หัวข้อ: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 10-02-2007, 00:11 สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 กุมภาพันธ์ 2550 19:23 น. ตัวแทนพนักงานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เข้าพบนายเถกิง สมทรัพย์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เพื่อแสดงจุดยืนของพนักงานต่อปัญหาระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน. กับบริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) ซึ่งนายเถกิงสนับสนุนข้อเรียกร้องของพนักงานไอทีวีที่ต้องการให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีแพร่ภาพต่อไปหากเกิดปัญหาถูกยกเลิกสัมปทาน เพราะไอทีวีเป็นสถานีข่าวที่ให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนของประชาชน จึงสนับสนุนให้ทำหน้าที่นี้ต่อไป สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เตรียมจัดเวทีเสวนาเพื่อหาทางออกให้พนักงานไอทีวี โดยเฉพาะการให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นอิสระ ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง และอยากให้สังคมเข้าใจถึงการแสดงออกของพนักงานไอทีวี เพื่อให้รักษาสถานีโทรทัศน์ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน เช่นเดียวกับ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เตรียมหารือกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสายสื่อมวลชน ในการหาหลักประกันสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ขณะที่ นายจรัล ดิษฐาอภิชัย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมนำปัญหาของพนักงานไอทีวี ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณา เนื่องจากหากเกิดการเปลี่ยนแปลงกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวีไม่ว่าจะในรูปแบบใด นอกจากส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของพนักงานแล้วยังกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วย http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9500000016526 พฤติกรรมของพนักงานไอทีวีที่ผ่านมา มีความอิสระ มีสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าว และ ได้ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนด้วยหรือ.... หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: Kittinunn ที่ 10-02-2007, 00:35 เพื่อนฝูงกันทั้งนั้นครับ
เถกิงเจ้าของฟาติมา เฉลิมศรี ศิริมงคลที่ทำงานให้ฟาติมาก็อยู่เป็น รอง บก.ไอทีวี มัลลิกาไอทีวีก็ไปจัดรายการที่วิทยุของเถกิง :slime_hmm: หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: สมชายสายชม ที่ 10-02-2007, 00:43 สถานีไอทีวี เป็นเพียงแค่บริษัทเอกชน ที่ถูกนายทุนซื้อมาเพื่อหวังผล
ทางการเมืองหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี ๒๕๔๔ สื่อมืออาชีพที่ต่อต้านการแทรกแซงทางการเมืองถูกไล่ออกไปตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ แล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ตอนนี้ ไม่น่าจะเรียกว่าสื่อมืออาชีพ น่าจะเป็น พนักงานอาชีพสื่อรับใช้นายทุน ไม่มีสิทธิ์แอบอ้างว่า เป็นสถานีข่าวที่ให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนของประชาชน :slime_hitted: หวังว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะไม่เปลืองตัวกับมาตรา ๑๕๗ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นแล้วแบบ สามหนาห้าห่วง ... ... หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: ไทมุง ที่ 10-02-2007, 00:57 เพราะไอทีวีเป็นสถานีข่าวที่ให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนของประชาชน เข้าใจไรผิดไปรึเปล่า...แล้วไปมุดหัวอยู่ไหนมา ถึงเพิ่งเรียกร้องเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารเอาตอนนี้ หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: meriwa ที่ 10-02-2007, 11:00 เพราะไอทีวีเป็นสถานีข่าวที่ให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนของประชาชน เข้าใจไรผิดไปรึเปล่า...แล้วไปมุดหัวอยู่ไหนมา ถึงเพิ่งเรียกร้องเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารเอาตอนนี้ ผมว่าเค้าก็ให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนของประชาชนจริงๆนะ อย่างรายการของอาจารย์ประมาณที่ให้ชาวบ้านมาร้องทุกข์ แล้วก็รายการแฉส่วยต่างๆ เพียงแต่อัตราส่วนรายการพวกนี้มันน้อยมากเมื่อเทียบกับเวลาในวันนึง ส่วนข่าวการเมืองผมว่าทางไอทีวีต้องพัฒนาอีกมาก หาคนมืออาชีพมาทำงาน ที่ผ่านมาการนำเสนอข่าวมักมีการเอาความคิดเห็นส่วนตัวของคนนำเสนอแทรกเข้าไปโจมตีอีกฝ่าย มากกว่าที่จะเสนอแต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: แอ่นแอ๊น ที่ 10-02-2007, 11:28 เรื่องความเป็นกลาง (เสนอข่าวสองด้านในน้ำหนักที่เท่ากัน) ของสือทีวีแอนยังไม่เคยเห็นช่องไหนเลยค่ะ มีแต่เอียงสุดโต่ง กับเอียงหน่อยๆ สำหรับไอทีวีแล้ว ตั้งแต่โดนชินซื้อไป ความเป็นกลางมันหายไปเลยเพราะการเข้ามาแทรกแซงการทำงานของกองบรรณาธิการข่าว จนเกิดกรณีกบฏไอทีวีนั่นแหละค่ะ
ในรัฐบาลปัจจุบัน แอนถือว่า แม้ว่าจะมีการแทรกแซงของฝ่ายรัฐอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ว่า การเสนอข่าวของฝ่ายตรงข้ามรัฐจะทำไม่ได้เลย เพียงแต่ที่ผ่านมา การทำหน้าที่ของไอทีวีออกจะเกินเลยไปบ้าง ในกรณีที่โดนติงเรื่องการขยายความและฉายซ้ำจนทำให้เกิดความสับสนอันนั้นเห็นว่าจริง คงลืมไปว่า ตัวเองเป็นฟรีทีวี ไม่ใช่เคเบิ้ลของไอที่จะพูดอะไรตามใจชอบโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในวงกว้างได้ โดยน้ำหนักการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของไอทีวี เหตุผลน่าจะมาจากประการหลักในเรื่องสาเหตุการเกิดของไอทีวีมากกว่า ในแง่นี้คือ ถ้าถึงจุดที่โดนยึดสัมปทานไปจริงๆ ทางด้านสมาคมวิชาชีพคงไม่ต้องการเห็นสื่อในช่องนี้ กลายเ็ป็นสื่อที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ หรืออำนาจทุนอีก ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอทีทางไอทีวียื่นไป แต่ที่คนส่วนใหญ่่เห็นแล้วรู้สึกขัดใจ (โดยเฉพาะกลุ่มกบฏไอทีวี) คือ ทำไมก่อนหน้านี้ไอทีวีไม่เคยนึกถึงข้อเสนอที่ตัวเองยื่นเลย หรือว่า พอโดนปฏิวัติยึดอำนาจโดยทหารแล้วถึงนึกขึ้นมาได้ (เท่าที่ทราบในสมัยนั้น ถึงกับมีพนักงานบางคนในไอทีวี พูดกับเพื่อนพนักงานที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มกบฏไอทีวีว่า "ก็ไปรับเงินเดือนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซิ" เสียดายที่ไม่รู้จริงๆ ว่าคนที่พูดคนนี้เป็นใคร แต่พอจะเดาๆ ออก) เพราะงั้นยังยืนยันตามเม้นเดิมที่ตอบในทู้ก่อนหน้านี้ว่า สมน้ำหน้า เพราะเมื่อคุณคิดจะเป็นพนักงานบริษัทรับเงินเดือน รับนโนยายของผู้บริหารเต็มๆ โดยไม่คำนึงถึงการทำหน้าที่สื่อให้เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็นและตามเจตนารมณ์ของการเกิดไอทีวี ก็อย่าแปลกใจที่ตอนนี้แม้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่อยากเห็นไอทีวีตกไปอยู่ในมือกลุ่มทุนอื่นหรือการครอบงำของรัฐ แต่ก็รู้สึกสงสัยในท่าทีของพนักงานในปัจจุบัน และไม่ค่อยสนับสนุนการเคลื่อนไหว แต่ไม่ใช่เพราะเห็นว่าไอทีวีไม่มีประโยชน์ แต่เพราะเห็นว่าการเคลื่อนไหวมีเจตนาแอบแฝง หรือเห็นว่าตัวเองเดือดร้อนห่วงตัวเองมากกว่าประชาชนจริงๆ เอาประชาชนบังหน้ามากกว่า ปล. เรื่องความเป็นกลางของสื่อ แอนเคยได้ยินจากวิทยุ ก็คลื่น 98 (open radio) ของอากู๋ที่คุณเถกิงเคยจัด แล้วโดนยุบคลื่นไปกลายเป็น shut up นั่นแหละ ว่า่ไปแล้วคิดถึ๊งคิดถึงสไตล์การจัดรายการแบบนั้นจัง หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 10-02-2007, 12:18 สถานีไอทีวี เป็นเพียงแค่บริษัทเอกชน ที่ถูกนายทุนซื้อมาเพื่อหวังผล ทางการเมืองหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี ๒๕๔๔ สื่อมืออาชีพที่ต่อต้านการแทรกแซงทางการเมืองถูกไล่ออกไปตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ แล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ตอนนี้ ไม่น่าจะเรียกว่าสื่อมืออาชีพ น่าจะเป็น พนักงานอาชีพสื่อรับใช้นายทุน ไม่มีสิทธิ์แอบอ้างว่า เป็นสถานีข่าวที่ให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนของประชาชน :slime_hitted: หวังว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะไม่เปลืองตัวกับมาตรา ๑๕๗ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นแล้วแบบ สามหนาห้าห่วง ... ... เพราะไอทีวีเป็นสถานีข่าวที่ให้ความสำคัญต่อความเดือดร้อนของประชาชน เข้าใจไรผิดไปรึเปล่า...แล้วไปมุดหัวอยู่ไหนมา ถึงเพิ่งเรียกร้องเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารเอาตอนนี้ ก่อนและหลัง 19 กันยายน 2549.... สถานีโทรทัศน์ 'ไอทีวี'ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอด..... 1. รายงานข่าวสองด้านของสถานการณ์บ้านเมืองหรือไม่ :?: 2. เปิดเผยการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่นักวิชาการ ผู้นำทางความคิด คณาจารย์ กลุ่มตรวจสอบภาคประชาชนฯ ได้นำมาเปิดให้สื่อมวลชนทราบ เพื่อแพร่ข่าวต่อ.... 3. รายงานข่าวด้านเดียวเชลียร์'รัฐบาลเผด็จการทักษิณ' หรือไม่ 4. ประชาชนที่ต้องการรับรู้ความจริงของบ้านเมือง สังคม เศรษฐกิจ ของประเทศไทย ได้มีโอกาสรับรู้หรือ ไม่ :?: ดังนั้น ประชาชนคนไหน กลุ่มไหน เดือดร้อน ถ้าไอทีวี จะถูกปิด หรือ เปลี่ยนแปลงจากสถานะปัจจุบัน.... :?: หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 10-02-2007, 12:27 พนักงาน ITV เป็นเจ้ากรรมนายเวรของใครหรือ กิจการที่ปิดไปมีมากมาย กฎหมายแรงงานสำหรับการชดเชยการเลิกจ้างก็มีอยู่ ภาระที่จะต้องรับผิดชอบพนักงานเหล่านั้น อยู่ที่บริษัทของ ITV ดำเนินกิจการล้มละลาย โยนบาปให้ผู้อื่นได้อย่างไร
การช่วยเหลือคนตกงานนั้น รัฐบาลมีส่วนหนึ่งที่จะต้องดูแล แต่ไม่ใช่ดำเนินกาจการนั้นต่อ ด้วยเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อให้พนักงานเพียงไม่กี่คนได้เสพสุขต่อไป หากรัฐจะหางานทดแทนให้ จะยอมรับกันไหม กทม.ยังขาดพนักงานกวาดถนนและเก็บขยะอีกมากมาย กิตติ มัลลิการ์ สายสวรรค์ หากตกงานก็ไปทำได้ อย่าคิดเอาเปรัยบประชาชนอีกเลย นับตั้งแต่ ITV เข้ารับใช้ระบอบทักษิณ พวกท่านก็ทำร้ายสังคมมามากมายแล้ว ไถ่บาปให้ตัวเองเสียบ้างเถิด :slime_worship: หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: Solidus ที่ 10-02-2007, 12:45 เจ้าของกับผู้บริหารดำเนอนกิจการผิดพลาด แต่พนักงานกลับมาประท้วงรัฐ อย่่างนี้ก็มีด้วย บริษัทนะไม่ใช่รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานราชการ
หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: qazwsx ที่ 10-02-2007, 12:51 เออ...ดี งั้นผมวิ่งเต้นรับงานสัมปทานหรืองานประมูลมั่ง กู้เงินให้เพีัยบ สั่งของมาเยอะ ๆ แล้วไม่จ่าย พอบริษัทผมโดนแบงค์ยึด - โดนฟ้อง ผมก็ยุให้ลูกน้องไปเรียกร้องเอาจากรัฐบาล เอ...หรือใคร ๆ เขาก็ทำกันอย่างนี้มาตั้งนานแล้วหว่า ??? :slime_doubt: หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: An.mkII ที่ 10-02-2007, 13:15 ถาม..
ถามว่าเวลาขินมันเข้าไปซื้อหุ้นไอทีวี ทำไมมันเงียบ ถาม เวลาเทมาเส็คมันเข้ามาซื้อมันเงียบ.. ถาม แล้วทำไมการที่รัฐบาลจะจัดการกะพวกที่ทำผิดกฏหมายทำผิดสัปทาน มันจึงดิ้น.. และผมก็ถามต่อไปอีกว่า.. ถ้าพวกคุณบอกว่าเป็นสื่อที่ทำเพื่อประชาชนจริงๆ... แล้วเหตุไรพอบริษัทไอทีวีของคุณโกงประชาชน.. (เพราะถ้ารัฐบาลเขาได้เงินมาจากไอทีวี เขาก็ต้องเอาไปคืนไปสู่ประชาชนใช้รึไม่.) แล้วแบบนี้ทำไมคุณต้องดิ้น..เพื่อปกป้องนายเเทนที่คุณจะรักษาสิทธิ์ของประชาชนตามที่คุณชอบอ้าง ว่าไอทีวีเพื่อประชาชน เพราะเขาก็บอกกันจนปากจะฉีกแล้วว่าเรื่องการจะยึดรึอะไรกะสัปทานนักข่าวจะไม่เดือดร้อนไม่ใช้หรือ.. และการที่คุณดิ้นแบบนี้ คุณยังกล้าบอกอีกหรือว่าคุณเป็นสื่อเพื่อประชาชน.. ถ้าคุณเป็นสื่อเพื่อประชาชนจริงๆ คุณก็เอาตังจ่ายรัฐเขาไปสิเขาจะได้เอาเงินที่นายคุณมันโกงมาช่วยประชาชนในรูปแบบต่างๆใช้รึไม่ ฉะนั้นอย่ามพูดให้เหม็นขี้ฟันว่าทำเพื่อประชาชน แต่ต้องพูดว่าทำเพื่อประชาชินหรือประชาสิงมากกว่าละไม่ว่า.. หัวข้อ: Re: ของเเถม...พลิกแฟ้มคดี"กบฏไอทีวี" เริ่มหัวข้อโดย: An.mkII ที่ 10-02-2007, 13:20 ของเเถม...
พอดีหลายสัปดาห์ก่อนถกกันเรื่องกนกพาลไปเนชั่นและไอทีวี..ที่เฉลิมไทย และัมีไอ้สาวกเหลี่ยมบางคนมันเเกล้งเซ่อร์ไม่รู้ว่าอะไรมันคือ กบฏไอทีวี และ ผมก็สงสัยว่าเดียวไอ้ลูกกระจ๊อกเหลี่ยมที่นี้มันจะไม่รู้ว่าอะไรคือ กบฏไอทีวี เลยเอามาฝากกันครับ และจะรู้ดูว่ามันจะเเถกันไปท่าไหนกะความชั่วๆของนายมัน พลิกแฟ้มคดี"ไอทีวี" 4 ปีก่อนถึงวันพิพากษา ชัยชนะของคนทำงานสื่อ มติชน วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1282 ในประเทศ พลิกแฟ้มคดี"กบฏไอทีวี" 4 ปีก่อนถึงวันพิพากษา ชัยชนะของคนทำงานสื่อ "เป็นชัยชนะของคนทำงานสื่อเสรี เรายินดีที่จะกลับไปทำงานในไอทีวี เราอยากที่จะฟื้นฟูสหภาพ อยากทำให้ไอทีวีเป็นของประชาชนจริงๆ ไม่ใช่เป็นของนายทุน" "ในเมื่อวันนี้ท่านทักษิณชนะการเลือกตั้งแล้ว คงไม่ต้องการใช้ไอทีวีเป็นฐานอีกแล้ว" นายสกลเดช ศิลาพงษ์ อดีตผู้สื่อข่าวอาวุโสโต๊ะข่าวต่างประเทศ กล่าวภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมีคำพิพากษายืนตามศาลแรงงานกลาง ให้บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) รับพนักงานทั้ง 21 คน ที่ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม และให้จ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับกลับเข้าทำงาน พนักงานหรือ "กบฏไอทีวี" ทั้ง 21 คน ประกอบด้วย 1.วิศาล ดิลกวานิช 2.ปฏิวัติ วสิกชาติ 3.ยุวดี เตชะไพทูรย์สุข 4.อังสนา เทศขยัน 5.กรุณา บัวคำศรี 6.ภัทราพร สังข์พวงทอง 7.นาตยา แวววีรคุปต์ 8.อรพิน ลิลิตวิศิษฏ์วงศ์ 9.สกลเดช ศิลาพงษ์ 10.ม.ล.สุกุณฏีร์ จรูญโรจน์ 11.แก้วตา ปริศวงศ์ 12.เชิดชาย มาศบำรุง 13.ชมพูนุช คงมล 14.ภุชงค์ แดงประเสริฐ 15.สุดารัตน์ สุขแสงรัตน์ 16.นงลักษณ์ สุขใจเจริญกิจ 17.สินินาฎ ดิลกวานิช 18.สุภาลักษณ์ ตั้งจิตศีล 19.จีรชาฎา ทองนาค 20.สมมาตร วัฒนคุโณปการ 21.สุวรรณา อุยานันท์ ค่าเสียหายที่ทางไอทีวีต้องจ่ายให้กับพนักงาน 21 คน คิดเป็นตัวเลขกลมๆ ตกอยู่ราวประมาณ 20 ล้านบาท ชนวนเหตุการณ์กบฏไอทีวี เกิดขึ้นเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2543 หลังจากมีข่าว "ชินคอร์ป" จะเข้ามาถือหุ้นในไอทีวีที่กำลังประสบปัญหาทางการเงิน แต่ถูกกลุ่มผู้สื่อข่าว นำโดย นายจิระ ห้องสำเริง บรรณาธิการบริหารขณะนั้น เป็นหัวหอกคัดค้าน กระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2543 กลุ่มชินคอร์ปได้เข้ามาถือหุ้นไอทีวี ท่ามกลางการต่อต้านอย่างหนักจากพนักงานฝ่ายข่าว เพราะไม่พอใจที่ถูกผู้บริหารตัวแทนจากชินคอร์ปแทรกแซง ห้ามไม่ให้ทำข่าวที่มีผลด้านลบต่อตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ตัวเก็งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยเฉพาะเรื่อง "ซุกหุ้น" และปัญหาที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ เนื่องจากเกรงจะมีผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 มกราคม 2544 การเข้าแทรกแซงของฝ่ายผู้บริหารมีทั้งการสั่งเปลี่ยนตัวนักข่าวที่ไปยิงคำถา มแทงใจ พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่องการโอนหุ้น มีการสั่งไม่ให้ออกอากาศข่าวเรื่องสนามกอล์ฟ มีความพยายามเข้ามากำหนดและชี้นำประเด็นในฝ่ายข่าวมากขึ้น สั่งห้ามผู้ประกาศข่าวในรายการสายตรงไอทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ลงข่าวเรื่องการโอนหุ้น และที่ดินสนามกอล์ฟ ยังมีเหตุการณ์ที่ผู้บริหารชินคอร์ป สั่งเรียกรถโอวีกลับสถานีขณะกำลังจะไปทำข่าวปราศรัยหาเสียงของพรรคประชาธิปั ตย์ ขณะที่พรรคไทยรักไทยได้รับอภิสิทธิ์เช่ารถโอวีของบริษัทไอทีวี เพื่อถ่ายทอดการปราศรัยของพรรคไทยรักไทยหลายครั้ง โดยไม่มีหนังสือหรือบันทึกถึงฝ่ายข่าวแม้แต่ครั้งเดียว การแทรกแซงยังลามไปถึงโต๊ะข่าวบันเทิง ที่ไม่ได้ไปทำข่าวเปิดตัวนักร้องใหม่ในเครือของค่ายชินคอร์ป ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายบริหาร และมีคำสั่งให้ไปทำข่าวชิ้นนั้นออกอากาศในทันที มีการล้วงลูกสั่งให้กองบรรณาธิการยกเลิกการวิเคราะห์ข่าวของ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่วิเคราะห์พาดพิงถึงหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ติดต่อกัน 3 วัน เกี่ยวกับปัญหาการถือหุ้น มีการสั่งถอดรายการวิเคราะห์ข่าวการเมือง เปรียบเทียบฟอร์มระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ และ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทำให้พนักงานฝ่ายข่าวไม่พอใจอย่างมาก ทั้งหมดนำมาสู่การออกแถลงการณ์ข้อเรียกร้องจำนวน 7 ข้อ ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ, นายบุญคลี ปลั่งศิริ ผู้บริหารชินคอร์ป และ นายสรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล กรรมการผู้จัดการไอทีวี มีเนื้อหาโดยรวมคือให้ยุติการครอบงำ กดดัน กลั่นแกล้ง และแทรกแซงสื่อ ซึ่งถือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 41 นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว ตัวจักรสำคัญในการสร้างทีมข่าวไอทีวีจนโด่งดัง ถูกบีบจนต้องลาออก ขณะที่ นายปีย์ มาลากุล ซึ่งเข้ามาแทนก็ถูกสั่งปลดเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2543 หลังมีการเขียนจดหมายเปิดผนึกถึง นายบุญคลี ปลั่งศิริ ขอให้ยุติการแทรกแซงข่าวไอทีวี วันที่ 4 มกราคม 2544 กลุ่มผู้สื่อข่าวไอทีวี ออกแถลงการณ์ถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขอให้ยุติการแทรกแซงการทำข่าว แต่ถัดมาเพียงไม่กี่วัน นายจิระ ห้องสำเริง บรรณาธิการบริหารได้ลาออก ท่ามกลางเสียงร่ำลือหนาหูว่าถูกบีบออก ฐานเป็นแกนนำในการออกแถลงการณ์ดังกล่าว ปัญหาความขัดแย้งไม่ลงรอยระหว่างพนักงานฝ่ายข่าวกับผู้บริหาร ทำให้บรรยากาศในไอทีวีช่วงนั้นเป็นไปอย่างอึมครึมยากจะเยียวยา แม้ผลเลือกตั้งขณะนั้นจะชัดเจนว่าพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับชัยชนะถล่มทลายแล้วก็ตาม แล้วปฏิบัติการ "เช็คบิล" ก็มาถึง วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ผู้บริหารไอทีวี มีคำสั่งปลดพนักงานทั้ง 21 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการครอบงำของชินคอร์ป กลุ่ม 21 กบฏไอทีวีพยายามต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเอง และเรียกร้องขอคืนสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนไปพร้อมๆ กัน โดยยื่นคำร้องไปยังคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ว่าบริษัทกระทำการอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 121 ของพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ วันที่ 1 มิถุนายน 2544 ครส. วินิจฉัยว่าการกระทำของไอทีวีไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกเลิกจ้าง และสั่งให้รับพนักงานทั้ง 21 คนกลับเข้าทำงานเช่นเดิม ทางไอทีวีไม่ยอมและได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง ขอให้เพิกถอนคำสั่ง ครส. วันที่ 26 กันยายน 2545 ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าคำสั่งของ ครส. ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงพิพากษายกฟ้อง แต่ไอทีวียังไม่หมดความพยายาม ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลางอีกครั้ง วันที่ 8 มีนาคม 2548 หลังจากใช้เวลาพิจารณาคดีนานกว่า 2 ปี ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานมีคำพิพากษายืนตามศาลแรงงานกลาง ถือเป็นการปิดฉากคดีประวัติศาสตร์การต่อสู้ของสื่อมวลชนโทรทัศน์ ที่ยืดเยื้อยาวนานถึง 4 ปีเต็ม นายวรินทร์ เทียมจรัส ทนายความฝ่าย 21 กบฏ กล่าวสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดว่า การที่ศาลมีคำพิพากษาเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าการทำงานของสื่อย่อมได้รับการค ุ้มครอง นายจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะให้ผู้สื่อข่าวไปทำข่าวเพื่อเชียร์ใครคนใดคนหนึ่งได้อีกแล้ว หน้า 11 อ้อข่าวจากมติชนนะครับ มิใช้ผู้จัดการหรือบางกอกโพสต์ ฉะนั้นอย่ามาหาว่ามั่วข่าว.. หัวข้อ: Re: สมาคมนักข่าวฯ สนับสนุนจุดยืนพนักงานไอทีวี ? เริ่มหัวข้อโดย: ปุถุชน ที่ 10-02-2007, 14:18 พนักงานไอทีวี ควรจะไปถามผู้บริหารระดับสูงสุด(สายทักษิณ)
ว่าใครไปแนะนำ'อนุญาโตตุลาการ'วินิจฉัยอย่างนั้น.... ถ้ารู้ตัวแล้ว อย่าลืม กระทืบให้หนัก ๆ................ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ปล. พนักงานฯ ควรเขียนชื่อ เนวิน ชิดชอบที่มีอำนาจ หน้าที่เวลานั้น ไว้บนหนังหมา ที่ไม่ยอมวินิจฉัย'ผ่อนหนักเป็นเบา' เสียบ้างเป็นพิธี เสียน้อย ๆ พยายาม ดึงดัน จะไม่ให้ ไอทีวี เสียหายแม้แต่ หนึ่งสตางค์......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า |