ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: สมาชิกพรรคสุขนิยม ที่ 04-02-2007, 23:03



หัวข้อ: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สมาชิกพรรคสุขนิยม ที่ 04-02-2007, 23:03
บทความ : เรื่อง เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
ที่มา : นิตยสาร The Economist

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า กฎหมายใหม่นั้นเป็นเพียงแค่การ "อุดช่องโหว่" แต่สัปดาห์ที่แล้ว บรรดาผู้นำนักธุรกิจชาวต่างประเทศไม่เห็นเป็นอย่างนั้น หลังจากที่เขาได้สรุปให้คนเหล่านั้นฟังถึงแผนการที่จะทบทวนกฎเกณฑ์ต่างๆที่เข้มงวดต่อการลงทุน


ผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งบอกว่า พวกเขามองว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นพวกปกป้องตัวเอง ในการหารือกันอย่างเคร่งเครียดครั้งต่อมา ผู้เข้าฟังได้ระดมคำถามใส่รัฐมนตรีด้วยการถามตรงๆ ว่า มาตรการดังกล่าวอาจเป็นการขัดขืนต่อองค์การการค้าโลก (WTO) "มีความแตกต่างในปรัชญาขั้นพื้นฐาน"
แหล่งข่าวกล่าว..... "ชัดเจนเลยว่าเรากำลังพายเรือในอ่าง"

ปัญหาน่าจะเป็นเพราะพวกนายทหารที่ขาดความรู้ ข้าราชการที่ได้รับการฝึกฝนจากต่างประเทศก็กลายเป็นคนตกยุคไปแล้ว จากการพิจารณาแผนเศรษฐกิจ ของสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีชั่วคราว รู้สึกได้ว่ามีอะไรบางอย่างกำลังดำเนินไป นับจากที่เขาได้รับการแต่งตั้งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อดีตนายทหารได้เสนอมาตรการ ที่จะหยุดการพัฒนาแบบตะวันตกในสังคมไทย ลดบทบาทของต่างชาติในระบบเศรษฐกิจและทำให้บรรลุถึงขีดสุดของ "ความสุข" ไม่ต้องเติบโต นี่คือที่เขาตั้งใจเอาไว้ พิมพ์เขียว ของสุรยุทธ์ ซึ่งหมายถึง มีความอ่อนน้อม เรียบง่าย และอยู่ด้วยแนวทางของตัวเอง บางคนเรียกเป็นชื่ออื่นว่า "เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ"

"ทักษิโนมิกส์" ให้ข้อเสนอที่โดนใจคนชนบทด้วย เงินให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ ค่ารักษาพยาบาลราคาถูก และกระตุ้นเกษตรกรรมแบบทุนนิยม ซึ่งทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่วิกฤติหนี้สิน ตรงกันข้ามกับแนวทางของรัฐบาล สุรยุทธ์ ซึ่งเกี่ยวกับแนวคิด 3 ประการ คือ ทางสายกลาง ความมีเหตุมีผล และการมี "ภูมิคุ้มกันในตัวเอง" เพื่อช่วยป้องกันประเทศไทยจากผลกระทบที่รุนแรงของโลกาภิวัฒน์ ด้วยความร่วมมือกับนักเศรษฐศาสตร์ไทยหลายคน "นี่คือวิธีปฏิบัติในความพยายามของรัฐบาลที่จะ สนับสนุนการพัฒนามนุษย์" สุรยุทธ์ เกริ่นนำ

บรรดานักลงทุนต่าชาติในไทยประหลาดใจเล็กน้อยกับ "ความแตกต่างทางปรัชญา" เขารู้สึกมากยิ่งขึ้นว่า พวกเขากำลังตกเป็นเหยื่อในการโจมตีนโยบายทักษิณ หรือถ้าจะขยายความก็คือนโยบายเติบโตจากการส่งออก.ซึ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออกมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 (พ.ศ. 2503-2512)

การที่บรรดานายทหารไม่ค่อยสบายใจกับระบบประชาธิปไตยแบบ 1 คน 1 เสียง พวกชาตินิยมพยายามจะลดบทบาทของต่างชาติในตลาดของไทย พวกคนมีระดับในสังคมไม่ชอบใจ กับวิธีการของทักษิณที่ทำให้เกษตรกรยากจนกลายเป็นฐานเสียงสำคัญ ด้วยการเชื่อมโยงถึงกันระหว่างนโยบายใหม่



นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 (พ.ศ.2533-2542) ข้าราชการเกษียณอายุกลุ่มเล็กๆ ข้าราชการ และนักเศรษฐศาสตร์ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อที่จะจัดระบบความคิด มาผนึกให้เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ของประเทศไทย พวกเขาบอกว่านี่คือ "ทางสายกลาง" ระหว่าง โลกาภิวัฒน์ที่มากเกินไปกับการเก็บเนื้อเก็บตัว ระหว่างระบบทุนนิยมที่ปราศจากการควบคุมกับรัฐสวัสดิการ และระหว่างความล้าหลังกับฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง

หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักก็คือ การลด "วัฏจักรแห่งความรุ่งโรจน์และร่วงโรย ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ " ซึ่งคอยหลอกหลอนระบบเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา วิศาล บุปผเวส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า "ผมยอมรับว่ามันขัดกับลัทธิทุนนิยมแบบบริโภคนิยมสมัยใหม่ " นักเศรษฐศาสตร์กล่าว "แต่เราก็ต้องเลือกวิถีชีวิตแบบใหม่"

UNDP เรียกทฤษฎีของไทยเป็นการตอบสนองอันโดดเด่นต่อผลกระทบที่ประเทศซึ่งพึ่งระบบโลกาภิวัฒน์เผชิญอยู่ในขณะนี้ เช่น การสูญเสียอำนาจอธิปไตย การพึ่งพาตลาดต่างชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เลวลง และช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน

กระนั้นนักเศรษฐศาสตร์ผู้เป็น ที่นับถือเป็นอย่างมากของไทย ซึ่งถูกถามว่าทฤษฎีนี้หมายความว่าอย่างไร ? เขาหัวเราะและพูดตรงๆว่า "ผมไม่รู้!".... เขาขอร้องไม่ให้ระบุชื่อของเขาเพราะเกรงจะถูกมองว่าเป็นการโจมตี แต่อธิบายว่า "มันตรงกันข้ามกับแนวของทักษิณ เขาจัดว่าเป็นเสือชนิดหนึ่ง"

คำกล่าวดังกล่าวอาจอธิบายการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงแรกของสุรยุทธ์ : ความพยายามที่สร้างความไม่พอใจในการเพิ่มอายุผู้ดื่มสุราการห้ามการโฆษณาเหล้า หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ได้ห้ามขายหวยซึ่งริเริ่มโดยทักษิณ ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ธนาคารกลางของไทยก็ได้ออกกฎในการควบคุมเงินทุนที่เข้มงวดเพื่อยับยั้งการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ดัชนีตลาด หลักทรัพย์ลดลงร้อยละ 15 จนบรรดานายทหารต้องเข้ามามีส่วนให้มีการยกเลิกการควบคุม ผลกระทบของความผิดพลาดได้ทำให้ความปั่นป่วนขยายตัวออกไป

"ฉันได้รับโทรศัพท์จาก สมาชิกว่าธนาคารของเขาในฮ่องกงปฏิเสธที่จะโอนเงินเข้าประเทศไทย" จูดี้ เบนน์ ผู้อำนวยการอาวุโสของหอการค้าอเมริกันในกรุงเทพกล่าว "นั่นคือเมื่อ 2 วันก่อน"

การทบทวนกฎหมายธุรกิจต่างด้าวปี 1999 (พ.ศ. 2542) ยิ่งสร้างความเบื่อหน่ายให้กับนักลงทุน มันสร้างข้อจำกัดใหม่ให้กับผู้ร่วมลงทุนต่างชาติที่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจไทย หอการค้าต่างๆในกรุงเทพกล่าว การบีบให้นักลงทุนต่างชาติกว่า 10,000 ราย กระจายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทไทยหรือโอนการควบคุมไปสู่นักลงทุนไทย กฎเกณฑ์ต่างๆที่จะแก้ไขนั้นน่าสับสน เช่น อุตสาหกรรมบางอย่างได้รับการยกเว้น นักลงทุนชาวสหรัฐอเมริกากลับได้รับการคุ้มครองจากสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทย


กลุ่มบริษัทที่ทักษิณขายให้กับสิงคโปร์เมื่อปีที่แล้ว(ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤติทางการเมืองและสะท้อนกลับมายังบริษัท) ยังคงลุ่มๆดอนๆ แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีโอกาสเสมอที่รัฐบาลจะยอมถอยอีกครั้งหนึ่ง

กระนั้นก็ตาม นักสังเกตการณ์หลายคนได้สรุปว่า หนึ่งในระบบเศรษฐกิจที่มีเสน่ห์ที่สุดซึ่งมีอัตราเติบโตเกินกว่าร้อยละ 5 มาตั้งแต่ปี 2000 (พ.ศ.2543) ได้ถอยหลังไปอย่างเลวร้าย....!!!!

ภายหลังการปฏิวัติตลาดหลักทรัพย์ของไทยกลายเป็นหนึ่งในบรรดาตลาดที่เฉื่อยชาที่สุดในโลก แม้แต่หนังสือพิมพ์ก็ถูกจำกัดตามกฎหมายใหม่ว่าด้วยการตรวจสอบการกล่าวร้าย นโยบายของสุรยุทธ์ บทนำของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์เมื่อวันพุธกล่าวหาว่าพวกนายทหารใช้กลอุบายทางกฎหมายซึ่งเป็น "ส่วนหนึ่งของเหตุผลว่าเหตุใดประเทศไทยจึงเป็นอย่างทุกวันนี้"

ผู้ประกอบการก็ไม่มีความสุขเช่นเดียวกัน "เห็นได้ชัดว่าพวกเขากำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง" ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางซึ่งไม่ใช่คนไทยกล่าว เขาขอร้องไม่ให้เปิดเผยชื่อเพราะเกรงจะถูกลงโทษ "มันจะทำให้การลงทุนชะงักงันและลดการแข่งขัน" พวกเขานำเอาธุรกิจไปปนกับการเมือง

ผลงานที่ย่ำแย่ของคณะทหารจะทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามขยายตัวได้เกินกว่าจะคาดคิด จะมีการคิดถึงอดีตเมื่อครั้งยังมีทักษิณ ตอนนี้นักธุรกิจต่างชาติมองยุคทักษิณด้วยความชื่นชม ในความมั่นคง เติบโต และโดยเปรียบเทียบแล้วเป็นรัฐบาลที่ค่อนข้างสะอาด

ผู้สนับสนุนชาวชนบทยังคงอยู่กับผู้นำที่ถูกขับไล่คนนี้ แม้จะเลือกตั้งในวันพรุ่งนี้เขาก็น่าจะเป็นผู้ชนะ ยิ่งฝ่ายทหาร ถ่วงเวลาการคืนอำนาจสู่ประชาชนอย่างรวดเร็ว กลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ตรงกันข้ามกับทักษิณก็จะหันไปหาสุรยุทธ์เพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว

ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดคำถามว่า อะไรคือวาระที่แท้จริงของคณะปฏิวัติในการยึดอำนาจ? ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 1997 (พ.ศ. 2540) ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในบรรดารัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดของเอเซีย

ดูเหมือนจะเป็นข้อหนึ่งในบรรดาเป้าประสงค์ นักอนุรักษ์นิยมชาวไทยกำลังเตรียมที่จะเปลี่ยนแปลงซึ่งจะทำให้ทหารยังคงอยู่ในอำนาจ อีกวัตถุประสงค์หนึ่งก็คือการขจัดทักษิโนมิกส์ซึ่งกระตุ้นชาวไทยในชนบทเป็นจำนวนมาก ทางเลือกอื่นก็คือปรัชญาเศรษฐกิจบนพื้นฐานความเชื่อทางพุทธศาสนาซึ่งหลีกเลี่ยงการบริโภคแบบทุนนิยม "แปลความแบบอนุรักษ์นิยม ทฤษฎีพอเพียงทำให้รักษาสถานะเดิมเอาไว้ได้" จากการตั้งข้อสังเกตของนักวิชาการชาวไทย บางทีการที่ประเทศไทยแบ่งออกเป็น “ กลุ่มผู้ดีตีนแดงในเมือง “ และคนชนบทที่จมปลักอยู่กับความต่ำต้อยจะเป็น "ทางสายกลาง" ที่บรรดานายพลมีอยู่ในใจ


----------------------------------------------------------------------


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: AThai ที่ 04-02-2007, 23:22
ขอ link ต้นฉบับด้วยครับ
บ่อยครั้งที่กระทู้แบบนี้แปลเข้าข้างตัวเอง

 :slime_doubt:


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 04-02-2007, 23:27
The Economist ฟันธงผิดไปกี่รอบแล้ว รู้เรื่องบ้างหรือเปล่า ตั้งแต่มันฟันธง 2 ครั้งซ้อน รับรอง รับรอง ยังไงคนไทยก็ต้องไปเลือกตั้ง แล้วไง เลือกตั้งเป็นโมฆะ แถม 3 หนาได้ไปสัมผัสตาราง

ปีก่อนก็ยกย่อง India Economy ฮ็อตสุดยอด มีแต่ talent pool มี service industries แล้วแถมบอกว่าจีนตายแน่ๆ จีนตายแน่ๆ จีนตายแน่ๆ จีนต้อง float เงินหยวนแล้วไม่มีทาง ......... แล้วเป็นไง จีนก็ไม่จำเป็นต้องโง่ลอยเงินหยวนตามที่มันบอก พอมาปีนี้มันบอกสงสัย India Overheat แล้วหละ




ไม่เคยอ่านแล้วเพิ่งมาอ่านเพราะมันเชิดชู Thugsinomics ก็อย่ากระแดะเลยครับ ไปสมัครสมาชิกอ่านซะ แบบออนไลน์ปีละ 2 พันกว่าบาท ถ้าจะรับเล่มด้วยก็ 4 พันปลายๆ

เออ ว่าแต่ว่า ฉบับไหนล่ะ วันไหน เดือนไหน มี link ไหม ผมเป็นสมาชิกมี log in เข้าไปดูได้


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 04-02-2007, 23:39
ไปหามาแล้ว ไม่เห็นมีเลยในรอบ 4 เดือนนับแต่ 19 ก.ย. ที่มีบทความเกี่ยวกับ buddhist economics

ขอ link ด้วยครับ

ล่าสุดที่ด่า UNDP คือ Rebranding Thaksinomics ครับ แต่ไม่ได้พูดถึง buddhism อะไรเลย แล้วคุณไปเอามาจากไหน???


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ไทมุง ที่ 05-02-2007, 00:15
ไม่เห็นตอบ ว่าไปเอามาจากไหน  :slime_hmm:


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สมาชิกพรรคสุขนิยม ที่ 05-02-2007, 01:06
link http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I5107826/I5107826.html


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sofar...sogood ที่ 05-02-2007, 01:37
 :slime_bigsmile: :slime_bigsmile:

เอามาจากพันทิพ น่ะเองเหรอ


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Şiłąncē Mőbiuş ที่ 05-02-2007, 09:15
link http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I5107826/I5107826.html
:slime_smile2: :slime_evil: :slime_bigsmile: :slime_smile2: :slime_evil: :slime_bigsmile: :slime_smile2:


55555 พันธุ์ทิพย์


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: AsianNeocon ที่ 05-02-2007, 12:42
link http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I5107826/I5107826.html
:slime_smile2: :slime_evil: :slime_bigsmile: :slime_smile2: :slime_evil: :slime_bigsmile: :slime_smile2:
55555 พันธุ์ทิพย์

ก็ลิ่วล้อเขาสำเร็จการศึกษาจาก University of Pantip at Soi Charansanitwong 69, Blogspot University หรือไม่ก็ Golden Retriever University กันหมดไงครับ 555


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: room5 ที่ 05-02-2007, 12:53
แป่ววววววววววววววววววว


 :slime_hitted: :slime_hitted: :slime_hitted: :slime_hitted:


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: The Last Emperor ที่ 05-02-2007, 13:25
เอาข้อมูลเรื่อง ABAC poll ไปอ่านเสริมขะหมองหน่อยล่ะกาน :slime_smile2:




PM's popularity drops as Thaksin's increases

Figures from the latest Abac poll show that the popularity of Prime Minister Surayud Chulanont has plummeted, while support for ousted premier Thaksin Shinawatra continues to creep up.


More people have begun to question the interim government's ability to handle ongoing corruption cases and ensure social stability.


Assumption University polled 4,334 people across 18 provinces and only 48.2% said they still gave their full support to the military-appointed prime minister _ down sharply from 70.5% in November.


However, the popularity of Mr Thaksin, who in recent weeks has appeared frequently in foreign newspapers and television news channels, rose from 15.8% to 21.6%.


Director of the poll centre Noppadon Kannika said the government had failed to get officials to work actively, and as a result had become the target of public criticism. They were seen as stuck in "neutral gear" and unresponsive to state orders.


Public concern over security has also rocketed since the New Year bombings in Bangkok and nearby Nonthaburi, with 63.1% of respondents saying they were no longer confident of their daily safety.


However, most respondents also disagreed with the recent political moves made by Mr Thaksin, who has continued to make high-profile visits to foreign countries and give interviews to foreign media organisations despite assurances that he would step away from politics.


Up to 64.2% of those surveyed said they wanted the former prime minister to cease his political activities. A large number of those surveyed who were also members of Thai Rak Thai _ the political party established by Mr Thaksin _ also said they would like to see the former party leader and twice-elected premier step down from politics.


And 48.2% of Thai Rak Thai members surveyed said Mr Thaksin, who remains in self-exile overseas, should cease his politically controversial movements.


Just under 45% of respondents also felt Mr Thaksin should remain overseas for the foreseeable future and not return to Thailand at the moment.


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: AThai ที่ 05-02-2007, 19:52
Up to 64.2% of those surveyed said they wanted the former prime minister to cease his political activities.

รู้สึกว่าจากการสำรวจยังมีถึง 64.2% อยากให้ทักษิณยุติบทบาททางการเมือง  

:slime_agreed:


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: 1ktip ที่ 05-02-2007, 20:03
48.2% of Thai Rak Thai members surveyed said Mr Thaksin,
who remains in self-exile overseas, should cease his politically controversial movements.


48.2% ของสมาชิกพรรคไทยรักไทย ยังอยากให้อดีตนายกฯ สงบปากสงบคำซะที :slime_smile2:


หัวข้อ: Re: Economist และ Newsweek วิเคราะห์เศรฐกิจไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Upasaka ที่ 06-02-2007, 07:55
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
Buddhist Economics
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต)
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp-prayuth/lp-prayuth-10-01.htm