หัวข้อ: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 19-04-2007, 21:08 "299" โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ
โดย ณรงค์เดช สรุโฆษิต หนังสือพิมพ์มติชนหน้า 2 ฉบับวันสงกรานต์ ลงบทสัมภาษณ์ประธานและกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน ในงานแถลงข่าวหลังจากยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราแล้ว เสร็จ นักข่าวถามว่า "ในบทเฉพาะกาลมีการกำหนดเรื่องการนิรโทษกรรมไว้หรือไม่" คำตอบคือ "ไม่มี" ในเบื้องต้น หากท่านอ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แบบผ่านๆ ไม่ได้คิดวิเคราะห์อะไรให้ ลึกซึ้ง ก็อาจจะเห็นคล้อยตามดังที่ท่านกรรมาธิการให้สัมภาษณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะนำเสนอแนวทางการอ่านและตีความกฎหมาย เพื่อจะได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อวิธีการเขียนกฎหมายแบบศรีธนญชัยที่หมกเม็ดได้อย่างแนบเนียน 1. มาตรา 299 บทบัญญัติ "โบว์ดำ" ในบรรดา 299 มาตรา ของร่างรัฐธรรมนูญนี้ ของดีก็มีอยู่มาก ของแปลกๆ ก็มีอยู่ ไม่น้อย แต่ที่น่ากลัวที่สุด และดูเหมือนจะกลายเป็น "จารีต" หรือ "วิถีปฏิบัติ" ของ บรรดานักกฎหมายสำนักอำนาจนิยม ผู้ฝักใฝ่รับใช้คณะรัฐประหารไปแล้วคือ การเขียน บทบัญญัติรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของสิ่งต่างๆ ที่คณะรัฐประหารทำขึ้น ซึ่งปรากฏครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 มาตรา 222 รับรองความชอบด้วย รัฐธรรมนูญของประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ครั้งที่สอง ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 มาตรา 36 รับรองความชอบด้วย กฎหมายและความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศและคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และคำสั่งหัวหน้า คปค. ตลอดจนการกระทำต่างๆ ตามประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว มาคราวนี้ ได้บัญญํติไว้ในมาตราสุดท้ายของร่างรัฐธรรมนูญนี้ว่า "บรรดาการใดๆ ที่ รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ว่าเป็น การชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญนี้" ก่อนอื่น ต้องขอชื่นชมความเก่งของคนเขียนมาตรานี้จริงๆ สามารถเขียนรัฐธรรมนูญ ให้ได้ผลตรงตามความประสงค์โดยไม่มีคำใดๆ ให้ระคายเคืองนัยน์ตาผู้อ่าน แต่ในขณะ เดียวกัน ก็ประณามวิธีการเขียนที่ย่ำยีร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 2. ผลการตีความมาตรา 299 เนื้อความในมาตรา 299 นั้น หากมีผลใช้บังคับเป็นบทบัญญัติรัฐธรรมนูญจะส่งผล สำคัญในระบบกฎหมายไทยอย่างน้อย 3 ประการด้วยกันคือ 2.1 รับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการรัฐประหาร การที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 36 รับรองความชอบด้วยกฎหมายและความชอบด้วย รัฐธรรมนูญของประกาศ คำสั่ง คปค. และการกระทำต่างๆ ตามประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว ย่อมส่งผลให้ประกาศ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามมาตรา 299 ในขณะเดียวกัน ก็เท่ากับเป็นการรับรองรัฐประหารอันเป็น "บ่อเกิดที่มา" ของประกาศ ฯลฯ ให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามไปด้วย 2.2 นิรโทษกรรมผู้ก่อการรัฐประหารอีกครั้ง ความในมาตรา 299 เท่ากับเป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ก่อการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้มีการนิรโทษกรรมไปแล้วอย่างชัดแจ้งตามมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549 ที่กำหนดว่าไม่ว่าตัวการ ผู้ใช้ ผู้ถูกใช้ หรือผู้ สนับสนุนในการยึดอำนาจดังกล่าวย่อมพ้นจากความผิดอาญาและความรับผิดอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง 2.3 ปิดช่องทางการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปค. ฯลฯ หากตีความมาตรา 299 อย่างเคร่งครัดตามลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏ ผลก็คือ ประกาศ คปค. คำสั่งหัวหน้า คปค. และการกระทำตามประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวย่อมชอบด้วย รัฐธรรมนูญ และองค์กรศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง ก็ไม่สามารถเข้าไปควบคุมตรวจสอบได้ ทั้งๆ ที่เนื้อหาของประกาศ คำสั่ง และการกระทำ ดังกล่าว อาจขัดต่อหลักการที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างร้ายแรงที่สุดก็เป็นได้ 3. วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียของมาตรา 299 3.1 ข้อดี? (1) ทำให้คณะผู้ก่อการรัฐประหารทั้งหมดมั่นใจได้อีกระดับหนึ่งว่า จะไม่ถูกตามเช็คบิล จากขั้วอำนาจเก่าในภายหลัง (2) เพิ่มความมั่นใจทางกฎหมายว่าเครือข่ายระบอบทักษิณจบสิ้นแน่ หากศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย กรรมการบริหารพรรคจะต้องถูก ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี แกนนำกลุ่มต่างๆ ไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ (3) ป้องกันการโต้แย้งในชั้นศาลว่า ประกาศ คปค. ฯลฯ ขัดรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้ ซ้ำรอยเดิมที่ (นักกฎหมายของ) คณะ รสช. เคยพลาดไว้ เปิดช่องให้ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า ประกาศ รสช. เรื่องคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินขัดประเพณีการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 3.2 ข้อเสีย (1) รับรองว่าการรัฐประหาร เป็นสิ่งที่ถูกต้องในระบบกฎหมายไทยในรัฐธรรมนูญที่ ตั้งใจจะให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร (2) การนิรโทษกรรมในรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็นการเชื้อเชิญให้มีการก่อการรัฐประหาร ในอนาคต (3) เกิดจารีตที่ไม่ถูกต้องในการเขียนรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นกรณีตัวอย่างให้คณะผู้ก่อการ รัฐประหารในอนาคตเอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ (4) บ่อนทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รับรองไว้ในต้อนต้นว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เป็นอันใช้บังคับมิได้ แต่กลับมี ประกาศ คปค. ฯลฯ ที่ขัดรัฐธรรมนูญได้ และยังมีสภาพบังคับในระบบกฎหมายไทย (5) ละเมิดสิทธิของบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศและคำสั่ง คปค. รวมทั้งการ กระทำตามประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว ในการนำคดีมาสู่ศาลและขอให้ศาลพิพากษา ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นขัดรัฐธรรมนูญ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้ไม่มีการ เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ (6) ทำลายหลักนิติรัฐ ทำลายหลักความชอบด้วยกฎหมายและทำลายการควบคุม ตรวจสอบเพราะศาลไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบและวินิจฉัยความถูกต้องได้ (7) บังควรหรือไม่? เพราะในขณะที่พระราชบัญญัติซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตาม คำแนะนำของรัฐสภา ผู้แทนประชาชน เจ้าของอำนาจอธิปไตย ก็ยังไม่สามารถขัด ต่อรัฐธรรมนูญได้ แต่มาตรา 299 กลับรับรองโดยอ้อมว่า ประกาศ คปค. ที่ลงนาม โดยหัวหน้า คปค. นั้น ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 4. ส่งท้าย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเอง และหากท่านคิดเห็นเป็นประการใด กรุณาแจ้งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทราบด้วย แต่สำหรับผู้เขียนที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ขอเรียกร้องให้กรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร. ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาตุลาการและครูบาอาจารย์ ที่สอนหรือเขียนตำราเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ให้ตัดมาตรา 299 นี้ออกจากร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เสียเถิด อย่าให้คนไทยอดสูและอับอายชาวโลกไปมากกว่านี้เลย มติชน วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10631 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04190450&day=2007/04/19§ionid=0130 หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 19-04-2007, 21:23 มาตรา ๒๙๙ บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
********** ผมไม่แน่ใจว่า รัฐธรรมนูญ ฉบับร่าง 2550 นี้ เกิดขึ้นจาก ฉบับชั่วคราว 2549 หรือไม่ ถ้าใช่ ก็ว่ากันไปครับ ยังมีเวลาให้แก้ไข แต่ถ้าฉบับชั่วคราว 2549 มิชอบแล้วไซร้ คิดกันเองก็แล้วกันครับ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 19-04-2007, 22:02 มาตรา ๒๙๙ บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ ********** ผมไม่แน่ใจว่า รัฐธรรมนูญ ฉบับร่าง 2550 นี้ เกิดขึ้นจาก ฉบับชั่วคราว 2549 หรือไม่ ถ้าใช่ ก็ว่ากันไปครับ ยังมีเวลาให้แก้ไข แต่ถ้าฉบับชั่วคราว 2549 มิชอบแล้วไซร้ คิดกันเองก็แล้วกันครับ ของเก่าอาจสั้นไป แถมอีกหน่อย ก็ในเมื่อมีการบริหารราชการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) 2549 ไปแล้ว จนครบปี หรือปีกว่า ๆ ก็ต้องถือว่า ที่ผ่านมาโดยชอบ ไม่งั้นการบริหารนั้น ทุกลำดับชั้น จะไม่ชอบทั้งสิ้น กระนั้นรือ ยุ่งตายห่ะ เหอ ๆ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 19-04-2007, 22:07 ไม่ทราบว่า คมช. คิดจะทำ หรือ ได้ทำ ความผิดอะไรอีก
นอกจากการฉีกรัฐธรรมนูญ (รธน.) 2540 โดย คปค. ในวันที่ก่อการรัฐประหาร ซึ่งมีโทษฐานเป็นกบฏ และได้เขียนนิรโทษกรรมพวกตนไปแล้วใน รธน. 2549 ถึงต้องมาเขียนนิรโทษกรรมซ้ำซากอีกครั้ง :slime_doubt: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 19-04-2007, 22:07 เขียนกันไว้ก่อนมั้งครับ..จะว่าไปเค้าก็กลัวกันอยุ่ เพราะรู้ ๆ อยู่ว่ารัฐประหารไม่ใช่ของที่ทำแล้วจะลอยตัวกันอยู่ได้สบาย ๆ อีกอย่างพวกองค์กรอิสระอย่าง กกต ที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้รับรองไว้ การเขียนไว้อย่างนี้อาจเพราะต้องการให้การตรวจสอบอำนาจบางอย่าง หรือองค์กรบางองค์กรยังทำงานได้อยู่ต่อไป ... ต้องไปดูที่เจตนารมณ์ล่ะครับ..เค้าคงไม่ได้หมกเม็ดอะไรหรอก เพราะต้องทำประชาพิจารณ์กันอยู่แล้ว
หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 19-04-2007, 22:16 4. ส่งท้าย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเอง และหากท่านคิดเห็นเป็นประการใด กรุณาแจ้งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทราบด้วย แต่สำหรับผู้เขียนที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ขอเรียกร้องให้กรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร. ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาตุลาการและครูบาอาจารย์ ที่สอนหรือเขียนตำราเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ให้ตัดมาตรา 299 นี้ออกจากร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เสียเถิด อย่าให้คนไทยอดสูและอับอายชาวโลกไปมากกว่านี้เลย มติชน วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10631 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04190450&day=2007/04/19§ionid=0130 [/quote] แหมหน้าบางจริงๆ เรื่องแค่นี้ ที่กัดกันเองแทบเป็นแทบตาย ไม่อายกันบ้าง จะบอกว่าไม่เห็นด้วยก็บอกไปคนเดียว ไม่ต้องบอกว่าคนอื่นเค้าก็คิดแบบเดียวกันหรอก ไปรู้ได้ไงว่าคนอื่นเค้าคิดแบบคนเขียน มันเป็นธรรมดาที่คนเขียน กับ จขกท. จะไม่เห็นด้วย เพราะไม่ได้อยู่ในสภาพหรือสถานะ ที่จะต้องรับผิดชอบอะไร เขียนผิดก็ไม่ต้องรับโทษอะไร แต่เขียนถูกก็ออกมาคุยว่าตัวเองเก่ง ก็เท่านั้น หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: อยากประหยัดให้ติดแก๊ส ที่ 19-04-2007, 22:21 มาตรา 34 เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงแห่งชาติ ให้มีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ...
มาตรา 36 บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ได้ประกาศ หรือสั่งไว้ ในระหว่างสันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศ หรือสั่ง ให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่า ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อน หรือหลัง วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลาย ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว หรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อน หรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง และแล้วเราก็จะได้ คมช. มาอยู่คู่ประเทศไทย ตาม รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2549 ที่บอกในรัฐธรรมนูญปี 2550 ว่าถูกต้อง ทั้งก่อนหน้าและลับหลัง พวกที่ร่างเนี่ยคงกลัวว่าเค้าจะผ่านง่ายไปไม่สนุกไม่มีลุ้นมั้ง รักความตื่นเต้นนี่หว่า สงสัยไม่เห็น เลือดไม่สนุกนะเนี่ย หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 19-04-2007, 22:39 4. ส่งท้าย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเอง และหากท่านคิดเห็นเป็นประการใด กรุณาแจ้งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทราบด้วย แต่สำหรับผู้เขียนที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ขอเรียกร้องให้กรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร. ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาตุลาการและครูบาอาจารย์ ที่สอนหรือเขียนตำราเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ให้ตัดมาตรา 299 นี้ออกจากร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เสียเถิด อย่าให้คนไทยอดสูและอับอายชาวโลกไปมากกว่านี้เลย มติชน วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10631 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04190450&day=2007/04/19§ionid=0130 แหมหน้าบางจริงๆ เรื่องแค่นี้ ที่กัดกันเองแทบเป็นแทบตาย ไม่อายกันบ้าง จะบอกว่าไม่เห็นด้วยก็บอกไปคนเดียว ไม่ต้องบอกว่าคนอื่นเค้าก็คิดแบบเดียวกันหรอก ไปรู้ได้ไงว่าคนอื่นเค้าคิดแบบคนเขียน มันเป็นธรรมดาที่คนเขียน กับ จขกท. จะไม่เห็นด้วย เพราะไม่ได้อยู่ในสภาพหรือสถานะ ที่จะต้องรับผิดชอบอะไร เขียนผิดก็ไม่ต้องรับโทษอะไร แต่เขียนถูกก็ออกมาคุยว่าตัวเองเก่ง ก็เท่านั้น เช่นกันค่ะ คุณจะคิดยังไงต่อข้อกฏหมายดังกล่าว ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของคุณ อยากบอกก็บอก ไม่อยากก็ไม่ต้อง แต่อย่ามาบอกว่าคนโน้นคนนี้เขาคิดอะไร เพราะไม่ใช่สิ่งที่คุณรู้ได้หรือรู้จริง สิ่งที่คุณทำคือ บิดเบือนกล่าวเท็จ ต่อความคิดเห็นของผู้อื่น โปรดเลิกกระทำ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 19-04-2007, 22:43 ป.ม.ใช้ได้เลย
ท่องเอาไว้..... โกรธคือโง่ โมโหคือบ้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: :slime_bigsmile: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: soco ที่ 19-04-2007, 22:46 น้ำเย็น ๆ สักแก้วมั๊ยครับ :slime_bigsmile:
ลอกบทความเค้ามาแต๊ ๆ ใยต้องเครียดล่ะครับ ว่ากันไป คนตอบเค้าก็ตอบตามเนื้อผ้า :slime_bigsmile: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: Kittinunn ที่ 19-04-2007, 22:50 น้ำเย็น ๆ สักแก้วมั๊ยครับ :slime_bigsmile: ลอกบทความเค้ามาแต๊ ๆ ใยต้องเครียดล่ะครับ ว่ากันไป คนตอบเค้าก็ตอบตามเนื้อผ้า :slime_bigsmile: ไหงกลายเป็น "โบว์รักสีดำ" ไปซะนี่ :slime_bigsmile: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 19-04-2007, 22:52 4. ส่งท้าย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเอง และหากท่านคิดเห็นเป็นประการใด กรุณาแจ้งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทราบด้วย แต่สำหรับผู้เขียนที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ขอเรียกร้องให้กรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร. ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาตุลาการและครูบาอาจารย์ ที่สอนหรือเขียนตำราเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ให้ตัดมาตรา 299 นี้ออกจากร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เสียเถิด อย่าให้คนไทยอดสูและอับอายชาวโลกไปมากกว่านี้เลย มติชน วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10631 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04190450&day=2007/04/19§ionid=0130 แหมหน้าบางจริงๆ เรื่องแค่นี้ ที่กัดกันเองแทบเป็นแทบตาย ไม่อายกันบ้าง จะบอกว่าไม่เห็นด้วยก็บอกไปคนเดียว ไม่ต้องบอกว่าคนอื่นเค้าก็คิดแบบเดียวกันหรอก ไปรู้ได้ไงว่าคนอื่นเค้าคิดแบบคนเขียน มันเป็นธรรมดาที่คนเขียน กับ จขกท. จะไม่เห็นด้วย เพราะไม่ได้อยู่ในสภาพหรือสถานะ ที่จะต้องรับผิดชอบอะไร เขียนผิดก็ไม่ต้องรับโทษอะไร แต่เขียนถูกก็ออกมาคุยว่าตัวเองเก่ง ก็เท่านั้น เช่นกันค่ะ คุณจะคิดยังไงต่อข้อกฏหมายดังกล่าว ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของคุณ อยากบอกก็บอก ไม่อยากก็ไม่ต้อง แต่อย่ามาบอกว่าคนโน้นคนนี้เขาคิดอะไร เพราะไม่ใช่สิ่งที่คุณรู้ได้หรือรู้จริง สิ่งที่คุณทำคือ บิดเบือนกล่าวเท็จ ต่อความคิดเห็นของผู้อื่น โปรดเลิกกระทำ ผมไปบิดเบือนตรงไหนละแม่คู้น ตัวหนังสือก็เขียนอยู่ทนโท่ ว่าคิดอย่างไร มาบอกว่าผมบิดเบือนเสียอีก ผมเขียนแค่ไม่กี่บรรทัด จะต้องให้มาบรรยายหรือไงว่าแต่ละตัวที่เขียนหมายความว่าอย่างไร ด่าหรือชมใคร หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 19-04-2007, 22:53 โบว์แดงแสลงใจ
โบว์ดำถลำใจ โบว์ขาวสกาวใจ โบว์เขียวเฉลียวใจ โบว์เหลืองประเทืองใจ โบว์ม่วงทะลวงใจ :slime_fighto: รธน 49 ฉบับชั่วคราว รธน 50 ก็ฉบับค้างคืนนะแหละ :slime_smile2: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 19-04-2007, 22:56 น้ำเย็น ๆ สักแก้วมั๊ยครับ :slime_bigsmile: ลอกบทความเค้ามาแต๊ ๆ ใยต้องเครียดล่ะครับ ว่ากันไป คนตอบเค้าก็ตอบตามเนื้อผ้า :slime_bigsmile: ไหงกลายเป็น "โบว์รักสีดำ" ไปซะนี่ :slime_bigsmile: อ่า...ถ้าเป็นโบว์รักสีดำ ไม่เครียดนะ หนุกหนาน รำซิ่ง ม่วนแท้เด้อ วันงาน เทศกาลผ่านมา..................... :slime_smile2: :slime_smile2: แต่ก็ไม่แน่ เทออาจจะมา "เครียด" ปรู๊ฟคำของผมก็ได้ ว่าเขียนผิด โบว์ ต้องเขียนให้ถูก ว่า โบ :slime_hmm: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 19-04-2007, 23:01 :slime_dizzy: ...เอาไว้ไปหาอ่านร่างฯก่อนแล้วจะเข้ามาตอบพากระทู้เข้าฝั่งนะครับ
หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 19-04-2007, 23:14 อ้าว.. ผมเข้าผิดกระทู้ขออภัยครับ...ฮา ลืมไปว่าทู้ไหนทู้นั้น ไม่ยอมเปลี่ยนเสียที...ไหนเข้ามาแล้วก็แจมหน่อย คีย์เวิร์ดครับ ล่อเป้า แปะเล่น บิดเบือน แปะจริง เป็นสิทธิ์ของแต่ละคน ติ๊กต็อกๆ เลือกอ่านกันเอาเองครับ อย่ายุ่งกับหัวข้อกระทู้และจขกท.ในทางขัดแย้งเป็นใช้ได้ ไม่งั้นให้กลับไปอ่านคีร์เวิร์ดอีกครั้ง.. พบกันใหม่.. หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 19-04-2007, 23:47 4. ส่งท้าย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเอง และหากท่านคิดเห็นเป็นประการใด กรุณาแจ้งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทราบด้วย แต่สำหรับผู้เขียนที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ขอเรียกร้องให้กรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร. ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาตุลาการและครูบาอาจารย์ ที่สอนหรือเขียนตำราเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ให้ตัดมาตรา 299 นี้ออกจากร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เสียเถิด อย่าให้คนไทยอดสูและอับอายชาวโลกไปมากกว่านี้เลย มติชน วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10631 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04190450&day=2007/04/19§ionid=0130 แหมหน้าบางจริงๆ เรื่องแค่นี้ ที่กัดกันเองแทบเป็นแทบตาย ไม่อายกันบ้าง จะบอกว่าไม่เห็นด้วยก็บอกไปคนเดียว ไม่ต้องบอกว่าคนอื่นเค้าก็คิดแบบเดียวกันหรอก ไปรู้ได้ไงว่าคนอื่นเค้าคิดแบบคนเขียน มันเป็นธรรมดาที่คนเขียน กับ จขกท. จะไม่เห็นด้วย เพราะไม่ได้อยู่ในสภาพหรือสถานะ ที่จะต้องรับผิดชอบอะไร เขียนผิดก็ไม่ต้องรับโทษอะไร แต่เขียนถูกก็ออกมาคุยว่าตัวเองเก่ง ก็เท่านั้น [/quote] อย่าให้คนไทยอดสูและอับอายชาวโลกไปมากกว่านี้เลย..... เจ้าของความเห็นและ"มติชน" เคยมีความรู้สึก"พรรค์นี้"ก่อนหน้านี้หรือไม่ ระหว่างที่เหลี่ยม ลี สิงกะโปโตก มีอำนาจผูกขาด เผด็จการเหนือรัฐสภาและองค์กรอิสระ..... หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: Can ไทเมือง ที่ 20-04-2007, 00:12 มันก็บทนิรโทษกรรมนั่นแหละคิดมากทำไม
มีการปฏิวัติครั้งใหนไม่มีบทนิรโทษกรรม...หามาให้ดูบ้างสิ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 20-04-2007, 00:51 :slime_dizzy: ...เอาไว้ไปหาอ่านร่างฯก่อนแล้วจะเข้ามาตอบพากระทู้เข้าฝั่งนะครับ http://www.parliament.go.th/news/ssrnews/images/Pdf_58783.pdf หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 20-04-2007, 01:36 ผมขอแย้งว่ามาตรา 299 "ไม่เหมือนบทนิรโทษกรรม" เพราะถึงอย่างไร กฎหมายที่เกิดในยุค สนช. และบางองค์กรอิสระก็ต้องทำงานต่อเนื่องจากยุครัฐธรรมนูญชั่วคราว การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญก็คือการยกเลิกรัฐธรรมนูญเดิม ถ้าไม่มีการ "รับรอง" ดังกล่าวนี้ จะมีผลต่อความต่อเนื่องในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบตรวจสอบนักการเมืองตามขั้นตอนของระบบศาล ซึ่งจะพังพาบลงและต้องเริ่มต้นกันใหม่ บางองค์กรอิสระแม้จะมีมาตราอื่นของรัฐธรรมนูญรองรับให้ทำงานต่อเนื่อง แต่ไม่ได้ "รับรองความถูกต้องชอบธรรม" ... ซึ่งจะเกิดความวุ่นวายอย่างแน่นอนถ้าไม่มีการระบุมาตรา 299 ไว้ การยกเลิกมาตรา 299 มีแต่จะ "สร้างความวุ่นวาย" ให้มากขึ้นในทางการเมือง ไม่มีประโยชน์ใดใดต่อประชาชน... สู้ให้มีแล้วจบเพื่อเริ่มต้นกันใหม่ดีกว่าครับ ความเชื่อในลัทธิประชาธิปไตยไม่ได้มีน้ำหนักสูงที่สุดเสมอไปครับ... อะไรที่ทำให้ความวุ่นวายหรือความรุนแรงลดลงได้ปัจจุบันมีน้ำหนักมากกว่าครับ... เรื่องการใส่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติก็เช่นเดียวกัน อาจถูกต้อง แต่สร้างความวุ่นวายขึ้นอีกมาก ก็ไม่ควรใส่ไว้ ประเด็นที่ไม่สร้างความวุ่นวายแต่เป็นประเด็นพื้นฐานประชาธิปไตยแท้ๆ ยังมีอีกตั้งหลายประเด็น ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ยกมาคุยกัน ... อย่าลืมนะครับว่าถ้าหลักเหตุผลลัทธิประชาธิปไตยมีความสำคัญมากที่สุดจริง เมื่อตอนปฏิรูปการปกครองฯ ก็คงไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมากขนาดนั้น... ตอนนั้นเรื่องวุ่นวายไม่มีทางแก้ ไม่เห็นแววยุติ... เมื่อทหารคือคำตอบสุดท้าย นั่นแหละคือความชอบธรรมของ "ทหารเพื่อประชาธิปไตย" - ทหารเพื่อประชาชน ลองมาคุยกันเรื่องอื่นที่ "สำคัญ" กันสักเรื่องดีไหม?... การเลือกตั้งแบบเขตหนึ่งเลือกได้ 2-3 คน ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของสิทธิเลือกตั้งจริงหรือไม่? มองให้ก้าวไปข้างหน้าดีกว่าครับ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: พระพาย ที่ 20-04-2007, 02:43 นอกจากนี้.. ขอให้พวกเรายึดหลักให้มั่นนะครับว่า
เราต้องการอะไรจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้... อะไรคือเนื้อหาสาระที่สำคัญ ระหว่าง ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น + ระบบตรวจสอบทำงานได้ดี + ไม่มีการสืบทอดอำนาจ กับ ไม่มีนิรโทษกรรม + ใส่ข้อความศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติที่ละเมิดมิได้ สำหรับผม... เรื่องชุดคำตอบแรก... และยังไม่เห็นสัญญาณใดใดที่ฝ่ายทหารจะมีการสืบทอดอำนาจ ไม่เป็นนายก ไม่มีพรรคการเมืองนอมินี นอกจากนี้กรอบเวลาร่างรัฐธรรมนูญก็ยังเสร็จตามกำหนดโดยมิช้า แม้แต่การควบคุมเสียงเลือกตั้งอย่างการนับคะแนนก็ยังเป็นระบบนับคะแนนในท้องที่ ซึ่งเผด็จการแท้ๆ ย่อมคุมเสียงได้ยากกว่าการนับตรงส่วนกลาง เมื่อเนื้อหาสาระสำคัญดีขึ้น ไม่เห็นการสืบทอดอำนาจ.. นี่ย่อมเป็นเงื่อนไขที่จะเกิดความรุนแรงที่น้อยที่สุด มีอนาคตของประชาธิปไตยที่ดีที่สุด... สำหรับข้ออ้างที่ว่าการยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะทำให้การรัฐประหารมีความชอบธรรมนั้น... ก็แล้วมันเสียหายตรงไหน เมื่อพิสูจน์ได้ว่าคายอำนาจโดยเร็วเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่ดีขึ้น... ไม่มองกลับกันหล่ะครับว่ารัฐบาลที่ไม่มีจริยธรรมฉาวโฉ่ เป็นสิ่งที่ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยยอมรับไม่ได้ยิ่งกว่ารัฐประหารและประชาชนจักไม่ปกป้องรัฐบาลที่เป็นเช่นนั้น... บทเรียนเช่นนี้ มีแต่จะทำให้รัฐบาลในอนาคตตระหนักในจริยธรรมและเสียงของประชาชนมากขึ้นครับ ส่วนทหารในปัจจุบันนี้หน่ะหรือครับ... เกรงใจประชาชนจะตายไป ฟังเสียงของประชาชน และวางกรอบตัวเองได้อย่างเข้มงวด... เพราะถ้าไม่ซื่อหางโผล่เมื่อไหร่... จากรักจะกลายเป็นแค้น... ไม่คุณก็ผมหล่ะได้เผาผีกันไปข้างหนึ่ง หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 20-04-2007, 07:25 ผมจำได้คลับคลายคลับคา .............ตอนที่รสช. สั่งยึดทรัพย์ นักการเมืองหลายคนในครั้งนั้น....แต่พอต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญ ปี 40 ........นักการเมืองเล่านั้นทั้งหมด หลุดข้อกล่าวหา เนื่องจากประเด็นอำนาจของ รสช.....ใครจำได้ลองเล่าให้ฟังเพื่อทบทวนหน่อยก็ดีน๊ะครับ
หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: อยากประหยัดให้ติดแก๊ส ที่ 20-04-2007, 07:30 มีคนแย้งแบบศรีธนญชัยว่า "ไม่เหมือนบทนิรโทษกรรม" สงสัยอ่านร่างรัฐธรรมนูญมากไปเลยอิน
รัฐธรรมนูญชั่วคราวมันก็นิรโทษกรรมของมันไว้แล้วในข้อสามสิบกว่าท้ายๆ ร่างอันใหม่ก็ไปใช้บ๋อย อันชั่วคราวเพื่อให้นิรโทษกรรมต่อไปอีกหลังประกาศใช้อันใหม่ แบบว่าประหยัดคำไม่ต้องเขียนอีก รอบ ชี้ไปที่อันชั่วคราวแล้วก็บอกว่าเอาอย่างงั้นแหละ เลยมีคนแย้งว่าไม่เหมือนไปซะฉิบ นี่ผลมันยิ่งกว่านิรโทษกรรมซะอีกเรียกว่านิรโทษกรรมแล้วมีแถม ถ้า คมช. ยังอิ่มอ้วนไม่พอจะอยู่ ไปจนชั่วฟ้าดินสลาย บินฟรียิงหมาอะไรก็ได้ ตราบใดที่ฉบับใหม่ไม่ถูกฉีกก็คงไม่ผิดกฎหมายเนอะ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 20-04-2007, 08:34 ผมขอแย้งว่ามาตรา 299 "ไม่เหมือนบทนิรโทษกรรม" เพราะถึงอย่างไร กฎหมายที่เกิดในยุค สนช. และบางองค์กรอิสระก็ต้องทำงานต่อเนื่องจากยุครัฐธรรมนูญชั่วคราว การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญก็คือการยกเลิกรัฐธรรมนูญเดิม ถ้าไม่มีการ "รับรอง" ดังกล่าวนี้ จะมีผลต่อความต่อเนื่องในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบตรวจสอบนักการเมืองตามขั้นตอนของระบบศาล ซึ่งจะพังพาบลงและต้องเริ่มต้นกันใหม่ บางองค์กรอิสระแม้จะมีมาตราอื่นของรัฐธรรมนูญรองรับให้ทำงานต่อเนื่อง แต่ไม่ได้ "รับรองความถูกต้องชอบธรรม" ... ซึ่งจะเกิดความวุ่นวายอย่างแน่นอนถ้าไม่มีการระบุมาตรา 299 ไว้ การยกเลิกมาตรา 299 มีแต่จะ "สร้างความวุ่นวาย" ให้มากขึ้นในทางการเมือง ไม่มีประโยชน์ใดใดต่อประชาชน... สู้ให้มีแล้วจบเพื่อเริ่มต้นกันใหม่ดีกว่าครับ ความเชื่อในลัทธิประชาธิปไตยไม่ได้มีน้ำหนักสูงที่สุดเสมอไปครับ... อะไรที่ทำให้ความวุ่นวายหรือความรุนแรงลดลงได้ปัจจุบันมีน้ำหนักมากกว่าครับ... เรื่องการใส่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติก็เช่นเดียวกัน อาจถูกต้อง แต่สร้างความวุ่นวายขึ้นอีกมาก ก็ไม่ควรใส่ไว้ ประเด็นที่ไม่สร้างความวุ่นวายแต่เป็นประเด็นพื้นฐานประชาธิปไตยแท้ๆ ยังมีอีกตั้งหลายประเด็น ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ยกมาคุยกัน ... อย่าลืมนะครับว่าถ้าหลักเหตุผลลัทธิประชาธิปไตยมีความสำคัญมากที่สุดจริง เมื่อตอนปฏิรูปการปกครองฯ ก็คงไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมากขนาดนั้น... ตอนนั้นเรื่องวุ่นวายไม่มีทางแก้ ไม่เห็นแววยุติ... เมื่อทหารคือคำตอบสุดท้าย นั่นแหละคือความชอบธรรมของ "ทหารเพื่อประชาธิปไตย" - ทหารเพื่อประชาชน ลองมาคุยกันเรื่องอื่นที่ "สำคัญ" กันสักเรื่องดีไหม?... การเลือกตั้งแบบเขตหนึ่งเลือกได้ 2-3 คน ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของสิทธิเลือกตั้งจริงหรือไม่? มองให้ก้าวไปข้างหน้าดีกว่าครับ มันก็บทนิรโทษกรรมนั่นแหละคิดมากทำไม มีการปฏิวัติครั้งใหนไม่มีบทนิรโทษกรรม...หามาให้ดูบ้างสิ ข้อความโดย: CanCan การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญไทย เป็นสิ่งผิดกฎหมาย........ ดังนั้นหลังการรัฐประหาร การปฎิวัติ การปฎิรูปฯ จึงต้องมีการ"นิรโทษกรรม" เพื่อปกป้อง คณะทำการฯ............ ประเด็นน่าจะอยู่ว่า การใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลในขณะนั้นเหมาะสม เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติหรือไม่..... ถ้าเป็นคุณประโยชน์ ประชาชนจะปล่อยให้คณะรัฐประหารอยู่ใน"อันตราย"จากกลุ่มอำนาจเก่าที่ถูกยึดหรือ.... :?: ถ้าไม่เป็นคุณประโยชน์ต่อประชาชน ต่อประเทศชาติ ประชาชน"โวย" ได้เท่านั้น เพราะคณะรัฐประหารที่ไม่ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติ ประชาชน ย่อมไม่ฟังเสียง"โวย" อย่างแน่นอน.... จึงสมควรสนับสนุนให้รัฐบาลใหม่ที่ปลอดจาก"อำนาจ"ของคณะรัฐประหาร รัฐบาลใด รัฐบาลหนึ่ง ใช้"สติปัญญา" หาหนทางลงโทษ แม้ต้องใช้นักกฎหมายอย่าง "นิติกรบริการ" ก็เอา เพื่อจะไม่ให้มีคณะรัฐประหารเลวๆ เกิดขึ้นอีกในอนาคต จนถึงนาฑีนี้ ผมยังคิดว่ามีรัฐประหารครั้งนี้ เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนมากกว่า จะปล่อยให้บ้านเมืองถูก"รักษาการนายกฯ"และกลุ่ม"อำนาจเก่า" อยู่ในอำนาจต่อไป..... หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 20-04-2007, 08:38 มีคนแย้งแบบศรีธนญชัยว่า "ไม่เหมือนบทนิรโทษกรรม" สงสัยอ่านร่างรัฐธรรมนูญมากไปเลยอิน รัฐธรรมนูญชั่วคราวมันก็นิรโทษกรรมของมันไว้แล้วในข้อสามสิบกว่าท้ายๆ ร่างอันใหม่ก็ไปใช้บ๋อย อันชั่วคราวเพื่อให้นิรโทษกรรมต่อไปอีกหลังประกาศใช้อันใหม่ แบบว่าประหยัดคำไม่ต้องเขียนอีก รอบ ชี้ไปที่อันชั่วคราวแล้วก็บอกว่าเอาอย่างงั้นแหละ เลยมีคนแย้งว่าไม่เหมือนไปซะฉิบ นี่ผลมันยิ่งกว่านิรโทษกรรมซะอีกเรียกว่านิรโทษกรรมแล้วมีแถม ถ้า คมช. ยังอิ่มอ้วนไม่พอจะอยู่ ไปจนชั่วฟ้าดินสลาย บินฟรียิงหมาอะไรก็ได้ ตราบใดที่ฉบับใหม่ไม่ถูกฉีกก็คงไม่ผิดกฎหมายเนอะ จะแสดงความคิดเห็นอย่างไร ก็ควรจะมี"หิริโอตตัปปะ"ไว้บ้าง จะได้ไม่ถูกคนที่มี คุณธรรม "ดูแคลน" ได้........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 20-04-2007, 08:52 ผมจำได้คลับคลายคลับคา .............ตอนที่รสช. สั่งยึดทรัพย์ นักการเมืองหลายคนในครั้งนั้น....แต่พอต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญ ปี 40 ........นักการเมืองเล่านั้นทั้งหมด หลุดข้อกล่าวหา เนื่องจากประเด็นอำนาจของ รสช.....ใครจำได้ลองเล่าให้ฟังเพื่อทบทวนหน่อยก็ดีน๊ะครับ คณะ รสช. ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ด้วยความกลัวว่า พล.อ.ชาติชาย จะปลดพวกเขา บรรดานายพล จปร.รุ่น 5 ที่เรืองอำนาจในขณะนั้น.... จึงหยิบยกเรื่องการคอรั่ปชั่น "บุพเฟต์คาบิเนต" เป็นข้ออ้าง..... หลังจากยึดอำนาจสำเร็จ ได้แต่งตั้งให้พล.อ.สิทธิฯ เป็นประธานสอบสวนและวินิจฉัย ทำนอง"ศาลเตี้ย" เพื่อไล่ต้อนนักการเมือง"ปากมอม"เข้าคอกของคณะ รสช. โดยไม่ผ่านขบวนการศาลสถิตยุติธรรม..... นักการเมือง"ปากมอม" จึงยอมเข้าพรรคฯ และยอมเลือก พล.สุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี สืบสานอำนาจกลุ่ม รสช.และ จปร.5... ภายหลัง"พฤกษภาทมิฬ 35" ขับไล่คณะ รสช. ได้รัฐบาลใหม่แล้ว นักการเมืองที่ไม่ยอม"สยบ" และ หนีไปพำนักต่างประเทศ ได้กลับเมืองไทยและฟ้องศาลฯ ศาลฯได้วินิจฉัยว่า การใช้อำนาจคณะตรวจสอบ(ลืมชื่อไปแล้ว)ไม่ถูกต้อง ไม่มีกฎหมายรองรับ ดังนั้นการตรวจสอบ การยึดทรัพย์ จึงเป็น"โมฆะ"..... คณะรัฐประหารนี้(คมช.)และรัฐบาลนี้ ไม่มีเจตนาจะต้อนนักการเมือง"ปากมอม"เข้าคอก แต่ต้องการให้มีการลงโทษ เพื่อให้สมเหตุสมผลในการทำรัฐประหาร จึงตั้งคณะ คตส. และให้นำผลการตรวจสอบ ผ่านขบวนการยุติธรรม ให้อัยการกล่าวโทษ และศาลสถิตยุติธรรม เป็นผู้พิจารณา.... ในขณะนี้พฤติกรรมของผู้มีอำนาจทำการรัฐประหาร สองครั้งสองครานี้ จึงมีความแตกต่างกัน....... หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 20-04-2007, 10:37 มาอีกแล้ว คราวนี้เป็น ณรงค์เดช สรุโฆษิต :slime_bigsmile:
น่ารักจริงๆ คนอะไร ร้องเพลงของ ศิริพง อำไพพร ก็เป็นด้วย :slime_sentimental: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: katindork ที่ 20-04-2007, 11:33 อ่านแล้ว ก็ต้องเข้าใจเป้าประสงค์ของการเขียนกฏหมายไว้ด้วย
การปฏิวัติ มักจะมีบทเฉพาะการ เพื่อคุ้มครองหลังจากที่มีการเปลี่ยนผ่านอำนาจไป เป็นของธรรมดา ถ้าคิดว่า เป็นของไม่ธรรมดา คนเขียนข่าวจะการันตีอะไรไหมว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในเมื่อปัจจุบัน มันมีศรีธนญชัยเต็มเมืองที่พยายามตีความกฏหมายแบบหน้าด้าน เพื่อที่จะหาทางเล่นงานกันอยู่ จะเขียนไว้ตรงๆ เดี๋ยวมันก็ให้ทนายหน้าหอ ทีวีหน้าเอี้ยม มาบิดพูดออกข่าวชงกันเองอีก ต้องถามกลับไปว่า แล้วคนเขียนข่าวนี้จะให้ทำยังไง :slime_o: ปล. คุณสโนว์แต่งงานหรือยังก๊าบบ เผื่อจะส่งโบมั่ง :lol: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: เบื่อไอ้เหลี่ยม ที่ 20-04-2007, 12:18 ถ้าไม่ให้เขียนไว้แบบนั้น แล้ว ไม่ให้มีการนิรโทษกรรม คนที่ไล่ไอ้เหลี่ยมไปก้ไม่มีกฎหมายรองรับ แล้วไม่ตายหรือไงครับ
ตกลงคุณต้องการอะไร หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ 20-04-2007, 12:31 มีคนแย้งแบบศรีธนญชัยว่า "ไม่เหมือนบทนิรโทษกรรม" สงสัยอ่านร่างรัฐธรรมนูญมากไปเลยอิน รัฐธรรมนูญชั่วคราวมันก็นิรโทษกรรมของมันไว้แล้วในข้อสามสิบกว่าท้ายๆ ร่างอันใหม่ก็ไปใช้บ๋อย อันชั่วคราวเพื่อให้นิรโทษกรรมต่อไปอีกหลังประกาศใช้อันใหม่ แบบว่าประหยัดคำไม่ต้องเขียนอีก รอบ ชี้ไปที่อันชั่วคราวแล้วก็บอกว่าเอาอย่างงั้นแหละ เลยมีคนแย้งว่าไม่เหมือนไปซะฉิบ นี่ผลมันยิ่งกว่านิรโทษกรรมซะอีกเรียกว่านิรโทษกรรมแล้วมีแถม ถ้า คมช. ยังอิ่มอ้วนไม่พอจะอยู่ ไปจนชั่วฟ้าดินสลาย บินฟรียิงหมาอะไรก็ได้ ตราบใดที่ฉบับใหม่ไม่ถูกฉีกก็คงไม่ผิดกฎหมายเนอะ จะแสดงความคิดเห็นอย่างไร ก็ควรจะมี"หิริโอตตัปปะ"ไว้บ้าง จะได้ไม่ถูกคนที่มี คุณธรรม "ดูแคลน" ได้........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า หาปลาบนต้นไม้อยู่เหรอครับ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: Nai_puan ที่ 20-04-2007, 12:39 ถ้ามีมาตรานี้ รัฐธรรมนูญจะยิ่งผ่านประชามติได้ยาก
ฝ่ายต่อต้าน สามารถนำไปจุดประเด็นสร้างกระแสไม่รับ รธน. ได้สะดวกขึ้น คมช. ยึดอำนาจปฏิวัติ จนเศรษฐกิจบ้านเมืองเสียหายขนาดนี้ ถ้าจะนิรโทษกรรม โดยไม่ได้รับโทษใดๆ หลายๆคนคงไม่ยอมกัน โดยเฉพาะคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งมีอยู่ไม่น้อย หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 20-04-2007, 12:58 มาคราวนี้ ได้บัญญํติไว้ในมาตราสุดท้ายของร่างรัฐธรรมนูญนี้ว่า "บรรดาการใดๆ ที่ รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ว่าเป็น การชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญนี้" ในความเห็นผมต่อให้ตัดมาตรานี้ออกก็ไม่มีผลอะไรกับการความผิดเรื่องยึดอำนาจ 19 ก.ย. 49 เพราะ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 ก็มีสภาพบังคับแทนที่ฉบับ พ.ศ. 2540 โดยสมบูรณ์ และได้รับรองการยึดอำนาจไปเรียบร้อยแล้ว (และในขณะนี้ไปจนถึงเมื่อฉบับ พ.ศ.2550 ออกมา รธน.ฉบับชั่วคราว 2549 ก็มีผลบังคับโดยสมบูรณ์ด้วย เรื่องนิรโทษกรรมจึงมีผลไปแล้วครับ) การที่มาระบุใน รัฐธรรมนูญ 2550 มาตราสุดท้ายอีกเป็นแค่การระบุว่าฉบับนี้ก็รับรองฉบับชั่วคราว แต่ไม่ได้มีผลอะไรกับสภาพบังคับที่มีอยู่ก่อนฉบับ พ.ศ.2550 นะครับ ก็เหมือนกับสภาพบังคับของ ฉบับ 2540 ที่มีมาก่อนการยึดอำนาจ ต่อให้ฉบับ 2549 และ 2550 ไม่ระบุรับรองก็ไม่มีผลอะไร แต่จุดสำคัญอยู่ที่ข้อความ "ไม่ว่าก่อนหรือหลัง" ต่างหาก ซึ่งมีใจความสำคัญสรุปง่ายๆ เท่ากับว่า ให้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 เป็นส่วนหนึ่งในรัฐธรรมนูญ 2550 ครับ คือให้มีผลบังคับคู่กันไปกับ เนื้อความในรัฐธรรมนูญ 2550 (ตลอดไป) ถ้าจะประท้วงอะไรกันจึงควรไปเล่นประเด็นนี้เพราะเท่ากับสอดใส้ 2549 เข้ามาใน 2550 ทั้งหมด แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมที่มีผลสมบูรณ์ไปแล้วเมื่อออกฉบับชั่วคราว 2549 และถ้าจะไม่ทักท้วงมาตรานี้การพิจารณายอมรับรัฐธรรมนูญ 2550 เราต้องไปอ่านฉบับ 2549 ด้วย เพราะจากมาตรา 299 เท่ากับว่าเนื้อความทั้งหมดในฉบับ 2549 เป็นส่วนหนึ่งของฉบับ 2550 ครับ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: jerasak ที่ 20-04-2007, 13:17 เพิ่มเติมสักหน่อยเพื่อความชัดเจนว่าผมเห็นด้วยกับมาตรา 299 นี้หรือไม่นะครับ
ส่วนตัวผมเองไม่มีปัญหากับเรื่องนี้ เพราะหากไม่มีมาตรานี้เอาไว้ผมคิดว่าจะเกิดปัญหา โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ที่ตั้งขึ้นระหว่างการยึดอำนาจจนมี รัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งจะเกิดความยุ่งยากในการตีความบังคับใช้กฎหมายไปกันใหญ่ และขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่มีผลอะไรกับการนิรโทษกรรม เพราะเป็นแค่การประกาศซ้ำเท่านั้น จุดที่มีผลจริงๆ คือสถานะขององค์กรหน่วยงานต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาและต้องทำงานต่อไป ตลอดจนรับรองความชอบด้วยกฎหมายในการปฏิบัติงานองค์กรหน่วยงานดังกล่าวครับ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 20-04-2007, 13:23 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ผ่านประชามติอยู่แล้วว :slime_bigsmile:
เขียนไรก็เขียนไปเหอะ แต่รับรองว่าไม่เขียนถ้อยคำ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแน่นอน และไม่ยกถ้อยคำที่อ่านกันว่าเพื่อนิรโทษกรรมออกแน่นอน คุณเกล็ดหิมะเตรียมโกนหัวไปร่วมกับพระมหาโชได้เลยค่ะ หนูเอาใจช่วย หนูก็อยากให้รัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่านประชามติค่ะ หนูไม่อยากได้นายกที่มาจาก สส. :slime_v: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 20-04-2007, 13:24 มาคราวนี้ ได้บัญญํติไว้ในมาตราสุดท้ายของร่างรัฐธรรมนูญนี้ว่า "บรรดาการใดๆ ที่ รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ว่าเป็น การชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญนี้" ในความเห็นผมต่อให้ตัดมาตรานี้ออกก็ไม่มีผลอะไรกับการความผิดเรื่องยึดอำนาจ 19 ก.ย. 49 เพราะ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 ก็มีสภาพบังคับแทนที่ฉบับ พ.ศ. 2540 โดยสมบูรณ์ และได้รับรองการยึดอำนาจไปเรียบร้อยแล้ว (และในขณะนี้ไปจนถึงเมื่อฉบับ พ.ศ.2550 ออกมา รธน.ฉบับชั่วคราว 2549 ก็มีผลบังคับโดยสมบูรณ์ด้วย เรื่องนิรโทษกรรมจึงมีผลไปแล้วครับ) การที่มาระบุใน รัฐธรรมนูญ 2550 มาตราสุดท้ายอีกเป็นแค่การระบุว่าฉบับนี้ก็รับรองฉบับชั่วคราว แต่ไม่ได้มีผลอะไรกับสภาพบังคับที่มีอยู่ก่อนฉบับ พ.ศ.2550 นะครับ ก็เหมือนกับสภาพบังคับของ ฉบับ 2540 ที่มีมาก่อนการยึดอำนาจ ต่อให้ฉบับ 2549 และ 2550 ไม่ระบุรับรองก็ไม่มีผลอะไร แต่จุดสำคัญอยู่ที่ข้อความ "ไม่ว่าก่อนหรือหลัง" ต่างหาก ซึ่งมีใจความสำคัญสรุปง่ายๆ เท่ากับว่า ให้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 เป็นส่วนหนึ่งในรัฐธรรมนูญ 2550 ครับ คือให้มีผลบังคับคู่กันไปกับ เนื้อความในรัฐธรรมนูญ 2550 (ตลอดไป) ถ้าจะประท้วงอะไรกันจึงควรไปเล่นประเด็นนี้เพราะเท่ากับสอดใส้ 2549 เข้ามาใน 2550 ทั้งหมด แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมที่มีผลสมบูรณ์ไปแล้วเมื่อออกฉบับชั่วคราว 2549 และถ้าจะไม่ทักท้วงมาตรานี้การพิจารณายอมรับรัฐธรรมนูญ 2550 เราต้องไปอ่านฉบับ 2549 ด้วย เพราะจากมาตรา 299 เท่ากับว่าเนื้อความทั้งหมดในฉบับ 2549 เป็นส่วนหนึ่งของฉบับ 2550 ครับ ตามที่คุณ jerasak เข้าใจนั้นแหละค่ะ ถึงได้เรียกว่า ศรีธนญชัย ก่อนและหลัง = ตลอดไป ตราบเท่าที่ ฉบับ 2550 มีผลบังคับใช้ นั่นคือ ขยายอำนาจ คณะรัฐประหารต่อไป แม้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้ว คิดในมุมกลับ คนที่เขียนแบบนี้อาจอยากให้ไม่ผ่านการรับรอง เช่นที่คุณ Nai_puan ตั้งข้อสังเกตมา หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 20-04-2007, 14:03 ผมจำได้คลับคลายคลับคา .............ตอนที่รสช. สั่งยึดทรัพย์ นักการเมืองหลายคนในครั้งนั้น....แต่พอต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญ ปี 40 ........นักการเมืองเล่านั้นทั้งหมด หลุดข้อกล่าวหา เนื่องจากประเด็นอำนาจของ รสช.....ใครจำได้ลองเล่าให้ฟังเพื่อทบทวนหน่อยก็ดีน๊ะครับ คณะ รสช. ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ด้วยความกลัวว่า พล.อ.ชาติชาย จะปลดพวกเขา บรรดานายพล จปร.รุ่น 5 ที่เรืองอำนาจในขณะนั้น.... จึงหยิบยกเรื่องการคอรั่ปชั่น "บุพเฟต์คาบิเนต" เป็นข้ออ้าง..... หลังจากยึดอำนาจสำเร็จ ได้แต่งตั้งให้พล.อ.สิทธิฯ เป็นประธานสอบสวนและวินิจฉัย ทำนอง"ศาลเตี้ย" เพื่อไล่ต้อนนักการเมือง"ปากมอม"เข้าคอกของคณะ รสช. โดยไม่ผ่านขบวนการศาลสถิตยุติธรรม..... นักการเมือง"ปากมอม" จึงยอมเข้าพรรคฯ และยอมเลือก พล.สุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี สืบสานอำนาจกลุ่ม รสช.และ จปร.5... ภายหลัง"พฤกษภาทมิฬ 35" ขับไล่คณะ รสช. ได้รัฐบาลใหม่แล้ว นักการเมืองที่ไม่ยอม"สยบ" และ หนีไปพำนักต่างประเทศ ได้กลับเมืองไทยและฟ้องศาลฯ ศาลฯได้วินิจฉัยว่า การใช้อำนาจคณะตรวจสอบ(ลืมชื่อไปแล้ว)ไม่ถูกต้อง ไม่มีกฎหมายรองรับ ดังนั้นการตรวจสอบ การยึดทรัพย์ จึงเป็น"โมฆะ"..... คณะรัฐประหารนี้(คมช.)และรัฐบาลนี้ ไม่มีเจตนาจะต้อนนักการเมือง"ปากมอม"เข้าคอก แต่ต้องการให้มีการลงโทษ เพื่อให้สมเหตุสมผลในการทำรัฐประหาร จึงตั้งคณะ คตส. และให้นำผลการตรวจสอบ ผ่านขบวนการยุติธรรม ให้อัยการกล่าวโทษ และศาลสถิตยุติธรรม เป็นผู้พิจารณา.... ในขณะนี้พฤติกรรมของผู้มีอำนาจทำการรัฐประหาร สองครั้งสองครานี้ จึงมีความแตกต่างกัน....... ขอบคุณครับท่าน ปุฯ.......นั่นไง ผมนึกแล้ว ว่ามันจะมีความสำคัญอะไร กับ คำพูดไม่กี่คำ ของรัฐธรรมนุญฉบับใหม่.....บรรดาลิ่วล้อทักษิณ ทำเป็นเบี่ยงเบนประเด็น เพียงเพื่อให้ท่านเทพทักษิณ หลุดพ้นข้อกล่าวหา ด้วยฏีกาเดียวกับ การพิจารณาในครั้ง รสช. ............. คุณ snow ยืนยัน อยู่บ่อย ๆ ว่าไม่ได้เชียร์ทักษิณ........แต่อ่านบอร์ดมาปีกว่า ผมเห็นเหน็บแนม สนธิ กับ คมช. ด้วยสมองที่คิดว่าตนเองฉลาดหลักแหลม ซะเหลือเกิน........ขณะที่ท่านเทพทักษิณ โกงมา 5 ปีกว่า คุณ snow มองไม่เห็น ....55555.... หรือว่า มีสมองอยู่ครึ่งเดียว คร๊าบบบบบบบบบบบบบบ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: cameronDZ ที่ 20-04-2007, 14:17 55555
ชอบคำ "เทพทักษิณ" อินเทรนด์เป๊ะ เพราะกำลังมีกระแส จะยกชั้น ท่านทักษิณ ไปเทียบเท่า เทพจตุคาม แล้วเหมือนกัน เอิ๊ก ๆ ๆ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: morning star ที่ 20-04-2007, 14:59 ไปอ่านตามลิงค์ที่ จขกท ให้มาแล้วครับ..ตั้งใจจะเขียน แต่พอดีเห็นคุณพระพายเขียนไว้แล้ว ก็เลยคิดว่าให้อ่านของแกดีกว่า :slime_smile:
จะขอเสริมแค่ว่า ถ้าได้อ่านมาตรา 299 ก็ต้องกลับไปอ่านรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 ....จริง ๆ ถ้าย้อนกลับไปดู สมัย 2534 ก็มีบทบัญญัติทำนองนี้เขียนไว้เหมือนกัน...แต่ รธน 2540 ไม่ได้ระบุไว้ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มาจากการยึดอำนาจ...ผมเชื่อว่ารัฐธรรมนูญที่มาจากการยึดอำนาจคงต้องมีบทบัญญัติทำนองนี้ไว้ด้วย เพื่อป้องกันการมีปัญหาจากกรณีการทำงานโดยคำสั่งของคณะปฏิวัติ ที่อาจมีเวลาล่วงจนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้ (คงไม่ต้องยกตัวอย่าง) ผมเห็นด้วยกับคุณพระพายนะครับที่ว่าเค้าไม่กล้าทำอะไรบุ่มบ่ามหรอก เพราะประชาชนจับตาดูอยู่ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 20-04-2007, 17:15 คุณ snow ยืนยัน อยู่บ่อย ๆ ว่าไม่ได้เชียร์ทักษิณ........แต่อ่านบอร์ดมาปีกว่า ผมเห็นเหน็บแนม สนธิ กับ คมช. ด้วยสมองที่คิดว่าตนเองฉลาดหลักแหลม ซะเหลือเกิน........ขณะที่ท่านเทพทักษิณ โกงมา 5 ปีกว่า คุณ snow มองไม่เห็น ....55555.... หรือว่า มีสมองอยู่ครึ่งเดียว คร๊าบบบบบบบบบบบบบบ ทักษิณเลวยังไง ก็ไม่ทำให้รัฐประหารเป็นวิธีการที่ถูกต้องขึ้นมาได้ ถ้าคุณแยกแยะสองเรื่องนี้ไม่ออก จะบอกว่ามีสมองมาก แต่ก็คงไว้เก็บ ความคิดคับแคบแบบที่แสดงออกมา ความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่ได้เกี่ยวกับโง่ฉลาดเสมอไป เป็นเรื่องเจตคติ ซึ่งไม่ขึ้นกับการศึกษา ที่ก็ไม่ได้มีสอนไว้ ดังนั้นรากหญ้าไม่แน่ว่าจะโง่งมงายอย่างที่โดนตราหน้า จากปัญญาชน และคนมีเกียรติมีเงินมากกว่า ที่ถือตัวว่ารู้ดี หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 20-04-2007, 17:44 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ผ่านประชามติอยู่แล้วว :slime_bigsmile: เขียนไรก็เขียนไปเหอะ แต่รับรองว่าไม่เขียนถ้อยคำ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแน่นอน และไม่ยกถ้อยคำที่อ่านกันว่าเพื่อนิรโทษกรรมออกแน่นอน คุณเกล็ดหิมะเตรียมโกนหัวไปร่วมกับพระมหาโชได้เลยค่ะ หนูเอาใจช่วย หนูก็อยากให้รัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่านประชามติค่ะ หนูไม่อยากได้นายกที่มาจาก สส. :slime_v: หาเพื่อนหรือคะ? สงสัยคุณ พรรณชมพู คงโกนหัวประท้วงไปตั้งแต่วันที่ทราบแน่ว่า รัฐบาลไม่สั่งปิดสนามบินสุวรรณภูมิที่เสียหาย 100% ในความเห็นคุณ หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: 55555 ที่ 21-04-2007, 09:21 คุณ snow ยืนยัน อยู่บ่อย ๆ ว่าไม่ได้เชียร์ทักษิณ........แต่อ่านบอร์ดมาปีกว่า ผมเห็นเหน็บแนม สนธิ กับ คมช. ด้วยสมองที่คิดว่าตนเองฉลาดหลักแหลม ซะเหลือเกิน........ขณะที่ท่านเทพทักษิณ โกงมา 5 ปีกว่า คุณ snow มองไม่เห็น ....55555.... หรือว่า มีสมองอยู่ครึ่งเดียว คร๊าบบบบบบบบบบบบบบ ทักษิณเลวยังไง ก็ไม่ทำให้รัฐประหารเป็นวิธีการที่ถูกต้องขึ้นมาได้ ถ้าคุณแยกแยะสองเรื่องนี้ไม่ออก จะบอกว่ามีสมองมาก แต่ก็คงไว้เก็บ ความคิดคับแคบแบบที่แสดงออกมา คุณ snow ผู้มีความคิดกว้างไกล ยึดมั่นในประชาธิปไตยอย่างเหนียวแน่น........ยังคงยึดถือประชาธิปไตย แบบระบอบทักษิณ เป็นสิ่งที่ถูกต้องกว่ารัฐประหารหน่อมแน้มแบบ คมช. เป็นรัฐประหารที่ผู้คนออกมาด่าทหารได้ตามอำเภอใจ....เป็นรัฐประหาร ที่ยอมให้ ม๊อบทรพีชุมนุมด่าที่สนามหลวง ..........คุณ snow ยังเห็นดีเห็นงาม ไปกับ ประชาธิไตยแบบทักษิณ ที่ ยึดองค์กรอิสระ อย่าง กกต. ปปง. แล้วยังครอบครองวุฒิสภา.....คุณ snow ยังแอบยกย่องรัฐบาลที่คอรัปชั่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย(ย้ำครับ "แอบยกย่อง").... รัฐบาลประชาธิปไตย ที่ยุบสภาหนีการอภิปราย รวมทั้ง นายกรัฐมนตรี ที่ไม่เคยมาตอบกระทู้สภา คุณ snow ยังเห็นว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย......คุณ snow ช่างมีความคิดที่กว้างไกลจริง ๆ ที่ชอบกล่องสวย ๆ มากกว่าของที่อยู่ในกล่อง :slime_smile: ความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่ได้เกี่ยวกับโง่ฉลาดเสมอไป เป็นเรื่องเจตคติ ซึ่งไม่ขึ้นกับการศึกษา ที่ก็ไม่ได้มีสอนไว้ ดังนั้นรากหญ้าไม่แน่ว่าจะโง่งมงายอย่างที่โดนตราหน้า จากปัญญาชน และคนมีเกียรติมีเงินมากกว่า ที่ถือตัวว่ารู้ดี ถูกต้องแล้วครับ........ความคิดแบบตัวแดง ๆ นั่นแหละที่ถือว่าคับ แคบ ..........รากหญ้า ไม่ได้โง่เสมอไป........แต่รากหญ้า โดนนักธุรกิจการเมืองหลอกมาตลอด 5 ปี .......นักการเมืองเลว ๆ อาศัยรากหญ้ามาอ้างเพื่อความชอบธรรม ...แม้แต่คุณ snow ก็ยังเอามาอ้างเพื่อความชอบธรรม ลองไปอ่านกระทู้นี้ก่อนแล้วเข้าไปแย้งซิ ว่ามีเหตุผลยังไง http://forum.serithai.net/index.php?topic=13419.0 :slime_smile: "คนมีเกียรติมีเงินมากกว่า ที่ถือตัวว่ารู้ดี" คนแบบนี้ไงครับ ที่ตอนนี้ไม่มีแผ่นดินอยู่ :slime_bigsmile: ปล. ลองไปอ่านความเห็นผมใหม่ตรงไหนที่ผมว่าคนอื่น........"ย้ำอีกที"ที่เขียนไปทั้งหมด ผมหมายถึง คุณ snowflake ตรง ๆ :slime_bigsmile: เข้าใจภาษาอังกฤษแต่ไม่เข้าใจภาษาไทย :slime_bigsmile: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: ********Q******** ที่ 21-04-2007, 13:56 มาตรา 299 เราต้องพูดกันบนพื้นดิน ไม่ใช่พูดกันบนหอคอยหรือได้ดินครับ ผมอยู่บนดิน ขอบอกว่า ไม่มีปัญหา เป็นเรื่องปกติครับ การที่อำนาจเก่าหรือใหม่จะสืบทอดได้หรือไม่ ยังไม่สำคัญว่า ยังรักษาเส้นทางที่ถูกต้องได้หรือไม่?? ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาปสูญทั้งสิ้น ใครที่เชียร์เหลี่ยมไม่เปลี่ยนใจ ก็ดูเหลี่ยมเป็นตัวอย่างก็ได้ หากเขาเลว เชียร์ยังไง จะโดยตรงหรือโดยอ้อมอย่างไร ก็มีแต่ผลเสียมากขึ้นกว่าเดิม... หวังว่าสโนว์ผู้ตั้งกระทู้และอีกหลายๆท่านจะได้อ่านได้คิดครับ ยกตัวอย่าง ก็พวกมีนิสัยแถไถเป็นนิจ ต้องพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการแยกแยะกันให้ดี อย่าไปเกาะหรือสร้างกระแสจุดประเด็น สนับสนุน แบบตามแห่กัน มีแต่ผลเสียต่อบ้านเมืองมากกว่าครับ ใครจะเคลื่อนไหวอย่างไรให้สร้างสรรค์ก็คงต้องคิดกันให้ดี ส่วนรากหญ้า ปล่อยเขาทำมาหากินและพัฒนาตนเอง ถึงเวลาที่เหมาะสมเขาก็จะทำประโยชน์ให้สังคมได้เอง สรุปว่า การเมืองไปฉุดเอารากหญ้ามาทำอะไรก็ตามเสียเอง ไม่เหมาะที่ใครจะไปอ้างหรือพูดแทนรากหญ้า...ประชานิยมที่ทำไม่ได้ เกิดผลเสียมากกว่าผลดีจึงเป็นการหลอกลวงรากญ้าทั้งประเทศ เรียกว่าเลวบริสุทธิ์ หลายๆเท่ากว่าพวกสาวกโง่งมหรือแนวร่วมที่อ้างรากหญ้าในการนำเสนอความคิดทางการเมืองเสียอีก :slime_cool: หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: Cherub Rock ที่ 23-04-2007, 05:53 ทักษิณเลวยังไง ก็ไม่ทำให้รัฐประหารเป็นวิธีการที่ถูกต้องขึ้นมาได้ ทำนองเดียวกับ ฆาตรกรชั่วช้ายังไง ก็ไม่ทำให้โทษประหารถูกหลักสิทธิมนุษยชนขึ้นมาได้ อืมม์ :slime_whistle: ฆาตรกรบางคนมันก็โห้ดด โหด นะ ทั้ง ปล้น ฆ่า ข่มขืน ทรมาณ ยิงกบาล ตัดคอ ควักไส้ กินตับ ฯลฯ :slime_sentimental: ไอ้มือปืนเกาหลีนั่นก็ฆ่าได้กระทั่งอาจารย์ เพื่อนร่วมโรงเรียน (โหดกว่าเด็กช่างบ้านเรา ฆ่าแต่โรงเรียนคู่อริ) หัวข้อ: มาตรา 299 ซ่อนอะไรไว้ จดหมายเปิดผนึกโต้กรรมาธิการยกร่าง เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 30-05-2007, 19:54 มาตรา 299 ซ่อนอะไรไว้ จดหมายเปิดผนึกโต้กรรมาธิการยกร่าง
โดย ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนส่วนใหญ่ไม่สนใจมาตรา 299 ในร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ก็มองเพียงแค่ว่าเป็นการ นิรโทษกรรมผู้ก่อการรัฐประหาร แต่จริงๆ แล้ว มาตรานี้มีอะไรที่ร้ายแรงกว่านั้น ซึ่ง บทความนี้จะได้วิเคราะห์กันอีกครั้ง เพื่อให้ท่านกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้โปรดทบทวนจุดยืนของท่าน 1. เนื้อความมาตรา 299 มาตรา 299 "บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ ชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง การ กระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือ ว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้" เนื้อความเขียนไว้อย่างนี้ อย่าว่าแต่คนทั่วไปเลย นักกฎหมายบางคนยังไม่เข้าใจอีกด้วย หรือท่านกรรมาธิการประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น? 2. ย้อนดู รธน. ชั่วคราว 2549 ถ้าต้องการจะเข้าใจมาตรา 299 ต้องย้อนกลับไปดูมาตรา 36 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ ชั่วคราว พ.ศ. 2549 ความว่า "บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้ รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติ- บัญญัติในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปและให้ถือว่าประกาศ หรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือ คำสั่งนั้นจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือ การปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" 3. คำอธิบายประกอบ 3.1 หลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คำว่า "ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" นั้นมีความหมายพิเศษเฉพาะ เพราะเกี่ยวกับหลักกฎหมาย ที่เรียกว่า "หลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" (Constitutionality) ซึ่งในประเทศที่มี รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ถือว่าเป็นหลักการสำคัญที่ศาลใช้ในการควบคุมมิให้ กฎหมาย หรือการกระทำต่างๆ ของรัฐขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดกติกาของประเทศ และเป็นหลัก ประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงต้องมีกลไกในการควบคุมมิให้กฎหมายหรือการ กระทำของรัฐขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้องค์กรรัฐใช้อำนาจไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนและก้าวล่วงอำนาจขององค์กรอื่นๆ จนทำลายดุลยภาพของอำนาจ นำไปสู่ การล้มล้างระบบกฎหมายและระบอบการปกครองที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นในท้ายที่สุด เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในตัวรัฐธรรมนูญเองว่า "สิ่งใดชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" แล้ว จึง เท่ากับเป็นการปิดทางมิให้ศาลพิพากษาว่าสิ่งนั้นขัดรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจริงๆ แล้ว เนื้อหา สาระของสิ่งนั้นอาจจะข้ดกับหลักการที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างร้ายแรงก็ได้ ดังนั้น การบัญญัติว่ สิ่งใดชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงทำลายคุณค่าความเป็นกฎหมายสูง สุดของรัฐธรรมนูญและหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 3.2 หลักนิติธรรมหรือนิติรัฐ หลัก "นิติธรรม" (Rule of Law) หรือ "นิติรัฐ" (Legal State) อาจมีเนื้อหาสาระ แตกต่างกันบ้างตามแต่ประเทศเจ้าของหลักการ แต่มีจุดร่วมกันประการหนึ่งคือ การใช้ อำนาจรัฐที่กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ และจะต้อง กระทำโดยถูกต้องตามกฎหมายทั้งในแง่เนื้อหาสาระ กระบวนการ และวัตถุประสงค์ และที่สำคัญ หลักการดังกล่าวจะเป็นจริงได้ ก็ต่อเมื่อมีองค์กรศาลที่เป็นอิสระเข้ามา ควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐว่าได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือชอบด้วย รัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ ในประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเป็นเครื่องจำกัดอำนาจของ รัฐสภา ถือว่ารัฐสภาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย (Parliamentary Sovereignty) เพราะประกอบด้วยผู้แทนประชาชน กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาหรือพระ- ราชบัญญัติจึงถือเป็นสิ่งสูงสุดในระบบกฎหมาย และศาลไม่มีอำนาจพิพากษาว่า พระ- ราชบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ ด้วยเหตุที่ฝ่ายบริหารอังกฤษครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ทำให้รัฐสภามีแนวโน้วตรากฎหมายให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารมากขึ้นๆ และบางครั้งมากถึงขนาดที่ว่า ต้องการให้อำนาจนั้นเป็นอำนาจโดยแท้ของฝ่ายบริหาร และไม่ต้องการให้ศาลเข้าตรวจสอบ บทบัญญัติทำนองนี้เรียกว่า "Ouster Clause" เริ่มต้นจากกฎหมายฉบับหนึ่งบัญญัติว่า คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุดและเด็ดขาด (Final and Conclusive) แต่เมื่อประชาชนนำคดีไปสู่ศาล ศาลอังกฤษกลับวินิจฉัยว่า คำสั่งดังกล่าวจะเป็นที่สุดและเด็ดขาดก็ต่อเมื่อเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น รัฐสภาอังกฤษไม่พอใจและแก้ไขกฎหมายเสียใหม่ว่า คำสั่งของรัฐมนตรีให้ถือเสมือน หนึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น (As if enacted) ซึ่งตามทฤษฎีอำนาจอธิปไตยของ รัฐสภาดังกล่าว ศาลน่าจะตรวจสอบไม่ได้ แต่ศาลก็ได้ตัดสินว่า คำสั่งดังกล่าวจะถือเป็น กฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น ก็ต่อเมื่อ เป็นคำสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จนในที่สุด รัฐสภางัดไม้ตายเขียนกฎหมายตรงๆ เลยว่าคำสั่งของรัฐมนตรีไม่อาจถูกโต้ แย้งในศาลใดๆ ได้ (Decisions made by the Minister shall not be questioned in any court of law) แต่ผลลัพธ์ก็ยังเหมือนเดิม ศาลอังกฤษยังคงยึดมั่นในหลักนิติ- ธรรม จึงพิพากษาว่าคำสั่งของรัฐมนตรีที่ชอบด้วยกฎหมายย่อมไม่อาจถูกโต้แย้งในศาล ใดๆ ได้ แต่ในคดีนี้ ขอศาลตรวจดูให้ดีเสียก่อนว่า คำสั่งดังกล่าวนั้นชอบด้วยกฎหมาย จริงหรือไม่ ส่งผลให้รัฐสภาอังกฤษเลิกความพยายามที่จะให้อำนาจเด็ดขาดที่ปราศจากการตรวจ สอบให้แก่ฝ่ายบริหาร และศาลอังกฤษก็ได้อ้างหลักนิติธรรมเป็นรากฐานในการปฏิเสธ บทบัญญัติกฎหมายในลักษณะดังกล่าวมาโดยตลอด ทั้งนี้ ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน อนึ่ง บรรพตุลาการไทยในอดีตนั้นยอดเยี่ยมไม่น้อยหน้าตุลาการอังกฤษ คดีหลายคดี ล้วนแล้วแต่สะท้อนหลักนิติธรรมไทยเพื่อคุ้มครองประชาชนจากการใช้อำนาจรัฐโดย มิชอบ ตัวอย่างเช่นคำพิพกาษาฎีกาที่ 646-647/2510 (ประชุมใหญ่) เป็นบรรทัดฐานตราบ จนปัจจุบันว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่พระราช บัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 กำหนด "ให้เป็นที่สุด" นั้น หมายความว่า คำวินิจฉัยนั้นจะเป็นที่สุดก็คือเมื่อเป็นคำ วินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมิได้หมายความว่าแม้คำวินิจฉัยนั้นจะไม่ถูกต้องตาม กฎหมายก็จะถึงที่สุด นำมาฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ไปด้วย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาได้ ว่า คำวินิจฉัยนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีคำพิพากษาฎีกาที่ 913/2536 (ประชุมใหญ่) ซึ่งก่อนอื่น ขออธิบาย ว่า ในปี 2534 นั้นเรามีรัฐธรรมนูญสองฉบับ ฉบับแรกคือ ธรรมนูญการปกครองราช- อาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เรียกย่อๆ ว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราว"34 ประกาศใช้หลังการ รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกันไม่นานนัก และฉบับที่สองคือ รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เรียกโดยย่อว่ารัฐธรรมนูญถาวร"34 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 ในคดีนี้ ศาลฎีกาพิพากษาว่าประกาศ รสช. เรื่อง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ใช้บังคับมิได้ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญถาวร"34 มาตรา 222 ได้บัญญัติไว้อย่างชัด แจ้งว่า "ประกาศหรือคำสั่งของ รสช....ให้มีผลใช้บังคับต่อไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" แต่ศาลฎีกากลับเพิกเฉยและหลีกเลี่ยงไม่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาวินิจฉัยเลย โดยอธิบายว่า ประกาศ รสช.ดังกล่าวสิ้นสภาพบังคับไปแล้วตั้งแต่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญถาวร จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยผลของมาตรา 222 นี้ ก่อนหน้านั้น ศาลตีความมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว"34 ที่รับรองว่า ประกาศ รสช. นั้นชอบด้วยกฎหมาย ว่าหมายถึงมีผลใช้บังคับได้ดังเช่นกฎหมาย แต่ไม่ได้หมาย- ความว่าจะสามารถขัดหรือแย้งต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งรับรองไว้ในมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว"34 ซึ่งมี ค่าบังคับเป็น "หลักกฎหมายทั่วไปในระดับรัฐธรรมนูญ" ได้ จึงไม่ใช่กฎหมายที่มีอยู่ใน วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญถาวร"34 มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราว"34 รับรองไว้เพียงแค่ว่าประกาศ รสช. ชอบ ด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้รับรองถึงขนาดว่าประกาศ รสช. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังเช่นที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญถาวร"34 จึงเป็นช่องทางให้ศาลฎีกาใช้ในการควบคุมตรวจ สอบโดยย้อนเวลากลับไปใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว"34 ทั้งๆ ที่ได้ตัดสินคดีนั้นในปี 2536 อันเป็นช่วงที่ใช่รัฐธรรมนูญถาวร"34 แล้ว 3.3 "วัตถุ" ที่ศาลมุ่งควบคุมตรวจสอบ "วัตถุ" (Object) ที่ศาลควบคุมตรวจสอบอาจแบ่งได้เป็นสองลักษณะคือ (1) ตัวบุคคล (Person) หรือเจ้าหน้าที่ผู้กระทำการโดยใช้อำนาจรัฐ (2) การกระทำ (Act) ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะแสดงออกในรูปต่างๆ อาทิ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎกระทรวง คำสั่งทางปกครอง หรือการ กระทำทางกายภาพ เช่น การเข้ารื้อถอนอาคาร สมมุติว่า รัฐมนตรี ก. ออกใบอนุญาตโรงงานให้แก่ผู้ประกอบการรายหนึ่งโดยรับสินบน ทั้งๆ ที่ตามกฎหมายแล้วไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ ต่อมาเมื่อผู้เกี่ยวข้องฟ้องร้อง ต่อศาลปกครอง ศาลจะตรวจสอบว่าการกระทำของรัฐมนตรีที่แสดงออกในรูปใบอนุญาต (คำสั่งทางปกครอง) ว่ากระทำโดยมีอำนาจหรือไม่ เป็นไปตามหลักเกณฑ์กฎหมายหรือ ไม่ ฯลฯ ถ้าไม่ ศาลปกครองก็จะพิพากษาว่า การออกใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายและ สั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น กรณีนี้ เห็นได้ชัดว่าศาลปกครองควบคุม "การกระทำ" ของ รัฐมนตรีที่แสดงออกในรูปใบอนุญาต หรือหากมีการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม เมื่อศาลตัดสินว่ารัฐมนตรี ก.รับสินบนจริง มีความ ผิด ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำคุก รัฐมนตรี ก.จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า "วัตถุ" ที่ศาล ยุติธรรมมุ่งตรวจสอบคือ "ตัวบุคคล" โดยพิเคราะห์จาก "การกระทำ" และ "เจตนา" ของคนคนนั้น อนึ่ง "การกระทำ" ครั้งเดียวอาจก่อให้เกิดความรับผิด (Liability) ได้หลายสถานเช่น ความรับผิดทางอาญา ทางแพ่ง ทางรัฐธรรมนูญ (เช่น ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง) หรือทางวินัยสำหรับข้าราชการซึ่งความรับผิดแต่ละอย่างจะมีวัตถุประสงค์แห่งการลง- โทษแตกต่างกันออกไป 4. เหตุผลของกรรมาธิการ จากบทสัมภาษณ์ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์และการพูดคุยกับกรรมาธิการบางท่านสรุป เหตุผลของการมีมาตรา 299 ได้ว่า 4.1 ถ้าไม่มีมาตรานี้ ไม่แน่ใจว่าเมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว คตส. ที่ตั้งขึ้น ตาม ประกาศ คปค. จะมีอำนาจดำเนินการต่อไปหรือไม่ จึงต้องเขียนรองรับเอาไว้ 4.2 ป้องกันไม่ให้คนมาฟ้องว่า ส.ส.ร. ชุดนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตั้งโดย คมช. หรือ คตส. นั้น ไม่มีหน่วยงานใดๆ หรือกฎหมายใดให้ความคุ้มครองเลย ทั้งที่เสีย สละเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ จึงอยากให้มีการคุ้มครอง คตส. 5. ผลของร่างมาตรา 299 ประกอบมาตรา 36 5.1 ประกาศหรือคำสั่งต่างๆ ของ คปค.ย่อมถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 5.2 การกระทำตามประกาศหรือคำสั่งต่างๆ ดังกล่าวย่อมถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ 5.3 ผลที่ตามมาก็คือ หากตีความตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัด ศาลย่อมไม่ สามารถพิพากษาได้ว่า ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำต่างๆ ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ และไม่มีผลใช้บังคับได้ ในด้านหนึ่ง เป็นจริงอย่างที่กรรมาธิการท่านว่าไว้คือ มาตรานี้เป็นการคุ้มครอง "ตัว บุคคล" เช่น กรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ไม่ให้ถูกฟ้องร้องได้ ไม่ว่าทางแพ่งหรือทาง อาญา หรือแม้จะถูกฟ้องร้อง แต่ศาลก็ต้องตัดสินว่าไม่ผิด และไม่มีความรับผิด อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง กลับเป็นการคุ้มครอง "การกระทำ" ของบุคคลดังกล่าว เช่น การออกคำสั่ง การสอบสวน ฯลฯ โดยไม่คำนึงว่า "การกระทำ" เหล่านี้ได้กระทำ โดยถูกต้องหรือไม่ โดยบทบัญญัติมาตรา 299 จะบังคับให้ศาลตัดสินว่า การกระทำ เหล่านี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 6. มาตรา 299 ร้ายแรงอย่างไร 6.1 ทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและหลักความชอบด้วยรัฐ- ธรรมนูญที่ร่างรัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ในมาตรา 6 เพราะประกาศ หรือคำสั่ง คปค. และการกระทำต่างๆ ตามประกาศที่แม้จะขัดรัฐธรรมนูญ ก็ใช้บังคับได้ 6.2 ทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและหลักความชอบด้วยรัฐ- ธรรมนูญที่ร่างรัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ในมาตรา 6 เพราะประกาศ หรือคำสั่ง คปค. และการกระทำต่างๆ ตามประกาศที่แม้จะขัดรัฐธรรมนูญ ก็ใช้บังคับได้ 6.2 ทำลายหลักนิติธรรมหรือนิติรัฐที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ในมาตรา 3 เพราะมีผลเป็น การจำกัดอำนาจศาล ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง แล้วแต่ กรณี ในการจะวินิจฉัยว่าประกาศคำสั่ง หรือการกระทำตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ขัดรัฐธรรมนูญ 6.3 เช่นเดียวกัน เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศ คำสั่ง หรือ การกระทำดังกล่าว มิให้ได้รับการเยียวยาทางกฎหมาย 6.4 ที่สำคัญ เป็นวิธีการเขียนรัฐธรรมนูญที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม วันหน้าใครมีอำนาจ ในบ้านเมือง นึกจะออกกฎหมาย จะเขียนรัฐธรรมนูญให้มีเนื้อหาสาระอย่างไรก็ได้ ทั้งๆ ที่อาจจะขัดต่อหลักกฎหมาย แล้วเราจะเรียนจะสอนนิติศาสตร์ไปทำไมกัน 6.5 อย่างไรก็ตาม หากท่านกรรมาธิการแย้งว่า คดีที่ยกมาในข้อ 3.2 ก็สะท้อนแล้วว่า ข้อ 6.1-6.3 จะไม่เกิดขึ้น แต่หากท่านลองคิดดีๆ การที่ศาลไทยและอังกฤษวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าว แสดงว่า การบัญญัติกฎหมายไว้เช่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ใช่หรือไม่ ศาลจึงไม่บังคับให้ได้ผล ตามนั้น 7. มีวิธีการเขียนอย่างอื่นหรือไม่ เหตุผลที่ท่านกรรมาธิการอ้างทั้งสองข้อนั้น น่าสงสัยเหมือนกันว่าหวังผลจริงๆ เพียง เท่านั้นหรือไม่ เนื่องจาก 7.1 หากต้องการรับรององค์กรที่ตั้งขึ้นโดยประกาศ คปค. ให้ทำงานต่อไปได้ ทำไม ไม่เขียนลงไปในรัฐธรรมนูญ เช่น "ให้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้ เกิดความเสียหายต่อรัฐมีอำนาจและหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ในประกาศ คปค.ฉบับ... และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ" 7.2 หรือถ้าต้องการคุ้มครอง "ผู้เสียสละต่อชาติบ้านเมือง" จริง ทำไมไม่บัญญัติชัดๆ เลยว่า "ให้บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่ว- คราว 2549 และประกาศ คปค. ฉบับ... พ้นจากความผิดและความรับผิดทั้งปวง อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตในตำแหน่งดังกล่าว ไม่ว่าการปฏิบัติ หน้าที่นั้นจะกระทำขึ้นก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้" เนื้องความข้างต้น น่าจะตรงตามความประสงค์ที่ท่านกล่าวอ้างไว้มากกว่าซะอีก 8. ความส่งท้าย 8.1 ไม่ได้เพิ่งจะออกมาคัดค้านมาตรา 299 แต่วิจารณ์มาตั้งแต่เห็นมาตรา 36 ของ รัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว ในบทความชื่อ "บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ไม่ควรมอง ข้าม" หนังสือพิมพ์มติชน 19 ตุลาคม 2549 ซึ่งได้ดักคอไว้ล่วงหน้าแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่จะจัดทำขึ้นใหม่ต้องมีบทบัญญัติหน้าตาทำนองนี้แน่ 8.2 ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อยากให้เอาผิด ส.ส.ร. คตส. หรือแม้แต่ คมช. เลย แต่ใน ฐานะนักวิชาการคงต้องแย้งสิ่งที่ผิดปกติ โดยเฉพาะประเด็นที่สังคมมองข้าม 8.3 ไม่ได้ค้านร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ "ติเพื่อก่อ" อยากให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดี ที่สุดเหมือนท่านนั่นแหละ 8.4 ยังไงก็ตาม เห็นว่าไม่ควรบัญญัติเนื้อหาตามข้อ 7.1 หรือ 7.2 ไว้ในรัฐธรรมนูญ ลำพังเพียงแค่การออกเป็นพระราชบัญญัติก็มากเพียงพอแล้ว สุดท้าย ขอเรียกร้องบรรดาอาจารย์ที่สอนกฎหมายและตุลาการทั้งหลายที่นั่งในคณะ กรรมาธิการยกร่าง ถ้าท่านยังเชื่อว่านิติศาสตร์เป็น "ศาสตร์" ที่มีหลักการไม่ใช่แค่ "เทคนิค" ในการเขียนการใช้กฎเกณฑ์ เชื่อในความถูกต้องเป็นธรรม และเชื่อว่าศาล ไทยยังสามารถอำนวยความยุติธรรมให้ได้ ได้โปรดตัดมาตรา 299 ออกจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เสียเถิด มติชน วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10670 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01280550&show=1§ionid=0130&day=2007/05/28 หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: วิหค อัสนี ที่ 30-05-2007, 20:30 นอกจากนี้.. ขอให้พวกเรายึดหลักให้มั่นนะครับว่า เราต้องการอะไรจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้... อะไรคือเนื้อหาสาระที่สำคัญ ระหว่าง ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น + ระบบตรวจสอบทำงานได้ดี + ไม่มีการสืบทอดอำนาจ กับ ไม่มีนิรโทษกรรม + ใส่ข้อความศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติที่ละเมิดมิได้ เป็นสิ่งที่น่าคิดครับ น่าเสียดายที่เราพูดถึงหลักการชุดแรกกันน้อยกว่าที่ควรจะเป็นมาก ตั้งแต่ตอนเริ่ม เพราะหลงลืม หรือแกล้งทำเป็นมองข้ามไป? หรือเพราะการโหมกระแสของหลักการชุดที่สองขึ้นมาจนชุดแรกจมหายไปซะสนิท? หรือทั้งสองอย่าง?? ปล. แต่ถึงยังไง ถ้ามีการเขียนเผื่อ "นิรโทษกรรมล่วงหน้า" ไว้จริง ก็ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นะครับ ต้องระวังให้ดี (แต่โดยสามัญสำนึกแล้ว เราคงยังไม่บ้าพอที่จะยอมรับกฏหมายที่ "ยกเว้นคณะปฏิวัติให้รอดพ้นจากความผิดทางกฏหมายใดๆ ก็ตามในอนาคต" กันหรอก) หัวข้อ: Re: มาตรา 299 โบว์ดำในร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มหัวข้อโดย: snowflake ที่ 30-05-2007, 22:49 บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ไม่ควรมองข้าม โดย ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 นั้น แม้จะถือเป็นรัฐธรรมนูญ ชั่วคราวที่มาจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข (คปค.) หรือคณะปฏิวัติ คณะรัฐประหาร คณะรักษาความสงบเรียบร้อย ฯลฯ ที่ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ ซึ่งมี "ที่มา" จากการใช้กำลังเข้ายึด อำนาจเหมือนๆ กัน เช่น การรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน คนไทย บรรดาที่เคยได้รับความคุ้มครองอยู่แล้วตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่าง ประเทศ หากแต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีสิ่งผิดปกติซึ่งบ่อนทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของ รัฐธรรมนูญ (Supremacy of a Constituion) อย่างร้ายแรงซุกซ่อนอยู่ นั่นก็คือ บทบัญญัติมาตรา 36 ที่ว่า "บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ได้ประกาศ หรือสั่งไว้ ในระหว่าง วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็น ในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศ หรือสั่ง ให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่า ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจน การปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น จะ กระทำก่อน หรือหลัง วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" มองผิวเผินอาจจะคิดว่าไม่มีอะไร และก็เข้าใจได้ว่า ไม่ว่าใครที่เป็นผู้ยึดอำนาจก็คงจะ ต้องทำอย่างเดียวกันคือ รับรองความคงอยู่และความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ และคำสั่งที่ออกมาในระหว่างการยึดอำนาจ ซึ่งเมื่อกลับไปพลิกดูบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราวอื่นๆ อาทิ "ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร" พ.ศ.2534 หรือ ฉบับ พ.ศ.2520 ก็พบว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งซ่อนเร้นหรือที่สังคมมักจะเรียกว่า "หมกเม็ด" อยู่ในบทบัญญัติมาตรา นี้ก็คือ ความในตอนท้ายที่ว่า "...ให้ถือว่า ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตาม ประกาศ หรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อน หรือหลัง วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" กล่าวคือ (1) ประกาศหรือคำสั่งของ คปค. หรือของหัวหน้า คปค. ย่อมถือว่าชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการตัดอำนาจศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม แล้วแต่กรณี ที่จะเข้าไปควบคุม ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว (2) ประกาศหรือคำสั่งต่างๆ ของ คปค. ย่อมถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อันเป็นการ จำกัดอำนาจศาล และที่สำคัญเป็นการตัดอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ รัฐธรรมนูญนี้สร้างขึ้นเองในมาตรา 35 เพื่อให้วินิจฉัยว่า "กฎหมายใดขัดต่อ รัฐธรรมนูญหรือไม่" ไม่ให้เข้าไปตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ หรือคำสั่งดังกล่าว (3) การปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งต่างๆ ย่อมถือว่าชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วย รัฐธรรมนูญ ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อน หรือหลังวัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรืออีกนัยหนึ่ง ผลของบทบัญญัติมาตรา 36 เท่ากับว่า ประกาศและคำสั่งต่างๆ ของ คปค. มีค่าเสมือนหนึ่งเป็นรัฐธรรมนูญเอง เพราะสามารถขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ โดยที่ไม่มี ศาลหรือองค์กรใดๆ เข้าไปตรวจสอบได้ อันที่จริง เมื่อสืบสาวถึงที่มาของมาตรานี้ก็พบว่า น่าจะเป็นการเตรียมการปิดช่องป้องกัน ความผิดพลาดในอดีต ที่เคยเปิดช่องว่างให้ศาลฎีกาในคำพิพากษาฎีกาที่913/2536 และ 1131/2536 วินิจฉัยว่า ประกาศ รสช. เรื่องคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ขัดต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 มาตรา 222 ก็ได้บัญญัติไว้ชัดๆ ว่า "ให้ประกาศหรือคำสั่งของ รสช. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" แต่บทบัญญัติดังกล่าวกลับถูกศาลฎีกาเพิกเฉย และย้อนศรกลับไปนำเอาประเพณีการ ปกครองฯ ที่บัญญัติรับรองไว้ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 มาตรา 30 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการออกประกาศ รสช. ฉบับนั้นมาเป็น ฐานในการเพิกถอนประกาศ รสช. มาคราวนี้ก็เลยเขียนปิดทางไว้ก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และถ้าจะให้มั่นใจยิ่งขึ้น ก็คงเตรียมการปิดช่องโหว่ไว้อีกชั้นในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่ไม่แค่ "ถาวร" จริงๆ ซัก ครั้ง ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นต่อไป แต่นี่ก็เป็นเพียงการคาดการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เท่านั้น และที่สำคัญที่สุด ลองคิดดูซิว่า ขนาดพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระ ปรมาภิไธยตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาอันประกอบไปด้วยผู้แทนประชาชน ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยยังไม่สามารถขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมาย สูงสุดได้ และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็สามารถเข้าไปตรวจสอบความชอบด้วย รัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติต่างๆ ได้ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้กลับยอมรับว่า ประกาศหรือคำสั่งของ คปค. ที่ลงนามโดยหัวหน้า คปค. มีค่าเสมอรัฐธรรมนูญ และไม่สามารถตรวจสอบได้ ไม่ว่าประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวจะมีเนื้อหาสาระเช่นใด จะขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้น พื้นฐานหรือไม่ หรือขัดต่อ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" ซึ่งกว้างขวางกว่า "บทบัญญัติ รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร" เพราะยังรวมถึง "ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ" และ "หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป" หรือไม่ ลองพิจารณากันเอาเองเถอะว่า เรื่องนี้เหมาะและควรหรือไม่ แค่ไหน เพียงไร http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act02191049&day=2006/10/19 Link ไปบทความที่เวบมติชน เข้าไม่ได้แล้ว เนื่องจากให้อ่านฟรีได้แค่ 30 วัน หลังลง post |