ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-05-2024, 08:18
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เอาบทสัมภาษณ์ พล.ต.สุตสาย มาให้อ่าน บางคนในที่นี้อาจจะรักชาติแบบเขาก็ได้นะ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เอาบทสัมภาษณ์ พล.ต.สุตสาย มาให้อ่าน บางคนในที่นี้อาจจะรักชาติแบบเขาก็ได้นะ  (อ่าน 8302 ครั้ง)
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« เมื่อ: 14-05-2008, 16:30 »

พล.ต.สุตสาย หัสดิน
อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดง




“การที่ผมเอาเด็กอาชีวะมาอยู่กับผมได้ เพราะว่าผมอ่านเขาออก ชั่วชีวิตผม ผมชนะคนได้ เพราะผมอ่านเขาออก”คือคำพูดของ พล.ต.สุตสาย หัสดิน อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดง องค์กรหนึ่งที่ถูกระบุว่าเป็น “ขวาพิฆาตซ้าย” ในยุค 6 ตุลา 19
วันนี้ในวัย 76 ปี พล.ต.สุตสาย เล่าถึงความเป็นมาของหน่วยปฏิบัติการพิเศษกระทิงแดง ซึ่งมีนักเรียนอาชีวะที่ส่วนหนึ่งเคยทำงานร่วมกับศูนย์กลางนิสิตฯ มาก่อน เป็นกำลังสำคัญ โดยกล่าวว่า กลุ่มกระทิงแดงเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เนื่องจากเห็นว่าศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเริ่มมีการเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ และเดินขบวนประท้วงรัฐบาลบ่อยครั้ง ถือเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยที่ได้มาอย่างเกินเลย ไม่ถูกต้อง เป้าหมายที่ควรเป็น คือ ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ในขณะนั้นแกนนำส่วนหนึ่งของศูนย์กลางนิสิตฯ นิยมในลัทธิคอมมิวนิสต์

“ผมเองต้องการให้ศูนย์กลางนิสิตฯ กับนักเรียนอาชีวะต่อสู้กัน แต่ก็ต้องมาคิดก่อนว่าเราจะเอาชนะเขาได้ยังไง เราไม่สามารถเอาชนะศูนย์กลางนิสิตฯ เพราะ หนึ่ง ศูนย์กลางนิสิตฯ มีคนศรัทธาเต็มบ้านเต็มเมือง สอง เขามีเงินจากการบริจาค 26 ล้าน สาม เขามีความเฉลียวฉลาดกว่านักเรียนอาชีวะ สี่ เขามีนักเรียนหนุนหลัง ถ้าคุณเอานักเรียนอาชีวะไปสู้เขา คุณจะแพ้ตั้งแต่อยู่ในมุ้งเลย ทีนี้คุณสมบัติของนักเรียนอาชีวะมีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือบ้าเลือด สอง เล่นลูกระเบิด ผมก็เอาคุณสมบัตินี้มาใช้ให้ชนะจงได้ ข้อที่ว่าบ้าเลือดนี่ผมรักษาไว้ การเล่นลูกระเบิดผมก็ต้องยอมให้เล่น แต่ต้องอยู่ในความควบคุม ถามว่าควบคุมยังไง เด็กนักเรียนอาชีวะช่วงหลัง ๆ เขาทำระเบิดโดยเอาเศษแก้วเหล็กแหลมต่าง ๆ ใส่เข้าไปด้วย วัสดุพวกนี้บวกกับแรงระเบิดจะทำให้คนตายได้ ผมก็ควบคุมให้เขาใส่แต่เชื้อปะทุ ขว้างไปก็เกิดเสียงดังเท่านั้น อย่างนี้เอาชนะศูนย์กลางนิสิตฯ ได้ เพราะศูนย์กลางนิสิตฯ ก็ต้องกลัวตาย”

บทบาทของกลุ่มกระทิงแดงเป็นที่กล่าวขวัญกันถึงความ***มหาญในครั้งนั้น

“ถ้าถามว่ามีผู้บาดเจ็บล้มตายจากการกระทำของกลุ่มกระทิงแดงหรือเปล่า ก็คงต้องมีบ้าง ทำสงครามก็ต้องมีคนตายบ้างนิด ๆ หน่อย ๆ ด้วยกันทั้งสองฝ่าย อย่าลืมว่ามนุษย์ทำสงครามเพื่ออะไร คงไม่มีใครบ้าทำสงครามเพื่อฆ่าใครเล่นง่าย ๆ หรอก ผมว่าคนเราเข้าใจผิด เอะอะก็บอกว่าฉันเกลียดสงคราม แล้วเขารู้หรือเปล่าว่าสงครามทำเพื่ออะไร สงครามทำขึ้นเพื่อสันติภาพ ทีนี้นักวิชาการจะไปตีความแต่การฆ่ากัน เขาไม่ได้มองถึงผลสุดท้ายของมัน เพราะหลังสงครามแล้ว สันติภาพก็จะเกิดขึ้น แม้ว่าในช่วงสงครามจะมีการบาดเจ็บล้มตายไปมาก ก็เพราะว่าเป็นเรื่องจำเป็น”

อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดงย้อนเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า เมื่อครั้งจอมพลถนอม กิตติขจร บวชเณรเดินทางเข้ามาประเทศไทย ความคิดของคนไทยมีอยู่สองทาง คือ หนึ่ง จะตั้งศาลเตี้ยที่ท้องสนามหลวง เพื่อจับตัวจอมพลถนอมมาลงโทษ อีกความคิดหนึ่งคือผลักดันให้จอมพลถนอมเดินทางออกนอกประเทศไปตามเดิม ฝ่ายกระทิงแดงกับศูนย์กลางนิสิตฯ ได้ประชุมร่วมกันที่จุฬาฯ โดยมีมติเป็นอย่างหลัง แต่วันรุ่งขึ้นมีกรรมการศูนย์กลางนิสิตฯ บางคนไม่ยอม ศูนย์กลางนิสิตฯ รวบรวมคนได้ประมาณ 10,000 คน จะรวมพลไปที่สนามบินดอนเมือง

“ผมก็มาคิดว่า ถ้าพาคนเข้าไปสถานที่ราชการ ทางราชการเขาจะทำยังไง เขาก็บอกว่าเขาต้องยิง เป็นหน้าที่ของผมที่จะห้ามไม่ให้เขาไป ผมก็ให้เด็กของผมทำระเบิดแบบที่ว่า 20 ลูก พอถึงเวลาหกโมง ผมก็ส่งคนไปขว้างระเบิดที่สนามบิน โดยขว้างไปที่ตัวตึก เสียงดังมาก ทำให้คนวิ่งหนีกันกระเจิง แต่ก็มีคนหาว่าผมเข่นฆ่าประชาชน ถ้าผมเข่นฆ่าประชาชน ทำไมคนไม่ตายสักคน แต่เราไม่อยากแก้ตัว เราจะไปแก้ตัวทำไม ในเรื่องเรามีกำลังคนน้อย แต่จะต้องไปสู้กับกลุ่มที่มีกำลังคนมากกว่า เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาความน่ากลัวเอาไว้ เราจึงปล่อยให้เขาเข้าใจเราอีกอย่างหนึ่ง ให้เขากลังเราเอง เขาฆ่าตัวเขาเองนะ เราไม่กลัวเขาเกลียด เพราะเราเสียสละแล้ว เราจะไปกลัวอะไร บางคนก็ด่าถึงแม่ผม แต่นั่นคือชัยชนะของผม

“มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในรัฐบาล ขณะนั้นมีความขัดแย้งกันภายในพรรค ทำให้พรรคอ่อนแอ พออ่อนแอก็กลัวว่าจะมีการปฏิวัติ การที่จะไม่ให้ทหารปฏิวัติคือต้องรวบรวมมวลชนเข้าไว้โดยไม่ให้เกิดความแตกแยกในกลุ่มพลังมวลชน เขามาคุยกับผม ผมก็บอกว่าผมเห็นด้วยที่จะไม่ให้ทหารปฏิวัติ แล้วก็รับปากว่ากลุ่มกระทิงแดงจะลดบทบาทลง โดยขอว่า เมื่อรวมมวลชนได้แล้วต้องรักษาความมั่นคงของชาติไว้ให้ได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าตั้งแต่วันที่ 27-28 กันยายน ถึง 5 ตุลา ไม่มีกระทิงแดงออกไปเลย ปรกติถ้านักศึกษาออกเดินขบวนเมื่อไรจะต้องมีกระทิงแดงไปถ่วงดุลตลอดเวลา แต่ปรากฎว่าในระยะห้าหกวัน มีคนเกิดขึ้นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือคุณอุทาร สนิทวงศ์ คุณอุทิศ นาคสวัสดิ์ ทมยันตี ซึ่งอาศัยลูกเสือชาวบ้านเป็นฐาน ไปตั้งกลุ่มที่หน้าลานพระบรมรูปทรงม้า กับอีกกลุ่มคือกลุ่มนักศึกษา อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“ทีนี้ในสายตาของผม ถ้าคนสองกลุ่มนี้เกิดปะทะกันขึ้นมาด้วยอะไรก็ตามแต่ มันจะเป็นสงครามกลางเมือง แล้วสงครามกลางเมืองจะเอื้ออำนวยต่อคอมมิวนิสต์ที่จะมายึดครองประเทศ ผมก็ไปขอร้องคุณอุทาร อธิบายเหตุผลให้เขาฟัง คุณอุทารก็ถอนตัวกลับไปอยู่ที่วิทยุยานเกราะ ใช้วิทยุเป็นกระบอกเสียงต่อสู้กัน ทางศูนย์กลางนิสิตฯ ก็ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงวันที่ 5 ตุลาคม ตอนเย็น ผมก็เข้าไปที่ธรรมศาสตร์ วิทยุก็ปลุกปั่นกันจนร้อนแล้ว ผมก็กลับมารายงานหัวหน้ารัฐบาลในขณะนั้นว่า มัน ทู ฮอท ทู แฮนเดิล แล้ว ร้อนจนยากที่จะจับแล้ว ขอให้แก้ไข ท่านก็ถามผมว่าจะแก้ไขอย่างไร ผมก็บอกว่าไม่ยาก ก็ให้ตำรวจ สน.ชนะสงครามเข้าไปอยู่ในธรรมศาสตร์เพื่อป้องกันไม่ให้พวกนั้นทำรุนแรง ผมก็ได้ข่าวแล้วว่าพวกนั้นมีอาวุธ แต่ไม่ใช่ว่ามีอาวุธทุกคน เมื่อสถานการณ์ยิ่งร้อน ผมก็พยายามติดต่อหน่วยราชการ เขาก็บอกว่าไม่สามารถเอาตำรวจเข้าไปได้ เพราะศูนย์กลางนิสิตฯ ไม่ยอมให้ตำรวจเข้าไป

“จนกระทั่งตีหนึ่ง ผมก็ถามว่าว่ายังไง ท่านก็บอกว่าได้สั่งการไปที่อธิบดีกรมตำรวจแล้ว ผมก็ไปถามท่านอธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.อ.ศรีศุข มหินทรเทพ ว่านายกฯ สั่งอะไรหรือยัง ท่านก็บอกว่านายกฯ ไม่ได้สั่งอะไรเลย หมายความว่าตอนนั้นนายกฯ ก็ปล่อยตามเรื่องตามราวแล้ว ไม่รู้จะทำยังไง จริง ๆ แล้วในขณะนั้นเรารับปากแล้วว่าจะไม่เกี่ยวข้องด้วย แต่ก็อยู่เฉยไม่ได้ ในที่สุดก็พอจะรวบรวมกระทิงแดงได้สัก 20 คนไปที่ธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์มีประตูอยู่ 3 ประตู ผมไปอยู่ตรงประตูท่าพระจันทร์ ส่วนท้องสนามหลวงจะมีคนอีกกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มของผมที่เรียกว่าค้างคาว 500 เป็นลักษณะกลุ่มคนไม่ดี เป็นอันธพาล”

พล.ต.สุตสาย กล่าวว่า หน่วยกระทิงแดงซึ่งมีอยู่ไม่กี่คนได้บุกเข้าไปในธรรมศาสตร์ในวันนั้น

“ผมจำเป็นต้องบุกเข้าไป แต่เนื่องจากผมมีคนอยู่ไม่กี่คน เลยต้องการให้เป็นการบุกในลักษณะพาตำรวจเข้าไป พอประมาณหกโมงกว่าก็ใช้คนสองคนบุกเข้าไป แล้วก็พยายามดึงตำรวจที่อยู่แถวนั้นเข้าไปเป็นกองหลัง ผลปรากฎว่าทั้งสองคนถูกยิงตาย ในศูนย์กลางนิสิตฯ เขามีกำลังอาวุธ แต่ไม่ใช่ทุกคนมีนะ เด็กก็กลับมาหาผม ถามว่าทำอย่างไร ผมก็บอกว่าต้องเข้าไปอีกที โดยใช้แผนเดิม คือ ให้ตำรวจวิ่งตามเข้าไป พอเขาวิ่งเข้าไปปั๊บ เขากระจายตัว ศูนย์กลางนิสิตฯ ก็ยิงโดนตำรวจ ตำรวจก็บ้าเลือดแล้ว ก็เลยมีเหตุการณ์อลเวงกัน คราวนี้ทำไมถูกตีตาย ก็ต้องเล่าย้อนประวัติกันสักนิดหนึ่งว่า ถ้าศูนย์กลางนิสิตฯ ต่อสู้กับกระทิงแดงเมื่อไรก็ตาม แพ้ทุกที เพราะฉะนั้นศูนย์กลางนิสิตฯ ก็ต้องไปเอาพรรคพวกที่เป็นกลุ่มกุมารจีนเข้ามาเป็นกองกำลัง แล้วกลุ่มกุมารจีนกับพวกค้างคาว 500 จะไม่ถูกกัน กลุ่มกุมารจีน คือ พวกแถวเยาวราช เขาไม่ถือว่าตนเองเป็นคนไทย วัยรุ่นจีนมีความรุนแรง
“ส่วนพวกที่อยู่ทางประตูหน้า ด้านสนามหลวง ผมคุมไม่ได้ เพราะไม่ใช่กลุ่มเรา พอพังประตูเข้าไปปั๊บ พวกกุมารจีนก็ออกมา เรามองหน้าก็รู้ว่าใครเป็นกุมารจีน ใครเป็นค้างคาว 500 เป็นที่รู้กัน พอกุมารจีนวิ่งออกมา พวกนี้ไม่ถูกกับค้างคาว 500 ก็เลยถูกเขาตีเอา ตีให้ตายเลย เพราะไม่ถูกกัน ทีนี้สาเหตุที่ศูนย์กลางนิสิตฯ ตายมาก เพราะวิ่งตามกุมารจีนออกมาด้วย แล้วไม่มีใครแยกแยะว่าใครกุมารจีน ใครนักศึกษา ก็เลยถูกตี”

อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดงกล่าวว่าภาพความโหดร้ายที่เห็นในวันที่ 6 ตุลา ไม่ใช่การกระทำของกลุ่มกระทิงแดง เพราะกระทิงแดงไม่มีกำลังมากนัก มีกำลังอยู่ที่ธรรมศาสตร์ไม่ถึง 20 คน ความรุนแรงเกิดขึ้นจากหลายกลุ่มที่เข้ามาพัวพัน เช้าวันที่ 6 ตุลา ตนก็อยู่ที่นั่น แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะบรรยากาศเร่าร้อนมากแล้ว

“มีการแขวนคอผมก็เห็น เผาไฟผมก็เห็น แต่ผมทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่ใช่กลุ่มผมที่ทำ ตอนหกโมงเช้าผมได้ยินเสียงปืนสองครั้ง เป็นปืนหนัก 1 ครั้ง แล้วก็ปืนที่ศูนย์กลางนิสิตฯ ยิงออกมาอีกหนึ่งครั้ง อาจเป็นแผนของพวกปฏิวัติก็ได้ เราไม่รู้ แต่ระเบิดที่ลงตอนตีห้า ไม่ใช่ของกลุ่มกระทิงแดง พวกที่ทำในวันนั้นอาจเป็นพวกของกลุ่มปฏิวัติหรือกลุ่มอื่น ๆ ผมก็ตอบไม่ได้ เพราะวันนั้นมีหลายกลุ่มที่เข้ามาพัวพัน”

พล.ต.สุตสาย พูดถึงประเด็นการเล่นละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามที่หนังสือพิมพ์ดาวสยามตีพิมพ์ภาพในหน้า 1 จนเป็นชนวนให้เหตุการณ์ลุกลาม

“ตอนนั้นเราประชุมกันบ่อย ประชุมทุกวัน ต้องดูสถานการณ์บ้านเมือง ผมมีหน่วยข่าวกรอง เรามีเด็กเยอะ เดี๋ยวคนนั้นก็คาบข่าวมาบอก คนนี้ก็คาบข่าวมาบอก ผมพยายามห้ามไม่ให้ศูนย์กลางนิสิตฯ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ตลอด แต่ศูนย์กลางนิสิตฯ ก็พยายามหาทางหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบ่อย ๆ เรื่องละครมีตั้งแต่ทีแรกแล้ว เขาจะเล่นเรื่องสี่แผ่นดิน คุณรู้ไหม ผมแก้เขาอย่างไร เวลาผมจะให้ละครเลิก ผมก็เอากบบ้างเอางูบ้าง ไปโยนใส่ในกลุ่มนักศึกษาที่แสดงละคร ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละคุณเอ๋ย

“แต่ตอนที่นักศึกษาแสดงละครแขวนคอ ผมไม่ได้เอางูไปปล่อย เพราะตอนนั้นเรารับปากกับรัฐบาลแล้วว่าเราจะไม่ยุ่ง ผมทราบเรื่องเขาเล่นละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพราะมีคนมาบอก แต่เราก็สงสัยมาจนทุกวันนี้ว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือโกหกกันแน่ เราก็ไม่ได้ไปสอบสวนเรื่องนี้ เรื่องที่ว่าเขาเอาคนหน้าเหมือนองค์รัชทายาทแขวนคอจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ บางคนก็บอกว่าจริง บางคนก็บอกว่าโกหก แต่ปัญหานี้ผมไม่ยุ่งด้วย เพราะว่าไม่ใช่เรื่องของผม ผมไม่ได้ใส่ใจตรงนั้น แต่มีความรู้สึกว่าเขาจะเล่นละครแนวนี้อีก เพราะเขาทำมานานแล้ว เขาเล่นในหอประชุมมหาวิทยาลัยมานาน ก็เลยไม่แปลกใจ”

หลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตลุา ในวันนั้นมีการรัฐประหารโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ พล.ต.สุตสาย กล่าวถึงความรู้สึกช่วงนั้นว่า

“ผมเคยประกาศไว้แล้วว่าผมจะต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อย่างตอนที่คุณสงัดประกาศปฏิวัติ ผมคิดสู้นะ แต่ก็คิดว่าเราจะเอาอะไรมาสู้เขา เราก็อดทนยอมเขา ตอนนั้นผมไม่คิดมาก่อนว่าจะมีการปฏิวัติ แต่พรรคการเมืองคิด ผมมาไตร่ตรองดูตอนหลัง ตอนนั้นเรามัวแต่ยุ่งกับงาน ก็เลยไม่ได้คิดว่าจะมีการปฏิวัติ ไม่ได้มองตรงนี้”

พล.ต.สุตสาย กล่าวว่า ส่วนใหญ่เงินที่ใช้เลี้ยงกระทิงแดงเป็นเงินของตน ภรรยาต้องจำนำของมาเป็นค่าใช้จ่าย หลังวันที่ 6 ตุลา เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ตนก็ประกาศยกเลิกหน่วยปฏิบัติการพิเศษกระทิงแดง เหตุการณ์ 6 ตุลาไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อตน นอกจากมีแต่คนนับหน้าถือตาเป็นส่วนใหญ่ มีบางคนบอกว่าตนได้ทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ

อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดงให้ความเห็นถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นการปิดท้าย

“ที่มีคนไม่อยากให้ขุดคุ้ยเหตุการณ์ 6 ตุลา เพราะว่าเขาไม่ได้ทำด้วยใจจริง เขาถูกจ้างมา เขารวมตัวกันเพื่ออะไร ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิวัติ ก็แสดงว่าเขาเป็นเครื่องมือของอีกพรรคการเมืองหนึ่ง แล้วเขาจะไปขุดคุ้ยทำไม เขาก็คิดว่าเขาพ่ายแพ้ แต่ผมไม่ได้มองว่าพ่ายแพ้หรอก พวกที่แพ้ก็เข้าป่าไป พวกคนดีก็อยู่ในเมือง ผมมองว่ามันทำให้แยกแยะได้ ตราบใดที่ไม่มี 6 ตุลา คุณจะแยกแยะไม่ออกหรอก ผมว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาให้อะไรบางอย่างแก่สังคมไทย อย่างน้อยที่สุด หากว่ามีคอมมิวนิสต์เข้ามา สามารถบอกได้เด็ดขาดเลยว่าคอมมิวนิสต์คือใคร อยู่ที่ไหน ถ้าถามว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา ทำให้ผมนึกถึงอะไร ผมนึกถึงการปฏิวัติ เพราะผมบอกแล้วว่าผมไม่ชอบเผด็จการ ถ้าหากว่าบ้านเมืองมันเลวอาจต้องทำ แต่ต้องเป็นการปฏิวัติที่ทำเพื่อชาติ

“ในความคิดผม เหตุการณ์ 6 ตุลา ผมไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ วันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ 14 ตุลา ส่วนเหตุการณ์เดือนพฤษภาถือเป็นเรื่องเหลวไหล เป็นเรื่องของคนทำงานไม่เป็น 6 ตุลา ผมคิดว่ามีคนตายไม่เกิน 10 คน นอกนั้นว่ากันไปเอง ไม่มีหรอก ถ้าคนตายก็ต้องหาได้สิ ที่ว่าคนตาย 500-600 ไปอยู่ที่ไหน คนที่ไปเผาป้อมยาม ตีไฟจราจรจะให้เป็นวีรชนได้ยังไง ผมคิดว่า 6 ตุลาไม่รุนแรงนะ คนก็ตายแค่นั้น เดี๋ยวเดียวก็จบ ไม่ใช่วันเดียวด้วยซ้ำ ตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้าเท่านั้น 14 ตลุา รุนแรงกว่า เพราะไปอาละวาด สู้กันตามถนนหนทาง เผาบ้านเผาเรือน”
สำหรับ พล.ต.สุตสาย เมื่อมองย้อนกลับไป หากเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ไม่มีกลุ่มกระทิงแดง ประเทศไทยหลังจากนั้นจะเป็นเช่นไร

“เรื่องนี้สุดแท้แต่ใครจะคิด แต่สำหรับผม ผมมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่ช่วยให้ประเทศไทยยังรักษาความเป็นประชาธิปไตยเอาไว้ได้”

จาก สารคดี 2539

***********************

อ่านแล้วผมรุสึกรักชาติมากขึ้นจริงๆ 

ขนาดฆาตกรยังขึ้นมาถึง พลตรี จากก่อนหน้านั้น เป็นแค่นายพันทหารม้าเล็กๆ มีเมียเป็นคนทรงลวงโลก

ไม่น่าเชื่อว่าปูบำเหน็จกันดีอย่างนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-05-2008, 16:35 โดย Post-modern ++++ » บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
999
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,022



« ตอบ #1 เมื่อ: 14-05-2008, 16:39 »


พวกนิยมความรุนแรง อำนาจนิยมจะคิดแบบคล้ายๆกัน

ต่างกันที่ถูกผลักไปยืนฝั่งไหนเท่านั้นเอง


คำถามชวนคิดคือ สงครามจำเป็นหรือไม่สำหรับ สันติภาพ?

เรื่องนี้หาคำตอบสำเร็จได้ยาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของคู่สงคราม


จดหมายของสุดสายที่ว่าฝากเก็บไว้ยังไม่ถูกเปิด แต่อาจจะไม่มีอะไรใหม่ก็ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-05-2008, 00:27 โดย 999 » บันทึกการเข้า

saopao
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 199



« ตอบ #2 เมื่อ: 14-05-2008, 17:42 »

อ่านแล้วผมรุสึกรักชาติมากขึ้นจริงๆ 

ขนาดฆาตกรยังขึ้นมาถึง พลตรี จากก่อนหน้านั้น เป็นแค่นายพันทหารม้าเล็กๆ มีเมียเป็นคนทรงลวงโลก

ไม่น่าเชื่อว่าปูบำเหน็จกันดีอย่างนี้



สงสัยมีใครอยู่เบื้องหลังแน่ๆ  เพื่อสิทธิของประชาชนเราต้องจัดการใครดีละครับงานนี้ 
บันทึกการเข้า

พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #3 เมื่อ: 14-05-2008, 18:04 »

หนึ่งในบรรดากระทิงแดง คือผู้พันตึ๋ง เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ  อดีตนักเรียนอาชีวะเทคนิคกรุงเทพ เมื่อจบการศึกในฐานะกระทิงแดงแล้ว ก็ได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอ.รมน. จนสอบบรรจุได้เป็นทหารได้ ติดยศว่าที่ร้อยตรี ประจำ ศรภ. หรือศูนย์รักษาความปลอดภัยกองบัญชาการทหารสูงสุด  แต่ก็น่าสงสัยว่ามาได้ไง เพราะจบการศึกษาแค่ระดับชั้น ป.ว.ส. เท่านั้น  จะไปเรียนต่อที่ไหนมาประวัติไม่ได้บอกไว้

นี่คงนับเป็นกระทิงแดงที่ได้ดีที่สุด เพราะได้ตำแหน่งสูงถึงพันตรี ก่อนจะถูกถอดยศเป็นพลเรือน เมื่อศาลตัดสินถึงที่สุดในความผิดคดีฆ่าคนตาย

เรื่อง 6 ตุลาคม มันสับสนและมั่วจริงอย่างที่ พล.ต.สุตสาย ว่าไว้ เพราะหลายกลุ่ม หลายหน่วย ปฎิบัติงานกันโดยไม่ได้ประสานกัน มีทั้งผู้มีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย และทั้งผู้ที่โดดเข้าร่วมเพราะหวังผลประโยชน์ หรือเข้าร่วมเพราะมีอุดมการณ์

หากจะแยกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มภายในมหาวิทยาลัย และกลุ่มภายนอกมหาวิทยาลัย  กลุ่มภายนอกนั้นมีจำนวนกลุ่มหลากหลายจริงๆ แต่เป้าหมายร่วมอยู่ที่จุดเดียวกัน นั่นคือโค่นอำนาจของนิสิตนักศึกษาในเวลานั้น และเชื่อกันว่าจะเป็นการโค่นอำนาจของคอมมิวนิสต์ในเมืองไปด้วย เพราะในขณะนั้นสถานการณ์คอมมิวนิสต์กำลังรุนแรงถึงขีดสุด ไซ่งอ่นก็แตกไปแล้ว อเมริกันพ่ายกลับบ้านไปแล้ว ทฤษฎีโดมิโนบอกไว้ว่า ไทยจะเป็นโดมิโนตัวต่อไป

กลุ่มกุมารจีนนั้น ภายหลังไม่นานในสถานการณ์กบฎพลับพลาชัย ก็ถูกกวาดล้างไปเป็นจำนวนมาก หลายคนเป็นหนุ่มสาวชาวจีน ที่เดินทางมาจากแผ่นดินใหญ่ เพื่อมาปลดปล่อยประเทศไทยตามอุดมการของพวกเขา หลังเหตุการณ์พลับพลาชัย หลายคนก็ต้องกลับไปตั้งรกรากอยู่ในจีนอีกครั้ง

เสียดายที่ พล.ต.สุตสาย ไม่ได้อยู่เห็นเหตุการในวันนี้  คราวก่อน กลุ่มผู้คิดล้มล้างการปกครองของไทย ใช้ฐานที่มั่นในธรรมศาสตร์ กลุ่มต่อต้านอยู่ด้านนอก มาวันนี้ที่อยู่มันกลับกัน เพราะ กลุ่มผู้ต้องการรักษาการปกครองของชาติ อยู่ในธรรมศาสตร์ และ กลุ่มผู้คิดล้มล้างการปกครองของไทย อยู่ด้านนอกแทน 
บันทึกการเข้า
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #4 เมื่อ: 14-05-2008, 19:44 »

เหตุการณ์ 6ตุลา2519 
ประวัติศาสตร์ที่รอการชำระ




จดหมายพระสุรินทร์ (สุรินทร์ มาศดิตถ์) แฉเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519

วัดพรหมโลก กิ่ง อ.พรหมคีรี นครศรีธรรมราช
วันที่ 24 ตุลาคม 2520

เจริญพรเพื่อนอดีต ส.ส. และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่รัก นับถือ

จดหมายของอาตมา ฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม 2520 แจ้งผลการทอดผ้าป่าสามัคคีและเล่าเรื่องก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คือ การที่รัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมา แล้วถูกยึดอำนาจให้ทราบบ้างแล้ว ตอนท้ายได้กล่าวไว้ว่า ความลับในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เท่าที่ประสบด้วยตนเองต่อ ดังนี้

วันที่ 6 ตุลาคม 2519 อาตมามาถึงตึกบัญชาการ สำนักนายกรัฐมนตรี เวลาประมาณ 7.00 น.เศษ มีนักหนังสือพิมพ์มาคอยอยู่ที่บันไดและลานก่อนเข้าลิฟท์หลายคน ต่างก็ถามถึงการที่มีภาพแขวนคอหน้าคล้ายเจ้าฟ้าชาย อาตมาตอบว่า ไม่มีปัญหาอะไรแล้ว นายกรัฐมนตรีสั่งดำเนินคดี และกรรมการศูนย์นิสิตนักศึกษาบางคนเข้ามอบตัวแล้ว ต้องดำเนินคดีไปตามกฎหมาย แล้วอาตมารีบขึ้นไปชั้น 4 ที่ห้องทำงานนายกรัฐมนตรี พบ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้ดูภาพในหนังสือพิมพ์ดาวสยามและบ้านเมือง จึงเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีว่า ให้รีบประกาศภาวะฉุกเฉิน ห้ามชุมนุมทั่วประเทศ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ฯพณฯ นายกเห็นด้วย และว่าเดี๋ยว 9 โมงเช้า ประชุมคณะรัฐมนตรี จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อาตมาจึงลงไปห้องทำงานชั้น 3 เห็นหนังสือด่วนไม่กี่ฉบับ เวลา 9.00 น.เศษ จึงรีบลงไปประชุมคณะรัฐมนตรีที่ตึกไทยคู่ฟ้า ไปถึงคณะรัฐมนตรีเปิดประชุมไปแล้ว นายกรัฐมนตรีกล่าวกับอาตมาว่า กำลังพิจารณาเรื่องประกาศภาวะฉุกเฉิน อาตมาว่า ก็ไม่มีปัญหาอะไร เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมหาดไทย และจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และป้องกันเหตุร้ายในบ้านเมือง ปรากฏว่าพลตรีชาติชาย ชุณหะวัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีอื่นฝ่ายพรรคชาติไทย คัดค้านไม่ให้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ไม่ให้ห้ามการชุมนุม โดยอ้างเหตุผลว่าหากห้ามการชุมนุม ลูกเสือชาวบ้านจำนวนมากที่นัดมาชุมนุมที่อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า เดินทางเข้ามาชุมนุมมากแล้วและกำลังเดินทางมา ก็จะเดือดร้อน ชุมนุมไม่ได้ แล้วจะหันมาเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล

เหตุผลการคัดค้านของพลตรีชาติชาย ชุณหะวัน อ่อน รัฐมนตรีส่วนมากนั่งเฉย แสดงว่าเห็นด้วยในการประกาศภาวะฉุกเฉิน พลตรีชาติชายจึงได้ไปนำเอาพล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน ผู้เป็นหัวหน้าลูกเสือชาวบ้านคนหนึ่งของฝ่าย ตชด. เข้ามาในคณะรัฐมนตรี มาคัดค้านการประกาศภาวะฉุกเฉิน และกล่าวว่า จะต้องปราบนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้สิ้นซาก นายกรัฐมนตรีพูดว่าไม่ได้ หากเกิดจลาจลเป็นหน้าที่ของตำรวจทหาร บ้านเมืองมีขื่อมีแป คุณจะเอาประชาชนไปฆ่าประชาชนไม่ได้ พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์บังอาจโต้นายกรัฐมนตรีต่อไปว่า ลูกเสือชาวบ้านก็มีวินัยรวมกับตำรวจทหารได้ ดูเหตุการณ์จากการกระทำของรัฐมนตรีฝ่ายพรรคชาติไทยและที่ไปนำพล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ เข้ามาโต้เถียงกับนายกรัฐมนตรีแล้ว อาตมาเข้าใจได้ทันทีว่าพวกนี้ต้องวางแผนการปฏิวัติไว้แล้ว และเชื่อแน่ของพวกเขาแล้วว่าต้องสำเร็จแน่ ตำรวจยศพลตำรวจตรี ยังกล้าเถียงนายกรัฐมนตรีถึงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทย รมต.เกษตรฯ แสดงความเห็นในคณะรัฐมนตรีว่า เป็นจังหวะและโอกาสดีที่สุดแล้วที่จะปราบปราม ให้ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ถูกลบชื่อหายไป

ก่อนเที่ยงที่กำลังโต้กันเรื่อง จะประกาศภาวะฉุกเฉินหรือไม่ โดยรัฐมนตรีฝ่ายประชาธิปัตย์ให้ประกาศ รัฐมนตรีฝ่ายพรรคชาติไทยไม่ยอมให้ประกาศ ทั้งๆ ที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการ่างประกาศไว้แล้ว ยังไม่เป็นที่ยุตินั้น พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ ได้เข้ามารายงานในคณะรัฐมนตรี พร้อมกับร้องไห้โฮๆ ว่า ฝ่ายนักศึกษามีอาวุธปืนสงครามร้ายแรง ระดมยิงตำรวจบาดเจ็บและตายจำนวนมาก ฝ่ายนักศึกษาก็ตายแยะ พูดพลางร้องไห้พลาง ตำรวจนครบาลสู้ไม่ได้จึงส่งตำรวจพลร่มและ ตชด.เข้าไปปราบปราม ต่อมา พล.ต.อ.ศรีสุข มหินทรเทพ อธิบดีกรมตำรวจ เข้าไปรายงานเหตุการณ์ว่า ควบคุมสถานการณ์ในธรรมศาสตร์ไว้ได้แล้ว มีความสงบเรียบร้อยแล้ว นายกรัฐมนตรีถามว่า “ตำรวจตายกี่คนท่านอธิบดี” อธิบดีกรมตำรวจตอบว่า “ตำรวจไม่ตาย แต่บาดเจ็บไม่กี่คน” รัฐมนตรีจึงแสดงสีหน้าสงสัย อธิบดีกรมตำรวจหันไปมอง พล.ต.ท.ชุมพล นั่งเช็ดน้ำตา จึงไม่รู้ว่าก่อนนั้นเขารายงานกันว่าอย่างไร อธิบดีกรมตำรวจจึงเดินออกจากที่ประชุมไป ต่อไป พล.ต.ต.กระจ่าง ซึ่งเป็นหัวหน้านำ ตชด.เข้าไปทำการควบคุมนักศึกษา 3,000 คนเศษไว้แล้วนั้น เข้ารายงานเหตุการณ์ในคณะรัฐมนตรี ท่านผู้นี้อาตมาไม่ทราบนามสกุล และอาตมายกย่องเขาอยู่จนบัดนี้ว่า เขาเป็นตำรวจอาชีพ ผู้บังคับบัญชาสั่งไปทำงานก็ไปทำ แล้วมารายงานคณะรัฐมนตรีตามความเป็นจริง แต่สังเกตดูไม่เป็นที่พอใจของรัฐมนตรีฝ่ายที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์
พล.ต.ต.กระจ่าง รายงานว่า ปืนที่ยึดจากนักศึกษาเป็นปืนพกเพียง 3 กระบอก คุณเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ รองนายกรัฐมนตรี ถามว่าปืนอะไร ที่เสียงดังมาก ดังปุดๆ ปึงๆ ใครยิง ฝ่ายเรายิง หรือฝ่ายนักศึกษายิง พล.ต.ต.กระจ่าง ตอบว่า ปืนอย่างนั้นนักศึกษาจะเอามาจากไหน ตำรวจยิงทั้งนั้น จนกระทั่งเที่ยงปัญหาจะประกาศภาวะฉุกเฉินหรือไม่ ยังตกลงกันไม่ได้ อาตมาจึงตัดบทด้วยการเสนอว่ามอบอำนาจนายกรัฐมนตรีก็แล้วกัน ท่านจะประกาศภาวะฉุกเฉินเวลาใด แล้วพักรับประทานอาหาร อาตมาถาม พล.ต.ต.กระจ่าง เป็นการส่วนตัวนอกที่ประชุมว่า ยึดอาวุธจากนักศึกษาได้เพิ่มหรือไม่ พล.ต.ต.กระจ่าง วิทยุถามไปที่ควบคุมนักศึกษาบางเขน ซึ่งเป็นศูนย์ ได้รับตอบมาทางวิทยุว่าได้ปืนจากนักศึกษาในธรรมศาสตร์เพียง 3 กระบอก เป็นปืนพกขนาด .22

ตอนบ่ายประชุมคณะรัฐมนตรี มีการพิจารณาร่างแถลงการณ์ ได้มีการแถลงการณ์บางตอนไม่ตรงตามความจริง อาตมาเป็นผู้คัดค้านไม่ให้ออกแถลงการณ์เท็จ ต่อมา พล.ต.ชาติชาย รมต.อุตสาหกรรม ออกไปนอกห้องประชุมแล้วพูดว่า ลูกเสือชาวบ้านที่ชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าเริ่มอึดอัดแล้วเพราะไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาล

นายกรัฐมนตรีถามว่า เหตุการณ์สงบแล้วยังไม่กลับบ้านอีกหรือ พล.ต.ชาติชายตอบว่า ยังไม่กลับ และเตรียมเดินขบวนมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอทราบคำตอบจากรัฐบาลตามข้อเรียกร้อง จึงมีรัฐมนตรีคนหนึ่งจำไม่ได้ว่าใครถามว่าลูกเสือชาวบ้านเรียกร้องอะไร นายกรัฐมนตรีตอบว่า กลุ่มแม่บ้านได้ยื่นข้อเรียกร้องมาเมื่อวันก่อน พร้อมกับล้วงซองขาวออกจากอกเสื้อ แล้วอ่านให้ฟังถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มแม่บ้าน จำได้ว่ามีข้อเรียกร้องให้นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ นายชวน หลีกภัย นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ ออกจากรัฐมนตรี ให้จับ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นายแคล้ว นรปติ และกรรมการพรรคสังคมนิยมทุกคน ให้ใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์โดยเด็ดขาด เมื่ออ่านข้อเรียกร้องจบ นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้อเรียกร้องให้รัฐมนตรีออกจากตำแหน่งเป็นสิ่งที่มากไป นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ผมก็ไม่เห็นด้วยเพราะรัฐมนตรีได้รับพระกรุณาแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ การออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หากเห็นว่าไม่เหมาะสม ส.ส.ก็อาจลงมติไม่ไว้วางใจได้ การแถลงนโยบายในวันมะรืนนี้ (8 ตุลาคม) เพื่อรับรองความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ก็มีสิทธิที่จะลงมติไม่ไว้วางใจได้ ประชาชนเพียงบางส่วนจะมาเรียกร้องแบบนี้ เห็นว่าไม่ถูกต้อง

อาตมาประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยความอดทน สิ่งที่จะพูดหลายครั้งแต่ไม่พูด แต่เฉพาะข้อเรียกร้องของแม่บ้านกลุ่มหนึ่งนั้น อาตมาเห็นว่าจะต้องพูด เพราะมีรัฐมนตรีบางคนในพรรคชาติไทยเป็นผู้ร่วมก่อเรื่องนี้ขึ้นด้วย อาตมาจึงพูดว่า

อาตมาถูกใส่ร้ายป้ายสีมากมายด้วยความโกหกมดเท็จของนักการเมืองบางพวก บางคน เป็นการสาดโคลนใส่ร้ายป้ายสีกันอย่างน่าละอายที่สุด โดยมีหนังสือพิมพ์บางฉบับ สถานีวิทยุบางแห่ง เป็นผู้ร่วมสร้างข่าวเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีอาตมาด้วยความเท็จมาโดยตลอด แต่อาตมาทนหวังให้ผลงานเป็นสิ่งพิสูจน์ แต่เมื่อมาถึงขั้นให้กลุ่มคนส่วนน้อยที่ไม่ทราบความจริงมามีหนังสือบีบบังคับเช่นนี้ อาตมาไม่ออก อาตมาจะสู้เพื่อพิสูจน์ความจริง

แล้วอาตมาพูดต่อไปว่า อาตมาเป็นรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งปี 2519 นี้ พออาตมาได้เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณต่อองค์พระมหากษัตริย์แล้ว อาตมาได้พูดกับนายกรัฐมนตรีต่อหน้าเลขาธิการนายกรัฐมนตรีว่า หากผมไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ขอให้หัวหน้า (หมายถึง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี) กราบบังคมทูลเอาผมออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีได้ทุกเวลา และต่อมาในสมัยเสนีย์ 2 เมื่อหัวหน้าลาออกจากนายกรัฐมนตรี และสภาซาวเสียงให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีก อาตมาก็พูดกับนายกรัฐมนตรีอีกว่า ตั้งผมเป็นรัฐมนตรีอาจยุ่งยากมาก ขออย่าแต่งตั้งผมเลย แม้ไม่เป็นรัฐมนตรี ผมก็จะช่วยพรรคเหมือนเดิม นี่ย่อมแสดงว่าอาตมาไม่ได้หวงตำแหน่งรัฐมนตรี ยอมทำตามมติพรรค คำสั่งพรรค และดำเนินแนวนโยบายของพรรคอย่างเคร่งครัดทุกประการ แต่เมื่อมาบีบบังคับกันด้วยเล่ห์การเมืองที่สกปรกแบบนี้ ผมไม่ลาออก ผมจะสู้ สู้เพื่อศักดิ์ศรีของผม เป็นคำพูดของอาตมาในวันนั้น หลังจากนั้น พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร พูดขึ้นว่าการใส่ร้ายป้ายสีกันมันก็มีทั้งนั้นละ นี่ก็มีข่าวว่าคุณดำรงไปพูดที่ขอนแก่น

หลังจากนั้น พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัน ก็ออกจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่นานลูกเสือชาวบ้านและพวกเขาที่เตรียมไว้ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีนายธรรมนูญ เทียนเงิน นายสมัคร สุนทรเวช นายส่งสุข ภัคเกษม และพวกได้ไปร่วมอยู่ด้วยนั้น ก็เคลื่อนขบวนมาทั้งรถยนต์ และเดินมาล้อมทำเนียบรัฐบาล ขณะนั้นฝนกำลังตกหนัก การประชุมคณะรัฐมนตรีเลิกประมาณ 15.00 น.เศษ อาตมานั่งรถยนต์จากตึกไทยคู่ฟ้าไปตึกบัญชาการ ตั้งใจว่าจะทำงานอยู่ตามปกติ เพราะถือว่าตนไม่ได้ทำผิดอะไร แต่นายตำรวจคนหนึ่งยืนกรำฝนรออยู่และเตือนว่าท่านรัฐมนตรีรีบออกจากทำเนียบรัฐบาลเร็วที่สุด มิเช่นนั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต อาตมาก็ได้คิดและสั่งคนขับรถออกจากทำเนียบไปได้อย่างปลอดภัย ความจริงยังมีอีกมาก ปฏิวัติแล้วเขาว่าจะมีเลือกตั้ง เราต้องพบกันอีก ขอพวกเราจงสามัคคีกัน อย่าเอาคนทรยศต่อพรรคเข้ามาอีก การอยู่รวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองต้องเลือกเอาคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน แม้แต่คนละพรรคก็น่าจะร่วมกันได้ นักการเมืองทุกฝ่ายควรจะได้ร่วมกันเพื่อชาติจริงๆ ไม่ใช่เพื่ออำนาจและเงิน หรือผลประโยชน์ในกิจการส่วนตัว การรวมพรรคการเมืองที่มีแนวความคิด นโยบาย ใกล้เคียงกัน เป็นปึกแผ่น สามารถที่จะเอาชนะเผด็จการได้ หากแตกแยกกัน เผด็จการจะครองเมือง เหมือนที่เป็นมา ขอให้ทุกคนประสบความสุขและโชคดี

เจริญพรด้วยความรัก นับถือ
สุรินทร์ มาศดิตถ์

ที่มา : ธวัชชัย สุจริตวรกุล, คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา เล่ม 2 (กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2522) หน้า 454-460.
*********************************************************************************************************




บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #5 เมื่อ: 14-05-2008, 19:48 »

เปิดตัวละคร : ใครเป็นใครในสมัย 6 ตุลา 2519

-พล.ต.อ.ศรีสุข มหินทรเทพ อธิบดีกรมตำรวจ
-พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ
-พ.ต.ท.สล้าง บุนนาค รองผู้กำกับการ 2 กองปราบปราม
(ตำรวจปราบจลาจลเป็นแผนกหนึ่ง (แผนก 5) ของกองกำกับการ 2 กองปราบปราม)
นายตำรวจระดับแถวหน้ามีอาทิ พล.ต.อ.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น, พล.ต.ท.ณรงค์ มหานนท์,
 พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธ์, พล.ต.ต.ยุทธนา วรรณโกวิท
-พล.ต.ต.สุวิทย์ โสตถิทัต ผู้บังคับการกองปราบปราม
-พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัญ หัวหน้าลูกเสือชาวบ้าน
-พล.ต.สุดสาย หัสดิน ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการ กอ.รมน. และหัวหน้ากระทิงแดง
และนายเฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือต่อมาคือ พ.ต.เฉลิมชัย (ผู้พันตึ๋ง) เป็นผู้ช่วย
-กิตติวุฑโฒภิกขุ ผู้นำสงฆ์ต่อต้านฝ่ายซ้าย
-นายวัฒนา เขียววิมล ผู้นำนวพล

ลักษณะของกองกำลังติดอาวุธที่ลงมือปราบปรามนักศึกษาประชาชน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519
มีแต่ตำรวจไม่มีทหาร เช่น นครบาล, แผนกอาวุธพิเศษ (สวาท), สันติบาล, กองปราบปราม,
ตำรวจแผนกปราบจลาจล (คอมมานโด), ตำรวจพลร่มตระเวนชายแดน จากค่ายนเรศวร หัวหิน

-พลเรือตรีสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
-พลเอกเสริม ณ นคร ผบ.ทบ. (รับตำแหน่งต่อจากพลเอกบุญชัย บำรุงพงศ์)
-พลเรือเอกอมร ศิริกายะผบ.ทร.
-พลอากาศเอกกมล เตชะตุงคะ ผบ.ทอ.

-ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ นายก อมธ.
-นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ
-นายมหินทร์ ตันบุญเพิ่ม นายกองค์การนักศึกษารามคำแหง
-นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ
-นายวิโรจน์ ตั้งวานิขย์ และนายอภินันท์ บัวหภักดี 2 นศ. มธ.
ผู้แสดงละครล้อเลียนการกลับเข้าประเทศไทยของสามเณรถนอม กิตติขจร
และถูกนำไปกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมฯ
อันนำไปสู่การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนด้วยอาวุธร้าย

บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
THEHERO
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 120


รัก ชาติ ศาส กษัตริย์ ยิ่งชีพ


« ตอบ #6 เมื่อ: 14-05-2008, 19:53 »

 

เป็นผม  ก็ไม่นิยมความรุนแรง  แต่อย่าลืมว่า  สถานการณ์ขณะนั้นมันสุกงอม

สงครามกลางเมืองจากกองทัพพรรคคอมฯ  พร้อมที่จะมีทุกเมื่อ ก่อนหน้านั้นสู้กันในป่า

แต่ก็มีนักศึกษษ  ในระดับแกนนำเลย  ที่ฝักไฝ่ในพรรค  มันคือเรื่องจริง  

ขนาดที่เลขาพรรคคนสุดท้ายยังว่าไว้  ว่ามีคนในพรรคของตนอยู่ในธรรมศาสตร์จริง

และเหตุการณ์ทั้งลายทั้งปวง  ที่เกิดขึ้น  ผมมว่า  มันก็เกิดจากพรรคคอมมิวนิสต์นี่แหละ

ที่ต้องการสรางสถานการให้  ไทย  ฆ่ากันเอง สมารมณืหมายของพวกเขาแล้ว

นักศึกษษเข้าป่าไปเพื่ออะไร  หากไม่ฝักไฝ่ในคอมมิวนิสต์  จะมาบอกว่าสถานการณ์บังคับมิได้

ก็เลือกในเสนทางนั้นเอง  จะโทษใคร  ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในประเทศ  ไม่อยากได้แนวทางของคอมฯ

สงครามมันก็โหดร้ายด้วยกันทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ  ตัวใครตัวมัน กรรมใดใครก่อรับเอง
บันทึกการเข้า

ชนใด  ไร้ซึ่งความรัก  ชนนั้นพิกลนัก
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #7 เมื่อ: 14-05-2008, 19:56 »

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 ของไทย (20 เมษายน พ.ศ.2519 - 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2519
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
1. พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
2. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
3. พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
5. นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
6. พลเอกกฤษณ์ สีวะรา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
7. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
8. นาย พิชัย รัตตกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
9. นาย พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
10. นายทวิช กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
11. นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
12. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
13. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
14. พลตรีศิริ สิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
15. พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
16. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
17. นายนิพนธ์ ศศิธร เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
18. พลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
19. นาวาอากาศโททินกร พันธุ์กระวี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
20. นายเล็ก นานา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
21. นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
22. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
23. นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
24. นายประชุม รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
25. นายคล้าย ละอองมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิช
26. นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
27. นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
28. นายสมบุญ ศิริธร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
29. นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
30. นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
31. นายสิดดิก สารีฟ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
32. นายดาบชัย อัคราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
33. นายปรีชา มุสิกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
34. นายแผน สิริเวชชะพันธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
35. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 ของไทย (ครม.ก่อน 6 ตุลา 19) (25 กันยายน พ.ศ. 2519 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
1. พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
2. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
3. พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
5. นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
6. นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7. พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
8. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
9. นายพิชัย รัตตกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
10. พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
11. นายทวิช กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
12. นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
13. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
14. นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
15. พลตรีศิริ สิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
16. พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
17. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
18. นายนิพนธ์ ศศิธร เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
19. นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
20. นาวาอากาศโททินกร พันธุ์กระวี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
21. นายเล็ก นานา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
22. นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
23. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
24. นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
25. นายประชุม รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
26. นายคล้าย ละอองมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
27. นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
28. นายแผน สิริเวชชะพันธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
29. นายดาบชัย อัคราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
30. นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
31. นายสิดดิก สารีฟ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
32. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
33. นายปรีชา มุสิกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 ของไทย (ครม.หลัง 6 ตุลา 19) (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. นายอัมพร จันทรวิจิตร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
2. นายดุสิต ศิริวรรณ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
3. พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
4. นายสุพัฒน์ สุธาธรรม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5. นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
6. นายอินทรีย์ จันทรสถิตย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
7. คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
8. นายสุธี นาทวรทัต เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
9. นายสมัคร สุนทรเวช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
10. นายเสมา รัตนมาลัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
11. นายภิญโญ สาธร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
12. เรือโทยงยุทธ สัจจวาณิชย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
13. พลอากาศโทเพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
14. นางวิมลศิริ ชำนาญเวช เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
15. พลเอกเล็ก แนวมาลี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
16. นายคนึง ฤๅชัย เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #8 เมื่อ: 14-05-2008, 21:30 »



เป็นผม  ก็ไม่นิยมความรุนแรง  แต่อย่าลืมว่า  สถานการณ์ขณะนั้นมันสุกงอม

สงครามกลางเมืองจากกองทัพพรรคคอมฯ  พร้อมที่จะมีทุกเมื่อ ก่อนหน้านั้นสู้กันในป่า

แต่ก็มีนักศึกษษ  ในระดับแกนนำเลย  ที่ฝักไฝ่ในพรรค  มันคือเรื่องจริง  

ขนาดที่เลขาพรรคคนสุดท้ายยังว่าไว้  ว่ามีคนในพรรคของตนอยู่ในธรรมศาสตร์จริง

และเหตุการณ์ทั้งลายทั้งปวง  ที่เกิดขึ้น  ผมมว่า  มันก็เกิดจากพรรคคอมมิวนิสต์นี่แหละ

ที่ต้องการสรางสถานการให้  ไทย  ฆ่ากันเอง สมารมณืหมายของพวกเขาแล้ว

นักศึกษษเข้าป่าไปเพื่ออะไร  หากไม่ฝักไฝ่ในคอมมิวนิสต์  จะมาบอกว่าสถานการณ์บังคับมิได้

ก็เลือกในเสนทางนั้นเอง  จะโทษใคร  ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในประเทศ  ไม่อยากได้แนวทางของคอมฯ

สงครามมันก็โหดร้ายด้วยกันทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ  ตัวใครตัวมัน กรรมใดใครก่อรับเอง

อ่านะ ความคิดของคุณ เพราะผมเชื่อว่าคุณเกิดไม่ทันหรอก ผมก็เกิดไม่ทัน

แต่เราแตกต่างกันตรงที่เรารับข้อมูล โดยผ่านคนละฝ่าย

แต่อย่าลืมว่าแนวคิดสังคมนิยม กับ คอมมิวนิสต์มันต่างกัน

และผมก็ไม่ทราบว่า นายทุนขูดรีดขูดเนื้อที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลผลิตของคอมมิวนิสต์ 5555555 (ถ้าคุณเชื่ออย่างนั้น)

ถ้าเป็นผลงานของคอมมิวนิสต์ให้คนไทยฆ่ากัน

ผมว่าเป็นรายการตลกยามเช้ายังน่าเชื่อกว่า 555555555555

ผมอาจจะลองให้คุณอยู่ในสถานะการณ์ที่เพื่อนถูกฆ่าทีละคน พี่น้องถูกฆ่าเล่น อาจจะรู้นะว่าหลายคนเข้าป่าอย่างไร

บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #9 เมื่อ: 14-05-2008, 22:38 »

จำได้ว่า สุตสาย เป็นคนหนึ่งที่บอกว่ามีบันทึกลับเกี่ยวกับเหตุการณ์นั่น ต้องตายไปกี่ปีถึงเผยแพร่ได้ ตอนนี้ตายไปกี่ปีแล้ว
บันทึกการเข้า
northstar
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 635


« ตอบ #10 เมื่อ: 14-05-2008, 23:48 »

เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ...
พล.ต. สุตสาย หัสดิน ไม่ได้กล่าวถึงภาพรวมจริงๆของสงคราม เพราะตัวท่านเองกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนั้นและจุดประสงค์ในขณะนั้น
สงคราม กับ คำว่า "สันติภาพ" มันขัดแย้งกันเองในด้านการทำ สันติภาพเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ต้องมีสงครามไม่ใช่เหรอครับ สงครามมันมีหลายรูป
แบบไม่ใช่ว่าจะต้องรบราฆ่าฟันกันอย่างเดียว และการที่จะใช้เหตุผลที่ว่า สงครามเพื่อสันติภาพ ตลอดเวลาไม่ได้ ถ้าเหตุการณ์ในตอนนั้นมัน
สันติอยู่แล้ว...แต่คุณกลับคิดจะทำสงคราม...มันก็เท่ากับว่า คุณกำลังจะทำลายสันติภาพที่มีอยู่ และที่สำคัญก็คือ
ใครที่เป็นคนเริ่มก่อสงคราม จุดประสงค์เพื่ออะไร และ ทำเพื่อใคร ถ้าคุณและบางกลุ่มกำลังเดือดร้อนจากสถานะการณ์ตอนนั้น แล้วไปเหมารวมว่าประชาชนทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนเหมือนคุณ คุณก็ไม่ได้รู้อะไรเลยเกี่ยวกับประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้าม คุณไปคิดแทนประชาชนแบบนั้น... ก็เท่ากับว่า คุณกำลังจำกัดเรีทางความคิดของประชาชน คุณเองก็ไม่ต่างจากการเป็นเผด็จการ แล้ว คุณจะมาบอกว่า

คุณต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ...มันก็เท่ากับว่า คุณต่อต้านตัมคุณเองเหมือนกัน

ถ้าประชาชนทุกคนเดือดร้อนจริง...พวกเค้าลุกขึ้นฮือกันเองกันได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีใครมาชี้แนะ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีใครมาเริ่มสงครามให้กับพวกเค้า
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #11 เมื่อ: 14-05-2008, 23:49 »

หนึ่งในบรรดากระทิงแดง คือผู้พันตึ๋ง เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ  อดีตนักเรียนอาชีวะเทคนิคกรุงเทพ เมื่อจบการศึกในฐานะกระทิงแดงแล้ว ก็ได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอ.รมน. จนสอบบรรจุได้เป็นทหารได้ ติดยศว่าที่ร้อยตรี ประจำ ศรภ. หรือศูนย์รักษาความปลอดภัยกองบัญชาการทหารสูงสุด  แต่ก็น่าสงสัยว่ามาได้ไง เพราะจบการศึกษาแค่ระดับชั้น ป.ว.ส. เท่านั้น  จะไปเรียนต่อที่ไหนมาประวัติไม่ได้บอกไว้

นี่คงนับเป็นกระทิงแดงที่ได้ดีที่สุด เพราะได้ตำแหน่งสูงถึงพันตรี ก่อนจะถูกถอดยศเป็นพลเรือน เมื่อศาลตัดสินถึงที่สุดในความผิดคดีฆ่าคนตาย

เรื่อง 6 ตุลาคม มันสับสนและมั่วจริงอย่างที่ พล.ต.สุตสาย ว่าไว้ เพราะหลายกลุ่ม หลายหน่วย ปฎิบัติงานกันโดยไม่ได้ประสานกัน มีทั้งผู้มีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย และทั้งผู้ที่โดดเข้าร่วมเพราะหวังผลประโยชน์ หรือเข้าร่วมเพราะมีอุดมการณ์

หากจะแยกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มภายในมหาวิทยาลัย และกลุ่มภายนอกมหาวิทยาลัย  กลุ่มภายนอกนั้นมีจำนวนกลุ่มหลากหลายจริงๆ แต่เป้าหมายร่วมอยู่ที่จุดเดียวกัน นั่นคือโค่นอำนาจของนิสิตนักศึกษาในเวลานั้น และเชื่อกันว่าจะเป็นการโค่นอำนาจของคอมมิวนิสต์ในเมืองไปด้วย เพราะในขณะนั้นสถานการณ์คอมมิวนิสต์กำลังรุนแรงถึงขีดสุด ไซ่งอ่นก็แตกไปแล้ว อเมริกันพ่ายกลับบ้านไปแล้ว ทฤษฎีโดมิโนบอกไว้ว่า ไทยจะเป็นโดมิโนตัวต่อไป

กลุ่มกุมารจีนนั้น ภายหลังไม่นานในสถานการณ์กบฎพลับพลาชัย ก็ถูกกวาดล้างไปเป็นจำนวนมาก หลายคนเป็นหนุ่มสาวชาวจีน ที่เดินทางมาจากแผ่นดินใหญ่ เพื่อมาปลดปล่อยประเทศไทยตามอุดมการของพวกเขา หลังเหตุการณ์พลับพลาชัย หลายคนก็ต้องกลับไปตั้งรกรากอยู่ในจีนอีกครั้ง

เสียดายที่ พล.ต.สุตสาย ไม่ได้อยู่เห็นเหตุการในวันนี้  คราวก่อน กลุ่มผู้คิดล้มล้างการปกครองของไทย ใช้ฐานที่มั่นในธรรมศาสตร์ กลุ่มต่อต้านอยู่ด้านนอก มาวันนี้ที่อยู่มันกลับกัน เพราะ กลุ่มผู้ต้องการรักษาการปกครองของชาติ อยู่ในธรรมศาสตร์ และ กลุ่มผู้คิดล้มล้างการปกครองของไทย อยู่ด้านนอกแทน
 



 
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #12 เมื่อ: 14-05-2008, 23:53 »

พล.ต.สุตสาย หัสดิน
อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดง




“การที่ผมเอาเด็กอาชีวะมาอยู่กับผมได้ เพราะว่าผมอ่านเขาออก ชั่วชีวิตผม ผมชนะคนได้ เพราะผมอ่านเขาออก”คือคำพูดของ พล.ต.สุตสาย หัสดิน อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดง องค์กรหนึ่งที่ถูกระบุว่าเป็น “ขวาพิฆาตซ้าย” ในยุค 6 ตุลา 19
วันนี้ในวัย 76 ปี พล.ต.สุตสาย เล่าถึงความเป็นมาของหน่วยปฏิบัติการพิเศษกระทิงแดง ซึ่งมีนักเรียนอาชีวะที่ส่วนหนึ่งเคยทำงานร่วมกับศูนย์กลางนิสิตฯ มาก่อน เป็นกำลังสำคัญ โดยกล่าวว่า กลุ่มกระทิงแดงเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เนื่องจากเห็นว่าศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเริ่มมีการเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ และเดินขบวนประท้วงรัฐบาลบ่อยครั้ง ถือเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยที่ได้มาอย่างเกินเลย ไม่ถูกต้อง เป้าหมายที่ควรเป็น คือ ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ในขณะนั้นแกนนำส่วนหนึ่งของศูนย์กลางนิสิตฯ นิยมในลัทธิคอมมิวนิสต์

“ผมเองต้องการให้ศูนย์กลางนิสิตฯ กับนักเรียนอาชีวะต่อสู้กัน แต่ก็ต้องมาคิดก่อนว่าเราจะเอาชนะเขาได้ยังไง เราไม่สามารถเอาชนะศูนย์กลางนิสิตฯ เพราะ หนึ่ง ศูนย์กลางนิสิตฯ มีคนศรัทธาเต็มบ้านเต็มเมือง สอง เขามีเงินจากการบริจาค 26 ล้าน สาม เขามีความเฉลียวฉลาดกว่านักเรียนอาชีวะ สี่ เขามีนักเรียนหนุนหลัง ถ้าคุณเอานักเรียนอาชีวะไปสู้เขา คุณจะแพ้ตั้งแต่อยู่ในมุ้งเลย ทีนี้คุณสมบัติของนักเรียนอาชีวะมีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือบ้าเลือด สอง เล่นลูกระเบิด ผมก็เอาคุณสมบัตินี้มาใช้ให้ชนะจงได้ ข้อที่ว่าบ้าเลือดนี่ผมรักษาไว้ การเล่นลูกระเบิดผมก็ต้องยอมให้เล่น แต่ต้องอยู่ในความควบคุม ถามว่าควบคุมยังไง เด็กนักเรียนอาชีวะช่วงหลัง ๆ เขาทำระเบิดโดยเอาเศษแก้วเหล็กแหลมต่าง ๆ ใส่เข้าไปด้วย วัสดุพวกนี้บวกกับแรงระเบิดจะทำให้คนตายได้ ผมก็ควบคุมให้เขาใส่แต่เชื้อปะทุ ขว้างไปก็เกิดเสียงดังเท่านั้น อย่างนี้เอาชนะศูนย์กลางนิสิตฯ ได้ เพราะศูนย์กลางนิสิตฯ ก็ต้องกลัวตาย”

บทบาทของกลุ่มกระทิงแดงเป็นที่กล่าวขวัญกันถึงความ***มหาญในครั้งนั้น

“ถ้าถามว่ามีผู้บาดเจ็บล้มตายจากการกระทำของกลุ่มกระทิงแดงหรือเปล่า ก็คงต้องมีบ้าง ทำสงครามก็ต้องมีคนตายบ้างนิด ๆ หน่อย ๆ ด้วยกันทั้งสองฝ่าย อย่าลืมว่ามนุษย์ทำสงครามเพื่ออะไร คงไม่มีใครบ้าทำสงครามเพื่อฆ่าใครเล่นง่าย ๆ หรอก ผมว่าคนเราเข้าใจผิด เอะอะก็บอกว่าฉันเกลียดสงคราม แล้วเขารู้หรือเปล่าว่าสงครามทำเพื่ออะไร สงครามทำขึ้นเพื่อสันติภาพ ทีนี้นักวิชาการจะไปตีความแต่การฆ่ากัน เขาไม่ได้มองถึงผลสุดท้ายของมัน เพราะหลังสงครามแล้ว สันติภาพก็จะเกิดขึ้น แม้ว่าในช่วงสงครามจะมีการบาดเจ็บล้มตายไปมาก ก็เพราะว่าเป็นเรื่องจำเป็น”

อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดงย้อนเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า เมื่อครั้งจอมพลถนอม กิตติขจร บวชเณรเดินทางเข้ามาประเทศไทย ความคิดของคนไทยมีอยู่สองทาง คือ หนึ่ง จะตั้งศาลเตี้ยที่ท้องสนามหลวง เพื่อจับตัวจอมพลถนอมมาลงโทษ อีกความคิดหนึ่งคือผลักดันให้จอมพลถนอมเดินทางออกนอกประเทศไปตามเดิม ฝ่ายกระทิงแดงกับศูนย์กลางนิสิตฯ ได้ประชุมร่วมกันที่จุฬาฯ โดยมีมติเป็นอย่างหลัง แต่วันรุ่งขึ้นมีกรรมการศูนย์กลางนิสิตฯ บางคนไม่ยอม ศูนย์กลางนิสิตฯ รวบรวมคนได้ประมาณ 10,000 คน จะรวมพลไปที่สนามบินดอนเมือง

“ผมก็มาคิดว่า ถ้าพาคนเข้าไปสถานที่ราชการ ทางราชการเขาจะทำยังไง เขาก็บอกว่าเขาต้องยิง เป็นหน้าที่ของผมที่จะห้ามไม่ให้เขาไป ผมก็ให้เด็กของผมทำระเบิดแบบที่ว่า 20 ลูก พอถึงเวลาหกโมง ผมก็ส่งคนไปขว้างระเบิดที่สนามบิน โดยขว้างไปที่ตัวตึก เสียงดังมาก ทำให้คนวิ่งหนีกันกระเจิง แต่ก็มีคนหาว่าผมเข่นฆ่าประชาชน ถ้าผมเข่นฆ่าประชาชน ทำไมคนไม่ตายสักคน แต่เราไม่อยากแก้ตัว เราจะไปแก้ตัวทำไม ในเรื่องเรามีกำลังคนน้อย แต่จะต้องไปสู้กับกลุ่มที่มีกำลังคนมากกว่า เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาความน่ากลัวเอาไว้ เราจึงปล่อยให้เขาเข้าใจเราอีกอย่างหนึ่ง ให้เขากลังเราเอง เขาฆ่าตัวเขาเองนะ เราไม่กลัวเขาเกลียด เพราะเราเสียสละแล้ว เราจะไปกลัวอะไร บางคนก็ด่าถึงแม่ผม แต่นั่นคือชัยชนะของผม

“มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในรัฐบาล ขณะนั้นมีความขัดแย้งกันภายในพรรค ทำให้พรรคอ่อนแอ พออ่อนแอก็กลัวว่าจะมีการปฏิวัติ การที่จะไม่ให้ทหารปฏิวัติคือต้องรวบรวมมวลชนเข้าไว้โดยไม่ให้เกิดความแตกแยกในกลุ่มพลังมวลชน เขามาคุยกับผม ผมก็บอกว่าผมเห็นด้วยที่จะไม่ให้ทหารปฏิวัติ แล้วก็รับปากว่ากลุ่มกระทิงแดงจะลดบทบาทลง โดยขอว่า เมื่อรวมมวลชนได้แล้วต้องรักษาความมั่นคงของชาติไว้ให้ได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าตั้งแต่วันที่ 27-28 กันยายน ถึง 5 ตุลา ไม่มีกระทิงแดงออกไปเลย ปรกติถ้านักศึกษาออกเดินขบวนเมื่อไรจะต้องมีกระทิงแดงไปถ่วงดุลตลอดเวลา แต่ปรากฎว่าในระยะห้าหกวัน มีคนเกิดขึ้นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือคุณอุทาร สนิทวงศ์ คุณอุทิศ นาคสวัสดิ์ ทมยันตี ซึ่งอาศัยลูกเสือชาวบ้านเป็นฐาน ไปตั้งกลุ่มที่หน้าลานพระบรมรูปทรงม้า กับอีกกลุ่มคือกลุ่มนักศึกษา อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“ทีนี้ในสายตาของผม ถ้าคนสองกลุ่มนี้เกิดปะทะกันขึ้นมาด้วยอะไรก็ตามแต่ มันจะเป็นสงครามกลางเมือง แล้วสงครามกลางเมืองจะเอื้ออำนวยต่อคอมมิวนิสต์ที่จะมายึดครองประเทศ ผมก็ไปขอร้องคุณอุทาร อธิบายเหตุผลให้เขาฟัง คุณอุทารก็ถอนตัวกลับไปอยู่ที่วิทยุยานเกราะ ใช้วิทยุเป็นกระบอกเสียงต่อสู้กัน ทางศูนย์กลางนิสิตฯ ก็ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงวันที่ 5 ตุลาคม ตอนเย็น ผมก็เข้าไปที่ธรรมศาสตร์ วิทยุก็ปลุกปั่นกันจนร้อนแล้ว ผมก็กลับมารายงานหัวหน้ารัฐบาลในขณะนั้นว่า มัน ทู ฮอท ทู แฮนเดิล แล้ว ร้อนจนยากที่จะจับแล้ว ขอให้แก้ไข ท่านก็ถามผมว่าจะแก้ไขอย่างไร ผมก็บอกว่าไม่ยาก ก็ให้ตำรวจ สน.ชนะสงครามเข้าไปอยู่ในธรรมศาสตร์เพื่อป้องกันไม่ให้พวกนั้นทำรุนแรง ผมก็ได้ข่าวแล้วว่าพวกนั้นมีอาวุธ แต่ไม่ใช่ว่ามีอาวุธทุกคน เมื่อสถานการณ์ยิ่งร้อน ผมก็พยายามติดต่อหน่วยราชการ เขาก็บอกว่าไม่สามารถเอาตำรวจเข้าไปได้ เพราะศูนย์กลางนิสิตฯ ไม่ยอมให้ตำรวจเข้าไป

“จนกระทั่งตีหนึ่ง ผมก็ถามว่าว่ายังไง ท่านก็บอกว่าได้สั่งการไปที่อธิบดีกรมตำรวจแล้ว ผมก็ไปถามท่านอธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.อ.ศรีศุข มหินทรเทพ ว่านายกฯ สั่งอะไรหรือยัง ท่านก็บอกว่านายกฯ ไม่ได้สั่งอะไรเลย หมายความว่าตอนนั้นนายกฯ ก็ปล่อยตามเรื่องตามราวแล้ว ไม่รู้จะทำยังไง จริง ๆ แล้วในขณะนั้นเรารับปากแล้วว่าจะไม่เกี่ยวข้องด้วย แต่ก็อยู่เฉยไม่ได้ ในที่สุดก็พอจะรวบรวมกระทิงแดงได้สัก 20 คนไปที่ธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์มีประตูอยู่ 3 ประตู ผมไปอยู่ตรงประตูท่าพระจันทร์ ส่วนท้องสนามหลวงจะมีคนอีกกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มของผมที่เรียกว่าค้างคาว 500 เป็นลักษณะกลุ่มคนไม่ดี เป็นอันธพาล”

พล.ต.สุตสาย กล่าวว่า หน่วยกระทิงแดงซึ่งมีอยู่ไม่กี่คนได้บุกเข้าไปในธรรมศาสตร์ในวันนั้น

“ผมจำเป็นต้องบุกเข้าไป แต่เนื่องจากผมมีคนอยู่ไม่กี่คน เลยต้องการให้เป็นการบุกในลักษณะพาตำรวจเข้าไป พอประมาณหกโมงกว่าก็ใช้คนสองคนบุกเข้าไป แล้วก็พยายามดึงตำรวจที่อยู่แถวนั้นเข้าไปเป็นกองหลัง ผลปรากฎว่าทั้งสองคนถูกยิงตาย ในศูนย์กลางนิสิตฯ เขามีกำลังอาวุธ แต่ไม่ใช่ทุกคนมีนะ เด็กก็กลับมาหาผม ถามว่าทำอย่างไร ผมก็บอกว่าต้องเข้าไปอีกที โดยใช้แผนเดิม คือ ให้ตำรวจวิ่งตามเข้าไป พอเขาวิ่งเข้าไปปั๊บ เขากระจายตัว ศูนย์กลางนิสิตฯ ก็ยิงโดนตำรวจ ตำรวจก็บ้าเลือดแล้ว ก็เลยมีเหตุการณ์อลเวงกัน คราวนี้ทำไมถูกตีตาย ก็ต้องเล่าย้อนประวัติกันสักนิดหนึ่งว่า ถ้าศูนย์กลางนิสิตฯ ต่อสู้กับกระทิงแดงเมื่อไรก็ตาม แพ้ทุกที เพราะฉะนั้นศูนย์กลางนิสิตฯ ก็ต้องไปเอาพรรคพวกที่เป็นกลุ่มกุมารจีนเข้ามาเป็นกองกำลัง แล้วกลุ่มกุมารจีนกับพวกค้างคาว 500 จะไม่ถูกกัน กลุ่มกุมารจีน คือ พวกแถวเยาวราช เขาไม่ถือว่าตนเองเป็นคนไทย วัยรุ่นจีนมีความรุนแรง
“ส่วนพวกที่อยู่ทางประตูหน้า ด้านสนามหลวง ผมคุมไม่ได้ เพราะไม่ใช่กลุ่มเรา พอพังประตูเข้าไปปั๊บ พวกกุมารจีนก็ออกมา เรามองหน้าก็รู้ว่าใครเป็นกุมารจีน ใครเป็นค้างคาว 500 เป็นที่รู้กัน พอกุมารจีนวิ่งออกมา พวกนี้ไม่ถูกกับค้างคาว 500 ก็เลยถูกเขาตีเอา ตีให้ตายเลย เพราะไม่ถูกกัน ทีนี้สาเหตุที่ศูนย์กลางนิสิตฯ ตายมาก เพราะวิ่งตามกุมารจีนออกมาด้วย แล้วไม่มีใครแยกแยะว่าใครกุมารจีน ใครนักศึกษา ก็เลยถูกตี”

อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดงกล่าวว่าภาพความโหดร้ายที่เห็นในวันที่ 6 ตุลา ไม่ใช่การกระทำของกลุ่มกระทิงแดง เพราะกระทิงแดงไม่มีกำลังมากนัก มีกำลังอยู่ที่ธรรมศาสตร์ไม่ถึง 20 คน ความรุนแรงเกิดขึ้นจากหลายกลุ่มที่เข้ามาพัวพัน เช้าวันที่ 6 ตุลา ตนก็อยู่ที่นั่น แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะบรรยากาศเร่าร้อนมากแล้ว

“มีการแขวนคอผมก็เห็น เผาไฟผมก็เห็น แต่ผมทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่ใช่กลุ่มผมที่ทำ ตอนหกโมงเช้าผมได้ยินเสียงปืนสองครั้ง เป็นปืนหนัก 1 ครั้ง แล้วก็ปืนที่ศูนย์กลางนิสิตฯ ยิงออกมาอีกหนึ่งครั้ง อาจเป็นแผนของพวกปฏิวัติก็ได้ เราไม่รู้ แต่ระเบิดที่ลงตอนตีห้า ไม่ใช่ของกลุ่มกระทิงแดง พวกที่ทำในวันนั้นอาจเป็นพวกของกลุ่มปฏิวัติหรือกลุ่มอื่น ๆ ผมก็ตอบไม่ได้ เพราะวันนั้นมีหลายกลุ่มที่เข้ามาพัวพัน”

พล.ต.สุตสาย พูดถึงประเด็นการเล่นละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามที่หนังสือพิมพ์ดาวสยามตีพิมพ์ภาพในหน้า 1 จนเป็นชนวนให้เหตุการณ์ลุกลาม

“ตอนนั้นเราประชุมกันบ่อย ประชุมทุกวัน ต้องดูสถานการณ์บ้านเมือง ผมมีหน่วยข่าวกรอง เรามีเด็กเยอะ เดี๋ยวคนนั้นก็คาบข่าวมาบอก คนนี้ก็คาบข่าวมาบอก ผมพยายามห้ามไม่ให้ศูนย์กลางนิสิตฯ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ตลอด แต่ศูนย์กลางนิสิตฯ ก็พยายามหาทางหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบ่อย ๆ เรื่องละครมีตั้งแต่ทีแรกแล้ว เขาจะเล่นเรื่องสี่แผ่นดิน คุณรู้ไหม ผมแก้เขาอย่างไร เวลาผมจะให้ละครเลิก ผมก็เอากบบ้างเอางูบ้าง ไปโยนใส่ในกลุ่มนักศึกษาที่แสดงละคร ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละคุณเอ๋ย

“แต่ตอนที่นักศึกษาแสดงละครแขวนคอ ผมไม่ได้เอางูไปปล่อย เพราะตอนนั้นเรารับปากกับรัฐบาลแล้วว่าเราจะไม่ยุ่ง ผมทราบเรื่องเขาเล่นละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพราะมีคนมาบอก แต่เราก็สงสัยมาจนทุกวันนี้ว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือโกหกกันแน่ เราก็ไม่ได้ไปสอบสวนเรื่องนี้ เรื่องที่ว่าเขาเอาคนหน้าเหมือนองค์รัชทายาทแขวนคอจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ บางคนก็บอกว่าจริง บางคนก็บอกว่าโกหก แต่ปัญหานี้ผมไม่ยุ่งด้วย เพราะว่าไม่ใช่เรื่องของผม ผมไม่ได้ใส่ใจตรงนั้น แต่มีความรู้สึกว่าเขาจะเล่นละครแนวนี้อีก เพราะเขาทำมานานแล้ว เขาเล่นในหอประชุมมหาวิทยาลัยมานาน ก็เลยไม่แปลกใจ”

หลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตลุา ในวันนั้นมีการรัฐประหารโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ พล.ต.สุตสาย กล่าวถึงความรู้สึกช่วงนั้นว่า

“ผมเคยประกาศไว้แล้วว่าผมจะต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อย่างตอนที่คุณสงัดประกาศปฏิวัติ ผมคิดสู้นะ แต่ก็คิดว่าเราจะเอาอะไรมาสู้เขา เราก็อดทนยอมเขา ตอนนั้นผมไม่คิดมาก่อนว่าจะมีการปฏิวัติ แต่พรรคการเมืองคิด ผมมาไตร่ตรองดูตอนหลัง ตอนนั้นเรามัวแต่ยุ่งกับงาน ก็เลยไม่ได้คิดว่าจะมีการปฏิวัติ ไม่ได้มองตรงนี้”

พล.ต.สุตสาย กล่าวว่า ส่วนใหญ่เงินที่ใช้เลี้ยงกระทิงแดงเป็นเงินของตน ภรรยาต้องจำนำของมาเป็นค่าใช้จ่าย หลังวันที่ 6 ตุลา เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ตนก็ประกาศยกเลิกหน่วยปฏิบัติการพิเศษกระทิงแดง เหตุการณ์ 6 ตุลาไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อตน นอกจากมีแต่คนนับหน้าถือตาเป็นส่วนใหญ่ มีบางคนบอกว่าตนได้ทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ

อดีตเจ้าพ่อกระทิงแดงให้ความเห็นถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นการปิดท้าย

“ที่มีคนไม่อยากให้ขุดคุ้ยเหตุการณ์ 6 ตุลา เพราะว่าเขาไม่ได้ทำด้วยใจจริง เขาถูกจ้างมา เขารวมตัวกันเพื่ออะไร ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิวัติ ก็แสดงว่าเขาเป็นเครื่องมือของอีกพรรคการเมืองหนึ่ง แล้วเขาจะไปขุดคุ้ยทำไม เขาก็คิดว่าเขาพ่ายแพ้ แต่ผมไม่ได้มองว่าพ่ายแพ้หรอก พวกที่แพ้ก็เข้าป่าไป พวกคนดีก็อยู่ในเมือง ผมมองว่ามันทำให้แยกแยะได้ ตราบใดที่ไม่มี 6 ตุลา คุณจะแยกแยะไม่ออกหรอก ผมว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาให้อะไรบางอย่างแก่สังคมไทย อย่างน้อยที่สุด หากว่ามีคอมมิวนิสต์เข้ามา สามารถบอกได้เด็ดขาดเลยว่าคอมมิวนิสต์คือใคร อยู่ที่ไหน ถ้าถามว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา ทำให้ผมนึกถึงอะไร ผมนึกถึงการปฏิวัติ เพราะผมบอกแล้วว่าผมไม่ชอบเผด็จการ ถ้าหากว่าบ้านเมืองมันเลวอาจต้องทำ แต่ต้องเป็นการปฏิวัติที่ทำเพื่อชาติ

“ในความคิดผม เหตุการณ์ 6 ตุลา ผมไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ วันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ 14 ตุลา ส่วนเหตุการณ์เดือนพฤษภาถือเป็นเรื่องเหลวไหล เป็นเรื่องของคนทำงานไม่เป็น 6 ตุลา ผมคิดว่ามีคนตายไม่เกิน 10 คน นอกนั้นว่ากันไปเอง ไม่มีหรอก ถ้าคนตายก็ต้องหาได้สิ ที่ว่าคนตาย 500-600 ไปอยู่ที่ไหน คนที่ไปเผาป้อมยาม ตีไฟจราจรจะให้เป็นวีรชนได้ยังไง ผมคิดว่า 6 ตุลาไม่รุนแรงนะ คนก็ตายแค่นั้น เดี๋ยวเดียวก็จบ ไม่ใช่วันเดียวด้วยซ้ำ ตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้าเท่านั้น 14 ตลุา รุนแรงกว่า เพราะไปอาละวาด สู้กันตามถนนหนทาง เผาบ้านเผาเรือน”
สำหรับ พล.ต.สุตสาย เมื่อมองย้อนกลับไป หากเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ไม่มีกลุ่มกระทิงแดง ประเทศไทยหลังจากนั้นจะเป็นเช่นไร

“เรื่องนี้สุดแท้แต่ใครจะคิด แต่สำหรับผม ผมมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่ช่วยให้ประเทศไทยยังรักษาความเป็นประชาธิปไตยเอาไว้ได้”

จาก สารคดี 2539

***********************





โป้ปด หลอกลวง
บิดเบือน ข้อเท็จจริง และ ยกหางตนเอง
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #13 เมื่อ: 14-05-2008, 23:57 »



เป็นผม  ก็ไม่นิยมความรุนแรง  แต่อย่าลืมว่า  สถานการณ์ขณะนั้นมันสุกงอม

สงครามกลางเมืองจากกองทัพพรรคคอมฯ  พร้อมที่จะมีทุกเมื่อ ก่อนหน้านั้นสู้กันในป่า

แต่ก็มีนักศึกษษ  ในระดับแกนนำเลย  ที่ฝักไฝ่ในพรรค  มันคือเรื่องจริง  

ขนาดที่เลขาพรรคคนสุดท้ายยังว่าไว้  ว่ามีคนในพรรคของตนอยู่ในธรรมศาสตร์จริง

และเหตุการณ์ทั้งลายทั้งปวง  ที่เกิดขึ้น  ผมมว่า  มันก็เกิดจากพรรคคอมมิวนิสต์นี่แหละ

ที่ต้องการสรางสถานการให้  ไทย  ฆ่ากันเอง สมารมณืหมายของพวกเขาแล้ว

นักศึกษษเข้าป่าไปเพื่ออะไร  หากไม่ฝักไฝ่ในคอมมิวนิสต์  จะมาบอกว่าสถานการณ์บังคับมิได้

ก็เลือกในเสนทางนั้นเอง  จะโทษใคร  ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในประเทศ  ไม่อยากได้แนวทางของคอมฯ

สงครามมันก็โหดร้ายด้วยกันทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ  ตัวใครตัวมัน กรรมใดใครก่อรับเอง


ยังมีเวลา โอกาส ค้นหาความจริงที่ถูกต้องได้
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 16-05-2008, 13:27 »

ประเด็นทำไมเหตุการณ์ถึงเกิดได้...

ผมมองในมุมสงครามเย็นระหว่าง อเมริกา กับ จีน (รัสเซีย)

ต่างฝ่ายต่างพยายามแย่งชิงการมีอำนาจเหนือ

ป้องกันการขยายอำนาจของแต่ละฝ่าย

ไทย ถูกเลือกให้เป็นสนามทดลองทฤษฏีของทั้ง 2 ฝ่าย

งัดข้อกัน ผลก็เป็นอย่างที่เห็น...


ผมว่าเป็นทบเรียนที่จะหาทางเลี่ยง

ที่จะทำอย่างไร ไม่ให้ประเทศตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น..
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
หน้า: [1]
    กระโดดไป: