ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ปุถุชน ที่ 07-06-2007, 00:14



หัวข้อ: อย่าเปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ เป็น"สัสดี"เลย เป็นเด็กส่งโอเลี้ยงดีกว่า....
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 07-06-2007, 00:14
จาตุรนต์ รอแป๊บนึงนะครับ!
 
โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 6 มิถุนายน 2550 18:18 น.
  
 
  24 พฤษภาคม 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานกระแสพระราชดำรัสต่อคณะตุลาการศาลปกครองว่าพระองค์จะเดือดร้อนจากคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ว่าผลของคำวินิจฉัยจะเป็นเช่นไร และได้ทรงพระราชทานแนวทางให้ตัดสินด้วยความกล้าหาญและซื่อสัตย์ และอธิบายให้ความรู้กับประชาชนให้มีความเข้าใจในคำวินิจฉัย
      
        25 พฤษภาคม 2550 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ให้สัมภาษณ์แสดงความตระหนักในความ “เดือดร้อน” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า
      
        “พรรคไทยรักไทยรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยบ้านเมืองและได้พระราชทานคำแนะนำให้หาทางป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง พรรคไทยรักไทยมิอาจก้าวล่วงตีความหรือวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ได้”
      
        “สิ่งที่พรรคดำเนินการได้คือสนองน้อมรับฯ ใช้เป็นหลักปฏิบัติ ช่วยกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และพรรคไทยรักไทยได้วางแนวทางที่ไม่ให้เกิดความวุ่นวายไว้แล้ว  โดยกำชับสมาชิกพรรคและอดีต ส.ส. ไม่ให้สร้างความเดือดร้อนใดๆต่อคดียุบพรรค ไม่ว่าผลการพิจารณาจะออกมาเป็นเช่นไร เราพร้อมจะรับและดำเนินงานทางการเมืองต่อไป”
      
        27 พฤษภาคม 2550 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ให้สัมภาษณ์ยืนยันอีกว่า
      
        “สิ่งที่พรรคจะทำได้ คือพยายามทุกวิถีทางเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเผชิญหน้า ซึ่งอาจสร้างความวุ่นวายและทำให้สังคมเดือดร้อน พรรคเคารพการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ว่าผลออกมาเป็นอย่างไร เราจะไม่ประท้วงคัดค้านใดๆ ”
      
        29 พฤษภาคม 2550 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนที่จะหน้าวันที่ตุลาการรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมือง 1 วันความตอนหนึ่งว่า
      
        “ ไม่ว่าผลของคดีจะออกมาอย่างไร ก็จะไม่มีการออกมาประท้วงคำตัดสินและแสดงพลังอะไรทั้งสิ้น..... แม้ในกรณีที่ผลการตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดก็ตาม”
      
        ถ้าเป็นนักการเมืองคนอื่นที่ไร้ซึ่งสัจจะ โกหก หลอกลวง ตลบตะแลง ตระบัดสัตย์ อยู่เป็นเนืองนิตย์ก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อการผิดคำพูดของตัวเองกลับมาเป็นนายจาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ อนาคตไกล พูดจามีเหตุผลตั้งอยู่ในแนวทางสันติวิธีในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็ต้องถือได้ว่าน่าเสียดาย
      
        30 พฤษภาคม 2550 คำวินิจฉัยของตุลการรัฐธรรมนูญสรุปว่าไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ยุบพรรคไทยรักไทยและเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค เช่นเดียวกับพรรคการเมืองขนาดเล็กทั้งหมด
      
        31 พฤษภาคม 2550 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้สัมภาษณ์ว่า “เรามีความเห็นแตกต่าง เราเห็นว่า เราไม่ได้รับความเป็นธรรม....คำตัดสินที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากแนวความคิดที่ยอมรับว่าใครยึดอำนาจรัฐได้ คือความถูกต้อง ใครยึดอำนาจรัฐได้ แม้จะมาจากปากกระบอกปืนก็เป็นผู้กำหนดความถูกผิดในสังคมได้ การตัดสินแบบนี้เรายอมรับ ไม่ได้”
      
        “การตัดสิทธิ์ถือเป็นโทษร้ายแรง เพราะผมเป็นนักการเมืองมาตลอดชีวิต แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดดังกล่าว มาจากคณะที่ยึดอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วมาสร้างกลไกลงโทษนักการเมืองซึ่งอยู่ตามรัฐธรรมนูญ”
      
         คำพูดที่เหมือนกับการตระบัดสัตย์ของนายจาตุรนต์ ฉายแสงจากวลีที่ว่า “ไม่ว่าผลการพิจารณาจะออกมาเป็นเช่นไร เราพร้อมจะรับ” กลายมาเป็น “เรารับไม่ได้รับความเป็นธรรม” หรือ “เรายอมรับไม่ได้” ในวันนั้นอาจจะพออนุโลมได้ว่าเป็นการพลั้งเผลอในคำพูดด้วยอารมณ์ที่กำลังว้าวุ่นใจและสับสนกับเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นก็เป็นได้
      
        4 มิถุนายน 2550 นายจาตุรนต์ ฉายแสง ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า:
      
        “ การใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเรียกหาประชาธิปไตย ย่อมเป็นเรื่องที่ นอกจากผมไม่สามารถที่จะไปห้าม ในใจก็ยังต้องให้การสนับสนุนด้วย เพียงแต่กลุ่มไทยรักไทยจะทำอะไรก็จะคิดถึงว่า อะไรที่จะเป็นประโยชน์และเหมาะสมกับแต่ละขั้นละตอน อะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมากที่สุด”
      
        “และอยากให้ตั้งคำถามแบบนี้ไปถาม พล.อ.สนธิ ว่าถ้าท่านเป็นแม่ทัพ แล้วกองทัพของท่านถูกยุบ เพราะมีสัสดีไปทำผิด และคำสรุปว่าสัสดีสนิทกับรองแม่ทัพ แล้วรองแม่ทัพก็สนิทกับแม่ทัพ เลยยุบกองทัพของท่านไป แล้วให้ท่านเปลี่ยนเครื่องแบบ นอกจากไม่ให้แต่งตัวเป็นพลเอกแล้ว ยังให้กลายเป็นพลเรือนไปเลย ท่านจะรู้สึกอย่างไร”
      
        แม้ว่าในความเป็นจริงคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญจะยังมีข้อถกเถียงทางวิชาการที่น่าสนใจ แต่เมื่อเสียงข้างมากของตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยออกมาแล้วก็ควรที่จะต้องยอมรับและเคารพต่อคำวินิจฉัยในท้ายที่สุด
      
        โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สัมภาษณ์ของรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่า “จะยอมรับ” “จะไม่ประท้วง” และ “จะไม่สร้างความเดือดร้อน” ในคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญควบคู่กับการแสดงความตระหนักในเรื่อง “ความเดือดร้อน” หลังจากที่มีกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก่อนหน้านี้ ทำให้การพูดและการแสดงออกในทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่เคยพูดนั้นควรจะต้องมีความระมัดระวังมากกว่าเป็นหลายเท่าทวีคูณ
      
        ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันมาจากตัวแทนศาลปกครองและที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาที่คัดเลือกคนที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิ โดยปราศจากการเมืองและการทหารที่แทรกแซง อีกทั้งยังไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในทางการเมืองในคำวินิจฉัยกับผลการตัดสินอีกด้วย ซึ่งแตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญที่เคยอ้างกันว่าอยู่ในคณะอำนาจที่เป็นประชาธิปไตยในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว กลับถูกข้อครหาในเชิงการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ถูกอำนาจทางการเมืองแทรกแซงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญจนทำให้การตรวจสอบพิกลพิการและเกิดวิกฤตการณ์ในบ้านเมืองในท้ายที่สุด
      
        อย่างน้อยที่มาของตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่ใช่หรอกหรือที่ทำให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ไม่ได้ปฏิเสธความเที่ยงธรรมในตัวบุคคลของตุลาการรัฐธรรมนูญเอาไว้ล่วงหน้า และยังยอมเอ่ยปากให้สัมภาษณ์ติดต่อกันมาเป็นเวลานานหลายวันว่าพร้อมจะยอมรับในคำตัดสินไม่ว่าผลคำวินิจฉัยจะออกมาเช่นไร
      
        การจะไปเปรียบเทียบการกระทำความผิดของสัสดีกับกองทัพนั้นไม่น่าจะถูกต้อง เพราะเมื่อความผิดตามคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคไทยรักไทยระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรง เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยและเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ถือว่าเป็นระดับของความผิดที่มีความรุนแรงที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
      
        ตามคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว การจัดจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งมิได้จัดโดยคนที่เป็นแค่ระดับสัสดี แต่เป็นระดับแกนนำคนสำคัญของพรรคที่กุมบังเหียนและมีอำนาจในการตัดสินใจในการเลือกตั้ง
      
        จริงอยู่! แม้จะเชื่อได้ว่านายจาตุรนต์ ฉายแสง และกรรมการบริหารพรรค ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง...
      
        แต่ขอตั้งคำถามหาจิตสำนึกและสามัญสำนึกที่แท้จริงของคนในพรรคไทยรักไทยว่า จะไม่รู้จริงๆ หรอกหรือว่าการที่มีพรรคการเมืองที่มีชื่อไม่คุ้นหู ไม่เป็นที่นิยมของประชาชน และไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นเรื่องเป็นราว กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งกับพรรคไทยรักไทยกันอย่างเอิกเกริกกระจายไปตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยผู้สมัครที่ทำตัวเหมือนคู่แข่งพรรคไทยรักไทยเหล่านั้น ไม่ได้ออกตระเวนหาเสียงเพื่อหวังชัยชนะใดๆ มันเป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่?
      
        ไม่ต้องตอบผ่านสาธารณะก็ได้ เอาแค่ถามและตอบตัวเองในใจว่า ในฐานะที่เป็นวิญญูชนจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จะไม่รู้เชียวหรือว่านี่คือการจัดตั้งพรรคไทยรักไทยเพื่อหวังเข้าสู่อำนาจรัฐเท่านั้น
      
        เมื่อตอบได้แล้วก็ควรจะตอบคำถามต่อไปว่าการที่จะตอบแบบไม่รับผิดชอบต่อไปว่า มันเป็นเรื่องการกระทำของคนบางคน โดยที่กรรมการบริหารพรรคไม่ได้รู้เรื่องนั้น มันเป็นความจริงหรือไม่?
      
        ส.ส. ในเขตต่างๆ ทั่วประเทศ และกรรมการบริหารพรรคไม่รู้จริงๆ เลยหรือ? หรือว่าแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น?
      
        3 เมษายน 2549 หลังการเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยผ่านไป 1 วัน นายวีระ มุสิกพงศ์ คณะกรรมการดูแลพื้นที่เลือกตั้งภาคใต้ พรรคไทยรักไทย กล่าวถึงผลเลือกตั้งภาคใต้ความตอนหนึ่งว่า:
      
        “พวกผมชินกับการแพ้ในพื้นที่ภาคใต้มานาน ทั้งนี้หวังอย่างเดียวคือเลือกตั้งซ่อม เพราะจะเป็นหนทางเดียวที่จะให้ชนะได้ ดังนั้นระหว่างนี้พรรคจะประกาศเชิญชวนหาพรรคการเมืองอื่นมาลงแข่งขัน แม้จะดูไม่ชอบธรรมนัก แต่เราก็ถือว่าชนะเหมือนกัน”
      
        นี่คือการแถลงข่าวที่รู้อยู่แก่ใจว่า “ไม่ชอบธรรมนัก” ออกไปในที่สาธารณะ โดยที่กรรมการบริหารพรรคและผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักไทยย่อมรู้อยู่แก่ใจว่ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นในการเลือกตั้ง
      
        มีกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คนไหนบ้างหรือไม่ ได้แสดงปกป้องสถาบันพรรคการเมืองของตัวเองและประชาชน 19 ล้านเสียงที่เลือกพรรคไทยรักไทยโดยการส่งเสียงคัดค้านการกระทำลักษณะเช่นนี้บ้าง?
      
        ถ้ายังไม่มีความกล้าหาญแสดงความสำนึกรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น “แม้แต่นิดเดียว” แล้วจะไปหวังให้ประชาชนมาเห็นใจ หรือจะให้มานิรโทษกรรมได้อย่างไร?
      
        ด้วยความปรารถนาดี....ถ้าจะยังมาฝืนกระแสปลุกระดม บิดเบือน ตระบัดสัตย์กันต่อไปอีก ระวังกระแสความนิยมจะแย่ลงไปยิ่งกว่านี้!!!

 
 
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000065542
 
 
 
  “และอยากให้ตั้งคำถามแบบนี้ไปถาม พล.อ.สนธิ ว่าถ้าท่านเป็นแม่ทัพ แล้วกองทัพของท่านถูกยุบ  เพราะมีสัสดีไปทำผิด และคำสรุปว่าสัสดีสนิทกับรองแม่ทัพ แล้วรองแม่ทัพก็สนิทกับแม่ทัพ เลยยุบกองทัพของท่านไป แล้วให้ท่านเปลี่ยนเครื่องแบบ นอกจากไม่ให้แต่งตัวเป็นพลเอกแล้ว ยังให้กลายเป็นพลเรือนไปเลย ท่านจะรู้สึกอย่างไร”


โอกาสรอดอาจจะมี ถ้าไม่เปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ และแกนนำอื่น ๆ เป็น "สัสดี" ....
เปรียบเทียบเป็น "เด็กส่งโอเลี้ยง" ดีกว่า................ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า




หัวข้อ: Re: อย่าเปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ เป็น"สัสดี"เลย เป็นเด็กส่งโอเลี้ยงดีกว่า....
เริ่มหัวข้อโดย: ริวเซย์ ที่ 07-06-2007, 02:32
ทักษิณได้เอาโรคร้ายมาเผยแพร่ในหมู่สาวก โรคร้ายนี้ได้กระจายติดต่อในหมู่สาวกอย่างรวดเร็วทุกตัวคนแล้ว

ให้พวกสาวกมีนิสัยถอดด้ามแบบทักษิณมาเลยอย่างเรื่อง

1.เมื่อวานพูดอย่าง วันนี้ทำอย่าง

2.ขี้แพ้ชวนตี

3.โกหกพกลม แถตะแบงหน้าด้านๆ

4.ตรรกะ เหตุผลผิดเพี้ยนจากประชาชนคนธรรมดาทั่วไป (ทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากมนุษย์ต่างดาวในกาแลคซี่อันโดรเมด้า) เอาตามทักษิณว่าเป็นใหญ่

5.ไม่สนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มุ่งจะเอาชนะ เอาประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง

6.ทำได้ทุกอย่าง ขอให้แม้วดำรงคงอยู่ ทั้งนี้เพื่อรักษาแก่นกลางของความชั่วร้ายเอาไว้

จาตุรนต์ติดเชื้อมานานแล้ว เพิ่งสำแดงออกมาไม่นานนี่เองว่าติดเชื่อร้ายมาจากไอ้แม้ว






หัวข้อ: Re: อย่าเปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ เป็น"สัสดี"เลย เป็นเด็กส่งโอเลี้ยงดีกว่า....
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 07-06-2007, 09:08
นี่ขนาดเป็นเด็กส่งโอเลี้ยง...ผู้มีอำนาจในบ้านนี้เมืองนี้ยังสั่งจับตาไม่กระพริบ เสียงบประมาณ กำลังพล เวลาไปมากมายเท่าไหร่กับแค่เด็กส่งโอเลี้ยง 2 คนนั่น  มันส่อให้เห็นวิสัยทัศน์ของผู้มีอำนาจล้นฟ้าว่า....ปัญหาอื่นๆของประเทศที่สำคัญกว่าเช่น 3 จว.ภาคใต้   ปัญหาเศรษฐกิจ   ปัญหาการเมือง  ฯลฯ......จะมีปัญญาแก้ไขฤา!?!


หัวข้อ: Re: อย่าเปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ เป็น"สัสดี"เลย เป็นเด็กส่งโอเลี้ยงดีกว่า....
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 07-06-2007, 10:47
นี่ขนาดเป็นเด็กส่งโอเลี้ยง...ผู้มีอำนาจในบ้านนี้เมืองนี้ยังสั่งจับตาไม่กระพริบ เสียงบประมาณ กำลังพล เวลาไปมากมายเท่าไหร่กับแค่เด็กส่งโอเลี้ยง 2 คนนั่น  มันส่อให้เห็นวิสัยทัศน์ของผู้มีอำนาจล้นฟ้าว่า....ปัญหาอื่นๆของประเทศที่สำคัญกว่าเช่น 3 จว.ภาคใต้   ปัญหาเศรษฐกิจ   ปัญหาการเมือง  ฯลฯ......จะมีปัญญาแก้ไขฤา!?!


โอกาสรอดอาจจะมี ถ้าไม่เปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ และแกนนำอื่น ๆ เป็น "สัสดี" ....
เปรียบเทียบเป็น "เด็กส่งโอเลี้ยง" ดีกว่า................ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


คุณชายของเหลี่ยมฯ อ่านข้อความนี้ให้ดี ก่อนแสดงความคิดเห็น"คุยโอ่" ดีกว่า.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า



หัวข้อ: Re: อย่าเปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ เป็น"สัสดี"เลย เป็นเด็กส่งโอเลี้ยงดีกว่า....
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 07-06-2007, 10:58

โอกาสรอดอาจจะมี ถ้าไม่เปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ และแกนนำอื่น ๆ เป็น "สัสดี" ....
เปรียบเทียบเป็น "เด็กส่งโอเลี้ยง" ดีกว่า................ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


คุณชายของเหลี่ยมฯ อ่านข้อความนี้ให้ดี ก่อนแสดงความคิดเห็น"คุยโอ่" ดีกว่า.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า





ชายฯกราบขอบพระคุณทั้ง 9 ท่านเรื่องคดียุบพรรคทรท.อย่างสุดซึ้งฮ้า :slime_smile2:




3 นักวิชาการชี้โอกาส ทรท.คืนชีพ!โกยคะแนนสงสารอื้อ-เตือน “คมช”อย่าต้อนเข้ามุม
 
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 มิถุนายน 2550 09:51 น.
 
 
       3 นักวิชาการแนะเทคนิคการต่อสู้ของกลุ่มไทยรักไทย หลังถูกยุบพรรคและกก.บห ถูกแช่แข็ง 5 ปี กูรูกฎหมายชี้ช่องกรุยทางดัน “ร่างทรง”เข้าสภา พร้อมเร่งชูนโยบายประชานิยมดึงฐานเสียง ขณะที่ นักสังคมศาสตร์ ฟันธง หากคมช.เดินเกมแรงเกินไปจะเกิดปรากฏการณ์ “มุมกลับ” คะแนนสงสารไหลไป “กลุ่มทรท.”ได้ ด้านนักรัฐศาสตร์ชี้ 111 คนหวนสู่สภาด้วยการนั่งเก้าอี้รมต.
       
       หลังประกาศคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่มีคำสั่ง “ยุบพรรคไทยรักไทย” รวมถึง อดีตคณะกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นจำนวนทั้งสิ้นกว่า 111 คน บทลงโทษทางการเมืองที่ได้รับดูเหมือนว่าจะรุนแรงจนทำให้ “พรรคไทยรักไทย” ซึ่งเปลี่ยนเป็น “กลุ่มไทยรักไทย” นั้น ไม่อาจที่จะฟื้นขึ้นมาได้นั้น ยังมีอีกหลายฝ่ายที่ได้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นไว้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าจุดเปลี่ยนประเทศไทยอาจเกิดจากการที่
       คชม.กดดัน ไทยรักไทย จนเกิดความสงสารและกลายเป็นคะแนนตีกลับที่รัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ และคมช. ไม่ควรประมาท
       
       “ผู้จัดการรายสัปดาห์” จึงได้สะท้อนมุมมองของนักวิชาการทั้งทางด้านสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ถึงแนวทางและกลยุทธ์การต่อสู้ของไทยรักไทยในทุก ๆ ด้านทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ในการต่อสู้ทางการเมืองว่าจากนี้ไปจะกอบกู้ชื่อเสียงได้อีกครั้งหรือเป็นการปิดฉากกลุ่ม ก๊วนไทยรักไทยในที่สุด
       
       *************
       
       ระวังแรงหนุน “มุมกลับ” บีบคมช.
       รศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง
       อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 
 
 
 
       การตัดสินของ 9 ตุลาการรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ถือเป็นการกระทำที่ค่อนข้างรุนแรงอย่างมากต่อพรรคไทยรักไทย และอาจส่งผลโดยรวมในทางจิตวิทยาค่อนข้างมาก จริงอยู่ที่ผลสำรวจที่ออกมา ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับ ผลสำรวจดังกล่าวแต่ ทว่า ในกลุ่มที่เป็นฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยในต่างจังหวัด อาทิพื้นที่ ภาคเหนือ และภาคอีสานนั้น พบว่า ยังไม่มีการสำรวจหรือพิสูจน์ความเห็นในกลุ่มของบุคคลที่อยู่ในกลุ่ม 14 ล้านเสียงของ พรรคไทยรักไทย
       
       “ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน อันเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคไทยรักไทยนั้น ยังไม่มีการสำรวจเลยว่า เห็นด้วยอย่างไร กับคำตัดสิน เพราะคำตัดสินที่ออกมานั้น เป็นคำตัดสินที่ค่อนข้างรุนแรง เหมือนกับโทษประหาร ที่พูดกัน”
       
       อย่างไรก็ดีเหตุการณ์การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.เป็น ถือเป็นการฆ่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และยังเป็นการสร้างความเจ็บช้ำครั้งที่หนึ่งให้กับกลุ่มคนที่รักพ.ต.ท.ทักษิณ กระทั่งเมื่อ วันที่ 30 พ.ค.นี้ก็เหมือนเป็นการทำร้ายกันครั้งที่ 2 ซ้ำร้ายพรรคอย่างประชาธิปัตย์ กลับรอด และ ยังเป็นการแจ้งเกิดดาวดวงใหม่อย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมาแทน ซึ่งในจุดนี้ รัฐบาล-คมช.จะถูกมองว่าขาดความเป็นธรรมได้
       
       อีกทั้งเมื่อเกมการเมืองเดินมาถึงจุดที่ ก่อให้เกิดความคลางแคลงสงสัยในความยุติธรรม รวมถึงการลงทัณฑ์ที่รุนแรง อย่าง การตัดสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เป็นเวลา 5 ปีนั้น ยิ่งขัด ต่อหลัก “สมานฉันท์”ที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เลือกเดิน สิ่งเหล่านี้จะเป็นภาพที่สะท้อนออกมาเพื่อให้สังคมรับรู้และเป็นจุดที่ใช้เป็นแนวทางที่ “กลุ่มไทยรักไทย” จะนำมาใช้ในการต่อสู้
       
       ขณะเดียวกันเชื่อว่าสถานการณ์จะรุนแรงอย่างยิ่งหากมีการบีบ “กลุ่มไทยรักไทย” รุนแรงขึ้น อาทิ การตั้งชื่อพรรคตามเดิมซึ่งหากไม่มีการอนุญาต การตามเช็คบิล ในคดีอื่นๆ หรือ การไม่เปิดโอกาสให้กลุ่มที่เห็นต่างๆหรือ ไม่เห็นด้วยโดยเหมารวมว่าต้องเป็นพวกไทยรักไทยนั้น สุดท้ายกลุ่มนั้นก็จะกลายเป็น กลุ่มของไทยรักไทยในที่สุด และจากพลัง มวลชน กว่า 14 ล้านคน ที่ถือว่าเป็นฐานเสียงสำคัญของไทยรักไทยนั้นอาจจะเพิ่มขึ้นได้เมื่อ ภาพของ “ผู้ถูกกระทำ” ปรากฏขึ้นมาเรื่อยๆ รวมถึง เสียงอื่นๆที่อยู่ตรงกลางก็อาจจะไหลเปลี่ยนฝั่งมาอยู่ทางไทยรักไทยก็เป็นได้
       
       “การบีบหรือกดดันทางการเมืองอย่างรุนแรงเกิดไป โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ เป็นยุคโลกาภิวัตนั้น การปิดกั้นข้อมูลจะเป็นผลเสียต่อ คมช. เอง เพราะคนพวกนี้อยู่กับการเมืองมานานการเดินเกมทางการเมืองมีหลายทาง แต่ วิธีการที่จะสื่อให้สังคมเห็นได้อย่างดีก็คือ การสื่อในแง่ความไม่ยุติธรรม และในจุดนี้เอง ความนิยมจากฝั่งที่เป็นกลางก็จะไหลกลับมายัง กลุ่มไทยรักไทยในที่สุด”
       
       นิสัยของคนไทยที่มักจะ “ขี้สงสาร” ก็จะช่วยให้ “มวยรอง”อย่างไทยรักไทย กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง เพราะอย่าลืมว่า “พรรคไทยรักไทย”เคยช่วยให้พวกเขาลืมตาอ้าปากได้ ผ่าน นโยบาย “ประชานิยม” ที่เห็นผล บทสรุป จึงอยู่ที่ว่าการเลือกเดินแนวทางทางสมานฉันท์ โดยเปิดโอกาสให้แสดงออก ได้บ้างก็อาจจะเป็นหนทางที่ดีกว่าการสร้างกำแพงขึ้นมาปิดกั้น โดยไม่มีเวทีให้ผู้แพ้เลย เพราะเมื่อถึงเวลานั้น ผู้ที่ถูกลงทัณฑ์ก็อาจจะกลับมา ได้เร็วกว่าที่คิดก็เป็นไปได้
       
       *************
       
        “ใช้นอมินีทำงาน-ชูประชานิยมโกยเสียง”
       ดร.เจษฎ์ โทณวณิก
        คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 
   
 
 
       การที่จะต่อสู้ในทางกฎหมายนั้น ไม่สามารถสู้ได้อีกแล้ว ทั้งในส่วนของการยื่นอุทธรณ์ ก็ไม่มีโอกาสเนื่องจากการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุดแล้ว หรือในแนวทางการถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควร เนื่องจากจะเป็นการรบกวนเบื้องพระยุคลบาท เวลานี้ การที่จะรื้อฟื้นคดีมาเพื่อต่อสู้ในทางกฎหมายนั้น จึงไม่ควร แต่สิ่งที่ “กลุ่มไทยรักไทย”ยังสามารถทำได้คือ การรักษาฐานเสียง โดยมีธงอันชอบธรรมอันเป็นพรรคที่มาจากระบอบการเลือกตั้งที่ถูกต้องรวมถึง อำนาจที่แท้จริงในการตัดสินคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ว่าสามารถมีอำนาจในการที่จะตัดสินคดีนี้จริงหรือไม่ เนื่องจากเป็นอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร
       
       “ธงที่กลุ่มไทยรักไทย จะนำมาใช้ในการรักษาฐานเสียงก็คือ อำนาจตุลาการที่กำเนิดมาจากการรัฐประหาร นั้นจะมีความชอบธรรม หรือไม่ ซึ่งสิ่งนี้ จะเป็นหลักสำคัญที่ กลุ่มไทยรักไทยจะใช้ในการรักษาฐานเสียงได้”
       
       ในเวลานี้ สิ่งที่ กลุ่มไทยรักไทย ควรเลือกที่จะทำ และเป็นผลดีที่สุดคือ ความสงบนิ่งทางการเมืองเพื่อให้เกิดการเลือกตั้ง โดยเร็วที่สุดจึงจะเป็นผลดี
       
       ดังนั้นเมื่อการต่อสู้ในทางกฎหมายครั้งนี้ไม่เป็นผล ก็จำเป็นต้องรอเวลา ในการแก้กฎหมายที่ถูกต้องตามระบอบ ด้วยการกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง โดย เมื่อมีการตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ มีอดีตกรรมการบริหารพรรค นั่งตำแหน่ง “กรรมการพิเศษ” หรือ ที่ปรึกษาพิเศษ” ขึ้นมาก็สามารถเข้าสู่เวทีการเมืองได้อีกครั้งถึงแม้ว่าจะไม่มีตำแหน่งก็ตาม แต่การเดินเกมการเมืองก็ยังสามารถที่จะดำเนินต่อไปก็ได้ ซึ่งในท้ายที่สุดหากกลับเข้าไปในสภาได้ บรรดานอมินีต่างๆก็จะเข้าสู่กระบวน การร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้งเพื่อ ปลดล็อก โทษทัณฑ์แช่แข็งของเหล่ากรรมการบริหารพรรค ให้กลับมาโลดแล่นบนเวทีการเมืองได้อีกครั้ง
       
       “หากมีการอ้างว่า สมาชิกไทยรักไทย มี 14 ล้านคน กก.บห.111 คนเป็นเพียงหยิบมือ การที่จะไปยื่นอุทธรณ์ไม่สามารถกระทำได้ เพราะคดีถึงที่สุดและยิ่งการจะไปถวายฎีกาก็เป็นเพียงกระก่อให้เกิดการระคายเคืองเบื้องพระยุคลลบาทเท่านั้น ทางที่ดีที่สุดของกลุ่มไทยรักไทยก็คือการจัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุดเพื่อเข้าสู่ระบบการเมืองจึงจะดีที่สุด”
       
       รวมถึงการเดินหน้าชูธงนโยบายเก่าอย่าง “ประชานิยม” ก็ยังเป็นแนวทางที่กลุ่มไทยรักไทยยังกระทำได้ สุดท้ายเมื่อได้รับการเลือกตั้งกลับมาเป็นรัฐบาลใหม่อีกครั้ง ก็ผันตัวมาเป็นกรรมการบริหารพรรคมาเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี สุดท้ายก็ไม่ต่างไปจากเดิม เพียงแต่ว่า ไม่มีตำแหน่งหน้าที่ตามเดิมเท่านั้น
       
       “การตั้งตำแหน่งพิเศษ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นการเดินเกมทางการเมือง โดยมีส.ส.ที่เหลืออยู่เป็นนอมินี ก็เป็นแนวทางที่ทำได้ สุดท้าย ก็จะเล่นการเมืองได้ตามปกติเพียงแต่ไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการเท่านั้น วนขณะนี้ จึงมองว่า กลุ่มไทยรักไทย ควรลดบทบาทด้านการเมืองและรอเวลาเตรียมการเลือกตั้งที่กำลังจะมีมาถึงจึงจะดีที่สุด”
       
       **************
       
        “โอกาส111คนเป็นรมต.ได้”
        ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์
        คณะบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)

 
 
 
 
       การเดินเกมของอดีตกรรมการบริหารพรรคซึ่งมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อฐานเสียงของตนทั้งบรรดาแกนนำชาวบ้าน หัวคะแนนในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ รวมถึงมีปัจจัยสำคัญด้านทุน ในการสนับสนุนส.ส.เพื่อลงสมัครแทนตน การกรุยทางเพื่อคืนสู่อำนาจจึงเป็นสิ่งไม่ยากเย็นเกินไปนัก โดยอาจจะมีทั้งการตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือ แยกสลายตัวเข้ากับกลุ่มพรรคการเมืองอื่นๆ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี แต่สุดท้ายด้วยฐานเสียงที่ใหญ่และหนาแน่นส.ศงเหล่านี้จะมีโอกาสที่จะเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งเป้าหมายสำคัญก็คือการคลายพันธนาการ 5 ปีที่ถูกจองจำไว้ และการผลักดันบุคคเหล่านี้ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีโดยไม่ผิดกฎข้อบังคับแต่อย่างใดแม้ว่าจะไม่ได้เป็นส.ส.ก็ตาม
       
       “จริงอยู่ที่อดีตกรรมการบริหารพรรคไม่อาจดำรงตำแหน่งส.ส.แต่การส่งส.ส.(นอมินี)ไปนั่งในสภาก็สามารถเข้าไปแก้กฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมได้ และบุคคลเหล่านี้ก็จะสามารถกลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยการนั่งเป็นรัฐมนตรีได้ในที่สุด ”


หัวข้อ: Re: อย่าเปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ เป็น"สัสดี"เลย เป็นเด็กส่งโอเลี้ยงดีกว่า....
เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 08-06-2007, 01:00
นี่ขนาดเป็นเด็กส่งโอเลี้ยง...ผู้มีอำนาจในบ้านนี้เมืองนี้ยังสั่งจับตาไม่กระพริบ เสียงบประมาณ กำลังพล เวลาไปมากมายเท่าไหร่กับแค่เด็กส่งโอเลี้ยง 2 คนนั่น  มันส่อให้เห็นวิสัยทัศน์ของผู้มีอำนาจล้นฟ้าว่า....ปัญหาอื่นๆของประเทศที่สำคัญกว่าเช่น 3 จว.ภาคใต้   ปัญหาเศรษฐกิจ   ปัญหาการเมือง  ฯลฯ......จะมีปัญญาแก้ไขฤา!?!


โอกาสรอดอาจจะมี ถ้าไม่เปรียบพล.อ.ธรรมรักษ์ พงษ์ศักดิ์ และแกนนำอื่น ๆ เป็น "สัสดี" ....
เปรียบเทียบเป็น "เด็กส่งโอเลี้ยง" ดีกว่า................ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


คุณชายของเหลี่ยมฯ อ่านข้อความนี้ให้ดี ก่อนแสดงความคิดเห็น"คุยโอ่" ดีกว่า.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า