หัวข้อ: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 30-03-2007, 14:14 (http://www.learningthai.com/thailand/20b.jpg) กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกกันว่า" เมืองบางกอก" ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรง ปราบดาภิเษก เป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างเมืองบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่แทน กรุงธนบุรี โดยสืบทอดศิลปวัฒนธรรม จากกรุงศรีอยุธยา ทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 ทรงพระราชทานนามพระนครนี้ว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนนามพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลได้รวมจังหวัดพระนครและธนบุรีเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรีและภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่ากรุงเทพฯ กรุงเทพมหานครในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการปกครอง การสื่อสาร การพาณิชย์ การเงิน-การธนาคาร การคมนาคมขนส่ง การศึกษา ฯลฯ แบ่งการปกครองเป็น 50 เขต โดยมีพื้นที่ทั้งหมด1,562.2 ตารางกิโลเมตร หัวข้อ: Re: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 30-03-2007, 14:18 (http://203.155.220.239/public_files/news/cms_detail/0000077.gif) สภากรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร หากนับอายุของ สภากรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ได้มี การสถาปนา กรุงเทพมหานคร สภากรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 35 ปี ในปี พ.ศ. 2550 สภากรุงเทพมหานคร จึงเห็นสมควรให้มีการรวบรวม ประวัติความเป้นมาตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ภารกิจ และผลงานของสภากรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงของสภา กรุงเทพมหานครให้อนุชน รุ่นหลังได้ศึกษาและค้นคว้า เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในการเผยแพร่ กิจกรรมของสภากรุงเทพมหานคร และมอบเป็นของที่ระลึก แก่ผู้มาเยี่ยมเยียน สภากรุงเทพมหานครทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ หัวข้อ: Re: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 30-03-2007, 14:18 เข้ามานั่งยกมือเช็คชื่อ
buntoshi มาคร้าบ :slime_sentimental: หัวข้อ: Re: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหินฮะ๛ ที่ 30-03-2007, 14:24 เข้ามานั่งยกมือเช็คชื่อ buntoshi มาคร้าบ :slime_sentimental: :slime_hmm: เด็กชาย บุญโต ทำรายงาน สอบซ่อม ถาคฤดูร้อนหรือยังฮะ ? หัวข้อ: Re: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: นทร์ ที่ 30-03-2007, 14:27 มีรายงานประวัติเปรตวัดสุทัศน์ไหมครับ :mrgreen:
* เอารูปทำเลมาฝาก (http://www.filehigh.com/serve/22000/379062.jpg) หัวข้อ: Re: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: buntoshi ที่ 30-03-2007, 14:43 เข้ามานั่งยกมือเช็คชื่อ buntoshi มาคร้าบ :slime_sentimental: :slime_hmm: เด็กชาย บุญโต ทำรายงาน สอบซ่อม ถาคฤดูร้อนหรือยังฮะ ? แหม่ จารย์ลูกหินครับ เรื่องที่ผ่านมาแล้วก็ให้มันผ่านไปเถอะนะครับ อย่าไปใส่ใจมันเลยครับ เรามาสมานฉันท์กันดีกว่านะครับจารย์ ถึงผมอายุยังน้อยแต่ผมก็มีความคิดแบบผู้ใหญ่สมัยนี้นะครับ หมานฉันท์ หมานฉันท์ :slime_bigsmile: หัวข้อ: Re: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: TheBluECaT ที่ 30-03-2007, 16:47 เด็กชาย "แมว" ก็มาแล้วครับ...
ส่วนรายงาน ขอเลื่อนไปส่งหลังเลือกตั้งนะครับ...'จารย์ลูกหิน ตอนนี้ม่ะมี 'รมณ์ :slime_sleeping: หัวข้อ: Re: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: เก็ดถวา ที่ 30-03-2007, 16:54 (http://cgi.educities.edu.tw/funstory/apus/icon/happy.gif) มาแอบอ่านค่ะ หัวข้อ: Re: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: see - u ที่ 30-03-2007, 18:19 * หืมมม์ ....
ในเวปนี้มี บุนโต กะ TheBluECaT เป็น... เด็กโข่ง ... ด้วยเร๊อะ :slime_bigsmile: หัวข้อ: Re: รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 31-03-2007, 21:35 (http://www.lekpluto.com/index01/2325April21.jpg) ส่งรายงานวิชาสังคม : กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา โหราศาสตร์ การวางดวงเมืองค่ะ ส่วนดวงศาลาว่าการยังไม่มีใครผูกนะคะ สงสัยเหมือนกันว่าเค้าดูกันหรือเปล่า ลองมาทั้งดุ้นเลยค่ะ http://www.lekpluto.com/index01/sub17.htm (http://www.lekpluto.com/index01/sub17.htm) ดวงเมืองบางกอก หรือดวงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับการบรรจุเอาไว้ ณ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เวลา ๐๖.๕๔ น. โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงประกอบพระราชพิธียกเสาหลักเมือง บวงสรวงบูรพมหากษัตราธิราช ถูกต้องตามโบราณราชประเพณีทุกประการ ในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงปาฎิหาริย์ขณะกำลังประกอบพิธีไว้ว่า ได้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ "มีพระอาทิตย์ทรงกลด ถึง ๗ วัน ติดต่อกัน " ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรับรู้รับทราบของบรรดาทวยเทพทั้งหลาย ตั้งแต่เทวดาผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ตามคติของพราหมณ์ อาทิพระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ หรือคติของไทยได้แก่ พระอินทร์ พระยม ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ อันได้แก่ท้าวเวสสุวัณมหาราช ท้าวธตรฐมหาราช ท้าววิรุฬหกมหาราช และท้าววิรูปักษ์มหาราช และที่จะขาดไม่ได้ก็คือ เทวดาพระเคราะห์ทั้ง ๘ อันได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ฯลฯ ตลอดจนเทพารักษ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง ต่างก็มาร่วมเป็นทิพสักขี อนุโมทนาสาธุการ ในพิธีการมงคล " ยกเสาเอก หรือเสาหลักเมือง" ของเมืองบางกอก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ "เสาหลักประเทศไทย" ทั้งนี้เนื่องจากกรุงเทพมหานคร ถือเป็นราชธานีหรือเมืองหลวงของไทยนั่นเอง เรื่องปาฎิหาริย์เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดนี้ จริงเท็จประการใดผู้เขียนไม่ขอยืนยัน แต่ที่แน่นอนและกล้ายืนยัน เพราะเห็นด้วยตาตนเอง ก็คือตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงบูรพมหากษัตราธิราช สมโภชดวงเมืองรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ ในช่วงเช้าก่อนเที่ยง (ขออภัยที่จำเวลาบวงสรวงไม่ได้) ณ ปะรำพิธีมณฑลท้องสนามหลวง เนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๐๐ ปี กรุงเทพมหานคร ขณะนั้นผู้เขียนกำลังชมการถ่ายทอดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจอยู่ที่บ้าน ในซอยวัดดีดวด ฝั่งธนบุรี ไม่ไกลจากท้องสนามหลวงเท่าใดนักโทรทัศน์ได้ถ่ายภาพ พระอาทิตย์ทรงกลดที่เกิดขึ้นขณะที่ทรงประกอบพระราชพิธี เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว เพื่อพิสูจน์ว่าสถานีโทรทัศน์ไม่ได้ใช้เทคนิคในการถ่ายทำ จึงได้ลุกออกมาดูพระอาทิตย์ที่นอกชายคาบ้าน ปรากฎว่า พระอาทิตย์ทรงกลดจริง ๆ ด้วย เรื่องนี้หากใครสงสัยว่าผู้เขียนจะ "ยกเมฆ" ขึ้นมา ลองหาวีดีโอเทปบันทึกภาพดังกล่าวดูได้ เชื่อว่าบางร้านที่ให้เช่าวีดีโอ คงจะเก็บเอาไว้บ้าง เพราะมีการจัดทำมาสเตอร์เทปออกจำหน่าย เป็๋นจำนวนไม่น้อยทีเดียว เสาหลักเมืองต้นแรกที่ยกเอาไว้ในรัชกาลที่ ๑ ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวคู่กับบ้านเมืองของเรามาจนถึงรัชกาลที่ ๔ ปรากฎว่า "ศาลหลักเมือง" ชำรุดทรุดโทรมลงมาก จึงโปรดให้ทำองค์ศาล และหลักเมืองพร้อมทั้งบรรจุดวงชะตาเมืองเสียใหม่ เสร็จแล้วมีการสมโภชแผ่นพระฤกษ์ที่ได้บรรจุดวงชาตาพระนครลงซึ่งทำด้วยทองคำหนัก ๑ บาท แผ่กว้าง ๕ นิ้ว จารึกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส, กรมหมื่นบวรรังษี (ทรงผนวชเป็นพระราชาคณะวัดรังษี) และพระสงฆ์ราชาคณะอีก ๓ รูป รวม ๕ รูปได้เจริญพระปริตรเวลาจารึก ในวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๔ หรือพุทธศักราช ๒๓๙๕ เสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ดังนั้นหากท่านเข้าไปในศาลหลักเมือง ซึ่งปัจจุบันทำเป็นทรงจตุรมุข ท่านจะเห็นเสาหลักเมืองทั้งของเก่าและของใหม่ ต้นเล็กเป็นของเก่า ส่วนต้นใหญ่เป็นของใหม่ วางคู่กันอยู่ ในด้านทิศเหนือของศาลหลักเมืองจะมีหอพระ ติดกับประตูทางเข้าประตูเล็ก ยกเป็นศาลาทรงไทย ยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร มีบันไดทางขึ้น ๒ ด้านหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในประดิษฐานพระปางประจำวันเกิด พระสยามเทวาธิราช (จำลอง) และพระเสี่ยงทาย ซึ่งพระเสี่ยงทายนี้เป็นของเก่าแก่คู่ศาลหลักเมืองมานาน ไม่ทราบเหมือนกันว่ามีมาแต่ยุคสมัยใด เป็นพระที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก หน้าตักกว้างประมาณ ๑ ฟุต สูงประมาณ ๑ ฟุตกว่า ๆ ไม่ใหญ่และไม่หนักมากคติความเชื่อมีอยู่ว่า "ถ้าคนใดเข้าไปไหว้พระเสี่ยงทายแล้ว อธิษฐานขอพรอันใดแล้วถ้าสิ่งที่อธิษฐาน หรือบนบาน สำเร็จหรือได้ผล ก็จะยกพระเสี่ยงทายขึ้นแต่ถ้าสิ่งที่อธิษฐานบนบานไม่สำเร็จลุล่วงก็จะยกพระเสี่ยงทายไม่ขึ้น" ซึ่งเรื่องนี้ถ้าว่ากันตามหลักการและเหตุผลแล้ว ไม่น่าจะเป็นไปได้หรือน่าเชื่อถือเท่าไรนัก แต่ก็นั่นแหละครับ ถ้าไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ ผู้เขียนเองไปทีไร ชอบที่จะอธิษฐานบนบานขอพรให้สำเร็จและยกพระเสี่ยงทายทุกครั้ง และก็ยกขึ้นทุกครั้งเสียด้วย ส่วนผลของคำอธิษฐานจะออกมาในรูปไหน สำเร็จสมหวัง หรือผิดหวังนั้น ช่างมันเถอะครับ ที่ทำลงไปก็เพื่อเสริมขวัญและกำลังใจ ในอันที่จะต่อสู้กับกระแสชีวิตในโลกที่เชี่ยวกราก ให้รอดพ้นไปวัน ๆ มันก็เท่านั้นเอง นอกจากหอพระที่อยู่ทางด้านทิศเหนือซึ่งมีพระประจำวันเกิด พระเสี่ยงทายและองค์พระสยามเทวาธิราช จำลองแล้ว ในด้านทิศตะวันออกของศาลหลักเมือง จะมีศาลเทพารักษ์ทั้ง ๕ ซึ่งประดิษฐานเทวรูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง อันได้แก่พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง อันเป็นที่เคารพสักการะบูชาอย่างสูงยิ่งของพระมหากษัตริย์และประชาชนทั่วไปทั้งแผ่นดิน จะถือได้ว่าเป็นเทพบริวารขององค์พระสยามเทวาธิราชก็ว่าได้ ในการพระราชพิธีต่าง ๆ จะต้องมีการอัญเชิญองค์พระสยามเทวาธิราช และเทพารักษ์ทั้ง ๕ ให้มาประทับในพระราชพิธี เป็นทิพสักขี เพื่อความเป็นสิริมงคลสวัสดีในการประกอบพระราชพิธีทุกครั้งไป |