดือดร้อนต้องดำเนินกิจการไปด้วยค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะดอกเบี้ยสูงทำให้ราคาส่งออกก็สูง สินค้าส่งออกมีน้อยและส่งออกได้น้อยลงอย่างที่กำลังเดือดร้อนกันในขณะนี้ นโยบายเงินฝืด (tight money) ที่ใช้อยู่ในระยะนี้จึงสรุปได้ว่าเป็นผลเสียต่อค่าเงินบาท ซึ่งอัตราเงินเฟ้อจะยิ่งสูงขึ้น มิใช่จะต่ำลงอย่างที่คาดหวัง ความจริงนั้น นโยบายเงินฝืดดอกเบี้ยสูงที่เกิดขึ้นเพราะความกลัวเงินเฟ้อนี้อย่างน้อยก็ได้พิสูจน์ออกมาอย่างขัดเจนแล้วว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สินค้าออกของเราตกต่ำลงมากจนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มีการเก็งกำไรในค่าเงินบาท จนต้องลอยตัวมีค่าต่ำลงเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2540 จึงเห็นได้ชัดว่านโยบายนี้ นอกจากจะแก้ปัญหาเงินเฟ้อไม่ได้แล้ว ยังกลับเป็นตัวการทำให้เงินเฟ้อมากขึ้นด้วย ส่วนนโยบายเงินฝืด ดอกเบี้ยสูงเพื่อปกป้องค่าเงินบาทนั้น ได้มีการอ้างเหตุผลเช่นนี้มาตั้งแต่ต้นปีนี้ แต่ก็ปรากฏว่าผลที่สุดนโยบายนั้นก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง โดยกลับมีส่วนทำให้ค่าเงินบาทต้องลอยตัวต่ำลงในเดือน ก.ค. 2540 ทำนองเดียวกัน ฉะนั้น สภาวะเงินฝืดดอกเบี้ยสูงที่หลายฝ่ายอ้างว่าจะดีขึ้นเองในประมาณ 1 ปี คำพูดทำนองนี้เราคงรู้กันดีว่าเชื่อได้หรือไม่ แต่ผู้เขียนขอยืนยันว่าควรจะจัดการเพิ่มสภาพคล่องในทันที ก่อนที่เศรษฐกิจและการส่งออกจะเสียหายยิ่งกว่านี้ และค่าเงินบาทจะยิ่งตกต่ำจนทำให้เงินเฟ้อหรือของแพงมากกว่านี้ ซึ่งอาจจะมีผู้โต้แย้งว่า เราจะเอาเงินที่ไหนเข้ามาในระบบทำให้เงินหายฝืดและดอกเบี้ยลดลงได้ ซึ่งในเรื่องนี้ก็ตอบได้ว่า ธปท. ได้เคยออกพันธบัตรมาดูดซับสภาพคล่องในระบบเข้าไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งเคยมีผู้ประมาณว่าเกือบถึง 1 แสนล้านบาท ทำให้สภาพคล่องน้อยกว่าที่ควรจะเป็นมาก ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าพันธบัตรภาครัฐบาลขณะนี้เข้าใจว่ามีอยู่ประมาณสามแสนล้านบาท ซึ่ง ธปท. ควรจะซื้อเอาเข้าไปเก็บไว้หนึ่งถึงสองแสนล้านบาท ซึ่งจะมีผลเป็นการอัดฉีดเงินจำนวนดังกล่าวเข้ามาในระบบซึ่งจะทำให้เงินหายฝืด แต่ก็อาจจะมีผู้แย้งอีกว่า ธปท. อาจไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อพันธบัตรจำนวนดังกล่าว ซึ่งก็ตอบได้ว่าถ้าไม่มีเงินพอจริงๆ ก็จำเป็นต้องพิมพ์ธนบัตรเพิ่มให้พอ ซึ่งการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเท่าที่จำเป็นเช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่ ธปท. ทำได้และเคยทำอยู่เป็นครั้งคราว โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ เพราะจำนวนธนบัตรก็ดี ปริมาณเงินหมุนเวียนหรือสภาพคล่องในตลาดก็ดี จะต้องมีปริมาณที่เหมาะสมและพอดี นั่นคือ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป และจะอย่างไรก็ตาม ถ้า ธปท. มีเงินแสนกว่าล้านบาทไปอุ้มธนาคาร BBC ได้ ธปท. จะปฏิเสธว่าไม่มีเงินสองแสนล้านบาทเพื่อทำให้เงินหายฝืดย่อมจะไม่ได้ การจะเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนดังกล่าวนี้ เมื่อทำไปแล้วเราก็ย่อมจะสามารถดูภาวะตลาดเงินได้ว่า มีสภาพคล่องที่เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อความเจริญทางเศรษฐกิจและการส่งออกพอเพียงหรือไม่ ซึ่งเราอาจจะปรับเพิ่มหรือลดเงินนี้ได้โดยง่ายตามที่เหมาะสม และภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น การส่งออกดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินบาทดีขึ้น และเมื่อการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น ก็จะมีสินค้าออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาลดลงทำนองเดียวกับมะนาวหรือผลผลิตอื่นๆ ที่ถ้าออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้ราคาลดลงด้วย จริงอยู่ปัญหาอาจจะมีว่าในระยะเริ่มต้นของการเลิกนโยบายเงินฝืดดอกเบี้ยสูงไม่เกิน 1-2 เดือน อาจจะมีปัญหาเรื่องเงินไหลออกบ้าง แต่จะเป็นเงินไม่มากและไม่นาน ซึ่งสภาวะ external imbalance เพียงเล็กน้อยเช่นนี้ ทุนสำรองของเราและวงเงินกู้ของ IMF ย่อมจะแก้ปัญหาได้อย่างแน่นอน (ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของ IMF นั่นเอง ซึ่งถ้าเราไม่ใช้ประโยชน์เช่นนี้ ก็ไม่สมควรที่จะกู้มาให้เป็นภาระแก่คนไทยทั้งประเทศ) หรือถ้าเรายังกลัวปัญหานี้มาก เราก็มีทางเลี่ยงได้โดยให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เฉพาะผู้ผลิตและผู้ส่งออกเท่าที่จะไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกเสียก่อนเท่าที่จำเป็น ยิ่งกว่านั้นเมื่อเราใช้นโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้องจนเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นดังกล่าว ก็จะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสถาบันการเงินและธนาคารของเราดีขึ้นด้วย นักลงทุนและเจ้าหนี้ต่างประเทศก็จะเริ่มกลับมีความเชื่อมั่นทำให้เงินทุนไหลกลับเข้ามา ซึ่งจะเป็นผลให้ค่าเงินบาทค่อยๆ ดีขึ้นต่อไปอีกด้วย และเมื่อประกอบกับมาตรการอื่นๆ ซึ่งผู้เขียนเคยเสนอเอาไว้ตลอดมา เช่น การยกเลิกภาษีเงินได้ดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศ ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้เคยทำเมื่อ 1-2 ทศวรรษที่แล้วมาและทำให้เงินตราต่างประเทศไหลเข้าเข้าสหรัฐฯ อย่างมากมาย การยกเลิกมาตรการจำกัดเงินกู้ระยะสั้น (เพราะก็ยังดีกว่าไม่มีเงินไหลเข้ามา) การแก้กฎหมายเปิดเสรีการตั้งและขยายโรงงานและการส่งเสริมการลงทุนให้โดยไม่จำกัดจำนวนและไม่จำกัดเวลา ฯลฯ ก็จะทำให้การผลิตภายในประเทศและการส่งออกเพิ่มมากขึ้นอีกมากมาย ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทยิ่งลอยตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอีกไม่นานนักจะลอยตัวสูงขึ้นจนดอลลาร์เหลือ 25 บาท และค่อยๆลดลงไปต่ำกว่า 22 บาท ซึ่งจะแก้ปัญหาของแพงและเงินเฟ้อให้เหลือน้อยที่สุด ในขณะที่อัตราความเจริญทางเศรษฐกิจจะกลับสูงถึง 9-11% และประเทศไทยเราจะร่ำรวยเหมือนสิงคโปร์และประเทศในอเมริกาเหนือโดยรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากมายพอแก้ปัญหาจราจรให้หมดสิ้นไปได้ด้วย จึงหวังว่าพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีคลัง และผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่จะรับฟังและรีบดำเนินการโดยทันที ก่อนที่เศรษฐกิจไทยจะมีปัญหามากขึ้นจนก่อให้เกิดความกลัวและความสับสนจนเกิดนโยบายผิดๆ มากยิ่งขึ้นอีก ซึ่งเราจะกลับแก้ไขให้ถูกต้องได้ยากขึ้นทุกที" ท่านท้าว ฯ จะไปเทียบ ญี่ปุ่นในยุคนั้นได้ไงครับ.......ยุคนั้น ญี่ปุ่น มันพิมพ์ ไปเรื่อย เงินมันก็แค่เศษกระดาษ แต่ ยุคนี้ จะพิมพ์ธนบัตรออกมา เค้ามีกติกาอยู่ ว่า จะพิมพ์ได้จำนวนเท่าไหร่ ต้องมี สินทรัพย์ที่เชื่อถือได้ อย่าง เงินดอลล่าห์ หรือ สกุล เงินตราอื่น ๆ และทอง หนุนหลังอยู่ ระดับทุนสำรองที่เรามี อยู่ตอนนี้ ยังเพิ่มปริมาณเงินได้อีกเยอะครับ ..... ถูกต้อง....ตอนแรกท้าวฯเข้าใจว่าท่าน55555หนับหนุนให้พิมพ์ธนบัตรโดยไม่สนใจกติกาอื่นใด พอดีแหงะมาเห็น ท่านท้าว ฯ อีกความเห็น.........คุณ kj 2nd ก็พูดถูกครับ เป็นการขาดทุนทางบัญชี ตัวเลขที่นำมาแถลง เป็นการขาดทุนทางบัญชี ณ วันที่ ตรวจสอบ........แต่ผมคิดว่า แบ็งค์ชาติ อาจจะขาดทุนมากกว่านี้อีก เพราะ ผมประเมินว่า เงินบาทจะแข็งค่าต่อไป ยกเว้น ว่า หลังจากวันนี้ แบ็งค์ชาติจะมีทีเด็ด อะไรออกมา แล้ว ทำให้ค่าเงินบาทตีกลับ........เรื่องแบบนี้แบ็งค์ชาติ เสียเปรียบเรื่องข่าวสารอยู่แล้ว เพราะในความเป็นจริง การอธิบายความให้คนส่วนใหญ่มันยากจริง ๆ :slime_smile: นั่นไง เห็นมั๊ย โอฬาร แนะ แบ็งค์ชาติ ให้กู้บาทซื้อดอลล่าห์อีกแล้ว........เจ๊งแค่นี้ ท่านท้าว ฯ ก็ เอามากระแนะ กระแหนแล้ว ......ส่วนอันอื่น ก็เห็น เค้ากำลังทำอยู่ไม่ใช่ดอกรึ หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 26-07-2007, 10:05 ธนาคารแห่งประเทศไทย ควรประชุมหาแนวทางกับผู้ส่งออกรายใหญ่และธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยครับ.. มีวิธีสร้างสรรค์มากมาย หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 26-07-2007, 10:11 เอ่อ...ผมก็ไม่ค่อยมีความรู้เท่าไหร่นะครับ ต้องขอออกตัวไว้ก่อน แต่การทำตามแบบที่โอฬารเสนอนั้น ผมมองยังไงๆมันก็กลายไปเป็นการเพิ่มให้ค่าเงินบาทมันแข็งขึ้นอยุ่ดี อันนี้ในสายตาผมนะ เป็นการดูดเงินบาท กลับเข้าไปซะมากกว่า ถ้าจะให้สวยผมกลับชอบวิธีที่กรุงไทยเสนอมากกว่า คือการเพิ่มยอดบัญชีฝากดอลล่าในระยะหนึ่ง และที่สำคัญ กับโอฬารคนนี้ผมไม่ให้เครดิตตั้งกรณีscibแล้วครับ ไม่รุ้ว่าเสนอหน้าอยู่ในสังคมมาได้อย่างไรตั้งนาน(อันนี้ส่วนตัวนะ) ว่าแต่ถ้าเป็นท่านท้าวและพวกพ้องจะทำตามที่โอฬารบอกมาทั้งหมดหรือ อันนี้ถามจริงๆนะ ไม่ได้ลองภูมิ แล้วที่ท่านท้าวคิดเองละ ผมขอความคิดของท่านและพวก ไม่ใช่การไปเอาความคิดใครมาแปะ แบบนั้นมานไม่ใช่การคิด แต่เป็นการลอกเลียนแบบ หวังว่าคงเข้าใจภาษาไทย ท้าวฯคงไม่อาจแบกรับภาวะดังกล่าวได้ที่จะเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้จริงๆ ทราบแต่เพียงว่าสมัยรัฐบาลทักษิณไม่มีปัญหาเลวร้ายแบบนี้ เพราะช่วงทักษิณเรืองอำนาจ...เงินลงทุนจากตปท.ไหลเข้ามา การใช้จ่ายของปชช.มีการขยายตัว การส่งออกมีอัตราสูงเกือบ 20% อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยอยู่ในอัตราที่สูง สิ่งต่างๆเหล่านี้ถือเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทุกประเทศ ปัญหาค่าเงินบาทแข็งของไทย ณ ปัจจุบันจึงน่าจะเป็นปัญหาปลายเหตุหลังจากที่ปัจจัยหลักด้านเศรษฐกิจดังที่กล่าวมาของไทยหยุดชะงักลงมิใช่หรือ!?! หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: Coolly_Jade ที่ 26-07-2007, 10:41 ผมจะไม่โต้แย้งในสิ่งที่ท่านพูด เพราะถ้าโต้แย้งก็คงจะไหลไปเป็นเรื่องอื่นนอกประเด็นไป
สิ่งที่ท่านว่ามาผมยอมรับประเด็นเดียวการไหลเข้าของเงินทุน ซึ่งการไหลเข้าของทุนจำนวนมากนี่เองที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อปัญหาค่าเงินนี้ด้วย ค่าเงินที่แข็งขึ้นมานผิดกว่ามูลค่าที่แท้จริงมานผิดปกติอยู่แล้ว สิ่งที่สมควรด่า ธปท ไม่ว่าสมัยไหนก็คือ การหลอกลวงประชาชนว่าการไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมากๆเป็นส่งที่ดีโดยไม่มีข้อเสีย โดยปราศจากการควบคุมอย่างจริงจัง จนถึงปัญหาปัจจุบัน ไม่ว่าทักษิณหรือคมช ก้ไม่มีใครกล้าแตะเลยว่า ปัญหาที่ทำให้ค่าเงินแข็งจริงๆมาจากพวกนี้ พวกที่นำเงินทุนเข้ามาเพียงเพราะส่วนต่างของค่าเงิน ดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ เป้นการเก็งกำไร ไม่ใช่การลงทุนที่แท้จริง ที่ส่งผลในทางที่ดีต่อประเทศไทยอย่างแท้จริง หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 26-07-2007, 11:15 ผมจะไม่โต้แย้งในสิ่งที่ท่านพูด เพราะถ้าโต้แย้งก็คงจะไหลไปเป็นเรื่องอื่นนอกประเด็นไป สิ่งที่ท่านว่ามาผมยอมรับประเด็นเดียวการไหลเข้าของเงินทุน ซึ่งการไหลเข้าของทุนจำนวนมากนี่เองที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อปัญหาค่าเงินนี้ด้วย ค่าเงินที่แข็งขึ้นมานผิดกว่ามูลค่าที่แท้จริงมานผิดปกติอยู่แล้ว สิ่งที่สมควรด่า ธปท ไม่ว่าสมัยไหนก็คือ การหลอกลวงประชาชนว่าการไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมากๆเป็นส่งที่ดีโดยไม่มีข้อเสีย โดยปราศจากการควบคุมอย่างจริงจัง จนถึงปัญหาปัจจุบัน ไม่ว่าทักษิณหรือคมช ก้ไม่มีใครกล้าแตะเลยว่า ปัญหาที่ทำให้ค่าเงินแข็งจริงๆมาจากพวกนี้ พวกที่นำเงินทุนเข้ามาเพียงเพราะส่วนต่างของค่าเงิน ดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ เป้นการเก็งกำไร ไม่ใช่การลงทุนที่แท้จริง ที่ส่งผลในทางที่ดีต่อประเทศไทยอย่างแท้จริง การไหลเข้าของเงินตปท.สมัยทักษิณเป็นเงินลงทุนระยะยาว แต่สมัยนี้เป็นเงินเข้ามาระยะสั้นในตลาดเงิน จึงทำให้ค่าบาทแข็ง หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: samepong(ยุ่งแฮะ) ที่ 26-07-2007, 11:37 การไหลเข้าของเงินตปท.สมัยทักษิณเป็นเงินลงทุนระยะยาว แต่สมัยนี้เป็นเงินเข้ามาระยะสั้นในตลาดเงิน จึงทำให้ค่าบาทแข็ง ระยะยาวตรงไหน ขอคำอธิบายหน่อย อย่ามองแต่ว่าเงินทุนเข้าหรือออก อย่ามองว่าเราแย่แล้วคนอื่นไม่แย่หรือ การมองของเท้า มองด้านเดียว ไม่ได้มองภาวะเศษฐกิจโลก ไม่ได้มองทำไมดอลลาร์ถึงอ่อนค่าลง เหตุผลมันมีในตัวแต่คุณเท้าไม่ได้เอามาพูดในด้านนั้นแต่พยายามสร้างให้มันเป้นในทางลบของการทำงานของรัฐบาลด้านเดียว เงินดอลลาร์มันอ่อนค่าของตัวมันเองอยู่แล้ว+กับการส่งออกที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยมีเงินสำรองในรูปดอลลาร์มากเป็นพิเศษ ตอนนี้หลายประเทศไม่อยากค้าขายกับสหรัฐ เท่าไหร่แล้วโดยเฉพาะจีน เพราะจีนค้าขายกับ สหรัฐทีไรก็ได้พันธบัตร มามากมายไม่รู้เท่าไหร่ จนสหรัฐเป็นลูกหนี้จีนจนต้องออกมาขอร้องมั้งบังคับบ้างให้จีนปรับอัตตราเงินหยวนของจีน ถ้าเรายังไปยึดติดกับการค้าขายเป็นรูปดอลลาร์สหรัฐ อย่างเดียว ต่อไป ค่าเงินมันก้อ่อนลงไป บาทก็แข็งเรื่อยๆ ต่อไป และตัวสหรัฐเองก็อ่อนแอลงไปตามเวลาไม่งั้นจีนคงไม่ไปเอา บ.IBM มาเป้นของคนจีนได้หรอก การเสียบ.IBM เหมือนเสียเอกราชด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ไปเหมือนกันอย่านึกว่าเราแย่ เค้าแย่กว่าเราแต่เค้าปิดบังเก่งกว่าเรา และคนในชาติช่วยกันปิดบังความอัปยศไว้ ไม่เหมือนบ้านเราที่พยายามประจานตัวเองให้โลกรู้ และในเมื่อตัวเจ้าของเงิอนดอลลาร์เองมีปัญหาแล้วจะให้ผู้ที่ทำการค้าด้วยเงินสกุลนี้เป็นหลักไม่มีปัญหาคงไม่ได้ หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: ::วิญญาณห้อง2:: ที่ 26-07-2007, 12:07 เงินสำรองในรูปดอลล่าร์ ยังคงอยู่ดี เพียงแต่ค่าเงินดอลล่าร์ในรูปเงินสำรองมันด้อยลงๆ เพราะบาทแข็ง
ซึ่งตอนนี้ยังถือว่าเป็น unrealized loss เท่านั้น หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: kj 2nd ที่ 26-07-2007, 13:23 ^
^ ^เอ่อ จะบอกว่า สมัยทักษิณ มันก็เป็นเงินทุนระยะสั้นเหมือนกันแหละครับ ผ่านตลาดหุ้นไง เล่น short ทำกำไรกันสนุก การลงทุนในภาคเอกชนมันไม่ได้โตขึ้นเท่าไหร่นะครับ น่าจะหดตัวลงด้วยซ้ำ แต่ได้การบริโภค กับการส่งออกที่ช่วยเศรษฐกิจในสมัยเหลี่ยมได้ การบริโภคก็กลับมาสะดุดเพราะหนี้สิน ความจริงมันเริ่มมาตั้งแต่ยุคกลางๆของเหลี่ยมแล้วล่ัะ แต่ภาพมันยังไม่ชัด ว่าการบริโภคของเรามันบวมพึลึกๆ แล้วการส่งออกที่โตต่อเนื่องก็ทำให้ค่าเงินบาทสูงขึ้นจนถึงปัจจุบันไงครับ หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 26-07-2007, 20:06 การไหลเข้าของเงินตปท.สมัยทักษิณเป็นเงินลงทุนระยะยาว แต่สมัยนี้เป็นเงินเข้ามาระยะสั้นในตลาดเงิน จึงทำให้ค่าบาทแข็ง ระยะยาว ระยะสั้น ถ้ามันเข้ามาเยอะ ๆ บาทก็แข็งทั้งนั้นล่ะครับ :slime_bigsmile: หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 28-07-2007, 19:55 ไอเอ็มเอฟหนุนธปท.แทรกแซงค่าบาท เชื่อไทยไม่เจอวิกฤติ
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 18:42:00 ไอเอ็มเอฟหนุนแบงก์ชาติแทรกแซงค่าเงินบาท ยอมรับกระแสโลกาภิวัตน์การเงินโลกขณะนี้มีทั้งผลดีและความเสี่ยงควบคู่กัน เชื่อมั่นไทยไม่เจอวิกฤติเหมือนปี"40 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : Mr.Rodrigo de Rato กรรมการจัดการไอเอ็มเอฟ ซึ่งเข้าร่วมสัมมนาสภาผู้ว่าการธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถลงว่า จากการเข้าร่วมสัมมนากับผู้ว่าการธนาคารกลางในภูมิภาคนี้ ได้มีการพูดถึงหัวข้อการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายในสถานการณ์ผันผวน ซึ่งยอมรับว่า การเคลื่อนย้ายของเงินทุนและการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนในสถานการณ์ปัจจุบันมีความผันผวนเพิ่มขึ้นมาก สะท้อนให้เห็นโลกาภิวัตน์ด้านการเงินที่สถาบันและบุคคลต่าง ๆ ทั่วโลกมีความต้องการและความสามารถที่จะถือสินทรัพย์นอกประเทศมากขึ้น และตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ประเทศในเอเชียต้องเผชิญกับภาวะการเคลื่อนย้ายเงินทุนไหลเข้า-ออกในปริมาณมาก ทั้งนี้ กระแสของโลกาภิวัตน์ด้านการเงินดังกล่าว ก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ เช่น การที่ธุรกิจเข้าถึงตลาดเงินมากขึ้น การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ความสามารถในการหางาน อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้เพิ่มความเสี่ยงของนักลงทุนด้วย อาทิ การเกิดความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจจากการปกป้องการค้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงธุรกรรมการเก็งกำไรค่าเงินจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย โดยไอเอ็มเอฟมีข้อเสนอแนะที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ สามารถดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงของการไหลเข้าของเงินทุน ประกอบด้วย การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ดี การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น การลดอัตราดอกเบี้ย การเข้าแทรกแซงตลาดเงินต่างประเทศเพื่อลดความผันผวน ซึ่งไอเอ็มเอฟเห็นว่าธนาคารกลางแต่ละประเทศสามารถดำเนินการได้ การเปิดเสรีเงินทุนไหลให้มากขึ้น ซึ่งหมายถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นด้วย ซึ่งมาตรการเหล่านี้ต้องทำไปพร้อมกับการพัฒนาตลาดการเงินในประเทศ สำหรับประเด็นที่มีคำถามว่า ความผันผวนทางด้านการเงินและการเคลื่อนย้ายเงินทุนของโลกในปัจจุบัน จะทำให้ประเทศไทยและประเทศภูมิภาคต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่หรือไม่ Mr.Rodrigo กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปัจจุบันแตกต่างจาก 10 ปีที่ผ่านมา และปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี และอัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่น ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้เชื่อว่า จะไม่ทำให้ไทยต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่แน่นอน นอกจากนี้ Mr.Rodrigo ระบุถึงการที่ ธปท.เข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน และส่งผลให้ ธปท.ต้องขาดทุนประมาณ 170,000 ล้านบาท ประเด็นดังกล่าวไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของ ธปท. โดยปัจจัยสำคัญที่ควรนำมาตรวจสอบการทำงานของ ธปท. คือความโปร่งใสในการทำงาน และการผลักดันนโยบายที่สร้างเสถียรภาพทางด้านการเงินมากกว่า สำหรับข้อสงสัยว่า จากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา แต่ ธปท. กลับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 0.25 นั้น ไอเอ็มเอฟเห็นว่า การมุ่งแต่จะลดอัตราดอกเบี้ยครั้งละมาก ๆ จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางมากกว่ามีผลดี ส่วนข้อซักถามว่า จากปัญหาวิกฤติทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน ไทยควรกลับไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fix Rate อีกครั้งหรือไม่ Mr.Rodrigo กล่าวว่า การกลับไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จะไม่ส่งผลดีต่อเสถียรภาพทางด้านการเงิน เนื่องจากในทางกลับกัน การแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนก็มีผลดี เช่น การช่วยลดภาระการนำเข้าพลังงาน และทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ แต่สิ่งสำคัญที่ไอเอ็มเอฟเห็นว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารอัตราแลกเปลี่ยนควรทำ คือ การกำหนดเป้าหมายและดำเนินการรักษาให้เสถียรภาพระดับราคาหรือเงินเฟ้อในประเทศให้มีเสถียรภาพมากกว่า ส่วนมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เห็นว่าเป็นมาตรการที่ได้ผลในระยะสั้น แต่ระยะยาวจะมีผลเสียมากกว่า และเห็นด้วยกับแนวทางที่ ธปท. จะผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวหรือยกเลิกในอนาคต เอามาแปะไว้ เพื่อ เติมข่าวสาร หัวข้อ: Re: ธปท.ขาดทุนแทรกแซงค่าบาท แค่ 170,000 ล้านบาทเอง เริ่มหัวข้อโดย: sleepless ที่ 28-07-2007, 21:42 ใครเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ช่วยตอบหน่อยได้ไหมครับว่าถ้าแทนที่ ธปท. จะเข้าแทรกแซงไม่ให้บาทแข็ง แต่ทิ่มตามน้ำให้ค้างไว้ที่ 30 บาท ซักหนึ่งปี จะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเก็งกำไร |