ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: รวงข้าวล้อลม ที่ 31-01-2007, 09:48



หัวข้อ: การมี "ปาร์ตี้ลิสต์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร---เชิญผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ให้ฟังหน่อย
เริ่มหัวข้อโดย: รวงข้าวล้อลม ที่ 31-01-2007, 09:48
-----ทุกครั้งเมื่อมีการเลือกตั้ง----ไม่ได้สนใจอะไรมากหรอก
แค่ชอบคนไหน พิจารณาว่าคนไหนดีมากกว่าคนอื่นก็เลือกคนนั้นล่ะ

--ส่วนปาร์ตี้ล๊ง  ปาตี้ลีสต์  ไม่ค่อยได้สนใจ อะไรมาก  ก็เลือกๆ
ไปงั้นล่ะ  ตามที่แฟนบอก  ไม่ค่อยเข้าใจมากนักหรอกว่า เลือกไปแล้ว
มีข้อดี  ข้อเสียอย่างไร  และยังไม่ชัดเจนเหมือนกันว่า  ทำไมต้องมีปารณ์ตี้ลิสต์

--ใครเข้าใจเรื่องนี้  รบกวนช่วยอธิบายหน่อยสิคะ----





----------------------------------------------------------------------------------------------






"จรัญ"ยันโละทิ้ง"ปาร์ตี้ลิสต์" กันบ้าอำนาจ-อ้างชาวบ้าน




จรัญ ภักดีธนากุล

 
ปธ.อนุฯยกร่างกลุ่มสถาบันการเมืองยันแนวคิดโละปาร์ตี้ลิสต์ ชี้เปิดช่องนายทุนเป็น ส.ส.-รมต. มิหนำซ้ำยังทำให้พวกบ้าอำนาจนำเสียงชาวบ้านมากล่าวอ้าง "เกริกเกียรติ"ชี้ ส.ส.อิสระละเอียดอ่อน ต้องดูข้อดี-ข้อเสียอีกเยอะ



**จรัญยันโละปาร์ตี้ลิสต์กันบ้าอำนาจ

นายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และประธานอนุ กมธ.กลุ่มสถาบันการเมือง ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 มกราคม ถึงการยกร่างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า จะนำรายงานผลการวิจัยจากสถาบันต่างๆ มาศึกษาเปรียบเทียบหาข้อดี ข้อเสีย และหาจุดเหมาะสมกับสังคมไทยมากที่สุด จากนั้นจะนำเสนอกับสังคมอีกครั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพื่อหาความแตกต่างและจุดบกพร่อง

"ส่วนตัวยังยืนยัน นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.ระบบแบ่งเขต และจะไม่เลือกตั้งซ่อมในเขตที่ผู้แทนมาเป็นนายกฯ ส่วนตำแหน่งรัฐมนตรีจะคัดเลือกจาก ส.ส.แบ่งเขตเช่นกัน แต่อาจจะไม่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.ซึ่งแล้วแต่รายละเอียดที่จะระบุ และยังไม่มีข้อสรุป เป็นเพียงแนวทางและข้อเสนอแนะ" นายจรัญกล่าว

นายจรัญกล่าวย้ำอีกครั้งว่า ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ ไม่เหมาะสมกับสังคมไทย เพราะยังไม่เห็นว่าระบบนี้จะมีประโยชน์อะไรกับประชาชน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ได้ลงไปสัมผัสชาวบ้านอย่างจริงจัง จึงไม่รู้ปัญหาของชาวบ้าน แค่มีเงินหรือทุนก็เข้ามาเป็น ส.ส.เป็นรัฐมนตรีได้ง่ายๆ "ที่สำคัญทำให้คนบางคนรู้สึกว่าบ้าอำนาจมากเกินไป คิดว่ามาจากประชาชน 19 ล้านเสียง จะทำอะไรก็ได้ไม่ผิด ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดอย่างสิ้นเชิง" นายจรัญกล่าว

**เกริกเกียรติชี้ส.ส.อิสระละเอียดอ่อน

นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอนุกรรมาธิการสถาบันการเมือง เปิดเผยว่า เห็นด้วยกัแนวคิดของฝ่ายเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯที่เสนอเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ใหม่ คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน แต่เท่าที่ได้หารือกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยังไม่ตกลงอย่างเป็นทางการว่าจะลดเหลือเท่าใด วิธีการเลือกเป็นอย่างไร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อจะมีต่อไปหรือไม่ แต่มองเรื่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ โน้มเอียงไปในทางที่ไม่มีจะดีกว่า สำหรับระบบเขต ควรกลับไปใช้แบบ 1 เขตไม่เกิน 3 เบอร์ เพราะเขตเดียวเบอร์เดียวมีลักษณะเป็นชัยชนะบนความสูญเสียของผู้อื่น ทำให้เกิดการห้ำหั่นดุเดือด และใช้เงินเพื่อให้ได้ผล

นายเกริกเกียรติกล่าวว่า ประเด็นการกำหนดให้ ส.ส.เป็นอิสระจากพรรคการเมือง (ตามการเสนอของนายวิชา มหาคุณ กมธ.ยกร่างฯ) ในการทำหน้าที่นิติบัญญัติ เรื่องนี้ต้องพูดกันในรายละเอียดมาก มองว่าอาจแบ่ง 2 ส่วน คือ ถ้าสังกัดพรรคมาก่อนและจะย้ายพรรคไม่ได้ ส่วนถ้า ส.ส.อิสระก็ต้องอิสระไปตลอดและห้ามไปสังกัดพรรคภายหลัง "เรื่องนี้ละเอียดอ่อน ต้องมาดูข้อดีข้อเสียกันชัดๆ อีกครั้ง สำหรับ ส.ว. เห็นว่าน่าจะมาจากการสรรหา ซึ่งก็ต้องมีระบบสรรหาที่ดีทำนองการสรรหาสมาชิกสภาร่างฯที่มาหลายขั้น แต่ต้องมาดูด้วยว่าจะปรับเปลี่ยนอำนาจหน้าที่อย่างไรบ้าง" นายเกริกเกียรติกล่าว

**เล็งโมเดลออสซี่สกัดแทรกแซงขรก.


 นายเกริกเกียรติกล่าวว่า ในส่วนที่ถือว่าใหม่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการ เพราะที่ผ่านมาเรื่องนี้ถือเป็นจุดอ่อน โดยรัฐธรรมนูญ 2540 ไม่มีกลไกปกป้องข้าราชการที่สุจริตและตรงไปตรงมา ซึ่งได้เสนอแนวคิดนี้ต่อ กมธ.ยกร่างฯ โดยมองโมเดลจากออสเตรเลีย ที่มีสถาบันข้าราชการประจำ ซึ่งทำให้ระบบราชการแข็ง การเมืองแทรกแซงยาก ซึ่งจะปรับใช้กับประเทศไทยอย่างไร ค่อยพิจารณาอีกที ทั้งนี้ กลไกนี้จะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้ดี และข้าราชการจะโตได้โดยไม่ต้องพึ่งนักการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกลไกคุ้มครองแล้วก็ต้องมีกลไกตรวจสอบการทำงานของราชการด้วยเช่นกัน

**อภิสิทธิ์ค้าน-ส.ส.อิสระต่อรอง


ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงแนวคิดนายวิชาว่า ที่ผ่านมา ส.ส.ไม่สังกัดพรรคไม่ได้ช่วยอะไรดีให้ดีขึ้น ไม่ได้ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ และไม่ช่วยให้เกิดความโปร่งใสในสภา ที่สำคัญหากไม่มีพรรคกำกับทำให้ ส.ส.มีอำนาจต่อรองตัวเอง แทนที่จะเป็นอำนาจของประชาชนควบคุม ส.ส.ผ่านพรรคการเมือง และระบบรัฐสภาต้องให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง แต่ถ้าพรรคการเมืองใดที่มีปัญหาก็ต้องไปแก้ไขไม่ให้พรรคการเมืองเป็นของกลุ่มทุนหรือคนกลุ่มเดียว นอกจากนี้ ควรมีมาตรการคุ้มครองการทำงานของ ส.ส. โดยกำหนดให้ผู้สมัคร ส.ส.สังกัดพรรคครบ 90 วัน เพื่อเสริมความเข้มแข็งของพรรคการเมือง แต่มีข้อยกเว้นกรณี ส.ส.คนใดที่อึดอัดต่อพรรคตัวเอง และการดำเนินการของพรรคขัดกับอุดมการณ์ส่วนตัว ให้ ส.ส.คนดังกล่าวลาออกจากพรรคนั้นได้ และไปสังกัดพรรคใหม่ได้ทันที เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง

**วิปให้แต่ละชุดทำงานสอดคล้องกัน



นายเสรี สุวรรณภานนท์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลการประชุม กมธ.กิจการสมาชิกสภาร่างฯ หรือวิปสภาร่าง ว่า ที่ประชุมมีมติตั้งตนเป็นประธานกรรมาธิการ และให้นายเดโช สวนานท์ รองประธานสภาร่างฯเป็นประธานที่ปรึกษา กมธ. มีนายพิฑูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นเลขานุการ และมีนายกฤษฎา ให้วัฒยานุกูล เป็นโฆษก

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดทิศทางให้การทำงานแต่ละชุดของ กมธ.ต้องสอดคล้องกัน โดยเฉพาะการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เมื่อประชาชนเสนอความเห็นเข้ามา สำนักงานเลขาธิการสภาร่างฯจะทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นส่งให้ กมธ.รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดย กมธ.รับฟังความคิดเห็นฯจะประสานกับสำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อนำข้อมูลดิบสรุปเป็นแนวคิดเชิงนโยบายในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นเมื่อมีการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดแล้วจะส่งให้ กมธ.ยกร่างเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป

**หนุนลงโทษโกงลงประชามติ


นายเสรีกล่าวว่า ที่ประชุมยังได้หารือถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ในการทำประชามติ โดยเห็นว่าควรมีสภาพบังคับ จึงจะประสานกับ กมธ.ยกร่างหลักเกณฑ์วิธีออกเสียงประชามติและการออกเสียงประชามติ เพื่อพิจารณาให้ร่างหลักเกณฑ์วิธีการออกเสียงออกมาในลักษณะที่เป็น พ.ร.บ.เพื่อมีสภาพบังคับซึ่งจะมีบทลงโทษในประเด็นการขัดขวางการทำประชามติหรือมีการซื้อสิทธิขายเสียงทำให้การลงประชามติไม่สุจริต แต่จะไม่มีบทลงโทษในกรณีที่ประชาชนไม่ไปลงประชามติเพราะถือเป็นสิทธิของประชาชน โดยหลังจากการยกร่าง พ.ร.บ.แล้วให้ กมธ.ยกร่างหลักเกณฑ์ออกเสียงฯ เสนอกลับมาโดยเร็วเพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้นำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป

ส่วนประเด็นการแก้ไขต่างๆที่ฝ่ายเลขาฯ กมธ.ยกร่างฯนำเสนอต่อที่ประชุมนัดที่ผ่านมานั้น นายเสรีกล่าวว่า คาดว่า กมธ.ยกร่างฯจะพิจารณาความชัดเจนเรื่องนี้อีกครั้ง เนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ 29 มกราคม เป็นเพียงการพิจารณากรอบแนวคิดตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอมา

**ครส.เรียกร้องใช้ฉบับปี"40ต้นแบบ

นายเมธา มาสขาว ผู้ประสานงานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) แถลงที่ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน ว่า ขอเรียกร้อง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และสภาร่างฯนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพื่อใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเฉพาะต้องคงสิทธิเสรีภาพของพลเมืองตามเดิมไว้ และขอเสนอให้ยกเลิกการจำกัดวุฒิการศึกษา ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้ง และนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือมาจาก ส.ส.

**พรรคเล็กอ้าง"ธรรมรักษ์"จ้างลง
ส่วนการไต่สวนคดียุบพรรคไทยรักไทยนั้น คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีที่อัยการสูงสุดยื่นขอให้ตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย ตามความผิดในมาตรา 66 (1) และ (3) ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง โดยเป็นการสืบพยานฝ่ายผู้ร้องนัดที่ 3 ซึ่งได้ยื่นบัญชีพยานไว้ 5 ปาก ประกอบด้วย 1.นายทวี สุวรรณพัฒน์ สื่อมวลชนที่อ้างว่าใกล้ชิดกับ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 2.นายยุทธพงศ์ หรือพงษ์ศรี ศิวาโมกข์ 3.นายธีรชัย หรือต้อย จุลพัฒน์ 4.นายชวการ โตสวัสดิ์ และ 5.น.ส.หนึ่งฤทัย ปลิวลอย อย่างไรก็ตาม ตุลาการรัฐธรรมนูญผู้ทำหน้าที่ดำเนินการไต่สวนคือ นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ ซึ่งได้เบิกความเพียง 2 ปากเท่านั้น คือ นายชวการ และนายทวี

**ทรท.ซักรู้จัก"เทือก"-บงการจัดฉาก

นายชวการให้การโดยกล่าวหา พล.อ.ธรรมรักษ์ให้เงินช่วยเหลือคนละ 1 แสนบาท และ 3 ล้านบาท ตามลำดับ ในการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งตามแต่โอกาสที่จะได้รับเลือก เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ 2 โดยไปรับเงินที่กระทรวงกลาโหม "ในส่วนของค่าใช้จ่ายส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขต 33 คน นั้น มีการจ่ายให้ภายหลัง โดยใส่มาในซองจำนวน 38 ซอง ซองละ 20,000 บาท ซึ่งได้แจกจ่ายไปให้ผู้สมัครทุกคนส่วนอีก 5 ซองที่เหลือเป็นของผู้ดำเนินการ" นายชวการให้การ

ขณะที่นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากพรรคไทยรักไทย ได้ซักค้านทำลายความน่าเชื่อถือของพยาน โดยพยายามชี้ให้เห็นว่านายชวการรู้จักกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน ละยังไปพักอยู่ที่บ้านนายสุเทพเพื่อจัดฉากให้เกิดเหตุการณ์ทั้งหมดเพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย โดยนายชวการอ้างว่า ไปพักที่บ้านนายสุเทพเนื่องจากหวั่นเกรงจะไม่ปลอดภัย

**ทรท.เปิดเทปพิสูจน์ปากคำชวการ

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายคดียุบพรรค ให้สัมภาษณ์ว่า พรรคพยายามจะขออนุญาตคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้เปิดเทปเพื่อแสดงข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ แต่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากตุลาการจะไปเปิดดูกันเอง แต่เพื่อให้ความจริงปรากฏจะขอนำภาพเคลื่อนไหวที่เป็นที่มาของภาพนิ่ง 9 ภาพ ที่มีการกล่าวหา พล.อ.ธรรมรักษ์เป็นผู้ว่าจ้าง ที่นายสุเทพเคยนำมาเปิดเผยแล้วนั้น ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหว 30 นาที เปิดให้สื่อมวลชนได้รับทราบ ที่ทำการพรรคไทยรักไทย ในวันที่ 31 มกราคม โดยภาพดังกล่าวไม่มีการตัดต่อ ดังนั้น จะได้เห็นกันจะๆ เสียทีว่าความจริงอะไรเป็นอะไร เกิดอะไรขึ้นระหว่างภาพนิ่งภาพที่ 1 ถึงภาพที่ 9 ที่นายสุเทพเคยนำมาแถลงข่าว

**รอ"ทักษิณ"ไฟเขียวร่างคำให้การ

ส่วนการประสานให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ทำคำให้การต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ นายพงศ์เทพกล่าวว่า ได้ประสานงานกับ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว พร้อมกับได้เตรียมร่างคำให้การของ พ.ต.ท.ทักษิณไว้บางส่วน แต่ต้องส่งให้ พ.ต.ท.ทักษิณดู เนื่องจากต้องให้ลงนามรับรองคำให้การ นอกจากนี้ ก็มีการสอบถามถึงข้อเท็จจริงในส่วนต่างๆ เพิ่มเติมด้วย เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง "ผมยอมรับว่าเรื่องนี้มีความลำบากพอสมควรในการประสาน เพราะอยู่กันคนละประเทศ" นายพงศ์เทพกล่าว



http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0115310150&day=2007/01/31&sectionid=0147



หัวข้อ: Re: การมี "ปาร์ตี้ลิสต์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร---เชิญผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ให้ฟังหน่อย
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 31-01-2007, 10:20
สส.ในระบบบัญชีรายชื่อนั้น ตั้งใจจะให้มีเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก คือได้เลือกคนที่สมัครโดยไม่เป็นผู้แทนท้องถิ่น แต่ดันให้เลือกพรรค แล้วให้พรรคไปเลือกเอาเอง คือทำรายการชื่อเรียงไว้

เป้าหมายแรกๆมันฟังดูดีค่ะ เขาว่ามีคนมากมายที่อยากอาสามารับใช้ชาติบ้านเมือง แต่ไม่ชำนาญในการหาเสียง ว่างั้นเหอะ จะลงพื้นที่มาให้เขาสาวใส้ประจานก็ไม่เอา เลยมี สส.ระบบนี้ ให้คนดีได้มีโอกาศเข้ามา แต่ปรากฎว่ารายละเอียดนั้นมันกลับทำให้นายทุนแฝงเข้ามาโดยไม่ต้องลงหาเสียงเสียนี่

ความจริงแล้ว ปาร์ตี้ลิสต์นั้นหากกำหนดกฎเกณฑ์ให้ดี ก็น่าจะเป็นทางเลือกให้กับประชาชนนะคะ เปลี่ยนเสียไม่ต้องเป็นลิสต์ เป็น สส.ของพรรค ไม่จำกัดเขต คนเลือกได้ทั้งประเทศ ใครได้คะแนนมากก็เข้าไป ให้สิทธิ์ชาวบ้านเขาเลือกเป็นคนๆไป ไม่ใช่กาให้พรรคแล้วเอาตามบัญชี

อีกทั้งมันต้องกำหนดระบบวันแมนวันโหวตอย่างแท้จริง นั่นคือประชาชนจะเลือก สส.เขต หรือ สส.พรรค ก็เลือกไปอย่างหนึ่ง ไม่ใช่คนเดียวกาสองบัตร นั่นมันเลือกได้สองคนค่ะ ผิดหลักการมาตั้งแต่ต้นแล้ว

หนูสนับสนุนให้มีนะคะ แต่ต้องตามเงื่อนไขข้างต้น  ตัวอย่างเช่นเขตบ้านหนู (ซึ่งหนูไม่สนับสนุนเลยกับการแบ่งเขตตามภูมิศาสตร์ แต่เขาก็คงใช้วิธีเดิมนั่นแหละค่ะ)  มี สส.ของพรรคไม่โกงกิน ซึ่งหนูชอบพรรคนี้ แต่ตัว สส.เขตที่ลงมานั้น หนูไม่ชอบ หนูก็มีสิทธิ์เลือก สส.ของพรรคไม่โกงกิน ที่เป็น สส.กลาง คืออยู่ในปาร์ตี้ลิสต์ คนไหนก็ได้ที่หนูเห็นว่าดี เป็นอันว่าได้เลือกคนดีของพรรคที่ดีที่ชอบ ไม่ถูกบังคบให้เลือกโดยเอาคะแนนไปให้คนลำดับที่หนึ่งสองสามอย่างเดิม และเลือกได้คนเดียว เป็นการใช้สิทธิ์ตามเป้าหมายของวันแมนวันโหวตอย่างแท้จริงค่ะ


หัวข้อ: Re: การมี "ปาร์ตี้ลิสต์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร---เชิญผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ให้ฟังหน่อย
เริ่มหัวข้อโดย: รวงข้าวล้อลม ที่ 31-01-2007, 10:40
สส.ในระบบบัญชีรายชื่อนั้น ตั้งใจจะให้มีเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก คือได้เลือกคนที่สมัครโดยไม่เป็นผู้แทนท้องถิ่น แต่ดันให้เลือกพรรค แล้วให้พรรคไปเลือกเอาเอง คือทำรายการชื่อเรียงไว้

เป้าหมายแรกๆมันฟังดูดีค่ะ เขาว่ามีคนมากมายที่อยากอาสามารับใช้ชาติบ้านเมือง แต่ไม่ชำนาญในการหาเสียง ว่างั้นเหอะ จะลงพื้นที่มาให้เขาสาวใส้ประจานก็ไม่เอา เลยมี สส.ระบบนี้ ให้คนดีได้มีโอกาศเข้ามา แต่ปรากฎว่ารายละเอียดนั้นมันกลับทำให้นายทุนแฝงเข้ามาโดยไม่ต้องลงหาเสียงเสียนี่

ความจริงแล้ว ปาร์ตี้ลิสต์นั้นหากกำหนดกฎเกณฑ์ให้ดี ก็น่าจะเป็นทางเลือกให้กับประชาชนนะคะ เปลี่ยนเสียไม่ต้องเป็นลิสต์ เป็น สส.ของพรรค ไม่จำกัดเขต คนเลือกได้ทั้งประเทศ ใครได้คะแนนมากก็เข้าไป ให้สิทธิ์ชาวบ้านเขาเลือกเป็นคนๆไป ไม่ใช่กาให้พรรคแล้วเอาตามบัญชี

อีกทั้งมันต้องกำหนดระบบวันแมนวันโหวตอย่างแท้จริง นั่นคือประชาชนจะเลือก สส.เขต หรือ สส.พรรค ก็เลือกไปอย่างหนึ่ง ไม่ใช่คนเดียวกาสองบัตร นั่นมันเลือกได้สองคนค่ะ ผิดหลักการมาตั้งแต่ต้นแล้ว

หนูสนับสนุนให้มีนะคะ แต่ต้องตามเงื่อนไขข้างต้น  ตัวอย่างเช่นเขตบ้านหนู (ซึ่งหนูไม่สนับสนุนเลยกับการแบ่งเขตตามภูมิศาสตร์ แต่เขาก็คงใช้วิธีเดิมนั่นแหละค่ะ)  มี สส.ของพรรคไม่โกงกิน ซึ่งหนูชอบพรรคนี้ แต่ตัว สส.เขตที่ลงมานั้น หนูไม่ชอบ หนูก็มีสิทธิ์เลือก สส.ของพรรคไม่โกงกิน ที่เป็น สส.กลาง คืออยู่ในปาร์ตี้ลิสต์ คนไหนก็ได้ที่หนูเห็นว่าดี เป็นอันว่าได้เลือกคนดีของพรรคที่ดีที่ชอบ ไม่ถูกบังคบให้เลือกโดยเอาคะแนนไปให้คนลำดับที่หนึ่งสองสามอย่างเดิม และเลือกได้คนเดียว เป็นการใช้สิทธิ์ตามเป้าหมายของวันแมนวันโหวตอย่างแท้จริงค่ะ



---น้องพรรณชมพู  รบกวนอีกนิดหนึ่งนะคะว่า---  แล้วถ้าเราไม่มีปาตี้ลิสต์ ซะเลยล่ะ  จะมีข้อเสียอะไรมั๊ย---


หัวข้อ: Re: การมี "ปาร์ตี้ลิสต์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร---เชิญผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ให้ฟังหน่อย
เริ่มหัวข้อโดย: พรรณชมพู ที่ 31-01-2007, 10:46
ทางเลือกก็น้อยลงค่ะ  ตัวอย่างที่ว่าถ้าหนูชอบพรรคนี้ หัวหน้าพรรคดี แต่ สส.ที่คัดมาลงในเขตมันห่วย หนูก็โดนมัดมือชกให้เลือกเขา ไม่งั้นก็ไม่ได้พรรคนี้ และถ้าในเขตนั้นคนที่หนูไม่ชอบชนะ ก็ได้เข้าสภา ด้วยความผะอืดผะอมของคนเลือก

อยากจะสรุปว่า ปาร์ตี้ลิสต์หรือ สส.ของพรรค กับ สส.ไม่สังกัดพรรค เราคงต้องเลือกเอาอย่างหนึ่งค่ะ  จะบังคับประชาชนให้เลือกคนเพราะชอบพรรคอย่างเดียวคงไม่ไหว  เพราะถ้า สส.ทั้งหมดต้องสังกัดพรรค แล้วไม่มีปาร์ตี้ลิสต์ ไม่มี สส.อิสระ ก็ไม่ต้องใส่ชื่อคนหรือเบอร์ลงในบัตรเลือกตั้งหรือกค่ะ มันบังคับเลือกพรรคอยู่แล้ว พรรคจะส่งใครลงเขตไหนก็เหมือนกัน ไม่มีทางเลือกค่ะ กาให้พรรคอย่างเดียวเหมือนบังคับลำดับในปาร์ตี้ลิสต์ค่ะ


หัวข้อ: Re: การมี "ปาร์ตี้ลิสต์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร---เชิญผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ให้ฟังหน่อย
เริ่มหัวข้อโดย: O_envi ที่ 31-01-2007, 13:12
ปาร์ตี้ลิส คนดีเก่งสามารถเข้ามาได้โดยไม่ต้องมีฐานเสียงทางการเมืองเช่นอาจารย์มหาลัยถ้ามีอุดมการณ์
เป็นคนดีก็มาทางปาร์ตี้ลิสได้ถ้าให้ไปหาเสียงยกมือไหว้คนขอคะแนนเสียงคงสอบตกครับ

แต่ปาร์ตี้ลิสก็มีข้อเสียครับ เพราะสามารถเป็นรัฐมนตรีได้ ใครที่บริจาคให้พรรคเยอะๆ ก็อาจได้รับการใส่ชื่อ
ในตำแหน่งสูงๆ

ดูอาจารย์เจิมพอดีเขาบอกมาแบบนี้

วิธีไหนที่จะได้คนดีที่สุดล่ะครับ ต้องคิดให้ดี แต่ไม่ว่าวิธีไหน ถ้าคนที่เข้ามามันไม่ดีก็ไม่ดีแหละครับ


หัวข้อ: Re: การมี "ปาร์ตี้ลิสต์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร---เชิญผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ให้ฟังหน่อย
เริ่มหัวข้อโดย: รวงข้าวล้อลม ที่ 31-01-2007, 15:39


 :slime_smile:ข่าวล่าสุด---ว่าอย่างนี้นะคะ  ก็คงต้องรอดูกันต่อไป
ว่าเมื่อถึงเวลาปฏิบัตจริงจะทำได้จริงแค่ไหน

------------------------------------------------------------------

(31มค.) นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวก่อนประชุมคณะกรรมาธิการฯว่า ที่ประชุมจะหารือประเด็น ส.ส.ควรจะต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ ซึ่งจะได้ข้อยุติเพื่อให้อนุกรรมาธิการฯไปคุยกันในรายละเอียดอย่างชัดเจนต่อไป ทั้งนี้ตนจะเสนอต่อที่ประชุมว่าให้ส.ส.สังกัดพรรค เพื่อป้องกันปัญหาส.ส.ขายตัว แต่จะลดเวลาการสังกัดพรรคที่เดิมต้องสังกัดพรรคก่อน 90 วันจึงจะลงสมัครรับเลือกตั้งได้อาจจะมากไป และเพื่อให้ส.ส.สามารถย้ายพรรคได้เมื่อหมดวาระ แต่ไม่ใช่ย้ายพรรคได้ตลอดเวลา

“อยากจะยืนยันว่าส.ส.ควรจะสังกัดพรรค เพราะถ้าส.ส.ไม่สังกัดพรรค ปัญหาเดิม ๆ ของประเทศไทยจะเกิดขึ้น เราจะมีส.ส.อิสระจำนวนมาก ส.ส.เหล่านี้ก็อาจจะขายเสียงของตัวเอง ทั้งขายให้กับรัฐบาลและฝ่ายค้าน บางครั้งก็ทำอย่างอื่น ส่งผลให้ระบบประชาธิปไตยสั่นคลอนไม่เป็นไปตามระบบที่ควรจะเป็น ดังนั้นผมคิดว่าเราควรให้ส.ส.สังกัดพรรคต่อไป แต่ระยะเวลาของการสังกัดพรรคอาจจะลดลงเหลือ 15 หรือ 30 วัน เพราะไปยึดโยงกับเรื่อง 45 วัน และ 60 วันของการเลือกตั้ง ก็หมายความว่าในช่วง 4 ปีเราอาจจะไม่ให้ส.ส.ย้ายพรรคได้ แต่ในช่วงของการเลือกตั้งใหม่ น่าจะยอมให้ส.ส.ย้ายพรรคได้ 1 ครั้ง แต่ถ้ายอมให้ย้ายพรรคตลอด หรือยอมให้มีส.ส.อิสระตลอดจะเกิดปรากฏการณ์ 2 อย่างเกิดขึ้นทันที คือส.ส.อิสระจะแกว่งไปแกว่งมาตลอดเวลา และส.ส.ที่สังกัดพรรคจะย้ายพรรคได้ตลอดเวลา”นายสมคิด กล่าว

http://www.komchadluek.net/