ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: snowflake ที่ 21-07-2007, 08:32



หัวข้อ: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 21-07-2007, 08:32
เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง

ขอให้มีคำสั่งให้ นายอภิชาติ มีคำสั่งห้าม นางสดศรี และนายประพันธ์ ในฐานะ กกต.
ยุ่งเกี่ยวกับการจัดให้มีการลงประชามติรับรองหรือไม่รับรองร่างรัฐธรรมนูญฯ ที่จะ
ดำเนินการในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ไปก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=8920&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai

conflict of interest อย่างชัดเจน

รอดูว่าศาลปกครองกลางจะรับวินิจฉัยหรือไม่
หรือจะปฏิเสธ ด้วยเหตุเพราะไม่ใช่องค์กรทางปกครอง
อย่างตอนฟ้อง สสร. โฆษณาชวนเชื่อ


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: An.mkII ที่ 21-07-2007, 09:51
สงสัย...

สงสัยส่วนตัว..ที่สงสัยว่าสรุปว่าศาลในประเทศนี้..ยังเชื่อกันได้อีกหรือ..(สำหรับคนบางกลุ่ม...ซึ่งผมก็ไม่ขอเอ่ยนามว่ากลุ่มไหน..)

เพราะเวาลาศาลท่านตัดสินอะไรออกมาไม่ถูกใจ..มันก็ด่าศาล....ใช้รึไม่... ที่ว่าด่าทั้งเเบบลูกผู้ชายและด่าเเบบพวกอีเเอบ...


แต่ที่นี้มันดันทะลึ่งจะพึ่งศาล...

หรือความจริง..ความจริงใจในเจตณาที่ว่าที่ฟ้องเรื่องนี้ก็มิใช้ว่าอะไร..

ก็เพื่อที่จะได้ทำลายศาลอีกระรอก...อย่างนั้นสิน่ะ.....


ที่ว่าถ้าศาลรับฟ้องก็แล้วไป..

และถ้าไม่รับฟ้องก็จะทำการทำลายศาลท่านอีกต่อไป..ใช้รึไม่...

ว่าศาลก็ยังถูกครอบงำ..


โอยย....  ฮากริบจริงเว้ย.... กะฟฤติกรรมน้ำเน่าของเหล่าคนพวกนี้....!!


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 21-07-2007, 10:01
แล้วยังไง งานตามหน้าที่ เขาก็ทำไป มันก็เรื่องของเขา
แล้วส่วนตัว รัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน เขามีส่วนได้ส่วนเสียตรงไหน
ถ้าส่วนตัวเขาไม่มีส่วนได้เสีย เขาก็ย่อมมีสิทธิที่จะลงประชามติ

หรือว่า ที่อ้างสิบกว่าล้านเสียงมันไม่เป็นความจริง ถึงกลัวเสียงอีกแค่ไม่ถึงร้อย


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: ล้างโคตรทักษิณ ที่ 21-07-2007, 10:28
conflict of interest อย่างชัดเจน

รอดูว่าศาลปกครองกลางจะรับวินิจฉัยหรือไม่
หรือจะปฏิเสธ ด้วยเหตุเพราะไม่ใช่องค์กรทางปกครอง
อย่างตอนฟ้อง สสร. โฆษณาชวนเชื่อ


ไหนว่า ศาลเชื่อไม่ได้ กระบวนการยุติธรรมถูกบิดเบือน ไปพึ่งศาลทำบิดา scumflood ทำไม?

ไม่เคารพศาลไทย ละเมิดศาลวันละ 3 เวลา ไม่มีสิทธฺมาขอความเป้นธรรมกับศาล

แน่จริงไปฟ้องศาลโลกไป!! ชู่ว์ๆ


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 21-07-2007, 18:26
เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกัน ขัดแย้งกัน จนนำไปสู่การฟ้องร้อง

ขั้นตอนต่อไปก็คืออำนาจของศาลที่คู่ความไปดำเนินการฟ้องร้อง จะรับคำร้องหรือไม่ รับแล้วจะพิพากษาเป็นอย่างไร นั่นเป็นกระบวนการที่ปกติ

แต่ที่ไม่ปกติก็คือ ไปยื่นฟ้องแล้ว ก็ออกมาดีสเครดิตศาลไว้เสียก่อนว่า จะไม่รับฟ้องเพราะเหตุโน้นเหตุนี้ หรือรับฟ้องแล้วพิพากษาออกมาไม่ตรงตามใจของตน ก็วิพากษ์วิจารณ์ว่าเพราะอย่างนั้นอย่างนี้

สรุปคือ ไม่นับถือกติกา แต่กระแดะจะเล่นกับเขาด้วย

ทิ้งไว้ให้ย้อนเล่น  :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: RiDKuN ที่ 21-07-2007, 23:20
รธน. ผ่านประชามติ สสร. ก็คงได้แต่กล่อง แต่บอกว่าเป็น conflict of interest
คงจะเป็นความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ทางใจหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ
ทีไอ้พวกแก้สัญญาสัมปทาน แก้ภาษีสรรพสามิต ฟันไปเป็นพันล้านหมื่นล้าน
ไม่เห็นพวกลิ่วล้อว่าอะไรเล้ย


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 22-07-2007, 00:05
ต่อมเหตุผลบกพร่อง

 :slime_bigsmile:


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 22-07-2007, 09:17
เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร ทำหนังสือถึงศาลปกครองเพื่อฟ้อง

นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. และ
นายประพันธ์ นัยโกวิท (กกต.)

เนื่องจาก นางสดศรี และนายประพันธ์ เคยปฏิบัติหน้าที่เป็น กรรมาธิการยกร่าง-
รัฐธรรมนูญพศ. 2550 มีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว รวมทั้ง
ได้แสดงความคิดเห็นสนับสนุนหลักการในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวตลอดมา ดังนั้น
จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีส่วนได้เสีย  ซึ่งเคยพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาแล้ว

แต่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องปัจจุบัน เป็น กกต. ที่จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลจัดการ
ลงประชามติของประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม
2550 นี้ ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีส่วนเสียโดยตรงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะ
นำมาให้ประชาชนลงประชามติ นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การดำเนินการจัดให้มีการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในทาง
การปกครองอย่างชัดเจน เพราะในวันที่ฟ้องคดีนี้ กกต. มิได้เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตาม
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 แต่อย่างใด ดังนั้นการฟ้องคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจ
ของศาลปกครองกลาง
 
นอกจากนี้ ทางกลุ่ม 19 กันยาฯ เห็นว่ากรณีดังล่าวเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากการลง
ประชามติใกล้จะเกิดขึ้นแล้ว จึงขอศาลได้โปรดไต่สวนโดยฉุกเฉิน เพื่อให้มีคำสั่ง
คุ้มครองชั่วคราว เป็นการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา เพื่อไม่ให้เกิดความ
เสียหายมากขึ้น โดยขอให้มีคำสั่งให้ นายอภิชาติ มีคำสั่งห้าม นางสดศรี และนาย
ประพันธ์  ในฐานะ กกต. ยุ่งเกี่ยวกับการจัดให้มีการลงประชามติรับรองหรือไม่รับรอง
ร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะดำเนินการในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ไปก่อน จนกว่าจะมีคำ
พิพากษาถึงที่สุด โดยถือเอาคำฟ้องในข้อนี้ เป็นคำขอตามมาตรา 66 แห่งพระราช-
บัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2540


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: login not found ที่ 22-07-2007, 10:25
เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร ทำหนังสือถึงศาลปกครองเพื่อฟ้อง

นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. และ
นายประพันธ์ นัยโกวิท (กกต.)

เนื่องจาก นางสดศรี และนายประพันธ์ เคยปฏิบัติหน้าที่เป็น กรรมาธิการยกร่าง-
รัฐธรรมนูญพศ. 2550 มีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว รวมทั้ง
ได้แสดงความคิดเห็นสนับสนุนหลักการในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวตลอดมา ดังนั้น
จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีส่วนได้เสีย  ซึ่งเคยพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาแล้ว


กรั๊กๆๆ ขำจนแทบสำลัก
เจ้าหน้าที่รัฐผู้มีส่วนได้เสียคืออะไรยังไม่รู้จัก ยังมาเรียกร้องคว่ำรธน.
มิน่าแบบนี้เอง ที่ดินรัชดา ถึงไม่ได้มีเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีส่วนได้เสียซักคน


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: Sweet Chin Music ที่ 22-07-2007, 12:39
555+

ส่วนได้เสียอะไรฟระ

คำฟ้องไม่ได้เรื่อง

ขอถามหน่อยนะ มัน conflict of interest ตรงไหน?

รธน.ปี50 เค้าก็เปิดช่องให้แก้ไขไว่ ง่ายกว่า รธน.ปี40 อีก

ไม่พอใจอะไร ก็ไปบอก พวกกากเดนนักเลือกตั้งทั้งหลายดิ

พวกนี้เอาคะแนนเสียงมาขู่ก็แทบจะก้มกราบแล้ว

ปัดโธ่


หัวข้อ: Re: เครือข่าย 19 กันยาฯ ยื่นฟ้อง กกต. ต่อศาลปกครองกลาง
เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 22-07-2007, 18:32
พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัติ
...
"กฏ" หมายความว่า พระราชกฤษฏีกา กฏกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
....
หมวด 1 กาจัดตั้งและเขตอำนาจศาลปกครอง
...
มาตรา 9 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
(1)คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ โดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฏคำสั่ง หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขึ้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(2) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนด ให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฏหมาย หรือจากกฏ คำสั่งปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฏหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
(5) คดีที่มีกฏหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้อง กระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
(6) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฏหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
...

พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
กรณียกเว้นไม่ใช้บังคับกฏหมายนี้(มาตรา 4)

1.การดำเนินงานของรัฐสภาในฐานะองค์กรนิติบัญญัิตและคณะรัฐมนตรี
2.องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ เช่น ตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
3.การดำเนินงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในทางนโยบายโดยตรง คือในฐานะที่เป็นองค์กรทางการเมือง มิใช่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ตามกฏหมาย
4.การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล รวมทั้งการดำเนินการในกระบวนวิธีพิจารณา การบังคับคดี การวางทรัพย์
5.การวินิจฉัยและสั่งการในเรื่องร้องทุกข์ตามกฏหมาย ว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
6. การดำเนินนโยบายต่างประเทศ
7.ราชการทหารในการป้องกัน และรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักร
8.การดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมทางอาญา ซึ่งต้องปฏิบัติตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่แล้ว
9.การดำเนินการขององค์กรทางศาสนา เช่น มหาเถรสมาคม
10. การดำเนินการที่มีพระราชกฤษฎีกายกเว้น

มาตรา 5..
"คำสั่งทางปกครอง" หมายความว่า การใช้อำนาจตามกฏหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลเป็นการสร้าง นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวร หรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฏ ที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป

"เจ้าหน้าที่" ไม่ว่าจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือคณะบุคคล(คณะกรรมการ) และไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ หรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจรัฐ เช่น สภาทนายความ แพทยสภา ช่างรังวัดเอกชน เป็นต้น

- เจ้าหน้าที่ต้องมีความเป็นกลาง กฏหมายห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือจะขาดความเป็นกลางเป็นผู้ทำคำสั่งทางปกครองได้
   (1) เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือจะขาดความเป็นกลางในการทำคำสั่งทางปกครอง โดยเงือนไขภายนอก(มาตรา 13) กรณีเช่นนี้ พิจารณาจากสถานภาพทางกฏหมายของเจ้าหน้าที่ผู้นั้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงมูลเหตุจูงใจภายในในการออกคำสั่งทางปกครอง กรณีเหล่านี้ได้แก่
(ก) เจ้าหน้าที่เป็นคู่กรณีเอง
(ข) เจ้าหน้าที่เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(ค) เจ้าหน้าที่เป็นบุพการี ผู้สีบสันดาน พี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้อง หรือเป็นญาติทางการสมรสของคู่กรณี
(ง) เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าหนี้ ลูกนี้ หรือนายจ้างของคู่กรณี
(ฉ) กรณีอื่นๆ ที่กำหนดในกฏกระทรวง
  (2) เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือจะขาดความเป็นกลางในการทำคำสั่งทางปกครอง โดยเงื่อนไขภายใน เช่น เคยอุปถัมภ์ หรือทะเลาะวิวาทกับคู่กรณี (มาตรา 16)

ข้อยกเว้นกรณีของเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนได้เสียหรือเข้าข่ายขาดความเป็นกลางสามารถทำคำสั่งทางปกครองได้ (มาตรา18)
1. กรณีเป็นความจำเป็นเร่งด่วน หากล่าช้าจะเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะ
2. สิทธิของบุคคลจะเสียหายโดยแก้ไขไม่ได้
3. ไม่มีเจ้าหน้าทีอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้น
   กรณีเหล่านี้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสามารถทำคำสั่งทางปกครองได้ แต่ทั้งนี้คำสั่งทางปกครองดังกล่าวจะสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อได้ความจริงว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้พิจารณาและทำคำสั่งโดยความเป็นธรรม