ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)

ทั่วไป => สภากาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: หน้าเหลี่ยมด้าน ณ ประชาไท ที่ 19-01-2008, 12:25



หัวข้อ: บทความแนะนำ โดย โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
เริ่มหัวข้อโดย: หน้าเหลี่ยมด้าน ณ ประชาไท ที่ 19-01-2008, 12:25
ช่วงบ่ายอ่อนๆ ของวันจันทร์ที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา มีชาวต่างชาติสูงประมาณ 185-190 เซนติเมตรคนหนึ่งเดินเข้ามาในบริเวณบ้านพระอาทิตย์ ...
       
        หะแรกฝ่ายรักษาความปลอดภัยต่างเห็นเหมือนกันว่า ฝรั่งผิวขาวคนนี้คงเป็นนักท่องเที่ยวที่หลงเดินเข้ามาชมบ้านพระอาทิตย์ อาคารเก่าแก่อายุร้อยกว่าปี วังเก่าของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ต้นตระกูลอิศรเสนา และแลนด์มาร์กหนึ่งบนถนนพระอาทิตย์เป็นแน่ เพราะเมื่อพิจารณาจากการแต่งกายของผู้มาเยือนชาวต่างชาติที่สวมเสื้อผ้าฝ้ายใส่ กางเกงผ้าหลวมๆ พร้อมกับรองเท้ารัดส้นและหมวกคลุมผมแล้ว เขาไม่มีอะไรผิดแผกไปจากนักท่องเที่ยวแถวถนนข้าวสารแต่อย่างใด
       
        อย่างไรก็ตามเหตุการณ์กลับไม่เป็นดังคาด เมื่อฝรั่งผู้นั้นเอ่ยปากเป็นภาษาไทยว่า “ผมต้องการพบกับคุณสนธิ”
       
       หลังแจ้งเรื่องและแลกบัตรกับพนักงานรักษาความปลอดภัยของบ้านพระอาทิตย์แล้ว ผู้มาเยือนก็ถูกเชิญมานั่งที่เก้าอี้รับแขกบริเวณชั้นล่างของอาคารบ้านพระอาทิตย์โดยมีน้องโอเปอเรเตอร์เป็นผู้รับเรื่องต่อ เนื่องจากขณะนั้นคุณสนธิ ลิ้มทองกุลไม่อยู่ที่สำนักงาน
       
       ...... ในเวลาเดียวกัน ผมซึ่งนั่งทำงานอยู่บนกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการข้างบนก็ได้รับโทรศัพท์จากน้องโอเปอเรเตอร์บอกว่าให้ช่วยลงมาพูดคุยและรับเรื่องต่อ เพราะฝรั่งคนนี้ต้องการพบกับผู้ที่สามารถจะส่งเรื่องต่อให้ถึงมือคุณสนธิได้จริงๆ
       
       เมื่อผมวางโทรศัพท์และลงมาพบกับผู้มาเยือนชาวต่างชาติที่ชั้นล่างของอาคารบ้านพระอาทิตย์ เขาแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษว่าเขาชื่อคาร์ลเป็นชาวแคนาดาที่มาอยู่เมืองไทยได้หลายปีแล้วและที่มาในวันนี้ก็เพื่อที่จะนำเสนอหนังสือเกี่ยวกับการเมืองไทยให้คุณสนธิพิจารณาเพื่อตีพิมพ์
       
       เมื่อทราบดังนั้นผมจึงเชิญคุณคาร์ลขึ้นไปพูดคุยกันต่อที่ห้องประชุมชั้นบนของสำนักงาน
       
       “ผมเขียนหนังสือที่เกี่ยวกับการเมืองไทย และที่สำคัญเกี่ยวข้องกับมิสเตอร์ทักษิณที่ผมคิดว่าคุณสนธิอาจจะสนใจมานำเสนอ ... ” ทันทีที่นั่งลงบนเก้าอี้ คาร์ลก็บอกเรื่องธุระของเขากับผมในทันที พร้อมกับเปิดซองพลาสติกที่ภายในบรรจุต้นฉบับและแผ่นซีดีที่บรรจุต้นฉบับออกมา
       
       “โดยส่วนตัวผมเป็นพวกนิยมสถาบันกษัตริย์ (Pro-Monarchy) นะ” เขากล่าวต่อ
       
       ผมยิ้มรับพร้อมกับถามกลับว่า “หากใครได้ยินว่า ฝรั่งอย่างคุณบอกว่าตัวเองเป็นพวกนิยมสถาบันกษัตริย์เขาคงรู้สึกแปลกใจนะ ... ลองบอกให้ผมฟังหน่อยสิว่าทำไมคุณถึงนิยมสถาบันกษัตริย์” ผมจงใจถามลองเชิงเพื่อดูว่าคำพูดของเขานั้นเป็นเพียงแค่เรื่องล้อเล่นหรือไม่
       
       “พูดตามตรงนะ ผมไม่ชอบสหรัฐอเมริกา และผมเห็นว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมามิสเตอร์ทักษิณนั้นพยายามเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นเหมือนกับสหรัฐอเมริกาทั้งในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจ ขณะที่โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นว่าสหรัฐอเมริกาจะดีตรงไหน ดีแต่ทำสงครามในอิรัก อิหร่าน ในอเมริกาใต้สร้างความเดือดร้อนไปทั่วโลก ... ” คาร์ลอธิบายกลับเป็นชุดๆ พร้อมกับกล่าวต่อว่า “ผมเห็นว่ามิสเตอร์ทักษิณนั้นเป็นตัวแทนของสหรัฐอเมริกา เบื้องหลังของเขาที่แท้จริงคือกลุ่มทุนสหรัฐฯ”
       
       ผมพยักหน้าแสดงอาการรับรู้ในคำพูดของเขา ขณะที่ในใจย้อนนึกไปถึง บทความทางวิชาการชิ้นหนึ่งของศาสตราจารย์ Duncan McCargo นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ที่ชื่อ Network Monarchy and legitimacy crises in Thailand ที่เขียนและตีพิมพ์ลงในวารสาร The Pacific Review เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2548
       
       บทความชิ้นนี้มีความยาวรวมทั้งสิ้น 21 หน้า โดยเนื้อหานั้นกล่าววิเคราะห์ถึงบทบาทสถาบันกษัตริย์ของไทยในช่วงเวลาสามสิบกว่าปีที่ผ่านมาและเน้นหนักเป็นพิเศษในห้วงเวลาตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี
       
       ในบทคัดย่อของบทความชิ้นนี้กล่าวว่า นักวิชาการชาวต่างชาติจำนวนมากนั้นมักจะใช้ความคิดหรือทฤษฎีที่ไม่แม่นยำนักในการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองของประเทศไทย ทั้งนี้ในส่วนตัวของ McCargo เอง เขาเห็นว่า การจะทำความเข้าใจกับการเมืองของประเทศไทยนั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึง เครือข่ายทางการเมือง (Political Network)
       
       McCargo อธิบายต่อว่า เครือข่ายทางการเมืองที่ชี้นำการเมืองไทยในห้วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2516-2544 (ค.ศ.1973-2001) นั้นคือเครือข่ายที่มีศูนย์กลางอยู่ในวัง หรือเรียกกันในอีกนามหนึ่งว่า เครือข่ายของราชา (Network Monarchy) โดยเครือข่ายของราชาเข้ามามีส่วนร่วมและแทรกเข้ามามีบทบาททางการเมืองผ่านตัวแทนของกษัตริย์ซึ่งก็คือ คณะองคมนตรี (Privy Council) ที่นำโดยประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
       
       ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้เครือข่ายของราชาจะพัฒนาขึ้นมาจนมีบทบาทสูงต่อสังคมในระดับหนึ่ง แต่เครือข่ายของราชาก็ไม่เคยก้าวล่วงเข้ามาจนกลายสภาพเป็นการครอบงำสังคมไทย ในทางกลับกันเครือข่ายของราชากลับมีภารกิจในการทำหน้าที่ผ่านองค์กรทางการเมืองทั้งหลาย (ที่เรารู้จักกันดีก็คือ อำนาจทางการปกครองผ่านรัฐบาล อำนาจทางนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา และอำนาจทางตุลาการผ่านศาลยุติธรรม) โดยมีรัฐสภาไทยที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งเป็นพื้นฐาน
       
       ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยลีดส์กล่าวต่อด้วยว่า ถึงแม้เครือข่ายของราชาจะมีลักษณะของความเป็นอนุรักษนิยมโดยธรรมชาติ แต่ในช่วงทศวรรษที่ 90 (ห้วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2533-2543) แต่เครือข่ายนี้ก็ยังแสดงออกถึงความเป็นเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะหลังจากปี พ.ศ.2535 ที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองใหญ่ๆ ถึง 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้ง พล.อ.เปรม ก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเพื่อรักษาสมดุลทางการเมือง และนำประเทศไทยกลับสู่สภาวะปกติได้ทุกครั้ง
       
       กระนั้นการเข้าแทรกแซงดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแรงลงของเครือข่ายแห่งราชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของพรรคไทยรักไทยที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ.2544 และ 2548 โดยในจุดนี้ McCargo มองว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทักษิณพยายามที่จะสร้างเครือข่ายใหม่ที่อยู่ภายใต้อาณัติของตนเพื่อจะนำมาแทนที่เครือข่ายเก่าที่ดำรงอยู่และกำลังอ่อนแรงลงทุกทีๆ ......
       
       โดยส่วนตัว ผมเคยเขียนถึงบทความชิ้นนี้ของ McCargo มาแล้วครั้งหนึ่งในส่วนของคอลัมนิสต์ออนไลน์ เว็บไซต์ www.manager.co.th เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน ทั้งนี้เมื่อย้อนกลับมาอ่านบทความของ ศ.McCargo อีกครั้งแล้วพิจารณาถึงบริบททางการเมืองไทยและสังคมไทยในปัจจุบัน ผมพบว่าบทวิเคราะห์ของ McCargo ก็ยิ่งเปล่งประกาย …
       
       หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปของพรรคพลังประชาชนเหนือพรรคการเมืองอื่นๆ ยิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าเครือข่ายเก่านั้นไม่ได้เข้มแข็งขึ้นเลยหลังจากการรัฐประหารกว่าหนึ่งปีสามเดือน
       
        กลับมาที่ผมกับคาร์ล ผู้มาเยือนชาวแคนาดา เราสนทนากันถึงเนื้อหาในหนังสือของเขาอีกหลายต่อหลายเรื่อง ทั้งนี้มีประโยคหนึ่งของเขาที่สะกิดใจผม
       
       “ประเทศแต่ละประเทศมีประวัติศาสตร์ มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ผมไม่เห็นว่าประเทศไทยจะต้องเดินตามสหรัฐอเมริกา หรือ ยุโรปไปเสียทุกอย่าง ในทางกลับกันพวกเขาต่างหากที่จะต้องเอาอย่างพวกคุณในหลายสิ่งหลายอย่าง บางทีเมื่อผมฟังนักวิชาการไทยบางคนพูดถึงเรื่องทักษิณแล้วผมรู้สึกหงุดหงิดเป็นบ้าเลย ในฐานะของคนตะวันตกผมเองก็อยากจะเขียนบทความออกมาโต้แย้งบ้างแต่ก็ไม่มีโอกาส ...”
       
        ก่อนจากลา ผมรับปากว่าข้อเขียนของเขาจะถึงมือคุณสนธิ ผมขอจับมือกับเขาและเราทั้งสองต่างแสดงความขอบคุณซึ่งกันและกัน.


หัวข้อ: Re: บทความแนะนำ โดย โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
เริ่มหัวข้อโดย: sak ที่ 22-01-2008, 10:31
       เป็นจริงอย่างที่ฟรั่งมันว่าไว้และครับ การปกครองของไอ้หน้าเหลี่ยมมันเอาทุนเข้ามาซื้อทุกอย่างแม้แต่ความถูกต้อง
ปัญหาต่างที่เคยเกิดขึ้นป้าเปรมมีส่วนเข้ามาช่วยไว้หลายครั้งแต่ไม่เคยมีใครคนไหนเคยเห็นความดีหรอก  ไอ้คนที่มันหาว่าป้าเปรมเป็นตุ๊ดนั้นมันเคยไกลชิดเคยติดตามป้าเค้าหรือไง ผมจำได้ว่าเมือก่อนเงินบาทเรา20กว่าบาทต่อดอลลาร์ ทักษิณเข้ามาโดยอาศัยเงินทุนที่ได้จากการโกงกินบ้านเมืองมาเพื่มฐานอำนาจ ส่วนลูกพรรคของมันก็เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่เคยคิดถึงปัญหาของชาติบ้านเมือง  ผมไม่อยากจะว่าคนพวกนี้หรือเหล่าดาราของช่อง7หรอกนะพวกนี้ไม่มีหัวคิดไม่รู้จักแยกแยะว่าไหนดีไม่ดีถูกไม่ถุกมันคิดแต่ว่าการเมืองแล้วแต่เค้าจะเขียนบทให้ทำตามมังและพวกที่เลือกทักษิณสักวันจะรู้สึกเมือพวกมันไม่มีที่จะอยู่หรือได้ใช้สินค้าที่มีราคาแพง เมือถึงเวลานั้น จะมานั่งเสียใจภายหลังคงไม่ทันแล้วและ เพราะสมบัติของชาติโดนไอ้พวกหน้าเหลี่ยมนำไปเป็นทรัพย์สินของพวกมันหมดแล้ว ถึงเราจะมีประชาธิปไตยแต่มี100%จริงหรือเปล่าแค่รายชื่อที่มันจะเค้ามาทำงานก็ไม่ไหวแล้วแต่ละคนแย่หัวหน้าพรรครองพรรคที่ปรึกษาพรรคไม่ไหว พรรคพลังประชาชนคนมีชนักติดหลังทั้งนั้นกูจะเข้ามาทำให้พวกกูเป็นคนสีขาว5555นี้คือสาระสำคัญ]ของพรรคพลังพวกกูเองคนมีชนัก :slime_worship:


หัวข้อ: Re: บทความแนะนำ โดย โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
เริ่มหัวข้อโดย: ริวเซย์ ที่ 22-01-2008, 10:56
ผมเคยอ่านบทความนี้แล้วครับเมื่อหลายวันก่อน

ฝรั่งยังมีจิตสำนึก บางคนก็ยังรักเมืองไทยมากกว่าพวกคนไทยแต่ชื่อบางคนเสียอีก :slime_surrender: