หัวข้อ: ยึดแค่ว่า เป็นคนดี เพียงพอมั๊ยในความเป็นนายก ----- เริ่มหัวข้อโดย: รวงข้าวล้อลม ที่ 13-03-2007, 13:40 (http://img368.imageshack.us/img368/4143/320484292bh7.gif) http://www.thairath.co.th/news.php?section=politics03&content=39908 แค่เป็นคนที่รู้จักพอ ไม่ขี้ฉ้อ ขี้โกง เพียงพอมั๊ย สำหรับการเป็นนายกประเทศไทย ?. :slime_smile: :slime_doubt: -- แค่เป็นนายก ที่รู้พอ เพียงพอไหม จะเอาอะไร ให้มากไป กว่านี้หนา เมื่อขี้ฉ้อ ขี้โกง จนด้านชา แก้ปัญหา พาคนดี มาเข้าครอง -- ถกเถียงไป มากความ ดูน้ำเน่า เรื่องเก่าๆ เล่าไป ก็มัวหมอง ดี และดี มีซื่อสัตย์ ที่ควรมอง นายกของ ประเทศ ตามเจตนา -- สัมมนา มากไป ก็ปวดหัว ดูถ้วนทั่ว กลั้วศีลธรรม จำไว้หนา ศีลธรรม คุ้มครองโลก โชคเชี่ยวนา อย่านึกว่า โบราณไป ไม่ควรมอง ------- หัวข้อ: Re: ยึดแค่ว่า เป็นคนดี เพียงพอมั๊ยในความเป็นนายก ----- เริ่มหัวข้อโดย: รวงข้าวล้อลม ที่ 13-03-2007, 13:42 อุณหภูมิ ทาง การเมือง จาก เรื่อง "ที่มา" ของ "นายกฯ" ประณีต ลึกซึ้ง อ่อนไหว
คอลัมน์ วิภาคแห่งวิพากษ์ มีความแตกต่างกันหรือไม่ระหว่างสถานการณ์ทางสังคมเมื่อเดือนมีนาคม 2523 กับ สถานการณ์ในเดือนมีนาคม 2550 แตกต่างกันอย่างแน่นอน อย่างน้อยปฏิกิริยาอันเกิดแต่ "ข้อเสนอ" จากบางส่วนในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ว่า นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง ก็เป็นปฏิกิริยาอันเป็นเงาสะท้อนของความแตกต่างอย่างเด่นชัดยิ่ง สถานการณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2523 สภาผู้แทนราษฎรยินยอมให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เพียงเพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 เปิดช่องให้ หากแต่กระแสในทางสังคมก็ไม่ได้มีปฏิกิริยาต่อต้านอย่างแข็งขันอีกด้วย ตรงกันข้าม เมื่อเรื่องแบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2535 แม้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 จะเปิดหนทางให้อย่างเต็มที่ แต่ปฏิกิริยาทางสังคมกลับไม่ยินยอมให้เหมือนกับเมื่อเดือนมีนาคม 2523 บทเรียนที่แลกมาด้วย "เลือด" จากสถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปล่อยให้ผ่านเลยไปอย่างไร้ประโยชน์ ในทาง "ธรรมชาติ" เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนองค์ประกอบอันเป็นรายละเอียดของสถานการณ์ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จาก "ฤดูหนาว" มาเป็น "ฤดูร้อน" เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดยิ่ง ระยะที่อยู่ในความหนาวเหน็บ เสื้อผ้าอาภรณ์อาจจำเป็นต้องหนาและมีมากตัว แต่ระยะที่เข้าสู่ความร้อนรุ่ม เสื้อผ้าอาภรณ์อาจจำเป็นต้องบางเบาและไม่ต้องมีมากตัว ยิ่งเมื่อเข้าสู่ "ฤดูฝน" ยิ่งจำเป็นต้องตระเตรียมเพื่อรับกับองค์ประกอบอย่างใหม่ ใครก็ตามที่ดำรงชีวิตอย่างไม่สนใจต่อสภาวะการแปรเปลี่ยนของฤดูกาลอันเป็นเรื่องทางธรรมชาติ ยากอย่างยิ่งที่จะดำเนินไปได้อย่างมีความสุข ในทาง "ธรรมชาติ" เป็นเช่นนี้ ในทาง "สังคม" ก็เช่นเดียวกัน สังคมไทยเปลี่ยนผ่านจุดยุคเมื่อเดือนมีนาคม 2523 มาอย่างยาวนาน ความฝันที่จะมีคนนอกเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างชนิดลอยมาเหนือเมฆแบบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จึงกลายเป็นเรื่องผิดปกติ ยิ่งเมื่อมาถึงเดือนมีนาคม 2550 ยิ่งกลายเป็นเรื่องผิดปกติ ผิดปกติอย่างไรขอให้สัมผัสจากกระแสคัดค้านที่กระหึ่มจากทุกสารทิศก็คงจะรู้สึก ข้อเสนอว่าด้วยนายกรัฐมนตรีมาจาก "คนนอก" อาจได้รับการเห็นด้วยจาก พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี นี่ย่อมมิได้เป็นเรื่องแปลกและเหนือความคาดหมาย แม้ว่าในเดือนมิถุนายน 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน ก็เป็นนายกรัฐมนตรี "คนนอก" ที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ต้องยอมรับว่านั่นอยู่ในสถานการณ์ "พิเศษ" ทางการเมือง หากเป็นสถานการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง หากเป็นสถานการณ์ที่แต่ละพรรคการเมืองเพิ่งไปเสนอตัวให้ประชาชนเลือก เชื่อเถิดว่าโอกาสของ "คนนอก" มีเหลืออยู่น้อยเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าประชาชนได้ผ่านสถานการณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2523 มาแล้วและรู้ว่าเป็นอย่างไร เพราะว่าประชาชนได้ผ่านสถานการณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2535 มาแล้วและรู้ว่าเป็นอย่างไร เพราะว่าประชาชนได้สัมผัสกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาแล้วและรู้ว่า "อำนาจ" ที่มีอยู่ในมือของตนนั้นมีความสำคัญและมีความหมายอย่างไรในทางการเมือง ใครบังอาจท้าทาย "อำนาจ" นี้ของประชาชน ก็มีโอกาสถูกประชาชนให้ "บทเรียน" แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการโยนหินถามทางอันเท่ากับเป็นการหยั่งอุณหภูมิทางการเมือง แต่เสียงตอบรับที่ปรากฏก็เด่นชัดอย่างยิ่ง ว่าปรอทซึ่งสะท้อนถึงระดับความต้องการทางการเมืองในหมู่ประชาชนนั้นเป็นอย่างไร ฤดูกาลได้เปลี่ยนไปแล้ว หากใครไม่ยอมเปลี่ยนตาม ก็ยากที่จะอยู่ได้อย่างมีสุข http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01col01130350&day=2007/03/13§ionid=0116 ฟังเพลง ปลอบโยนหัวใจตามลิงค์นี้ http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2007/03/13/entry-2 หัวข้อ: Re: ยึดแค่ว่า เป็นคนดี เพียงพอมั๊ยในความเป็นนายก ----- เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 13-03-2007, 14:45 อ้างถึง เพราะว่าประชาชนได้สัมผัสกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาแล้วและรู้ว่า "อำนาจ" ที่มีอยู่ในมือของตนนั้นมีความสำคัญและมีความหมายอย่างไรในทางการเมือง ใครบังอาจท้าทาย "อำนาจ" นี้ของประชาชน ก็มีโอกาสถูกประชาชนให้ "บทเรียน" แน่นอน ในประโยคนี้ ขอวิจารณ์ว่า คนเขียนบทความพูดเองเออเองค่ะ ประชาชนที่เขาว่า เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเอง ประชาชนระดับที่ต้องไปเลือกตั้งด้วยการกาเบอร์ในบัตรเลือกตั้ง เพราะถ้าพิมพ์ชื่อผู้สมัครแล้วอ่านไม่ออกบ้าง ไม่รู้ว่าชื่อนี้คือใครบ้าง จำได้แต่เบอร์ที่เขาจ้างให้ไปกาเท่านั้นซึ่งเปนประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ได้ซาบซึ้งอะไรกับอำนาจที่ได้ไม่ว่าจะจากรัฐธรรมนูญฉบับไหน สิ่งที่พวกเขาอยากได้คือ เงิน เท่าน้นค่ะ นายกจะมากจากไหน ถ้าปลดหนี้ให้ แจกเงินให้ เอาผลประโยชน์ไปให้ รับได้ทั้งนั้นค่ะ ไม่ลุกฮือ ไม่อืออา ไม่โวยวาย นอนตีพุงสบายค่ะ คนดีเป็นนายกได้ค่ะ ถึงจะไม่เก่าก็ตาม ประเทศไปได้ค่ะ ไปรอดด้วย แต่พวกโลภมากก็จะคร่ำครวญ เพราะเอาเปรัยบคนจนไม่ได้ คนเลวเป็นนายกได้ค่ะ พวกเดียวกันจะดีใจไชโยโห่ฮิ้ว เศรษฐีเป็นนายก ก็พาพวกมาปล้นชาติ เอาเศษเงินโดยนให้คนจน ชาติจะล่มจมมันไม่สน แล้วไอ้พวกคนโลภ มันก็เฮฮาว่าเศรษฐกิจดี ประเทศจะพังไอ้เศษมนุษย์พวกนั้นมันก็ไม่สนใจ ขอให้รวยก็พอแล้ว :slime_v: หัวข้อ: Re: ยึดแค่ว่า เป็นคนดี เพียงพอมั๊ยในความเป็นนายก ----- เริ่มหัวข้อโดย: รวงข้าวล้อลม ที่ 13-03-2007, 15:00 คนเลวเป็นนายกได้ค่ะ พวกเดียวกันจะดีใจไชโยโห่ฮิ้ว เศรษฐีเป็นนายก ก็พาพวกมาปล้นชาติ เอาเศษเงินโดยนให้คนจน ชาติจะล่มจมมันไม่สน แล้วไอ้พวกคนโลภ มันก็เฮฮาว่าเศรษฐกิจดี ประเทศจะพังไอ้เศษมนุษย์พวกนั้นมันก็ไม่สนใจ ขอให้รวยก็พอแล้ว
--------------------------------------------------------------------------------------------------- :slime_doubt: :slime_whistle: :slime_v: ---เศษเงิน มาหล่นแถวบอร์ดนี้รึเปล่าก็ไม่รู้นะน้อง |